[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - อ้อย
113 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 11 หน้า, หน้าที่ 12 มี 3 รายการ

เทคนิคการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง เพิ่มขนาดและน้ำหนักหัวมันสำปะหลัง Technology of increate cassava yield
เทคนิคการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง เพิ่มขนาดและน้ำหนักหัวมันสำปะหลัง Technology of increate cassava yield
เทคนิคการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง เพิ่มขนาดและน้ำหนักหัวมันสำปะหลัง Technology of increate cassava yield
ในสภาพแวดล้อมที่เหมะสม มันสำปะหลังอาจให้ผลผลิตสูงกว่า 20 ตันต่อไร่ ที่เปอร์เซ็นแป้ง 20-30 เปอร์เซ็น

มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญระดับแนวหน้า และกำลังทวีความสำคัญยิ่งขึ้นไปเนื่องจากมีประโยชน์ใช้สอยอย่างกว้างขวาง และสามารถปลูกได้ในดินดอนทั่วไปอย่างแทบจะไร้ขีดจำกัดเมื่อมีการปฏิบัติดูแลอย่างดีพอสมควร มันสำปะหลังนับว่าเป็นพืชที่มีศักยในการให้ผลผลิตสูงมากพืชหนึ่ง ซึ่งในสถานการณ์ปัจจุบัน และในท้องที่ที่มีสภาพที่เหมาะสม อาจให้ผลผลิตสูงกว่า 20 ตันต่อไร่ โดยที่มีเปอร์เซ็นต์แป้งอยู่ในช่วง 25-30 เปอร์เซ็นต์

การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง สภาพแวดล้อมและภูมิอากาศ ก็เป็นปัจจัยที่สำคัญ

ถึงแม้ว่ามันสำปะหลังจะเป็นพืชที่ปลูกง่ายตายยากและให้ผลผลิตโดยง่าย โดยมีความเสี่ยงน้อยต่อความไม่เหมาะสมของสิ่งแวดล้อมก็ตาม แต่การที่จะให้มันสำปะหลังแสดงออกถึงศักยภาพของแต่ละสายพันธุ์ที่มีอยู่ก็เป็นเรื่องที่ไม่ง่ายนัก โดยทั่วไปย่อมเป็นที่รู้ในหมู่นักวิชาการว่าในการปลูกมันสำปะหลังนั้นมีหลัก และขั้นตอนที่สำคัญอยู่หลายประการ ซึ่งผู้ปลูกควรจะยึดถือเป็นแนวปฏิบัติซึ่งได้แก่ การใช้พันธุ์ที่ดีที่เหมาะสมกับท้องที่ การใช้ต้นพันธุ์ และการใช้พันธุ์ที่มีคุณภาพ การปรับปรุงบำรุงดินและการเตรียมดินอย่างถูกวิธี การเลือกช่วงเวลาที่เหมาะสม การปลูกย่างประณีตโดยใช้ระยะปลูกอย่างเหมาะสม การใส่ปุ๋ยให้เพียงพอและสมดุล การปฏิบัติดูแลด้วยการเอาใจใส่พอสมควร ไปจนถึงการเลือกเวลาเก็บเกี่ยวและการเก็บเกี่ยวอย่างเหมาะสม ซึ่งแต่ละขั้นตอนมีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน นอกจากนี้ผลผลิตและเปอร์เซ็นต์แป้งของมันสำปะหลังยังขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ อีกมาก เช่น ความชื้นในดิน ในอากาศ อุณหภูมิ และแสง เป็นต้น

พันธุ์มันสำปะหลังที่นิยมปลูกในปัจจุบัน

ปัจจุบันนี้มีพันธุ์มันสำปะหลังที่ดีถูกสร้างออกมาให้เกษตรกรใช้เป็นจำนวนมาก ที่เป็นพันธุ์รับรองซึ่งได้รับการส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกมีมากกว่า 7 สายพันธุ์ เช่น พันธุ์ระยอง 5 พันธุ์ระยอง 7 พันธุ์ระยอง 9 พันธุ์ระยอง 72 และพันธุ์ระยอง 90 ซึ่งถูกสร้างขึ้นโดยศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง ตั้งอยู่ที่ตำบลห้วยโป่ง อำเภอเมือง จังหวัดระยอง นอกจากนี้ยังมีพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ที่มางมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้พัฒนาขึ้น และนำอกมาให้เกษตรกรใช้ ซึ่งเป็นที่นิยมอย่างกว้างขวางทั้งในประเทศและต่างประเทศ เพราะมีการปรับตัวได้อย่างดีเยี่ยมต่อสภาพแวดล้อม เมื่อเร็วๆ นี้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ได้ร่วมกับมูลนิธิสถาบันพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทยได้พัฒนาพันธุ์มันสำปะหลังขึ้นมาพันธุ์หนึ่งและได้รับพระราชทานชื่อจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ชื่อว่าพันธุ์ห้วยบง 60 ซึ่งเป็นมันสำปะหลังอีกพันธุ์หนึ่งที่ให้ผลผลิต และเปอร์เซ็นต์แป้งสูงในหลายพื้นที่ของจังหวัดนครราชสีมา

มันสำปะหลังพันธุ์รับรอง ที่ให้ผลผลิตสูง

จากการทดลองในมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ในปี พ.ศ.2546-2547 พบว่า มันสำปะหลังพันธุ์รับรอง 4 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 พันธุ์ระยอง 5 พันธุ์ระยอง 72 และพันธุ์ระยอง 90 สามารถให้ผลผลิตสูงอยู่ในช่วงระหว่าง 11-12 ตันต่อไร่ที่อายุ 13 เดือน โดยมีเปอร์เซ็นต์แป้งอยู่ที่ 25-28 เปอร์เซ็นต์ และมีแนวโน้มที่จะสามารถทำให้ผลผลิตสูงขึ้นกว่านี้ได้ นอกจากนี้ยังมีมันสำปะหลังที่ยังไม่ได้ผ่านการรับรองแต่มีศักยในการให้ผลผลิตดีในบางท้องที่ และยังมีพันธุ์อื่นๆ ที่เกษตรกรรวบรวมหรือจัดหามาได้ ก็อาจนำมาใช้ได้ ปัจจุบันระบบการปลูกมันสำปะหลังอาจมีความจำเป็นจะต้องนำเครื่องทุ่นแรงเข้ามาใช้มากขึ้น ตั้งแต่การปลูกจนถึงการเก็บเกี่ยว ดังนั้นพันธุ์มันสำปะหลังที่จะนำมาใช้นอกจากจะมีผลผลิต และเปอร์เซ็นต์แป้งสูงแล้วยังควรมีลำต้นตั้งตรงไม่แตกกิ่งอีกด้วย ดังนั้นเกษตรกรจึงควรสังเกตและเลือกเก็บพันธุ์ที่ดีด้วยตนเอง

ท่อนพันธุ์ที่ดี และความยาวท่อนพันธุ์ที่เหมาะสมกับ การปลูกมันสำปะหลัง

ท่อนพันธุ์หรือท่อนปลูก เมื่อผู้ปลูกมันสำปะหลังแน่ใจว่าพันธุ์ที่มีอยู่ในมือนั้น เป็นพันธุ์ที่ดี ขั้นต่อไปก็คือควรจะปลูกรักษาพันธุ์ดีเอาไว้ และเอามาเป็นท่อนพันธุ์ที่มีคุณภาพ จากนั้นจึงนำมาใช้เมื่อมีอายุระหว่าง 8-20 เดือน โดยใช้เฉพาะส่วนกลางของลำต้นที่มีความแก่-อ่อน พอเหมาะ ขนาดของท่อนพันธุ์ที่ใหญ่มักจะให้หัวมากกว่าท่อนพันธ์ที่เล็กถ้าสามารถตัดได้โดยไม่แตก ความยาวของท่อนอาจอยู่ที่ 15-25 เซนติเมตร ขึ้นอยู่กับฤดูปลูกและเตรียมดิน การใช้ท่อนพันธุ์ที่ค่อนข้างสั้นจะเหมาะกับการปลูกในช่วงที่ดินมีความชื้นพอเหมาะ ในช่วงต้นฝนหรือผู้ปลูกมีต้นพันธุ์จำนวนจำกัด การใช้ท่อนพันธุ์ที่มีความยาวกว่า 30 เซนติเมตร อาจใช้ได้ดีเมื่อเตรียมดิน และใส่ปุ๋ยได้ลึกหรือในสภาพที่ปัญหาวัชพืชที่ค่อนข้างรุนแรง ซึ่งการใส่ปุ๋ยและปลูกลึกในบางพันธุ์จะช่วยเพิ่มผลผลิตได้มาก

การเตรียมดินปลูกมันสำปะหลัง ไม่เหมือนกันในแต่ละสภาพแวดล้อม

การเตรียมดิน มีวิธีการแตกต่างกันไปตามสภาพพื้นที่ และสภาพของดิน ปริมาณน้ำฝน และการจัดการอื่นๆ สำหรับพื้นที่ที่มีความลาดเทเล็กน้อย หน้าดินลึก ดินร่วนซุย ในบางครั้งอาจไม่มีความจำเป็นต้องไถพรวน เพียงแต่ปลูกท่อนพันธุ์ และใส่ปุ๋ยลงไปในหลุมดินที่ได้ถอนหัวมันออกแล้วก็อาจได้ผลผลิตดีพอๆ กับที่มีการเตรียมดินอย่างดี แต่สำหรับในบางดินบางสถานการณ์ การเตรียมดินเป็นเรื่องที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากมันสำปะหลังเป็นพืชต้องการอากาศมาก และต้องการสภาพของดินที่ร่วนโปร่งและฟู ในบางครั้งอาจจะต้องใช้สารปรับปรุงบำรุงดินเพื่อให้กายภาพของดินมีสภาพเหมาะสมดังกล่าว และวัสดุปรับปรุงบำรุงดินให้ลงไปในระดับลึก ซึ่งจะทำให้เกิดผลดี เมื่อเสียบท่อนพันธุ์ลงไปในระดับลึกได้โดยไม่ขัดขวางการงอกของรากจากรอยตัด และทำให้รากของต้นอ่อนมันสำปะหลังอยู่ในอยู่ในระดับใต้ดินที่ยังมีความชื้นเป็นระยะเวลายาวนาน ทำให้สามารถผ่านช่วงแล้ง 5-6 เดือนได้ อย่างไรก็ดี การปลูกลึกอาจสร้างปัญหาทำให้เก็บเกี่ยวยากขึ้น ในดินที่ค่อนข้างเหนียว เกษตรกรไม่ควรเตรียมดินในขณะที่ดินมีความชื้นสูง เพราะน้ำหนักของเครื่องมือจะกดทับดินชั้นล่างให้เป็นแผ่นดินดานแข็ง ในดินที่มีปัญหาเกิดแผ่นดานขึ้นในชั้นใต้ดินควรใช้ไถสิ่วหรือไถระเบิดดาน (sub-soiler) กดลงไปในระดับลึกซึ่งจะช่วยให้ดินมีการระบายน้ำและระบายอากาศดีขึ้น

