[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - โรครา
1006 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 100 หน้า, หน้าที่ 101 มี 6 รายการ

ดาวเรืองใบไหม้ ใบแห้ง ดาวเรืองลำต้นเน่า มีสาเหตุจากโรคเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส
ดาวเรืองใบไหม้ ใบแห้ง ดาวเรืองลำต้นเน่า มีสาเหตุจากโรคเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส
ดาวเรืองใบไหม้ ใบแห้ง ดาวเรืองลำต้นเน่า มีสาเหตุจากโรคเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส
ดาวเรือง โรคต่างๆของดาวเรือง ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา แก้ได้ด้วย ไอเอส ดาวเรืองใบไหม้ ดาวเรืองใบแห้ง ลำต้นเหี่ยว เน่า และโรคต่างๆจากเชื้อรา

.

โรคเหี่ยวเหลือง เกิดจากเชื้อรา FUSARIUM
อาการ เริ่มจากใบดาวเรืองที่อยู่บริเวณโคนต้นแสดงอาการใบเหลือง แล้วแห้งลามขึ้นมาสู่ส่วนบนจนในที่สุดใบจะเหลืองและแห้งตายไปทั้งต้น ส่วนของลำต้นจะมีลักษณะแบนลีบและเหี่ยวไปด้วย ลำต้นบริเวณคอดินหรือเหนือดินเล็กน้อย มักมีสีแดงหรือสีคล้ำกว่าส่วนอื่น ท่อน้ำเลี้ยงแห้งเป็นสีน้ำตาล (เชื้อโรคนี้จะเริ่มเข้าทำลายในช่วงหลังจากย้ายปลูก 40-45 วันหลังย้ายปลูกช่วงดาวเรืองเป็นตุ่มตาดอก) การป้องกันกำจัด ใช้สารเคมีป้องกันและกำจัดเชื้อรา เช่น แมนโคเซ็ป ฉีดพ่นสลับกับคาร์เบนดาซิมประมาณสัปดาห์ละครั้ง และถ้าพบมากต้นที่เป็นโรคและตายในแปลงต้องรีบกำจัดทิ้ง
.

โรคดอกเน่า เกิดจากเชื้อรา COLLETOTRICHUM SP.
อาการ ดอกที่เกิดโรคจะเน่าเป็นสีน้ำตาล โดยเฉพาะถ้าหากเกิดในระยะที่ดอกกำลังเริ่มเป็นดอกตูมจะทำให้ดอกไม่สามารถบานได้ หากเชื้อเข้าทำลายในระยะที่ดอกบานจะพบว่ากลีบดอกจะมีสีน้ำตาลลามเข้าไปทาง โคนกลีบ ทำให้ดอกมีสีน้ำตาลดำ เชื้อเข้าทำลายจากดอกลามสู่ลำต้น (ระบาดในช่วงฤดูฝนและในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง)

.

ไอเอส เป็นสารอินทรีย์สำหรับป้องกันและยับยั้งเชื้อรา สกัดจากพืช ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค ปลอดสารพิษ ไม่มีสารตกค้าง ใช้ฉีดพ่นเพื่อป้องกันและยับยั้งโรคพืชทุกชนิด ที่มีสาเหตุมากจากเชื้อรา

.

สนใจ โทรสั่งซื้อ 090-592-8614

ไลน์ไอดี FarmKaset หรือ ไอดี PrimPB

สั่งทางเฟสบุ๊คได้เช่นกัน https://www.facebook.com/farmkaset

หรือลาซาด้า https://www.lazada.co.th/..

รับมือ โรคราน้ำค้าง ในพืชผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด
รับมือ โรคราน้ำค้าง ในพืชผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด
อากาศเย็นมีความชื้นสูงในตอนเช้า และอากาศร้อนในเวลากลางวันช่วงนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกพืชผักตระกูลกะหล่ำและผักกาด อาทิ กวางตุ้ง กะหล่ำปลี กะหล่ำดอก คะน้า ผักกาดขาว ผักกาดหอม และบรอกโคลี ให้เตรียมรับมือการระบาดของโรคราน้ำค้าง ที่สามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช จะพบอาการของโรคบนใบที่อยู่บริเวณด้านล่างของต้นก่อน จากนั้นแผลจะขยายลุกลามไปยังใบที่อยู่ด้านบนของต้นพืช โดยมีอาการเริ่มแรกบริเวณด้านบนใบเป็นจุดแผลสีเหลือง หรืออาจเป็นปื้นสีเหลือง

