[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - เพิ่มผลผลิต
907 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 90 หน้า, หน้าที่ 91 มี 7 รายการ

ยาแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง ปุ๋ยเร่งโตมันสำปะหลัง และปุ๋ยระเบิดหัวมันสำปะหลัง ครบเซ็ต
ยาแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง ปุ๋ยเร่งโตมันสำปะหลัง และปุ๋ยระเบิดหัวมันสำปะหลัง ครบเซ็ต
ยาแช่ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง กู๊ดโซค เร่งราก ป้องกันโรค สะสมอาหารในท่อนพันธุ์ เพื่อใช้ในระยะงอก

ฉีดพ่นด้วย FK-1 เมื่อมันสำปะหลังเริ่มแตกยอดใบหลังปลูก ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต แตกกิ่ง ขยายทรงพุ่ม ใน FK-1 ประกอบด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่จำเป็นต่อความเจริญเติบโต และการเสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรง ให้กับต้นมันสำปะหลัง

เพิ่มขนาดหัวมันสำปะหลัง เพิ่มผลผลิต เพิ่มเปอร์เซ็นแป้ง ฉีดพ่น FK-3C เมื่อมันสำปะหลังมีอายุมากกว่า 3 เดือนขึ้นไป หรือสังเกตุว่าเริ่มลงหัวแล้ว FK-3C เน้นโพแตสเซียมเป็นพิเศษ จะช่วยส่งเสริมกระบวนการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาล เพื่อสะสมเป็นหัวมันสำปะหลัง ทำให้ หัวโต แน่น น้ำหนักดี เปอร์เซ็นต์แป้งสูง
ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบสำหรับอ้อย
ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบสำหรับอ้อย
ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบสำหรับอ้อย
การให้ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ หรือปุ๋ยน้ำสำหรับอ้อยนั้น เป็นการส่งเสริมการเจริญเติบโต และเพิ่มผลผลิตให้กับอ้อยได้อย่างมีประสิทธิผล อีกวิธีหนึ่ง

การฉีดพ่นปุ๋ยทางใบให้กับอ้อย เป็นอาหารทางใบ ที่ทำให้ต้นอ้อย ดูดซึม นำธาตุอาหารที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ ในการเสริมสร้างการเจริญเติบโต และเพิ่มความหวาน หรือค่า CCS ได้

อ้อย ในแต่ละช่วงอายุ ต้องการธาตุอาหารหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่มีสัดส่วนต่างกัน ในแต่ละระยะของการเติบโต หากเราให้ธาตุอาหาร ตรงกับความต้องการเหมาะสมกับช่วงอายุ อ้อยจะโตเร็ว และสามารถเพิ่มผลผลิตได้เป็นอย่างดี

อ้อย ระยะ 1-4 เดือน ทั้งอ้อยปลูก และ อ้อยตอ ฉีดพ่น FK-1 ที่ประกอบไปด้วย ธาตุอาหารพืชโดยตรง มีสัดส่วน ธาตุหลัก ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแตสเซียม (K) ที่เสมอกัน และประกอบด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม เช่น แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) สังกะสี (Zn) สารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ที่สำคัญต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตให้กับอ้อย

อ้อยที่มีอายุ 5เดือนขึ้นไป เป็นระยะสะสมอาหาร เพิ่มค่าความหวาน หรือค่า CCS ซึ่งในระยะนี้ อ้อยจะต้องการธาตุอาหาร โพแตสเซียม (K) สูงกว่าธาตุหลักอื่นๆ

ฉีดพ่น FK-3S สำหรับอ้อย ที่มีอายุ 5เดือนขึ้นไป เพื่อเพิ่มน้ำหนัก เพิ่มค่าความหวาน หรือ ค่า CCS เพิ่มผลผลิตอ้อย

สั่งซื้อสินค้าจากเรา หรือ ลาซาด้า หรือ ช้อปปี้ คลิก http://www.farmkaset..link..
ข้าววัชพืช ป้องกัน กำจัด ลดปริมาณ เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว
ข้าววัชพืช ป้องกัน กำจัด ลดปริมาณ เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว
ข้าววัชพืช ป้องกัน กำจัด ลดปริมาณ เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว
1. ข้าววัชพืช คืออะไร ต่างกับข้าวทั่วไปอย่างไร

ข้าวที่ชาวนาใช้ปลูกทั่วไป มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oryza sativa L. ใช้ปลูกในประเทศไทยมากกว่า 100 พันธุ์ เรียกในที่นี้ว่าข้าวปลูก เป็นพันธุ์ข้าวที่ถูกคัดเลือกให้มีลักษณะที่ต้องการเช่นผลผลิตสูง ข้าวสารมีสีขาว ใส คุณภาพหุงต้มนุ่มและหอม ไปจนถึงร่วนแข็ง ต้านทานต่อโรคหรือแมลงที่สำคัญ ข้าวพันธุ์หนึ่งจะมีลักษณะทางการเกษตรต่างๆ เหมือนกันและคงตัว คือในพันธุ์เดียวกันจะมีลักษณะ สีใบ ทรงกอ ความสูง การออกรวง สีเปลือก สีข้าวกล้อง เหมือนกันและคงตัว และทุกพันธุ์จะมีลักษณะสำคัญคือเมล็ดจะสุกแก่ใกล้เคียงกันคือหลังบานดอกแล้วประมาณ 28-30 วัน พร้อมที่จะถูกเก็บเกี่ยวและถูกนวดให้หลุดจากรวง คือจะไม่สุกแก่ก่อนเวลาไม่หลุดร่วงเองได้ง่ายๆ และข้าวเปลือกจะไม่มีหางหรือถ้ามีก็จะสั้นมาก

ข้าวป่าเป็นบรรพบุรุษของข้าวที่ใช้ปลูกในปัจจุบัน เป็นข้าวอีกชนิดหนึ่งที่มีตามธรรมชาติทั้งในที่ลุ่มลึกและบนที่ดอน ข้าวป่ามีหลายชนิดและที่มีความสำคัญและคาดว่าจะเป็นเชื้อพันธุ์ของข้าววัชพืชมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Oryza rufipogon Griff. ข้าวป่าแม้จะสามารถแบ่งเป็นหลายชนิด ในแต่ละชนิดจะมีหลายลักษณะ แต่มีลักษณะสำคัญหลายประการที่มีในข้าวป่าทุกชนิดคือ เมล็ดในรวงเดียวกันสุกแก่ไม่พร้อมกันตั้งแต่ 9-30 วัน เมื่อสุกแก่ก็จะหลุดร่วงได้เอง เมล็ดมีระยะพักตัวหลากหลายตั้งแต่ไม่มีระยะพักตัวไปจนถึงระยะพักตัวหลายปี เมล็ดข้าวเปลือกและข้าวกล้องของข้าวป่าจะมีหลากหลายสี เมล็ดอาจมีหางยาวมากกว่า 10 เท่าตัวของเมล็ด และมีหลายสี

“ข้าววัชพืช” มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า weedy rice เป็นวัชพืชชนิดหนึ่งที่กำลังระบาดอย่างรุนแรงในนาภาคกลางจนถึงภาคเหนือตอนล่าง มีลักษณะเหมือนต้นข้าวจนแยกไม่ออกในระยะกล้า มีชื่อเรียกต่างๆกันไปในแต่ละท้องถิ่นตามลักษณะของข้าววัชพืชที่ปรากฏเช่น ข้าวหาง เนื่องเมล็ดมีหางยาว ข้าวดีด ข้าวเด้ง เนื่องจากเมื่อเมล็ดแก่ และถูกลมพัดหรือคนไปสัมผัส เมล็ดจะร่วง ข้าวลาย เนื่องเมล็ดมีเปลือกลาย ข้าวแดง เนื่องจากเมื่อแกะเมล็ดจะพบว่าเมล็ดข้าวกล้องมีสีแดง ดาวกระจาย เนื่องจากลักษณะรวงจะกางออกและเมื่อเมล็ดแก่จะร่วงและกระจายไปรอบๆ เป็นต้น เคยระบาดในประเทศไทยที่จังหวัดสงขลา นครศรีธรรมราช ปราจีนบุรี และพิษณุโลกในปี 2518 ความเสียหายที่จังหวัดปราจีนบุรี ทำให้ผลผลิตลดลงมากกว่า 80% แต่ก็มีการจัดการได้ซึ่งสมัยนั้นโดยการเผาฟาง เปลี่ยนเมล็ดพันธุ์ การเขตกรรมโดยการไถล่อข้าววัชพืชหลายครั้ง เนื่องจากชาวนายังทำนาปีละ 1 ครั้งเท่านั้น และพบการระบาดรุนแรงอีกครั้งเมื่อปี 2544 ที่จังหวัดกาญจนบุรี จนถึงปัจจุบัน ข้าววัชพืชขยายวงกว้างของการระบาดออกไปเรื่อย ๆ จากการสำรวจข้อมูลการระบาดของข้าววัชพืชในฤดูนาปี 2550 พบการระบาดในพื้นที่นาของประเทศไทยถึง 19.2 ล้านไร่

