[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - โรคพืช
1136 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 113 หน้า, หน้าที่ 114 มี 6 รายการ

เกษตรเตือนภัยโรคพืช โรคเน่าคอดินพืช-ผัก
เกษตรเตือนภัยโรคพืช โรคเน่าคอดินพืช-ผัก
เมื่อเข้าสู่ฤดูหนาว ในช่วงหลังการเก็บเกี่ยวข้าว เกษตรกรส่วนใหญ่จะเริ่มทำการเพาะปลูกพืชผัก สำนักงานเกษตรจังหวัดเชียงใหม่ จึงมีข้อแนะนำให้เกษตรกรรู้จักโรคพืชที่อาจเกิดการระบาดในพืชผักได้ในช่วงฤดูหนาวนี้รวมถึงวิธีการป้องกันกำจัด

นายสมพล แสนคำ เกษตรจังหวัดเชียงใหม่ กล่าวว่า โรคของต้นอ่อนหรือกล้าผักต่างๆ มีอยู่ด้วยกันหลายชนิดแต่ที่ทราบและรู้จักกันดีที่สุด ได้แก่ โรคโคนเน่าคอดิน (damping-off) หรือที่ชาวบ้านเรียกกันทั่วๆ ไปว่าโรคกล้าตายพราย หรือโรคเหี่ยวเขียว ซึ่งจัดว่าเป็นโรคระบาดสำคัญที่สร้างความเสียหายให้กับผักมากมายหลายชนิด หลายตระกูลในเกือบทุกสภาพของดินและภูมิอากาศตั้งแต่ระยะเริ่มแรกของการเจริญเติบโต

เชื้อรามีหลายชนิดที่เป็นสาเหตุให้เกิดโรคเน่าคอดิน ได้แก่ Phycomycetes : Pythium spp. _ Phytophthora spp. Deuteromycetes : Botrytis cinerea _ Diplodia pinea _ Cylindrocladium scoparium _ Fusarium spp _ Pestalozzia funerea_ Rhizoctonia solani_ Sclerotium bataticola

ลักษณะอาการของโรค เชื้อราจะเข้าทำลายพืชในระยะต้นกล้า ทำให้ลำต้นเน่าและตายลงอย่างรวดเร็ว เส้นใยของราที่เป็นสาเหตุจะแพร่กระจายอยู่ในดิน และเข้าสู่ต้นกล้าโดยแทงเข้าไปในเซลล์ผิว

อาการต้นกล้าเน่า อาการทั่วไปในแปลงจะพบว่า ต้นกล้าฟุบตายเป็นหย่อมๆ เมื่อนำกล้ามาพิจารณาดูที่ต้นจะเห็นว่า บริเวณโคนต้นจะมีลักษณะแผลช้ำ เหี่ยวแฟบ คอรวงเป็นสีน้ำตาลดำและเน่า เป็นเหตุทำให้ต้นกล้าหักพับลง พบกับกล้าพืชแทบทุกชนิดในแปลงที่มีกล้าแน่นเกินไป และความชื้นสูง สาเหตุเนื่องจากเชื้อราอาการต่างๆ ของโรคดังกล่าวมาแล้ว จะเกิดได้รุนแรงขนาดไหนนั้นขึ้นอยู่กับพืช ชนิด และปริมาณของเชื้อโรค และสภาพแวดล้อม เชื้อโรคแต่ละชนิดต้องการสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันไป เช่น โรคเน่าคอดิน โรครากเน่าจะเกิดรุนแรงเมื่อความชื้นสูง ดินมีการระบายน้ำไม่ดี โรคเน่าเละของผักระบาด เมื่อความชื้นสูง และอากาศร้อน โรคราแป้งขาวเป็นได้ดีในสภาพแวดล้อมที่แห้งแล้ง ในขณะที่โรคราน้ำค้างเป็นโรคได้ดี และระบาดมาก เมื่อมีความชื้นสูง และฝนชุก โรคใบจุด (ตากบ) ของยาสูบพบว่า ในแปลงที่มีปุ๋ยไนโตรเจนสูง ทำให้เกิดโรคมาก โรคเหี่ยวของมะเขือเทศที่เกิดจากเชื้อราจะเป็นโรครุนแรงมากน้อยแค่ไหน ขึ้นอยู่กับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินที่ปลูก และอัตราส่วนปุ๋ยไนโตรเจนและโพแทสเซียมที่ให้ สรุปได้ว่า เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม เชื้อจะเจริญได้ดีมีการเพิ่มปริมาณจำนวนมาก และเข้าทำลายพืชได้ง่าย โดยอาจเข้าทำลายโดยตรง เช่น เชื้อรา หรืออาจเข้าทางบาดแผล และทางรูเปิดธรรมชาติ เช่น ปากใบ ในสภาพที่พอเหมาะเชื้อจะเข้าไปเจริญ และขยายพันธุ์ในส่วนต่างๆ ของพืช และแสดงอาการโรคให้เห็น ซึ่งจะเป็นช่วงเวลาที่เชื้อมีจำนวนมาก พร้อมที่จะแพร่ระบาดขยายขอบเขตของการเกิดโรคออกไป โดยมีลมหรือน้ำพัดพาติดไปกับส่วนขยายพันธุ์ หรือเมล็ดพันธุ์ แมลง และสัตว์บางชนิดพาไป ติดไปกับเครื่องมือ หรือวัสดุการเกษตร เช่น มีด จอบ เสียม ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือบางทีมนุษย์ก็เป็นผู้นำ โรคแพร่ระบาดเสียเอง และสามารถแพร่ระบาดได้ไกลข้ามประเทศ โดยการนำหรือแลกเปลี่ยนพันธุ์พืชที่มีโรคติดอยู่ เป็นต้น

อาการโรคเน่าคอดิน แบ่งออกเป็น 2 ขั้น คือ

1) ราเข้าทำลายเมล็ดหรือต้นกล้า ก่อนที่จะงอกพ้นดิน ทำให้เมล็ดไม่งอกหรือรากต้นอ่อน ถูกทำลายทันที ทำให้ไม่มีใบเลี้ยงออกมา

2) ต้นกล้าเป็นโรคเมื่อโผล่พ้นดินแล้ว ถ้าเข้าทำลายส่วนล่างหรือส่วนราก โดยราจะแพร่กระจายอย่างรวดเร็วในเนื้อเยื่อพืชโดยเฉพาะราก ทำให้ต้นกล้าเหี่ยวทั้งต้นและหักล้มก่อนจะแสดงอาการเหี่ยว โดยส่วนติดผิวดินจะเน่าในขณะที่ส่วนอื่นยังเต่งอยู่ แต่ถ้าเชื้อราเข้าทำลายส่วนบนหรือส่วนใบเลี้ยง ซึ่งจะพบไม่บ่อยนัก จะพบเมื่อต้นกล้าอยู่กันอย่างหนาแน่นภายหลังจากระยะที่มีฝนตก

ที่มา http://www.farmkaset..link..
กรมส่งเสริมการเกษตร ตั้ง คลินิกพืช ปั้นนักส่งเสริมเป็น หมอพืช วินิจฉัยโรคพืช แก้ปัญหาให้กับเกษตรกรตรงจุด
กรมส่งเสริมการเกษตร ตั้ง คลินิกพืช ปั้นนักส่งเสริมเป็น หมอพืช วินิจฉัยโรคพืช แก้ปัญหาให้กับเกษตรกรตรงจุด
กรมส่งเสริมการเกษตรเร่งขับเคลื่อนคลินิกพืชพร้อมปั้นหมอพืชให้มีความองค์ความรู้และเกิดความชำนาญในการให้คำปรึกษาด้านโรคพืชอย่างถูกต้องแม่นยำ คาดสิ้นเดือนเมษายนนี้เกษตรกรสามารถเข้ารับบริการได้ครอบคลุมทั่วประเทศ

นายเข้มแข็ง ยุติธรรมดำรง อธิบดีกรมส่งเสริมการเกษตร เปิดเผยว่า จากปัญหาความสูญเสียผลผลิตทางการเกษตรจากการเข้าทำลายของศัตรูพืชและโรคพืชที่ปัจจัยรอบด้านแตกต่างกัน ส่งผลให้ผลผลิตทางการเกษตรเกิดความเสียหาย เกิดผลกระทบต่อผลผลิตและรายได้ของเกษตรกร กรมส่งเสริมการเกษตร ได้ขับเคลื่อนงานคลินิกพืชและฝึกอบรมนักวิชาการส่งเสริมการเกษตร ที่ดูแลงานอารักขาพืชให้ เป็นหมอพืชที่สามารถวินิจฉัยปัญหาโรคพืชและแมลงศัตรูพืชเบื้องต้น โดยบทบาทของหมอพืช จะต้องผ่านการอบรมเกี่ยวข้องกับการวินิจฉัยและการจัดการศัตรูพืช และมีประสบการณ์ด้านการวินิจฉัยอาการผิดปกติและการจัดการศัตรูพืชเบื้องต้นในระดับพื้นที่ เพื่อให้คำแนะนำการจัดการศัตรูพืชที่เหมาะสมถูกต้องแม่นยำกับสภาพปัญหาของเกษตรกรแต่ละพื้นที่ได้