เมื่อสภาพอากาศมีความชื้นสูงในตอนเช้า มักพบเส้นใยเชื้อราเป็นขุยสีขาวถึงเทาตรงแผลด้านใต้ใบ หากพบโรคระบาดรุนแรง แผลจะลามขยายใหญ่ทำให้เนื้อใบเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ต่อมาใบจะเหลืองและแห้งตาย กรณีพบโรคในระยะต้นกล้า ใบเลี้ยงจะเกิดจุดแผลสีน้ำตาล ทำให้ต้นแคระแกร็นและตายในที่สุด ส่วนในกะหล่ำดอกและบรอกโคลี ถ้าพบเชื้อราเข้าทำลายรุนแรง ก้านดอกจะยืดและดอกอาจจะบิดเบี้ยวเสียรูปทรงได้

เกษตรกรควรเลือกใช้เมล็ดพันธุ์สะอาดที่มีคุณภาพดีจากแหล่งปลอดโรค และก่อนปลูกควรแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำอุ่นอุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส (ต้มน้ำจนเดือดแล้วเติมน้ำอุณหภูมิปกติลงไปผสมอีก 1 เท่า) นาน 20-30 นาที หรือคลุกเมล็ดพันธุ์ด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชเมทาแลกซิล 35% ดีเอส อัตรา 10 กรัมต่อเมล็ดพันธุ์ 1 กิโลกรัม จากนั้น เกษตรกรควรปลูกพืชให้มีระยะห่างกันพอสมควร ไม่เบียดแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความชื้นสูง อากาศไม่ถ่ายเท และโรคระบาดได้รวดเร็ว

หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว เกษตรกรควรเก็บเศษซากพืชส่วนที่หลงเหลือในแปลง และหมั่นกำจัดวัชพืชในแปลงนำไปทำลายนอกแปลงปลูกทันที เพื่อลดการสะสมเชื้อราสาเหตุโรค หลีกเลี่ยง การปลูกพืชชนิดเดียวกันซ้ำในพื้นที่แปลงเดิม ควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน และควรทำความสะอาดเครื่องมืออุปกรณ์ทางการเกษตรที่ใช้กับต้นเป็นโรคก่อนนำกลับมาใช้ใหม่กับต้นปกติทุกครั้ง

หากพบโรคเริ่มระบาด ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชไดเมโทมอร์ฟ 50% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารเมทาแลกซิล 25% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารแมนโคเซบ 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารแมนโคเซบ+เมทาแลกซิล-เอ็ม 64%+4% ดับเบิ้ลยูจี อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร หรือสารฟอสอีทิล-อะลูมิเนียม 80% ดับเบิ้ลยูพี อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร โดยพ่นให้ทั่วทั้งด้านบนใบและใต้ใบ ทุก 5-7 วัน

อังคณา ว่องประสพสุข : ข่าว

กรมวิชาการเกษตร

ที่มา http://www.farmkaset..link..

ฉีดพ่น ไอเอส เพื่อป้องกันกำจัด โรคราน้ำค้าง ฉีดพ่น FK-1 เพื่อฟื้นฟู บำรุง สร้างภูมิต้านทาน และส่งเสริมผลผลิต
กรมวิชาการเกษตร เเนะเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลแตงให้ระวัง โรคราน้ำค้าง
กรมวิชาการเกษตร เเนะเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลแตงให้ระวัง โรคราน้ำค้าง
ในระยะที่มีลมแรงและอากาศเย็นลงช่วงนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลแตง อาทิ แตงกวา แตงร้าน แตงโม แตงไทย เมล่อน แคนตาลูป ซูกินี ฟักเขียว ฟักทอง ฟักแม้ว มะระจีน และบวบ ให้หมั่นสังเกตการระบาดของ “โรคราน้ำค้าง” ที่สามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช มักพบแสดงอาการเริ่มแรกของโรคบนใบที่อยู่บริเวณด้านล่างของต้นมีแผลฉ่ำน้ำ ต่อมาแผลจะขยายลุกลามไปยังใบที่อยู่ด้านบนตามกรอบของเส้นใบย่อย ทำให้เห็นแผลเหลี่ยมเล็กเปลี่ยนเป็นสีเหลือง

กรณีที่มีความชื้นสูงในตอนเช้า จะพบเส้นใยของเชื้อราเป็นขุยสีขาวถึงเทาตรงแผลใต้ใบ จากนั้นแผลจะขยายติดต่อกันเป็นแผลขนาดใหญ่ และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือเทาดำ หากอาการรุนแรงจะทำให้ใบเหลืองและแห้งตายทั้งต้น ต้นพืชที่เป็นโรคจะติดผลน้อย ผลมีขนาดเล็ก คุณภาพของผลและความหวานจะลดลง ถ้าต้นพืชเป็นโรคในระยะมีผลอ่อน จะทำให้ผลลีบเล็กและบิดเบี้ยว

สำหรับพื้นที่ที่พบอาการของโรคนี้ หลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว ให้เกษตรกรเก็บเศษซากพืชส่วนที่หลงเหลือและหมั่นกำจัดวัชพืชในแปลงนำไปทำลายนอกแปลงปลูกทันที เพื่อลดการสะสมเชื้อราสาเหตุโรค อากาศถ่ายเทได้สะดวก และทำลายแหล่งอาศัยของด้วงเต่าแตง อีกทั้ง ควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียนที่ไม่ใช่พืชตระกูลแตง และไม่ควรปลูกพืชแน่นจนเกินไป เพราะในแปลงปลูกจะเกิดความชื้นสูง

ที่มา http://www.farmkaset..link..