2. ข้าววัชพืชเกิดขึ้นได้อย่างไร

จากการศึกษาของหลายหน่วยงานพบว่า ข้าววัชพืชเกิดจากการผสมข้ามระหว่างข้าวป่าธรรมชาติ
(O. rufipogon L.) กับข้าวปลูก และมีการกระจายตัวของลูกหลานออกเป็นหลายลักษณะ โดยอัตราการผสมข้ามระหว่างข้าวปลูกกับข้าวป่า และระหว่างข้าวปลูกกับข้าววัชพืช ลูกผสมที่กระจายตัวและเจริญแพร่พันธุ์ในแปลงปลูกมีลักษณะส่วนใหญ่ไม่เป็นที่ต้องการของชาวนา

3. การจำแนกข้าววัชพืช
สามารถจำแนกตามลักษณะภายนอกของข้าววัชพืชได้เป็น 3 ลักษณะ ดังนี้

ข้าวหางหรือข้าวนก
คือข้าววัชพืชที่มีลักษณะเมล็ดข้าวเปลือกสีดำหรือสึน้ำตาลเข้ม มีหางยาว หางอาจจะมีสีแดงหรือขาวในระยะข้าวยังสด เมล็ดร่วงก่อนเก็บเกี่ยว สีของเยื่อหุ้มเมล็ดมีทั้งแดงไปจนถึงขาว

ข้าวแดงหรือข้าวลาย
คือข้าววัชพืชที่มีลักษณะสีข้าวเปลือกมักมีสีเข้มไปจนถึงลายสีน้ำตาลแดง เมล็ดข้าวเปลือกส่วนใหญ่ไม่มีหาง เมล็ดมีทั้งร่วงและไม่ร่วงก่อนเก็บเกี่ยว แต่สีของเยื่อหุ้มเมล็ดส่วนใหญ่มีสีแดง

ข้าวดีดหรือข้าวเด้ง
คือข้าววัชพืชที่มีลักษณะร่วงง่ายและร่วงเร็วโดยทยอยร่วงตั้งแต่หลังบานดอก 9 วันเป็นต้นไป เมล็ดข้าวเปลือกส่วนใหญ่มีหางสั้นหรือไม่มีหาง ข้าวเปลือกส่วนใหญ่มีสีเหลืองฟาง สีของเยื่อหุ้มเมล็ดมีทั้งแดงและขาว

4. สาเหตุการแพร่ระบาดของข้าววัชพืช
การแพร่ระบาดของข้าววัชพืช มาจากสาเหตุ 5 ประการ คือ

4.1 ติดมากับเมล็ดพันธุ์ข้าวเนื่องจากเกษตรกรใช้พันธุ์ข้าวจากแหล่งไม่มีคุณภาพ ในรอบ 1 ปี ชาวนามีความต้องการเมล็ดพันธุ์ข้าวประมาณกว่า 1 ล้านตัน แต่หน่วยงานภาครัฐและหน่วยงานที่เชื่อถือได้ ผลิตเมล็ดพันธุ์คุณภาพดี ได้มาตรฐานได้ไม่เกิน 15 % ของความต้องการของชาวนาเท่านั้น อีก 85 % ชาวนาจำเป็นต้องเสี่ยงในการหาซื้อเมล็ดพันธุ์เองตามร้านค้าและแหล่งผลิตเอกชน ซึ่งอาจจะไม่ได้มาตรฐานและมีเมล็ดข้าววัชพืชติดมาด้วย

4.2 ติดมากับอุปกรณ์ในการทำนา เครื่องมือเตรียมดิน_ เก็บเกี่ยวหรือภาชนะบรรจุข้าว โดยเฉพาะรถเกี่ยวนวดข้าว เมื่อไปเกี่ยวข้าวในแปลงที่มีการระบาดของข้าววัชพืชรุนแรง เมล็ดข้าวที่ติดมากับรถเกี่ยวนวด มีจำนวนประมาณ 2-5 ถัง ซึ่งมีโอกาสที่เมล็ดข้าววัชพืชติดมาด้วย และมาร่วงหล่นในนาแปลงใหม่ที่รถเกี่ยวนวดข้าวลงทำงาน

4.3 ติดมากับปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยชีวภาพ ที่ผลิตจากวัสดุที่ได้มาจากนาข้าว เช่น ฟาง แกลบ ขี้เถ้าแกลบ หน้าดินผสมจากท้องนา ซึ่งเมล็ดข้าววัชพืชมีคุณสมบัติอยู่ได้นานในสภาพต่าง ๆ

4.4 การแพร่ไปกับน้ำ ในระบบชลประทาน (ข้าวหาง ข้าวครึ่งเมล็ด) ลอยไปกับน้ำลงสู่แปลงนาได้

4.5 ติดไปกับอาหารเสริมของเป็ดที่ปล่อยในนาข้าว ส่วนใหญ่เป็นข้าวเปลือกที่มีราคาถูก มีสิ่งเจือปน

5. ลักษณะของข้าววัชพืชที่ทำให้เป็นปัญหาร้ายแรง
ดังได้กล่าวมาแล้วว่าข้าววัชพืชมีลักษณะต่างๆที่คล้ายหรือแตกต่างกับข้าวปลูกอย่างไรบ้าง แต่ลักษณะสำคัญที่ทำให้ข้าววัชพืชเป็นวัชพืชร้ายแรง ดังนี้

5.1 ข้าววัชพืชมีการเจริญเติบโตรวดเร็ว มีความสามารถในการแข่งขันได้ดีกว่าข้าวปลูก ข้าววัชพืชอาจมีความสูงมากกว่าข้าว จึงมีความสามารถในการแก่งแย่งธาตุอาหารและแสงแดดมากกว่าข้าว ข้าววัชพืชที่ต้นสูงจะล้มทับข้าวในระยะออกรวงทำให้ต้นข้าวปลูกเสียหาย

5.2 ข้าววัชพืชบางชนิดออกดอกเร็วกว่าข้าวปลูกและเมล็ดส่วนใหญ่ร่วงก่อน จึงไม่ถูกเก็บเกี่ยวไปพร้อมกับข้าวปลูก ทำให้มีเมล็ดสะสมอยู่ในแปลงนา ซึ่งจะเพิ่มความหนาแน่นมากขึ้นในฤดูต่อไป

5.3 เมล็ดข้าววัชพืชที่ร่วงสะสมอยู่ในนามีระยะพักตัวหลากหลาย จึงไม่ได้งอกพร้อมกันทั้งหมด ทำให้ยากต่อการกำจัด

5.4 เมล็ดส่วนใหญ่ร่วงก่อนเก็บเกี่ยว จึงไม่ถูกเก็บเกี่ยวไปพร้อมกับข้าวปลูก ทำให้ผลผลิตข้าวลดลงได้ถึง 100 เปอร์เซ็นต์

5.5 เมล็ดข้าววัชพืชที่มีเยื่อหุ้มเมล็ดสีแดงปะปนไปกับผลผลิตข้าว ทำให้ถูกตัดราคา

6. การป้องกันปัญหาข้าววัชพืช
แม้ว่าข้าววัชพืชจะเกิดจากการผสมข้ามระหว่างข้าวปลูกกับข้าวป่าก็ตาม แต่ก็ไม่ได้เกิดขึ้นได้โดยง่าย ดังนั้นการป้องกันเมล็ดข้าววัชพืชจากแหล่งที่มีการระบาดแล้วไม่ให้เล็ดลอดเข้ามาในแปลงนาที่ยังไม่มีการปลอมปน และเพื่อไม่ให้เผชิญกับปัญหาข้าววัชพืช ดังนั้นชาวนาสามารถทำการป้องกันปัญหาข้าววัชพืชได้โดย

