<กลับหน้าค้นข้อมูล แจ้งลิงค์ในเนื้อหาเสีย

การปลูกเสาวรส

172.69.135.219 2564/06/27 08:30:25 , View: 3495, e
การปลูกเสาวรส

ชนิดและพันธุ์เสาวรส โดยทั่วไปแล้วเสาวรสสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือชนิดผลสีม่วง และชนิดผลสีเหลืองซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันคือ

1. เสาวรสชนิดผลสีม่วง (Passiflora edulis)

เสาวรสชนิดนี้ผิวผลจะเป็นสีม่วงผลมีลักษณะกลมหรือรูปไข่ ดอกสามารถผสมตัวเองได้ดีดอกจะบานในตอนเช้า ผลสุกมีรสหวานและกลิ่นหอมกว่าพันธุ์สีเหลือง แต่ผลมักจะมีขนาดเล็กกว่าคือเส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 4-5 เซนติเมตร น้ำหนัก 50-60 กรัมต่อผล

2. เสาวรสชนิดผลสีเหลือง (Deneger P. edulis Forma F. flavicarpa)

ลักษณะผิวผลจะมีสีเหลืองผลมีขนาดใหญ่กว่าชนิดผลสีม่วงคือเส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 6 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 80-120 กรัมต่อผล เนื้อในให้ความเป็นกรดสูงกว่าชนิดสีม่วง จึงมีรสเปรี้ยวมากและใช้แปรรูป เป็นหลัก

เสาวรสชนิดผลสีเหลืองดอกจะบานในตอนเที่ยงส่วนใหญ่ผสมตัวเองไม่ติดต้องผสมข้ามต้นแต่ต้นมีทนทานต่อโรคต้นเน่า เถาเหี่ยว โรคไวรัสและทนต่อไส้เดือนฝอยมากกว่าพันธุ์สีม่วงจึงนิยมใช้เป็นต้นตอในการเสียบกิ่งของพันธุ์ม่วง

พันธุ์เสาวรสรับประทานสด

เสาวรสพันธุ์รับประทานสดที่มูลนิธิโครงการหลวง คัดเลือกได้และส่งเสริมให้ปลูกเป็นการค้ามี 2 พันธุ์คือเสาวรสรับประทานสดเบอร์ 1 และเบอร์ 2 ซึ่งเป็นชนิดพันธุ์สีม่วงทั้ง 2 พันธุ์ โดยคัดเลือกได้เมื่อปี พ.ศ. 2539 จากต้นที่เพาะเมล็ดจากเสาวรสสายพันธุ์ไต้เหวัน

1. พันธุ์รับประทานสดเบอร์ 1

ลักษณะผลเป็นรูปไข่สีม่วงอมแดง เมื่อตัดขวางผลจะเห็นว่ามีลักษณะเป็น 3 พู เส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 5 เซนติเมตร น้ำหนักผลประมาณ 70-80 กรัมต่อผลรสชาติหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม ความหวานเฉลี่ยประมาณ 16 Brix

2. พันธุ์รับประทานสดเบอร์ 2

ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายกับพันธุ์เบอร์ 1 แต่สีผลจะเข้มและมีคุณภาพดีกว่าพันธ์เบอร์ 1 คือ รสชาติหวานและน้ำหนักต่อผลสูงกว่า โดยผลมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-6 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 70-100 กรัมต่อผล ความหวานเฉลี่ยที่ประมาณ 17-18 Brix พันธุ์นี้เปลือกหนากว่าพันธุ์เบอร์ 1 จึงสามารถเก็บไว้ได้นาน

ปัจจุบันมูลนิธิโครงการหลวง ได้เน้นให้เกษตรกรที่ปลูกเสาวรสใช้พันธุ์รับประทานเบอร์ 2 สำหรับปลูกเป็นการค้าเนื่องจากลักษณะเด่นที่กล่าวไปแล้วข้างต้น สำหรับพันธุ์ที่ใช้แปรรูปทั้งสีม่วงและสีเหลืองก็สามารถปลูกเพื่อรับประทานผลสดได้แต่ราคาของผลผลิตจะต่ำกว่าตามคุณภาพของผลผลิต

การขยายพันธุ์เสาวรส

วิธีการขยายพันธุ์

การปลูกเสาวรสรับประทานสดจะแตกต่างจากเสาวรสโรงงานที่ปลูกด้วยต้นกล้าจากการเพราะเมล็ด คือ ต้องรักษาให้เผลผลิตมีคุณภาพและรสชาติดี ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากพันธุ์เดิม ดังนั้นการปลูกจึงจำเป็นต้องใช้ต้นกล้าที่ได้จากการเปลี่ยนยอดพันธุ์ดีโดยมีขั้นตอน ดังนี้

1. การเพาะเมล็ดสำหรับทำต้นตอ

ต้นตอที่ใช้ควรเป็นเสาวรสโรงงานชนิดพันธุ์สีเหลือง เนื่องจากมีความแข็งแรงและทนทานตอโรงแมลงได้ดี และเมล็ดที่จะนำมาเพราะควรคัดจากผลและต้นแม่ที่สมบูรณ์ไม่เป็นโรคไวรัส นำมาล้างเอารกที่หุ้มเมล็ดออก นำมาผึ่งให้แห้งแล้วจึงนำไปเพาะแต่ไม่ควรเก็บเมล็ดไว้นานเกินไปเพราะจะทำให้ความงอกลดลง