นายรพีทัศน์ อุ่นจิตตพันธ์ ผู้อำนวยการกองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย กรมส่งเสริมการเกษตร กล่าวเพิ่มเติมว่า สำหรับคลินิกพืช จะเปิดให้บริการครบทั้ง 77 จังหวัด โดยจะให้บริการอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ครั้ง พร้อมกับมีการติดตามประเมินผลเบื้องต้นเพื่อปรับปรุงแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้น ซึ่งเกษตรกรสามารถเข้ารับบริการคลินิกพืชได้หลายแห่ง ได้แก่ 1. ศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านอารักขาพืช จำนวน 9 ศูนย์ โดยจะเปิดให้บริการเป็นประจำทุกวัน 2. สำนักงานเกษตรจังหวัด จำนวน 77 ศูนย์ และสำนักงานเกษตรอำเภอ 882 ศูนย์ โดยจะเปิดให้บริการ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน 3. ศูนย์เรียนรู้การเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตสินค้าเกษตร จำนวน 882 ศูนย์ หรือศูนย์จัดการศัตรูพืชชุมชน จำนวน 1_764 ศูนย์ โดยจะเปิดให้บริการ อย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 วัน

“อย่างไรก็ตามคาดว่าคลินิกพืชที่มีหมอพืชที่ผ่านการอบรมความรู้อย่างเข้มข้นจะสามารถให้บริการเกษตรกรแก้ไขปัญหาได้ตรงจุดถูกต้องแม่นยำโดยยึดหลักการจัดการศัตรูพืชด้วยวิธีผสมผสานที่มีความยืดหยุ่นตามบริบทของตัวเกษตรกรและพื้นที่ ลด ละ การใช้สารเคมีป้องกันกำจัดศัตรูพืชเกินความจำเป็น ซึ่งจะทำให้เกษตรกรสามารถผลิตผลผลิตทางการเกษตรได้มีอย่างคุณภาพ มีต้นทุนการผลิตที่ลดลงสามารถแข่งขันกับต่างประเทศได้ในอนาคต”

ที่มา http://www.farmkaset..link..
ผลกระทบต่อสุขภาพ จากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ผลกระทบต่อสุขภาพ จากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ผลกระทบต่อสุขภาพ จากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
3.1 ประเภทของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

สารเคมีกําจัดศัตรูพืชในทางการเกษตรซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ตามชนิดของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ในการควบคุมและกําจัด คือ สารเคมีกําจัดแมลง สารป้องกัน
กําจัดวัชพืช สารป้องกันกําจัดเชื้อราสารกําจัดหนูและสัตว์แทะ สารเคมีกําจัดหอยและปู เป็นต้น

สารเคมีกําจัดแมลง (Insecticide)
สารเคมีกําจัดแมลงเป็นสารเคมีการเกษตรที่มีจํานวนชนิดมากที่สุด สารเคมีกําจัดแมลงแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ตามชนิดของสารเคมีได้ 4 ประเภท คือ

1.1 กลุ่มออร์กาโนคลอรีน (Organochlorine) ซึ่งเป็นกลุ่มของสารเคมีที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ สารเคมีกําจัดแมลงในกลุ่มนี้ที่นิยมใช้กันมาก เช่น ดีดีที (DDT)
ดีลดริน(Dieldrin) ออลดริน (Aldrin) ท็อกซาฟีน (Toxaphene) คลอเดน(Chlordane) และลินเดน (Lindane) เป็นต้น

1.2 กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ เช่น มาลาไธออน (Malathion) และ เฟนนิโตรไธออน
(Fenitrothion) เป็นต้น

1.3 กลุ่มคาร์บาเมต (Carbamate) ซึ่งมีคาร์บาริลเป็นองค์ประกอบสําคัญ เช่น คาร์บาริล (Carbaryl) คาร์โบฟูแรน (Carbofuran) และเมโทมิล (Methomyl)
เป็นต้น

1.4 กลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroid) เป็นสารเคมีกลุ่มที่สังเคราะห์ขึ้นโดยมีความสัมพันธ์ตามโครงสร้างของไพรีทริน ซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่สกัดได้จากพืชไพรีทรัม
เช่น เดลตาเมธริน (Deltamethrin) เพอร์เมธริน (Permethrin) เรสเมธริน (Resmethrin) และไบโอเรสเมธริน (Bioresmethrin) เป็นต้น

สารป้องกันกําจัดวัชพืช (Herbicide)
สารเคมีกําจัดวัชพืชแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ จำแนกตามการเลือกทำลายเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

2.1 สารชนิดเลือกทำลาย (Selective herbicide) โดยทำลายเฉพาะวัชพืช แต่ไม่เป็นอันตรายต่อพืชที่ปลูก เช่น 2_4-D กำจัดวัชพืชใบกว้างโดยไม่เป็นพิษต่อ
ต้นข้าวที่เป็นพืชใบแคบ เป็นต้น

2.2 สารชนิดไม่เลือกทำลาย (Non-selective herbicide) ทำลายวัชพืชใบแคบ ใบกว้าง หรือกก แนะนำให้ใช้กำจัดวัชพืชในที่ที่ไม่มีการปลูกพืช หรือถ้าจะพ่น
ในที่ที่มีพืชขึ้นอยู่หรืออยู่ใกล้เคียง ต้องพ่นอย่างระมัดระวัง เช่น พาราควอท (Paraquat) ไกลโฟเสท (Glyphosate) เป็นต้น

สารกําจัดเชื้อรา (Fungicide) มีอยู่หลายกลุ่ม บางชนิดมีพิษน้อย แต่บางชนิดมีพิษมาก เช่น
3.1 กลุ่ม Dimethey Dithiocarbamates เช่น ไซแรม(Ziram) เฟอแบม (Ferbam) ไธแรม(Thiram) เป็นต้น มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Acetaldehyde
dehydrogenase เกิด Antabuse Effect ในคนที่ดื่มสุราร่วมด้วย

3.2 กลุ่ม Ethylenebisdithiocarbamates เช่น มาแนบ (Maneb) แมนโคแซบ (Mancozeb) ไซแนบ (Zineb) เป็นต้น กลุ่มนี้จะถูก Metabolize เป็น
Ethylene thiourea ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์

3.3 กลุ่ม Methyl Mercury ดูดซึมได้ดีทางผิวหนังและมีพิษต่อระบบประสาท

3.4 กลุ่ม Hexachlorobenzene ยับยั้งเอนไซม์ Uroporphyrinogen Decarboxylase มีพิษต่อตับ ผิวหนัง ข้อกระดูกอักเสบ

3.5 กลุ่ม Pentachlorophenol สัมผัสมากๆ ทำให้ไข้สูง เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว

สารกําจัดหนูและสัตว์แทะ (Rodenticides)
สารกําจัดหนูและสัตว์แทะที่นิยมใช้กัน ส่วนใหญ่เป็นสารกลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด ตัวอย่างเช่น วอฟฟาริน (Warfarin) เป็นต้น



3.2 ความเป็นพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ปัญหาสุขภาพที่สำคัญคืออันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างแพร่หลายเพื่อ
เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและมีเกษตรกรส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้สารเคมีฯที่ไม่ถูกต้อง ปลอดภัย ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทั้งเฉียบพลันและ
เรื้อรัง อาการแสดงเฉียบพลันมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิต ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับ ส่วนอาการเรื้อรัง
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะสะสมในระบบต่างๆ ของร่างกายทำให้เกิดความผิดปกติและโรคต่างๆ เช่น มะเร็งสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้
หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนัง การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่มีสารเคมีปนเปื้อน ซึ่งพฤติกรรม
การใช้สารเคมีที่ไม่ปลอดภัยนั้นทำให้เกษตรกรผู้อาศัยในชุมชน และผู้บริโภคมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้น

ความเป็นพิษของสารกำจัดศัตรูพืชชนิดต่างๆ

สารออร์กาโนฟอสเฟต มีฤทธิ์ขัดขวางการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาท รอบนอก โดยจะจับกับตัวเอ็นไซม์
โคลีนเอสเตอเรส ซึ่งมีหน้าที่ส่งสัญญาณประสาทหยุดการทำงาน ผลการจับ ตัวกับเอ็นไซม์ทำให้ปริมาณของเอ็นไซม์ ลดลง และมีผลต่อกล้ามเนื้อต่าง ๆ
ต่อมต่าง ๆและกล้ามเนื้อเรียบซึ่ง ควบคุมอวัยวะต่าง ๆ ในการทำงานมากกว่าปกติ เนื่องจากปริมาณเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสมีไม่มากพอที่จะ หยุด
การทำงาน พบอาการ ม่านตาหรี่ หายใจลำบาก เวียนศีรษะ อาเจียน มือสั่น เดินโซเซ ชัก หมดสติ ระบบกล้ามเนื้อพบอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ตะคริว
ที่กล้ามเนื้อ ต่อมต่าง ๆ ต่อมน้ำลายขับน้ำลายออกมา มาก ต่อมเหงื่อขับเหงื่อออกมามาก

สารคาร์บาเมต สารในกลุ่มนี้มีการออกฤทธิ์คล้ายคลึงกับสารออร์กาโนฟอสเฟต แต่ความเป็นพิษน้อยกว่า อาการที่เกิดขึ้นเหมือนกับการได้รับสาร
ออร์กาโนฟอสเฟต ยกเว้นอาการชัก ไม่รู้สึกตัวเกิดขึ้นน้อย

สารออร์กาโนคลอรีน สารกลุ่มนี้ถูกดูดซึมที่ผิวหนัง เมื่อได้รับมาก ๆจะทำให้ระบบประสาทส่วนกลาง ถูกขัดขวาง พบอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เวียน
ศีรษะ ปวดศีรษะ