6.1 การเลือกใช้เมล็ดพันธุ์มาตรฐานไม่มีข้าววัชพืชปลอมปน

6.2 ทำความสะอาดเครื่องจักรกลเกษตรก่อนการทำงานในแปลงทุกครั้ง

6.3 การใช้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยชีวภาพ ที่ไม่นำวัสดุจากนาข้าวมาผลิต หรือต้องมั่นใจว่าไม่มีข้าววัชพืชปนมา

6.4 น้ำชลประทานที่ผ่านท้องที่ที่มีการระบาดของข้าววัชพืช อาจมีเมล็ดข้าววัชพืชลอยมากับน้ำได้ การใช้ตาข่ายกั้นทางน้ำก็จะป้องกันข้าววัชพืชได้

7. การกำจัดข้าววัชพืชโดยวิธีเขตกรรม
การผสมผสานหลายวิธีการในทุกขั้นตอนของการทำนาดังต่อไปนี้ จะช่วยแก้ปัญหาข้าววัชพืชได้ไม่ต้องพึ่งพาสารกำจัดวัชพืชหรือสารเคมีใดๆ

7.1 การกำจัดเมล็ดข้าววัชพืชโดยล่อให้งอกแล้วไถกลบ
การเตรียมดินโดยการไถ พรวน หรือคราดทำเทือก ควรเว้นช่วง 2-4 สัปดาห์ เพื่อเว้นระยะเวลาให้เมล็ดข้าววัชพืชที่ยังเหลืออยู่ในดินได้มีโอกาสพ้นระยะพักตัวมากขึ้น โดยการมีขั้นตอนดังนี้ ปล่อยให้แปลงแห้งก่อนการเก็บเกี่ยวข้าวประมาณ 10 วัน หลังเก็บเกี่ยวข้าวแล้วปล่อยให้แห้งต่ออีก อย่างน้อย 1 สัปดาห์ แล้วเอาน้ำเข้าแปลงพอชื้น เพื่อให้เมล็ดข้าววัชพืชงอก ไถกลบ ปล่อยแปลงในสภาพชื้นต่ออีก 1-2 สัปดาห์ เพื่อให้เมล็ดข้าววัชพืชที่หลงเหลืออยู่งอกขึ้นมาอีก แล้วไถทิ้ง การล่อให้งอกแล้วไถกลบทำลายในแต่ละครั้งสามารถลดปริมาณข้าววัชพืชลงได้มากกว่า 50 %

7.2 เปลี่ยนวิธีการปลูกข้าว

7.2.1 วิธีปักดำ
การปักดำด้วยมือ ใช้เครื่องจักรตกกล้าปักดำ หลังปลูกให้ขังน้ำทันทีระดับน้ำลึก 3-5 ซม. จะป้องกันการงอกข้าววัชพืชได้ แต่ชาวนาต้องใช้เมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์ และตกกล้าในแปลงนาที่ไม่มีข้าววัชพืชอยู่ก่อน อย่างไรก็ตามแม้จะใช้วิธีปักดำและการขังน้ำอย่างมีประสิทธิภาพก็อาจยังมีข้าววัชพืชงอกและเจริญเติบโตขึ้นมาได้ ทั้งนี้ข้าววัชพืชที่เจริญเติบโตขึ้นมาได้นี้จะอยู่นอกแถวหรือนอกกอของการปักดำ ชาวนาจึงพบเห็นข้าววัชพืชได้สะดวกตั้งแต่ในระยะแรก และสามารถถอนกำจัดเสียแต่ต้น

7.2.2 การปลูกข้าวด้วยวิธีโยนกล้า
ปลูกข้าวด้วยวิธีโยนกล้า เป็นการเพาะข้าวจำนวน 3-4 เมล็ดต่อหลุมลงในถาดพลาสติก มีหลุมขนาดเล็ก แต่ละหลุมบรรจุดินประมาณ 2.5 กรัม โดยใช้เมล็ดพันธุ์บริสุทธิ์เพียง 3-4 กิโลกรัม เพาะลงในถาดจำนวน 50-60 ถาด นำไปโยนได้ 1 ไร่ อายุต้นกล้าที่เหมาะสม 12-16 วัน หลังโยนกล้า 1-2 วัน ให้ขังน้ำและเพิ่มระดับน้ำ 5-10 ซม. จะป้องกันการงอกของข้าววัชพืชได้ดี แต่เกษตรกรจะต้องเตรียมแปลงให้สม่ำเสมอ และข้อสำคัญอย่าให้นาขาดน้ำ

7.3 การตรวจตัดข้าววัชพืช
การตรวจตัดข้าววัชพืชเป็นการลดปัญหาไม่ให้ข้าววัชพืชผลิตเมล็ดสะสมในแปลงนาเพิ่มขึ้น ในระยะแตกกอเริ่มเห็นความแตกต่างค่อนข้างชัดเจน โดยจะสังเกตเห็นข้าววัชพืชส่วนใหญ่มีความสูงมากกว่า ลำต้นและใบมีสอ่อนกว่าข้าวปลูก ระยะนี้ต้องใช้วิธีถอนต้นข้าววัชพืชทิ้ง พอถึงระยะออกดอกจะเห็นความแตกต่างชัดเจนมากยิ่งขึ้น โดยข้าววัชพืชส่วนใหญ่จะออกดอกก่อนข้าวปลูก ระยะนี้ต้องใช้วิธีตัดชิดโคนต้นข้าววัชพืช แล้วนำไปทิ้งนอกแปลง เนื่องจากข้าววัชพืชงอกไม่พร้อมกันจึงแสดงให้เห็นความแตกต่างระหว่างข้าวปลูกกับข้าววัชพืชไม่พร้อมกัน ดังนั้นจึงควรมี

7.4 การเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่ง
การเลี้ยงเป็ดไล่ทุ่งสามารถลดปริมาณเมล็ดข้าววัชพืชที่หลุดร่วงอยู่บนผิวดินได้ โดยเป็ด 200 ตัว/ไร่ ปล่อยไว้เป็นเวลา 2 วัน สามารถลดความหนาแน่นข้าววัชพืชได้ถึง 50 %

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
สินค้าจากเรา

ชุดย่อยสลายฟางข้าว ชุดย่อยสลายตอฟาง ย่อยสลายใน 7วัน ไม่ต้องเผา

ลดข้าวดีดมากกว่า 70% รวดเร็วในการย่อยสลายตอซังฟางข้าว ภายใน 5-7 วัน โดยไม่ต้องเผา ปรับสภาพดินในนาข้าว สามารถไถพรวนได้ง่าย เพิ่มจุลธาตุอาหารให้แก่นาข้าวหลังการเก็บเกี่ยว สามารถลดปัญหาข้าวดีด และข้าววัชพืชอื่น ๆ ในนาข้าวได้

#ย่อยสลายฟางข้าว #ย่อยสลายตอฟาง #ย่อยสลายตอซัง

🔤ทักแชทได้เลยค่ะ

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกลิงค์เพื่อแอดไลน์ http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อ ชุดย่อยสลายตอฟาง กับ Lazada : http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อ ชุดย่อยสลายตอฟาง กับ Shopee : http://www.farmkaset..link..
ตอซัง ฟางข้าว มีประโยชน์ ช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวในฤดูการปลูกถัดไปได้เป็นอย่างมาก
ตอซัง ฟางข้าว มีประโยชน์ ช่วยเพิ่มผลผลิตข้าวในฤดูการปลูกถัดไปได้เป็นอย่างมาก
ตอซังมีประโยชน์ หลังเก็บเกี่ยว ทิ้งฟางข้าว และตอซังไว้ เพื่อคลุมหน้าดิน เมื่อเข้าสู่ต้นฤดูฝน ทำการไถกลบตอซัง และฟางข้าว จากนั้นฉีดพ่น ไอซี-คิท 2 เพื่อทำการย่อยสลายตอซังฟางข้าว ย่อยสลายได้ใน 7 วัน คืนธาตุอาหารพืช กลับสู่ดินได้มาก ลดข้าวดีด ลดข้าวปน ข้าวหาง ข้าวนก ได้กว่า 70%

