[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - โรคพืช
1139 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 113 หน้า, หน้าที่ 114 มี 9 รายการ

โรคราแป้งองุ่น และ โรคราน้ำค้างองุ่น
โรคราแป้งองุ่น และ โรคราน้ำค้างองุ่น
การปลูกองุ่นในประเทศไทยสามารถให้ผลผลิตที่มีคุณภาพได้ แต่ไทยเป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อนชื้น จึงมักพบโรคและแมลงศัตรูที่สำคัญที่สร้างความเสียหายให้กับองุ่น เช่น โรคราน้ำค้าง โรคราแป้ง โรคแอนแทรคโนส เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง และหนอนกระทู้ เป็นต้น ทำให้เกษตรกรใช้สารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูองุ่นในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (Integrated Pest Management; IPM) จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อคนและสิ่งแวดล้อม เป็นการเลือกใช้วิธีการจัดการศัตรูพืชตั้งแต่ 2 วิธีการขึ้นไปมาใช้ร่วมกันอย่างเหมาะสม เป็นการลดการใช้สารเคมีเกษตรในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช หรือใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้นเพื่อลดระดับปริมาณศัตรูพืชให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ และเกิดความสมดุลของระบบนิเวศ โรคและแมลงศัตรูองุ่นที่สำคัญ ได้แก่

โรคราน้ำค้างองุ่น (Downy mildew)

เชื้อสาเหตุ : Plasmopara viticola

ลักษณะอาการ : เป็นขุยสีขาวที่ใต้ใบองุ่น ด้านบนใบจะเห็นเป็นสีเหลืองเป็นจ้ำๆ ถ้าเป็นรุนแรงใบจะไหม้ ช่อดอกและผลอ่อนเหี่ยวแห้ง

การระบาด : ระบาดในช่วงฤดูฝน หรือในช่วงที่มีความชื้นสูง

การป้องกันกำจัด :

1. หมั่นตรวจสอบแปลงและป้องกันกำจัดตั้งแต่เริ่มพบโรค
2. กำจัดวัชพืชในโรงเรือนและรอบโรงเรือน
3. งดให้น้ำในช่วงเย็น
4. การใช้สารปลอดภัย


โรคราแป้งองุ่น (Powdery mildew)

เชื้อสาเหตุ : Oidium tuckeri

ลักษณะอาการ : เป็นขุยแป้งขี้เถาสีขาว เกิดบนใบ กิ่ง และผล

การระบาด : ระบาดในช่วงปลายฤดูฝน-ฤดูหนาว

การป้องกันกำจัด :

1. หมั่นตรวจสอบแปลงและป้องกันกำจัดตั้งแต่เริ่มพบโรค
2. กำจัดวัชพืชในโรงเรือนและรอบโรงเรือน
3. การใช้สารปลอดภัย

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ราแป้ง ราน้ำค้าง โรคใบไหม้ ใบจุด

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
โรคพืชวงศ์แตง แตงโม แตงกวา เมลอน สคว็อช ซุคคินี่
โรคพืชวงศ์แตง แตงโม แตงกวา เมลอน สคว็อช ซุคคินี่
สำรวจโรคในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์แตงโม (19แปลง) แตงกวา (16 แปลง) เมลอน (93 แปลง) สคว็อช (33แปลง) ซุคคินี่ (28แปลง) ในเขต อ.เมืองขอนแก่น _ อ.หนองเรือ_ อ.น้ำพอง จังหวัดขอนแก่น และ อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม_ กิ่งอำเภอเอราวัณ จ.เลย_ อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู_ อ.ดอนตาล และ อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร และน้ำเต้า(17 แปลง) ในอ.ยางตลาด อ.ห้วยผึ้ง จ.กาฬสินธุ์

ในช่วงฤดูการปลูกปลายธันวาคม 2548- เดือนเมษายน 2549_ กันยายน - พฤศจิกายน 2549 และช่วงฤดูปลูกปลายธันวาคม 2549 ถึง เมษายน 2550 ในแต่ละแปลงได้สำรวจโรค 2 ครั้งคือ ในช่วงที่เริ่มผสมเกสรหรือติดผลแรก และในระยะที่ผลแก่เต็มที่ก่อนเก็บเกี่ยว รวมทั้งการตรวจวินิจฉัยตัวอย่างโรคแตงโมที่ปลูกอยู่ในแหล่ง อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น อ. พรรณานิคม จ. สกลนคร และ อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ ซึ่งบริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์ส่งมาให้ตรวจ

ได้พบโรคที่สำคัญต่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ซึ่งอาการโรคมีความแตกต่างไปตามชนิด โรค ชนิดพืช สายพันธุ์พืช ระยะการเจริญของพืชและวิธีการดูแลรักษาแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกร และระดับความรุนแรงของโรคแต่ละชนิดในแปลงแตกต่างกันไปตามสภาพการเอา ใจใส่ดูแลแปลง และสภาพพื้นที่ปลูก และสายพันธุ์พืช