การเพาะเมล็ดสามารถทำได้ทั้งในภาชนะ เช่น ถุงพลาสติกและตะกร้าหรือในแปลงเพาะกล้าโดยวัสดุเพาะใช้ดิน ปุ๋ยหมัก ขี้เถ้าแกลบและขุยมะพร้าว ผสมกันในสัดส่วน 2:1:1:1 ใช้วิธีโรยเมล็ดเป็นแถวแล้วกลบด้วยวัสดุเพาะให้หน้าประมาณ 1 เซนติเมตร ระวังอย่าให้เมล็ดแน่นเกินไปเพราะจะทำให้เกิดโรคโคนเน่า ปกติเมล็ดที่เพาะจะงอกภายใน 7-10 วัน หลังจากต้นกล้ามีใบจริง 1 ใบ ซึ่งอายุประมาณ 15-20 วันหลังเพาะจึงย้ายลงถุงปลูกขนาด 2.5 x 6 นิ้ว หรือแปลงปลูก ถ้าเป็นฤดูฝนหรือสามารถให้น้ำได้ทั้งนี้ขึ้นกับว้าจะเปลี่ยนยอกดเป็นพันธุ์ดีในเรือนเพาะชำหรือในแปลงปลูก ในระหว่างการเพาะกล้านั้นต้องมีการพ่นยาป้องกันกำจัดมดที่จะทำลายเมล็ดและแมลงที่เป็นเพาหะของโรคไวรัส เช่น เพลี้ยไฟและไรแดงอยู่เสมอ เพื่อให้ต้นกล้าปลอดจากโรคไวรัสและต้องให้ปุ๋ยช่วยเพื่อให้ต้นกล้าเจริญเติบโตเร็วขึ้น โดยอาจจะให้ปุ๋ยทางใบหรือใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 หรือ 21-0-0 ผสมน้ำรด หลังจากที่ต้นกล้ามีอายุประมาณ 2-3 เดือน จึงสามารถเปลี่ยนยอดเป็นพันธุ์ดีดได้

2. การเปลี่ยนยอดพันธุ์

เสาวรสเป็นพืชที่สามารถเปลี่ยนยอดได้ง่ายและทำได้ทุกฤดูกาล ซึ่งโดยทั่วไปแล้วสามารถทำได้ 2 แบบคือ การเปลี่ยนยอดพันธุ์ต้นกล้าในถุงก่อนนำไปปลูกและการนำต้นตอไปปลูกในแปลงก่อนแล้วจึงเปลี่ยนพันธุ์ภายหลัง

2.1 การเปลี่ยนยอดต้นกล้าที่ปลูกในถุง

การเปลี่ยนยอดแบบนี้มีข้อดีคือทำได้ง่ายและสะดวกในการปฏิบัติดูแลรักษา เนื่องจากทำได้ในพื้นที่จำกัดและสามารถคัดเลือกต้นกล้าที่มีความสมบูรณ์แข็งแรงสม่ำเสมอกันไปปลูก นอกจากนี้ยังให้ผลผลิตได้เร็วขึ้นจึงเป็นวิธีการที่แนะนำให้ใช้การเปลี่ยนยอดนิยมใช้วิธีเสียบลิ่ม (Cleft grafting) ซึ่งทำได้ 2 แบบคือ

2.1.1 การเปลี่ยนยอดแบบใช้ยอดอ่อน

การเปลี่ยนยอดแบบนี้งานพัฒนาและส่งเสริมไม้ผล มูลนิธิโครงการหลวงได้พัฒนาขึ้นเพื่อลดการติดโรคไวรัสของต้นกล้า ปรับปรุงคุณภาพของต้นกล้าให้แข็งแรงสมบูรณ์สม่ำเสมอมากขึ้น ลดระยะเวลาในการเลี้ยงต้นกล้าในถุงปลูกให้สั้นลง เพื่อให้ระบบรากไม่เสียและให้ต้นกล้าเจริญเติบโตได้ต่อเนื่องไม่ชะงัดการเจริญเติบโตหลังการเปลี่ยนยอด

ต้นตอที่เหมาะสำหรับเปลี่ยนยอดคืออายุ 1.5-2 เดือน หลังเพาะซึ่งจะมีใบประมาณ 5-7 ใบและต้นยังอ่อนอยู่ ทำการเตรียมแผลของต้นตอโดยตัดยอดให้เหลือใบ 3-4 ใบ ผ่าต้นตอลึก 1.5-2.0 เซนติเมตร นำยอดพันธุ์ที่เป็นปลายยอดอ่อน ความยาวประมาณ 5 เซนติเมตรมีใบ 2-3 ใบ มาปาดเป็นรูปลิ่มความยาวเท่ากับแผลของต้นตอ จากนั้นนำมาเสียบลงบนต้นตอผูกด้วยเชือกฟาง ยางยืดหรือใช้ตัวหนีบ เสร็จแล้วนำต้นใส่ไว้ในกระโจมพลาสติกเพื่อรักษาความชื้นไม่ให้ยอดเหี่ยว หลังจากนั้น 7 วัน ยอดพันธุ์ดีจะติดสามารถนำออกจากกระโจมและเลี้ยงให้แข็งแรงอีก 20-30 วันก่อนนำไปปลูก

2.1.2 การเปลี่ยนยอดแบบใช้ตาข้าง

การเปลี่ยนพันธุ์แบบนี้เป็นวิธีการที่ใช้อยู่เดิม ซึ่งมีวิธีการเช่นเดียวกับการเปลี่ยนยอดแบบใช้ยอดอ่อน แต่ต้นตอที่ใช้จะต้องมีอายุมากกว่าคือประมาณ 3-4 เดือน เพื่อให้ต้นตอมีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับยอดพันธุ์ดีที่ใช้ โดยตัดเถาให้มีตาข้าง 2 ตาและตัดใบออกให้เหลือครึ่งใบ ในกรณีที่ไม่มีกระโจมการเปลี่ยนยอดแบบนี้สามารถใช้ถุงครอบยอดเป็นต้นๆ ได้ หรือใส่ในกระโจมขนาดใหญ่ได้ เพราะไม่ต้องรักษาความชื้นให้สม่ำเสมอมากนัก