ฉีดพ่น ไอเอส เพื่อป้องกัน กำจัดโรคราน้ำค้าง ฉีดพ่น FK-1 เพื่อฟื้นฟู บำรุ่ง เสริมสร้างภูมิต้านทานต่อโรคและแมลง ส่งเสริมการเจริญเติบโตและผลผลิต
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แท้ สายพันธุ์พ่อแม่ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสม กรมวิชาการเกษตร
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แท้ สายพันธุ์พ่อแม่ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสม กรมวิชาการเกษตร
ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แท้ นครสวรรค์ 1

Pedigree : (DA9-1(S)-7-3 x SW1C9)-S9-19-11-1-B

เดิมชื่อรหัส Nei 9008 ใช้เป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แม่ ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 72 ซึ่งได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร เป็นพันธุ์รับรอง และตั้งชื่อเทิดพระเกียรติเนื่องในวโรกาสพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีพระชนมายุครบ 72 พรรษา ในปี 2542

การพัฒนาพันธุ์

ปี 2532 ต้นฤดูฝน ปลูกประชากรข้าวโพด (DA9-1(S)-7-3 x SW1(S)C9)F2 ในสภาพการก่อให้เกิดโรคราน้ำค้าง จำนวน 2_000 ต้น ในต้นที่ต้านทานโรคราน้ำค้างและคัดเลือกไว้เพื่อทำการผสมตัวเอง สร้างสายพันธุ์ผสมตัวเองชั่วที่หนึ่ง 800-1_000 ต้น เก็บเกี่ยวคัดเลือกฝัก 250 ฝัก

ปี 2532 ปลายฤดูฝน – 2533 ปลายฤดูฝน ฝักที่คัดเลือก 250 ฝัก นำไปปลูกแบบฝักต่อแถว คัดเลือกสายพันธุ์ผสมตัวเองชั่วที่ 4 ได้จำนวน 140 สายพันธุ์

ปี 2534 ฤดูแล้ง นำสายพันธุ์ผสมตัวเองชั่วที่ 4 แต่ละสายพันธุ์จากประชากร (DA-9-1(S)-7-3 x SW1(S)C9)F2 ไปผสมกับประชากรข้าวโพด Pop 28(HS)C5 เพื่อประเมินสมรรถนะการผสม คัดเลือกสายพันธุ์ (DA9-1(S)-7-3 x SW1(S)C9)-S5-177 ซึ่งมีสมรรถนะการผสมดีกับ Pop 28 (HS)C5 ต้านทานโรคราน้ำค้าง ทนทานการหักล้ม เมล็ดมีสีส้มชนิดหัวแข็ง และต่อมาตั้งชื่อเป็น Nei 9008

ข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์แท้ นครสวรรค์ 2

Pedigree : Pop 28(HS)C5-S9-5-2-1-B

เดิมชื่อรหัส Nei 9202 ใช้เป็นข้าวโพดเลี้ยงสัตว์สายพันธุ์พ่อ ของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ลูกผสมพันธุ์นครสวรรค์ 72 ซึ่งได้รับการรับรองจากกรมวิชาการเกษตร เป็นพันธุ์รับรอง ในปี 2542

การพัฒนาพันธุ์

ปี 2533 ต้นฤดูฝน – 2534 ต้นฤดูฝน สร้างสายพันธุ์ผสมตัวเองชั่วที่ 1-4 ในสภาพการก่อให้เกิดโรค ราน้ำค้าง จากประชากรข้าวโพด Pop 28(HS)C5 ซึ่งได้รับจากศูนย์ปรับปรุงข้าวโพดข้าวสาลีนานาชาติประจำเขตเอเชีย (CIMMYT-ARMP) คัดเลือกสายพันธุ์ผสมตัวเองชั่วที่ 4 จากประชากร Pop 28(HS)C5 จำนวน 100 สายพันธุ์

ปี 2535 ฤดูแล้ง นำสายพันธุ์ผสมตัวเองชั่วที่ 4 จากประชากร Pop 28(HS)C5 ผสมกับสายพันธุ์ Nei 9008 ประเมินสมรรถนะการผสมในฤดูฝน คัดเลือกสายพันธุ์ผสมตัวเองชั่วที่ 4 ได้สายพันธุ์ Pop 28(HS)C5-S5-129 ซึ่งมีสมรรถนะการผสมดีกับสายพันธุ์แท้ Nei 9008 และต้านทานโรคราน้ำค้าง ต่อมาตั้งชื่อเป็น Nei 9202