แบ่งออกได้เป็นกลุ่มใหญ่ คือ

กลุ่มที่ 1) โรคที่เกิดจากเชื้อรา จัดเรียงตามลำดับความถี่ที่พบจากมากไปน้อย ได้แก่ โรคเถาแตกยางไหล (gummy stem blight) จากเชื้อรา Didymella bryoniae หรือ Phoma cucurbitarum โรคเถาแตกผลเน่าดำจากเชื้อราไฟซาโลสปอรา (Physalospora rhodina) โรคราน้ำค้าง(downy mildew) จากเชื้อรา Pseudoperospora cubensis โรคราแป้ง (powdery mildew) เกิดจากเชื้อรา Oidium sp. โรคเหี่ยวฟิวซาเรี่ยม (fusarium wilt) เกิดจากเชื้อรา Fusarium spp. โรคใบจุดเซอร์คอสปอรา (Cercospora leaf spot) เกิดจากเชื้อรา Cercospora sp. โรคใบจุดคอไรนีสปอรา (Corynespora leaf spot) เกิดจากเชื้อรา Corynespora sp. โรคแอนแทรกโนส (anthracnose) เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum orbiculare โรคเหี่ยวสเคลอโรเตียม (sclerotium wilt) เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii โรคผลเน่าจากเชื้อราพิเทียม (Pythium spp.)

กลุ่มที่ 2) โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย จัดเรียงตามลำดับความถี่ที่พบจากมากไปน้อย ได้แก่ โรคใบจุดแบคทีเรียจากเชื้อ แซนโทโมแนส (Xanthomonas leaf spot) จากเชื้อ Xanthomonas spp._ โรคผลเน่าแบคทีเรีย(bacterial fruit blotch เกิดจากเชื้อ อะซิโดโวแรกซ์ (Acidovorax avenae subsp. citrulli) โรคผลเน่าจากเชื้อเออร์วิเนีย (Erwinia spp.) โรคเหี่ยว ต้นหรือเถาเน่าเละ (wilt and stem or vine soft rot) จากเชื้อเออร์วิเนีย (Erwinia spp.) และกลุ่มอาการโรคที่จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยระบุชนิดเชื้อ เพิ่มเติมคือ โรคเหี่ยวเฉียบพลัน (sudden wilt) ในเมลอน โรคยอดไหม้ถอยกลับ (die back) โรคเหี่ยวเขียวในแตงกวา (bacterial wilt) และโรคเถาเหี่ยวเหลืองในแตงกวา (yellow vine wilt) โรคเถาแห้ง (vine necrosis)

กลุ่มที่ 3) โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เรียงตามความถี่ที่พบจากมากไปน้อย คือ โรคใบด่างซีเอ็มวี (Cucumber mosaic virus) โรคใบด่างจากเชื้อในจีนัสโพทีไวรัสซึ่งมีหลายชนิด ได้แก่ ไวรัสใบด่างจุดวงแหวนมะละกอ (Papaya ringspot virus-W)_ ไวรัสใบด่างซุคคินี่ (Zucchini yellow mosaic virus)_ และไวรัสในวงศ์โพทีวิริดีที่ยังไม่ได้จำแนกระบุชนิด โรคใบด่างเนื้อเยื่อตายที่เกิดจากไวรัสในจีนัสทอสโพไวรัส (Tospovirus) โรคใบด่างเขียวที่เกิดจากเชื้อไวรัสใบด่างเขียว( Cucumber green mottle mosaic virus) และกลุ่มไวรัสที่จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยระบุชนิดเพิ่มเติม คือ โรคไวรัสใบด่างเนื้อเยื่อตาย และโรคไวรัสเถาเหลือง

กลุ่มที่ 4) โรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอย ในบางพื้นที่พบปัญหาสำคัญที่เกิดจากไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne spp.)

และ กลุ่มที่ 5) โรคที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต (abiotic disease) ที่พบมากคือ การเป็นพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสารกำจัดวัชพืชที่ฉีดพ่นแบบไม่ถูกต้อง

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
โรคราน้ำค้างแตงโม
โรคราน้ำค้างแตงโม
โรคราน้ำค้างที่เกิดกับแตงโม ลักษณะที่มองเห็นได้ คือ เกิดจุดสีเหลืองบนหลังใบ และขยายตัวใหญ่ขึ้น จำนวนจุดสีเหลืองเพิ่มปริมาณมากขึ้น และใต้ใบตรงตำแหน่งเดียวกัน จะมีกลุ่มของเชื้อราสีม่วงอมเทาเกาะเป็นกลุ่มอยู่ เชื้อโรคนี้เจริญได้อย่างรวดเร็ว เมื่ออากาศอุ่นและชุ่มชื้น เมื่อใบแก่ตายเชื้อก็จะไปทำลายใบอ่อนต่อไป เมื่อใบแห้งไปหมดแล้ว ผลที่เกิดขึ้นมาก็คือ แตงติดผลน้อยและคุณภาพผลแก่ก็ต่ำด้วย สปอร์ของเชื้อรานี้แพร่ระบาดไปโดยลมและโดยแมลงพวกเต่าแตง

สาเหตุของโรคราน้ำค้างแตงโม

คล้ายๆกับโรคราน้ำค้างทั่วๆ ไป คือ ชอบอุณหภูมิที่ค่อนข้างเย็นและความชื้นสูงในการเกิด และการเข้าทำลายพืช โรคราน้ำค้างของแตงโมจะเจริญเติบโตระบาดได้ดีในช่วงของอุณหภูมิระหว่าง 16-27 องศาเซลเซียส แต่จะดีที่สุดที่ 20 องศาเซลเซียสส่วนความชื้นนั้นต้องสูงเกินกว่า 86% ขึ้นไป