วัสดุปรับปรุงดิน และปุ๋ยเคมีก็จำเป็น มากน้อยแตกต่างกันไปตามสภาพแวดล้อม

การใส่วัสดุปรับปรุงดิน ในท้องที่ซึ่งดินแน่นง่ายการไถกลบวัชพืช และเศษมันสำปะหลังจะช่วยให้ดินโปร่งร่วนในระดับหนึ่ง แต่ในบางครั้งอาจยังไม่เพียงพอต้องหาวัสดุปรับปรุงดิน เช่น แกลบดิบ เถ้าแกลบ กากหม้อกรองอ้อย หินฝุ่นจากภูเขาไฟ หินปูนฝุ่น ปูนขาว ยิบซั่ม พูไมซ์ เพอร์ไลท์ และซีโอไลท์ ฯลฯ มาใส่ ซึ่งแต่ละชนิดมีความถูก-แพง และการจัดการไม่เหมือนกัน การใช้ปุ๋ยอินทรีย์รองพื้น อาจมีความจำเป็นอย่างยิ่งในดินที่แน่นง่ายหรือเนื้อดินค่อนข้างเหนียว และมีธาตุอาหารต่างๆ อยู่ในดินน้อย การรองพื้นด้วยปุ๋ยอินทรีย์ 200-500 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมไปกับวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน จะช่วยให้ผลผลิตดีขึ้นมาก จะช่วยให้ต้นมันสำปะหลังมีการเจริญเติบโต ให้ผลผลิตสูงและมีเปอร์เซ็นต์แป้งสูง การใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองพื้นจำนวนมากอาจมีความจำเป็นต้องทำให้เจือจางลงโดยการเติมสารอินทรีย์ที่มีความเค็มน้อย เช่น ฟางข้าว แกลบ กากหม้อกรองอ้อย ฯลฯ และควรมีการหมักทิ้งไว้ระยะหนึ่ง เพื่อให้ความร้อนสลายไป ปุ๋ยเคมีอาจมีความจำเป็นต้องใส่รองพื้นบ้างในกรณีของพื้นที่ซึ่งไม่มีการใช้ปุ๋ยอย่างต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน

การให้ปุ๋ยมันสำปะหลังหลัง

การใส่ปุ๋ยรองพื้น มันสำปะหลังเป็นพืชที่มีศักยในการให้ผลผลิตสูง และมีอายุอยู่ในพื้นที่ปลูกค่อนข้างนาน จึงมีความต้องการธาตุอาหารในปริมาณมาก ซึ่งผลผลิตจะขึ้นอยู่กับปริมาณของธาตุอาหารที่มีอยู่ในดินว่าจะสมดุลและสมบูรณ์เพียงใด มันสำปะหลังมีความสามารถในการสกัดธาตุอาหารจากหินและแร่ ซึ่งใช้เป็นวัสดุปรับปรุงดินได้เป็นอย่างดี ดังนั้นการใช้ปูนขาว หินปูนบด (หินฝุ่น) โดโลไมท์บด พูไมซ์ ซีโอไลท์ สเมกไตท์ ฯลฯ จะช่วยทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นเป็นอย่างมาก และช่วยลดการใช้ปุ๋ยเคมีลงได้กว่าครึ่งที่เป้าหมายผลผลิตเท่ากัน เศษซากพืช และปุ๋ยอินทรีย์จะช่วยให้มีธาตุอาหารในลักษณะที่สมดุลขึ้นแต่ต้องใช้ในปริมาณค่อนข้างมาก ปุ๋ยเคมีอาจมีความจำเป็นต้องใช้เพื่อเสริมปริมาณธาตุอาหารที่จำเป็น ในกรณีที่เป็นพื้นที่ขนาดใหญ่และไม่สามารถหาเศษซากพืชหรือปุ๋ยอินทรีย์ได้เพียงพอ การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 200-400 กิโลกรัมต่อไร่ ร่วมกับหินปูนฝุ่นประมาณ 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ และปุ๋ยเคมีสูตร 13-13-21 ประมาณ 20-25 กิโลกรัมต่อไร่ สามารถคาดหมายผลผลิตระหว่าง 8-12 ตันต่อไร่ ในเวลา 12 เดือน โดยมีการลงทุนเพิ่มจากที่เกษตรกรเคยทำเพียงเล็กน้อย การคาดหมายผลผลิตที่มากกว่านี้อาจทำได้โดยใช้ปุ๋ยเพิ่มขึ้น แต่เกษตรกรจะต้องปรับระยะปลูกให้ห่างออก ทำให้ปุ๋ยเจือจางลงหรือละลายช้าลงหรือเพิ่มจำนวนครั้งในการให้ปุ๋ย การใช้ปุ๋ยชีวภาพร่วมไปกับปุ๋ยอินทรีย์ อาจช่วยให้การย่อยสลายของปุ๋ยอินทรีย์สมดุลขึ้น และยังสามารถดึงไนโตรเจนในอากาศมาเป็นปุ๋ยในดิน และทำให้หินแร่ในดินและวัสดุปรับปรุงดินที่ใส่ลงไปย่อยสลาย ปลดปล่อยธาตุอาหารให้แกต้นมันสำปะหลังได้ดีขึ้น ทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้นได้อีกมาก การใช้ปุ๋ยอินทรีย์สลายเร็วหรือปุ๋ยเคมีอัตราสูงเป็นปุ๋ยรองพื้น อาจมีผลเสียต่อการงอกของท่อนปลูก และทำให้มันสำปะหลังเจริญเติบโตรวดเร็วเกินไป (ขึ้นต้น) จะไม่ค่อยลงหัว

การพรวนดิน การเตรียมดิน ในการปลูกมันสำปะหลัง

การพรวนดิน ในดินที่มีเนื้อดินค่อนข้างเหนียว อาจมีความจำเป็นต้องพรวนหลายครั้ง หรืออาจใช้วิธีไถดะ ตากดินไว้ให้แห้ง ซึ่งจะง่ายต่อการพรวน แต่ในดินที่มีเนื้อดินเป็นดินร่วนหรือดินทราย อาจไถลึกเพียงครั้งเดียวหลังการหว่านปุ๋ยอินทรีย์และวัสดุปรับปรุงบำรุงดิน ก็สามารถนำท่อนพันธุ์ลงปลูกได้เลย การพรวนดินให้ละเอียดมากเกินไปอาจทำให้ดินแน่นได้โดยง่ายเมื่อมีฝนตกหนัก ซึ่งผู้ปลูกจะต้องสังเกตและไถพรวนอย่างเหมาะสม

การยกร่องปลูกมันสำปะหลัง

การยกร่อง อาจมีความจำเป็นเมื่อดินมีความลดเทน้อย หรือพื้นที่ขนาดใหญ่มากและเป็นดินที่มีโอกาสแฉะเมื่อฝนชุกหรือดินระบายน้ำยาก การยกร่องช่วยทำให้ใส่ปุ๋ยรองพื้นได้ง่ายขึ้นโดยใส่ปุ๋ยไว้ก้นร่องและพรวนกลบ ซึ่งจะทำให้ดินมีธาตุอาหารอยู่ในระดับลึก ต้นมันสำปะหลังใช้ปุ๋ยได้ดีแต่วัชพืชจะไม่มีโอกาสใช้ปุ๋ยที่อยู่ลึก จึงอาจช่วยทำให้ไม่ต้องกำจัดวัชพืชที่มีขนาดเล็กหรือมีการแข่งขันกับต้นมันสำปะหลังน้อย การยกร่องยังช่วยให้ง่ายต่อการนำท่อนพันธุ์ลงปลูกอีกด้วย แต่สำหรับผู้มีความชำนาญก็อาจนำท่อนพันธุ์ลงปลูกได้โดยไม่ต้องยกร่องในพื้นที่ ซึ่งมีการระบายน้ำดี นอกจากนี้การยกร่องยังให้ประโยชน์ในการลดความเสี่ยงของการชะล้างพังทลาย และการไหลบ่าของน้ำ

ขั้นตอนการปลูก การคัดท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง

การนำท่อนพันธุ์ลงปลูก มันสำปะหลังสามารถปลูกได้หลายวิธี ตั้งแต่ปลูกด้วยเมล็ด ปลูกด้วยลำต้นที่ตัดเป็นท่อน หรือปลูกโดยใช้ยอดที่มีความยาวประมาณ 1-2 ฟุต แต่ที่นิยมคือการปลูกด้วยลำต้น นำมาตัดเป็นท่อน เรียกว่า “ท่อนพันธุ์หรือท่อนปลูก” ซึ่งอาจใช้วิธีเสียบตั้งตรง หรือเอียงเล็กน้อย ในต่างประเทศมีการปลูกด้วยเครื่องจักร ซึ่งจะวางท่อนปลูกนอนราบไปกับพื้น ซึ่งแต่ละวิธีอาจมีความเหมาะสมต่อสภาพของดิน อุปกรณ์เครื่องมือ และแรงงานที่มีอยู่ และผลผลิตที่ได้ย่อมมีความแตกต่างกันไป ซึ่งผู้ปลูกจะต้องเลือดให้เหมาะกับวิธีการจัดการที่ดีที่สุดของตนเอง ผลผลิตสูงสุดจะได้จากการทำงาที่ประณีต และมีขั้นตอนต่างๆ ที่เหมาะสมกับสภาพท้องที่และภูมิอากาศ การปลูกในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์น้อยนั้น การปลูกตื้นให้ผลดีกว่าการปลูกลึกเพราะธาตุอาหารดินอยู่บริเวณใกล้ผิวดิน อย่างไรก็ตามผลผลิตและคุณภาพที่ดีมักจะได้มาจากการปลูกในช่วงที่มีความชื้นเพียงพอ ไม่มากจนเกินไปในระยะต้นฤดู เช่น เดือนพฤษภาคม เป็นต้น

การกำจัดวัชพืชมันสำปะหลัง

การกำจัดวัชพืช มันสำปะหลังที่มีอายุน้อยยังมีระบบรากไม่แข็งแรง และมีการเจริญเติบโตไม่รวดเร็วจะไม่สามารถแข่งขันกับวัชพืชในระยะตั้งแต่เริ่มงอกจนถึง 3 เดือน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับวัชพืชที่มีการเจริญเติบโตรวดเร็วและมีขนาดใหญ่ ในช่วงนี้จะต้องมีการควบคุมวัชพืชอย่างเหมาะสม ซึ่งอาจทำได้โดยใช้จอบถาก ใช้รถไถเดินตามไถกลบ หรือใช้สารเคมีควบคุมวัชพืช ซึ่งมีทั้งประเภทควบคุมการงอกของเมล็ดวัชพืช เช่น อาลาคลอร์ ฟลูมิโอซาซิน ประเภทสัมผัสโดยตรง เช่น พาราควอท และประเภทดูดซึม เช่น ไกลโฟเสท ซึ่งผู้ปลูกมันสำปะหลังจะต้อเลือกใช้ให้เหมาะสม แต่การใช้สารควบคุมวัชพืชบ่อยครั้งและต่อเนื่อง อาจมีผลเสียต่อสภาพทางกายภาพและทางเคมีของดิน และทำให้สิ่งมีชีวิตที่เป็นประโยชน์ในดินมีกิจกรรมลดลงหรือสูญหายไป หลังจากมันสำปะหลังอายุ 4 เดือน ไปแล้ว วัชพืชขนาดเล็กจะช่วยปกป้องหน้าดินให้มีอุณหภูมิและความชื้นพอเหมาะ ทำให้ดินร่วนโปร่งเหมาะต่อการขยายของหัว และเพิ่มเปอร์เซ็นต์แป้ง จึงควรปล่อยวัชพืชขนาดเล็กให้เจริญเติบโตอยู่ใต้ร่มเงาของมันสำปะหลัง เพื่อปกป้องดินจากการชะล้างพังทลาย และยังช่วยสร้างอินทรียวัตถุที่จำเป็นต่อดินอีกด้วย การปลูกมันโดยวิธีใส่ปุ๋ยเป็นแนวในระดับลึก และเลือกใช้พันธุ์ที่เหมาะสม จะช่วยให้ต้นมันเจริญเติบโตขึ้น คลุมวัชพืชได้โดยเร็ว ซึ่งจะช่วยลดค่าใช้จ่ายในการกำจัดวัชพืชลงได้มาก

