[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - ข้าวโพด
197 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 19 หน้า, หน้าที่ 20 มี 7 รายการ

พืชเศรษฐกิจ ทานตะวัน ที่มากกว่าความสวยงาม !!
พืชเศรษฐกิจ ทานตะวัน ที่มากกว่าความสวยงาม !!
จากสภาพความเสื่อมโทรมและการเปลี่ยนแปลงของธรรมชาติ ที่ได้สร้างความเสียหายต่อพืชผลทางการเกษตร โดยเฉพาะข้าวโพด ทั้งด้านราคา ปริมาณ และคุณภาพที่ลดลงเกือบทุกๆ ปี ทำให้เกษตรกรในหลายพื้นที่หันมาปลูกพืชเสริมอย่างทานตะวันหลังเก็บเกี่ยวพืชหลัก จนทานตะวันกลายเป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่ที่สร้างรายได้ให้กับพี่น้องเกษตรกรในจังหวัดลพบุรีและพื้นที่ใกล้เคียงได้เป็นอย่างดี

นอกจากทานตะวันจะสามารถสร้างรายได้ให้กับพี่น้องเกษตรกรแล้ว ความสวยงามของทุ่งดอกทานตะวันที่ชูช่อบานสะพรั่งสู้กับพระอาทิตย์ในหลายๆ พื้นที่ ยังเป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเที่ยวชมจนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงของจังหวัดลพบุรีจนทุกวันนี้

ทุ่งดอกทานตะวัน จังหวัดลพบุรี เป็นแห่งแรกที่ได้รับการโปรโมตให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอันดับต้นๆ ของประเทศ ซึ่งมีแหล่งปลูกจะกระจายอยู่ทั่วไปในเขตอำเภอเมือง อำเภอพัฒนานิคม อำเภอชัยบาดาล ในทุกปีดอกทานตะวันจะบานสะพรั่งดึงดูดให้นักท่องเที่ยวเดินทางมาเที่ยวชมกันเป็นจำนวนมาก

ทานตะวันเป็นพืชทนแล้งที่เกษตรกรนิยมปลูกหลังจากข้าวโพด เมล็ดทานตะวันจะมีสารอาหารที่มีคุณค่า นิยมใช้สกัดทำน้ำมันปรุงอาหารหรืออบแห้ง เพื่อรับประทานหรือใช้เป็นส่วนผสมของเครื่องสำอาง และนอกจากนี้ ยังสามารถนำมาเลี้ยงผึ้งและเก็บเอาน้ำหวานจากรังผึ้งที่สร้างจากเกสรดอกทานตะวันเป็นรายได้เสริมอีกทางหนึ่ง

ต้นทานตะวันเริ่มออกดอก
คุณดาหวัน ห้องกระจก อยู่บ้านเลขที่ 57 หมู่ที่ 9 ตำบลโคกตูม อำเภอเมือง จังหวัดลพบุรี เป็นเกษตรกรคนหนึ่งที่ปลูกทานตะวันเสริมจากพืชหลัก ในทุกปีช่วงเดือนเมษายน ถึงสิงหาคม หลังจากปลูกและเก็บเกี่ยวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ คุณดาหวันจะปรับพื้นที่และเตรียมดินเพื่อปลูกพืชรุ่นที่สองอย่างทานตะวันบนพื้นที่ 280 ไร่

การมองหาพืชรุ่นที่สองมาปลูกต่อจากพืชหลักในช่วงนั้นหาได้ยาก เพราะด้วยข้อจำกัดของสภาพแวดล้อมและสภาพพื้นที่ แหล่งน้ำ อีกทั้งกำลังแรงงานที่ใช้ในการดูแลก็มีน้อย ทำให้พืชที่จะนำมาปลูกได้ในตอนนั้นต้องเป็นพืชที่ไม่ต้องดูแลมาก

คุณดาหวัน เล่าให้ฟังว่า ตนเองเป็นเกษตรกรยึดอาชีพเกษตรกรรมมาตั้งแต่รุ่นพ่อแม่ พืชที่ปลูกคือข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ พอหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวโพดแล้วก็ไม่ได้ปลูกพืชอะไรต่อ ทำให้พื้นที่ก็ว่างเปล่าอยู่หลายเดือนกว่าฤดูกาลปลูกข้าวโพดจะมาถึง ทำให้ต้องหาพืชรุ่นสองมาปลูกต่อจากข้าวโพด

ครั้นจะปลูกอ้อยกับมันก็ไม่มีความรู้ในการดูแล มีเพียงแต่ทานตะวันที่เห็นเพื่อนเกษตรกรด้วยกันนำเข้ามาปลูกในพื้นที่และได้เข้ามาแนะนำให้ปลูกในทุกๆ ปีของเดือนตุลาคมหลังจากที่เก็บเกี่ยวข้าวโพดแล้ว

เริ่มรายแรก ปลูกเป็นเครือข่าย

หลังจากที่ได้รับคำแนะนำและเรียนรู้การปลูกและการดูแลทานตะวันจากเพื่อนแล้ว หลังเก็บเกี่ยวข้าวโพดเสร็จคุณดาหวันก็ตัดสินใจนำทานตะวันมาปลูกในพื้นที่เป็นรายแรกๆ ของชุมชน หลังจากที่ได้เห็นและเรียนรู้จากการได้เห็นและสัมผัสมา

การเตรียมพื้นที่ปลูก อันดับแรกเราจะใช้รถไถผาล 2 ไถก่อนครั้งแรก พอไถเสร็จเรียบร้อยก็จะหว่านเมล็ดพันธุ์ และสำหรับการหว่านเมล็ดพันธุ์นั้นเราจะต้องหว่านเผื่อไว้เพื่อป้องกันเมล็ดพันธุ์ไปตกติดอยู่ในลำต้นข้าวโพดที่ไถไปกับดิน ซึ่งจะทำให้เมล็ดไม่สามารถงอกได้ ทำให้เราต้องหว่านเผื่อไว้ ซึ่งวิธีนี้เราจะต้องใช้เมล็ดพันธุ์ในการหว่านโดยประมาณ 1.3-1.5 กิโลกรัม ต่อไร่

แต่ถ้าหากมีเวลาในการเตรียมพื้นที่เพาะปลูก จะใช้วิธีการหยอดลงหลุมโดยวิธีนี้จะต้องเตรียมพื้นที่ปลูกให้เป็นแถวก่อน หลังจากนั้น ก็จะใช้รถไถเล็กหยอดเมล็ดพันธุ์ลงไป 1-2 เมล็ด ต่อหลุม ซึ่งการปลูกวิธีนี้จะทำให้ต้นทานตะวันขึ้นตรงกันเป็นแถว ดูเรียบร้อย และที่สำคัญวิธีการหยอดลงหลุมจะใช้เมล็ดพันธุ์เพียง 8 ขีด ต่อไร่ ซึ่งน้อยกว่าการหว่าน

พันธุ์ทานตะวันที่ปลูกเป็นพันธุ์อาร์ตูเอล เป็นพันธุ์ที่มีน้ำหนักดี แต่ให้น้ำมันน้อย แต่ที่ผ่านมาจะปลูกพันธุ์จัมโบ้ ซึ่งจะให้ปริมาณน้ำมันเยอะกว่าสายพันธุ์อื่นที่ปลูกมา แต่สำหรับปีนี้ได้รับแจกเมล็ดพันธุ์จากหน่วยงานของรัฐจึงนำมาปลูก ทำให้สามารถลดต้นทุนการผลิตได้ทางหนึ่ง เพราะแต่ละปีการปลูกทานตะวันแต่ละรอบนั้นจะต้องซื้อเมล็ดพันธุ์ที่มีราคาสูงถึงกิโลกรัมละ 400 บาทใหม่ทุกครั้ง เพราะเราไม่สามารถเก็บเมล็ดจากต้นมาทำเป็นพันธุ์ปลูกต่อได้ คุณดาหวัน กล่าว

ดูแลให้ปุ๋ย ผลผลิตงดงาม

คุณดาหวัน เล่าต่อว่า หลังจากที่ปลูกจนต้นทานตะวันเจริญเติบโตขึ้นมาระยะหนึ่งแล้วก็จะให้ปุ๋ยทางใบเสริม แต่หากช่วงที่ไม่มีเวลาก็ปล่อยให้ธรรมชาติดูแลเอง

ส่วนเรื่องการดูแลทานตะวันนั้น คุณดาหวัน บอกว่า มีการดูแลที่เหมือนกันทุกๆ สายพันธุ์ หากได้รับน้ำในปริมาณที่พอดี ก็จะทำให้ดอกและต้นสวยสมบูรณ์ดี แต่หากได้น้ำมากจนเกินไป ก็จะทำให้ต้นแคระแกร็น ซึ่งตั้งแต่ที่ปลูกมาก็ไม่พบปัญหาอะไรที่รุนแรง โรคและแมลงก็มีน้อย

ทานตะวันจะใช้ระยะเวลาประมาณ 60-65 วัน โดยเฉลี่ยในการสร้างลำต้น ดอก จนสมบูรณ์ถึงจะเก็บเกี่ยวผลผลิต โดยใช้แรงงานคนหรือเครื่องจักรกล ซึ่งที่นิยมใช้จะเป็นเครื่องจักรกลมากกว่าแรงงานคน เพราะว่าเครื่องจักรกลในขณะที่เก็บเกี่ยวอยู่นั้น เครื่องก็จะทำการสีไปพร้อมๆ กัน เราไม่ต้องนำดอกทานตะวันไปผ่านกระบวนการสีอีกครั้ง แต่สำหรับแรงงานคนเราต้องนำดอกทานตะวันที่เก็บไปผ่านกระบวนการสีอีกครั้งหนึ่งถึงจะนำไปสกัดเป็นน้ำมัน ซึ่งต้องเสียเงินทั้งจ้างแรงงานและจ้างสี ทำให้ต้นทุนการผลิตสูง

ปริมาณผลผลิตที่ได้ของดอกทานตะวันอยู่ที่ 250 กิโลกรัม ต่อไร่ จำหน่ายออกไปกิโลกรัมละ 16-17 บาท ซึ่งหากพูดถึงกำไรก็จะได้ประมาณ 50 เปอร์เซ็นต์ ถ้าหากน้ำดี ไม่มีโรคแมลงที่ยากที่จะแก้ไข ไม่พบกับปัญหาภัยธรรมชาติ แต่หากปีไหนที่มีปัญหาก็จะได้กำไรลงน้อยลง ขึ้นอยู่กับเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น

วันนี้ทานตะวันมีน้อยลงทุกปี เนื่องจากเกษตรกรเริ่มหันไปสนใจกับมันสำปะหลัง อ้อย และปลูกข้าวโพดรุ่นสองซึ่งมีผลตอบแทนที่ดีกว่าทานตะวัน คุณดาหวัน กล่าวทิ้งท้าย


ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..
อ่าน:2965
สารพัดประโยชน์ดอกทานตะวัน
สารพัดประโยชน์ดอกทานตะวัน
เวลาเห็นแสงแดดจ้าแล้วทุกคนจะต้องรีบหันหน้าหนีไปได้อย่างรวดเร็ว แต่ตรงข้ามกับ ดอกทานตะวัน ที่ส่องแสงจากที่ใดก็จะรีบหันหน้าเข้าหาอย่างรวดเร็วมีสีเหลืองสวยงามและชอบแสงแดดเป็นพิเศษแล้วคุณสมบัติ ด้านการรักษาโรคก็ไม่ได้รับ มากกว่า

ที่มาของชื่อ ดอกทานตะวัน
ถ้าใครได้ไปเที่ยวทุ่งทานตะวันทานตะวันหรือว่าจะออกมาจากดอกทานตะวันที่คอหอยในเวลากลางคืนพอพระอาทิตย์ตกดินจะออกไปช่อดอกทานตะวันและหันไปทางทิศตะวันออกหันไปทางทิศตะวันออก... ชื่อ ดอกทานตะวัน แต่ การหันของดอกทานตะวันจะลดน้อย ลงเรื่อย ๆ (หลังตามที่คุณคุณคุณอาทิตย์) มีหัวเรื่อง: ผสมเกสรหัวเรื่อง: การแล้วหลังช่วงคุณดอกทานตะวันโดยช่อคุณดอกจะหันหน้า: ภาพประกอบไปทางทิศตะวัหนังสือนออกเสมอลักษณะ อง ดอก - ต้นทานตะวัน