🎗ซื้อ ชุดย่อยสลายตอฟาง กับ Lazada : http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อ ชุดย่อยสลายตอฟาง กับ Shopee : http://www.farmkaset..link..
การไถกลบตอซัง เพื่อปรับปรุงดินและเพิ่มผลผลิตข้าว
การไถกลบตอซัง เพื่อปรับปรุงดินและเพิ่มผลผลิตข้าว
การไถกลบตอซัง หมายถึง การไถกลบตอซังข้าวหรือพืชไร่ที่มีอยู่ในไร่นาภายหลังจากการเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้วลงไปในดินระหว่างการเตรียมพื้นที่เพาะปลูกขณะที่ดินมีความชื้น และปล่อยทิ้งไว้ช่วงระยะเวลาหนึ่ง เพื่อให้เกิดกระบวนการย่อยสลายในดินซึ่งจะกลายเป็นแหล่งของอินทรียวัตถุและธาตุอาหารพืช แล้วจึงปลูกพืชหลักตามที่ต้องการต่อไป

ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวประมาณ 65 ล้านไร่ หรือประมาณร้อยละ20 ของพื้นที่ทั้งประเทศ ได้ผลผลิตข้าว 24 ล้านตัน มีฟางข้าวเฉลี่ยประมาณปีละ 25.45 ล้านตัน และมีปริมาณตอซังข้าวที่ตกค้างอยู่ในนาข้าว 16.9 ล้านตันต่อปี ดังนั้นจึงนับได้ว่ามีปริมาณฟางข้าวและตอซังข้าวมากที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับตอซังพืชชนิดอื่น โดยมีปริมาณฟางข้าวและตอซังมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือจำนวน 13.7 และ 9.1 ล้านตันต่อปี รองลงมาคือภาคกลางและภาคตะวันออกมีจำนวนฟางข้าวและตอซัง 6.2 และ 4.1 ล้านตันต่อปี และในพื้นที่ปลูกข้าว 1 ไร่ มีปริมาณฟางข้าวและตอซัง โดยเฉลี่ยปีละ 650 กิโลกรัม

ตอซังข้าวหรือฟางข้าวเป็นวัสดุที่ย่อยสลายง่าย มีค่าอัตราส่วนคาร์บอนต่อไนโตรเจนเฉลี่ย 99:1 มีปริมาณธาตุอาหารหลักของพืชได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแทสเซียมเฉลี่ย 0.51 0.14 และ 1.55 เปอร์เซ็นต์ มีปริมาณธาตุอาหารรองของพืชได้แก่ แคลเซียม แมกนีเซียม และซัลเฟอร์เฉลี่ย 0.47 0.25 และ 0.17 เปอร์เซ็นต์

ประโยชน์จากการไถกลบตอซังข้าว

1. ปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน

1.1 ทำให้ดินโปร่ง ร่วนซุย ง่ายต่อการเตรียมดิน การปักดำกล้า และทำให้ระบบรากพืชสามารถแพร่กระจายในดินได้มากขึ้น

1.2 การระบายอากาศของดินเพิ่มมากขึ้น

1.3 เพิ่มการซึมผ่านของน้ำ และการอุ้มน้ำของดินให้ดีขึ้น

2. ปรับปรุงสมบัติทางเคมีของดิน

2.1 เป็นการเพิ่มธาตุอาหารให้แก่ดินโดยตรง ถึงแม้ปริมาณธาตุอาหารจะไม่มากเมื่อเปรียบเทียบกับปุ๋ยเคมี แต่จะมีธาตุอาหารครบถ้วนตามที่พืชต้องการทั้งธาตุอาหารหลัก (ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแทสเซียม) ธาตุอาหารรอง (แคลเซียม แมกนีเซียม และกำมะถัน) และจุลธาตุ (เหล็ก แมงกานีส ทองแดง สังกะสี โบรอน โมลิบดินัม และคลอรีน) และจะค่อยๆปลดปล่อยให้เป็นประโยชน์ต่อพืชในระยะยาว

2.2 ช่วยดูดยึดธาตุอาหารจากการใส่ปุ๋ยเคมีไม่ให้สูญเสียไปจากดินซึ่งพืชสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ เป็นการเพิ่มประสิทธิภาพ และลดปริมาณการใช้ปุ๋ยเคมี

2.3 ช่วยเพิ่มความต้านทานการเปลี่ยนแปลงความเป็นกรดเป็นด่างของดินทำให้การเปลี่ยนแปลงไม่รวดเร็วจนเป็นอันตรายต่อพืช

2.4 ช่วยลดความเป็นพิษของเหล็กและแมงกานีสในดิน

2.5 ช่วยลดความเป็นพิษจากดินเค็ม

3. ปรับปรุงสมบัติทางชีวภาพของดิน

3.1 อินทรียวัตถุเป็นแหล่งอาหารและแหล่งพลังงานของจุลินทรีย์ดินมีผลทำให้ปริมาณและกิจกรรมของจุลินทรีย์เพิ่มขึ้น โดยเฉพาะกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงธาตุอาหารในดินให้อยู่ในรูปที่เป็นประโยชน์ต่อพืช

3.2 การเพิ่มปริมาณหรือจำนวนของจุลินทรีย์ดินมีผลช่วยลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรคพืชบางชนิดในดินลดน้อยลง

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อ ชุดย่อยสลายตอฟาง กับ Lazada : http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อ ชุดย่อยสลายตอฟาง กับ Shopee : http://www.farmkaset..link..
ฟางข้าว และตอซัง คือทองคำในผืนนา ไถกลบ ย่อยตอฟาง เพิ่มผลผลิตได้เป็นอย่างดี
ฟางข้าว และตอซัง คือทองคำในผืนนา ไถกลบ ย่อยตอฟาง เพิ่มผลผลิตได้เป็นอย่างดี
เมื่อเกี่ยวข้าวเสร็จก็ทำการไถกลบฟางข้าว และตอซัง โดยไม่เผา เพราะการเผาฟาง คือการเผาทองคำในดิน เนื่องจากเมื่อเผาฟางอินทรียวัตถุ และปุ๋ยก็ถูกเผาไปด้วย แถมจุลลินทรีย์ แมลง และไส้เดือน ที่เป็นประโยชน์ก็จะตายไป