สารไพรีทรอยด์ เป็นสารที่มีความไวทางชีวภาพสูง และใช้แบบเจือจาง สารกลุ่มนี้ถูกกำจัดออกจาก ร่างกาย ไม่ถูกสะสมอยู่ในร่างกาย พบอาการชา
หายใจเร็วตื้น เจ็บคอ คอแห้ง แสบจมูก คันตามผิวหนัง ท้องเสีย น้ำลายไหลมาก หนังตากระตุก เดินโซเซ

สารกำจัดวัชพืช เช่น สารพาราควอท ที่ออกฤทธิ์เร็วและจะเสื่อมฤทธิ์ทันทีเมื่อตกถึงพื้นดิน สารนี้ ละลายน้ำและแอลกอฮอล์ได้ดี ไม่มีสี มีกลิ่นอ่อน ๆ
คล้ายกลิ่นแอมโมเนีย สารนี้มีพิษต่อผิวหนัง และเยื่อเมือกพบอาการผิวหนังแห้งแตก ผื่นแดง เป็นแผล เล็บซีดขาว เล็บเปราะ ระบบหายใจ พบอาการไอ
เลือดกำเดาไหล เจ็บคอ หากรับประทานเข้าไปทำให้เกิดพังผืดที่ปอด การหายใจล้มเหลว

สารเคมีกำจัดหนู เช่น ซิงค์ฟอสไฟต์ มีความเป็นพิษมาก เมื่อถูกน้ำและกรดในกระเพาะอาหารเกิดปฏิกิริยาได้ก๊าซพิษฟอสฟีน ทำลายเซลล์กระเพาะ
อาหาร ตับ ไต การดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทำให้มีน้ำคั่งในปอด ปวดศีรษะ หายใจขัด ความดันโลหิตสูง อาจทำให้เสียชีวิตภายในระยะเวลา 2-3 ชั่วโมง

สารไธโอคาร์บาเมต เป็นสารกลุ่มรักษาโรคพืช ลักษณะอาการเกิดขึ้นมีลักษณะเหมือนไพรีทรอยด์ ทางเดินหายใจพบอาการ คอแห้ง แสบจมูก ไอ
ตาพบอาการเคืองตา ตาแดง ผิวหนัง พบอาการคันผิวหนัง มีจุดขาวที่ผิวหนัง ผื่นแดง

ความเป็นพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ต้องเฝ้าระวัง 12 ชนิด

สารกําจัดศัตรูพืชที่ต้องเฝ้าระวัง 12 ชนิด ที่กรมควบคุมโรคเห็นความสําคัญเป็นสารในกลุ่มเดียวกับวัตถุอันตรายที่กรมวิชาการเกษตรเฝ้าระวังซึ่งสารกําจัด
ศัตรูพืชกลุ่มนี้เป็นสารที่อยู่ในข่ายที่ต้องเฝ้าระวังในการใช้เนื่องจากเป็นสารที่มีปริมาณการใช้มาก มีความเป็นพิษสูง หรือมีการตกค้างระยะยาวในสิ่งแวดล้อม
สารทั้ง12 ชนิดนี้ ประกอบด้วย

อัลดิคาร์บ (Aldicarb)
บลาสติซิดิน เอส ( Blasticidin-S)
คาร์โบฟูราน (Carbofuran)
ไดโครโตฟอส (Dicrotophos)
อีพีเอ็น (EPN)
อีโธโปรฟอส (Ethoprofos)
โฟมีทาเนต (Formethanate)
เมทิดาไธออน (Methidathion)
เมโทมิล (Methomyl)
อ๊อกซามิล (Oxamyl)
เอ็นโดซัลแฟน (Endosulfan)
พาราไธออนเมทธิล(Parathion Methyl)
การจัดระดับความเป็นพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยใช้ค่า ปริมาณสารเคมีต่อน้ำหนักตัวของสัตว์ทดลองที่รับเข้าไปครั้งเดียวแล้วทำให้ตายไป 50%
(LD50) และมีหลายหน่วยงานได้จัดระดับความเป็นอันตรายของสารเคมีทางการเกษตร เพื่อแยกระดับความรุนแรงของสารเคมีแต่ละชนิด โดยให้สัญลักษณ์
ของอันตรายแต่ละระดับ

อ่านต่อทั้งหมดที่ http://www.farmkaset..link..
การเข้าทำลายของเชื้อราสาเหตุโรค หลังการเก็บเกี่ยว ที่เกี่ยวข้องกับการ เปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรดด่าง
การเข้าทำลายของเชื้อราสาเหตุโรค หลังการเก็บเกี่ยว ที่เกี่ยวข้องกับการ เปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรดด่าง
โดย …ผศ.ดร.เนตรนภิส เขียวขำ ภาควิชาโรคพืช คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์

ในการเกิดโรคพืชมีกระบวนการและปัจจัยที่เกี่ยวข้องบางอย่างที่มีส่วนในการทำให้เกิดโรค ปัจจัยเหล่านี้จะขาดปัจจัยหนึ่งปัจจัยใดไม่ได้ กล่าวคือ ถ้าขาดอย่างใดอย่างหนึ่งไปหรือมีไม่ครบถ้วน ลักษณะอาการของโรคพืชก็จะไม่แสดงให้เห็นหรือพืชไม่เป็นโรค ปัจจัยดังกล่าวประกอบด้วย เชื้อสาเหตุของโรค พืชอาศัย สภาพแวดล้อม และระยะเวลาในการเข้าทำลาย (สืบศักดิ์_ 2554) การเข้าทำลายของเชื้อราสาเหตุโรคหลังการเก็บเกี่ยวหลายชนิด จะเริ่มจากอาศัยอยู่กับผลิตผลแบบแฝง (quiescent) ในระยะที่ผลเจริญเติบโตโดยไม่แสดงอาการให้เห็น เมื่อผลเข้าสู่ระยะสุกแก่และเสื่อมสภาพ เชื้อราสาเหตุโรคก็จะเข้าทำลายทำให้เกิดอาการของโรค เนื่องจากในระยะผลยังอ่อน พืชจะสร้างกลไกการป้องกันตัวเพื่อจำกัดการเจริญของเชื้อรา ต่อมาเมื่อผลสุกแก่กลไกการป้องกันตัวมีการเปลี่ยนแปลงทำให้เชื้อราสามารถเจริญได้ โดยในที่นี้จะขอกล่าวถึงผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรดด่างในผลิตผลต่อเชื้อราสาเหตุโรคพืช ค่าความเป็นกรดด่างของผลิตผลที่เพิ่มหรือลดลง ส่งผลต่อการกลไกการป้องกันตัวของพืช ทำให้เชื้อราสาเหตุโรคถูกกระตุ้นให้มีการปลดปล่อยเอนไซม์ย่อยเนื้อเยื่อพืชอาศัย จึงก่อให้เกิดโรคได้ ความเป็นด่างจะเกิดจากปฏิกิริยาการผลิตแอมโมเนีย (ammonification) ในเนื้อเยื่อพืชที่มีการเข้าทำลายของเชื้อรา เช่น Colletotrichum และ Alternaria ส่วนความเป็นกรดเกิดจากปฏิกิริยาการสร้างกรด (acidification) ที่เป็นพวกกรดอินทรีย์ต่างๆ ในเนื้อเยื่อพืชที่มีการเข้าทำลายของเชื้อรา เช่น Penicillium Botrytis และ Sclerotinia (Pursky et al._ 2010)

เชื้อราสาเหตุโรคหลังการเก็บเกี่ยวจะมีช่องทางการเข้าทำลายเนื้อเยื่อพืชอาศัยได้ 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) การเข้าทำลายทางบาดแผลที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต เช่น แมลงหรือสัตว์ และบาดแผลที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต เช่น เครื่องมือการเกษตร การกระแทก รอยแยกจากการพัฒนาของผล ในระหว่างการเจริญและการเก็บรักษา 2) การเข้าทางรอยเปิดตามธรรมชาติของพืชอาศัย เช่นเลนติเซล ขั้วผล ก้านผล และ 3) การเข้าโดยตรงที่บริเวณรอยแตกของชั้นคิวติเคิลในระยะที่มีการพัฒนาของผล

การเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรด-ด่าง (pH) ของสิ่งแวดล้อมหรือพืชอาศัย มีผลต่อการเกิดโรคจากเชื้อราสาเหตุโรคหลังการเก็บเกี่ยว การเปลี่ยนแปลงค่า pH ทำให้เกิดการเพิ่มหรือลดปริมาณเชื้อราได้ซึ่งอธิบายได้จากการที่เชื้อรามีทั้งประเภทที่เป็นเชื้อราที่เจริญในสภาพด่าง (alkalizing fungi) และเชื้อราที่เจริญในสภาพกรด (acidifying fungi) ค่า pH ของพืชอาศัยที่เหมาะสมจะมีผลต่อการสร้างเอนไซม์ของเชื้อรา การเปลี่ยนแปลง pH ของพืชอาศัยมีความสำคัญในการกระตุ้นให้เชื้อราที่เข้าทำลายแบบแฝงสามารถเจริญและพัฒนาก่อโรคในพืชได้ เชื้อราที่เจริญในสภาพด่างเช่น ผลอะโวคาโดในระยะสุกแก่และเสื่อมสภาพ จะมีค่า pH เปลี่ยนแปลงเพิ่มขึ้นจาก 5.2 เป็น 6 ในระยะที่เข้าสู่การสุกแก่ (Yakoby et al._ 2000) ในระหว่างเชื้อราสาเหตุโรคเพิ่มปริมาณในพืชอาศัยจะเกิดมีปฏิกิริยาการผลิตแอมโมเนียขึ้น เช่นเชื้อรา Colletotrichum และ Alternaria จะสร้างแอมโมเนียออกมา ในชั้น pericarp ของผลอะโวกาโดซึ่งมี pH 5.2 ทำให้ pH เพิ่มขึ้นเป็น 7.5-8 เช่นเดียวกับผลมะเขือเทศจะมี pH 4.1-4.5 เมื่อเชื้อรา C. gloeosporioides เข้าทำลาย บริเวณบาดแผลที่เน่าเสียมี pH เพิ่มขึ้นเป็น 8 และมีการสะสมแอมโมเนียเป็น 3.6 มิลลิโมลาร์ เมื่อเปรียบเทียบกับเนื้อเยื่อพืชปกติที่มีแอมโมเนีย 0.2 มิลลิโมลาร์ (Alkan et al._ 2008; Prusky et al._ 2001) เช่นเดียวกับ พริกหยวก แตงเมล่อน เชอร์รี่ และพลับ (Eshel et al._ 2002) ที่พบการเข้าทำลายของเชื้อรา A. alternata จะมีความเข้มข้นแอมโมเนียเพิ่มขึ้น 3-10 เท่า และส่งผลให้ pH เพิ่มขึ้นจาก 0.2 เป็น 2.4 การสร้างแอมโมเนียนั้น เกิดจากกิจกรรมของเอนไซม์ย่อยโปรตีนและการย่อยกรดอะมิโน (Prusky and Yakoby_ 2003) เมื่อผลไม้ที่มีความเป็นกรดถูกเชื้อราเข้าทำลาย เชื้อราจะสร้างแอมโมเนียออกมาเกิดสภาพด่างทำให้เชื้อรามีความรุนแรงในการก่อโรค การสะสมแอมโมเนียเป็นปัจจัยที่สำคัญในการเข้าทำลายของเชื้อรา Colletotrichum และทำให้เกิดการพัฒนาของโรคในผลิตผลสุก และพบการสร้างเอนไซม์ arsenal (Prusky and Yakoby_ 2003) ซึ่งเป็นเอนไซม์ที่สร้างจากเชื้อสาเหตุโรคมีหน้าที่ย่อยสลายผนังเซลของพืช นอกจากนี้ยังมีการศึกษาการแสดงออกของ endoglucanase ยีน AaK1 ที่เกิดจากเชื้อรา Alternaria alternata จะเกิดขึ้นเมื่ออยู่ในสภาวะที่มีค่า pH มากกว่า 6 ในเนื้อเยื่อพืชที่มีการเน่าเสีย ซึ่ง endoglucanase เป็นเอนไซม์สร้างจากเชื้อรา แบคทีเรีย และโปโตรซัว มีหน้าที่เร่งปฏิกิริยาการย่อยสลาย cellulose ในผนังเซล ยีน AaK1 จะไม่แสดงออกเมื่ออยู่ในสภาวะ pH ต่ำ ทำให้อยู่ในสภาวะการเข้าทำลายแบบแฝง (Eshel et al._ 2002) เชื้อรา Colletotrichum มียีน pelB ที่จะแสดงออกเมื่อค่า pH มากกว่า 5.7 (Yakoby et al._ 2001)

ส่วนเชื้อราที่เจริญในสภาพกรด ได้แก่เชื้อรา Pencillium expansum P. digitatum P. italicum B. cinerea และ Sclerotium sclerotiorum จะปลดปล่อยกรดอินทรีย์ทำให้เกิดสภาพความเป็นกรดในเนื้อเยื่อ เชื้อรา Pencillium spp. สร้างกรดเมื่อเข้าทำลายแอปเปิ้ลและส้ม ทำให้ผลแอปเปิ้ลมีค่า pH ลดลง จากปกติเนื้อเยื่อ mesocarb มีค่า pH ระหว่าง 3.95-4.31 ลดลงเป็น 3.64-3.88 ในเนื้อเยื่อพืชที่ถูกทำลาย (ตารางที่ 1) (Prusky et al._ 2010) เชื้อรา S. sclerotiorum ในระหว่างเข้าทำลายพืชจะสร้างกรด oxalic ทำให้ค่า pH ของพืชลดต่ำลงเหลือเพียง pH 4 (Rollins and Dickman_ 2011) ซึ่งการเกิดกรด oxalic เป็นสิ่งบ่งบอกว่ามีการเข้าทำลายของเชื้อในระหว่างการติดเชื้อ เช่น แบคทีเรียจะสร้างกรด oxalic ขึ้นเพื่อออกซิไดส์คาร์โบไฮเดรตของพืช ส่วนเชื้อรา Pencillium spp. และ Aspergillus สร้างกรด citric และ gluconic สะสมในเนื้อเยื่อพืช ซึ่งทำให้ค่า pH ลดลง 0.5-1 หน่วย และเกิดการกำจัดแอมโมเนียออกจากเนื้อเยื่อพืชทำให้ค่า pH ลดต่ำลง (Prusky and Yakoby_ 2003; Ruijter et al._ 1999)

เชื้อรา P. expansum เป็นเชื้อสาเหตุโรคผลเน่าในแอปเปิ้ล สร้างกรด gluconic สะสมในเนื้อเยื่อพืช ตรวจพบการแสดงออกของยีน gox2 สูง ซึ่งเป็นยีนที่มีหน้าที่ออกซิไดซ์กลูโคสและปลดปล่อยกรด gluconic (Hadas et al._ 2007) การสะสมกรด gluconic และ oxalic เกิดขึ้นเมื่อพืชถูกเชื้อราเข้าทำลายซึ่งการเปลี่ยนแปลงของค่า pH เกี่ยวข้องกับการแสดงออกของยีน pac 1 (phosphatase of activated cells 1) ทำหน้าที่เป็นตัวกลางใน zinc finger transcription factor การเกิดกรด oxalic ยังเกิดขึ้นจากกิจกรรมเอนไซม์ oxaloacetase ที่สลาย oxaloacetate (Rollins and Dickman_ 2001) การเปลี่ยนแปลงของค่า pH ในสิ่งแวดล้อมหรือผลิตผลเป็นปัจจัยที่เชื้อสาเหตุโรคเลือกเข้าทำลายที่มีความเฉพาะเจาะจงในพืชอาศัยแต่ละชนิด ในงานวิจัยที่กล่าวข้างต้นพบว่ายีนของเชื้อราจะถูกกระตุ้นจากการเปลี่ยนแปลงค่า pH ซึ่งยีนหลายชนิดทำให้เกิดการสร้างเอนไซม์ที่มาย่อยผนังเซลของพืช เชื้อรา P. expansum จะสร้างกรด gluconic และ citric ช่วยในการทำงานของเอนไซม์ที่ย่อยโปรตีน มีการทดลองเพิ่มความเป็นกรด pH 3-5 ในอาหารเลี้ยงเชื้อรา P. expansum ตรวจพบว่ามีการเพิ่มของยีน pepg1 (endopolygalacturanase gene) และในบริเวณเป็นด่างจากการเติม NaHCO3 พบการเจริญของเชื้อราลดลง (Prusky and Yakoby_ 2003)

สิ่งที่มีผลให้การเข้าทำลายแบบแฝงพัฒนาให้เกิดการก่อโรค โดยการเปลี่ยนสถานะจากการอยู่ร่วมกัน (biotrophism) เป็นการก่อโรคหรือการย่อยสลาย (necrotropic-saprophytic stage) มีปัจจัยที่ทำให้เกิดกลไกดังกล่าวภายในเซลที่มีผลมาจากชนิดและปริมาณแร่ธาตุต่างๆ และค่า pH ที่เหมาะสม สารที่ถูกปลดปล่อยออกมา เช่น กรดอินทรีย์ เป็นส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดการก่อโรคและทำให้เกิดความรุนแรงของโรคตามมาโดยมีการทำงานแบ่งเป็น 3 ลักษณะ ได้แก่ 1) การเกิดสาร oxalate ซึ่งจะเป็นพิษโดยตรงต่อพืชอาศัยหรือทำให้พืชอ่อนแอ 2) อาจมีการชะล้างแคลเซียมที่ผนังเซลเนื่องมาจากกรด oxalic และ gluconic ทำให้ผนังเซลอ่อนนิ่ม (Hadas et al._ 2007) และ 3)สาร oxalate ไปยับยั้งการสร้าง Reactive oxygen species (ROS) ของพืช และขัดขวางกลไกการป้องกันตัวเองของพืช (Kim et al._ 2008) การสร้างแอมโมเนียมีผลทั้งทางกายภาพและชีวเคมีต่อทั้งพืชและเชื้อสาเหตุโรค เนื้อเยื่อพืชปกติจะมีอิเล็กตรอนและโปรตรอนระหว่าง plasma membrane ซึ่งมีความสำคัญต่อการแลกเปลี่ยนไอออน การเคลื่อนที่ของของเหลว และการเจริญของผนังเซล ความเป็นพิษของแอมโมเนียจะทำให้พืชมีการสังเคราะห์เอทิลีนและมีการเปลี่ยนแปลงของการผ่านเข้าออกของสารในเซลเมมเบรน และส่งผลให้พืชมีการสะสมของ ROS เนื่องจากกลไกของ NADPH oxidase ทำให้เกิดบริเวณเนื้อเยื่อตาย (cell death) บนผลมะเขือเทศซึ่งส่งผลดีทำให้เป็นบริเวณจำกัดไม่ให้เส้นใยเจริญต่อไปได้ (Alkan et al._ 2009)