ลักษณะของ ดอก - ต้นทานตะวัน

ต้นทานตะวันเป็นพืชที่มีความยาวประมาณ 1 - 3 เมตรมีความยาวประมาณ 3-3.5 เมตรโดยมีรากแก้วที่มีความแข็งแรงสูงถึง 150 เมตร -270 เซนติเมตรที่สำคัญรากสามารถขยายได้กว้างถึง 60-150 เซนติเมตรขอให้ดอก ทานตะวันยากเพราะดูดความชื้นในดินหล่อเลี้ยงได้อย่างดี

ใบดอกทานตะวันมีลักษณะเป็นใบเดี่ยวตรงข้ามกันและใบมีดแตกต่างกันมี 5 ใบแล้วมีจำนวนมากรวมกันใน 1 ต้นประมาณ 8-70 ใบมีดรูปทรงกลมหรือรูปไข่เป็นรูปหัวใจหรือรูป หัวใจมีสีแดงเข้มและสีเขียวเข้มรูปใบจักรีซี่โครงกว้างประมาณ 9-25 เซนติเมตรยาวประมาณ 10-30 เซนติเมตรการสร้างใบจะมีมากในช่วงก่อนดอกบานและลดลง เมื่อดอกบาน

ดอกทานตะวันมีลักษณะเป็นรูปจานกลมๆแบน ๆ เป็นดอกเดี่ยวออกมาตอนปลายกลีบดอกมีสีเหลืองเข้มมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 25-30 เซนติเมตรและมีกลีบดอกเป็นจำนวนมากเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ เล็กจำนวนมาก (700 -3_000 ดอก) ซ้อนกันอยู่กลางดอกมีเกสรสีน้ำตาลอมเหลือง

ผลไม้ดอกทานตะวัน(หรือเรียกว่า ทานตะวัน ) มีขนาดใหญ่มากประมาณ 6-17 มิลลิเมตรเปลือกหุ้มผลมีสีเทาเข้ม หรือสีดำและเป็นลายส่วนภายในผลมีสีเหลืองอ่อนเพียง 1 คะแนนความยาวสามารถแบ่งได้

น้ำมันที่ใช้น้ำมันสกัดเป็นส่วนเล็ก ๆ สีดำเปลือก
ใครเป็นคนแรกที่มีเปลือกหนาไม่ลงในเนื้อด้วยใบมะกรูดอบแห้งแล้วนำมาปรุงแต่งรสชาติให้ได้มากที่สุดเมล็ดทานตะวันอบขิงหรืออบเนย
เมล็ดที่ใช้เลี้ยงนกหรือไก่

ดอกทานตะวัน มีสรรพคุณทางยาประโยชน์ทั้งต้นรากใบดอก
ดอกทานตะวันเป็นดอกไม้ที่จัดเป็นสมุนไพรที่มีสรรพคุณทางยาในการรักษาและป้องกันโรคได้ดีซึ่งทุกส่วนของต้นดอกทานตะวันนั้นทั้งดอก ใบ เมล็ด ลำต้น และรากล้วนมีประโยชน์ต่อสุขภาพ โดยในดอกทานตะวันเป็นแหล่งของสารอาหารที่มีคุณค่าทางโภชนาการสูงและหลากหลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นให้พลังงานสูง มีไขมันและเส้นใยอาหาร อุดมด้วยวิตามินเอ วิตามินบีทุกชนิด วิตามินซี วิตามินอี รวมทั้งแคลเซียม สังกะสี ทองแดง ซีลีเนียม เป็นต้น

นอกจากนี้ดอกทานตะวันยังถูกนำมาแปรรูปเพื่อนำไปใช้ประโยชน์อื่นได้อีกมากอย่างเมล็ดทานตะวันที่สามารถใช้กินเล่นได้แบบเพลินๆ แถมมีคุณค่าต่อร่างกาย หรือน้ำมันดอกทานตะวันซึ่งถือเป็นน้ำมันที่ให้ประโยชน์ต่อสุขภาพเช่นกันเพราะช่วยป้องกันโรคได้ดี หรือในส่วนของต้นอ่อนทานตะวันก็เป็นอาหารสุขภาพที่ช่วยบำรุงร่างกายให้แข็งแรงได้อย่างดียิ่ง

14 สรรพคุณของดอกทานตะวัน ประโยชน์ในการรักษาโรค

1. ดอกทานตะวันเป็นแหล่งของน้ำมันคุณภาพดี ที่เมื่อนำมาใช้ปรุงอาหารกินแล้วไม่มีโทษต่อร่างกาย เพราะน้ำมันที่สกัดมาจากดอกทานตะวันเป็นน้ำมันไม่อิ่มตัวสูงซึ่งจะช่วยลดระดับคอเลสเตอรอล ป้องกันการเกิดโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด โรคหลอดเลือดหัวใจได้เป็นอย่างดี

2. น้ำมันจากดอกทานตะวันหรือเมล็ดทานตะวันยังอุดมด้วยวิตามินที่จำเป็นอยู่ครบ จึงนิยมนำมาใช้เป็นส่วนประกอบในผลิตภัณฑ์เกี่ยวกับอาหาร เช่น เนยเทียม นมไม่มีไขมัน ฯลฯ และในเครื่องสำอาง เช่น ครีมบำรุงผิว ยาสระผมและครีมนวดผม ฯลฯ

3. ดอกทานตะวันเมื่อนำมาทำเป็นน้ำดื่มก็ให้ประโยชน์แก่ร่างกาย ช่วยต้านโรคได้หลายชนิด บำรุงสุขภาพ หายจากอาการเจ็บป่วยเล็กน้อยได้เร็ว อย่างแก้อาการไข้หวัด บรรเทาอาการไอและวิงเวียนศีรษะจะเป็นลม

4. ดอกทานตะวันมีเมล็ดที่นำมากินเป็นอาหารว่าง ซึ่งอุดมด้วยคุณประโยชน์ทางสารอาหารสูง มีโปรตีนที่มีคุณสมบัติเทียบเท่ากับเนื้อสัตว์ จึงเหมาะกับคนกินมังสวิรัติที่ไม่สามารถกินเนื้อสัตว์ได้ แถมยังมีไขมันสูงกว่าแป้ง มีธาตุเหล็กสูงกว่าไข่แดงหรือตับสัตว์อีกด้วย

5. เมล็ดดอกทานตะวันเป็นแหล่งรวมของวิตามินที่สำคัญหลายชนิด โดยเฉพาะวิตามินอีที่มีมากกว่าในถั่วเหลืองและข้าวโพดถึง 3 เท่า ซึ่งมีประโยชน์ในการช่วยรักษาผิวพรรณให้ยังคงความชุ่มชื้น ดูอ่อนเยาว์ เพราะจะต่อต้านอนุมูลอิสระซึ่งเป็นศัตรูสำคัญของผิวพรรณ

6. เมล็ดของดอกทานตะวันมีสรรพคุณช่วยบำรุงเลือด เพิ่มการไหลเวียนของเลือดให้ไปหล่อเลี้ยงส่วนต่างๆ ได้ดีขึ้น ทำให้หัวใจแข็งแรง ป้องกันโรคหัวใจวายและการเกาะตัวของเกล็ดเลือด ลดความดันโลหิตสูง

7. ดอกทานตะวันมีสรรพคุณช่วยชะลอการเกิดโรคต้อกระจก ทำให้สายตาเป็นปกติ มองเห็นได้ชัดเจนไม่เสื่อมเร็ว

8. ประโยชน์ของต้นอ่อนทานตะวันนำมาทานเป็นอาหารได้ ต้นอ่อนทานตะวันที่เพาะมาจากเมล็ดนั้นสามารถนำมาใช้ทำเป็นอาหารรวมถึงน้ำดื่มเพื่อสุขภาพได้ ซึ่งนอกจากจะมีรสชาติกรอบอร่อยและย่อยง่ายแล้ว ยังมีทั้งวิตามินและเกลือแร่หลากหลาย ซึ่งมีประโยชน์ในการช่วยบำรุงสมอง และป้องกันโรคอัลไซเมอร์ได้เป็นอย่างดี

9. ดอกทานตะวันมีสรรพคุณเป็นยาระบาย ที่ช่วยแก้อาการท้องผูก ทำให้ระบบการขับถ่ายเป็นปกติ และยังช่วยขับปัสสาวะ

10. ดอกทานตะวันช่วยให้ระบบสืบพันธุ์เป็นปกติ โดยเฉพาะในผู้หญิงที่ยังช่วยบรรเทาอาการปวดท้องก่อนที่ประจำเดือนจะมา หรือในระหว่างที่มีประจำเดือนก็ทำให้หายจากอาการปวดท้องได้ แก้อาการตกขาวด้วย

11. สรรพคุณดอกทานตะวันมีสรรพคุณช่วยขับลม แก้อาการปวดท้องแน่นหน้าอก รวมทั้งช่วยบรรเทาอาการปวดท้องจากโรคกระเพาะอาหารอักเสบ และแก้โรคบิดได้

12. รากของดอกทานตะวันมีประโยชน์ในทางการแพทย์ ซึ่งจะใช้เป็นอาหารให้แก่ผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานได้ เพราะมีวิตามินบี 1 รวมทั้งแร่ธาตุที่มีสรรพคุณช่วยแก้อาการของโรคนี้ได้ดี

13. ดอกทานตะวันมีฤทธิ์ที่ช่วยถอนพิษไข้ ใช้เป็นยาขับพิษร้อน ทำให้อวัยวะภายในร่างกายมีความชุ่มชื้น

14. ดอกทานตะวันสีเหลืองสวยเด่นมีประโยชน์ใช้ทำเป็นสีย้อมผ้าเพื่อให้เป็นสีเหลือง และนิยมใช้ตกแต่งในงานพิธีต่างๆ หรือใช้เยี่ยมคนป่วยเพราะจะให้ความรู้สึกสดใส

จากสรรพคุณและประโยชน์ของดอกทานตะวันที่กล่าวมาทั้งหมดเห็นได้ว่าดอกทานตะวันเป็นไม้ที่น่าสนใจสำหรับการดูแลรักษาสุขภาพอย่างมากเพื่อเป็นประโยชน์ต่อคนที่เราให้ออกไปจากร่างกายที่แข็งแรงส่วนของดอกสีเหลืองสวย ก็นับเป็นพืชสมุนไพรอีกชนิดหนึ่งที่เราไม่ควรพลาดจริงๆ


ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..
อ่าน:2986
การปลูกทานตะวัน
การปลูกทานตะวัน
ทานตะวัน เป็นพืชนํ้ามันที่มีความสําคัญพืชหนึ่ง นํ้ามันที่ได้จากการสกัดจากเมล็ดทานตะวันจะ
มีคุณภาพสูง ที่ประกอบด้วยกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว เช่น กรดลิโนเลนิค หรือกรดลิโนเลอิค ที่จะช่วยลด
โคเลสเตอรอลที่เป็นสาเหตุของโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด นอกจากนี้นํ้ามันจากทานตะวันยังประกอบด้วย วิตามิน เอ ดีอีและเคด้วย ผลผลิตส่วนใหญ่อยู่ในเขตอบอุ่น เช่น สหภาพโซเวียต อาร์เจนตินา และประเทศ ในแถบยุโรปตะวันออก สําหรับประเทศไทย ได้มีการส่งเสริมให้มีการ ปลูกทานตะวันเป็นอาชีพเสริมมากขึ้น เพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอกับอุตสาหกรรมพืชนํ้ามันและความต้องการของผู้บริโภค ทั้งนี้ เพราะ ทานตะวันเป็นพืชที่มีอายุสั้นระบบรากลึก มีความทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดีกว่าพืชอื่น ๆ แหล่งปลูกที่สําคัญ ได้แก่ จังหวัดลพบุรี เพชรบูรณ์ และสระบุรี

สภาพแวดล้อม
ทานตะวัน เป็นพืชที่มีการปรับตัวเข้ากับสภาพของเขตร้อนได้ดีพอสมควรไม่ไวต่อแสง สามารถ
ออกดอกใหผลได้ทุกสภาพช่วงแสง ปลูกได้ในบริเวณที่มีการปลูกข้าวโพด ข้าวฟาง เมื่่อทานตะวันตั้งตัวได้แล้ว จะมีความทนทานต่อสภาพแห้งและร้อนได้พอสมควร และจะเริ่มเติบโตทันทีเมื่อมีฝน นอกจากนี้ทานตะวันยังมีความทนทานต่อสภาพอากาศเย็นจัดได้ดีกว่าข้าวโพด ข้าวฟ่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะต้นกล้า ทานตะวันขึ้นได้กับดินหลายประเภท แต่จะขึ้นได้ดีในสภาพดินที่มีผิวดินหนาและอุ้มความชื้นไว้ได้ดี สามารถทนต่อสภาพความอุดมสมบูรณ์ตํ่า ตลอดจนสภาพดินเกลือและเป็นด่างจัดได้พอสมควร ซึ่งดินเหล่านี้จะมีอยู่เป็นจํานวนมากในเขตแห้งแล้งทั่วๆไป