2.2 การเปลี่ยนยอดพันธุ์ในแปลงปลูก

วิธีการนี้จะทำหลังจากที่นำต้นตอลงไปปลูกในแปลงแล้ว ซึ่งมีข้อเสียคือยากแก่การเปลี่ยนพันธุ์และดูแลรักษาเนื่องจากใช้พื้นที่มาก แต่จะเหมาะสำหรับพื้นที่ปลูกที่อาศัยน้ำฝน เพราะสามารถปลูกต้นตอซึ่งมีความแข็งแรงกว่าต้นที่เปลี่ยนพันธุ์ลงไปก่อนในช่วงปลายฤดูฝนแล้วจึงทำการเปลี่ยนยอดพันธุ์ภายหลัง

การเปลี่ยนยอดสามารถทำได้ตั้งแต่หลังปลูกต้นตอไปแล้วประมาณ 1 เดือนจนกระทั่งเถาเจริญถึงค้างแล้ว โดยวิธีการเสียบลิ่ม (Cleft grafting) เช่นเดียวกับการเปลี่ยนพันธุ์ในถุงปลูก แต่กิ่งพันธุ์ที่นั้นจะเอาใบออกทั้งหมดและต้องคลุมด้วยถุงพลาสติกเพื่อรักษาความชื้นและหุ้มด้วยกระดาษป้องกันความร้อนจากแสงแดด นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนยอดพันธุ์ได้โดยวิธีการเสียบข้าง (Side grafting) ได้ หลังการเปลี่ยนยอดให้รักษาใบของต้นตอไว้แต่ต้องหมั่นปลิดยอดที่จะแตกจากตาข้างของต้นตอออก เพื่อไม่ให้แข่งขันกับยอดพันธุ์ดี

การวางแผนการขยายพันธุ์และการผลิตต้นกล้า

การขยายพันธุ์และผลิตต้นกล้าเสาวรสนั้นต้องมีการวางแผนให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่ต้องการปลูก ฤดูกาลและนิสัยการเจริญเติบโตของเสาวรสโดยเฉพาะระยะเวลาให้ผลผลิต การวางแผนที่ถูกต้องจะทำให้เสาวรสให้ผลผลิตอย่างเต็มที่และเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาน้อยที่สุด โดยต้องวางแผนผลิตต้นกล้าให้มีอายุเหมาะสมพอดีเมื่อถึงเวลาปลูกที่ได้กำหนดไว้ว่าเหมาะสมสำหรับรูปแบบการปลูกต่างๆ เช่นปลูกแบบให้น้ำหรือการปลูกแบบอาศัยน้ำฝน การผลิตต้นกล้าเร็วเกินไปจะทำให้ต้องเลี้ยงต้นไว้ในถุงนานจะมีปัญหาระบบรากไม่ดีและต้นทุนการดูแลเพิ่มขึ้น การผลิตต้องล้าช้าก็จะทำให้ต้นกล้าไม่แข็งแรงสมบูรณ์พอเพียงกับระยะเวลาปลูกที่เหมาะสม

การปลูกเสาวรสรับประทานสด

เสาวรสรับประทานสดมีวิธีการปลูกและการปฏิบัติดูแลรักษาเช่นเดียวกับเสาวรสโรงงาน แต่ต้องเพิ่มความประณีตในการปฏิบัติดูแลรักษาบางอย่าง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ปกติแล้วเสาวรสเป็นพืชที่มีอายุยาวนานหลายปี แต่โดยทั่วไปแล้วมีการปลูกกัน 2 ระบบ คือ การปลูกแบบเก็บเกี่ยว 1 ฤดูกาลต่อการปลูก 1 ครั้ง และเก็บเกี่ยว 2-3 ฤดูกาลต่อการปลูก 1 ครั้ง แต่ระบบที่แนะนำให้เกษตรกรใช้ในปัจจุบันคือแบบปลูก 1 ครั้ง เก็บเกี่ยว 2-3 ฤดูกาล เนื่องจากเป็นการลดต้นทุนคือลงทุนทำค้าง 1 ครั้งสามารถเก็บผลผลิตได้ยาวนานขึ้น

ระยะการปลูกและการวางแผนปลูก

โดยธรรมชาติแล้วเสาวรสจะออกดอกและให้ผลผลิตเมื่อมีอายุประมาณ 5-7 เดือนหลังปลูกสำหรับเสาวรสรับประทานสดนั้นจะออกดอกติดผลเร็วกว่านี้ เนื่องจากเป็นต้นกล้าที่เปลี่ยนยอด แต่อายุเหมาะสมที่ควรให้ติดผลไม่ควรต่ำกว่า 5 เดือนเพื่อให้ต้นแข็งแรงพอและขึ้นค้างแล้ว ปกติแล้วเสาวรสจะให้ผลผลิตได้ตลอดปีถ้าไม่ขาดน้ำ แต่ในสภาพที่ปลูกโดยอาศัยน้ำฝนนั้น เสาวรสจะให้ผลผลิตได้ดีในระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ดังนั้นการปลูกเสาวรสรับประทานสดจึงจะต้องวางแผนให้สอดคล้องกับช่วงเวลาการให้ผลผลิตและสภาพการปลูก