การให้ปุ๋ยมันสำปะหลัง ต่างกันตามฤดูกาล ต่างท้องที่ก็ดูแลไม่เหมือนกัน

การให้ปุ๋ยหลังปลูก ในบางท้องที่ และบางระยะของฤดู การใส่ปุ๋ยรองพื้นจำนวนมากอาจทำให้ท่อนปลูกของมันสำปะหลังมีเปอร์เซ็นต์ความงอกต่ำหรืออาจไม่งอกเลยทั้งแปลง ดังนั้นในขณะที่ความชื้นของดินไม่ดีนัก จึงควรใช้ปุ๋ยรองพื้นแต่น้อย และใส่เพิ่มเติมเมื่อมันสำปะหลังอายุ 3-4 เดือน 7-8 เดือน และ 10-12 เดือน ในกรณีที่ยืดอายุเก็บเกี่ยวไปถึง 16 เดือน ควรพิจารณาให้เดือนที่ 10-13 เป็นช่วงต้นฝน และเลือกใส่ปุ๋ยในเวลาที่ดินมีความชื้น เช่น หลังฝนตก 1-3 วัน โดยไม่จำเป็นต้องฝังกลบปุ๋ย เพราะรากของมันสำปะหลังมักขึ้นมาอยู่บนผิวดิน เมื่อดินมีความชื้นผู้ปลูกมันสำปะหลังควรหลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยในช่วงที่มีฝนตกหนักบ่อยครั้ง และในช่วงที่ดินไม่มีความชื้น ซึ่งการใส่ปุ๋ยเพิ่มเติมดังกล่าวนั้นอาจทำได้ทั้งปุ๋ยอินทรีย์ หินฝุ่น และปุ๋ยเคมี ซึ่งอาจแยกใส่หรือผสมกันแล้วใส่ ขึ้นอยู่กับความสะดวกในการจัดหาวัสดุต่างๆ

การให้ปุ๋ยทางใบกันมันสำปะหลัง เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพสูงสุด

การให้ปุ๋ยทางใบ เป็นวิธีการให้ปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพสูงสุด เนื่องจากธาตุอาหารต่างๆ ฮอร์โมน วิตามิน คีเลตที่มีโมเลกุลขนาดเล็กจะสามารถซึมผ่านเข้าไปในใบ และพืชนำไปใช้ได้ทันที และขณะนี้กำลังเป็นที่นิยมในพืชทั่วไป และมีคนนำมาใช้ในมันสำปะหลัง ในพื้นที่ที่ไม่ได้ปรับปรุงบำรุงดินไว้อย่างเหมาะสม แต่มีความจำเป็นต้องปลูกมันสำปะหลังเพื่อชิงเวลา การใส่ปุ๋ยทางดินอาจไม่ประณีตหรือสมบูรณ์ดีนัก อาจทำให้มันสำปะหลังไม่สามารถสกัดทุกธาตุอาหารจากดินตามความต้องการได้ การให้ปุ๋ยทางใบอาจช่วยกระตุ้นการเจริญเติบโตทั้งทางราก และส่วนเหนือดินของต้นมันสำปะหลังได้ การใช้ปุ๋ยยูเรีย 1-2 เปอร์เซ็นต์ ผสมกับปุ๋ยจุลธาตุที่มีองค์ประกอบของเหล็ก ทองแดง สังกะสี ฯลฯ ในรูปคีเลต จะช่วยให้มันสำปะหลังเจริญเติบโตอย่างสมดุลดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงหนาวจัดหรือแห้งแล้งจัด อีกทางเลือกหนึ่ง คือ การใช้ปุ๋ยหมักน้ำที่กรองแล้วฉีดพ่นทางใบ ซึ่งจะทำให้มีการเจริญเติบโตและมีผลผลิตดีขึ้นหรือไม่ ขึ้นอยู่กับองค์ประกอบของวัสดุที่นำมาใช้ทำปุ๋ยหมักน้ำ ซึ่งจะต้องไม่มีสารประกอบไนโตรเจนอยู่มากเกินไป การให้ปุ๋ยทางใบ อาจมีความจำเป็นในช่วงฤดูหนาวหรือแล้งจัด ซึ่งจะช่วยกระตุ้นให้ต้นมันสำปะหลังเจริญเติบโตโดยทิ้งใบ และเสริมธาตุอาหารที่ต้นมันสำปะหลังไม่สามารถสกัดและดูดขึ้นจากดินได้ ในสภาพที่ดินมีน้ำน้อยหรือดินมีความเป็นกรด-ด่าง และแฉะ-แห้งไม่เหมาะสม แต่โดยทั่วไปถ้าสามารถปรับสภาพดินและปุ๋ยในดินให้สมดุลเพียงพอแล้ว การใช้ปุ๋ยทางใบจะช่วยเสริมให้ต้นมันรับธาตุอาหาร วิตามิน ฮอร์โมน ได้อย่างเต็มที่

การดูแลมันสำปะหลัง หลังการปลูก

การติดตามตรวจสอบการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง หลังจากการปลูกมันสำปะหลังไปแล้ว ผู้ปลูกควรตรวจสอบความงอก และนำท่อนปลูกที่มีคุณภาพสูงมากไปปลูกเคียงคู่กับท่อนที่ไม่งอกภายใน 10 วัน โดยเสียบเคียงข้างห่างจากต้นเดิมประมาณหนึ่งฝ่ามือโดยไม่จำเป็นจะต้องเอาท่อนเดิมออก ต่อจากนั้นยังควรติดตามการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ไม่ควรให้มันสำปะหลังเติบโตเร็วหรือช้าเกินไป เช่น เมื่อมันสำปะหลังมีอายุประมาณ 2 เดือน จะมีความสูง 30-45 เซนติเมตร ซึ่งจะมีเส้นผ่านศูนย์กลางหัวประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตร มีขนาดใบพอเหมาะ และมีสีใบไม่เขียวจัดหรือซีดเกินไป และเมื่อมีอายุได้ 4 เดือน จะมีความสูงประมาณ 100-150 เซนติเมตร และมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหัวระหว่าง 2-4 เซนติเมตร ในช่วงฤดูฝนมันสำปะหลังจะมีความสูงค่อนข้างมากแต่มีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางหัวค่อนข้างน้อย แต่ในช่วงหลังฝนจะมีความสูงเพิ่มขึ้นอย่างช้าๆ และมีขนาดหัวเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่หลังจากเข้าฤดูหนาวหรือช่วงแล้งฝนไม่ตก 2-3 เดือน มันสำปะหลังจะหยุดการเจริญเติบโต ดังนั้นผู้ปลูกจึงควรตรวจสอบเป็นระยะๆ และขอคำแนะนำจากผู้รู้ในการปรับปรุงและแก้ไขก่อนที่จะถึงระยะเวลาครึ่งหนึ่งของฤดูปลูก (การปลูก)

ระยะการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง

การเก็บเกี่ยว มันสำปะหลังจะให้ผลผลิตเปอร์เซ็นต์แป้ง และคุณภาพที่ดีเมื่ออายุ 8 เดือนขึ้นไป แต่การปลูกให้น้ำผ่านช่วงฤดูหนาวอาจทำให้ได้ผลผลิตและเปอร์เซ็นต์แป้งที่สูงในระยะเวลาที่สั้นกว่านี้ แต่ยังไม่มีข้อมูลในด้านคุณภาพของแป้งเมื่อเก็บมันสำปะหลังอายุต่ำว่า 8 เดือน แต่มันสำปะหลังส่วนใหญ่จะมีการเจริญเติบโตของส่วนเหนือดินน้อยลงเมื่อมีอายุมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอายุระหว่าง 12 -18 เดือน จะมีการเจริญเติบโตของหัวและมีการสะสมแป้งในระดับสูงสุด และจะมีคุณภาพของเม็ดแป้งดีด้วย ซึ่งอยู่ระหว่าง 12 -18 เดือนนั้น ควรจะอยู่ในช่วงที่ดินมีความชื้นเหมาะสมไม่ผ่านช่วงแล้งมายาวนาน มันสำปะหลังที่เติบโตเข้าสู่ระยะฝนเริ่มตกจะมีการเจริญเติบโตในรอบใหม่ ซึ่งจะดึงแป้งจากหัวไปใช้ในการเจริญเติบโต ทำให้เปอร์เซ็นต์แป้งในหัวต่ำลง และในบางครั้งอาจจะต่ำจากเดิมกว่า 10 เปอร์เซ็นต์ ถ้าผ่านช่วงแล้งมายาวนาน ผู้ปลูกมันสำปะหลังจึงควรประเมินผลผลิต และเปอร์เซ็นต์แป้งเป็นระยะๆ ก่อนทำการขุดและตัดสินใจ เพื่อให้ได้รับผลประโยชน์สูงสุด โดยต้องไม่ลืมเก็บบางส่วนของพื้นที่ไว้เพื่อใช้ทำพันธุ์ให้มีการหมุนเวียนวงจรอย่างราบรื่น

หากผู้ปลูกมันสำปะหลังได้ปฏิบัติแต่ละขั้นตอนอย่างถูกต้อง และประณีตพอสมควรแล้วย่อมสามารถเพิ่มผลผลิตของมันสำปะหลังในไร่ของตนขึ้นได้หลายเท่าตัว ดังนั้นผู้ปลูกจึงควรพิจารณาปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมกับต้นทุน แรงงาน วัสดุ อุปกรณ์ และเวลาที่มีอยู่ อย่างไรก็ดียังมีข้อจำกัดที่ผู้ปลูกอาจไม่สามารถควบคุมได้ เช่น ความแห้งแล้ง อุณหภูมิต่ำหรือสูงเกินไป การเข้าทำลายของโรคแมลง ฯลฯ ซึ่งอาจทำให้ผลผลิตไม่เป็นไปตามความคาดหมายเสมอไป แต่ผู้ปลูกมันสำปะหลังก็ควรที่จะพัฒนาวิธีการต่างๆ ให้ดีที่สุด ซึ่งจะทำให้สามารถนำรายได้มาสู่ตนเองและครอบครัว อันจะทำให้เกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ โดยให้มีการสร้างงานใหม่ๆ และนำเข้าเงินตราจากต่างประเทศ อีกทั้งยังเสริมสร้างความเข้มแข็งด้านพลังงานของบ้านเมืองอีกด้วย