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ทานตะวัน เป็นพืชในตระกูลเดียวกันกับเบญจมาศ คําฝอย ดาวเรือง เป็นพืชล้มลุกที่มีปลูกกัน
มากในเขตอบอุ่น การที่มีชื่อเรียกว่า ทานตะวัน เพราะลักษณะการหันของช่อดอกและใบจะหันไปทาง
ทิศของดวงอาทิตย์คือ หันไปทางทิศตะวันออกในตอนเช้า และทิศตะวันตกในตอนเย็น แต่การหันจะลดน้อยลงเรื่อย ๆ หลังจากมีการผสมเกสรแล้วไปจนกระทั่งถึงช่วงดอกแก่ ซึ่งช่อดอกจะหันไปทิศตะวันออกเสมอ

ราก เป็นระบบรากแก้วหยั่งลึกลงไปประมาณ 150-270 เซนติเมตร มีรากแขนงค่อนข้างแข็ง
แรงแผ่ขยายไปด้านข้างได้ยาวถึง 60-150 เซนติเมตร เพื่อช่วยคํ้าจุนลําต้นได้ดีและสามารถใช้ความชื้นระดับผิวดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ลําต้น ส่วนใหญ่ไม่มีแขนง แต่บางพันธุ์มีการแตกแขนง ขนาดของลําต้น ความสูง การแตก
แขนงขึ้นอยู่กับพันธุ์และสภาพแวดล์อม ความสูงของต้นอยู๋ระหว่าง 1-10 เซนติเมตร การโค้งของลําต้น ตรงส่วนที่เป็นก้านช่อดอกมีหลายแบบ แบบที่ต้องการคือแบบที่ ส่วนโค้งตรงก้านช่อดอกคิดเป็นร้อยละ15 ของความสูงของลําต้น พันธุ์ที่มีการแตกแขนง อาจมีความยาวของแขนงสูงกวาลําตนหลักแขนง อาจแตกมาจากส่วนโคนหรือยอด หรือตลอดลําต้นก็ได้

ใบ เป็นใบเดี่ยวเกิดตรงกันข้าม หลังจากที่มีใบเกิดแบบตรงกันข้ามอยู่ 5 คู่แล้ว ใบที่เกิดหลัง
จากนั้นจะมีลักษณะวน จํานวนใบบนต้นอาจมีตั้งแต่ 8-70 ใบ รูปร่างของใบแตกต่างกันตามพันธุ์สีของ
ใบอาจมีตั้งแต่เขียวอ่อน เขียว และเขียวเข้ม ใบที่เกิดออกมาจากตายอดใหม่ๆ ก้านใบจะอยู่ในแนวตั้งจนกระทั้งใบมีความยาว 1 เซนติเมตร ปลายยอดจะค่อย ๆ โค้งลงจนเมื่อใบแก่แล้วก็จะโค้งลงมาเป็นรูปตัวยู (U) การสร้างใบจะมีมากจนกระทั่งดอกบาน หลังจากนั้นการสร้างใบจะลดน้อยลง
ดอก เป็นรูปจาน เกิดอยู่บนตายอดของลําต้นหลัก หรือแขนงลําต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอก
อยู่ระหว่าง 6-37 เซนติเมตร ซึ่งขึ้นกับพันธุ์และสภาพแวดล้อม ดอกมีลักษณะเป็นแบบช่อดอก
ประกอบด้วยดอกย่อยเป็นจํานวนมาก ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ

1. ดอกย่อยที่อยู่รอบนอกจานดอก เป็นดอกที่ไม่มีเพศ (เป็นหมัน) มีกลับดอกสีเหลืองส้ม
2. ดอกย่อยที่อยู่ในจานดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีเกสรตัวผู้ที่พร้อมจะผสมได้ก่อนเกสรตัว
เมีย และสายพันธุ์ผสมเป็นส่วนใหญ่ผสมตัวเองน้อยมาก
ในแต่ละจานดอกจะมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 700-3_000 ดอก ในพันธุ์ที่ให้นํ้ามัน ส่วนพันธุ์
อื่นๆ อาจมีดอกย่อยถึง 8_000 ดอก การบานหรือการแก่ของดอกจะเริ่มจากวงรอบนอกเข้าไปสู่ศูนย์
กลางของดอก ดอกบนกิ่งแขนงจะมีขนาดเล็ก แต่ถ้าเป็นแขนงที่แตกออกมาตอนแรกๆ ดอกจะมีขนาด
ใหญ่เกือบเท่ากับดอกบนลําต้นหลัก ส่วนใหญ่พันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้า มักจะเลือกต้นชนิดที่มีดอกเดี่ยว
เพื่อความสมบูรณ์ของดอก และให้เมล็ดที่มีคุณภาพดี

เมล็ด (หรือผล) ประกอบด้วยเนื้อใน ซึ่งถูกห่อหุ้มไว้ด้วยเปลือกที่แข็งแรง เมื่อผลสุกส่วนของ
ดอกที่อยู่เหนือรังไข่จะร่วง ผลที่มีขนาดใหญ่จะอยู่วงรอบนอก ส่วนผลที่อยู่ข้างในใกล้ๆ กึ่งกลางจะมีผลเล็กลง

เมล็ดทานตะวัน แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ คือ
1. เมล็ดใช้สกัดนํ้ามัน จะมีเมล็ดเล็ก สีดํา เปลือกเมล็ดบางให้นํ้ามันมาก
2. เมล็ดใช้รับประทาน จะมีเมล็ดโตกว่าพวกแรก เปลือกหนาไม่ติดกับเนื้อในเมล็ด เพื่อสะดวก
ในการกะเทาะแล้วใช้เนื้อในรับประทาน โดยอบหรือปรุงแต่งขนมหวาน หรือทําเป็นแป้งประกอบอาหารหรือใช้เมล็ดคั่วกับเกลือแล้ว แทะเปลือกออกรับประทานเนื้อข้างในเป็นอาหารว่าง เช่นเดียวกับเมล็ดแตงโม
3. เมล็ดใช้เลี้ยงนก ใช้เมล็ดเป็นอาหารเลี้ยงนก หรือไก่ โดยตรง

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ทานตะวันชอบอากาศอบอุ่นในเวลากลางวันและอากาศเย็นในเวลากลางคืน อุณหภูมิที่เหมาะ
สมคือ อยู่ระหว่าง 18-25 องศาเซลเซียส สภาพความเป็นกรด-ด่าง ของดินประมาณ 5.7-8 สามารถ
ขึ้นได้ในดินแทบทุกประเภท แต่ที่ขึ้นได้ดีคือดินที่มีหน้าดินลึกที่อุ้มนํ้าได้ดี แต่ไม่ชอบนํ้าขังและไม่ชอบดินที่มีลักษณะเป็นกรด หากดินที่ปลูกมีความชื้นตํ่า ผลผลิตของเมล็ดจะตํ่าลงมาก

พันธุ์
ทานตะวันมี 3 สายพันธุ์พันธุ์ผสมเปิด ซึ่งเป็นพันธุ์เดิมที่ใช้ปลูก ซึ่งในดอกจะมีจํานวนเรณูที่ติด
อยู่ที่ก้านชูเกสรตัวเมียน้อย ทําให้การติดเมล็ดด้วยการผสมตัวเองตํ่า ต้องอาศัยแมลงช่วยในการผสม
เกสร จึงจะทําให้ติดเมล็ด การปลูกจึงไม่ประสบผลสําเร็จเพราะได้เมล็ดลีบ ผลผลิตตํ่าเนื่องจากไม่ค่อยมีแมลงช่วยผสมเกสร แต่ปัจจุบันมีพันธุ์ลูกผสมสามารถติดเมล็ดได้ดีโดยไม่ต้องอาศัยแมลงช่วยผสมเกสร เพราะในดอกมีละอองเรณูที่ติดอยู่ก้านชูเกสรตัวเมียมากกว่าพันธุ์ผสมเปิด 3-4 เท่า จึงทําให้การติดเมล็ดด้วยการผสมตัวเองดีกว่าสายพันธุ์ผสมเปิด

ปัจจุบันยังไม่มีการผลิตเมล็ดทานตะวันลูกผสมในประเทศไทย ต้องนําเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่
พันธุ์ไฮซัน 33 และพันธุ์เอส 101 ซึ่งมีลักษณะของจานดอกค่อนข้างใหญ่กลีบดอกสีเหลืองสดใสและให้ปริมาณนํ้ามันสูง สายพันธุ์สังเคราะห์ซึ่งยังไม่มีการส่งเสริมในปัจจุบัน แต่ในขณะนี้อยู่ระหว่างการวิจัยของหน่วยงานวิจัย สําหรับทานตะวันที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกในขณะนี้คือ สายพันธุ์ลูกผสม

ลักษณะดีเด่นของพันธุ์ลูกผสม ได้แก่
1. ผลผลิต เฉลี่ย 254.82 กิโลกรัมต่อไร่
2. การติดเมล็ด เฉลี่ยร้อยละ 76.3
3. เส้นผ่าศูนย์กลาง เฉลี่ย 15.4 เซนติเมตรของจานดอก
4. ความสูงของต้น เฉลี่ย 168.9 เซนติเมตร
5. อายุเก็บเกี่ยว เฉลี่ย 90-100 วัน
6. ปริมาณนํ้ามัน เฉลี่ยร้อยละ 48 ที่มา
1-4 การเปรียบเทียบพันธุ์ทานตะวันในท้องถิ่น จํานวน 5 พันธุ์ฤดูแล้ง ปี 2529 ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ 5-6 บริษัทแปซิฟิค เมล็ดพันธุ์จํากัด

ลักษณะที่ดีของพันธุ์ ลูกผสม คือ สามารถผสมเกสรภายในดอกเดียวกันได้สูง การติดเมล็ดค่อน
ข้างดี การหาผึ้งหรือแมลงช่วยผสมเกสรจึงไม่จําเป็นมากนัก แต่ถ้ามีแมลงช่วยผสมก็มีลักษณะประจํา
พันธุ์ที่มีผลต่อการดึงดูดแมลง เช่น กลีบดอกสีสดใส กลิ่นของเรณูปริมาณและคุณภาพของนํ้าหวานก็ดีกว่าพันธุ์ผสมเปิด ทนทานต่อการโค่นล้มและต้านทานต่อโรคราสนิม

ฤดูปลูก
ทานตะวันเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ในทุกฤดูกาล เพราะเป็นพืชที่ไม่ไวต่อช่วงแสง อย่าง
ไรก็ตามการปลูกในบางท้องที่อาจไม่มีความเหมาะสม เช่น ในที่ลุ่มภาคกลาง ในฤดูฝนจะมีนํ้าขังแฉะ
เกินไป หรือที่ดินในฤดูแล้งที่ไม่มีนํ้าชลประทาน ดังนั้นฤดูที่เหมาะสมที่สุดมี 2 ฤดูคือ

1. ปลายฤดูฝน ในสภาพพื้นที่ที่เป็นดินร่วนเหนียว ควรปลูกทานตะวันในปลายฤดูฝน คือ ตั้ง
แต่เดือนกันยายน-พฤศจิกายน แต่ถ้าสภาพพื้นที่ที่ปลูกเป็นดินร่วนทราย ควรปลูกในเดือนสิงหาคมตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงกลางฤดูฝน
2. ฤดูแล้ง ถ้าในแหล่งปลูกนั้นสามารถใช้นํ้าจากชลประทานได้ก็สามารถปลูกเป็นพืชเสริมได้
โดยปลูกในช่วงเดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ซึ่งเป็นช่วงหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว
เนื่องจากพันธุ์ลูกผสมนี้ดอกค่อนข้างใหญ่ เวลาเมล็ดแก่จานดอกจะห้อยลงมาและด้านหลังของ
จานดอกจะมีลักษณะเป็นแอ่งเหมือนกระทะก้นแบน เมื่อฝนตกลงมานํ้าฝนจะขังในแอ่งดังกล่าว จะทําให้เกิดโรคเน่าได้มากและทําให้เมล็ดเน่าเสียหาย ดังนั้นจึงควรปลูกในปลายฤดูฝน หรือในฤดูแล้งถ้ามี
ฝนตกนํ้าขังในแอ่งของจานดอก ให้เขย่าต้นเพื่อทําให้นํ้าไหลออกให้หมด