ความซับซ้อนของการเข้าทำลายแบบแฝงเกี่ยวของกับการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และชีวเคมีของพืชอาศัยในระหว่างการสุกและการเสื่อมสภาพอันนำไปสู่การอ่อนแอต่อโรค ประกอบกับเชื้อที่เข้าทำลายแบบแฝงมีความสามารถต้านทานสารยับยั้งเชื้อราในพืชอาศัยที่มีลดลงเมื่อเข้าสู่ระยะสุกแก่ได้ การเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ อาทิเช่น ค่า pH ในเนื้อเยื่อพืชอาศัย ปริมาณน้ำตาล องค์ประกอบของผนังเซล หรือบาดแผล เหล่านี้ล้วนกระตุ้นให้เชื้อราเจริญได้ ความเป็นกรดในเนื้อเยื่อพืชจากกรดอินทรีย์ (oxalic และ gluconic) หรือความเป็นด่างจากการสร้างแอมโมเนีย อาจมีส่วนทำให้เนื้อเยื่อเน่าเสียอย่างรวดเร็วได้ รวมทั้งผลของการแสดงออกของยีนและการปลดปล่อยเอ็นไซม์พวกที่ย่อยผนังเซล การหาคำตอบของการเปลี่ยนแปลงสิ่งที่ส่งสัญญาณต่างๆ เช่น pH ไนโตรเจน และน้ำตาล ที่มีผลต่อการก่อโรคหลังการเก็บเกี่ยวในระยะที่ผลิตผลสุกแก่ยังคงต้องหาคำตอบต่อไป แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันเราทราบแล้วว่าค่า pH ของพืชอาศัยมีผลต่อการพัฒนาของเชื้อสาเหตุโรคอันจะนำไปสู่การควบคุมโรคในการศึกษาต่อไปในอนาคต (Prusky et al._ 2006)

แนวทางในการแก้ปัญหาโรคหลังการเก็บเกี่ยวด้วยการเปลี่ยนแปลงค่าความเป็นกรดด่าง จากงานวิจัยที่ผ่านมามีการใช้กรดร่วมกับกรรมวิธีการอื่นๆ ในการจัดการโรคหลังการเก็บเกี่ยว เช่นการใช้น้ำส้ม (กรดอะซิติก) ความเข้มข้นร้อยละ 1-3 ในน้ำ อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส สามารถลดการเจริญของสปอร์ของเชื้อรา Penicillium expansum สาเหตุโรคผลเน่าของแอปเปิ้ล โดยทดลองแช่ผลแอปเปิ้ล พันธุ์ Red Delicious ในกรดน้ำส้มที่อุณหภูมิดังกล่าว ความเข้มข้นร้อยละ 3 นาน 2 นาที สามารถลดอาการผลเน่าได้ (Radi et al._ 2010) Venditti et al. (2009) ทดลองรมผลส้มแมนดารินด้วยไอของกรดน้ำส้มความเข้มข้น 75 ไมโครลิตรต่อลิตร นาน 15 นาที ที่อุณหภูมิ 36 องศาเซลเซียส ที่ความชื้นสัมพัทธ์ร้อยละ 95 พบว่าสามารถยับยั้งเชื้อรา Penicillium digitatum ที่ปลูกเชื้อบนผลส้มแมนดารินเก็บเกี่ยวใหม่ 2 พันธุ์ ได้แก่พันธุ์ Fremont และ Fairchild โดยพบการเน่าเสียเพียงร้อยละ 8.3 และ 2.1 ตามลำดับ นอกจากนี้ยังมีการทดลองพ่นกรดมะนาว (กรดซิตริก) ความเข้มข้น 1_000-2_000 ไมโครลิตรต่อลิตร เป็นเวลา 30 นาที มีผลในการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์ที่ผิวผลสตรอเบอรี่ (Vardar et al._ 2012)

** บทความนี้ตีพิมพ์ลงใน Postharvest Newsletter ปีที่ 18 ฉบับที่ 1 มกราคม – มีนาคม 2562

เอกสารอ้างอิง
สืบศักดิ์ สนธิรัตน์. 2554. การจัดการโรคพืช. ภาควิชาโรคพืช มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. หจก. เกษมศรี ซี.พี. กรุงเทพฯ. 128 หน้า.
ศศิวิมล ลักษณพิสุทธิ์. 2553. การควบคุมโรคผลเน่าราสีเขียว ที่เกิดจากเชื้อรา Penicillium digitatum Sacc. บนผลส้มพันธุ์สายน้ำผึ้ง ด้วยสารสกัดจากขมิ้นชัน (Turmeric ; Curcuma longa Linn.). วิทยานิพนธ์ปริญญาโท.บัณฑิตวิทยาลัย_ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์. 133 หน้า.
Alkan_ N_ R. Fluher_ A. Sherman and D. Prusky. 2008. Role of ammonia secretion and pH modulation on pathogenicity of Colletotrichum coccodes on tomato fruit. Mol Plant Microbe Interact 21:1058-1066.
Alkan_ N._ R. Fluhr_ M. Sagi_ O. Davydov and D. Prusky. 2009. Ammonia secreted by Colletotrichum coccodes effects host NADPH oxidase activity enhancing cell death and pathogenicity in tomato fruits. Molecular Plant-Microbe Interactions 22: In press
Eshel_ D._ I. Miyara_ T. Ailinng_ A. Dinoor and D. Prusky. 2002. pH regulates endoglucanase expression and virulence of Alternaria alternata in persimmon fruits. Mol Plant Microbe Interaction 15:744-779.
Hadas_ Y._ I. Goldberg_ O. Pines and D. Prusky. 2007. The relationship between expression of glucose oxidase_ gluconic accumulation_ acidification of host tissue and the pathogenicity of Pencillium expansum. Phytopathology 97:384-390.
Kim_ K.S._ J.Y. Min and M.B. Dickman. 2008. Oxalic acid is an elicitor of plant programmed cell death during Sclerotinia sclerotiorum disease development. Mol Plant Microbe Interact 21:605-612.
Prusky_ D. and N. Yakoby. 2003. Pathogenic fungi: leading or led by ambient pH? Mol Plant Pathol 4: 509-516.
Prusky_ D._ J.L. McEvoy_ B. Leverentz and W.S. Conway. 2001. Local modulation of host pH by Colletotrichum species as a mechanism to increase virulence. Mol Plant Microbe Interact 14:1105-1113.
Prusky_ D._ I. Kobiler_ M. Aderman and I. Miyara. 2006. Effect of acidic solutions and acid Prochloraz on the control of postharvest decays caused by Alternaria alternata in mango and persimmon fruit. Postharvest Biol Technol 42:134-141.
Prusky_ D._ N. Alkan_ I. Miyara_ S. Barad_ M. Davidzon_ I. Kobiler_ S. Brown-Horowitz_ A. Lichter_ A. Sherman and R. Fluhr. 2010. Mechanisms modulation postharvest pathogen colonization of decaying fruits. In D. Prusky and M.L. Gullino. Post-harvest pathology. Springer. pp.43-56.
Radi_ M._ H.A. Jouybari_ G. Mesbahi_ A. Farahnaky and S. Amiri. 2010. Effect of hot acetic acid solutions on postharvest decay caused by Penicillium expansum on Red Delicious apples. Scientia Horticulturae 126: 421–425.
Rollins_ J.A. and M.B. Dickman. 2011. pH signaling in Sclerotinia sclerotiorum: identification of pacC/RIM1 homolog. Applied Environ Microbiol 67:75-81.
Ruijter_ G.J.G._ P.J. van de Vondervoort_ and J. Visser. 1999. Oxalic acid production by Aspergillus niger: an oxalate-non-producing mutant produces citric acid at pH 5 and in the presence of manganese. Microbiology 145:2569-2576.
Vardar_ C._ K. Ilhan and O.A. Karabulut. 2012. The application of various disinfectants by fogging for decreasing postharvest diseases of strawberry. Postharvest Biology and Technology 66: 30–34.
Venditti_ T._ A. Dore_ M.G. Molinu_ M. Agabbio and G. D’hallewina. 2009. Combined effect of curing followed by acetic acid vapour treatments improves postharvest control of Penicillium digitatum on mandarins. Postharvest Biology and Technology 54: 111–114.
Yakoby_ N._ I. Kobler_ A. Dinoor and D. Prusky. 2000. pH regulation of pectate lyase secretion modulates the attack of Colletotrichum gloeosporioides on avocado fruits. Appl Environ Microbiol 66:1026-1030.
Yakoby_ N._ D. Beno-Moualem_ N.T. Keen_ A. Dinoor_ O. Pines_ and D. Prusky. 2001. Colletotrichum gloeosporioides pelB_ is an important factor in avocado fruit infection._ Mol Plant Microbe Interact 14: 988-995.