1. การปลูกโดยอาศัยน้ำฝน

เนื่องจากเสาวรสจะให้ผลผลิตได้ดีในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกุมภาพันธ์ การปลูกโดยอาศัยน้ำฝนและจะต้องตัดแต่งในเดือนกุมภาพันธ์ทุกปี ดังนั้นการปลูกจะต้องทำก่อนเดือนสิงหาคมอย่างน้อย 7 เดือน ซึ่งมี 2 ช่วงคือระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม ซึ่งเป็นช่วงปลายฤดูฝนถึงฤดูหนาว แต่หลังปลูกจะต้องให้น้ำช่วยเพื่อให้ต้นสามารถเจริญผ่านฤดูแล้วแรกไปก่อน สำหรับอีกช่วงหนึ่งคือการปลูกในช่วงต้นฤดูฝนคือเดือนพฤษภาคม ช่วงนี้ไม่ต้องให้น้ำแต่ในปีแรกช่วงระยะเวลาให้ผลผลิตจะสั้นแค่ 3-4 เดือนเท่านั้น คือจากเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์

2. การปลูกแบบให้น้ำ

พื้นที่ปลูกสามารถให้น้ำได้ในฤดูแล้งเสาวรสจะสามารถให้ผลผลิตได้ทันทีเมื่ออายุประมาณ 5-7 เดือนหลังปลูก และให้ผลผลิตได้ตลอดปี ดังนั้นจึงสามารถปลูกได้ทุกช่วงเวลา แต่ยังคงต้องคำนึงถึงความสะดวกในการปฏิบัติดูแลรักษาด้วย ตัวอย่างเช่นถ้าปลูกในช่วงฤดูฝนจะประหวัดในเรื่องการให้น้ำแต่จะต้องเพิ่มการกำจัดวัชพืชมากขึ้น แต่ถ้าปลูกในช่วงฤดูแล้งจะต้องช่วยให้น้ำแต่ปัญหาเรื่องวัชพืชจะน้อยลงมาก

การปลูกเสาวรสในกรณีที่จะเปลี่ยนยอดในแปลงปลูกนั้นจะใช้เวลาตั้งแต่ปลูกจนกระทั่งเปลี่ยนพันธุ์และให้ผลผลิตใกล้เคียงกับการปลูกด้วยต้นพันธุ์ดีเช่นกัน โดยปกติแล้วจะปลูกต้นตอในช่วงปลายฤดูฝนและทำการเปลี่ยนพันธุ์ในช่วงปลายฤดูหนาวซึ่งต้นตอเจริญเติบโตถึงค้างแล้ว

ขั้นตอนการปลูก

การปลูกเสาวรสรับประทานสดมีขั้นตอนที่จะต้องดำเนินการและมีการปฏิบัติดูแลรักษาดังนี้

1. การคัดเลือกและเตรียมพื้นที่ปลูก

เสาวรสรับประทานสดเป็นไม้ผลที่ปลูกง่าย สามารถปลูกเป็นการค้าได้โดยอาศัยน้ำฝน แต่ถ้าสามารถเลือกพื้นที่ปลูกที่สามารถให้น้ำได้จะทำให้คุณภาพผลผลิตดีขึ้นและการให้ผลผลิตยาวนานตลอดปี เสาวรสรับประทานสดนั้นสามารถปลูกได้ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1_000 เมตร แต่พื้นที่ปลูกควรมีแสงแดดจัด ไม่ควรมีน้ำขังและลาดชันมากเกินไปเพราะจะทำให้ทำค้างยาก ในเขตที่มีฝนตกชุกเสาวรสอาจจะติดผลไม่ดีนักในบางช่วง เนื่องจากละอองเกสรตัวผู้จะถูกน้ำชะล้างและแมลงไม่สามารถผสมเกสรได้ เสาวรสปลูกได้ดีในดินหลายชนิด ดินที่เป็นกรดก็สามารถเจริญเติบโตได้ดี แต่ถ้าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ต่ำกว่า 5.5 ควรใส่ปูนขาวลงไปด้วย

การเตรียมพื้นที่ปลูกเสาวรสรับประทานสดนั้น ต้องมีการไถพรวนพื้นที่ก่อนถ้าพื้นที่ไม่ลาดชันนัก และถ้าสามารถหว่านปุ๋ยอินทรีย์ในขณะไถพรวนพื้นที่ได้ก็จะดีมาก เนื่องจากเสาวรสมีระบบรากตื้นแต่แผ่กว้างมาก จากนั้นจึงขุดหลุมปลูกโดยให้มีระยะปลูก 3×3 เมตร (177 ต้นต่อไร่) หลุมปลูกควรมีขนาด 30x30x30 เซนติเมตรและอยู่บริเวณโคนเสาค้างเพราะจะทำให้สะดวกในการปฏิบัติงานภายในแปลง ก้นหลุมปลูกรองด้วยปุ๋ยอินทรีย์หรือเศษวัชพืชและปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 จำนวน 100 กรัม จากนั้นผสมดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์อีกครั้งลงในหลุมและควรเตรียมหลุมปลูกก่อนล่วงหน้าระยะหนึ่งจะดีมาก เพื่อให้อินทรียวัตถุที่ใส่ลงไปย่อยสลายก่อน