อ้างอิง
ดร.อัศจรรย์ สุขธำรง และ ดร.เรณู ขำเลิศ
http://web.sut.ac.th
อ่าน:3505
แก้โรคอ้อย โรคอ้อยเหี่ยว อ้อยเน่าแดง การป้องกันและกำจัดโรคเหี่ยวเน่าแดง ในอ้อย
แก้โรคอ้อย โรคอ้อยเหี่ยว อ้อยเน่าแดง การป้องกันและกำจัดโรคเหี่ยวเน่าแดง ในอ้อย
แก้โรคอ้อย โรคอ้อยเหี่ยว อ้อยเน่าแดง การป้องกันและกำจัดโรคเหี่ยวเน่าแดง ในอ้อย
โรคเหี่ยวเน่าแดง โรคอ้อยที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

ระบาดรุนแรง ในพื้นที่ที่มีความชื้นสูง เช่น ในเขตชลประทานหรือพื้นที่นา ทำให้ผลผลิตเสียหาย 30 - 100 เปอร์เซ็นต์ มีผลทำให้ CCS ลดลง โดยโรคเหี่ยวเน่าแดง เกิดจากการทำลายของเชื้อรา 2 ชนิด คือ Fusarium moniliforme และ Colletotrichum falcatum

เชื้อ Fusarium moniliforme อยู่ในดิน สามารถเข้าทำลายอ้อยได้ทางรากและโคนต้น ส่วนเชื้อ Colletotrichum falcatum สามารถเข้าทำลายอ้อยได้ตามรอยแผลที่เกิดจากหนอนหรือแผลแตกของลำ หรือทางรอยเปิดธรรมชาติ หากเกษตรกรปลูกโดยใช้ท่อนพันธุ์อ้อยที่ติดโรคเหี่ยวเน่าแดง จะทำให้การระบาดกระจายในวงกว้างและยากต่อการป้องกันกำจัด

ลักษณะอาการ ของโรคอ้อยเหี่ยว อ้อยเน่าแดง

อ้อยจะเหี่ยวตายฉับพลันยืนต้นแห้งตายไม่สามารถเก็บเกี่ยวได้

1. ระยะแรกอายุ 4-5 เดือน อ้อยใบเหลือง ขอบใบแห้ง

2. อ้อยจะยืนต้นแห้งตายเป็นกอ ๆ จนถึงระยะเก็บเกี่ยว

3. เมื่อผ่าในลำจะเห็นเนื้ออ้อยเน่าช้ำเป็นสีแดงเป็นจ้ำ หรือเนื้ออ้อยเน่าเป็นสีน้ำตาลปนม่วง

การป้องกันกำจัด โรคเหี่ยวเน่าแดงในอ้อย

เมื่อพบการระบาด ก่อนการเก็บเกี่ยว

1. เร่งระบายน้ำแปลงที่มีน้ำขัง

2. งดการเร่งปุ๋ยและน้ำ

3. รีบตัดอ้อยเข้าหีบ


การจัดการแก้ไขหลังเก็บเกี่ยว

1. รื้อแปลงทิ้ง

2. ทำลายซากตอเก่า โดยการคราดออกและเผาทิ้ง

3. ตากดิน ประมาณ 3 ครั้ง

4. ปลูกพืชสลับ เช่น ข้าวหรือกล้วยก่อนปลูกอ้อยฤดูใหม่

5. ปลูกพันธุ์ที่ต้านทาน เช่น ขอนแก่น 3 หรือ แอลเค 92-11

6. คัดเลือกพันธุ์ที่สมบูรณ์ จากแหล่งที่ไม่เป็นโรค หรือเตรียมแปลงพันธุ์ด้วยตนเอง

7. ถ้าไม่แน่ใจว่าพันธุ์ต้านทานหรือไม่ ก่อนปลูกควรแช่ท่อนพันธุ์ด้วยน้ำยาป้องกันและกำจัดโรค

8. ใช้ FK-1 ฉีดพ่นเพื่อบำรุงให้อ้อยเจริญเติบโต สมบูรณ์แข็งแรง และฟื้นตัวจากโรคได้รวดเร็วยิ่งขึ้น


แหล่งข้อมูลอ้างอิง
เอกสารวิชาการ การป้องกันกำจัดศัตรูอ้อย สถาบันวิจัยพืชไร่ กรมวิชาการเกษตร
kubotasolutions.com
อ่าน:3237
การปลูกมันสำปะหลัง การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตดี
การปลูกมันสำปะหลัง การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตดี
การปลูกมันสำปะหลัง การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตดี
มันสำปะหลัง Manihot esculenta Crantz เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย นอกจากจะเป็นผู้ผลิตมันสำปะหลังได้มากเป็นอันดับที่สามของโลก รองจากประเทศ ไนจีเรีย และบราซิล ยังเป็นประเทศผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเป็นอันดับหนึ่งของโลก และนำรายได้เข้าประเทศปีละกว่า 30_000 ล้านบาท เนื่องจากมันสำปะหลังเป็นพืชของขวัญของเกษตรกรไทย เนื่องจากเป็นพืชที่ปลูกง่ายแม้ดินจะไม่ดี ทนต่อความแห้งแล้ง ปัญหาโรคแมลงมีน้อย หัวสดมีตลาดรองรับแน่นอน การขุดเก็บเกี่ยวไม่ขึ้นกับฤดูกาล สามารถจะชะลอการเก็บเกี่ยวได้

จากการสำรวจมันสำปะหลังจะเห็นได้ว่า ผลผลิตหัวมันสดเฉลี่ยต่อไร่เพิ่มขึ้นไม่มากในปี 2547/2548 2548/2549 เฉลี่ยต่อไร่ (2_749และ 2_921กิโลกรัม)

จากการสำรวจการปลูกมันสำปะหลังประจำปี 2550/2551 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 7_302_960 ไร่ ผลผลิตต่อไร่ 3_782 ตัน ผลผลิตรวม 27_618_763 ตัน เปรียบเทียบกับ ปีประจำปี 2549/2550 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 7_201_243 ไร่ ผลผลิตต่อไร่ 3_668 ตัน ผลผลิตรวม 26_411_233 ตัน

พื้นที่เก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น 1.41% ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น 3.11% และผลผลิตรวมเพิ่มขึ้น 4.57% (มูลนิธิพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย_ 2550) แม้ในปัจจุบัน จะมีการขยายพื้นที่มันสำปะหลังพันธุ์ดีสู่เกษตรกรไปมากแล้วก็ตาม สาเหตุหลักเนื่องจากดินเสื่อมโทรม ทำให้ผลผลิตต่ำแม้ใช้มันสำปะหลังพันธุ์ดีเนื่องจากเกษตรกรไม่นิยมปรับปรุงบำรุงดิน

การเพิ่มผลผลิตโดยรวมของประเทศ จึงมาจากการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มมากขึ้นมากกว่า ในการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังต่อไร่เพิ่มขึ้นนั้น เกษตรกรสามารถทำได้ 3 วิธีร่วมกันคือ

- การจัดการดินดี
- การใช้พันธุ์ดีที่เหมาะสมกับดินและพื้นที่
- การปฏิบัติดูแลรักษาดี

ก็จะช่วยให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น ปัญหาของเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังคือ ดินเสื่อมโทรมจะเป็นปัญหาอันดับหนึ่ง จึงจำเป็นต้องหาหนทางในการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน และการบำรุงรักษาดิน และการดูแลรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินให้สูงอยู่เสมอ จะช่วยให้ผลผลิตหัวสดต่อไร่สูงขึ้นกว่าในปัจจุบัน เนื่องจากศักยภาพของพันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ ถ้าเกษตรกรมีการปฏิบัติดูแลรักษาได้อย่างเหมาะสม จะทำให้ได้ผลผลิตสูงเฉลี่ยต่อไร่ 5-10 ตันต่อไร่ได้ เนื่องจากการผลิตมันสำปะหลังในปัจจุบัน แม้ราคาจำหน่ายหัวมันสดจะสูงขึ้นถึงกิโลกรัมละกว่า 2.50 บาท แต่ปัจจัยการผลิตต่างๆ ก็แพงขึ้นตามตัวไม่ว่าจะราคาน้ำมัน (ดีเซล) ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปุ๋ยเคมี สารกำจัดวัชพืช ค่าแรงงาน ทำให้ต้องมองหาวิธีการลดต้นทุนปัจจัยการผลิต โดยเฉพาะปุ๋ยเคมี มีราคาแพงถึงกระสอบละ 1_000 กว่าบาทนั้น ต้องมองหาแหล่งปุ๋ยอินทรีย์ ที่นับวันจะหาอยากเพื่อจะนำมาใช้ทั้งโดยตรง และร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีที่ใช้อัตราต่ำลง แต่ยังคงให้ผลผลิตคุ้มกับการลงทุน

ในปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหากับการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศและน้ำมันิบมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การหาแหล่งพลังงานใหม่เข้ามาทดแทนการนำเข้าน้ำมันดิบ จากวัตถุดิบทางการเกษตรที่สามารถผลิตได้เองภายในประเทศ จะช่วยให้เกิดความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศ อย่างยั่งยืน สถานภาพวัตถุดิบที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอล สามารถผลิตได้จากพืชจำพวกแป้งและน้ำตาล เมื่อนำมาผสมกับน้ำมันเบนซินในอัตราส่วน 20% จะได้น้ำมันที่เรียกว่า แก๊ซโซฮอล์ (Gasohol) โดยวัตถุดิบทางการเกษตรในประเทศไทยที่มีศักยภาพสูงสำหรับการผลิตเอทานอลได้แก่ อ้อย กากน้ำตาล และมันสำปะหลัง

จากการวิจัยและพัฒนาพบว่า วัตถุดิบที่เหมาะสมที่สุดในอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอล คือมันเส้นเมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุชนิดอื่นๆ การใช้วัตถุดิบจากมันสำปะหลังจะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่ใช้มันน้อยที่สุด ทั้งนี้พิจารณาถึงความสามารถและกำลังการผลิตหัวมันสำปะหลังซึ่งในปัจจุบัน ผลผลิตหัวสดมีปริมาณไม่เพียงพอในการผลิตแป้ง ในปัจจุบัน และราคาหัวมันสดที่สูงถึงกว่า 2.50 บาท จึงทำให้ส่งผลกระทบต่อการผลิตเอธานอลที่ไม่คุ้มกับการลงทุน เนื่องจากปัญหาจำนวนผลผลิตส่วนใหญ่ใช่ในอุตสาหกรรมอาหาร จึงมีผลผลิตไม่เพียงพอในการนำไปผลิตพลังงานทดแทน หากจะเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นเป็นเรื่องจำเป็น

การปฏิบัติในการปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตและปริมาณแป้งในมันสำปะหลัง เพื่อรองรับทางด้านพลังงานสามารถทำได้ดังนี้