การป้องกันและกำจัดโรคราน้ำค้าง

ขจัดทำลายวัชพืชพวกแตงต่างๆ และต้นที่งอก หรือหลงเหลือจากการเก็บเกี่ยวให้หมดจากบริเวณหรือแปลงปลูก

เมื่อปรากฏมีโรคเกิดขึ้นในแปลงปลูก ให้รีบป้องกันการระบาดเพื่อรักษาต้นที่ยังดีอยู่โดยการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชจากเชื้อรา

อ้าอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
แตงโมเถาเหี่ยว
แตงโมเถาเหี่ยว
โรคแตงโมเถาเหี่ยว เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum ใบแตงโมเหลือง จากโคนเถา ลุกลามสู่ยอด และเริ่มเหี่ยวแห้งตาย ส่งผลโดยตรงต่อผลผลิต

ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ

แตงโมจะแสดงอาการใบเหลืองโดยเริ่มจากใบบริเวณโคนเถาและเหลืองต่อเนื่องไปสู่ยอด ต่อมาเถาแตงจะเหี่ยวและตาย บางครั้งจะมีรอยแตงตามยาวของลำต้น โดยเฉพาะบริเวณโคนเถา
ที่ใกล้กับผิวดิน หากมีความชื้นสูงจะพบเส้นใยสีขาวอมชมพูของเชื้อราสาเหตุโรค และเมื่อผ่าดูจะพบภายในลำต้นเป็นสีน้ำตาล

แนวทางการป้องกัน/แก้ไข ดังนี้

๑. หลีกเลี่ยงการปลูกแตงโมในพื้นที่ที่เคยมีการระบาดของโรคนี้มาก่อน

๒. ก่อนปลูกควรไถกลับหน้าดินตากแดด และใส่ปูนขาวหรือโดโลไมท์ เพื่อปรับสภาพดิน

๓. แปลงปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดี

๔. ไม่ปลูกแตงโมแน่นเกินไป เพื่อให้สามารถระบายความชื้นได้ดี

๕. ตรวจแปลงปลูกสม่ำเสมอ เมื่อพบโรคให้ถอนต้นที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก แล้วโรยปูนขาวหรือให้สารป้องกันกำจัดโรคพืช

แปลงที่มีการระบาดของโรค ควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน ไม่ปลูกพืชตระกูลแตง เช่น แตงกวา ฟักทอง มะระ และแคนตาลูป และพืชในตระกูลพริก มะเขือเทศ และมันฝรั่ง เนื่องจากอ่อนแอต่อโรค

อ้างอิง:
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปทุมธานี
- ที่มา http://www.farmkaset..link.. - รูปภาพจาก http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
โรคราสีชมพู ที่เกิดกับ ลองกองผลอ่อน
โรคราสีชมพู ที่เกิดกับ ลองกองผลอ่อน
สภาพอากาศร้อน สลับกับมีฝนตกในช่วงนี้ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรชาวสวนลองกองเฝ้าระวัง การระบาดของโรคราสีชมพู มักพบโรคในระยะที่ต้นลองกองมีผลอ่อน เริ่มแรกพบเส้นใยสีขาวของเชื้อรา เจริญคลุมกิ่งหรือลำต้น ต่อมาเส้นใยของเชื้อราหนาขึ้นและเปลี่ยนเป็นสีชมพูยึดแน่นกับกิ่ง เมื่อเฉือนดูบริเวณกิ่งหรือลำต้นที่พบเชื้อรา จะพบเนื้อไม้เป็นแผลสีน้ำตาล และกิ่งที่เป็นโรคราสีชมพูบริเวณยอดจะเหี่ยว ใบเหลือง และร่วงเป็นหย่อมๆ ต่อมากิ่งจะแห้งตายในที่สุด

สำหรับแนวทางในการป้องกันโรคราสีชมพู ให้เกษตรกรตัดแต่งทรงพุ่มต้นลองกองให้โปร่ง มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อลดการสะสมความชื้นใต้ทรงพุ่มไม่ให้มีมากเกินไป ส่วนในช่วงฤดูฝนเกษตรกรควรหมั่นตรวจดูต้นลองกองบริเวณกิ่งภายในสวนอย่างสม่ำเสมอ หากพบอาการใบเหลืองหรือพบราสีขาว หรือสีชมพูขึ้นบนกิ่ง ให้เกษตรกรตัดกิ่งที่เป็นโรค เก็บเศษซากพืชส่วนที่เป็นโรค และกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกนำไปเผาทำลายนอกสวน เพื่อลดการสะสมเชื้อราสาเหตุโรค