2. การคัดเลือกและเตรียมต้นกล้า

การปลูกเสาวรสรับประทานสดต้องมีการเตรียมต้นกล้าไว้ล่วงหน้าให้พอดีกับช่วงเวลาที่จะปลูกเพื่อให้ได้ต้นกล้าที่คุณภาพดี เพราะการผลิตกล้าเสาวรสส่วนใหญ่จะใช้ถุงปลูกขนาดเล็กให้สะดวกต่อการขนส่งจึงไม่สามารถเลี้ยงต้นกล้าไว้ในถุงปลูกนานได้และที่สำคัญต้นกล้าที่จะนำมาปลูกต้องคัดเลือกให้มีความสมบูรณ์สม่ำเสมอกันและไม่แสดงอาการเป็นโรคไวรัส

3. วิธีการปลูก

หลังจากเตรียมหลุมปลุกแล้วก็สามารถน้ำนกล้าลงปลูกได้ในกรณีที่ปลูกด้วยต้นที่เปลี่ยนยอดแล้วต้องให้รอยต่อของยอดพันธุ์กับต้นตออยู่สูงกว่าระดับดินเพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าทางรอยต่อและต้องตรวจสอบดูด้วยว่าได้เอาวัสดุพันกิ่งออกแล้วหรือไม่ เมื่อปลูกต้นกล้าแล้วใช้หลักไม้ไผ่ขนาดเล็กความสูงถึงระดับค้างปักและผูกเถาติดกับหลักหรือเสาค้างก็ได้เพื่อให้ยอดของต้นตั้งตรงตลอดเวลาต้นจึงจะเจริญเติบโตได้เร็ว

4. การทำค้าง

เนื่องจากเสาวรสเป็นไม้ผลประเภทเถ้าเลื้อยการปลูกจึงต้องมีค้างรองรับต้นและผลผลิต ค้างเสาวรสนั้นต้องแข็งแรงเพียงพอสามารถใช้งานได้อย่างน้อย 3 ปี ต่อการปลูก 1 ครั้งและต้องทำก่อนปลูกหรือทำทันทีหลังปลูกเพื่อให้ทันกันการเจริญเติบโตของต้นเสาวรสสามารถเลี้ยงเถาได้ทันทีเมื่อเถาเจริญถึงค้าง ซึ่งปกติจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน การทำค้างช้าเป็นปัญหาที่พบมาก เพราะเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้ทุนและแรงงานมากที่สุด

ค้างเสาวรสมีอยู่ 2 ระบบคือค้างแบบรั้วตั้งและค้างแบบเป็นผืนที่ยังแยกออกเป็นอีก 2 แบบคือ แบบเป็นผืนใหญ่เต็มพื้นที่และแบบตัวที แต่ค้างแบบรั้วตั้งและแบบตัวทีนั้นยังไม่แนะนำให้เกษตรกรใช้เพราะพื้นที่เลี้ยงเถามีจำกัดต้องเพิ่มการตัดแต่งมากกว่าปกติ

ค้างแบบเป็นผืนใหญ่เต็มพื้นที่เป็นแบบที่แนะนำให้เกษตรกรใช้ปัจจุบันเนื่องจากมีพื้นที่เลี้ยงเถามาก เกษตรกรไม่ต้องเสียเวลาในการเลี้ยงและตัดแต่งเถามาก นอกจากนี้ยังทำได้ง่ายและแข็งแรงซึ่งค้างประกอบด้วย 2 ส่วนได้แก่

1. เสาค้าง สามารถใช้ได้ทั้งเสาคอนกรีต เสาไม้หรือเสาไม้ไผ่แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงการลงทุนให้น้อยที่สุดในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้เสาค้าง 177 ต้น คือใช้ระยะ 3×3 เมตร เช่นเดียวกับหลุมปลูก

2. ค้างส่วนบน เป็นพื้นที่เลื้อยของเถาเพื่อไม่ให้เถาห้อยตกลงมา วัสดุที่ใช้อาจจะเป็นไม้ไผ่ลวดสังกะสีหรือเชือกไนล่อนก็ได้ แต่วิธีที่แนะนำให้เกษตรกรใช้คือใช้ลวดสังกะสีเบอร์ 14 สานเป็นโครงสร้างและใช้เชือกไนล่อนสานเป็นตารางขนาด 40×50 เซนติเมตร วิธีนี้จะทำให้น้ำหนักค้างส่วนบนลดลง

ในแต่ละปีต้องมีการซ่อมแซมค้างที่เสียหายให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยปกติแล้วจะทำหลังจากการตัดแต่งกิ่งในเดือนกุมภาพันธ์ เช่น เปลี่ยนเชือกที่ขาดและเสาที่ผุพัง เป็นต้น

5. การจัดทรงต้นและการเลี้ยงเถา

เสาวรสเช่นเดียวกับไม้ผลชนิดอื่นๆ ที่จะต้องจัดทรงต้นให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตโดยเริ่มตั้งแต่หลังปลูกจนกระทั่งขึ้นค้าง คือจะต้องให้เสาวรสมีลำต้นเดียวตั้งแต่ระดับพื้นดินจนถึงค้างในระยะนี้จะต้องคอยดูแลตัดหน่อที่งอกจากต้นตอกิ่งข้างของต้นออกให้หมดรวมทั้งต้องมัดเถาให้เลื้อยขึ้นตั้งตรงอยู่ตลอดเวลา เพราะถ้ายอดของเถาห้อยลงจะทำให้ยอดชะงักการเจริญเติบโตและแตกตาข้างมากและเนื่องจากเสาวรสรับประทานสดเน้นการเลี้ยวเถาเป็นต้นจากการเสียบยอดจึงติดผลเร็ว ต้องหมั่นเด็ดผลทิ้งจนกว่าต้นจะเจริญถึงค้าง