การเตรียมดิน
การเตรียมดินก้อนปลูก ควรไถดินให้ลึกในระดับ30 เซนติเมตรหรือลึกกว่านั้น เพราะว่า เมื่อฝนตกดินจะสามารถรับนํ้าให้ซึมซับอยู่ในดินได้มากขึ้น การไถดินลึกจะช่วยทําลายการอัดแน่นของดินในชั้นไถพรวน ทําให้นํ้าซึมลงในดินชั้นล่างได้มากขึ้น ควรกําจัดวัชพืชในแปลงให้สะอาด และไถย่อยดินครั้งสุดท้ายให้ร่วนซุย หากมีการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไปพร้อมกับการย่อยดินครั้งสุดท้ายจะช่วย
เสริมธาตุอาหารต่างๆเพื่อให้พืชนําไปใช้ประโยชน์

การปลูก
หลังจากเตรียมดินเสร็จแล้ว ควรทําร่องสําหรับหยอดเมล็ด โดยให้แต่ละร่องห่างกัน 70-75 เซนติเมตร และให้หลุมปลูกในร่องห่างกัน 25-30เซนติเมตร หยอดหลุมละ 2 เมล็ด แลวกลบดินโดยให้เมล็ดอยู่ลึก 5-8เซนติเมตร เมื่อพืชงอกได้ 10 วัน หรือมีใบจริง 2-4 คู่ให้ถอนแยกเหลือไว้
เฉพาะต้นที่แข็งแรงเพียงหลุมละ 1 ต้น และถ้าหากดินมีความชื้นตํ่าควรใช้
ระยะปลูกกว้างขึ้น

การยกร่องนี้ เพื่อเป็นการสะดวกในการให้นํ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกในฤดูแล้งที่ต้องการนํ้ามาก ส่วนการปลูกในฤดูฝน ถ้าเป็นดินที่มีการระบายนํ้าดีก็ไม่จําเป็นต้องยกร่องและใช้ระยะปลูกเช่นเดียวกับยกร่องการปลูกวิธีนี้ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมจํานวน 0.7 กิโลกรัมต่อไร่และปลูกตามระยะที่แนะนํานี้
จะได้จํานวนต้น 6_400-8_500 ต้นต่อไร่

ใส่ปุ๋ย
ทานตะวันเป็นพืชที่ให้โปรตีน และแร่ธาตุสูง จึงควรใส่ปุ๋ยในปริมาณที่พืชต้องการตามสภาพดิน
ที่ปลูกด้วยสําหรับปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมที่แนะนํา คือ สูตร 15 – 15 - 15 หรือ 16 - 16 - 8 อัตรา 30
- 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่รองพื้นพร้อมปลูก และใช้ปุ๋ยยูเรีย 46 – 0 - 0 อัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อ
ไร่ เมื่อทานตะวันอายุได้ 30 วัน หรือมีใบจริง 6-7 คู่ ซึ่งเป็นระยะกําลังจะออกดอก หากมีการตรวจ
วิเคราะห์ดินก่อนปลูก จะช่วยให้การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและในกรณีที่เป็นดินทรายและขาดธาตุ
โบรอน ควรใส่ผงโบแรกซ์ประมาณ 2 กิโลกรัมต่อไร่ จะทําให้เพิ่มผลผลิตได้มากและทําให้คุณภาพของเมล็ดทานตะวันดีขึ้น

ให้นํ้า
นํ้าเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบต่อการผลิตทานตะวัน หากความชื้นในดินมีน้อยก็จะทําให้ผล
ผลิตลดลงด้วย การให้นํ้าที่เหมาะสมแก่ทานตะวันจึงจะทําให้ได้รับผลผลิตดีด้วย ดังนั้นการให้นํ้าควร
ปฏิบัติดังนี้
ครั้งที่ 1 หลังจากปลูกเสร็จแล้วรีบให้นํ้าทันทีหรือควรทําการปลูกทันทีหลังฝนตกเพื่อใช้ความชื้นในดินให้เต็มที่โดยไม่ต้องรดนํ้า
ครั้งที่ 2 ระยะมีใบจริง 2 คู่ หรือประมาณ 10-15 วัน หลังงอก
ครั้งที่ 3 ระยะเริ่มมีตาดอก หรือประมาณ 30-35 วัน หลังงอก
ครั้งที่ 4 ระยะดอกเริ่มบาน หรือประมาณ 50-55 วัน หลังงอก
ครั้งที่ 5 ระยะกําลังติดเมล็ด หรือประมาณ 60-70 วัน หลังงอก การให้นํ้าควรให้นํ้าอย่างเพียง
พอให้ดินชุ่ม แต่ไม่ต้องถึงกับแฉะและนํ้าขังการให้นํ้าควรคํานึงถึงความชุ่มชื้นในดินด้วย ไม่ควรปล่อย
ให้ดินแห้งมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงแรกของการเจริญเติบโตจนถึงระยะติดเมล็ด

การกําจัดวัชพืช
ควรกําจัดวัชพืชอย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งแรก เมื่อทานตะวันมีใบจริง 2-4 คู่ ซึ่งการทํารุ่นครั้งแรก
นี้ทําพร้อมกับการถอนแยกต้นพืชให้เหลือ 1 ต้นต่อหลุม เป็นการสะดวกสําหรับเกษตรกรในการปฏิบัติ
และครั้งที่สองทําพร้อมกับการใส่ปุ๋ยครั้งที่สอง เมื่อทานตะวันมีใบจริง 6-7 คู่ ทํารุ่นพร้อมกับใส่ปุ๋ยและ
พูนโคนต้นไปด้วย ในแปลงที่มีปัญหาวัชพืชขึ้นรบกวน ควรทําการกําจัดวัชพืชเพื่อป้องกันการแย่งอาหารและความชื้นในดิน ตั้งแต่ต้นยังเล็กหรือใช้สารเคมีคุมกําเนิดหรือใช้สารเคมีคุมกําเนิดพวกอะลาคลอร์ หรือเมโธลาคลอร์ฉีดพ่นหลังหยอดเมล็ดก่อนที่จะงอกในอัตรา 300-400 ซีซีผสมนํ้า 4 ปี๊บ สําหรับฉีดพ่นในเนื้อที่ปลูก 1 ไร่ โดยฉีดให้สมํ่าเสมอกันสามารถคุมการเกิดวัชพืชได้นานถึง 2 เดือน และควรใช้แรงงานคน สัตว์หรือเครื่องทุ่นแรง ทํารุ่นได้ตามความจําเป็น

ข้อควรระวัง
ห้ามใช้สารเคมีกําจัดวัชพืชอะทราซีนในทานตะวันโดยเด็ดขาด

การเก็บเกี่ยว
ทานตะวัน จะมีอายุการเก็บเกี่ยวแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ปลูก (พันธุ์ลูกผสม อายุเก็บเกี่ยว 90-100 วัน)

วิธีการ
เก็บเกี่ยวนั้นให้สังเกตจากด้านหลังของจานดอกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองซึ่งเป็นช่วงการสร้างนํ้ามันในเมล็ดจะเริ่มลดลง และจะหยุด
สร้างนํ้ามันเมื่อจานดอกเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลก็เริ่มเก็บเกี่ยวได้หลัง
จากนั้นให้นําไปผึ่งแดดจัด ๆ 1-2 แดด โดยแขวนให้หัวห้อยลงและ
หมั่นกลับช่อดอก เพื่อให้ดอกแห้งอย่างสมํ่าเสมอ ถ้าเก็บเกี่ยวในช่วงที่ยังมีฝนชุกให้นํามาผึ่งในร่ม
หลายๆ วันจนแห้งสนิท แล้วจึงรวบรวมไปนวด อาจใช้แรงคนหรือสัตว์หรือใช้เครื่องนวดเมล็ดถั่วเหลืองหรือถั่วลิสงก็ได้เสร็จแล้วนําไปทําความสะอาดแล้วเก็บไว้ในยุ้งฉางที่ป้องกันแดด-ฝน และแมลงศัตรูได้ เพื่อรอจําหน่าย (ความชื้นของเมล็ดที่จะเก็บรักษาไว้ควรไม่เกิน 10%)

การให้ผลผลิต
การปลูกทานตะวันในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีการบํารุงรักษาดีจะให้ผลผลิตไม่ตํ่ากว่า
300 กิโลกรัมต่อไร่แต่โดยเฉลี่ยประมาณไม่ตํ่ากว่า 200 กิโลกรัมต่อไร่

โรคแมลงและศัตรูทานตะวัน
- โรคใบและลําตำนไหม้อัลเทอร์นาเรีย
- โรคโคนเน่าหรือลําต้นเน่า
แมลงศัตรูทานตะวัน
- หนอนกระทู้ผัก
- หนอนเจาะสมอฝ้าย
- หนอนม้วนใบส้ม
- หนอนเจาะลําต้นข้าวโพด

ศัตรูทานตะวัน
นก หนูและอื่น ๆ นับว่าเป็นศัตรูสําคัญอีกประการหนึ่ง ที่จะทําความเสียหายให้แก่ทานตะวัน
โดยเฉพาะในแหล่งปลูกใหญ่ๆ ฉะนั้นเกษตรจะต้องหมั่นออกสํารวจตรวจแปลงเสมอ เมื่อพบว่ามีการ
ระบาดก็ให้รีบทําการป้องกันกําจัด โดยวิธีกลคือ การวางกับดัก การล้อมตีเป็นต้น

ประโยชน์ของทานตะวัน
แต่เดิมทานตะวันเป็นเพียงไม้ดอกไม้ประดับเท่านั้น ต่อมาได้นําเมล็ดมาเป็นของขบเคี้ยว และ
สกัดเป็นนํ้ามัน จึงทําให้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สําคัญพืชหนึ่ง การใช้ประโยชน์จากทานตะวันมีหลายลักษณะดังนี้

1. เมล็ด ใช้บริโภคโดยตรง เพื่อเป็นแหล่งโปรตีนแทนเนื้อสัตว์ได้ในเมล็ด มีธาตุเหล็กสูงไม่แพ้
ธาตุเหล็กจากไข่แดงและตับสัตว์เมื่อบดทําแป้งจะได้แป้งสีขาว มีไขมันสูง มีโปรตีนมากกว่าร้อยละ 50ของปริมาณแป้ง
2. เปลือกของลําต้น มีลักษณะเหมือนเยื่อไม้นํามาทํากระดาษสีขาวได้คุณภาพดีลําต้นใช้ทํา
เชื้อเพลิงได้เมื่อไถกลบจะเป็นปุ๋ยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินได้ดี
3. ราก ใช้ทําแป้งเค้ก สปาเก็ตตี้ในรากมีวิตามินบี1 และธาตุอีกหลายชนิด แพทย์แนะนําให้ใช้ รากทานตะวันประกอบอาหารสําหรับผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
4. นํ้ามัน นํ้ามันที่สกัดจากเมล็ดจะให้ปริมาณนํ้ามันสูงถึงร้อยละ 35 และได้นํ้ามันที่มีคุณภาพ
สูง ประกอบด้วยกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวเช่น กรดลิโนเลอิค หรือกรดลิโนเลนิค สูงถึงร้อยละ 60-70 ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อร่างกายในการช่วยลดคลอเรสเตอรอลที่เป็นสาเหตุของโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้ และยังประกอบด้วยไวตามิน เอ ดีอีและเค ซึ่งคุณภาพของไวตามินอีจะสูงกว่าในนํ้ามันพืชอื่น ๆ เมื่อ เก็บไว้เป็นเวลานานจะไม่เกิดกลิ่นหืน ทั้งยังทําให้สีกลิ่น และรสชาติไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากใช้เป็นนํ้ามันพืชแล้วยังนิยมใช้ในอุตสาหกรรม ทําเนยเทียม สีนํ้ามันชักเงา สบู่และนํ้ามันหล่อลื่นเครื่องยนต์
5. กาก กากที่ได้จากการสกัดนํ้ามันออกแล้ว จะนําไปใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์ได้ในกาก
เมล็ดทานตะวันที่กะเทาะเปลือกและบีบนํ้ามันออกแล้ว จะมีโปรตีนร้อยละ 42 และใช้เป็นแหล่ง
แคลเซียมสําหรับปศุสัตว์ได้ดีแต่จะมีปริมาณกรดอะมิโนอยู่เล็กน้อย และขาดไลซีนจึงต้องใช้อย่างรอบคอบ เมื่อจะเอาไปผสมเป็นอาหารสัตว์ที่มิใช่สัตว์เคี้ยวเอื้อง


ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..
รูปภาพจาก
อ่าน:3066
ข้าวโพด ใบไหม้ ใบจุด ราสนิม กำจัดโรคข้าวโพด จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
ข้าวโพด ใบไหม้ ใบจุด ราสนิม กำจัดโรคข้าวโพด จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
ไอเอส และ FK-T สามารถใช้ได้กับทุกพืช ใช้ฉีดพ่นทางใบ กับอุปกรณ์ฉีดพ่นทั่วไป และใช้โดรนบินฉีดพ่นได้เช่นกัน

โรคราน้ำค้าง
ลักษณะของโรค
1.มีจุดเล็กๆขนาด 1-2 มิลลิเมตร มักเกิดกับข้าวโพดระยะกล้าอายุไม่เกิน 7 วัน
2.อาการที่เกิดต่อมาจากอาการแบบที่ 1พบเป็นทางยาวสีเหลืองหรือสีเขียวอ่อนสลับกับเขียว แผลจะ ขยายจากจุด ลามลงมาทางโคนใบ ต่อมาเมื่อ ข้าวโพดอายุมากเข้ารอยสีเขียวอ่อนหรือ สีเหลืองก็จะเปลี่ยนเป็นสี น้ําตาล
3.อาการที่ตามมาข้าวโพดมีใบสี เหลืองซีดโดยเฉพาะในบริเวณยอด ต้นแคระแกรน เตี้ย ข้อถี่ ไม่มี ฝักหรือมีฝักขนาดเล็ก ก้านฝักมีความยาวมากหรือมีจำนวนฝัก มากกว่าปกติ แต่จะไม่สมบูรณ์

โรคราใบจุด
ลักษณะของโรค
ลักษณะโรคส่วนใหญ่จะแสดงบนใบ แต่บางครั้งอาจพบบนกาบใบและฝักด้วย ระยะแรกเกิดเป็นจุดเล็ก ๆ ขนาด 1-2 มม. ต่อมาตรงกลางจุดจะแห้งมีสีเทาหรือน้ําตาลอ่อน ขอบแผลสีน้ําตาลแดง ในที่สุดเปลี่ยนเป็นสี น้ําตาลไหม้ขนาด 1 ซม.มีวงแหวนสีเหลือง ล้อมรอบอีกชั้นหนึ่ง พบเมื่ออากาศร้อนชื้น

โรคราสนิม
ลักษณะของโรค
อาการของโรคเกิดได้ทั่วทั้งต้นข้าวโพด คือ ใบ ลำต้น กาบใบ ฝัก โดยแสดงอาการเป็นจุดนูนเล็กๆ สีน้ำตาลแดง ขนาด 0.2-2 มม. แผลส่วนมากจะเกิดด้านบนของใบมากกว่าด้านล่างของใบ เมื่อข้าวโพดเป็นโรคในระยะแรกๆ จะพบเป็นจุดนูนเล็กๆ ต่อมาแผลจะแตกออก มองเห็นเป็นผงสีสนิมเหล็ก ซึ่งเป็นที่มาของชื่อโรคราสนิมนั่นเอง

ไอเอส เป็นสารอินทรีย์สกัดจากธรรมชาติทั้งหมด โดยอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงอันทันสมัย การควบคุมประจุไฟฟ้า สามารถฉีดพ่นได้ก่อนการเก็บเกี่ยว โดยไม่มีสารพิษตกค้าง ปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค

FK-T (FK ธรรมชาตินิยม) ปลอดภัย อาหารเสริมพืชชั้นเลิศ ลดต้นทุนปุ๋ย ได้ผลผลิตเพิ่ม พืชฟื้นตัวได้เร็ว
ขนาด 1 ลิตร
อัตราผสม 50 ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นทางใบ

แนะนำให้ผสม ไอเอส และ FK-T ฉีดพ่นไปพร้อมกัน
อัตราผสม สำหรับการฉีดพ่นพร้อมกัน
มาคา 50 ซีซี และ FK-T 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ ทุก 3-5วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง หมั่นสังเกตุอาการ

การผสมฉีดพ่นไปพร้อมกันส่งผลให้..

เมื่อพืช ถูกโรคหรือแมลงศัตรูพืชต่างๆเข้าทำลาย พืชจะมีความอ่อนแอ ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูได้ต่ำกว่าปกติ
การที่เราใช้เฉพาะตัวยา ตัวยาจะช่วยหยุดโรค หรือกำจัดแมลง แต่พืชของเรานั้นจะยังทรงตัว ฟื้นตัวจากโรค หรือฟื้นตัวจากความเสียหายของการเข้าทำลายของแมลงได้ช้า

เปรียบได้คล้ายกับคนป่วย หากได้รับแต่เฉพาะยา ไม่ทานอาหาร ไม่บำรุง ร่างกายก็จะฟื้นตัวกลับมาสมบูรณ์แข็งแรงดังเดิมได้ช้า
พืชก็เช่นกัน หากเราให้ยา และให้อาหารเสริมพืชทางใบหรือ FK-T ไปพร้อมกัน พืชจะได้รับธาตุอาหารที่จำเป็นไปพร้อมกับยารักษาโรคหรือยาปราบศัตรูพืช จึงช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็ว และกลับมาให้ผลผลิตดีดังเดิม


สั่งซื้อ
โทร 0909-592-8614
ไลน์ @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ
สามารเลือกซื้อกับลาซาด้า http://ไปที่..link.. และช้อปปี้ http://ไปที่..link.. ได้เช่นกัน
กำจัดเชื้อรา ข้าวโพด ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
กำจัดเชื้อรา ข้าวโพด ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
ไอเอส และ FK-T สามารถใช้ได้กับทุกพืช ใช้ฉีดพ่นทางใบ กับอุปกรณ์ฉีดพ่นทั่วไป และใช้โดรนบินฉีดพ่นได้เช่นกัน

โรคราน้ำค้าง หรือโรคใบลาย มีสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Peronosclerospora sorghi เกิดโรคได้ตั้งแต่ข้าวโพดเริ่มงอก โดยพบจุดเล็กๆ สีเขียวฉ่ำน้ำบนใบอ่อน ต่อมาใบข้าวโพดมีสีเหลืองซีดโดยเฉพาะใบยอด หรือ ใบลายเป็นทางสีเขียวอ่อนสลับสีเขียวแก่ ในเวลาเช้ามักพบส่วนของเชื้อรา ลักษณะเป็นผงสีขาวจำนวนมากบนใบ บางครั้งพบยอดข้าวโพดแตกเป็นพุ่ม ต้นแคระแกร็น เตี้ย ข้อถี่ ไม่มีฝัก หรือมีฝักที่ติดเมล็ดน้อยหรือไม่ติดเมล็ดเลย ก้านฝักมีความยาวมาก หรือมีจำนวนฝักมากกว่าปกติ ข้าวโพดอายุ 1-3 สัปดาห์ จะอ่อนแอต่อโรคมาก

ไอเอส เป็นสารอินทรีย์สกัดจากธรรมชาติทั้งหมด โดยอาศัยเทคโนโลยีขั้นสูงอันทันสมัย 'การควบคุมประจุไฟฟ้า' สามารถฉีดพ่นได้ก่อนการเก็บเกี่ยว โดยไม่มีสารพิษตกค้าง ปลอดภัยต่อผู้ใช้ และผู้บริโภค

FK-T (FK ธรรมชาตินิยม) ปลอดภัย อาหารเสริมพืชชั้นเลิศ ลดต้นทุนปุ๋ย ได้ผลผลิตเพิ่ม พืชฟื้นตัวได้เร็ว
ขนาด 1 ลิตร
อัตราผสม 50 ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นทางใบ

แนะนำให้ผสม ไอเอส และ FK-T ฉีดพ่นไปพร้อมกัน
อัตราผสม สำหรับการฉีดพ่นพร้อมกัน
มาคา 50 ซีซี และ FK-T 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทางใบ ทุก 3-5วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง หมั่นสังเกตุอาการ

การผสมฉีดพ่นไปพร้อมกันส่งผลให้..

เมื่อพืช ถูกโรคหรือแมลงศัตรูพืชต่างๆเข้าทำลาย พืชจะมีความอ่อนแอ ต้านทานต่อโรคและแมลงศัตรูได้ต่ำกว่าปกติ
การที่เราใช้เฉพาะตัวยา ตัวยาจะช่วยหยุดโรค หรือกำจัดแมลง แต่พืชของเรานั้นจะยังทรงตัว ฟื้นตัวจากโรค หรือฟื้นตัวจากความเสียหายของการเข้าทำลายของแมลงได้ช้า

เปรียบได้คล้ายกับคนป่วย หากได้รับแต่เฉพาะยา ไม่ทานอาหาร ไม่บำรุง ร่างกายก็จะฟื้นตัวกลับมาสมบูรณ์แข็งแรงดังเดิมได้ช้า
พืชก็เช่นกัน หากเราให้ยา และให้อาหารเสริมพืชทางใบหรือ FK-T ไปพร้อมกัน พืชจะได้รับธาตุอาหารที่จำเป็นไปพร้อมกับยารักษาโรคหรือยาปราบศัตรูพืช จึงช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็ว และกลับมาให้ผลผลิตดีดังเดิม


สั่งซื้อ
โทร 0909-592-8614
ไลน์ @FarmKaset มี @ ด้วยนะคะ
สามารเลือกซื้อกับลาซาด้า http://ไปที่..link.. และช้อปปี้ http://ไปที่..link.. ได้เช่นกัน
พืชที่เหมาะจะปลูก ในแต่ละภาค ของประเทศไทย ภาคไหน... ปลูกอะไรดี?
พืชที่เหมาะจะปลูก ในแต่ละภาค ของประเทศไทย ภาคไหน... ปลูกอะไรดี?
พี่น้องเกษตรกรหลายคน น่าจะเคยสงสัยว่าเราปลูกพืชชนิดเดิมๆ มานาน อยากเปลี่ยนไปปลูกพืชชนิดอื่นบ้าง แล้วเราจะปลูกอะไรดี หรือเกษตรมือใหม่ทีอยากจะปลูกพืช แต่ไม่รู้ว่าพื้นที่ๆ เราอยู่ควรปลูกพืชอะไรดี

เพื่อให้ง่ายกับการวางแผนการทำการเกษตรสำหรับเกษตรกรรุ่นเก๋า เกษตรกรรุ่นใหม่ เกษตรกรมือใหม่ มาดูกันว่าในแต่ละภูมิภาคที่เราอยู่ปลูกพืชชนิดไหนได้บ้าง

ภาคกลาง - ภูมิภาคแห่งการปลูกข้าว

พืชที่เหมาะสมกับการปลูกในภาคกลาง มีดังนี้

ข้าว

อ้อย

ข้าวโพด

ผัก

ภาคกลางนั้นเป็นพื้นที่ราบลุ่มและมีแหล่งน้ำเพียงพอ การเลือกปลูกพืชสำหรับภาคกลางจึงไม่ใช่เรื่องยาก แต่หากให้เลือกชนิดพืชที่เหมาะสมที่สุด ก็คงหนีไม่พ้นข้าว ในประเทศไทยนั้นมีพื้นที่กว่า 32 ล้านไร่ที่เป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกข้าว นอกเหนือจากนั้นยังเหมาะกับการปลูกอ้อยและข้าวโพดอีกด้วย

อย่างไรก็ตาม ด้วยความเป็นพื้นที่ราบลุ่มและมีแม่น้ำไหลผ่านหลายสาย สิ่งที่เกษตรกรพึงระวังคือเรื่องน้ำท่วม เนื่องจากมีสภาพพื้นที่ลุ่มต่ำ มีความสูงจากระดับน้ำทะเลไม่มาก ทำให้เป็นพื้นที่ที่เสี่ยงต่อน้ำท่วมมากที่สุด การวางแผนทำการเกษตรในภาคกลางจึงควรคำนึงถึงเรื่องนี้เพื่อป้องกันการเสียหายจากน้ำท่วมในอนาคต

ภาคเหนือ - สูงและเย็น คือคำนิยาม

พืชที่เหมาะสมกับการปลูกในภาคเหนือ มีดังนี้

ข้าว

ลำไย

ลิ้นจี่

ส้ม

สตรอเบอรี่

บ๊วย

พลับ

กีวี่

พีช

เสาวรส

ผักเมืองหนาว

ภาคเหนือเป็นภูมิภาคที่เต็มไปด้วยภูเขา แต่ก็ยังเป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวได้อย่างดี โดยเฉพาะบริเวณจังหวัดเชียงรายและเชียงใหม่ แต่สิ่งที่ทำให้ภาคเหนือมีความพิเศษคือสภาพอากาศหนาวเย็น เปิดโอกาสให้เกษตรกรภาคเหนือได้ปลูกพืชเมืองหนาว ซึ่งหาไม่ได้จากเมืองร้อนอย่างไทย เช่นสตรอเบอรี่ บ๊วย พลับ กีวี่ พีช เสาวรส และผักเมืองหนาว เป็นต้น