อ่านทั้งหมดที่ http://www.farmkaset..link..
สวนเงาะเฝ้าระวังการเกิด โรคราดำเงาะ มักพบได้ในระยะที่ต้นเงาะเริ่มติดผลอ่อน
สวนเงาะเฝ้าระวังการเกิด โรคราดำเงาะ มักพบได้ในระยะที่ต้นเงาะเริ่มติดผลอ่อน
อากาศร้อน มีลมกระโชกแรง และมีฝนตกในบางพื้นที่ระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร แนะเกษตรกรชาวสวนเงาะเฝ้าระวังการเกิดโรคราดำ มักพบได้ในระยะที่ต้นเงาะเริ่มติดผลอ่อน เริ่มแรกจะพบคราบราสีดำติดตามส่วนต่างๆ ของต้นเงาะ เช่น ใบ กิ่ง ก้านดอก ช่อดอก ขั้วผล และร่องขน หากมีคราบราดำที่บนใบ จะส่งผลให้พืชรับแสงได้ไม่เพียงพอ กรณีพบราดำขึ้นปกคลุมช่อดอก จะทำให้ไม่สามารถผสมเกสรได้ และมีดอกร่วง ถ้ามีราดำขึ้นปกคลุมผล จะทำให้ผิวผลไม่สวย ผลดูสกปรก จำหน่ายไม่ได้ราคา

สำหรับแนวทางในการป้องกันโรคราดำ หากพบโรคให้เกษตรกรพ่นด้วยน้ำเปล่าล้างคราบราดำที่ติดตามส่วนต่างๆ ของต้นเงาะ เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรค จากนั้น ให้เกษตรกรหมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความชื้นสะสม ไม่ให้มีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการระบาดของโรค และทำลายแหล่งอาศัยของแมลงปากดูด

นอกจากนี้ มักพบเชื้อราสาเหตุโรคเจริญบนสารเหนียวที่แมลงปากดูดขับถ่ายไว้ในช่วงที่มีการระบาดของเพลี้ยแป้ง โดยเพลี้ยแป้งบางชนิดอาจอาศัยอยู่ในดินบริเวณโคนต้นพืชหรือรากวัชพืช ซึ่งมีมดเป็นตัวพาหนะช่วยเคลื่อนย้ายตัวอ่อนของแมลงนำพาไปยังส่วนต่างๆ ของพืช ให้เกษตรกรตัดแต่งกิ่งเงาะเพื่อลดปริมาณมด จากนั้น ให้ใช้เศษผ้าชุบน้ำมันเครื่องผูกรอบโคนต้น เพื่อป้องกันมดและเพลี้ยแป้งที่อาศัยอยู่ในดินไต่ขึ้นมาบนต้นเงาะ ส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการเกษตรเมื่อใช้ในแปลงที่มีการระบาดแล้ว เกษตรกรควรนำเครื่องมือมาทำความสะอาดด้วยการล้างและผึ่งแดดให้แห้งก่อนนำกลับไปใช้ในแปลงทุกครั้ง

ที่มา http://www.farmkaset..link..

มาคา ป้องกันกำจัดเพลี้ยต่างๆ แมลงพาหะของโรค
ไอเอส ป้องกันกำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา
FK-1 ฟื้นฟู บำรุง เสริมสร้างภูมิต้านทาน ส่งเสริมการเจริญเติบโตและ ผลผลิต
โรคมะกอกโอลีฟ โรคราดำมะกอกโอลีฟ และโรคมะกอกโอลีฟ ที่เกิดจากเชื้อรา
โรคมะกอกโอลีฟ โรคราดำมะกอกโอลีฟ และโรคมะกอกโอลีฟ ที่เกิดจากเชื้อรา
โรคที่สำคัญสำหรับแปลงปลูกมะกอกโอลีฟในเขตเมดิเตอร์เรเนียน ได้แก่

1. โรค Tuberculosis (Olive knot) ที่เกิดจากการติดเชื้อ Pseudomonas savastanoi (Smith) ซึ่งก่อให้เกิดอาหารเป็นปมขึ้นที่กิ่งก้านและทำให้เกิดการเจริญเติบโตมากผิดปกติ โดยมีสาเหตุมาจากการตัดแต่งเป็นส่วนมากถ้ามีการตัดแต่งบ่อยก็มีผลให้เกิดการติดเชื้อที่แผลบริเวณที่ตัดได้ซึ่งเชื้อโรคนี้อาจติดมากับเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ในการตัดแต่งกิ่งและอาจเข้าทางบาดแผลบนกิ่งหรือต้น ดังนั้นจึงมีการใช้สารพวก copper ทาหลังจากที่มีการตัดแต่งและให้ทำความสะอาดเครื่องมือและอุปกรณ์ที่ใช้ก่อนตัดแต่ง พันธุ์มะกอกโอลีฟที่อ่อนแอต่อเชื้อแบคทีเรียนี้ได้แก่ พันธุ์ Cornicabra