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการเจริญเติบโต ส่งเสริมผลผลิต
โรคทุเรียนต่างๆ สร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก ป้องกันเอาไว้ ดีกว่าแก้ไขในภายหลัง
โรคทุเรียนต่างๆ สร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก ป้องกันเอาไว้ ดีกว่าแก้ไขในภายหลัง
โรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน โรคทุเรียนใบไหม้ และโรคทุเรียนต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา ระบาดสวนทุเรียน ส่งผลให้ ผลผลิตทุเรียนเสียหายหนัก กรมวิชาการเกษตรแนะเกษตรกรสวนทุเรียนใช้วิธีป้องกันกำจัดอย่างถูกต้องและเหมาะสม ช่วยแก้ปัญหาตรงจุด ลดความเสียหายของผลผลิต หยุดวงจรการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่าได้ผลจริง

ปัญหาโรคระบาดของทุเรียน ระบาดเป็นวงกว้าง ส่งผลอย่างหนัก ทำให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิต ในสภาพอากาศที่แปรปรวน ฝนตกชุกต่อเนื่อง ความชื้นในอากาศสูง เกษตรกรควรฉีดพ่นสารอินทรีย์ เพื่อป้องกันโรคพืช ที่อาจเกิดกับทุเรียนได้ โดยเฉพาะโรคทุเรียน ที่มีสาเหตุจากเชื้อราต่างๆ

ในสภาพอากาศแปรปรวน ร้อนชื้น เป็นภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราโรคพืช หากต้นทุเรียนของเรา มีสภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรง ได้รับธาตุอาหารไม่ครบถ้วน จะต้านทานต่อโรคพืชได้ต่ำ จะทำให้โรคพืชจากเชื้อรา ระบาดได้ง่าย

ไอเอส เป็นสารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา เช่น โรคทุเรียนใบไหม้ โรคใบติดทุเรียน โรคใบเหลืองแห้งกรอบ

อ้างอิงข้อมูลและภาพจาก กรมวิชาการเกษตร

FK-1 เป็น ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม สารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ที่ช่วยแก้ปัญหาโรคพืช ที่เกิดจากการขาดธาตุ เช่น ทุเรียนก้านธูป หรือโรคยอดไม้กวาดทุเรียน

รายละเอียดทั้ง ไอเอส และ FK-1 เลื่อนดูด้านล่างนะคะ
โรคลำต้นเน่า (Stem Rot Disease) โรคข้าวลำต้นเน่า
โรคลำต้นเน่า (Stem Rot Disease) โรคข้าวลำต้นเน่า
โรคข้าวลำต้นเน่า พบมาก ใน นาน้ำฝน และ นาชลประทาน ใน ภาคกลาง ภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ ภาคใต้

สาเหตุ เชื้อรา Sclerotium oryzae Catt.

อาการ เริ่มพบอาการได้ในระยะต้นข้าวก่อนออกรวงหรือหลังออกรวงแล้ว โดยจะพบแผลเป็นจุดสีน้ำตาลดำใกล้ระดับน้ำและแผลจะขยายใหญ่ขึ้นและลงตามกาบใบของต้นข้าว และในขณะเดียวกันภายในลำต้นก็จะมีแผลมีลักษณะเป็นขีดสีน้ำตาล เมื่อต้นข้าวเป็นโรครุนแรง ใบล่างของต้นข้าวเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ส่วนของกาบใบและลำต้นจะเน่า ต้นข้าวล้มง่ายและเมื่อดึงต้นข้าวก็จะหลุดออกจากกอได้ง่าย ต้นข้าวจะตายก่อนออกรวง แต่ถ้ามีการระบาดของโรคไม่รุนแรงหรือโรคเกิดขึ้นในระยะต้นข้าวหลังออกรวงแล้ว จะมีผลทำให้ผลผลิตของข้าวลดลงได้ และเมื่อต้นข้าวเป็นโรคและแห้งตายก็จะพบเม็ดขยายพันธุ์ของเชื้อราสาเหตุของโรคมีสีดำฝังอยู่ในเนื้อเยื่อของกาบใบและตามปล้องของต้นข้าว เม็ดขยายพันธุ์ของเชื้อราสาเหตุของโรคสามารถตกค้างอยู่บนตอซังข้าวและในดินได้เป็นระยะเวลานาน

การแพร่ระบาด เนื่องจากเชื้อราสาเหตุจะสร้างเม็ดขยายพันธุ์ที่ตกค้างอยู่ในตอซังข้าวและดิน ในขณะเดียวกันก็สามารถลอยอยู่บนผิวน้ำและแพร่กระจายไปกับน้ำในนาข้าวได้เช่นกัน

การป้องกันกำจัด

-เลือกปลูกพันธุ์ข้าวที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่

-ไม่ควรใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงในแปลงที่เป็นโรค

-หลังเก็บเกี่ยวข้าว และเริ่มฤดูใหม่ ควรพลิกไถหน้าดิน เพื่อทำลายเม็ดขยายพันธุ์ของเชื้อรา เก็บทำลายซากพืชที่เป็นโรคออกจากแปลง