ที่มา http://www.farmkaset..link..
การประกอบโรคของพืช
การประกอบโรคของพืช
ส่วนประกอบของโรคเป็นปัจจัยสำคัญของการเกิดโรค หากขาดส่วนใดส่วนหนึ่งแล้วจะการเกิดโรคจะไม่สมบูรณ์หรือไม่อาจเกิดโรคได้เลย

ส่วนประกอบของโรคเป็นที่รู้จักกันดีในชื่อ สามเหลี่ยมโรคพืช(Disease triangle) ได้แก่

1. พืชอาศัย(Host) ต้องมีพืชอาศัยที่เป็นโรคง่าย
2. เชื้อสาเหตุ(Pathogen) ต้องเป็นเชื้อสาเหตุที่รุนแรง
3. สภาพแวดล้อม(Environment) ต้องมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค
4. เวลา(Time) ถือว่าเป็นสิ่งสำคัญอีกปัจจัยหนึ่ง ได้แก่ ระยะเวลาที่พืชอาศัยและเชื้อโรคสัมผัสกัน ระยะเวลาที่ใบเปีย

ในขณะที่อุณหภูมิเหมาะสมต่อ การเกิดโรค ระยะเวลาที่เหมาะสม ต่อการแพร่กระจายของสปอร์ การงอกของสปอร์ การติดเชื้อ เป็นต้น

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
ไบโอเทค สวทช. พัฒนา แบคทีรีโอฟาจ ทำลายเชื้อแบคทีเรียก่อโรคพืชในดิน
ไบโอเทค สวทช. พัฒนา แบคทีรีโอฟาจ ทำลายเชื้อแบคทีเรียก่อโรคพืชในดิน
ไบโอเทค พัฒนา แบคทีรีโอฟาจ หรือ ฟาจ (phage) ซึ่งเป็นไวรัสที่มีประสิทธิภาพในการเข้าทำลายเชื้อแบคทีเรียก่อให้เกิดโรคในพืช เพื่อใช้เป็นสารชีวภัณฑ์ในการกำจัดเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคพืช ทดแทนการใช้สารเคมี เพื่อความปลอดภัยต่อเกษตรกรและผู้บริโภค

โรคเหี่ยวเขียวหรือโรคเหี่ยว (bacterial wilt disease) มีสาเหตุมาจากเชื้อแบคทีเรีย ราลสโตเนีย โซลานาซีเอรัม (Ralstonia solanacearum) จัดเป็นเชื้อแบคทีเรียสาเหตุโรคพืชที่มีความสำคัญมากชนิดหนึ่ง ซึ่งทำให้เกิดโรคเหี่ยวกับพืชมากกว่า 200 ชนิด โดยเฉพาะพืชเศรษฐกิจสำคัญ เช่น มะเขือเทศ มะเขือ มันฝรั่ง พริก พริกไทย กล้วย ขิง ถั่วลิสง และยาสูบ เป็นต้น โดยจากสถิติขององค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) โรคเหี่ยวเขียวสร้างความเสียหายเป็นมูลค่ากว่า 35_000 ล้านบาททั่วโลก สำหรับในประเทศไทยพบว่าโรคเหี่ยวเขียวสร้างความเสียหายให้กับผลผลิตมะเขือเทศและพริกคิดเป็นมูลค่ารวมกว่า 540 ล้านบาทต่อปี เชื้อแบคทีเรียราลสโตเนีย โซลานาซีเอรัม ซึ่งเป็นสาเหตุของโรคสามารถอาศัยอยู่ในดิน

โดยจะเข้าทำลายพืชทางราก ตามรอยแผลที่เกิดจากการทำลายของแมลง ไส้เดือนฝอย รอยฉีกขาดของราก หรือแผลที่เกิดในธรรมชาติ และสามารถแพร่ระบาดไปกับน้ำได้ดีโดยเฉพาะในช่วงฤดูฝนที่มีฝนตกชุกจะมีการระบาดของโรครุนแรงและรวดเร็ว รวมทั้งเชื้อแบคทีเรียนี้สามารถติดไปกับหัวพันธุ์โดยแอบแฝงอยู่ในหัวพันธุ์และอยู่ข้ามฤดูได้ การป้องกันกำจัดทำได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากเชื้อสามารถอยู่ในดินได้เป็นเวลานาน ทั้งยังมีพืชอาศัยกว้าง และมีความหลากหลายของสายพันธุ์ ปัจจุบันยังไม่มีสารเคมีที่มีประสิทธิภาพสูงในการป้องกันกำจัด ทำให้เชื้อแบคทีเรียนี้ปัญหาที่สำคัญอย่างหนึ่งในแหล่งปลูกมะเขือเทศและพริกทั่วประเทศ นับได้ว่าส่งผลกระทบต่อพืชเศรษฐกิจของไทยเป็นอย่างมาก

อุดม แซ่อึ่ง นักวิจัย ทีมวิจัยการวิเคราะห์และประยุกต์ใช้สารชีวโมเลกุล ไบโอเทค ให้ข้อมูลว่า การป้องกันและควบคุมโรคเหี่ยวในปัจจุบันทำได้โดยการทำเขตกรรม เช่น การไถดินและผึ่งดินให้แห้งก่อนการปลูก การปรับสภาพดินด้วยปูนขาว การกำจัดต้นพืชที่แสดงอาการ เป็นต้น ซึ่งการใช้สารเคมีเพื่อกำจัดเชื้อแบคทีเรียยังไม่มีประสิทธิภาพมากนัก เนื่องจากสารเคมีไม่สามารถเข้าถึงเชื้อแบคทีเรียที่อาศัยอยู่ในดินได้ ดังนั้นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันและควบคุมโรคเหี่ยวได้ดี คือการใช้แบคทีรีโอฟาจ (bacteriophage) ซึ่งสามารถเข้าทำลายและย่อยสลาย (lysis) แบคทีเรียก่อโรคพืชได้โดยตรง นับเป็นทางเลือกหนึ่งที่มีศักยภาพสูง ในการป้องกันและควบคุมโรคพืชหลากหลายชนิดรวมทั้งโรคเหี่ยวด้วย

อุดม ให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่า จากการศึกษาร่วมกับ อรวรรณ ชัชวาลการพาณิชย์ และทีมวิจัยไวรัสพืชและแบคทีรีโอฟาจ ไบโอเทค พบว่า คุณสมบัติที่สำคัญของแบคทีรีโอฟาจ ซึ่งเหมาะกับการนำมาใช้ควบคุมแบคทีเรียที่ก่อให้เกิดโรคในพืช คือ แบคทีรีโอฟาจ มีความเฉพาะเจาะจงกับแบคทีเรียแต่ละชนิด (specificity) โดยแบคทีรีโอฟาจจะไม่ทำลายแบคทีเรียที่ไม่ใช่เป้าหมาย ซึ่งหมายความว่า แบคทีรีโอฟาจที่พัฒนาขึ้นนี้จะไม่ทำลายแบคทีเรียชนิดอื่นๆ โดยเฉพาะแบคทีเรียที่เป็นประโยชน์ที่อยู่ตามธรรมชาติ และแบคทีรีโอฟาจจะหยุดเพิ่มจำนวนทันที เมื่อเชื้อแบคทีเรียเป้าหมายหมดไป แบคทีรีโอฟาจไม่เป็นพิษต่อพืช สัตว์และสิ่งแวดล้อม จึงเป็นทางเลือกสำหรับการเกษตรแบบยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม

อย่างไรก็ตาม การใช้แบคทีรีโอฟาจยังคงมีอุปสรรคและปัญหาสำคัญ คือ ความคงทนของแบคทีรีโอฟาจ (phage stability) เมื่อฟาจต้องเจอกับการเปลี่ยนแปลงของปัจจัยภายนอกในสิ่งแวดล้อม เช่น อุณหภูมิ ความเป็นกรดด่าง สภาพเกลือในดิน เป็นต้น โครงสร้างของแบคทีรีโอฟาจอันประกอบด้วยโปรตีนและดีเอ็นเอ จึงแตกสลายได้ง่าย (degradation) จึงจำเป็นต้องมีการแก้ไขปัญหาความคงทนของแบคทีรีโอฟาจ โดยใช้งานวิจัยและเทคโนโลยีทั้งทางชีววิทยา เคมีและฟิสิกส์ อาทิ การศึกษาโครงสร้างของแบคทีรีโอฟาจในสภาวะต่างๆ การศึกษาความแข็งแรงเชิงโครงสร้างของแบคทีรีโอฟาจ

การศึกษากลไกการเข้าทำลายเชื้อแบคทีเรียของแบคทีรีโอฟาจ เป็นต้น เพื่อสร้างองค์ความรู้ด้านความคงทนของแบคทีรีโอฟาจ และปัจจัยต่างๆ ที่มีผล โดยองค์ความรู้นี้สามารถนำไปประยุกต์ใช้พัฒนาความคงทนของแบคทีรีโอฟาจให้สูงขึ้น ซึ่งจะมีประโยชน์ต่อการเก็บรักษาแบคทีรีโอฟาจ (storage) เช่น สูตรการเก็บรักษา (storage formulation) และการนำแบคทีรีโอฟาจไปใช้งานจริงในพื้นที่เกษตรกรรม (field utilization) ต่อไปในอนาคต

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
ยาแก้โรคสนิมขาว โรคราขาวในผักบุ้ง ยากำจัดหนอนผักบุ้ง ยากำจัดเพลี้ยผักบุ้ง และปุ๋ยเร่งโต สำหรับผักบุ้ง
ยาแก้โรคสนิมขาว โรคราขาวในผักบุ้ง ยากำจัดหนอนผักบุ้ง ยากำจัดเพลี้ยผักบุ้ง และปุ๋ยเร่งโต สำหรับผักบุ้ง
เพลี้ยอ่อนผักบุ้ง

ชื่อวิทยาศาสตร์ Aphis gossypii (Aphidiae) เพลี้ยอ่อนจะเข้าดูดกินน้ำเลี้ยง ทำให้ผลผลิตผักบุ้งเสียหาย ตัวอ่อนมีสีเขียวเข้ม บางครั้งพบตัวอ่อนสีเหลืองซีด หากพบใต้ใบหนาแน่น

ป้องกัน กำจัดเพลี้ยอ่อนผักบุ้ง ด้วย มาคา

ฉีดพ่น มาคา ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน

หนอนผีเสื้อหัวกะโหลก

ชื่อวิทยาศาสตร์ Acherontia lachesis (Sphingidae) หนอนผีเสื้อจะกัดกินใบผักบุ้ง จนเกิดความเสียหาย ลักษณะตัวหนอน จมีสีเขียวแถบเหลือง ของฟ้า โตเต็มวัย ยาวประมาณ 10-12 ซม.