2. โรคที่เกิดจากเชื้อรา Cycloconium oleaginum ซึ่งทำให้เกิดอาการแผลบนใบในช่วงระหว่างฤดูใบไม้ผลิและฤดูใบไม้ร่วง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่มีฝนตกหรือความชื้นสูง เมื่อเชื้อรานี้เจริญขึ้นบนใบในระยะแรกแผลบนใบจะเป็นจุดเล็ก ๆ จากนั้นจะลุกลามแผ่ขยายขนาดแผลและทำให้ใบร่วง ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ผลผลิตลดลงในที่สุด พันธุ์มะกอกโอลีฟที่อ่อนแอต่อเชื้อรานี้ได้แก่ พันธุ์ Cailletier_พันธุ์ Lucques และพันธุ์ Tanche

3. โรคราดำ เป็นโรคที่เกิดขึ้นบนแผ่นใบ ทำให้ลดพื้นที่การสังเคราะห์แสงและการหายใจของใบซึ่งมีผลทำให้ผลผลิตลดลงในที่สุด นอกจากนี้ราดำยังแพร่ลุกลามไปบนกิ่งและยอดมะกอกโอลีฟด้วย โดยปกติมักแพร่ระบาดได้ดีในช่วงที่อากาศเย็นและชื้น เมื่อใดสังเกตพบราดำนี้จะเป็นสัญญาณบ่งบอกว่าเริ่มมีแมลงชนิดหนึ่งเข้ามาแล้วคือเพลี้ยดำ

ที่มา http://www.farmkaset..link..

ฉีดพ่น มาคา เพื่อป้องกันกำจัดเพลี้ย ฉีดพ่น ไอเอส เพื่อรักษา โรคราดำ และโรคราต่างๆ ใช้ FK-1 เพื่อฟื้นฟู บำรุงโอลีฟ สร้างภูมิต้านทาน และส่งเสริมผลผลิต
โรคราดำมรณะ ในอินเดียอันตรายซ้ำซ้อนช่วงวิกฤติ Covid-19
โรคราดำมรณะ ในอินเดียอันตรายซ้ำซ้อนช่วงวิกฤติ Covid-19
โรคราดำมรณะในคน (Mucormycosis) เป็นโรคที่ระบาดอย่างหนักในประเทศอินเดียช่วงวิกฤติ Covid-19 เนื่องจากเป็นเชื้อราที่สามารถลุกลามเนื้อเยื่อในร่างกายได้อย่างรวดเร็วโดยเฉพาะในร่างกายที่อ่อนแอทำให้เสี่ยงเสียชีวิตค่อนข้างสูง สามารถรักษาได้ด้วยการผ่าตัดนำเนื้อเยื่อที่ติดเชื้อออกก่อนลุกลามหนัก หรือรับยาอย่างต่อเนื่อง 2 เดือน



โรคราดำมรณะ (Mucormycosis) คืออะไร

หลายคนเรียกกันทั่วไปว่า “เชื้อราดำ (Black Fungus)” เกิดจากเชื้อราจากธรรมชาติชื่อ “Mucormycetes” พบได้ในดินหรืออินทรียวัตถุที่เกิดการเน่าเปื่อยแล้ว เช่น ซากไม้ ใบไม้ ผักผลไม้ที่เน่าแล้ว หรือปุ๋ยหมัก เป็นต้น เชื้อราชนิดนี้มีผลต่อผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอหรือร่างกายไม่แข็งแรงทำให้การกระจายของเชื้อค่อนข้างรวดเร็วจนส่งผลให้มีอัตราเสียชีวิตมากถึงประมาณ 50 % ของผู้ป่วยที่มีอาการโรคราดำมรณะในประเทศอินเดีย



ทำไมจึงเรียกว่าโรคราดำมรณะ


เนื่องจากระหว่างทำการทดลองเกี่ยวกับเชื้อราชนิดนี้พบว่ามีคุณสมบัติที่สามารถเติบโตได้อย่างรวดเร็วในอุณหภูมิร่างกายมนุษย์ หรือสิ่งแวดล้อมที่เอื้อกับการมีชีวิตอยู่อย่างอินทรียวัตถุ และด้วยเชื้อราชนิดนี้มีลักษณะเป็นสีน้ำตาลเข้มคล้ายสีดำจึงถูกเรียกว่าเชื้อราดำ

โรคราดำมรณะติดเชื้อในคนได้อย่างไร


โรคราดำมรณะจะมีผลต่อผู้ที่มีร่างกายอ่อนแอเมื่อได้รับเชื้อเข้าไป ในทางตรงกันข้ามหากร่างกายแข็งแรงดีจะสามารถป้องกันโรคร้ายนี้ได้ดีกว่า ซึ่งเชื้อรานี้สามารถเข้าสู่ร่างกายได้ด้วยวิธีดังต่อไปนี้