ไถกลบตอฟาง และฉีดพ่นด้วย ไอซี คิท ชุดย่อยสลายตอซัง ฟางข้าว

🎗ซื้อ ชุดย่อยสลายตอฟาง กับ Lazada : http://www.farmkaset..link..
🎗ซื้อ ชุดย่อยสลายตอฟาง กับ Shopee : http://www.farmkaset..link..
การควบคุมโรคพืช และแมลงศัตรูพืช ด้วยสารสกัดสมุนไพรอินทรีย์ชีวภาพ
การควบคุมโรคพืช และแมลงศัตรูพืช ด้วยสารสกัดสมุนไพรอินทรีย์ชีวภาพ
ในปัจจุบันสภาพแวดล้อมก าลังเข้าขั้นวิกฤติ สืบเนื่องมาจากการกระท าของมนุษย์
โดยเฉพาะการใช้สารเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิต และการก าจัดศัตรูพืช ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อ
สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ก่อให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน น้ า และระบบ
นิเวศวิทยา การท ากสิกรรมธรรมชาติ เพื่อผลิตอาหารที่มีคุณภาพ ถูกหลักอนามัย ปลอดภัย และ
ประหยัดต้นทุนนั้น เกษตรกรจ าเป็นต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี และหันมาใช้สารสกัดจาก
สมุนไพรทดแทนถึงแม้ว่าสารสกัดสมุนไพร จะมีผลในการท าลายแมลงที่เป็นประโยชน์พวกแมลงตัว
ห้ า หรือแมลงตัวเบียนบ้างก็ตาม แต่ก็น้อยกว่าสารเคมีเพราะพิษจากสมุนไพรสลายตัวได้รวดเร็ว
และไม่ตกค้างนาน การใช้สารสมุนไพรทดแทนการใช้สารเคมี จะมีความจ าเป็นในช่วงแรก ๆ ของ
การเปลี่ยนแปลง เพราะเกษตรกรใช้สารเคมีติดต่อกันมาเป็นเวลานาน จนท าให้ความสมดุล
ระหว่างแมลงศัตรูพืช กับแมลงที่เป็นประโยชน์สูญเสียไป เมื่องดสารเคมี และใช้สารสมุนไพร
ทดแทนไปสักระยะจนสามารถอนุรักษ์ และเพิ่มจ านวนประชากรของแมลงที่เป็นประโยชน์ได้มาก
จนเกิดความสมดุลภายในแปลงได้แล้วจึงค่อย ๆ ลดการใช้สารสมุนไพรลง โดยใช้เฉพาะเท่าที่
จ าเป็นเท่านั้น การใช้ประโยชน์จากสมุนไพรในคน สัตว์ และพืช การน าสมุนไพรมาใช้ในการ
ควบคุมโรคนั้น ควรมีความเข้าใจพื้นฐานของฤทธิ์ยาสมุนไพร และสรรพคุณของวัตถุนานาชนิด ที่
จะน ามาใช้ปรุงเป็นยาเสียก่อน โดยสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิดนั้นจะขึ้นอยู่กับรสของสมุนไพร
นั้น ๆ รสยาแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
1 ยารสประธาน หมายถึง ยาที่ปรุงเป็นต ารับแล้ว แบ่งเป็น 3 รส คือ รสเย็น รส
ร้อน และรสสุขุม
2 ยา 9 รส หมายถึง สรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิด คือ
1) รสฝาด สรรพคุณ ใช้ในการสมานแผลต่าง ๆ
2) รสหวาน สรรพคุณ ซึมซาบไปตามผิว
3) รสเบื่อเมา สรรพคุณ แก้พิษ ดับพิษโลหิต
4) รสขม สรรพคุณ แก้ทางโลหิตและดี
5) รสมัน สรรพคุณ เป็นยาอายุวัฒนะ
6) รสหอมเย็น สรรพคุณ บ ารุงหัวใจ บ ารุงโลหิต
7) รสเค็ม สรรพคุณ ฟอกโลหิต ดับพิษร้อน
8) รสเปรี้ยว สรรพคุณ บ ารุงเลือด แก้กระหายน้ า
9) รสเผ็ดร้อน สรรพคุณ แก้โรคลม บ ารุงธาตุไฟ
และบางต ารายังได้เพิ่มอีก 1 รส คือ รสจืด สรรพคุณ ดับพิษ แก้ไข้ ขับปัสสาวะแก้ทางเตโชธาตุ
พิการ เช่นกันกับการน าสมุนไพรมาใช้ในการควบคุมโรคพืช และแมลงศัตรูพืชนั้น ก็ต้องมีความ
เข้าใจในพื้นฐานของฤทธิ์ยาสมุนไพร และสรรพคุณของวัตถุต่าง ๆ ที่จะน ามาใช้ปรุงเป็นยาป้องกัน
หรือยารักษาโรคพืชรวมทั้งยาฆ่า - ท าลายวงจรชีวิต และป้องกันแมลงด้วยโดยสรรพคุณของตัวยา
สมุนไพรที่ใช้ในการเกษตรสามารถแบ่งออกตามรสของสมุนไพรได้ประมาณ 5 รส คือ
1) สมุนไพรรสขม ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันแมลง อาทิเช่น ฟ้าทลายโจร บอระเพ็ด
สะเดา และหญ้าใต้ใบ
2) สมุนไพรรสเบื่อเมา ฆ่าหนอนเพลี้ย แมลงอื่น ๆ อาทิเช่น หางไหล หนอนตาย
หยาก ขอบชะนางแดง - ขาว ใบน้อยหน่า สลัดได พญาไร้ใบ แสยก และเมล็ดมะกล่ า
3) สมุนไพรที่มีรสฝาด แก้เชื้อราโรคพืช อาทิเช่น เปลือกแค เปลือกมังคุด ใบฝรั่ง
และใบทับทิม
4) สมุนไพรหอมระเหย ไล่แมลง เปลี่ยนกลิ่นต้นพืช อาทิเช่น ตะไคร้หอม สาบเสือ
โหระพา กะเพรา ผักชี กะทกรก สาบแร้งสาบกา และผักแพรวแดง
5) สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว ไล่แมลง แสบร้อน อาทิเช่น เปลือกส้ม มะกรูด มะนาว และ
มะขาม
วิธีการปรุง หรือสกัดยาสมุนไพร เพื่อใช้ในการเกษตร สามารถประยุกต์เทคนิคการปรุง หรือสกัด
ยาสมุนไพร เพื่อน ามาใช้ในการเกษตรได้หลายวิธี อาทิเช่น
1) บดผง น าไปโรย หรือคลุมดินป้องกันศัตรูพืช
2) แช่น้ า (1 - 2 วัน) น าไปฉีดพ่น
3) ดองเหล้า (1 - 3 วัน) น าไปฉีดพ่น
4) ต้ม น าไปฉีดพ่น และรดราด
5) สกัดด้วยไอน้ า และความดัน ซึ่งเป็นเทคนิคต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่แข็งแรง
6) การหมัก ซึ่งเป็นวิธีการที่ประหยัด และเก็บรักษาสรรพคุณของยาไว้ได้ทนนาน
นอกจากนี้ยังได้สารฮอร์โมน วิตามินและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ ต่อพืชอีกด้วย
ศูนย์กสิกรรมธรรมชาติโป่งแรด ตั้งอยู่เลขที่ 44/2 หมู่ 3 ต าบลพลับพลา อ าเภอเมือง จังหวัดจันทบุรี
ในปัจจุบันสภาพแวดล้อมก าลังเข้าขั้นวิกฤติ สืบเนื่องมาจากการกระท าของมนุษย์
โดยเฉพาะการใช้สารเคมีเพื่อเพิ่มผลผลิต และการก าจัดศัตรูพืช ซึ่งมีผลกระทบโดยตรงต่อ
สภาพแวดล้อมทางธรรมชาติ ก่อให้เกิดปัญหาความเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน น้ า และระบบ
นิเวศวิทยา การท ากสิกรรมธรรมชาติ เพื่อผลิตอาหารที่มีคุณภาพ ถูกหลักอนามัย ปลอดภัย และ
ประหยัดต้นทุนนั้น เกษตรกรจ าเป็นต้องหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมี และหันมาใช้สารสกัดจาก
สมุนไพรทดแทนถึงแม้ว่าสารสกัดสมุนไพร จะมีผลในการท าลายแมลงที่เป็นประโยชน์พวกแมลงตัว
ห้ า หรือแมลงตัวเบียนบ้างก็ตาม แต่ก็น้อยกว่าสารเคมีเพราะพิษจากสมุนไพรสลายตัวได้รวดเร็ว
และไม่ตกค้างนาน การใช้สารสมุนไพรทดแทนการใช้สารเคมี จะมีความจ าเป็นในช่วงแรก ๆ ของ
การเปลี่ยนแปลง เพราะเกษตรกรใช้สารเคมีติดต่อกันมาเป็นเวลานาน จนท าให้ความสมดุล
ระหว่างแมลงศัตรูพืช กับแมลงที่เป็นประโยชน์สูญเสียไป เมื่องดสารเคมี และใช้สารสมุนไพร
ทดแทนไปสักระยะจนสามารถอนุรักษ์ และเพิ่มจ านวนประชากรของแมลงที่เป็นประโยชน์ได้มาก
จนเกิดความสมดุลภายในแปลงได้แล้วจึงค่อย ๆ ลดการใช้สารสมุนไพรลง โดยใช้เฉพาะเท่าที่
จ าเป็นเท่านั้น การใช้ประโยชน์จากสมุนไพรในคน สัตว์ และพืชการน าสมุนไพรมาใช้ในการควบคุม
โรคนั้น ควรมีความเข้าใจพื้นฐานของฤทธิ์ยาสมุนไพร และสรรพคุณของวัตถุนานาชนิด ที่จะ