หลังจากต้นเจริญถึงค้างแล้วให้ทำการตัดยอดบังคับให้แตกเถาใหม่ 3-4 กิ่ง จากนั้นจัดเถาให้กระจายออกไปโดยรอบต้นทั่วพื้นที่ของค้าง และควรตัดยอดของเถาอีกครั้งเมื่อยาวพอสมควรแล้วเพื่อช่วยให้แตกยอดมากขึ้น

6. การใส่ปุ๋ย

เสาวรสเป็นพืชที่ออกดอกติดผลตลอดทั้งปี ดังนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับปุ๋ยอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จึงจะให้ผลผลิตได้ดีและมีคุณภาพโดยเฉพาะเสาวรสรับประทานสดนั้นยิ่งมีความจำเป็นมาก การได้รับปุ๋ยที่ไม่ถูกต้องและเพียงพอจะมีผลทำให้คุณภาพและรสชาติของผลผลิตต่ำกว่ามาตรฐาน ปุ๋ยที่ใช้ในการปลูกเสาวรสรับประทานสดมี 2 ชนิดคือ

1. ปุ๋ยอินทรีย์ มีประโยชน์ช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินทำให้ต้นเสาวรสมีความแข็งแรงขึ้นและลดความรุนแรงของโรคไวรัสลง ซึ่งได้แก่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก ต้องใส่ให้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งคือใส่พร้อมกับการเตรียมดินก่อนปลูกและหลังจากสิ้นสุดช่วงเก็บเกี่ยวแล้วและทำการติดแต่งกิ่งของแต่ละปีในช่วงต้นกุมภาพันธ์โดยใช้ประมาณ 10 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี โดยอาจจะใช้วิธีโรยเป็นแถวระหว่างต้นหรือรอบต้นแล้วไถพรวนหรือดินกลบ

2. ปุ๋ยเคมี มีความจำเป็นต่อเสาวรสรับประทานสดมาก โดยทั่วไปแล้วแนะนำให้ใช้อย่างต่อเนื่อง ครั้งละจำนวนน้อยแต่บ่อยครั้งเพราะเสาวรสมีช่วงการให้ผลผลิตตลอดปีและพื้นที่สูงมักจะมีปัญหาการชะล้างของฝนทำให้เกิดการสูญเสียของปุ๋ยได้ง่าย อัตราใช้ปุ๋ยเคมีที่แนะนำคือ 150-200 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปีหรือประมาณ 1 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี
7. การให้น้ำและกำจัดวัชพืช

เสาวรสสามารถทนแล้งได้ดีพอสมควร สามารถปลูกโดยอาศัยน้ำฝนได้ แต่การปลูกเสาวรสรับประทานสดแบบให้น้ำเพื่อให้มีผลผลิตตลอดปีนั้นจำเป็นต้องให้น้ำในฤดูแล้งประมาณ 7 วันครั้ง ซึ่งสามารถให้ได้โดยหลายวิธี เช่น น้ำพ่นฝอย น้ำหยด หรือรดน้ำ ควรให้น้ำ 1-2 ครั้ง / สัปดาห์ เป็นต้น สำหรับวัชพืชนั้นต้องหมั่นกำจัดอยู่เสมอโดยอาจจะใช้วีการตัดหรือพ่นด้วยสารเคมีได้แต่ต้องไม่ใช้ประเภทดูดซึม หลังจากที่เถาเต็มค้างแล้วปัญหาเรื่องวัชพืชจะน้อยลง

8. การปลิดผล

โดยธรรมชาติแล้วเสาวรสจะออกดอกและติดผลได้ง่ายโดยจะเกิดที่ทุกข้อบริเวณโคนก้านใบของกิ่งใหม่ถึงแม้ว่าดอกบางส่วนจะร่วงไม่ติดผลแต่ก็มักจะติดผลค่อนข้างมากอยู่ ทำให้ผลผลิตคุณภาพไม่สม่ำเสมอจำเป็นต้องปลิดผลที่มีคุณภาพต่ำทิ้ง ให้ผลที่เหลืออยู่มีคุณภาพดี ซึ่งจำเป็นมากสำหรับเสาวรสรับประทานสดที่ต้องเน้นเรื่องคุณภาพ

ใน 1 เถาเสาวรสจะให้ผลที่มีคุณภาพดีเป็นชุด ๆ ละ 3-4 ผล หลังจากติดผล 1 ชุดแล้ว ผลชุดที่ติดต่อไปมักมีขนาดเล็กเพราะอาหารไม่เพียงพอจึงต้องทิ้งบ้าง นอกจากนี้ยังมีผลที่บิดเบี้ยวเนื่องจากการทำลายของโรคแมลงที่ต้องปลิดทิ้งด้วย โดยทำตั้งแต่ผลมีขนาดเล็กอยู่

9. การตัดแต่งเถา

เนื่องจากเสาวรสเป็นไม้ผลที่ออกดอกบนกิ่งใหม่จึงต้องทำให้ต้นมีการแตกกิ่งใหม่ตลอดเวลาเสาวรสจึงจะให้ผลผลิตได้ดีอีกประการหนึ่งคือเถาเสาวรสจะเลื้อยยืดยาวออกไปตลอดเวลา ทำให้กิ่งใหม่และผลติดอยู่ไกลลำต้นจึงได้รับน้ำและอาหารไม่เต็มที่ การตัดแต่งจะมีประโยชน์ในการช่วยให้ต้นแตกกิ่งใหม่และเถาไม่ยาวเกินไป ซึ่งทำได้ 2 ลักษณะตามรูปแบบการปลูกคือ