การทานอาหารที่มีการปนเปื้อนเชื้อรา
เข้าสู่ร่างกายผ่านการสูดหายใจ
บาดแผลบนร่างกายมีการสัมผัสกับเชื้อรา


นอกจากนี้ยังมีข้อมูลว่าการใช้สารสเตียรอยด์สามารถกระตุ้นความเสี่ยงในการเกิดโรคราดำมรณะได้ จึงอาจเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการระบาดในประเทศอินเดียช่วง Covid-19 เนื่องจากมีการใช้สเตียรอยด์เพื่อลดอาการอักเสบที่เกิดขึ้นกับปอด



อาการอันตรายเมื่อติดโรคราดำมรณะ


ตำแหน่งที่มีการพบว่าติดเชื้อมักจะอยู่บริเวณจมูกโดยเชื้อสามารถลุกลามขึ้นสู่สมองได้ หากกลุ่มผู้ที่มีปัญหาด้านภูมิต้านทาน เช่น ผู้ป่วยโรคเบาหวาน หรือผู้ที่มีเชื้อ HIV เกิดติดเชื้อโรคราดำมรณะอาจรุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ โดยอาการที่สังเกตได้มีดังนี้



ปวดศีรษะ
คัดจมูกและมีอาการเลือดออกที่จมูก
มีอาการชักเกร็ง
ตาบวมและมีอาการปวด


การรักษาโรคราดำมรณะ


หากปล่อยทิ้งไว้ผู้ป่วยโรคราดำมรณะจะสูญเสียการมองเห็นได้ และเนื่องจากเชื้อที่ลุกลามรุนแรงและพบได้มากบริเวณจมูกถึงดวงตาสามารถเข้าสู่สมองได้อย่างรวดเร็วจึงต้องรีบรักษาด้วยการผ่าตัดนำเนื้อเยื่อที่เกิดการติดเชื้อออก
รักษาด้วยการรับยาเฉพาะด้วยการฉีดสำหรับรักษาโรคราดำมรณะ โดยต้องรับยาอย่างต่อเนื่องประมาณ 8 สัปดาห์


เนื่องจากการระบาดของโรคราดำมรณะที่รุนแรงในอินเดียด้วยยอดผู้ติดเชื้อจำนวนมากจึงทำให้การรักษาไม่สามารถเข้าถึงได้ทันเวลาพอการระแวดระวังโรคร้ายชนิดนี้ไว้ก่อนจึงเป็นเรื่องสำคัญที่มองข้ามไปไม่ได้

ที่มา http://www.farmkaset..link..
โรคราน้ำค้างระบาดในแปลงผัก ผลผลิตตกต่ำ
โรคราน้ำค้างระบาดในแปลงผัก ผลผลิตตกต่ำ
จากสภาพอากาศที่หนาวเย็น อุณหภูมิเฉลี่ย 18-22 องศาเซลเซียส ทำให้ส่งผลกระทบต่อแปลงปลูกผักใน อ.วารินชำราบ เพราะเกิดการระบาดของโรคราน้ำค้าง ทำต้นคะน้าเสียหาย ขายไม่ได้ราคา

เจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรจังหวัดกล่าวว่า โรคราน้ำค้างในคะน้าจะเกิดเป็นจุดราสีขาวอมเทากระจายอยู่ทั่วใบ จากนั้นใบจะเริ่มเปลี่ยนเป็นสีเหลือง แห้งและร่วง การระบาดจะเริ่มเกิดตั้งแต่ระยะกล้าจนถึงต้นโต โดยไม่ทำให้ต้นคะน้าตาย แต่ทำให้โตช้าและไม่ได้น้ำหนัก เพราะเกษตรกรต้องตัดใบที่เกิดโรคระบาดทิ้ง ซึ่งการระบาดจะพบในพื้นที่อุณหภูมิต่ำ มีความชื้นสูง กลางวันมีอากาศร้อน

ด้านศูนย์อุตุนิยมวิทยาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จ.อุบลราชธานี ระบุอุณหภูมิในสัปดาห์นี้มีแนวโน้มลดลงอีก 1-3 องซาเซลเซียส โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ย 15-21 องศาเซลเซียส ส่วนยอดภู 8-15องศาเซลเซียส

ที่มา http://www.farmkaset..link..