หมั่นตรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ เมื่อเริ่มพบโรคพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา รายละเอียดด่านล่างนะคะ
โรครากเน่าโคนเน่า ในทุเรียน
โรครากเน่าโคนเน่า ในทุเรียน
สภาพอากาศในระยะที่มีฝนฟ้าคะนองกระจายร้อยละ 40-60 ของพื้นที่ และมีฝนตกหนักเป็นบางแห่ง กรมวิชาการเกษตร แนะวิธีรับมือการระบาดของโรครากเน่าและโคนเน่า สามารถพบได้ในระยะที่ต้นทุเรียนแตกใบอ่อน โดยจะพบอาการที่ราก เริ่มแรกเห็นใบที่ปลายกิ่งมีสีซีดไม่เป็นมันเงา ใบเหี่ยวลู่ลง เมื่ออาการรุนแรงมากขึ้นใบจะเหลืองและหลุดร่วง หากขุดดูที่รากฝอยจะพบรากฝอยมีลักษณะเปลือกล่อน และเปื่อยยุ่ยเป็นสีน้ำตาล กรณีที่โรครุนแรงอาการเน่าจะลามไปยังรากแขนงและโคนต้น ทำให้ต้นทุเรียนโทรมและยืนต้นตาย

ส่วนอาการที่กิ่ง ลำต้น และโคนต้น ระยะแรกจะพบต้นทุเรียนมีใบเหลืองเป็นบางกิ่ง สามารถสังเกตเห็นรอยคล้ายคราบน้ำ บนผิวเปลือกของกิ่งหรือต้น ในช่วงเช้าที่มีอากาศชื้นอาจเห็นเป็นหยดของเหลวสีน้ำตาลแดงออกมาจากบริเวณแผล และจะค่อยๆ แห้งไปในช่วงที่มีแดดจัด ทำให้เห็นเป็นคราบ เมื่อใช้มีดถากบริเวณคราบนั้น จะพบเนื้อเยื่อเปลือกและเนื้อไม้เป็นแผลสีนํ้าตาล ถ้าแผลขยายใหญ่จะลุกลามจนรอบโคนต้น จะทำให้ต้นทุเรียนใบร่วงจนหมดต้นและยืนต้นแห้งตาย อาการที่ใบ ใบช้ำ ดำ มีรอยตายนึ่งคล้ายถูกน้ำร้อนลวก และจะเกิดอาการไหม้แห้งคาต้นอย่างรวดเร็ว พบระบาดมากในช่วงฝนตกหนักติดต่อกันหลายวัน

สำหรับต้นทุเรียนที่เป็นโรครุนแรงมากหรือยืนต้นแห้งตาย ให้ขุดออกแล้วนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก จากนั้นให้ใส่ปูนขาวและตากดินไว้ระยะหนึ่งแล้วปลูกใหม่ทดแทน หลีกเลี่ยงการกระทำที่อาจทำให้รากหรือลำต้นเกิดแผล ซึ่งจะเป็นช่องทางให้เชื้อราสาเหตุโรคเข้าทำลายพืชได้ง่ายขึ้น และในแปลงปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดี หากมีน้ำท่วมขังให้รีบระบายน้ำออกทันที จากนั้น ให้เกษตรกรใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก เพื่อปรับปรุงดินในแปลงปลูก และควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรเมื่อใช้กับต้นที่เป็นโรคทุกครั้งก่อนนำกลับมาใช้ใหม่

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา
ป้องกัน ยับยั้งโรคพืช จากเชื้อราต่างๆ ไอเอส สารอินทรีย์ รายละเอียดต้านล่างนะคะ
อาการต้นไม้ปลูกในบ้านที่ต้องระวัง รีดจัดการก่อนต้นไม้ตาย
อาการต้นไม้ปลูกในบ้านที่ต้องระวัง รีดจัดการก่อนต้นไม้ตาย
ชื่อว่าคนปลูกต้นไม้หลายคนน่าจะเจอปัญหาคล้าย ๆ กันว่า ทำไมต้นไม้ที่บ้านของเราไม่สวยเหมือนตอนอยู่ที่ร้าน หรือเลี้ยงอยู่ดี ๆ ต้นไม้ก็เหี่ยวแบบหาสาเหตุไม่ได้ ทั้ง ๆ ที่รดน้ำทุกวัน บางครั้งก็มีใบไหม้หรือจุดด่าง ๆ กระจายเต็มต้น วันนี้กระปุกดอทคอมขออาสารวมปัญหาที่คนปลูกต้นไม้ในบ้านควรระวังมาฝาก มาดูกันว่ามีโรคแบบไหนบ้างที่ควรระวัง และแต่ละอาการมีสาเหตุมาจากอะไร และควรจะแก้ไขยังไง ให้ต้นไม้กลับมาสวยงาม แข็งแรง ผลิใบออกดอกให้เราเห็นเหมือนเดิม

1. ใบเหลือง
สาเหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้ต้นไม้ใบเหลือง เป็นเพราะรดน้ำมากเกินไป ความชื้นในดินสูง หรือดินแน่น ระบายน้ำยาก วิธีแก้ปัญหาเบื้องต้นคือ ตัดใบส่วนนั้นทิ้งไป จากนั้นเว้นการรดน้ำไปสักระยะ แล้วค่อยกลับมารดน้ำใหม่เมื่อดินแห้ง เช็กง่าย ๆ โดยใช้นิ้วกดลงไปในดินประมาณ 1 นิ้ว หากหน้าดินแห้งก็รดน้ำได้ แต่ถ้าดินยังแฉะก็ควรรอก่อน ส่วนในกรณีที่ดินแน่นเกินไปให้นำมาผสมวัสดุอื่น ๆ เช่น ขุยมะพร้าว ใบก้ามปู หรือรองก้นกระถางด้วยกาบมะพร้าวก่อนนำมาปลูก เพื่อเพิ่มช่องอากาศและช่วยให้ดินระบายน้ำได้ดีขึ้น