ป้องกัน กำจัดหนอนในผักบุ้ง กำจัดหนอนต่างๆ ด้วย ไอกี้-บีที

ฉีดพ่น ไอกี้-บีที ในอัตราส่วน 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน

โรคราสนิมขาว ในผักบุ้ง

โรคราสนิมขาว สร้างความเสียหายให้กับผักบุ้ง ทั้งผักบุ้งไทย และผักบุ้งจีน สามารถพบโรคนี้ได้ทั่วไป

อาการของโรคราสนิมขาว จะเกิดจุดเหลืองซีด บริเวณใบผักบุ้ง หลังจากนั้นจะเริ่มเป็นแผลสีขาว อยู่รวมกันเป็นกระจุก ส่งผลให้ผักบุ้งโตช้า ได้ผลผลิตน้อย และดูไม่สวยงาม ไม่น่าทาน ทำให้ขายยาก ราคาตก

สาเหตุของโรคราสนิมขาว

เกิดจากเชื้อรา Albugo ipomoeae-aquaticae ซึ่งสามารถเจริญเติบโตได้ดี หรือลุกลามเข้าทำลายได้มาก ในช่วงอุณหภูมิ 10-35 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นอุณหภมิทั่วไปของไทย

ป้องกัน กำจัดโรคราสนิมขาว ในผักบุ้ง ยับยั้งโรคผักบุ้งต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ด้วย ไอเอส

ฉีดพ่น ไอเอส ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน

ปุ๋ยสำหรับเร่งโต ฉีดพ่นด้วย FK-1 ช่วยให้พืชโตไว ได้ผลผลิตสูงขึ้น

FK-1 ใช้เร่งโต เสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรง เพิ่มผลิต

สามารถผสม FK-1 ผสมฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน กับยารักษาโรคพืช และยากำจัดเพลี้ย แมลงศัตรูพืช หรือยากำจัดหนอน จะช่วยให้พืช ฟื้นตัวได้เร็ว จากการเข้าทำลายของโรคและแมลง และกลับมาเจริญเติบโต ได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรง

อัตราการใช้ FK-1 แกะกล่องออกมามี 2 ถุง ผสมตัวยาจากสองถุงใช้พร้อมกัน ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร
ใน FK-1 นั้นประกอบด้วย ธาตุหลัก Nitrogen(ไนโตรเจน) 20%_ Phosphorus(ฟอสฟอรัส) 20%_ Potassium(โพแตสเซียม) 20% และธาตุรอง Magnesium(แมกนีเซียม) พร้อมธาตุเสริม Zinc(สังกะสี) และ Sticking ‎agents (สารลดแรงตรึงผิว หรือสารจับใบนั่นเอง)

ดาวเรืองใบไหม้ ใบแห้ง ดาวเรืองลำต้นเน่า มีสาเหตุจากโรคเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส
ดาวเรืองใบไหม้ ใบแห้ง ดาวเรืองลำต้นเน่า มีสาเหตุจากโรคเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส
ดาวเรืองใบไหม้ ใบแห้ง ดาวเรืองลำต้นเน่า มีสาเหตุจากโรคเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส
ดาวเรือง โรคต่างๆของดาวเรือง ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา แก้ได้ด้วย ไอเอส ดาวเรืองใบไหม้ ดาวเรืองใบแห้ง ลำต้นเหี่ยว เน่า และโรคต่างๆจากเชื้อรา

.

โรคเหี่ยวเหลือง เกิดจากเชื้อรา FUSARIUM
อาการ เริ่มจากใบดาวเรืองที่อยู่บริเวณโคนต้นแสดงอาการใบเหลือง แล้วแห้งลามขึ้นมาสู่ส่วนบนจนในที่สุดใบจะเหลืองและแห้งตายไปทั้งต้น ส่วนของลำต้นจะมีลักษณะแบนลีบและเหี่ยวไปด้วย ลำต้นบริเวณคอดินหรือเหนือดินเล็กน้อย มักมีสีแดงหรือสีคล้ำกว่าส่วนอื่น ท่อน้ำเลี้ยงแห้งเป็นสีน้ำตาล (เชื้อโรคนี้จะเริ่มเข้าทำลายในช่วงหลังจากย้ายปลูก 40-45 วันหลังย้ายปลูกช่วงดาวเรืองเป็นตุ่มตาดอก) การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซ็ป ฉีดพ่นสลับกับคาร์เบนดาซิมประมาณสัปดาห์ละครั้ง และถ้าพบมากต้นที่เป็นโรคและตายในแปลงต้องรีบกำจัดทิ้ง
.

โรคดอกเน่า เกิดจากเชื้อรา COLLETOTRICHUM SP.
อาการ ดอกที่เกิดโรคจะเน่าเป็นสีน้ำตาล โดยเฉพาะถ้าหากเกิดในระยะที่ดอกกำลังเริ่มเป็นดอกตูมจะทำให้ดอกไม่สามารถบานได้ หากเชื้อเข้าทำลายในระยะที่ดอกบานจะพบว่ากลีบดอกจะมีสีน้ำตาลลามเข้าไปทาง โคนกลีบ ทำให้ดอกมีสีน้ำตาลดำ เชื้อเข้าทำลายจากดอกลามสู่ลำต้น (ระบาดในช่วงฤดูฝนและในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง)

.

ไอเอส เป็นสารอินทรีย์สำหรับป้องกันและยับยั้งเชื้อรา สกัดจากพืช ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค ปลอดสารพิษ ไม่มีสารตกค้าง ใช้ฉีดพ่นเพื่อป้องกันและยับยั้งโรคพืชทุกชนิด ที่มีสาเหตุมากจากเชื้อรา

.

สนใจ โทรสั่งซื้อ 090-592-8614

ไลน์ไอดี FarmKaset หรือ ไอดี PrimPB

สั่งทางเฟสบุ๊คได้เช่นกัน https://www.facebook.com/farmkaset

หรือลาซาด้า https://www.lazada.co.th/..

ไรศัตรูอ้อย
ไรศัตรูอ้อย
ช่วงสภาพอากาศแห้งแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงเป็นเวลานาน เกษตรกรชาวไร่อ้อย ระวังการระบาดของไรแมงมุมอ้อย (Sugarcane spider mite : Oligonychus simus Baker and Pritchard)

ไรแมงมุมอ้อย มักจะระบาดทำความเสียหายแก่อ้อยในระยะเริ่มปลูกจนถึงอายุประมาณ 4-5 เดือน โดยจะพบระบาดมากในช่วงสภาพอากาศแห้งแล้ง หรือฝนทิ้งช่วงติดต่อกันเป็นเวลานาน การระบาดอาจเกิดขึ้นได้โดยลม การสัมผัสกันของใบอ้อยที่อยู่ติดกัน นก แมลง หรือมนุษย์พาไป

ตัวอ่อนและตัวเต็มวัยของไรแมงมุม จะดูดกินน้ำเลี้ยงอยู่ที่บริเวณใต้ใบ และมักจะอยู่รวมกันเป็นกลุ่ม สร้างเส้นใยเป็นเส้นบางๆ ขึ้นปกคลุมผิวใบบริเวณที่ไรดูดทำลายอยู่ ใบอ้อยที่ถูกทำลายในระยะแรกจะมีลักษณะเป็นจุดประสีขาวเล็กๆ กระจายอยู่ตามแนวเส้นกลางใบ ต่อมาแผลบริเวณดังกล่าวนี้จะค่อยๆ เปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง หากการทำลายยังคงดำเนินต่อไปอย่างรุนแรง และต่อเนื่อง รอยแผลก็จะขยายใหญ่ขึ้น และใบอ้อยจะมีอาการแห้งตลอดทั่วทั้งใบ ซึ่งอาจมีผลทำให้ต้นอ้อยชะงักการเจริญเติบโตได้

วงจรชีวิตของไรแมงมุมอ้อย

ไรแมงมุมอ้อยเพศเมียสามารถเจริญเติบโต จากระยะไข่จนถึงระยะตัวเต็มวัยได้ภายใน 7 วัน โดยมีระยะไข่ 3 วัน ตัวอ่อนเมื่อฝักออกจากไข่จะเจริญเติบโตโดยมีการลอกคราบ 3 ครั้ง ตัวอ่อนระยะที่ 1_ 2 และ 3 ใช้เวลาในการเจริญนาน 2_ 1.1 และ 1 วัน ตามลำดับ ตัวเต็มวัยเพศเมียมีชีวิตอยู่ได้นานประมาณ 14 วัน และสามารถวางไข่ได้ตลอดชั่วอายุขัย เฉลี่ยสูงถึง 55 ฟอง สำหรับไรตัวผู้สามารถเจริญเติบโตนับจากระยะไข่จนถึงตัวเต็มวัยได้ภายในเวลา 8 วัน โดยมีระยะไข่ 3 วัน ตัวอ่อนเมื่อฝักออกจากไข่ จะเจริญเติบโตโดยมีการลอกคราบ 3 ครั้ง เช่นเดียวกัน ตัวอ่อนระยะที่ 1_ 2 และ 3 ใช้เวลาในการเจริญนาน 1.7_ 1.4 และ 1.6 วัน ตามลำดับ ตัวเต็มวัยตัวผู้ มีชีวิตอยู่ได้นาน 18 วัน ตัวเมียสามารถแพร่ขยายพันธุ์ได้โดยไม่ต้องได้รับการผสมพันธุ์จากไรเพศผู้ แต่ลูกที่เกิดจากตัวเมียที่ไม่ได้รับการผสมพันธุ์จะเจริญเป็นไรเพศผู้ทั้งหมด ส่วนตัวเมียที่ได้รับการผสมพันธุ์จะได้ลูกทั้งเพศผู้และเพศเมียในอัตราส่วน 5 :1