ฉีดพ่น ไอเอส เพื่อป้องกัน รักษาโรคราน้ำค้าง และ ฉีดพ่น FK-1 เพื่อฟื้นฟู บำรุงผลผลิต สร้างภูมิต้านทานต่อโรคและแมลง
โรคราน้ำค้างในฟักแม้ว
โรคราน้ำค้างในฟักแม้ว
กรมวิชาการเกษตร เพื่อเกษตรกร ในช่วงที่มีอากาศหนาว มีน้ำค้างลงจัด และมีความชื้นในอากาศสูงเช่นนี้ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกฟักแม้ว (ชาโยเต้ หรือ มะระหวาน) ให้หมั่นสังเกตอาการของโรคราน้ำค้างที่สามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโต มักพบอาการของโรคบนใบที่อยู่บริเวณด้านล่างของต้นก่อน ต่อมาขยายลุกลามไปยังใบที่อยู่ด้านบน เริ่มแรกพบแผลเหลี่ยมเล็กฉ่ำน้ำตามกรอบของเส้นใบย่อย ต่อมาแผลเปลี่ยนเป็นสีเหลือง

กรณีที่ในตอนเช้ามีความชื้นสูง จะพบเส้นใยเชื้อราเป็นขุยสีขาวเทาตรงแผลใต้ใบ จากนั้น แผลจะขยายใหญ่ติดต่อกัน และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือเทาดำ หากอาการรุนแรง จะทำให้ใบเหลืองและแห้งตายทั้งต้น และต้นที่เป็นโรคจะติดผลน้อย ผลมีขนาดเล็ก คุณภาพของผลจะลดลง กรณีเป็นโรคในระยะผลอ่อน จะทำให้ผลลีบเล็ก และบิดเบี้ยว

สำหรับพื้นที่ที่พบอาการของโรคราน้ำค้าง เกษตรกรควรหมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ และตัดแต่งใบที่อยู่ด้านล่างของต้นออกบางส่วน เพื่อให้แปลงปลูกมีอากาศถ่ายเทสะดวก ลดการสะสมเชื้อราสาเหตุโรค และทำลายแหล่งอาศัยของด้วงเต่าแตง อีกทั้งควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียนที่ไม่ใช่พืชตระกูลแตง

ภายหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว ให้เกษตรกรเก็บเศษซากพืชส่วนที่เหลือนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที และให้เลือกใช้ผลหรือกิ่งพันธุ์คุณภาพดีจากแหล่งปลอดโรค หลีกเลี่ยงการปลูกพืชแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความชื้นสูง อากาศไม่ถ่ายเท และโรคระบาดได้รวดเร็ว ส่วนแปลงที่เป็นโรค ควรงดการให้น้ำในช่วงเย็น กรณีพบด้วงเต่าแตงที่เป็นพาหนะเชื้อราสาเหตุโรค

ที่มา http://www.farmkaset..link..

ฉีดพ่น ไอเอส เพื่อป้องกัน รักษาโรคราน้ำค้าในฟักแม้ว ฉีดพ่น FK-1 เพื่อฟื้นฟู บำรุงฟักแม้ว เสริมสร้างภูมิต้านทานต่อโรคและแมลง ส่งเสริมการเจริญเติบโต และเพิ่มผลผลิต
รับมือ โรคราน้ำค้างในข้าวโพด
รับมือ โรคราน้ำค้างในข้าวโพด
ในระยะนี้จะมีอากาศร้อนและมีฟ้าหลัวตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดให้หมั่นสังเกตอาการของโรคราน้ำค้าง มักพบแสดงอาการในระยะที่เริ่มเพาะปลูกจนถึงระยะที่ต้นข้าวโพดมีอายุประมาณ 30 วัน ซึ่งในระยะนี้ต้นข้าวโพดจะอ่อนแอต่อโรคนี้มาก โดยอาการของโรคจะพบได้ตั้งแต่ข้าวโพดเริ่มงอก เริ่มแรกจะพบจุดเล็กสีเขียวฉ่ำน้ำบนใบอ่อน ต่อมาใบข้าวโพดบริเวณยอดมีสีเหลืองซีด หรือใบลายเป็นทางสีเขียวอ่อนสลับเขียวแก่ ในเวลาเช้าที่มีอากาศค่อนข้างเย็นและมีความชื้นสูง ด้านใต้ใบมักพบส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราเป็นผงสีขาวจำนวนมาก บางครั้งพบยอดข้าวโพดแตกเป็นพุ่ม ต้นแคระแกร็น เตี้ย ข้อถี่ ไม่มีฝักหรือมีฝักขนาดเล็ก ก้านฝักมีความยาวมากหรือมีจำนวนฝักมากกว่าปกติ แต่ฝักจะไม่สมบูรณ์ เช่น มีจำนวนเมล็ดน้อย หรือไม่มีเมล็ดเลย

กรณีเริ่มพบการระบาดของโรค ให้เกษตรกรถอนต้นกล้าข้าวโพดที่แสดงลักษณะอาการของโรคไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที เนื่องจากเชื้อสาเหตุโรค สามารถเข้าทำลายต้นข้าวโพดได้ตั้งแต่ในระยะที่ข้าวโพดเริ่มงอก ซึ่งการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชหลังจากต้นข้าวโพดอายุ 20 วันขึ้นไป จะไม่สามารถป้องกันกำจัดโรคนี้ได้ สำหรับพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน ในส่วนของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีพื้นที่ปลูกเป็นบริเวณกว้าง ให้เน้นการป้องกันกำจัดโดยใช้วิธีการคลุกเมล็ดพันธุ์

ที่มา http://www.farmkaset..link..