2. ใบไหม้
สาเหตุที่ทำให้ใบไหม้ส่วนใหญ่มักจะมาจากต้นไม้โดนแสงแดดแรง ๆ หรืออากาศร้อนเกินไป โดยเฉพาะแดดช่วงบ่าย ดังนั้นหากสังเกตว่าใบเริ่มแห้งหรือเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ควรย้ายต้นไม้ไปวางไว้ในที่ที่มีแดดรำไร พร้อมกับตัดใบไหม้ส่วนนั้นทิ้งไป อีกหนึ่งสาเหตุอาจจะเป็นเพราะใส่ปุ๋ยมากเกินไป เบื้องต้นควรงดใส่ปุ๋ยไปสักระยะประมาณ 1-2 เดือน แล้วรดน้ำตามปกติ เพื่อให้น้ำเจือจางและค่อย ๆ ชะสารเคมีออกไป แต่ถ้าเป็นพวกเชื้อราให้แยกต้นไม้ออกมาวางนอกบ้าน ตัดใบที่ขึ้นราทิ้ง แล้วพ่นด้วยสเปรย์ฆ่าเชื้อรา แล้วรอดูผลสักระยะ หากไม่มีราขึ้นซ้ำก็สามารถย้ายกระถางไปปลูกในบ้านได้

3. ใบซีด
เนื่องจากแสงแดดเป็นอาหารอย่างหนึ่งของต้นไม้และใช้ในการสร้างคลอโรฟิลล์ ถ้าใบของต้นไม้เริ่มสีซีดผิดปกติ เป็นเพราะไม่ได้รับแสงแดดที่เพียงพอ เช่น วางในมุมอับที่แสงเข้าไม่ถึง แต่ก่อนจะย้ายต้นไม้ไปรับแดด ควรเช็กก่อนว่าต้นไม้ของเราเหมาะกับแสงแดดแบบไหน เพราะบางชนิดก็ชอบแสงแดดโดยตรง ทนอากาศร้อนได้ดี ในขณะที่ต้นไม้บางชนิดชอบแสงแดดรำไร อากาศเย็น หรือความชื้นสูง ถ้านำไปวางไว้ที่แดดแรง ๆ อาจจะทำให้เกิดปัญหาใบเหี่ยวหรือใบไหม้ตามมาได้

4. ใบหงิก
หากใบหงิกงอ ผิวไม่เรียบ ขอบใบม้วน โดยเฉพาะส่วนที่เป็นใบอ่อนหรือใบใกล้ยอดลำต้น นอกจากนี้หากลำต้นแคระแกร็นหรือมีขนาดเล็กเมื่อเทียบกับต้นปกติ อาจจะเกิดจากไวรัส ขาดสารอาหาร และมีแมลงมารบกวน หากเจออาการแบบนี้ให้รีบแยกต้นไม้ที่เป็นโรคออกมา แล้วตัดส่วนที่มีปัญหาทิ้งไป

5. ใบมีจุด
ปัญหานี้มาจากหลายสาเหตุด้วยกัน ส่วนใหญ่มาจากพวกฟังไจ (Fungi) และจุดจะมีลักษณะแตกต่างกันไป เช่น สีน้ำตาล สีแดง หรือสีดำ และจะค่อย ๆ กัดกินใบไปทีละนิดจนเป็นวงกว้าง ดังนั้นหากเจอแล้วควรรีบตัดใบส่วนนั้นทิ้งไป ก็จะช่วยให้ต้นไม้ฟื้นตัวเร็วขึ้น และรดน้ำเฉพาะบริเวณโคนต้น เพื่อป้องกันไม่ให้เชื้อกระจาย

6. ใบร่วง
ถ้าใบร่วง 1-2 ใบถือเป็นเรื่องปกติ แต่ถ้าร่วงเยอะจนผิดสังเกต แสดงว่าต้นไม้กำลังอ่อนแอ และมีสาเหตุจากหลายปัจจัย เช่น สภาพแวดล้อมหรืออุณหภูมิเปลี่ยนแปลงเร็ว ใช้กระถางขนาดเล็กเกินไป ทำให้รากขยายยาก ลำต้นเจริญเติบโตได้ไม่เต็มที่ นอกจากนี้อาจจะเป็นเพราะรดน้ำน้อยหรือมากเกินไป

7. ต้นไม้โตช้า
ถึงแม้ว่าอัตราการเจริญเติบโตของต้นไม้แต่ละชนิดไม่เท่ากัน แต่หากสังเกตว่าต้นไม้ของเราโตช้าเกินไปจนผิดปกติ ผ่านไปหลายสัปดาห์แทบจะไม่เห็นความแตกต่างหรือแตกยอดใหม่เลย ก็เป็นไปได้ว่าต้นไม้โดนเชื้อราหรือแมลงรบกวน เช่น บั่วรา (Fungus Gnat) และหากเห็นแมลงตัวเล็ก ๆ บินรอบต้นไม้ ก็มีความเป็นไปได้ว่าอาจจะมีตัวอ่อนอยู่ในดิน ส่วนใหญ่จะเกาะอยู่บริเวณรากคอยแย่งอาหารจากต้นไม้ของเรา ทั้งนี้ ควรรีบแยกต้นไม้ที่เป็นโรคออกมา แล้วจัดการเปลี่ยนดิน ตัดรากที่มีตัวอ่อนทิ้งไป จากนั้นค่อยนำไปปลูกในดินใหม่และกระถางที่สะอาด