1) การปลูกแบบอาศัยน้ำฝน จะต้องทำการตัดแต่งหนัก 1 ครั้ง หลังจากสิ้นสุดฤดูกาลเก็บผลผลิตในเดือนกุมภาพันธ์โดยตัดเถาโครงสร้างที่เกิดจากลำต้นให้เหลือ 3-4 กิ่งยาวประมาณ 30 เซนติเมตร หลังจากนั้น 1 เดือนจะแตกยอดใหม่ที่กิ่งโครงสร้าง ตัดแต่งกิ่งอีกครั้งโดยเลื้อยยอดใหม่ที่สมบูรณ์ ไว้ 2-3 ยอดต่อเถาโครงสร้าง 1 เถา จัดเถาให้กระจายไปรอบต้น

ในระหว่างที่ต้นเจริญเติบโตและให้ผลผลิตนั้นต้องคอยตัดแต่งกิ่งข้างที่แก่และกิ่งที่ให้ผลผลิตไปแล้วออกโดยให้เหลือตา 2-3 ตา เพื่อให้แตกยอดใหม่ให้ผลผลิตต่อไป

2) การปลูกแบบให้น้ำ

การปลูกแบบนี้จะไม่มีการตัดแต่งหนักในฤดูแล้งเพราะต้องการให้มีผลผลิตตลอดปี แต่จะใช้การตัดยอดของเถาโครงสร้างที่ยืดยาวออกไปเป็นระยะๆ หลังจากที่ต้นขึ้นค้างแล้ว เพื่อบังคับให้แตกเถาข้างมากขึ้นและทำการตัดแต่งเถาข้างเมื่อยาวพอสมควรเป็นระยะเช่นกัน เพื่อบังคับให้แตกเถาแขนงให้มากสำหรับให้ผลผลิตและต้องตัดแต่งเถาข้างหรือเถาแขนงที่แก่หรือให้ผลผลิตแล้วออกเป็นประจำเพื่อให้แตกยอดใหม่ทดแทนตลอดเวลาโดยตัดให้เหลือ 2-3 ตา

ในบางช่วงที่ต้นติดผลน้อยกว่าปกติ อาจจะตัดแต่งให้หนักมากขึ้นได้เพราะจะไม่กระทบกับการให้ผลผลิตมากนัก

10. การเก็บเกี่ยวและการบ่ม

เสาวรสรับประทานสดจะไม่เก็บเกี่ยวโดยปล่อยให้ร่วงเหมือนกับเสาวรสโรงงาน คือต้องเก็บจากต้นโดยผลจะสุกเมื่ออายุประมาณ 50-70 วันหลังดอกบาน ระยะที่เหมาะสมเก็บเกี่ยวเมื่อผลเปลี่ยนเป็นสีม่วงแล้วประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ โดยสีของผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีแดงอมม่วงจึงเก็บเกี่ยวด้วยวิธีการใช้กรรไกรตัดขั้วผลจากต้นให้สั้นติดผล แล้วจึงนำมาบ่มเพื่อให้สีผลสวยและรสชาติดีขึ้น โดยทั่วไปแล้วจะทำการเก็บเกี่ยวทุกๆ 2-3 วันต่อครั้ง

การบ่อใช้ก๊าซอะเซทธิลีน ซึ่งทำได้หลายวิธีเช่น ใส่ผลลงไปภาชนะเช่นกล่องกระดาษ แล้วนำแคลเซียมคาร์ไบด์ที่ใส่ในภาชนะเล็กๆ หรือห่อกระดาษเติมน้ำเล็กน้อยให้เกิดก๊าซอะเซทธิลีนแล้วปิดภาชนะทิ้งไว้ 2-3 วันผลจะเปลี่ยนสีเป็นสีม่วงแดงเข้มขึ้นจึงนำส่งจำหน่าย ในกรณีที่ผลผลิตมีจำนวนมากให้ใช้วิธีใส่ผลผลิตลงในลังพลาสติกหลายๆ ลังนำมาตั้งรวมกันใส่แคลเซียมคาร์ไบด์มากเกินไปเพราะจะทำให้ผิวผลเสียหาย

ก่อนการบ่มควรคัดคุณภาพผลผลิตก่อนที่สำคัญคือระดับความสุกของผลให้สม่ำเสมอกันเพราะจะทำให้ใช้ระยะเวลาในการบ่มเท่ากันสีของผลสม่ำเสมอกันทุกผล

11. การคัดคุณภาพผลผลิตและบรรจุหีบห่อ

ผลผลิตเสาวรสรับประทานสดนั้นต้องเน้นเรื่องคุณภาพเป็นอย่างมากโดยเฉพาะคุณภาพภายใน ซึ่งได้แก่ความหวานและน้ำหนักต่อผล โดยความหวานต้องไม่ต่ำกว่า 16 Brix และผลที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 5 เซนติเมตร ควรมีน้ำหนักประมาณ 70 กรัม เพราะผลที่มีขนาดใหญ่แต่น้ำหนักเบาภายในจะมีเนื้อน้อย สำหรับลักษณะภายนอกนั้นผลต้องไม่บิดเบี้ยว ไม่เน่า แตก หรือเหี่ยว ผิวผลอาจจะลายจากโรคไวรัสหรือแมลงได้ แต่ไม่มากเกินไป ปัจจุบันมูลนิธิโครงการหลวงกำหนดชั้นมาตรฐานผลผลิตไว้ 2 เกรด คือ เกรด 1 เส้นผ่าศูนย์กลางผลตั้งแต่ 5 เซนติเมตรขึ้นไป และเกรด 2 เส้นผ่าศูนย์กลางผลตั้งแต่ 4-5 เซนติเมตร

หลังจากคัดคุณภาพแล้วจึงบรรจุผลผลิตเพื่อส่งจำหน่ายโดยกำหนดให้บรรจุผลลงในลังสีเขียวที่บุข้างด้วยกระดาษและส่งให้งานคัดบรรจุตรวจสอบคุณภาพและส่งจำหน่ายต่อไปโดยอาจจะบรรจุใหม่สำหรับขายปลีกเป็นกิโลกรัม

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..