ถึงอย่างนั้น หากเป็นภาคเหนือบริเวณพื้นที่ภูเขาสูง อาจต้องคำนึงถึงการบริหารจัดการน้ำ เพราะหลายพื้นที่ก็อาจขาดแคลนน้ำได้ รวมถึงต้องระวังการปลูกพืชที่ไม่ชอบอากาศหนาวอีกด้วย

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ - แดนดินเค็มและแห้งแล้ง

พืชที่เหมาะสมกับการปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีดังนี้

ข้าว

อ้อย

มันสำปะหลัง

ข้าวโพด

สับปะรด

มะพร้าว

ลำไย

ถือเป็นภาคที่ขึ้นชื่อเรื่องสภาพพื้นที่อันโหดร้าย เพราะความแล้งจัดและความเค็มของดินจึงทำให้ยากต่อการเลือกปลูกพืชสำหรับภาคอีสาน อย่างไรก็ตาม ภูมิภาคนี้กลับเป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกข้าวคุณภาพดีชั้นหนึ่งของไทยอย่างข้าวหอมมะลิ การปลูกพืชในภาคอีสานต้องมีการปรับปรุงดินและบริหารจัดการน้ำที่ดี เพราะเสี่ยงภัยแล้งจัดและดินมีความอุดมสมบูรณ์ค่องข้างต่ำกว่าที่อื่น นอกเหนือจากข้าวแล้วยังมีอ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด สับปะรด มะพร้าว และลำไย ซึ่งพืชเหล่านี้ถือว่ามีความเหมาะสมระดับปานกลางที่จะปลูกในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

การแก้ปัญหาดินเค็มนั้นใช้ต้นทุนค่อนข้างสูงและยาก ยิ่งสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้อาจจะยิ่งซ้ำปัญหาดินเค็มมากกว่าเดิม แต่เกษตรกรสามารถทดลองปลูกพืชทนเค็ม จำพวกพุทรา มะขาม หน่อไม้ฝรั่ง ละมุด เป็นอีกตัวเลือกหนึ่งได้ หรือหากอยู่ในภาคอีสานตอนบนที่ค่อนข้างสูงและเย็น ก็สามารถทดลองปลูกไม้เมืองหนาวได้เช่นกัน

ภาคตะวันออก - แดนทุเรียน ถิ่นไม้ผล

พืชที่เหมาะสมกับการปลูกในภาคตะวันออก มีดังนี้

ทุเรียน

มังคุด

ลำไย

อ้อย

มันสำปะหลัง

ข้าวโพด

สับปะรด

ยางพารา

หากพูดถึงภาคตะวันออก หนึ่งในจังหวัดที่นิยมปลูกไม้ผลที่สุดคงไม่พ้นจังหวัดจันทบุรีและระยอง ที่มีชื่อเสียงจากทุเรียน เนื่องจากเป็นภาคที่มีสภาพอากาศร้อนชื้นและฝนตกชุก ซึ่งเป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกไม้ผลเป็นอย่างยิ่ง แต่นอกเหนือจากทุเรียนแล้ว อ้อย มันสำปะหลัง ข้าวโพด สับปะรด และยางพาราก็เหมาะสมที่จะปลูกในภาคตะวันออกเช่นกัน

แม้จะเป็นพื้นที่เหมาะกับการปลูกไม้ผล แต่เพราะสภาพอากาศฝนตกชุกของภาคตะวันออก เกษตรกรควรระวังโรคที่มากับฝนและความชื้น เช่น โรคไฟทอปธอร่าในทุเรียน ที่มักจะระบาดหนักจากความชื้นในดิน ดังนั้นภูมิภาคนี้ต้องการความใส่ใจมากเป็นพิเศษ ไม่แพ้ภาคอื่นๆเลยทีเดียว

ภาคใต้ - พื้นที่มากฝนและพายุ จุดศูนย์รวมปาล์มน้ำมันและยางพารา

พืชที่เหมาะสมกับการปลูกในภาคใต้ มีดังนี้

ทุเรียน

ปาล์มน้ำมัน

ยางพารา

เงาะ

กาแฟโรบัสต้า

ด้วยสภาพพื้นที่ยื่นออกไปในทะเลอันดามันและอ่าวไทย ภาคใต้จึงเป็นภูมิภาคที่มีฝนตกชุกมากที่สุดในประเทศไทย รวมทั้งสภาพอากาศโดยรวมคือร้อนชื้น คล้ายคลึงกับภาคตะวันออกเป็นอย่างมาก จึงทำให้เป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกไม้ผลและพืชไร่หลายชนิด แต่หนึ่งในพืชที่เหมาะสมโดดเด่นที่สุดในภาคใต้คงหนีไม่พ้นปาล์มน้ำมัน ยางพารา และเงาะ ซึ่งสามารถปลูกได้ทั้งภาคใต้ตั้งแต่จังหวัดชุมพรลงไปถึงนราธิวาส ทว่านอกเหนือจากพืชสองชนิดนี้แล้ว กาแฟโรบัสต้าเองก็มีความเหมาะสมปานกลางที่จะปลูกในภาคใต้อีกด้วย

ข้อควรระวังของภาคใต้ คือฝนตกชุกที่อาจนำพาโรคมา รวมไปถึงพายุที่อาจทำให้สวนของเกษตรกรเสียหายได้ ดังนั้นจึงควรระวังและป้องกันพืชผลไม่ให้ถูกทำลายจากพายุให้ดี

นอกเหนือจากข้อมูลเหล่านี้แล้ว สิ่งที่เกษตรกรควรคำนึงถึงก่อนเลือกปลูกพืชในแต่ละภูมิภาค คือสภาพดินในไร่สวนของตนเอง เกษตรกรควรมีการตรวจวิเคราะห์ดินโดยสามารถส่งตรวจกับสำนักงานพัฒนาที่ดินในพื้นที่ของตนเอง จากนั้นจึงนำผลมาใช้ในการปรับปรุงดินให้เป็นพื้นที่เหมาะสมกับการปลูกพืชต่อไป การปลูกพืชนอกเหนือไปจากพื้นที่ที่เหมาะสมนั้นสามารถทำได้ เพียงแต่ต้องอาศัยการจัดการที่มากขึ้น ซึ่งอาจหมายถึงต้นทุนที่สูงขึ้นกว่าการปลูกในพื้นที่ที่เหมาะสมตามธรรมชาติ และต้องคำนึงถึงช่องทางการขายและการขนส่งผลผลิตไปยังโรงงานแปรรูปหรือผู้รับซื้ออีกด้วย

อ้างอิงข้อมูลจาก : Kaset Go

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:2986
ประเทศไทย ปลูกพืชอะไรมากที่สุด?
ประเทศไทย ปลูกพืชอะไรมากที่สุด?
เกษตรกรทั่วทุกภาคของประเทศไทย ที่เป็นประเทศเกษตรกรรม โดยมีการปลูกข้าวเป็นส่วนใหญ่ อย่างไรก็ตามมีพืชหลายชนิดที่เป็นพืชนิมปลูกในพื้นที่ต่างๆ โดยแบ่งตามที่ตั้งทางภูมิศาสตร์ การปลูกพืช ภูมิอากาศ พืชที่นิยมปลูกในแต่ละภูมิภาคอาจแบ่งได้ดังนี้

1. พืชนิยมปลูกภาคเหนือของประเทศไทย

ที่ตั้งอยู่บนภูเขาสูงมีการปลูกพืชระบบหมุนเวียนตามฤดูกาล ปัจจุบันการผลิตข้าวนาขั้นบันไดเป็นระบบการเกษตรที่ยั่งยืนบนพื้นที่สูงในเขตภาคเหนือตอนบน และสามารถสร้างผลผลิตสูงกว่าการปลูกข้าวไร่ โดยจะมีการปลูกข้าวอยู่ในระดับปานกลาง เพียงร้อยละ 10.3 ของพื้นที่การปลูกข้าวบนที่สูง การปลูกพืชหมุนเวียนเป็นระบบการปลูกพืชที่สามารถเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดินในช่วงเวลาหนึ่งลดความเสี่ยงจากการระบาดของโรคและแมลงและเป็นรายได้เสริมให้แก่เกษตรกรได้ และมีการปลูก ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ข้าวโพด ฝ้าย ข้าวฟ่าง ข้าวโพด และอื่นๆ รวมถึงผลไม้ เช่น ลิ้นจี่ ลำไย มะม่วง เป็นต้น การปลูกพืชแบบผสมผสานในพื้นที่ จึงทำให้มีความหลากหลายของพืชพรรณต่างๆ ด้วยพื้นที่ชลประทาน 10% ในช่วงฤดูแล้งเกษตรกรจึงนิยมปลูก โดยจะการปลูกข้าวที่ใช้ปลูกในฤดูแล้ง หรือ ถั่วเหลือง ถั่วลิสง ถั่วฝักยาว ยาสูบ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดอ่อน หอมหัวใหญ่ กระเทียม มะเขือเทศ แตงโม เป็นต้น ดังนั้นการปลูกพืชโดยทั่วไปในพื้นที่นี้จึงเป็นการปลูกข้าวและการปลูกไม้ผลเป็นหลัก

2.พืชนิยมปลูกภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย (ภาคอีสาน)

การเพาะปลูก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือทำการเพาะปลูกมากที่สุด แต่ผลผลิตต่อไร่ต่ำสุด เนื่องจากดินไม่อุดมสมบูรณ์ เช่น การปลูกข้าว พืชไร่ที่สำคัญ ได้แก่ มันสำปะหลัง อ้อย ข้าวโพด ปอ ฝ้าย โดยพบว่าปัญหาสิ่งแวดล้อมในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1.เกิดปัญหาดินเค็ม ขาดความอุดมสมบูรณ์ 2.ขาดแคลนน้ำมากที่สุด เนื่องจากดินเป็นดินปนทรายไม่อุ้มน้ำ 3.การบุกรุกป่าไม้ของประชากรเพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการเพาะปลูก หรือเพื่อการค้า ทรัพยากรธรรมชาติในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ทรัพยากรดิน ดินในภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินทรายและขาดธาตุอาหาร ใต้ดินมีเกลือหินทำให้ดินเค็มและแห้ง ไม่เหมาะในการเพาะปลูกพืช และทำนา ดังนั้นไร่เทพจึงมีส่วนสำคัญในการช่วยปรับปรุงดิน ทำให้โครงสร้างของดินดี ดินโปร่ง ร่วนซุย น้ำและอากาศถ่ายเทสะดวก รากพืชแผ่ขยายได้ง่าย ผสมน้ำราดโคนต้น จะช่วยปรับสภาพดินเหนียวให้คลายตัวออก สามารถปลดปล่อยธาตุอาหารที่ถูกตรึงไว้ในดินให้พืชกลับนำมาใช้ใหม่ได้ใหม่อย่างเต็มที่ในดินทรายจะช่วยอุ้มน้ำ รักษาความเป็นกรด ด่าง ไม่ให้เปลี่ยนแปลงเร็ว เนื่องจากภาคตะวันออกเฉียงเหนือเป็นดินปนทรายไม่สามารถอุ้มน้ำได้ จึงทำให้ขาดแคลนน้ำเป็นสำคัญ จึงต้องอาศัยการชลประทานเข้ามาช่วยมีการสร้างเขื่อนหรืออ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่เพื่อเก็บกักน้ำ

3. พืชนิยมปลูกภาคกลางของประเทศไทย

รูปแบบการทำเกษตรกรรมในภาคกลางเป็นทำการเกษตรกรรมแบบผสมผสานคือมีการปลูกพืชและเลี้ยงปศุสัตว์ควบคู่กัน สามารถปลูกพืชอายุสั้น เช่น ข้าว (โดยเฉพาะการปลูกข้าวนาปรัง) พืชไร่ พืชผักมากกว่า 1 ครั้งในรอบปี โดยจังหวัดที่มีความถี่ของการใช้พื้นที่เพื่อเพาะปลูก ค่อนข้างสูง สำหรับกลุ่มพืชไร่ที่เพาะปลูกในภาคกลางที่สำคัญประกอบด้วย ข้าวโพด มันสำปะหลัง อ้อย สับปะรด ทานตะวัน และข้าวฟ่าง ซึ่งกระจายอยู่ทั่วทั้งภาค ดังนี้ อ้อย ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ มันสำปะหลัง สับปะรด และข้าวฟ่าง