ฉีดพ่น ไอเอส เพื่อป้องกัน รักษาโรคราน้ำค้างในข้าวโพด ฉีดพ่น FK-1 เพื่อฟื้นฟูข้าวโพด บำรุง เสริมสร้างภูมิต้านทานโรคราน้ำค้าง รวมถึงส่งเสริมการเจริญเติบโต ตลอดจนเพิ่มผลผลิต
1006 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 100 หน้า, หน้าที่ 101 มี 6 รายการ
|-Page 85 of 101-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
โมลิบดินัม (Mo) หากขาดธาตุนี้ พืชคล้ายจะถูกจำกัดการเจริญเติบโต
Update: 2565/07/28 07:17:02 - Views: 3575
เยี่ยมไร่อ้อยของท่านนายกสมาคมชาวไร่อ้อยมุกดาหาร
Update: 2553/02/20 10:47:38 - Views: 3424
โรคราแป้ง ราน้ำค้าง โรคใบไหม้ เกิดได้กับหลายพืช เร่งควบคุม ป้องกัน กำจัด ลดความเสียหายต่อพืช
Update: 2566/11/04 09:41:04 - Views: 8821
การผสมสารอินทรีย์ป้องกันกำจัดเพลี้ย และปุ๋ยเพื่อการควบคุมเพลี้ยอย่างมีประสิทธิภาพและการบำรุงพืชในการปลูก เสาวรส
Update: 2565/12/21 08:44:39 - Views: 3424
โรคยางพาราใบไหม้ ใบจุด ไฟท็อปโธร่า โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส1 หยุดโรค + FK-1 ฟื้นฟู บำรุง สร้างภูมิคุ้มกันโรค 1ชุด ใช้ได้ 5ไร่
Update: 2564/08/28 04:19:59 - Views: 3454
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยอ่อน ในหัวไชเท้า และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/20 13:51:46 - Views: 3452
การป้องกันและกำจัดโรคเชื้อราในต้นมะละกออย่างมีประสิทธิผล
Update: 2566/05/06 09:34:07 - Views: 3450
กำจัดเชื้อรา ดอกลิลลี่ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/09/24 11:28:16 - Views: 3389
บล็อคโคลี่ ใบไหม้ ราน้ำค้าง กำจัดเชื้อรา ในบล็อคโคลี่ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK สวน ปุ๋ย ศัตรูพืช
Update: 2565/11/12 09:22:51 - Views: 3415
มะละกอ ใบไหม้ ใบจุด โรคแอนแทรคโนส รากเน่า ราแป้ง โรคราต่างๆ ป้องกันกำจัดด้วย ไอเอส และเร่งฟื้นฟู ด้วย ปุ๋ย FK-T
Update: 2567/04/20 14:37:26 - Views: 3551
ปลูกองุ่น ใช้ ฮิวมิคFK แต่ละช่วงอายุ
Update: 2567/11/04 16:41:52 - Views: 32
การใช้ INVET ผสมปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 30-20-5 ฉีดพ่นป้องกันและกำจัดเพลี้ยไฟ ศัตรูพืชสำหรับต้นพริก
Update: 2567/02/23 10:40:45 - Views: 3532
โรคเชื้อราในกัญชา: คู่มือเบื้องต้นการป้องกันและการรักษาโรคกัญชาจากเชื้อราต่างๆ
Update: 2566/05/02 07:44:19 - Views: 3519
การเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง ระยะเวลาการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง
Update: 2563/06/12 10:28:31 - Views: 3554
การต่อสู้กับโรคใบไหม้ในมะละกอ
Update: 2566/05/17 10:51:31 - Views: 3430
ปุ๋ยน้ำ FK-3 ชุดเพิ่มผลผลิต โปแตสเซียมสูง สำหรับพืชออกผล ผลใหญ่ แข็งแรง มีน้ำหนัก ผลผลิตดี โดย FK ขนาด 2 กิโลกรัม
Update: 2566/06/26 12:40:11 - Views: 3394
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคใบไหม้ ในกล้วย ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง 100%
Update: 2565/12/20 12:01:18 - Views: 3543
โรคราแป้งองุ่น
Update: 2564/08/22 21:08:23 - Views: 3607
หนอนปลอกข้าว (rice caseworm)
Update: 2564/08/14 05:17:23 - Views: 3704
ป้องกันกำจัดโรคส้มโอ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา เช่น ใบไหม้ กิ่งแห้ง ยอดไหม้ ผลเน่า ราสนิม
Update: 2566/01/23 11:49:02 - Views: 3482
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022