น ามาใช้ปรุงเป็นยาเสียก่อน โดยสรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิดนั้นจะขึ้นอยู่กับรสของสมุนไพร
นั้น ๆ รสยาแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะ คือ
ยารสประธาน หมายถึง ยาที่ปรุงเป็นต ารับแล้ว แบ่งเป็น 3 รส ย่อย คือ รสเย็น รสร้อน และ
รสสุขุม
5.6.2 ยา 9 รส หมายถึง สรรพคุณของสมุนไพรแต่ละชนิด คือ
1) รสฝาด สรรพคุณ ใช้ในการสมานแผลต่าง ๆ
2) รสหวาน สรรพคุณ ซึมซาบไปตามผิว
3) รสเบื่อเมา สรรพคุณ แก้พิษ ดับพิษโลหิต
4) รสขม สรรพคุณ แก้ทางโลหิตและดี
5) รสมัน สรรพคุณ เป็นยาอายุวัฒนะ
6) รสหอมเย็น สรรพคุณ บ ารุงหัวใจ บ ารุงโลหิต
7) รสเค็ม สรรพคุณ ฟอกโลหิต ดับพิษร้อน
8) รสเปรี้ยว สรรพคุณ บ ารุงเลือด แก้กระหายน้ า
9) รสเผ็ดร้อน สรรพคุณ แก้โรคลม บ ารุงธาตุไฟ
และบางต ารายังได้เพิ่มอีก 1 รส คือ รสจืด สรรพคุณ ดับพิษ แก้ไข้ ขับปัสสาวะแก้
ทางเตโชธาตุพิการ เช่นกันกับการน าสมุนไพรมาใช้ในการควบคุมโรคพืช และแมลงศัตรูพืชนั้น ก็
ต้องมีความเข้าใจในพื้นฐานของฤทธิ์ยาสมุนไพร และสรรพคุณของวัตถุต่าง ๆ ที่จะน ามาใช้ปรุงเป็น
ยาป้องกัน หรือยารักษาโรคพืชรวมทั้งยาฆ่า - ท าลายวงจรชีวิต และป้องกันแมลงด้วยโดยสรรพคุณ
ของตัวยา
สมุนไพรที่ใช้ในการเกษตรสามารถแบ่งออกตามรสของสมุนไพรได้ประมาณ 5 รส คือ
1) สมุนไพรรสขม ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ป้องกันแมลง อาทิเช่น ฟ้าทลายโจร บอระเพ็ด
สะเดา และหญ้าใต้ใบ
2) สมุนไพรรสเบื่อเมา ฆ่าหนอนเพลี้ย แมลงอื่น ๆ อาทิเช่น หางไหล หนอนตาย
หยาก ขอบชะนางแดง - ขาว ใบน้อยหน่า สลัดได พญาไร้ใบ แสยก และเมล็ดมะกล่ า
3) สมุนไพรที่มีรสฝาด แก้เชื้อราโรคพืช อาทิเช่น เปลือกแค เปลือกมังคุด ใบฝรั่ง
และใบทับทิม
4) สมุนไพรหอมระเหย ไล่แมลง เปลี่ยนกลิ่นต้นพืช อาทิเช่น ตะไคร้หอม สาบเสือ
โหระพา กะเพรา ผักชี กะทกรก สาบแร้งสาบกา และผักแพรวแดง
5) สมุนไพรที่มีรสเปรี้ยว ไล่แมลง แสบร้อน อาทิเช่น เปลือกส้ม มะกรูด มะนาว และ
มะขาม
วิธีการปรุง
หรือสกัดยาสมุนไพร เพื่อใช้ในการเกษตร สามารถประยุกต์เทคนิคการปรุง หรือสกัด
ยาสมุนไพร เพื่อน ามาใช้ในการเกษตรได้หลายวิธี อาทิเช่น
1) บดผง น าไปโรย หรือคลุมดินป้องกันศัตรูพืช
2) แช่น้ า (1 - 2 วัน) น าไปฉีดพ่น
3) ดองเหล้า (1 - 3 วัน) น าไปฉีดพ่น
4) ต้ม น าไปฉีดพ่น และรดราด
5) สกัดด้วยไอน้ า และความดัน ซึ่งเป็นเทคนิคต้องใช้เครื่องมืออุปกรณ์ที่แข็งแรง
6) การหมัก ซึ่งเป็นวิธีการที่ประหยัด และเก็บรักษาสรรพคุณของยาไว้ได้ทนนาน
นอกจากนี้ยังได้สารฮอร์โมน วิตามินและแร่ธาตุที่เป็นประโยชน์ ต่อพืชอีกด้วย
สมุนไพรสูตร (ต ารับ)
ใช้เป็นสารไล่แมลง และบ ารุงพืชที่ก าลังได้รับความนิยมใช้กันโดยทั่วไป กว่า 60
จังหวัดทั่วประเทศ พอจะประมวลประสบการณ์จากศูนย์กสิกรรมธรรมชาติมาบเอื้อง จังหวัดชลบุรี
มูลนิธิกสิกรรมธรรมชาติ ศูนย์กสิกรรมสมุนไพรวังจันทร์ จังหวัดระยอง ศูนย์เรียนรู้ชุมชน กลุ่ม
ปุ๋ยชีวภาพ งานวิชาการเกษตร ศูนย์ศึกษาการพัฒนาอ่าวคุ้งกระเบน อันเนื่องมาจากพระราชด าริ
จังหวัดจันทบุรี โครงการเกษตรอินทรีย์สุรินทร์ เครือข่ายกสิกรรมไร้สารพิษแห่งประเทศไทย
เครือข่ายชุมชนชาวอโศก พอสรุปได้ดังนี้สารสมุนไพร ก าจัดเพลี้ยชนิดต่าง ๆ เช่น เพลี้ยอ่อน
เพลี้ยไรแดงเพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยกระโดดสีน้ าตาล และหมัดกระโดด
สูตร 1
ส่วนประกอบ
1) หนอนตายหยาก 2 กิโลกรัม
2) บอระเพ็ด 1 กิโลกรัม
3) ขมิ้นชัน 1 กิโลกรัม
4) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
5) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 2 กิโลกรัม
6) น้ าสะอาด 10 ลิตร
วิธีท า
สับบดสมุนไพรแล้วหมักรวมกันไว้ 45 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 4 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ า 1 ปี๊บ ฉีดพ่น
สูตร 2
ส่วนประกอบ
1) ว่านน้ า 1 กิโลกรัม
2) สาบเสือ 1 กิโลกรัม
3) ยาฉุน ½ กิโลกรัม
4) ตะไคร้หอม 1 กิโลกรัม
5) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
6) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 1 กิโลกรัม
7) น้ าสะอาด 10 ลิตร
วิธีท า
สับบดสมุนไพรหมักรวมกัน 45 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 4 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ า 1 ปี๊บ ฉีดพ่น
สูตร 3
ส่วนประกอบ
1) ยาฉุน ½ กิโลกรัม
2) สะเดา ½ กิโลกรัม
3) ข่า 1 กิโลกรัม
4) ตะไคร้หอม 1 กิโลกรัม
5) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
6) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 1 กิโลกรัม
7) น้ าสะอาด 10 ลิตร
วิธีท า
สับบดหมักทิ้งไว้ 7 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 5 ช้อนโต๊ะ ต่อน้ า 1 ปี๊บ ฉีดพ่น
สูตร 4
ส่วนประกอบ
1) หางไหลสด 1 กิโลกรัม
2) น้ าสะอาด 10 ลิตร
วิธีท า ทุบให้แตก แช่น้ า 1 วัน
วิธีใช้ ผสมน้ า 1:20 ฉีดพ่นทุก ๆ 7 วัน
สูตร 5
ส่วนประกอบ
1) ใบเสม็ดขาว 1 กิโลกรัม
2) เหล้า 10 ลิตร
วิธีท า สับบดดองเหล้าไว้ 3 วัน
วิธีใช้ ผสมน้ า ½ ลิตร ต่อน้ า 1 ปี๊บ ฉีดพ่น
สารสมุนไพร ก าจัดหนอนกระทู้ หนอนชอนใบ หนอนใยผัก หนอนหนังเหนียว
หนอนใต้หนอนเจาะสมอฝ้าย
สูตร 1
ส่วนประกอบ
1) ฟ้าทะลายโจร 1 กิโลกรัม
2) เปลือกหัน 1 กิโลกรัม
3) เปลือกแค 1 กิโลกรัม
4) หางไหล 1 กิโลกรัม
5) ตะไคร้หอม 1 กิโลกรัม
6) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
7) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 1 ลิตร
8) น้ าสะอาด 15 ลิตร
วิธีท า
สับบดหมักรวมไว้ 45 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 1:100 ฉีดพ่น และรดราด
สูตร 2
ส่วนประกอบ
1) หนอนตายหยาก 1 ลิตร
2) โทงเทง 1 ลิตร
3) สาบเสือ 1 ลิตร
4) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
5) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 1 ลิตร
6) น้ าสะอาด 10 ลิตร
วิธีท า
สับบดหมักทิ้งไว้ 45 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 1:100 ฉีดพ่นและรดราด
สารสมุนไพรก าจัดโรคพืช
สูตร 1
ส่วนประกอบ
1) เปลือกแค 1 กิโลกรัม
2) กระเทียม 1 กิโลกรัม
3) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
4) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 1 ลิตร
5) น้ าสะอาด 1 กิโลกรัม
วิธีท า