4.พืชนิยมปลูกภาคใต้ของประเทศไทย

พืชเศรษฐกิจที่สำคัญในภาคใต้ ได้แก่ ยางพารา มะพร้าว กาแฟ ปาล์มน้ำมัน ข้าวและไม้ผล ต่าง ๆ แม้ว่าข้าวจะเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญ แต่ผลผลิตยังไม่เพียงพอสำหรับบริโภค ส่วนพืชไร่และพืชผัก ต่าง ๆ มีปลูกกันน้อย เช่นเดียวกันกับการเลี้ยงปศุสัตว์ เช่น โค กระบือ ก็ยังมีเป็นส่วนน้อยเมื่อเปรียบเทียบกับขนาดการถือครองพื้นที่การเกษตร อย่างไรก็ตาม บริเวณพื้นที่ที่น่าจับตามองว่าจะเป็นแหล่งที่จะพัฒนาการเลี้ยงโคได้ดี เนื่องจากมีศักยภาพทางด้านพื้นที่และความพร้อมของประชากร หากได้รับการสนับสนุนทางด้านปัจจัยการผลิต เงินทุน อัตรา ดอกเบี้ยและระยะเวลาผ่อนชำระหนี้นานจากรัฐบาล น่าจะทำให้การพัฒนาการเลี้ยงโค-กระบือในภาคใต้เพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ความต้องการโค-กระบือของตลาดทั้งภายในประเทศและนอกประเทศยังอยู่ในระดับสูง

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3308
โมลิบดินัม (Mo) หากขาดธาตุนี้ พืชคล้ายจะถูกจำกัดการเจริญเติบโต
โมลิบดินัม (Mo) หากขาดธาตุนี้ พืชคล้ายจะถูกจำกัดการเจริญเติบโต
การขาดโมลิบดีนัม (Mo)เกิดขึ้นเมื่อการเจริญเติบโตของพืชมีจำกัด เนื่องจากพืชไม่สามารถรับสารอาหารรองที่จำเป็นนี้ในปริมาณที่เพียงพอจากอาหารเลี้ยงเชื้อ สำหรับพืชที่ปลูกในดิน อาจเป็นผลมาจากความเข้มข้นของโมในดินโดยรวมต่ำ (กล่าวคือ วัสดุต้นกำเนิดของดินมีโมโมะต่ำ) หรือเนื่องจากดินโมจัดอยู่ในรูปแบบที่ไม่สามารถหาได้ พืช - การดูดซับของโมเป็นที่แข็งแกร่งที่สุดในดินกรด

ฟังก์ชั่น

ในพืชฟังก์ชั่นหลักของโมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงความจุที่ว่ามันผ่านส่วนประกอบของเอนไซม์ที่กระตุ้นความหลากหลายปฏิกิริยาปฏิกิริยา เนื่องจากองค์ประกอบสามารถอยู่ในสถานะออกซิเดชันที่หลากหลาย สถานะออกซิเดชัน IV_ V และ VI มีความสำคัญในระบบทางชีววิทยา จำนวนมากของความผิดปกติของ Mo-ขาดมีความเกี่ยวข้องกับการหยุดชะงักของกิจกรรมปกติของหลายเอนไซม์ที่เกี่ยวข้องในการเผาผลาญอาหารไนโตรเจน

เอ็นไซม์เหล่านี้ได้แก่

ไนโตรซึ่งเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับทางชีวภาพN 2ตรึงโดยทั้งสอง asymbiotic และชีวภาพแบคทีเรียตรึงไนโตรเจน

ไนเตรตรีดักเตสซึ่งจำเป็นสำหรับการลดไนเตรต – นี่เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับการรวมไนเตรต-Nในโปรตีน และ

Xanthine dehydrogenase ซึ่งเกี่ยวข้องกับการสังเคราะห์กรดยูริกจากพิวรีน

อาการ

อาการขาดโมลิบดีนัมในพืชส่วนใหญ่เกี่ยวข้องกับการสะสมของไนเตรตในส่วนพืชที่ได้รับผลกระทบ นี่เป็นผลมาจากกิจกรรมไนเตรตรีดักเตสที่ไม่ดี อาการต่างๆ ได้แก่[1] [2]

ใบสีซีดที่มีคลอโรซิสระหว่างเส้นและขอบ(สีเหลือง) และเนื้อร้าย (น้ำร้อนลวก);

whiptailความผิดปกติในBrassicaพืช (โดยเฉพาะกะหล่ำ);

ลด tasselling ในข้าวโพดเลี้ยงสัตว์;

การงอกของเมล็ดข้าวโพดก่อนเวลาอันควร

ในพืชตระกูลถั่ว การยับยั้งการตรึงN 2อาจทำให้พืชซีด สีเหลือง และขาดไนโตรเจน ขนาดและจำนวนของก้อนรากมักจะลดลง

สภาพดิน

การขาดโมลิบดีนัมพบได้บ่อยในดินหลายประเภท ดินบางชนิดมีความเข้มข้นของ Mo ทั้งหมดต่ำ และดินบางชนิดมี Mo ที่พืชใช้ได้ต่ำเนื่องจากการดูดซับ Mo อย่างแรง อาการมักเกิดขึ้นกับทั้งสองเงื่อนไข เช่น ในดินปนทรายที่เป็นกรด โมลิบดีนัมอาจถูกดูดซับอย่างรุนแรงในดินที่เป็นหินเหล็ก ปูนของดินบ่อยบรรเทาการขาด Mo Mo โดยการลดการดูดซับ [2]

ข้อกำหนดโมลิบดีนัม

โมลิบดีนัมเป็นสารอาหารรองที่จำเป็นซึ่งหมายความว่าจำเป็นสำหรับการเจริญเติบโตและการพัฒนาของพืช แต่ต้องการในปริมาณที่น้อยมาก แม้ว่าความต้องการ Mo จะแตกต่างกันไปตามพืชผล แต่ความเข้มข้นของใบ Mo (บนพื้นฐานเรื่องแห้ง ) ในช่วง0.2–2.0 มก. กก. -1ก็เพียงพอสำหรับพืชส่วนใหญ่

การรักษา

การเพิ่มค่า pH ของดินโดยการใส่ปูนจะช่วยบรรเทาอาการขาด Mo อย่างไรก็ตาม มีหลายสถานการณ์ที่การใช้ปุ๋ย Mo ทางดิน เมล็ด หรือทางใบนั้นคุ้มค่ากว่าการใช้ปูนขาวเพื่อเพิ่มความพร้อมของ Mo สารประกอบที่ใช้เป็นปุ๋ย ได้แก่ (ตามลำดับความสามารถในการละลายที่ลดลง): โซเดียม โมลิบเดต แอมโมเนียม โมลิบเดต กรดโมลิบดิก โมลิบดีนัม ไตรออกไซด์ และโมลิบดีนัมซัลไฟด์ อัตราการใช้ดินและทางใบโดยทั่วไปคือ50–200 ก. โมฮา-1 ; อัตราที่แนะนำสำหรับช่วงการรักษาจากเมล็ด7-100 กรัมโมฮ่า -1 [1]

อ้างอิง

^ a b c d e Hamlin_ รัสเซลล์ แอล. (2007). "โมลิบดีนัม". ใน Barker_ AV; พิลบีม_ ดีเจ (สหพันธ์). คู่มือของธาตุอาหารพืช โบคา เรตัน: สำนักข่าวซีอาร์ซี น. 375–394. ISBN 978-0824759049.

อรรถเป็น ข Mengel คอนราด; เคิร์กบี้_ เออร์เนสต์ เอ. (2001). "โมลิบดีนัม". หลักโภชนาการพืช (ฉบับที่ 5) Dordrecht: สำนักพิมพ์ Kluwer Academic น. 613–619. ISBN 079237150X.

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link.._(plant_disorder)
อ่าน:3444
ปลูกพืชในดินลูกรัง การจัดการ ดินลูกรัง ที่ถูกวิธี ช่วยเพิ่มผลผลิตพืชได้
ปลูกพืชในดินลูกรัง การจัดการ ดินลูกรัง ที่ถูกวิธี ช่วยเพิ่มผลผลิตพืชได้
ดินลูกรัง (Skeletal soils) หมายถึง ดินที่พบชั้นลูกรัง ชั้นกรวด ชั้นเศษหิน หรือชั้นหินพื้นในระดับตื้นกว่า 50 เซนติเมตร จากผิวดิน เนื้อดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วนถึงดินร่วนปนทราย อาจพบกรวด หินมนเล็ก หรือเศษหินปะปน จึงทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของพืช

การจัดการดินลูกรังเพื่อเพิ่มผลผลิต

ดินลูกรัง (Skeletal soils)หมายถึง ดินที่พบชั้นลูกรัง ชั้นกรวด ชั้นเศษหิน หรือชั้นหินพื้นในระดับตื้นกว่า 50 เซนติเมตร จากผิวดิน เนื้อดินบนเป็นดินทรายปนดินร่วนถึงดินร่วนปนทราย อาจพบกรวด หินมนเล็ก หรือเศษหินปะปน จึงทำให้เป็นอุปสรรคต่อการเจริญเติบโตของพืช ดินลูกรังเป็นดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำ จากผลการสำรวจพบว่า ประเทศไทยมีดินลูกรังประมาณ 52 ล้านไร่ หรือร้อยละ 16.3 ของพื้นที่ทั้งประเทศ พบมากในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรของดินลูกรัง

พื้นที่ที่พบดินลูกรังมีอยู่เกือบทุกภาคของประเทศ ยกเว้นในเขตฝนตกชุกทางภาคใต้ ปัญหาการใช้ประโยชน์ที่ดินเพื่อการเกษตรที่สำคัญ คือเป็นดินตื้นที่มีกรวดหินมนเล็กหรือเศษหินปะปนกันอยู่มาก ทำให้ดินมีปริมาณเนื้อดินน้อยลง มีความสามารถในการอุ้มน้ำต่ำ นอกจากนี้ลักษณะของดินเป็นอุปสรรคต่อการไถพรวนหน้าดินถูกชะล้างพังทลายได้ง่าย ดินมีความสมบรูณ์ต่ำ และการจัดระบบชลประทานมีความเป็นไปได้น้อย เนื่องจากสภาพพื้นที่ไม่อำนวย

ดินลูกรัง เป็นดินที่มีศักยภาพในการเกษตรต่ำ เนื่องจากดินชั้นล่างแน่นทึบเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืช ทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต นอกจากนี้ดินที่มีกรวดปนมักเป็นดินที่ขาดความชุ่มชื้นได้ง่าย และปัญหาอีกอย่างหนึ่งคือ มีข้อจำกัดในการเลือกชนิดของพืชปลูก โดยเฉพาะไม้ยืนต้นและไม้ผลจำเป็นต้องจัดการเป็นพิเศษ ในการเตรียมหลุมปลูก การปลูกพืชติดต่อกันในดินนี้จะทำให้ปริมาณธาตุอาหารในดินลดลงอย่างรวดเร็ว เนื่องจากหน้าดินมักเกิดการกร่อนได้ง่าย ปัจจุบันดินนี้ยังใช้ประโยชน์ในด้านการเพาะปลูกไม่มากนัก ส่วนใหญ่ยังปกคลุมด้วยป่าไม้จำพวกป่าแดงโปร่ง

แนวทางแก้ไขและการใช้ประโยชน์ดินลูกรัง

ดินลูกรังเป็นดินที่มีข้อจำกัดต่าง ๆ มาก การแก้ไขปัญหาเพื่อใช้ประโยชน์จากดินนี้อาจทำได้หลายแนวทาง คือ

1. การทำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ เหมาะกับดินลูกรังที่พบในที่ดอนและมีหน้าดินหนาเกิน 15 ซม. ขึ้นไป

2. การปลูกพืชไร่ ดินลูกรังที่มีหน้าดินหนา ประมาณ 20 ซม. มีการระบายน้ำดีปานกลาง ไม่มีน้ำท่วมขังในฤดูฝน สามารถปลูกพืชไร่ได้หลายชนิด เช่น ข้าว ฟ่าง ถั่วลิสง ถั่วเขียว ถั่วเหลือง และพืชรากตื้นอื่น ๆ แต่ควรมีการบำรุงรักษาความอุดมสมบรูณ์ของดินโดยการใส่ปุ๋ย และรักษาความชื้นของดินโดยใช้วัสดุคลุมดิน