1. การเตรียมดินดี ดินเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญในการปลูกพืช ดินที่ปลูกจะต้องมีความอุดมสมบูรณ์ที่เหมาะสมในการปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่จะปลูกในดินร่วนปนทราย ในสภาพพื้นที่ลอนลาด เนินเขาต่างๆ ในการปฏิบัติส่วนใหญ่หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จในช่วงต้นฤดูฝน ถ้าทำการปลูกต่อจะไถพื้นที่ด้วยรถไถผาล 3 หรือเรียกว่าไถดะ เพื่อไถหมักต้นและใบสดที่ทิ้งในแปลง รวมทั้งวัชพืชที่ขึ้นในแปลงโดยทิ้งไว้ประมาณ 15-20 วัน เพื่อหมักให้วัชพืชเน่าเปื่อย หากจะบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ หรือสารปรับปรุงดิน เช่น ยิบซั่ม ก็ทำการหว่านให้ทั่วทั้งแปลง เมื่อดินมีความชื้นเพียงพอก็ทำการไถอีกครั้งด้วยรถไถผาล 7 เรียกว่าไถแปร ถ้าหากปลูกแบบพื้นราบก็ทำการปลูกได้เลยโดยการใช้เชือกทำเครื่องหมาย
ระยะปลูกให้เหมาะสมในแต่ละสภาพพื้นที่ หากในบางพื้นที่ก็ทำการยกร่องปลูกก็ขึ้นกับสภาพพื้นที่

2. ปรับปรุง และบำรุงดิน ปัจจุบันพันธุ์มันสำปะหลัง เทคโนโลยีการผลิตนั้น ประเทศไทยถือได้ว่ามีความก้าวหน้ามากที่สุดประเทศหนึ่ง ในประเทศผู้ปลูกมันสำปะหลังในโลกปัจจุบัน แต่ปัญหาใหญ่ของเกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังในประเทศไทยคือ ปัญหาเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ต่ำ ทำให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ยของเกษตรและของประเทศ ส่วนใหญ่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างต่ำประมาณ 2.5-3.0 ตันต่อไร่ (ปี 2549/50 3.7 ตันต่อไร่) แม้เกษตรกรจะใช้มันสำปะหลังพันธุ์ที่ใหม่และให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 5-10 ตันต่อไร่ก็ตาม แต่หากไม่มีการปรับปรุงบำรุงดินให้ดีก็คงจะได้ผลผลิตสูงได้ยาก

การปรับปรุงบำรุงดินเป็นสิ่งจำเป็นในการปลูกมันสำปะหลัง หากจะปลูกแล้วให้มีกำไรและให้ผลผลิตอย่างยั่งยืน ปัจจุบันเกษตรกรนิยมใช้ปุ๋ยอินทรีย์ได้แก่ ปุ๋ยมูลไก่ มูลสุกร มูลโค หรือมูลสัตว์ชนิดอื่น ๆ ที่หาได้โดยใส่อัตราประมาณ 500 – 1_000 กก./ไร่ หรือปุ๋ยอื่น ๆ ที่หาได้ในท้องถิ่น เช่นนอกจากนั้นยังสามารถใช้วัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานที่สามารถนำมาใช้โดยตรง เช่น เปลือกมันสำปะหลังจากโรงงานแป้งมันสำปะหลังที่ทิ้งหมักไว้แล้ว วัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานผงชูรส เป็นต้น การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปรับปรุงบำรุงดิน ต้องใส่่ในปริมาณที่มาก เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์ส่วนใหญ่มีปริมาณธาตุอาหารที่ต่ำ และการปลดปล่อยธาตุอาหารก็ช้า และต้องใช้เวลาในการใช้จึงจะเห็นผลจำเป็นต้องใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมี
จึงจะเกิดประโยชน์และช่วยให้ผลผลิตสูงขึ้น

ในกรณีปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อทำเป็นปุ๋ยพืชสดบำรุงดินเป็นเรื่องที่ดีในทางทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัติแม้ผลการทดลอง จากการใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับการปลูกมันสำปะหลังได้ผลผลิตหัวสดสูงขึ้น แต่การขยายผลจากงานทดลองสู่เกษตรกรยังไม่มีการตอบรับจากเกษตรส่วนใหญ่ เนื่องจากเกษตรกรมีทุนในการปลูกมันสำปะหลังน้อยอยู่แล้ว การไถแต่ละครั้งต้องใช้ต้นทุนสูงขึ้นจึงไม่ได้รับการยอมรับ

ประภาสและคณะ ศึกษาการใช้แคลเซียมซัลเฟต (CaSo4.2H2O) หรือยิบซั่มซึ่งเป็นสารปรับปรุงดินที่มีธาตุแคลเซี่ยม(Ca) และกำมะถัน(S) เป็นองค์ประกอบหลักใส่ในการปลูกมันสำปะหลัง ร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยมูลไก่ ทั้งในช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝนโดยในชุดดินวาริน ทำการศึกษาโดยใช้มันสำปะหลังพันธุ์ เกษตรศาสตร์ 50 ระยอง 72 และพันธุ์ห้วยบง 60 ส่วนชุดดินมาบบอนใช้มันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 และพันธุ์ระยอง 5 ทั้งต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝนเป็นเวลา 3 ปี

จากผลการทดลองในดินชุดวาริน ในอำเภอด่านขุนทดจังหวัดนครราชสีมา และชุดดินมาบบอนในอำเภอพนมสารคามจังหวัดฉะเชิงเทรา ในการทดลองทั้งสองชุดดินที่มีสภาพเป็นดินร่วนปนทรายสามารถยกระดับผลผลิตเพิ่มขึ้นได้อย่างชัดเจน ก็เป็นทางเลือกที่เกษตรกรจะพิจารณาใส่ในการปลูกมันสำปะหลัง เนื่องจากปัญหาราคาปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพงมาก

3. การวางแผนการปลูกให้เหมาะสมกับฤดูกาล

ปลูกปลายฤดูฝน
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือช่วงเดือนตุลาคม ไม่ควรเกินวันที่ 10 พฤศจิกายน ในภาคตะวันออกตั้งแต่เดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ การปลูกมันสำปะหลัง ในช่วงปลายฤดูฝนความสม่ำเสมอในการเจริญเติบโตของมันสำปะหลังจะต่ำกว่าการปลูกในช่วงต้นฤดูฝน เนื่องจากการปลูกปลายฤดูฝนมันสำปะหลังจะติดแล้ง ในช่วงระยะแรกของการเจริญเติบโตอายุ 3-4 เดือน การปลูกในช่วงปลายฤดูฝนจึงแนะนำให้ปลูกในพื้นที่ดินเป็นทรายหรือร่วนปนทราย ไม่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ดินค่อนข้างเหนียว ซึ่งเมื่อกระทบแล้งมันสำปะหลังจะตายมาก และมีในภาคตะวันออกอาจจะเริ่มปลูกตั้งแต่เดือนตุลาคม – มกราคม เนื่องจากสภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายและหากมีการไถดะให้ลึกเพื่อตัดเก็บความชื้นเอาไว้
จะช่วย ให้ในดินมีความชื้นและปริมาณน้ำฝนที่มากและการกระจายตัวของฝนมากกว่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

ปลูกต้นฤดูฝน
ตั้งแต่ปลายมีนาคม – เมษายน ในฤดูฝนควรดำเนินการในช่วงเดือนพฤษภาคมให้เสร็จ หากปลูกหลังจากเดือนนี้จะมีปัญหาเรื่องวัชพืชที่มี ต้นทุนสูงที่สุดในขั้นตอนการปลูกมันสำปะหลั งยิ่งทำในพื้นที่มากๆแล้วไม่แนะนำให้ดำเนินการในช่วงเดือนนี้ ควรทำในช่วงต้นฤดูฝน

4. ปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ดี คือ พันธุ์ที่มีการปรับตัวในสภาพแวดล้อมต่าง ๆได้ดี สามารถงอกและมีอัตราการอยู่รอดสูง เจริญเติบโตดี สามารถคลุมวัชพืชดี ทรงต้นดี อายุการเก็บต้นพันธุ์หลังการเก็บเกี่ยวได้นาน ให้ผลผลิตหัวสดและปริมาณแป้งสูง ในพื้นที่ของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังควรเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกพันธุ์ดีที่เหมาะสมกับดินที่เกษตรกรปลูกเอง ในปัจจุบันทางราชการได้แนะนำพันธุ์มันสำปะหลังประเภทปลูกส่งโรงงานอุตสาหกรรมให้เกษตรกรขยายพันธุ์ปลูกไปแล้วจำนวน 11 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ระยอง 1 ระยอง 3 ระยอง 60 ศรีราชา 1 ระยอง 90 เกษตรศาสตร์ 50 ระยอง 5 ระยอง 72 ห้วยบง 60 ระยอง 7 และระยอง 9 ซึ่งแต่ละพันธุ์มีลักษณะเด่น และด้อยต่างกัน

5. การใช้ต้นพันธุ์ดี พันธุ์ที่มีคุณภาพเหมาะสมและวิธีการปลูกที่ถูกต้องผลผลิตหัวสดที่ได้จากการปลูกมันสำปะหลัง มีความสัมพันธุ์อย่างมากกับความงอกและจำนวนต้น อยู่รอดจนกระทั่งขุดเก็บเกี่ยว แต่ส่วนมากนิยมการปลูกแบบปักตรง ซึ่งได้รับผลผลิตสูงกว่า ตางอกได้เร็วกว่า การดูแลรักษาหลังการปลูก เช่น การกำจัดวัชพืช ปัญหาเรื่องแดดเผาต้นไม่มี การใส่ปุ๋ยตลอดจนการขุดเก็บเกี่ยวทำได้สะดวก การเลือกท่อนพันธุ์ที่ดี เป็นต้นพันธุ์ที่ใหม่หลังการตัดต้นพันธุ์แล้ว ควรรีบดำเนินการปลูกภายใน 1 – 2 สัปดาห์ หากขุดมันแล้ว เกิดภาวะแห้งแล้งไม่เหมาะสมในการปลูก หากจำเป็นต้องเก็บต้นไว้ปลูกหลายเดือนควรเก็บท่อนพันธุ์ตั้งไว้กลางแจ้ง ให้โคนต้นถึงพื้นดินทุกต้นและกรบโคนต้น รดน้ำให้ดินมีความชื้นโดยกองละประมาณ 500 ต้น ต้นมันสำปะหลังจะรักษาน้ำเลี้ยงคงความสดไว้ได้นานกว่า 2 เดือน ต้นพันธุ์ที่เหมาะสมควรคัดต้นที่สมบูรณ์ ตาของท่อนพันธุ์ต้องถี่ ต้นมีสีออกน้ำตาล หลีกเหลี่ยงการใช้ส่วนที่เป็นโคนต้นและปลายยอดที่มีสีเขียว รวมทั้งลำต้นที่เป็นโพรง วิธีการสับท่อนพันธุ์เป็นเรื่องที่น่าสนใจและใช้ความระมัดระวังอย่างมาก อย่าให้กระทบกระเทือนตาบนท่อนพันธุ์ และแนะนำให้สับตรงหรือเฉียงเล็กน้อย ไม่ควรสับเฉียงจนแหลมมาก นอกจากนั้นต้องตัดท่อนพันธุ์ให้มีความยาวที่เหมาะสม คือ ยาวประมาณ 20-25 ซม. การใช้ต้นพันธ์เพื่อปลูก ถ้าต้นพันธุ์มันสำปะหลังมีความยาวขนาด 1.20 เมตร จะใช้ต้นพันธุ์ประมาณ 500 - 650 ต้นต่อไร่ก็ขึ้นกับพันธุ์