สับบดหมักไว้ 45 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 1:100-1:200 ฉีดพ่นและรดราด
สูตร 2
ส่วนประกอบ
1) ว่านหางจระเข้ 1 กิโลกรัม
2) ใบดอกรัก 1 กิโลกรัม
3) กระเทียม 1 กิโลกรัม
4) ขมิ้นชัน 1 กิโลกรัม
5) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
6) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 1 กิโลกรัม
7) น้ าสะอาด 15 ลิตร
วิธีท า
สับบดหมักไว้ 45 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 1:100 - 1:200 ฉีดพ่นและรดราด
สูตร 3
ส่วนประกอบ
1) ว่านหางจระเข้ 200 กรัม
2) กระเทียม 200 กรัม
3) น้ าสบู่ 4 ช้อนโต๊ะ
4) น้ าส้มสายชู 100 ซี.ซี.
5) น้ าสะอาด 20 ลิตร
วิธีท า
สับบด หมักไว้ 7 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ า 4 ช้อนต่อน้ า 1 ปี๊บ ฉีดพ่น ทุก ๆ 7 วัน
สารสมุนไพร ก าจัดหอยเชอรี่
ส่วนประกอบ
1) น้ าปูนใส 1 ลิตร
2) มะกรูด 1 กิโลกรัม
3) กระเทียม 1 กิโลกรัม
4) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
5) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 1 กิโลกรัม
6) น้ าสะอาด 10 ลิตร
วิธีท า
หมักมะกรูด กระเทียม หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น น้ าตาล และน้ า รวมกันไว้ 7 วัน
วิธีใช้
ผสมน้ าปูนใส กับส่วนผสมที่หมักไว้ ในอัตราส่วน 1: 1 หยดลงในนาที่มีหอยเชอรี่
หมายเหตุ การฉีดพ่นสมุนไพรก าจัดโรค และแมลงควรฉีดพ่นในช่วงเช้ามือ หรือช่วงเย็น ๆ ถ้า
มีโรคระบาด หรือแมลงระบาด ควรฉีดพ่น และรดราดดินติดต่อกันทุกวัน เป็นเวลา 3 วัน
ติดต่อกันอย่างไรก็ตามการควบคุมโรค และแมลงให้ได้ผลดีควรท าทั้งการอนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติ
และการใช้สมุนไพรควบคู่กันไปจนกว่าธรรมชาติในแปลงจะสมดุล
สารสมุนไพร จากสะเดา
ส่วนผสม
1) สะเดาทั้ง 5 2 กิโลกรัม (ได้เมล็ดด้วยยิ่งดี)
2) บอระเพ็ดทั้ง 5 4 กิโลกรัม
3) ข่าทั้ง 5 1 กิโลกรัม
4) ตะไคร้หอมทั้ง 5 1 กิโลกรัม
5) หางไหล หรือโล่ติ้น 1 กิโลกรัม
6) ผลไม้สุก 3 ชนิด 1 กิโลกรัม (กล้วยสุก มะละกอสุก ฟักทอง
อย่างละเท่า ๆ กัน)
7) ยาฉุน 2 กิโลกรัม
8) หัวเชื้อจุลินทรีย์เข้มข้น 1 ลิตร
9) น้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาล 3 กิโลกรัม
10) น้ าสะอาด 40 ลิตร
วิธีท า
หั่น หรือสับสะเดา บอระเพ็ด ข่า ตะไคร้หอม หางไหล และผลไม้สุก ให้ได้ความ
ยาวประมาณ 1 - 2 ข้อมือ ผสมน้ าสะอาด กับน้ าตาลทรายแดง หรือกากน้ าตาลใส่ลงในถังหมัก
น าส่วนผสมที่หั่น หรือสับแล้วใส่ลงในถังหมักปิดฝาให้สนิทและเก็บไว้ในที่ร่ม 1 เดือน
วิธีใช้
ผสมน้ าหมัก 1 ลิตร ต่อน้ าสะอาด 300 ลิตร ฉีดพ่นในเวลาเช้ามืด หรือหลัง
ตะวันตกดิน
หมายเหตุ ได้ประโยชน์ทั้งเป็นสารขับไล่แมลง เป็นฮอร์โมนบ ารุงพืชให้ติดดอกออกผลดี และยัง
เป็นปุ๋ย อินทรีย์ชีวภาพอีกด้วย
เทคนิคส าคัญในการผลิต และการใช้สารสกัดสมุนไพรอินทรีย์ชีวภาพ
1 การหมักสารสกัดสมุนไพรอินทรีย์ชีวภาพ ควรหมักในถังพลาสติกที่มีฝาปิดสนิท
และควรมีลักษณะทึบแสง
2 ควรเก็บรักษาไว้ในที่ร่ม ไม่ควรโดนแสงแดด
3 ตลอดระยะเวลาการหมักไม่ควรเปิดฝาก่อนถึงเวลา เพราะอาจท าให้การหมักไม่
สมบูรณ์ น ามาใช้ประโยชน์ไม่ได้ แต่ในกรณีถ้าถังบวมมาก จนอาจระเบิดได้ ก็อนุโลมให้แง้มฝา
เล็กน้อย เพื่อปล่อยก๊าซออกบ้าง แล้วให้รีบปิดให้สนิทเหมือนเดิม
4 ควรคลุมดิน (อย่าเปลือยดิน) โดยใช้เศษฟาง เศษใบไม้ หรือวัชพืชจ าพวกหญ้า
ต่าง ๆ คลุมให้ทั่วบริเวณใต้ทรงพุ่ม หรือเลยออกมาเล็กน้อย ควรเว้นระยะห่างจากโคนต้น
ประมาณ 1 คืบ และหนาประมาณ 1 ฝ่ามือ
5 การฉีดพ่นใบ หรือรดราดดิน ควรผสมตามอัตราส่วนที่ก าหนดและควรฉีดพ่น
หรือรดราดลงบนดินให้ทั่วบริเวณทรงพุ่ม โดยฉีดพ่น หรือรดราดลงบนเศษฟาง หรือใบไม้กิ่งไม้ที่
คลุมดินอยู่
6 ไม่ควรใช้ยาฆ่าหญ้า เพราะจะท าให้ประสิทธิภาพของสารสกัดสมุนไพรอินทรีย์
ชีวภาพลดลง ให้ใช้การตัดหรือนาบแทน
7 ไม่ควรใช้ร่วมกับสารเคมี หรือยาฆ่าแมลง เพราะประสิทธิภาพของสารสกัด
สมุนไพรอินทรีย์ชีวภาพจะลดลง และสิ่งส าคัญ คือ แมลงที่เป็นประโยชน์ต่าง ๆ (ตัวห้ า ตัวเบียน)
จะตายลง
ศูนย์เครือข่ายปราชญ์ชาวบ้านชุมชนปฐมอโศก ตั้งอยู่เลขที่ 66 หมู่ 5 ต าบลพระประโทน อ าเภอเมือง
จังหวัดนครปฐม
คุณสมบัติของสมุนไพรแต่ละชนิดในการป้องกันและก าจัด (แมลงโรคพืช)
พืชสมุนไพร
หางไหล : หนอนกินช่อ เพลี้ยไฟ ไรขาว ไรแดง เพลี้ยจักจั่น
ขมิ้นชัน : ดวงเจาะเมล็ด ด้วงงวงข้าว มอดข้าวเปลือก หนอนกระทู้ ไรแดง
สบู่ต้น : หนอนชอนใบ หนอนม้วนใบ หนอนแปะใบ หนอนแก้ว
ตะไคร้หอม : หนอนกระทู้ หนอนคืบ หนอนใย หนอนหลอด ราน้ าค้าง หนอนม้วน
ใบ ราแป้ง หนอนเจาะยอด / ดอก / ผล ราสนิม
กระเทียม : เพลี้ยอ่อน หนอนกระทู้ ราน้ าค้าง ราแป้ง ราสนิม
ใบมะเขือเทศสด : ด้วงหมัดผัก หนอนเจาะต้น ไส้เดือนฝอย รา / แบคทีเรียบางชนิด
หนอนใย
ยาสูบ / ยาฉุน : เพลี้ย ไร รา ด้วงหมัดผัก ด้วงเจาะสมอ หนอนกระ หล่ า หนอน
ชอนใบ หนอนมวนใบ หนอนกระทู้
พริกสด : โรคจากไวรัสทุกชนิด ขับไล่แมลง
ใบแก่มะรุม : (ใช้รองก้นหลุม) ราในดิน รากเน่า โคนเน่า ผลเน่า (แตง _ ฟัก) เน่า
คอดิน แง่งขิงเน่า
สาบเสือ : หนอนกระทู้ หนอนใย เพลี้ยกระโดด เพลี้ยไฟ เพลี้ยจักจั่น
แมลงโรคพืช
เพลี้ยไฟ : ใช้พืชสมุนไพร หางไหล สะเดา ยาสูบ ยาฉุน สาบเสือ ตะไคร้หอม /
แกง ใบดาวเรือง กระเทียม ข่า พริก ดีปลี
แมลงหวี่ขาว : ใช้พืชสมุนไพร กระเทียม พริก มะกรูด ขึ้นฉาย ตะไคร้หอม /
แกง
หมัดกระโดด : (ใช้ทางใบ)ตะไคร้หอม/แกงขิง ข่า พริก ใบน้อยหน่า หางไหล หนอน
ตายหยาก (ใช้ทางดิน) สะเดา เมล็ดน้อยหน่า ตะไคร้หอม / แกง ยาฉุน
เพลี้ยอ่อน : ใช้พืชสมุนไพร สะเดา ยาสูบ ยี่หร่า หางไหล (เหล้าขาว +
น้ าส้มสายชู)
เพลี้ยแป้ง : ใช้พืชสมุนไพร ยาสูบ ยาฉุน สะเดา บอระเพ็ด ตะไคร้หอม / แกง
สาบเสือ กระเทียม (ไวท์ออย + น้ ามันก๊าซ)
รากเน่าโคนเน่า : ใช้พืชสมุนไพร เปลือกมะม่วงหิมพานต์ เทียนหยด ราก หม่อน
ผลเน่า : ใช้พืชสมุนไพร ต้นกระดูกไก่ด า / ขาว ว่านน้ า ตะไคร้หอม กระ
เพรา โหระพา ใบยูคาลิปตัส
ไส้เดือนฝอย : ใช้พืชสมุนไพร สะเดา ละหุ่ง ใบยูคาลิปตัส สาบเสือ แขยง เลี่ยน
ปะทัดจีน ใบดาวเรือง ตะไคร้หอม
โรคเน่าคอดิน: ใช้พืชสมุนไพร ใบมะรุมแห้ง กระเทียม ผิวมะกรูด รากหม่อน
โรคเหี่ยว : ใช้พืชสมุนไพร เปลือกเงาะ ขึ้นฉาย ใบมะรุมแห้ง
โรคใบจุด : ใช้พืชสมุนไพร ว่านน้ า ใบกระดูกไก่ด า / ขาว ลูกประค าดีควาย
เปลือก มะม่วงหิมพานต์