ศัตรูธรรมชาติ

ด้วงตัวห้ำ Stethorus pauperculus Weise เป็นตัวห้ำทั้งระยะตัวอ่อนและตัวเต็มวัย นอกจากนี้ยังพบไรตัวห้ำในวงศ์ Phytoseiidae ที่เป็นตัวห้ำของไรแมงมุมอ้อย

แหล่งข้อมูล : ไรศัตรูพืชและการป้องกันกำจัด กลุ่มงานวิจัยไรและแมงมุม กองกีฏและสัตววิทยา กรมวิชาการเกษตร. 2543.

ที่มา http://www.farmkaset..link..

ฉีดพ่น มาคา เพื่อป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช ฉีดพ่น FK-1 เพื่อฟื้นฟูบำรุง เสริมสร้างภูมิคุ้มกันจากโรคพืช และแมลงศัตรูพืช และส่งเสริมการเจริญเติบโต
รับมือ โรคราน้ำค้าง ในพืชผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด
รับมือ โรคราน้ำค้าง ในพืชผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด
อากาศเย็นมีความชื้นสูงในตอนเช้า และอากาศร้อนในเวลากลางวันช่วงนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกพืชผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด อาทิ กวางตุ้ง กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก คะน้า ผักกาดขาว ผักกาดหอม และบรอกโคลี ให้เตรียมรับมือการระบาดของโรคราน้ำค้าง ที่สามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช จะพบอาการของโรคบนใบที่อยู่บริเวณด้านล่างของต้นก่อน จากนั้นแผลจะขยายลุกลามไปยังใบที่อยู่ด้านบนของต้นพืช โดยมีอาการเริ่มแรกบริเวณด้านบนใบเป็นจุดแผลสีเหลือง หรืออาจเป็นปื้นสีเหลือง

เมื่อสภาพอากาศมีความชื้นสูงในตอนเช้า มักพบเส้นใยเชื้อราเป็นขุยสีขาวถึงเทาตรงแผลด้านใต้ใบ หากพบโรคระบาดรุนแรง แผลจะลามขยายใหญ่ทำให้เนื้อใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ต่อมาใบจะเหลืองและแห้งตาย กรณีพบโรคในระยะต้นกล้า ใบเลี้ยงจะเกิดจุดแผลสีน้ำตาล ทำให้ต้นแคระแกร็นและตายในที่สุด ส่วนในกะหล่ำดอกและบรอกโคลี ถ้าพบเชื้อราเข้าทำลายรุนแรง ก้านดอกจะยืดและดอกอาจจะบิดเบี้ยวเสียรูปทรงได้

เกษตรกรควรเลือกใช้เมล็ดพันธุ์สะอาดที่มีคุณภาพดีจากแหล่งปลอดโรค และก่อนปลูกควรแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส (ต้มน้ำจนเดือดแล้วเติมน้ำอุณหภูมิปกติลงไปผสมอีก 1 เท่า) นาน 20-30 นาที หรือคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชเมทาแลกซิล 35% ดีเอส อัตรา 10 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม จากนั้น เกษตรกรควรปลูกพืชให้มีระยะห่างกันพอสมควร ไม่เบียดแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความชื้นสูง อากาศไม่ถ่ายเท และโรคระบาดได้รวดเร็ว

หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว เกษตรกรควรเก็บเศษซากพืชส่วนที่หลงเหลือในแปลง และหมั่นกำจัดวัชพืชในแปลงนำไปทำลายนอกแปลงปลูกทันที เพื่อลดการสะสมเชื้อราสาเหตุโรค หลีกเลี่ยง การปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำในพื้นที่แปลงเดิม ควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน และควรทำความสะอาดเครื่องมืออุปกรณ์ทางการเกษตรที่ใช้กับต้นเป็นโรคก่อนนำกลับมาใช้ใหม่กับต้นปกติทุกครั้ง

หากพบโรคเริ่มระบาด ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชไดเมโทมอร์ฟ 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารแมนโคเซบ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารแมนโคเซบ+เมทาแลกซิล-เอ็ม 64%+4% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นให้ทั่วทั้งด้านบนใบและใต้ใบ ทุก 5-7 วัน

อังคณา ว่องประสพสุข : ข่าว

กรมวิชาการเกษตร

ที่มา http://www.farmkaset..link..

ฉีดพ่น ไอเอส เพื่อป้องกันกำจัด โรคราน้ำค้าง ฉีดพ่น FK-1 เพื่อฟื้นฟู บำรุง สร้างภูมิต้านทาน และส่งเสริมผลผลิต
1136 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 113 หน้า, หน้าที่ 114 มี 6 รายการ
|-Page 95 of 114-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
คำนิยม - ลูกค้าสั่งไอเอสแก้โรคใบไหม้ ซื้อซ้ำหลายครั้งจนต้องแถมเสื้อ FK ให้นะคะ
Update: 2562/10/24 13:07:10 - Views: 3398
🎗โรคไวรัส ในพืชต่างๆ ไม่มีสารป้องกันกำจัดโดยตรง ให้ป้องกันกำจัดแมลงพาหะ และบำรุงพืชให้แข็งแรง
Update: 2564/06/20 12:20:10 - Views: 3497
กำจัดเชื้อรา แก้วมังกร ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/09/24 09:56:17 - Views: 3448
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคใบจุด ในมะเขือเทศ ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง 100%
Update: 2565/12/23 14:02:33 - Views: 3432
การจัดการเพลี้ยในเมล่อน: กลยุทธ์และวิธีป้องกันเพื่อสุขภาพที่แข็งแรงของพืช
Update: 2566/11/16 09:34:33 - Views: 3447
ฮิวมิค แอซิด ฟาร์มิค: เทคโนโลยีที่พัฒนาดินและส่งเสริมการเจริญเติบโตของพืช สำหรับต้นกระเจี๊ยบเขียว
Update: 2567/02/13 09:46:57 - Views: 3426
ยาป้องกัน กำจัด หนอนพุทรา หนอนชมพู่ หนอนฝรั่ง หนอนทุกชนิด ใช้ได้ทุกพืช ไอกี้-บีที + FK-1 บำรุง ฟื้นตัว สร้างภูมิฯ 1ชุด ใช้ได้ 5ไร่
Update: 2564/08/10 12:14:40 - Views: 3653
ยาแก้โรคแคงเกอร์ ในมะนาว ยากำจัดเพลี้ย กำจัดหนอน สำหรับมะนาว แก้โรครากเน่า และ ปุ๋ย สำหรับมะนาว
Update: 2563/06/30 21:47:57 - Views: 3589
ยากำจัดหนอนบวบ หนอนชอนใบบวบ หนอนศัตรูบวบ หนอนต่างๆ ใช้ ไอกี้-บีที
Update: 2564/10/02 03:37:14 - Views: 3436
เทคนิคการบำรุง สวนมะพร้าว ให้ได้ผลผลิตสูง
Update: 2567/11/07 09:02:03 - Views: 57
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคเน่าดำ ใน ถั่วเหลือง ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/16 13:51:45 - Views: 3411
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ สูตร 10-40-10+3 MgO: เร่งการออกดอกและเจริญเติบโตของต้นมะละกออย่างมีประสิทธิภาพ
Update: 2567/02/12 14:07:05 - Views: 3413
หนอนผีเสือเจาะผลมะม่วง หนอนเจาะผลมะม่วง หนอนมะม่วง ป้องกันกำจัดด้วย ไอกี้-บีที
Update: 2564/03/03 00:13:01 - Views: 3621
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคใบไหม้ ในมะเขือเทศ ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง 100%
Update: 2565/12/23 10:07:32 - Views: 3387
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยไฟ ในต้นกล้วย และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/01/30 10:03:49 - Views: 3416
กำจัดเพลี้ย ใน ดอกมะลิ เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเพลี้ย บิวทาเร็กซ์ ปุ๋ยน้ำอะมิโน โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/05/06 16:00:11 - Views: 3446
โรคมันสำปะหลัง มันใบไหม้ โรคใบจุดมันสำปะหลัง โรคเชื้อราในมันสำปะหลัง ไอเอส สารอินทรีย์
Update: 2566/10/21 10:22:33 - Views: 3453
กำจัดเชื้อรา ทุเรียน ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/09/30 10:06:22 - Views: 3462
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคราสีชมพู ใน ยางพารา ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/17 14:39:39 - Views: 3554
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคเน่าเละ ใน ต้นหอม ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/12 10:36:34 - Views: 3436
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022