<กลับหน้าค้นข้อมูล
แจ้งลิงค์ในเนื้อหาเสีย
กำจัดเพลี้ยด้วย แมลงช้างปีกใส กำจัดเพลี้ย เพลี้ยแป้ง ตัวอ่อนเพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ เพลี้ยไก่แจ้ ไรแดง แมลงหวี่ขาว แมลงช้างปีกใสจัดการเรียบ
ศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง แมลงช้างปีกใส
ชื่อทั่วไป : แมลงช้างปีกใส (Green lacewing)
วงศ์ (Family) : Chrysopidae
อันดับ (Order) : Neuroptera
เป็นแมลงห้ำที่มีบทบาทในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช โดยตัวอ่อนของแมลงช้างปีกใส เป็นตัวห้ำที่กินศัตรูพืชได้หลายชนิด เช่นเพลี้ยอ่อย เพลี้ยแป้ง ตัวอ่อนเพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ เพลี้ยไก่แจ้ส้ม ไรแดง ไร 2 จุด และตัวอ่อนแมลงหวี่ขาว เป็นต้นทำให้แมลงช้างปีกใสเป็น เป็นตัวห้ำสำคัญที่ช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืชในแปลงเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจในประเทศ
ตัวเต็มวัยเพศเมีย หลังจากผสมพันธุ์ 2-3 วัน ก็จะเริ่มวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ ระยะไข่ใช้เวลา 3-4 วัน ระยะตัวอ่อนมี 3 วัย ตัวอ่อนวัยที่ 1_ 2 และ 3 ใช้เวลา 4-5 วัน 3-4 วัน และ 3-5 วัน ตามลําดับ รวมระยะตัวอ่อน 11-13 วัน ระยะดักแด้ 9-11 วัน ตัวเต็มวัยเพศผู้มีอายุ 14-30 วัน สําหรับเพศ เมียมีอายุ 19-58 วัน เพศเมีย 1 ตัว สามารถวางไข่ได้ 180-345 ฟอง
วงจรชีวิตของแมลงช้างปีกใส
รูปร่างลักษณะ
ไข่ มีลักษณะเป็นทรงยาวรี ขนาดเล็ก ความยาวเฉลี่ย 0.98 มิลลิเมตร ความกว้างเฉลี่ย 0.24 มิลลิเมตร เป็นฟองเดี่ยวๆ อยู่บนก้านสีขาวใส วางเป็นระเบียบเป็นแถวรอบใบพืช ไข่วางใหม่ๆ มีสีเขียวอ่อน เมื่อใกล้ฟักจะเปลี่ยนเป็นสีเทาดํา เมื่อฟักแล้วจะเป็นสีขาว มีอายุประมาณ 3-4 วัน
ตัวอ่อน มีลักษณะลําตัวกลมแบน เห็นชัดเจนในระยะที่ 3 โดยรอบลําตัวมีปุ่มขน ปากมีกรามโค้งยาวยื่นไปด้านหน้าคล้ายเคียว ใช้ดูดกินเหยื่อ เมื่อฟักเป็นตัวอ่อนวัยที่ 1 จะเป็นตัวห้ำทันที มีการลอกคราบเปลี่ยนวัย ตัวอ่อนทั้งหมด 3 วัย
ตัวอ่อนวัยที่ 1 เมื่อฟักออกจากไข่ใหม่ๆ มีสีน้ำตาลอ่อน ลําตัวเรียวเล็ก ว่องไว จะไต่ลงมาทางก้านชูไข่ ความยาวลําตัวเฉลี่ย 1.56 มิลลิเมตร ความกว้างโดยเฉลี่ย 0.48 มิลลิเมตร
ตัวอ่อนวัยที่ 2 รอบลําตัวเริ่มมีซากของเพลี้ยแป้งเกาะ ความยาวลําตัวเฉลี่ย 3.25 มิลลิเมตร ความกว้างโดยเฉลี่ย 2.32 มิลลิเมตร
ตัวอ่อนวัยที่ 3 ขนาดลําตัวโตอย่างรวดเร็วเห็นได้ชัดกว่าระยะอื่นๆ กินอาหารเก่ง รอบลําตัวมีผงแป้งเกาะ คล้ายเพลี้ยแป้งมาก ความยาวลําตัวเฉลี่ย 7.23 มิลลิเมตร ความกว้างโดยเฉลี่ย 3.40 มิลลิเมตร
ดักแด้ มีรูปร่างกลม ตัวอ่อนวัย 3 จะขดตัวสร้างเส้นใยสีขาวปกคลุมลําตัว จะเข้าดักแด้ติดกับใบพืช ความกว้างของดักแด้โดยเฉลี่ย 3.02 มิลลิเมตร ความยาวโดยเฉลี่ย 4.67 มิลลิเมตร
ตัวเต็มวัย มีปีก 2 คู่ เป็นปีกแบบบางอ่อน (membrane) เนื้อปีกใส มีเส้นปีกจํานวนมาก ลําตัวสีเขียวอ่อน เพศผู้ มีสีลําตัวจางกว่าเล็กน้อย และตัวเล็กกว่าเพศเมีย ความกว้างลําตัวเพศเมีย เฉลี่ย 2.25 มิลลิเมตร ความยาวลําตัว โดยเฉลี่ย 10.53 มิลลิเมตร ความกว้างลําตัวเพศผู้เฉลี่ย 1.55 มิลลิเมตร ความยาวลําตัวโดยเฉลี่ย 10.01 มิลลิเมตร ตัวเต็มวัยมีกลิ่นเฉพาะตัวค่อนข้างแรง
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
กรมวิชาการเกษตร
kubotasolutions.com/ knowledge/cassava/detail/455