8. ลำต้นยืดหรือเอียง
อีกหนึ่งปัญหาที่คนปลูกต้นไม้ในบ้านมักจะเจอบ่อย ๆ และนั่นแปลว่า ต้นไม้ได้รับแสงแดดน้อยเกินไป ลำต้นเลยเอียงเข้าหาแสง ฉะนั้นลองหาที่ตั้งกระถางใหม่ ให้เป็นที่ที่มีแสงสว่างและมีแสงแดดเพียงพอ เช่น บนระเบียงหรือริมหน้าต่าง แต่อย่างไรก็ตามไม่ควรเปลี่ยนที่ปลูกต้นไม้บ่อย ๆ เพราะต้นไม้ต้องใช้เวลาในการปรับตัว และทำให้ต้นไม้โตช้าลง

9. ออกดอกน้อย
สำหรับต้นไม้ปลูกในร่มที่ผลิใบเยอะ แต่ออกดอกน้อยหรือตั้งแต่ปลูกมายังไม่เคยเห็นดอกเลยสักครั้ง มีสาเหตุจากปุ๋ยที่นำมาใส่มีส่วนของไนโตรเจน (N) มากเกินไป หากอยากจะเห็นดอกบ้าง ควรเลือกสูตรปุ๋ยที่เน้นฟอสฟอรัส (Phosphorus หรือ P) ช่วยเร่งการสร้างดอก อีกทั้งยังช่วยให้รากแข็งแรง ดูดซึมอาหารได้ดีขึ้นด้วย

คราวนี้ก็ได้ทราบกันไปแล้วว่าอาการแต่ละอย่างมีสาเหตุจากอะไร และจะแก้ไขอย่างไร แต่อย่างไรก็ตามไม่ว่าจะเปลี่ยนกระถาง ย้ายที่วางต้นไม้ หรือปัจจัยสภาพแวดล้อมอื่น ๆ แต่ละครั้งควรเว้นระยะห่างประมาณ 5-7 วัน เพื่อให้เวลาต้นไม้ปรับตัวด้วยนะคะ

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

อาการใบไหม้ ใบจุด ใบเหลืองซีด อันเนื่องมาจากเชื้อรา ใช้ ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืชจากเชื้อรา รายละเอียดด้านล่างนะคะ
โรคพืช จะรุนแรงขึ้น เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการระบาด และ พืชอ่อนแอ ดูแลพืชให้แข็งแรง ก็ต้านทานต่อโรคได้ เหมือนคนที่แข็งแรง
โรคพืช จะรุนแรงขึ้น เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมกับการระบาด และ พืชอ่อนแอ ดูแลพืชให้แข็งแรง ก็ต้านทานต่อโรคได้ เหมือนคนที่แข็งแรง
โรคพืช หมายถึง ภาวะที่พืชมีลักษณะผิดปกติ เนื่องจากเชื้อโรคที่เป็นสิ่งมีชีวิต และ สภาพแวดล้อมซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่มีชีวิต ไปทำให้การทำงานของระบบต่างๆ ในพืชผิดปกติ โครงสร้างและรูปร่างของส่วนต่างๆ ของพืชเปลี่ยนแปลง โดยการเกิดโรคพืชมีปัจจัยสำคัญ คือ พืชอาศัยอ่อนแอ สภาพแวดล้อมเหมาะสม เชื้อสาเหตุโรคที่รุนแรง และระยะเวลาที่พอเหมาะ

การจัดกลุ่มโรคพืชตามเชื้อสาเหตุโรค แบ่งได้ 2 กลุ่ม คือ

1. โรคพืชที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต
ได้แก่ โรคที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ราสนิม ใบจุด ราน้ าค้าง ราแป้ง โรคที่เกิดเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคแคงเกอร์ในตระกูลส้ม โรคเหี่ยว โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เช่น โรคใบด่าง อ้อย โรคเส้นใบเหลือง โรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอย เช่น โรครากปม เป็นต้น

2. โรคพืชที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต
เช่น เกิดจากการขาดธาตุอาหาร สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสม เกิดจากความเป็นพิษของของธาตุอาหาร ดินมีความเป็นกรดด่างสูง เกิดจากพิษของสารกำจัดวัชพืชและสารเคมีต่างๆ

โรคพืชป่าไม้ที่สำคัญ ได้แก่ โรคใบจุด (leaf spot) ใบไหม้ (leaf blight) ราสนิม(rust) ราแป้ง (powdery mildew) ราดำ (black mildew) จุดนูนดำ (tar spot) อาการเหี่ยว (wilt) โรครากเน่า โรคลำต้นผุเน่า เป็นต้น โรคส่วนใหญ่ที่พบมักเป็นโรคที่เกิดทางใบ ส่งผลกระทบต่อการสังเคราะห์แสงของพืชและจะทำให้ลำต้นอ่อนแอ