6. วิธีการปลูก
สำหรับการปลูกมันสำปะหลังในประเทศไทยที่เกษตรกรนิยมปลูกมีด้วยกัน 3 วิธีคือ
6.1.การปลูกแบบยกร่อง
6.2.การปลูกแบบพื้นราบ
6.3.การปลูกโดยใช้เครื่องจักร

7.จัดระยะปลูกให้ถูกต้อง
ทุกสภาพดินการปลูกมันสำปะหลังเพื่อเพิ่มผลผลิตสามารถกระทำได้โดยการใช้ระยะปลูกให้เหมาะสมกับชนิดของพันธุ์ที่ใช้ และความอุดมสมบูรณ์ของดิน หลักในการพิจารณาโดยทั่วๆไปที่เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ผู้คนที่มีอาชีพปลูกมันสำปะหลังสำปะหลังก็คือ “ดินเลวปลูกถี่ ดินดีปลูกห่าง” ความนิยมของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ โดยจะมีระปลูกโดยทั่วไปเช่น ระยะ1.0 x1.0 เมตรใช้ท่อนพันธุ์ 1_600 ท่อน 1.2 x 0.8 เมตร (1_600 ท่อนปลูกระยะถี่1.0 x 0.8 เมตร (2_400 ท่อน ) ในบางครั้งจะเห็นว่าเกษตรกรนั้นปลูกระถี่กว่านี้จะใช้ระยะ 1.2 x 0.3-0.7 เมตร ขึ้นกับพันธุ์ที่ใช้ปลูก

8. การกำจัดวัชพืช
นอกจากปัญหาเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของดินแล้ว ปัญหาวัชพืชหรือทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า “รุ่น” เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังลดลงตลอดฤดูฝน ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ในการปลูกและดูแลรักษาเกิดจากการป้องกันกำจัดวัชพืช โดยเฉพาะในระยะ 1-4 เดือนแรกของการปลูกเกษตรกร
ต้องหมั่นตรวจแปลงปลูกทุก 15 วัน เพื่อแก้ปัญหาวัชพืชโดยใช้หลักป้องกันไว้ก่อน การแก้ปัญหาล่าช้า ปล่อยให้วัชพืชแข็งแรง เจริญเติบโตจนกระทั่งออกดอก จะกำจัดทำลายยากและยืดเยื้อ ใช้ต้นทุนสูง ทำให้มันสำปะหลังแคระแกรน ผลผลิตต่ำ การปลูกมันสำปะหลังในช่วงปลายฤดูฝนซึ่งตรงกับหน้าแล้ง ปัญหาวัชพืชจะไม่รุนแรง

9. การเพิ่มผลผลิตโดยการใช้ปุ๋ยเคมี การใส่ปุ๋ยเคมีให้ทันเวลาหมายถึงการใส่ปุ๋ยเคมีหลังปลูก เพื่อใส่ปุ๋ยเนื่องจากพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรส่วนใหญ่ทำในพื้นที่หลายไร่ จึงจำเป็นต้องเริ่มใส่ปุ๋ยให้เร็วเพราะจะทำให้มันสำปะหลังเจริญเติบได้เร็ว สามารถคลุมวัชพืชได้เร็ว และจะช่วยลดปัญหาการชะล้างพังทะลายของดินซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ แล้วยังจะช่วยลดการกำจัดวัชพืชได้ซึ่งจะทำให้ลดต้นทุนการผลิตได้

10. ขุดเก็บเกี่ยวให้ถูกฤดูกาลในช่วงเวลาที่เหมาะสม ส่วนใหญ่ขุดระหว่าง 8-12 เดือน มันสำปะหลังสังเกตุจากมันจะเริ่มทิ้งใบ โดยใช้เครื่องจักรหรือแรงงานคน ส่วนใหญ่จะเริ่มขุดในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์ถึงเดือนเมษายนเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากมันจะได้อายุครบ 12 เดือนหรือใกล้เคียง อีกช่วงหนึ่งที่มีการขุดหัวมันขายมากก็ในช่วง เดือนกันยายน-ตุลาคม หรือเรียกว่ามันที่ปลูกปลายฤดูฝน หากช่วงไหนราคามันไม่ดีหรือมีแปลงขนาดใหญ่ ที่มีการหมุนเวียนการปลูกภายในฟาร์มขนาดใหญ่ ก็ไม่จำเป็นที่จะขุดที่ 12 เดือน เป็นหลักอาจจะยืดอายุการขุดออกไปถึง 15-18 เดือนเนื่องจากอายุ ยิ่งมาก ผลผลิตก็ยิ่งสูงขึ้นก็ขึ้นกับปริมาณน้ำฝน

ข้อมูลจาก ku.ac.th/e-magazine/ oct51/agri/agri2.htm
อ่าน:3290
การเพิ่มผลผลิตอ้อย จากตัวอย่างการศึกษา และทดลองแล้วว่าได้ผลจริง
การเพิ่มผลผลิตอ้อย จากตัวอย่างการศึกษา และทดลองแล้วว่าได้ผลจริง
การเพิ่มผลผลิตอ้อย จากตัวอย่างการศึกษา และทดลองแล้วว่าได้ผลจริง
เมื่อพูดถึงการทำไร่อ้อยในช่วงเวลานี้ คงต้องเน้นคุยกันเรื่องการเพิ่มผลผลิตต่อไร่ แต่ในปัจจุบันการเพิ่มผลผลิตโดยการขยายพื้นที่คงทำได้ยาก มีหลักการง่าย ๆ ที่สามารถเพิ่มผลผลิตต่อไร่ได้โดยไม่ยาก แต่ต้องอาศัยข้อมูลพื้นฐานในพื้นที่ของตนเองประกอบกับเทคนิคต่าง ๆ อันเป็นที่ยอมรับว่าสามารถช่วยเพิ่มผลผลิตได้จริง ร่วมกับการจัดการอย่างเหมาะสม เพื่อนำมาใช้เพิ่มผลผลิตอ้อยในพื้นที่ของตนเอง

หลักการเพิ่มผลผลิต ผลผลิตของอ้อยที่เราขายกันมีอยู่ 2 ลักษณะคือ ปริมาณ หรือน้ำหนัก และคุณภาพ หรือความหวาน แต่สิ่งที่เกษตรกรเน้นกันมากในปัจจุบัน คือ เรื่องของน้ำหนักผลผลิต

เมื่อนำองค์ประกอบผลผลิตตามเป้าหมายมาคำนวณ

จำนวนลำต่อไร่ 840×15 = 12_600 ลำต่อไร่ น้ำหนักต่อลำ = 2 กิโลกรัม

ผลผลิตเชิงปริมาณเท่ากับ 12_600 ลำ × 2 กิโลกรัม = 25 ตันต่อไร่

จะเห็นได้ว่าตัวเลขเป้าหมายนั้นสามารถทำได้จริง แต่จะทำอย่างไรให้ได้สม่ำเสมอเสมอทุกแปลงและ ต่อเนื่องทุกๆ ปี ซึ่งจะต้องอาศัยเทคนิค และการจัดการที่ดีมาใช้ ปัจจัยที่จะทำให้อ้อยเจริญเติบโต และให้ผลผลิตที่ดีนั้น ตามหลักวิชาการแล้วประกอบด้วยสองส่วน คือ พันธุกรรม (Genetic)
กับสภาพแวดล้อม (Environment)พันธุกรรม คือ ลักษณะเฉพาะของอ้อยที่ประกอบไปด้วยทั้งส่วนที่เหมือน และแตกต่างจากพืชชนิดอื่น ๆ นอกจากนี้ อ้อยยังมีลักษณะที่มีความหลากหลาย และแตกต่างกัน ซึ่งเราแบ่งแยกออก และเรียกว่า “พันธุ์อ้อย” นั่นเอง ดังนั้นลักษณะของอ้อยก็ไม่เหมือนกับพืชชนิดอื่น อ้อยที่ต่างพันธุ์กันก็มีลักษณะที่ต่างกัน สภาพแวดล้อม คือ ปัจจัยภายนอกที่จะมีผลต่อการเจริญเติบโต และผลผลิตของอ้อย สามารถแบ่งเป็น 5 เรื่อง คือ ดิน น้ำ ธาตุอาหาร สภาพอากาศ และศัตรูพืช

ดังนั้น ขั้นตอนการเพิ่มผลผลิตอ้อยให้ได้ 25 ตันนั้น เริ่มจากการเลือกพันธุ์ให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมพื้นฐานของตนเอง ซึ่งปัจจุบันมีพันธุ์อ้อยให้เลือกหลากหลาย โดยเกษตรกรสามารถนำเอาพันธุ์อ้อยใหม่ ๆ ที่กรมวิชาการเกษตรแนะนำ มาทดลองปลูกในพื้นที่ของตนเองโดยแบ่งเป็นแปลงเล็ก ๆ ใช้วิธีการจัดการที่เป็นมาตรฐาน และเก็บข้อมูลเปรียบเทียบทั้งเรื่องการเจริญเติบโตและผลผลิตก็จะสามารถได้พันธุ์อ้อยที่เหมาะสมกับพื้นที่ของเรามาเป็นพันธุ์หลักในการขยายปลูกในพื้นที่ของตนเองได้ ในขณะเดียวกันก็ค้นหาเทคนิค หรือ วิธีการที่จะทำให้อ้อยที่เราปลูกมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมที่สุด คือ มีความชื้นเพียงพอมีดินและธาตุอาหารเหมาะสม ได้รับแสงแดดและอากาศอย่างเพียงพอ และมีศัตรูพืชรบกวนน้อยที่สุด ซึ่งควรมีการวางแผนการจัดการในทุกขั้นตอน เช่น ช่วงเตรียมแปลง ปลูก เก็บเกี่ยว และควรนำเครื่องมือมาช่วยจัดการเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและคุณภาพของงานตัวอย่างเทคนิคที่ได้ทำการศึกษาและทดลองว่าได้ผลจริงในการเพิ่มผลผลิตอ้อย

สรุปเทคนิคการเพิ่มผลผลิตอ้อย คือ การคัดเลือกพันธุ์อ้อยให้เหมาะสมกัสภาพแวดล้อมพื้นฐานของแปลงที่เราจะปลูก และปรับสภาพแวดล้อมพื้นฐานให้เหมาะสมกับพันธุ์อ้อยที่เราเลือกให้ได้มากที่สุด โดยใช้ต้นทุนที่เหมาะสม ซึ่งนอกจากอ้อยจะเจริญเติบโตและให้ผลผลิตได้เต็มศักยภาพแล้ว ยังทำให้ชาวไร่ได้กำไรเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน

ขอบมูลจาก kubotasolutions.com/ knowledge/sugar_cane/detail/38
อ่าน:3183
ความแตกต่าง อ้อยเคี้ยว กับ อ้อยทำน้ำตาล
ความแตกต่าง อ้อยเคี้ยว กับ อ้อยทำน้ำตาล
ความแตกต่าง อ้อยเคี้ยว กับ อ้อยทำน้ำตาล
อ้อย เป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญอีกชนิดของไทย สร้างมูลค่าทางเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมแต่ละปีไม่น้อย ด้วยประโยชน์ของอ้อยที่ใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมการผลิตน้ำตาลและพลังงานทดแทน ทำให้ปัจจุบันประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกอ้อยหลายล้านไร่ ให้ผลผลิตอ้อยรวมกว่าร้อยล้านตัน ซึ่งปัจจุบันมีพันธุ์อ้อยมากกว่า 200 สายพันธุ์ทั่วโลก แต่ที่นิยมปลูกกันมีประมาณ 30 สายพันธุ์ โดยอ้อยที่ปลูกมี 2 ลักษณะใหญ่ ๆ ได้แก่ อ้อยเคี้ยว และอ้อยทำน้ำตาล

อ้อยเคี้ยว กับ อ้อยทำน้ำตาล แตกต่างกันอย่างไร ?