3. การปลูกไม้ผลและไม้โตเร็ว ดินลูกรังจะไม่จับกันเป็นชั้นแน่นมากนักสามารถปลูกไม้ผลและไม้โตเร็ว เช่น มะม่วง มะม่วงหิมพานต์ มะขาม ยูคาลิปตัส กระถินต่างๆ สะเดา ขี้เหล็กบ้าน น้อยหน่า พุทรา และไผ่ ส่วนยางพาราสามารถปลูกได้ในบริเวณที่มีปริมาณฝนมากกว่า 1_400 มม. /ปี

4. การทำนา ดินลูกรังที่พบในที่ราบหรือที่ราบต่ำที่มีหน้าดินลึกประมาณ 15 ซม. และมีการระบายน้ำเลวในช่วงฤดูฝนมีน้ำขังแฉะเป็นเวลานาน ควรใช้ปลูกข้าวและมีการใส่ปุ๋ยซึ่งจะช่วยให้ข้าวมีผลผลิตคุ้มค่ากับการลงทุน

อย่างไรก็ตาม ดินลูกรังที่มีหน้าดินตื้น ไม่ควรใช้ในการเพาะปลูกพืชที่ต้องมีการไถพรวนดิน เช่น มันสำปะหลัง ข้าวโพด หากไม่จำเป็นจึงไม่ควรนำมาใช้ในการเพาะปลูกแต่ควรปล่อยให้เป็นพื้นที่ป่าไม้ตลอดไป

การปรับปรุงดินลูกรังให้เหมาะสมต่อการปลูกพืช

ในการปรับปรุงบำรุงดินลูกรังเพื่อปลูกพืชเพื่อเพิ่มผลผลิต โดยการเพิ่มอินทรียวัตถุสามารถทำได้โดย

1. การไถกลบฟางข้าว และรดด้วยปุ๋ยอินทรีย์น้ำอัตรา 5 ลิตร/ไร่ หมักทิ้งไว้ช่วยให้ฟางย่อยสลายเร็วขึ้นเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน

2. ใส่ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยคอก อัตรา 2 - 4 ตัน/ไร่ คลุกเคล้ากับดินในแปลงปลูกพืช หรือในบริเวณหลุมปลูกไม้ผล ในอัตราเฉลี่ย 25 - 50 กิโลกรัมต่อหลุม

3. ปลูกพืชปุ๋ยสด เช่น ปอเทือง ถั่วพุ่ม ถั่วพร้า แล้วไถกลบลงดิน ในช่วงออกดอก (อายุประมาณ 50 - 60 วัน หลังปลูก) ก่อนปลูกพืชหลักทุกชนิดเพิ่มอินทรีย์วัตถุ ทำให้ดินร่วนซุย การถ่ายเทอากาศดีการระบายน้ำดีดินมีความอุดมสมบรูณ์เพิ่มขึ้น

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:4616
ข้าวโพดหลังนา ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) สำคัญกับข้าวโพดอย่างไร?
ข้าวโพดหลังนา ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) สำคัญกับข้าวโพดอย่างไร?
ข้าวโพด พืชอีกตัวเลือกหนึ่งที่นิยมปลูกหลังการเก็บเกี่ยวข้าว เพราะในช่วงฤดูแล้งหลายพื้นที่มักมีน้ำไม่พอต่อการเพาะปลูกข้าว ข้าวโพดจึงเป็นตัวเลือกแรก ๆ ที่มักถูกเลือกมาปลูกทดแทนข้าว เพราะใช้น้ำน้อยกว่า 2-3 เท่าตัว ด้วยเหตุนี้เราจึงมักได้ยินคำว่า “ข้าวโพดหลังนา” และแม้จะเพาะปลูกในช่วงฤดูแล้ง แต่จากความชื้นในดินที่ผ่านการปลูกข้าวมาก่อน ทำให้พี่น้องเกษตรกรหลายท่านสามารถใส่ปุ๋ยบำรุงต้นและผลผลิตข้าวโพดได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วันนี้ขอบอกต่อความรู้ดี ๆ เกี่ยวกับคุณประโยชน์ของธาตุอาหารหลัก 3 ตัว ได้แก่ ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) และโพแทสเซียม (K) ว่ามีความสำคัญต่อข้าวโพดหลังนาอย่างไร ถ้าพี่น้องเกษตรกรทุกท่านพร้อมแล้วเราไปดูกันเลยครับ!

บทบาทของธาตุอาหารหลักในข้าวโพดหลังนา

ไนโตรเจน (N)

ช่วยในเรื่องการเจริญเติบโตทางลำต้น ทำให้ต้นข้าวโพดตั้งตัวได้เร็วและแข็งแรง ในช่วงแรกของการเจริญเติบโต

ช่วยทำให้ข้าวโพดมีใบเขียวเข้ม การสังเคราะห์ด้วยแสงเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ

พืชที่ขาดไนโตรเจน (N) จะแสดงอาการลำต้นแคระแกร็น เติบโตช้า ใบแสดงอาการแห้งตั้งแต่ปลายใบลงมาสู่กลางใบ และจะแสดงที่ใบล่างขึ้นสู่ใบบน

ฟอสฟอรัส (P)

ช่วยให้รากแข็งแรงและกระจายตัวดี การดูดซึมธาตุอาหารจากดินเป็นไปได้อย่างมีประสิทธิภาพ อีกทั้งยังช่วยในเรื่องการพยุงลำต้นไม่ให้โค่นล้มได้ง่าย

ช่วยในเรื่องการออกดอก ผสมเกสร การติดฝัก และติดเมล็ดสมบูรณ์

พืชที่ขาดฟอสฟอรัส (P) จะแสดงอาการลำต้นแคระแกร็น ระบบรากไม่แข็งแรงทำให้โคนล้มได้ง่าย ที่ใบจะแสดงอาการสีม่วงแดงที่ขอบใบ และจะแสดงอาการมากในข้าวโพดที่อายุน้อย

โพแทสเซียม (K)

มีส่วนช่วยในการสะสมแป้งและน้ำตาล ทำให้เมล็ดข้าวโพดเต่งและใหญ่ สีสวย ฝักใหญ่ น้ำหนักดี

พืชที่ขาดโพแทสเซียม (K) จะแสดงอาการใบแห้งเหลือง เริ่มจากบริเวณปลายใบลุกลามไปที่ขอบใบ ทำให้ข้าวโพดมีเมล็ดเล็ก ไม่เต่งเท่าที่ควร ผลผลิตต่ำ

นอกจากการเลือกใช้ปุ๋ยที่มีธาตุอาหารหลักครบถ้วนในการบำรุงข้าวโพดหลังนาแล้ว การเลือกใช้สูตรปุ๋ยให้เหมาะสมกับระยะการเจริญเติบโตก็สำคัญเช่นกันนะครับ

ครั้งที่ 1 รองพื้นพร้อมปลูกหรือหลังหยอดเมล็ด 15 วัน

แนะนำสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 หรือ 16-16-8 หรือ 18-8-8

อัตราใช้ 30-50 กก./ไร่

ครั้งที่ 2 หลังหยอดเมล็ด 25-35 วัน (ทำรุ่น)

แนะนำสูตร 15-7-18 หรือ 20-8-20 หรือ 14-7-35

อัตราใช้ 30-50 กก./ไร่

***การเลือกใช้ปุ๋ยหรือใส่ปุ๋ยบำรุงต้นข้าวโพดทุกครั้งต้องพิจารณาถึงความสมบูรณ์ของดิน ความสมบูรณ์ของต้นข้าวโพด ระยะการปลูก และความชื้นในดินก่อนการตัดสินใจใส่ปุ๋ยด้วยนะคะ

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..าตุอาหารหลัก-สำคัญอย่างไร-ในข้าวโพดหลังนา
อ่าน:3083
197 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 19 หน้า, หน้าที่ 20 มี 7 รายการ
|-Page 14 of 20-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 |


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
ป้องกันกำจัดโรค ทุเรียนใบไหม้ โรคใบติดทุเรียน โรคใบจุด โรคราต่างๆ ด้วยสารอินทรีย์ IS และ FK-1
Update: 2566/02/09 13:37:17 - Views: 3037
ยาฆ่าหนอน ใน ต้นเมล่อน และพืชทุกชนิด เป็นสารชีวภาพปลอดภัย ปลอดสารพิษ ไอกี้-บีที และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2566/04/24 11:43:54 - Views: 2990
ปุ๋ย FK-1 ฉีดพ่น เงาะ บำรุง ผลใหญ่ ดกเต็มต้น ผลผลิตดี ต้นทุนต่อไร่ถูกกว่าปุ๋ยเม็ด 4 เท่า เพิ่มผลผลิตสูงสุด 20 เปอร์เซ็นต์
Update: 2566/03/15 09:46:35 - Views: 3045
การใช้ Metalaxyl ผสม Starfer Fertilizer 30-20-5 ฉีดพ่นป้องกันและกำจัดโรคที่เกิดจากเชื้อราในต้นสับปะรด
Update: 2567/02/28 13:20:27 - Views: 114
เตือน!!เกษตร ปลูกมังคุด ระวัง!! เพลี้ยไฟ สร้างเสียหายได้มาก จัดการได้อย่างไร??
Update: 2566/11/06 14:52:06 - Views: 312
ราสนิมขาวผักบุ้ง โรคผักบุ้งใบไหม้ และโรคราต่างๆ สร้างความเสียหายต่อผลผลิต ควบคุม ป้องกันกำจัดก่อนเกิดความเสียหาย
Update: 2566/11/04 09:56:30 - Views: 7813
ต้นกาแฟ ผลใหญ่ ผลดก ขยายขนาด เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มคุณภาพ ผลผลิต ด้วย ปุ๋ยโพแทสเซี่ยมคลอไรด์ สตาร์เฟอร์ 0-0-60
Update: 2567/04/16 10:55:44 - Views: 92
"การจัดการเพลี้ยในต้นดอกลีลาวดี: วิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและกำจัด
Update: 2566/11/22 13:54:33 - Views: 338
ผักกาดขาว รากเน่า!! ใบไหม้ ใบจุด ใบเหลือง ราน้ำค้าง ราเม็ด โรคราต่างๆ ป้องกันกำจัดด้วย ไอเอส และเร่งฟื้นฟู ด้วยปุ๋ย FK-T
Update: 2567/03/21 11:14:20 - Views: 92
เตือน!!เกษตรปลูกสับปะรด...ระวังเพลี้ยแป้ง สร้างเสียหายได้มาก จัดการได้อย่างไร??
Update: 2566/11/06 10:33:00 - Views: 251
ยาฆ่าเพลี้ย แมลงจำพวกปากดูด ใน ลองกอง เป็นสารชีวภาพปลอดภัย ปลอดสารพิษ มาคาและ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2566/02/28 14:01:25 - Views: 3023
เพลี้ยอ่อน
Update: 2564/08/30 06:40:07 - Views: 5171
กำจัดเพลี้ย ใน มะม่วง เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเพลี้ย บิวทาเร็กซ์ ปุ๋ยน้ำอะมิโน โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/05/02 14:42:53 - Views: 2988
โรคแอนแทรคโนสมะม่วง ใช้ ไอเอส + FK-1
Update: 2564/08/09 04:28:50 - Views: 3197
กำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ใน แตงกวา เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเชื้อรา ไตรโครเร็กซ์ ปุ๋ยน้ำอะมิโน โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/04/25 15:01:54 - Views: 3116
ผักบุ้ง ใบจุด ราสนิมขาว ราน้ำค้าง รากเน่า โรคราต่างๆ ป้องกันกำจัดด้วย ไอเอส และเร่งฟื้นฟู ด้วย ปุ๋ย FK-T
Update: 2567/03/28 11:40:59 - Views: 98
มะระขี้นก
Update: 2564/08/09 22:31:17 - Views: 3415
จริงหรือ? โควิด-19 แพร่เชื้อทางอากาศ (Airborne) ได้
Update: 2564/08/24 21:36:24 - Views: 3118
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ สูตร 10-40-10+3 MgO: สู่การออกดอกอันงดงามของกล้วยไม้ด้วยสารอาหารที่เพิ่มพลังการออกดอกและเร่งราก
Update: 2567/02/12 14:42:35 - Views: 172
ตั๊กแตนตำข้าว พลางตัวด้วยสีเหมือนกิ้งไม้ ใบหญ้าแห้ง ป้องกันตนจากภัยอันตราย
Update: 2563/05/26 10:24:16 - Views: 3231
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022