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

โรคพืช ที่มีสาเหตุจาก เชื้อราต่างๆ ป้องกัน กำจัดด้วย ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

โรคพืช ที่มีสาเหตุจาก การขาดธาตุอาหาร ใช้ FK-1 ที่ประกอบด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม สารสังเคราะห์คลอโรคฟิลล์ เป็นการให้อาหารพืชได้อย่างครบถ้วน

เลื่อนอ่านรายละเอียดด้านล่างนะคะ
1139 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 113 หน้า, หน้าที่ 114 มี 9 รายการ
|-Page 91 of 114-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
คำนิยม - ลูกค้าท่านนี้ ใช้ FK-1 เร่งบำรุง และ ไอเอสกำจัดโรคพืชค่ะ
Update: 2562/08/30 12:23:04 - Views: 3772
ปาล์มน้ำมัน ยางพารา ภาคใต้ เป็นที่ยอมรับทั้งภาครัฐและเอกชน
Update: 2563/06/20 11:31:06 - Views: 3581
ยาแก้ โรคมันสำปะหลังใบไหม้
Update: 2563/07/03 22:10:32 - Views: 3722
แก้โรคใบไหม้ รักษาโรคใบไหม้ด้วยยาอินทรีย์ และปุ๋ยเคมีทางใบ (ปุ๋ยเคมี ไม่ได้อันตรายเหมือนยาเคมี)
Update: 2563/09/11 07:33:59 - Views: 3703
ศัตรูพืช และ การป้องกันกำจัด
Update: 2563/11/06 08:59:08 - Views: 3536
ปุ๋ยสำหรับข้าว ปุ๋ยเพิ่มผลผลิตข้าว ยาแก้โรคใบไหม้ เน่าคอรวง ยากำจัดเพลี้ยในนาข้าว
Update: 2563/06/18 17:22:27 - Views: 3570
ยาแก้โรคกะหล่ำปลี โรคกะหล่ำปลีเน่าคอดิน โรคราน้ำค้าง ยากำจัดหนอนกะหล่ำปลี ยาแก้เพลี้ยกะหล่ำปลี และปุ๋ยสำหรับกะหล่ำปลี
Update: 2563/06/22 21:49:36 - Views: 3755
เพลี้ยจักจั่นสีเขียว (green rice leafhopper) การป้องกัน และกำจัด
Update: 2563/06/16 12:31:15 - Views: 4106
FK Park
Update: 2563/10/07 21:45:53 - Views: 3568
การป้องกันกำจัด โรคมะนาว แคงเกอร์ ราดำ กรีนนิ่ง โรคยางไหล รากเน่าโคนเน่า
Update: 2563/11/23 07:52:58 - Views: 3541
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธาตุอาหารของพืช ธาตุหลัก ธาตุรอง ที่พืชจำเป็นต้องใช้ในการเจริญเติบโต
Update: 2563/06/16 22:23:14 - Views: 4945
🔥โรคใบไหม้ ราสนิม ราน้ำค้าง โรคพืชต่างๆจากเชื้อรา ใช้ ไอเอส ใช้ได้กับทุกพืช เร่งพืชฟื้นตัว กลับมาโตไวให้ผลผลิตดี ด้วย FK-1
Update: 2563/10/01 22:16:38 - Views: 3518
วิธีการป้องกันและควบคุม เพลี้ยในต้นดอกทานตะวัน
Update: 2566/11/17 12:54:22 - Views: 3478
การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี
Update: 2563/11/12 09:26:17 - Views: 3609
แก้บร็อคโคลี่ใบไหม้ ราน้ำค้าง โรคต่างๆจากเชื้อรา ยากำจัดหนอนบร็อคโคลี่ ยาแก้เพลี้ยบร็อคโคลี่ ปุ๋ย สำหรับ บร็อคโคลี่
Update: 2563/06/24 07:36:48 - Views: 3652
ยาอินทรีย์ ยับยั้งโรคสลัด ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ผักสลัดใบจุด ผักสลัดใบไหม้ ยาแก้เพลี้ยสลัด
Update: 2563/06/30 08:05:20 - Views: 3809
พืชขาดธาตุแคลเซียม จะเกิด ใบจุดสีน้ำตาล ใบจุดสีเหลือง ที่ใบใหม่ พืชที่ขาดธาตุแมกนีเซียม จะเกิดใบจุดน้ำตาล ใบจุดเหลือง ที่ใบแก่ : ตรวจดิน ตรวจธาตุแคลเซียม ตรวจค่าแมกนีเซียม
Update: 2563/08/23 12:27:02 - Views: 4419
ฟาร์มเกษตร ให้ความรู้การเพิ่มผลผลิต ข้าว และมันสำปะหลังให้กับพี่น้องเกษตรกร
Update: 2563/06/19 18:22:54 - Views: 3587
การป้องกันและกำจัดโรค ที่เกิดกับลิ้นจี่
Update: 2563/11/19 08:30:15 - Views: 3552
คำนิยม - ขอบคุณลูกค้าจาก ดอยสะเก็ด จ.เชียงใหม่ สั่งซื้อซ้ำ ไอเอส ขนาด 3 ลิตร ครั้งละ 3 แกลลอน
Update: 2563/07/14 22:41:26 - Views: 3508
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022