อ้อยเคี้ยว คือ อ้อยที่มีเปลือกนิ่ม ชานนิ่ม มีความหวานปานกลางถึงค่อนข้างสูง ปลูกเพื่อหีบเอาน้ำอ้อยสำหรับบริโภคโดยตรง หรือ ใช้สำหรับรับประทานสด อ้อยเคี้ยวที่นิยมปลูกกันมีหลายพันธุ์ ได้แก่

พันธุ์แรก ได้แก่ อ้อยสิงคโปร์ หรืออ้อยสำลี พันธุ์นี้มีชานนิ่มมาก ลำต้นสีเหลืองอมเขียว เมื่อหีบแล้วได้น้ำอ้อยสีสวยน่ารับประทาน

พันธุ์ที่สอง ได้แก่ พันธุ์มอริเชียส (บางครั้งเรียกมอริชาด) ลำต้นสีม่วงแดงไม่เหมาะสำหรับทำน้ำอ้อย จึงใช้สำหรับบริโภคหรือเป็นอ้อยเคี้ยวโดยตรง อ้อยพันธุ์นี้เป็นที่นิยมมาก ส่วนใหญ่ปลูกในจังหวัดราชบุรีและนครปฐม

พันธุ์ที่สาม ได้แก่ พันธุ์บาดิลาสีม่วงดำ แม้ว่าจะเป็นอ้อยเคี้ยว แต่ไม่ค่อยนิยมปลูกกันเพราะโตช้าและปล้องสั้นมาก

อ้อยทั้งสามพันธุ์นี้จัดเป็นอ้อยดั้งเดิม ซึ่งมีถิ่นกำเนิดแถบเกาะนิวกินี นอกจากนี้ก็มีอ้อยน้ำผึ้ง และอ้อยขาไก่ ซึ่งยังคงมีปลูกในที่บางแห่ง อย่างไรก็ดีอ้อยชนิดอื่น ๆ นอกจากที่กล่าวนี้ก็สามารถใช้เป็นอ้อยเคี้ยวได้หากมีความหวานพอ และไม่แข็ง จนเกินไป นอกจากนี้ยังมีพันธุ์อ้อยที่ได้รับการปรับปรุงพันธุ์เพื่อมาใช้เป็นอ้อยคั้นน้ำโดยตรงเช่นพันธุ์สุพรรณบุรี 50 พันธุ์ศรีสำโรง 1 โดยพันธุ์อ้อยคั้นน้ำเหล่านี้จะให้น้ำอ้อยที่มีสีเขียวสวยความหวานเหมาะสมสำหรับดื่มเป็นน้ำอ้อยสด รวมทั้งต้องให้ผลผลิตน้ำอ้อยต่อพื้นที่สูง


อ้อยทำน้ำตาล อ้อยกลุ่มนี้เป็นอ้อยลูกผสมซึ่งเกิดขึ้นโดยนักผสมพันธุ์อ้อยของประเทศต่างๆ ทั่วโลก พันธุ์อ้อยเหล่านี้ได้ถูกนำเข้าไปยังประเทศต่างๆ สำหรับประเทศไทยได้มีการนำพันธุ์อ้อยลูกผสมเข้ามาจากต่างประเทศตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน รวมประมาณ 220 พันธุ์

สายพันธุ์ที่ทางกรมวิชาการเกษตรแนะนำได้แก่ กลุ่มพันธุ์อู่ทอง เช่นอู่ทอง 12 กลุ่มพันธุ์ขอนแก่นเช่นพันธุ์ขอนแก่น 3 กลุ่มพันธุ์ เค แอลเค และซีเอสบี จากสำนักงานอ้อย เช่น เค 88-92 พันธุ์แอลเค 92-11 ปัจจุบันนิยมใช้พันธุ์ ขอนแก่น 3 ซึ่งเป็นที่นิยมปลูกทั่วประเทศ

ซึ่งอ้อยที่มิตรชาวไร่ปลูกคือ อ้อยทำน้ำตาล ที่มีความสำคัญต่ออุตสาหกรรมน้ำตาลของไทยเป็นอย่างมาก แม้อ้อยจะเป็นพืชปลูกง่าย เก็บเกี่ยวได้หลายครั้ง แต่การปรับปรุงพันธุ์อ้อยที่ให้ผลผลิตอ้อยและความหวานสูง ยังเป็นหนทางหนึ่งที่ช่วยลดต้นทุนการผลิตของชาวไร่อ้อย สนับสนุนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทรายในประเทศให้แข่งขันกับประเทศผู้ส่งออกรายใหญ่ของโลก รวมทั้งเราต้องแข่งขันกับพืชทำน้ำตาลชนิดอื่นเช่น หัวผักกาดหวานให้ได้ โดยพันธุ์อ้อยที่ดีต้องให้ผลผลิตสูงและความหวานสูง ต้านทานต่อโรคและแมลง มีลักษณะทางการเกษตรที่ดี เช่น ไว้ตอได้หลายครั้ง ทนทานต่อการหักล้ม เหมาะสมกับการเก็บเกี่ยวด้วยเครื่องจักร เป็นต้น และปรับตัวได้ดีในแหล่งปลูกอ้อยที่สำคัญในแต่ละภูมิภาค เพื่อให้มีอ้อยพันธุ์ดีส่งเสริมชาวไร่อ้อยอย่างต่อเนื่อง

ทั้งนี้ความเหมาะสมของแต่ละสายพันธุ์ยังขึ้นอยู่กับสภาพภูมิประเทศของแต่ละพื้นที่ และที่สำคัญผลผลิตอ้อยที่ดียังขึ้นอยู่กับการบริหารจัดการอ้อยของชาวไร่แต่ละรายด้วย

ที่มาข้อมูล-ภาพ

http://www.ionique.co.th/
https://www.thairath.co.th
https://isaanrecord.com/
http://www.mitrpholmodernfarm.com/
อ่าน:3251
การขอโควต้าอ้อยจากโรงงาน มีวิธีการอย่างไร
เป็นเกษตรกรรายย่อย ซึ่งมีเนื้อที่ประมาณ60-70 ไร่ อยากจะขายอ้อยตรงเข้าโรงงาน โดยไม่ผ่านคนกลาง
จะสามารถทำได้หรือไม่ และมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง 
รบกวนผู้รู้ช่วยตอบด้วยค่ะ
อ่าน:3372
เพิ่มผลผลิตอ้อย ด้วยปุ๋ย FK-1 890บาท และ FK-3S 950บาท โตไวผลผลิตดี

เร่งโต แตกกอ ย่างปล้อง ด้วย FK-1, เพิ่ม CCS เพิ่มน้ำหนัก เร่งผลผลิต ฉีดพ่นด้วย FK-3S

สั่งซื้อได้ 3 ช่องทาง
โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกเพื่อแอดไลน์ http://line.me/ti/p/~FarmKaset เฟสบุ๊คแชทสั่งซื้อ https://www.facebook.com/farmkaset มีเจ้าหน้าที่คอยตอบตลอดเวลา

https://www.youtube.com/watch?v=7qmtoSinVLI
อ่าน:3256
ลำต้นเน่าแดง และเส้นใบแดง เพราะโรครา แก้ด้วย ไอเอส
ลำต้นเน่าแดง และเส้นใบแดง เพราะโรครา แก้ด้วย ไอเอส
ลำต้นเน่าแดง และเส้นใบแดง เพราะโรครา แก้ด้วย ไอเอส

โรคอ้อยต้นเน่าแดง เส้นใบแดง

ชื่อสามัญ Red rot of stem and mid rib
เชื้อสาเหตุ รา Glomerella tucumanensis

.

อาการ ท่อนพันธุ์ที่เป็นโรคจะไม่งอกหรืองอกช้า เส้นกลางใบเป็นแผลยาวสีแดง ภายในลำต้นเนื้ออ้อยเน่าเป็นสีแดงสลับขาวเป็นจ้ำซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของโรคอาจพบเส้นใยสีเทาของเชื้อรา
.
วิธีการแพร่ระบาด ติดไปกับท่อนพันธุ์ที่เป็นโรค หรือเชื้อราปลิวไปกับลมและฝน มักเข้าทำลายอ้อยแก่ ในระยะอากาศเย็น แห้งแล้ง
.
ให้รีบตัดอ้อยที่เริ่มเป็นโรคเร็วกว่ากำหนดและไม่ปล่อยให้อ้อยแก่อยู่ในแปลงนานเกินไป

.

ไอเอส เป็นสารอินทรีย์สำหรับป้องกันและยับยั้งเชื้อรา สกัดจากพืช ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค ปลอดสารพิษ ไม่มีสารตกค้าง ใช้ฉีดพ่นเพื่อป้องกันและยับยั้งโรคพืชทุกชนิด ที่มีสาเหตุมากจากเชื้อรา

.

สนใจ โทรสั่งซื้อ 090-592-8614

ไลน์ไอดี FarmKaset หรือ ไอดี PrimPB

สั่งทางเฟสบุ๊คได้เช่นกัน https://www.facebook.com/farmkaset

หรือลาซาด้า https://www.lazada.co.th/..