สนใจสั่งซื้อสินค้า
โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset



โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้







ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก

บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
ติดตามสินค้าที่คุณสั่ง
สวน นพรั..., Saturday 23 November 2024 20:27:16, เลขจัดส่ง SMAM000รออัพเดท
คุณ ณรงค..., Saturday 23 November 2024 14:22:01, เลขจัดส่ง SMAM000รออัพเดท
คุณ ชลิต..., Saturday 23 November 2024 13:21:37, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ หนูแ..., Saturday 23 November 2024 13:20:34, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ ศศิธ..., Saturday 23 November 2024 13:03:42, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ อรวร..., Saturday 23 November 2024 13:02:34, เลขจัดส่ง SPX EXPRESS
คุณ สายร..., Saturday 23 November 2024 13:01:28, เลขจัดส่ง SPX EXPRESS
คุณ อาม, Saturday 23 November 2024 13:00:24, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ จารุ..., Saturday 23 November 2024 12:59:43, เลขจัดส่ง SPX EXPRESS
คุณ บุญม..., Saturday 23 November 2024 12:58:30, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
ดูรายการจัดส่งทั้งหมด
การจัดการและควบคุมหนอนศัตรูพืชที่ทำลายต้นหม่อน: วิธีป้องกันและแก้ไขปัญหาในสวนผลไม้
Update: 2566/11/24 09:49:06 - Views: 3415
คำนิยม - ขอบคุณลูกค้าจาก เลิงนกทา จ.ยโสธร ใช้ ปุ๋ยระเบิดหัวมันสำปะหลัง FK-3C ถ่ายคลิบมาให้ดู
Update: 2564/08/14 03:10:18 - Views: 3395
อโวคาโด จุดดำ กำจัดโรคอโวคาโด จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/10/05 11:20:18 - Views: 3406
โรคราน้ำค้าง ในพืชตระกูล กะหล่ำ และ ผักกาด โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม
Update: 2564/09/09 06:18:28 - Views: 3473
ไอเดีย การทำยอยกปลา ง่ายๆ จากท่อ พีวีซี
Update: 2563/05/05 07:56:21 - Views: 3449
วิเคราะห์ตลาดทุเรียน แนวโน้มปี 2568
Update: 2567/11/20 09:22:37 - Views: 15
รับซื้อตรง ผลผลิตเกษตรกร ทั่วประเทศ หอการค้าไทย จับมือ กลุ่มเซนทรัล รับซื้อ พืช ผัก ผลไม้
Update: 2564/03/25 00:51:56 - Views: 3407
การกำจัดหนอนที่รบกวนพืชทุกชนิดสามารถทำได้โดยใช้วิธีการต่างๆ ตามลักษณะของหนอนและพืชที่ถูกทำลาย
Update: 2566/11/08 09:22:03 - Views: 3422
มะปราง ใบไหม้ ใบจุด ราสนิม แอนแทรคโนส กำจัดเชื้อราในมะปราง ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK สวน ปุ๋ย ศัตรูพืช
Update: 2565/11/14 08:58:29 - Views: 3444
การจัดการโรคเชื้อราในกล้วยหอม
Update: 2566/05/13 12:00:09 - Views: 3459
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคผลเน่า ในแก้วมังกร ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/03 10:24:34 - Views: 3397
อยากขายของ ในห้าง ต้องอ่าน!
Update: 2565/11/16 13:16:05 - Views: 3417
แก้วมังกรเงินล้านของเกษตรกรตัวอย่าง-สกลฯ
Update: ././. .:.:. - Views: 3457
พืชขาดธาตุ การสังเกตุอาการของพืช พอจะสังเกตุเบื้องต้นได้ ว่าขาดธาตุอาหารอะไร
Update: 2564/04/29 00:16:08 - Views: 3478
กำจัดโรคราแป้ง โรคที่เกิดจากเชื้อรา ศัตรูพืชในทุเรียน สารอินทรีย์ไอเอส และ FK-T ธรรมชาตินิยม ฟื้นฟูจากการทำลายของเชื้อรา
Update: 2566/05/26 11:00:04 - Views: 3483
GMP คืออะไร หลักเกณฑ์วิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร อย่างปลอดภัย
Update: 2565/09/10 14:41:53 - Views: 3412
เตรียมดอกอัญชันสวยงามด้วยปุ๋ยสตาร์เฟอร์ สูตร 10-40-10+3 MgO: เคล็ดลับการเร่งการออกดอกและเจริญเติบโตของราก
Update: 2567/02/12 14:08:32 - Views: 3441
ประสิทธิผลของการใช้สารอินทรีย์และปุ๋ย ในการควบคุมเพลี้ยอ่อน ในลองกอง
Update: 2565/12/22 08:20:40 - Views: 3447
ต่อสู้กับโรคผลเน่า ในต้นกาแฟ
Update: 2566/05/15 11:52:22 - Views: 3406
ฝรั่งใบไหม้ ราดำในฝรั่ง ใบจุด จุดสนิม กำจัดโรคฝรั่ง จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/10/21 10:16:34 - Views: 3496
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022