อ่าน:3489
FK Talk: กำลังเข้าสู่ฤดูหนาว อย่าลืมใช้ปุ๋ยน้ำปลอดสารพิษจากเรา ดูแลพืชของคุณนะครับ

FK Talk 5 ตุลาคม 2557

สวัสดีครับ ฤดูหนาวใกล้เข้ามาแล้ว อากาศเริ่มเปลี่ยน เพื่อนพี่น้องฟาร์มเกษตรรักษาสุขภาพด้วยนะครับ (ถ้ามียาแก้หวัดจะรีบประกาศขายตอนนี้เลย ^^)

 

วันนี้ผมมาแนะนำปุ๋ยน้ำ หรือปุ๋ยอินทรีย์น้ำนาโนอะมิโน, นาโนคือผลิตด้วยนาโนเทคโนโลยี นาโนคืออะไรที่มันเล็กมากๆครับ ถ้านับนามวิชาคณิตศาสตร์เช่น 1 เซนติเมตร 1 มิลลิเมตร 1 ไมโคร และก็ 1 นาโนเมตร เซ็นติเมตร คือ 1, มิลลิคือ 1x10 ยกกำลัง -3 หรือพูดง่ายๆคือมีขนาดเท่ากับ 1ส่วนหนึ่งพันของ 1เซ็นติเมตรนั้นเอง, ส่วนไม่โคร คือ 1x10 ยกกำลัง -6 และนาโนนั้นขนาดเล็กเท่ากับ 1x10 ยกกำลัง -9, พูดให้งงน้อยกว่านี้อีกนิดนึงคือ ขนาดของเทคโนโลยีนาโน ถ้าเรามองเห็นได้ เราจะเห็นมันมีขนาดเท่ากับ 1ส่วนพันล้าน ของ 1เซ็นติเมตรนั้นเอง เห็นรึปล่าวครับ ว่ามันเล็กขนาดไหน (คงมองไม่เห็น ^^), เอาเป็นว่ามันเล็กมาาาาก ครับ

 

อมิโนล่ะ, อะมิโน หรือกรดอะมิโน คือโปรตีนแบบหนึ่ง ที่พืชนำไปใช้ในการเจริญเติบโตได้ทันที อย่างรวดเร็ว โดยลัดขั้นตอนบางอย่างของพืชไป ทำให้เราสังเกตุเห็นได้ชัดว่า หลังจากฉีดปุ๋ยอินทรีย์น้ำ นาโนอะมิโน ลงไป จะทำให้พืชเขียว ดูสดชื่นขึ้น โดยไม่จำเป็นต้องพึ่งสารเคมีเลย แต่มีกลิ่นเหม็นอยู่พอสมควรนะครับ แต่เป็นกลิ่นเหม็นที่ไม่มีอันตราย ต่างกับเคมี ที่มีอันตรายต่อสุขภาพ

 

ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ

 

ขายของเลยแล้วกันครับ, ปุ๋ยอินทรีย์น้ำนาโนอะมิโนตัวนี้จากฟาร์มเกษตร มีลักษณะพิเศษคือ กลิ่นเหม็น สารภาพตรงๆว่า เรายังหาวิธีทำให้มันมีกลิ่นหอมดังเช่นน้ำหอมไม่ได้ โดยยังคงรักษาคุณภาพให้ได้เท่าเดิมอยู่

 

เหมาะสำหรับใช้ฉีดพ่นทางใบให้กับพืชได้เกือบทุกชนิด โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในช่วงแล้ง ที่พืชต้องการความชื้นที่มากขึ้นกว่าฤดูอื่นๆ เพื่อให้พืชเจริญเติบโตได้สมบูรณ์อย่างต่อเนื่อง

 

นาข้าว, มันสำปะหลัง, ไร่อ้อย, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ข้าวโพด, ผักปลอดสารพิษ, ผักสวนครัว, ไม้ดอก ไม้ประดับ ก็สามารถใช้ปุ๋ยน้ำนาโนอะมิโนนี้ได้ แต่ไม่แนะนำให้ฉีดไม้ประดับที่เลี้ยงไว้ในบ้าน หรือบริเวณที่นั่งเล่นนะครับ เพราะกลิ่นเหม็นคล้ายมูลสัตว์ อาจจะทำให้ท่านอารมณ์ไม่ดีทั้งวันเลยก็ได้

 

ข้อมูลที่มากกว่านี้ อ่านด้านล้างนี้ครับ ขอบคุณครับผม สวัสดีครับ

อะมิโน [Amino Acids] มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืช

ปุ๋ยน้ำ : นาโนอะมิโน : ให้ปุ๋ยน้ำอะมิโนผ่านระบบน้ำหยด หรือ ฉีดพ่นด้วยปุ๋ยน้ำอะมิโน เป็นการให้น้ำทางใบ ช่วยส่งเสริมให้พืช มีความอุดมสมบูรณ์ ตั้งแต่ลำต้นไปจนถึงใบ 

คุณสมบัติจำเพาะ : มีกรดอะมิโนมากกว่า 15 ชนิด ต้นอ้อยสามารถนำไปใช้ได้ทันที, ฉีดพ่นทางใบ ส่งเสริมการดูดซึมธาตุอาหาร, เพิ่มขนาดและความเขียวของใบ, ทำให้พืชเจริญเติบโต ผ่านระยะต่างๆได้อย่างสมบูรณ์ 

ส่วนประกอบของธาตุอาหาร : ประกอบด้วยธาตุอาหาร N (ไนโตรเจน) P (ฟอสฟอรัส) K (โพแทสเซียม) Ca (แคลเซียม) Mg (แมกนีเซียม) S (กำมะถัน) Zn (สังกะสี) Fe (เหล็ก) Cu (ทองแดง) Mn (แมงกานีส) Mo (โมลิบดีนัม) Cl (คลอรีน) B (โบรอน) NI (นิกเกิล) พร้อมจุลธาตุอาหารอื่นๆ รวมทั้งกรดอะมิโนครบถ้วนตามที่พืชต้องการ เลขที่วิเคราะห์ 248.435.5100 โดยสถาบันวิจัย Absolute Analytical Inc. รัฐมิชิแกน สหรัฐอเมริกา 

วิธีใช้ และอัตราส่วนการผสม ปุ๋ยน้ำอะมิโน 250 ซีซี ผสมน้ำ 100 ลิตร ให้ผ่านระบนน้ำหยด หรือ ฉีดพ่น 100 ลิตรต่อไร่ [ฉีดพ่นตอนไม่มีแดด ช่วงก่อนแดดออก 5:00 น. - 9:00 น. หรือ หลังแดดตก เวลา 16:00 น. - 20:00 น. ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดจัด] 

ปุ๋ยน้ำ นาโนอะมิโน ตรานกอินทรีคู่ ประกอบด้วย
- ธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุอาหารที่พืชต้องการครบถ้วน
- มีกรดอะมิโนมากกว่า 15 ชนิด ซึ่งอยู่ในรูปที่พืชสามารถนำไปใช้ได้ทันที
- ไม่มีจุลินทรีย์และกากน้ำตาลเป็นส่วนประกอบ ที่เป็นสาเหตุการเกิดโรคพืช
- สามารถใช้ร่วมกับปุ๋ยอื่น ๆ ได้ทุกชนิด
- ช่วยฟื้นฟูสภาพต้นหลังการเก็บเกี่ยว
- เร่งแตกใบอ่อน ใบเขียว ผลผลิตดีมีคุณภาพ
- กรดอะมิโน พร้อมด้วยธาตุอาหารพืชครบถ้วน สกัดจากธรรมชาติ 100%
- มีธาตุอาหารหลัก ธาตุอาหารรอง และจุลธาตุอาหารตามที่พืชต้องการ
- ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงในการสกัดธาตุอาหารที่พืชสามารถดูดซึมไปใช้ได้ทันที

สนใจผลิตภัณท์ติดต่อ
ฟาร์มเกษตร โทร 089-4599003

อ่าน:3701
สมาคมชาวไร่อ้อยสุรินทร์ และบุรีรัมย์ ดูงานไร่อ้อย ที่มิตรผลสุพรรณบุรี
สมาคมชาวไร่อ้อยสุรินทร์ และบุรีรัมย์ ดูงานไร่อ้อย ที่มิตรผลสุพรรณบุรี
รูปนายกสมาคม ฝ่ายไร่ และสมาชิก
อ่าน:3121
113 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 11 หน้า, หน้าที่ 12 มี 3 รายการ
|-Page 11 of 12-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 |


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
โรคใบไหม้มันสำปะหลัง มันสำปะหลังใบไหม้ (Cassava Bacterial Blight : CBB)
Update: 2564/08/09 06:40:25 - Views: 3507
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 3 สูตรสำหรับมังคุด: เลือกให้ต้นไม้ของคุณเจริญเติบโตและผลิตผลดีที่สุด
Update: 2567/02/13 08:54:31 - Views: 144
ปุ๋ยน้ำบำรุงชมพู่ ชมพู่ทับทิมจันทร์ ชมพู่มะเหมี่ยว ปุ๋ยชมพู่ พันธุ์ต่างๆ ปลูกเยอะใช้ FK-1 ปลูกน้อยใช้ FKธรรมชาตินิยม
Update: 2564/10/13 10:08:56 - Views: 3082
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 0-0-60 เป็นตัวช่วยสำคัญสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกโกโก้ ช่วยเพิ่มผลผลิต เพิ่มคุณภาพผล และเพิ่มรายได้
Update: 2567/03/09 10:42:03 - Views: 135
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคแอนแทรคโนส ในมะละกอ ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง 100%
Update: 2565/12/17 13:45:53 - Views: 3099
โรคใบติดทุเรียน โรคทุเรียนใบไหม้ การดูแลบำรุงรักษา โรคทุเรียน ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา
Update: 2564/12/06 22:28:36 - Views: 3256
ยารักษาโรคพืช กำจัดโรคราเขม่า ใน มะเขือเทศ โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอสใช้ได้กับพืชทุกชนิด(ขนาด 3 ลิตร ใช้ได้15 ไร่)
Update: 2566/05/31 13:43:11 - Views: 3045
มะระจีนใบเหลือง เกิดจากสาเหตุอะไร มะระใบไหม้ ต้องแก้อย่างไร
Update: 2564/04/25 08:09:26 - Views: 4579
โรคใบหงิก (โรคจู๋) ข้าวใบหงิก ข้าวใบม้วน (Rice Ragged Stunt Disease)
Update: 2564/08/27 02:49:38 - Views: 3483
ไรแดงมันสำปะหลัง
Update: 2564/08/12 00:14:06 - Views: 3230
การป้องกันและกำจัดโรคเชื้อราในไร่ชาเขียวอย่างมีประสิทธิภาพ
Update: 2566/05/06 09:48:14 - Views: 3026
มะพร้าวยอดแห้ง มะพร้าวใบไหม้ ใบเหลือง กำจัดโรคมะพร้าว จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/10/10 11:08:50 - Views: 4775
โรคราน้ำค้าง (Downy mildew) ขององุ่น
Update: 2564/08/10 05:03:03 - Views: 3648
ส้มตำ อาหารไทยในซุปเปอร์มาเก็ต ประเทศพม่า
Update: 2557/10/07 13:44:14 - Views: 3183
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยไฟ ในฟักทอง และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/06 12:01:27 - Views: 3135
การเลือกพันธุ์มันสำปะหลัง ให้เหมาะกับดิน และสภาพพื้นที่ปลูก
Update: 2564/08/31 21:55:46 - Views: 4682
การใช้ INVET ผสมปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 30-20-5 ฉีดพ่นป้องกันและกำจัดเพลี้ยไฟ ศัตรูพืชสำหรับต้นมังคุด
Update: 2567/02/27 13:02:39 - Views: 207
ปลูกพืชในดินลูกรัง การจัดการ ดินลูกรัง ที่ถูกวิธี ช่วยเพิ่มผลผลิตพืชได้
Update: 2565/07/28 07:10:49 - Views: 4618
เพลี้ยแป้ง มะละกอ แก้ด้วย มาคา กำจัดเพลี้ย ปลอดสารพิษ ปลอดภัย
Update: 2562/08/28 10:33:37 - Views: 3312
อันตรายของเชื้อราสีดำใน มะม่วง
Update: 2566/05/17 09:16:08 - Views: 3015
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022