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
ผลกระทบต่อสุขภาพ จากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ผลกระทบต่อสุขภาพ จากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
ผลกระทบต่อสุขภาพ จากสารเคมีกำจัดศัตรูพืช
3.1 ประเภทของสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

สารเคมีกําจัดศัตรูพืชในทางการเกษตรซึ่งสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ๆ ตามชนิดของสิ่งมีชีวิตที่ใช้ในการควบคุมและกําจัด คือ สารเคมีกําจัดแมลง สารป้องกัน
กําจัดวัชพืช สารป้องกันกําจัดเชื้อราสารกําจัดหนูและสัตว์แทะ สารเคมีกําจัดหอยและปู เป็นต้น

สารเคมีกําจัดแมลง (Insecticide)
สารเคมีกําจัดแมลงเป็นสารเคมีการเกษตรที่มีจํานวนชนิดมากที่สุด สารเคมีกําจัดแมลงแบ่งออกเป็นกลุ่มใหญ่ ๆ ตามชนิดของสารเคมีได้ 4 ประเภท คือ

1.1 กลุ่มออร์กาโนคลอรีน (Organochlorine) ซึ่งเป็นกลุ่มของสารเคมีที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ สารเคมีกําจัดแมลงในกลุ่มนี้ที่นิยมใช้กันมาก เช่น ดีดีที (DDT)
ดีลดริน(Dieldrin) ออลดริน (Aldrin) ท็อกซาฟีน (Toxaphene) คลอเดน(Chlordane) และลินเดน (Lindane) เป็นต้น

1.2 กลุ่มออร์กาโนฟอสเฟต (Organophosphate) ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีฟอสฟอรัสเป็นองค์ประกอบ เช่น มาลาไธออน (Malathion) และ เฟนนิโตรไธออน
(Fenitrothion) เป็นต้น

1.3 กลุ่มคาร์บาเมต (Carbamate) ซึ่งมีคาร์บาริลเป็นองค์ประกอบสําคัญ เช่น คาร์บาริล (Carbaryl) คาร์โบฟูแรน (Carbofuran) และเมโทมิล (Methomyl)
เป็นต้น

1.4 กลุ่มไพรีทรอยด์ (Pyrethroid) เป็นสารเคมีกลุ่มที่สังเคราะห์ขึ้นโดยมีความสัมพันธ์ตามโครงสร้างของไพรีทริน ซึ่งเป็นสารธรรมชาติที่สกัดได้จากพืชไพรีทรัม
เช่น เดลตาเมธริน (Deltamethrin) เพอร์เมธริน (Permethrin) เรสเมธริน (Resmethrin) และไบโอเรสเมธริน (Bioresmethrin) เป็นต้น

สารป้องกันกําจัดวัชพืช (Herbicide)
สารเคมีกําจัดวัชพืชแบ่งออกได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ จำแนกตามการเลือกทำลายเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่

2.1 สารชนิดเลือกทำลาย (Selective herbicide) โดยทำลายเฉพาะวัชพืช แต่ไม่เป็นอันตรายต่อพืชที่ปลูก เช่น 2_4-D กำจัดวัชพืชใบกว้างโดยไม่เป็นพิษต่อ
ต้นข้าวที่เป็นพืชใบแคบ เป็นต้น

2.2 สารชนิดไม่เลือกทำลาย (Non-selective herbicide) ทำลายวัชพืชใบแคบ ใบกว้าง หรือกก แนะนำให้ใช้กำจัดวัชพืชในที่ที่ไม่มีการปลูกพืช หรือถ้าจะพ่น
ในที่ที่มีพืชขึ้นอยู่หรืออยู่ใกล้เคียง ต้องพ่นอย่างระมัดระวัง เช่น พาราควอท (Paraquat) ไกลโฟเสท (Glyphosate) เป็นต้น

สารกําจัดเชื้อรา (Fungicide) มีอยู่หลายกลุ่ม บางชนิดมีพิษน้อย แต่บางชนิดมีพิษมาก เช่น
3.1 กลุ่ม Dimethey Dithiocarbamates เช่น ไซแรม(Ziram) เฟอแบม (Ferbam) ไธแรม(Thiram) เป็นต้น มีฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ Acetaldehyde
dehydrogenase เกิด Antabuse Effect ในคนที่ดื่มสุราร่วมด้วย

3.2 กลุ่ม Ethylenebisdithiocarbamates เช่น มาแนบ (Maneb) แมนโคแซบ (Mancozeb) ไซแนบ (Zineb) เป็นต้น กลุ่มนี้จะถูก Metabolize เป็น
Ethylene thiourea ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็งในสัตว์

3.3 กลุ่ม Methyl Mercury ดูดซึมได้ดีทางผิวหนังและมีพิษต่อระบบประสาท

3.4 กลุ่ม Hexachlorobenzene ยับยั้งเอนไซม์ Uroporphyrinogen Decarboxylase มีพิษต่อตับ ผิวหนัง ข้อกระดูกอักเสบ

3.5 กลุ่ม Pentachlorophenol สัมผัสมากๆ ทำให้ไข้สูง เหงื่อออกมาก หัวใจเต้นเร็ว

สารกําจัดหนูและสัตว์แทะ (Rodenticides)
สารกําจัดหนูและสัตว์แทะที่นิยมใช้กัน ส่วนใหญ่เป็นสารกลุ่มที่มีฤทธิ์ต้านการแข็งตัวของเลือด ตัวอย่างเช่น วอฟฟาริน (Warfarin) เป็นต้น



3.2 ความเป็นพิษสารเคมีกำจัดศัตรูพืช

ปัญหาสุขภาพที่สำคัญคืออันตรายจากการใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืช เนื่องจากเกษตรกรส่วนใหญ่ใช้สารเคมีกำจัดศัตรูพืชอย่างแพร่หลายเพื่อ
เพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและมีเกษตรกรส่วนใหญ่มีพฤติกรรมการใช้สารเคมีฯที่ไม่ถูกต้อง ปลอดภัย ทำให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพทั้งเฉียบพลันและ
เรื้อรัง อาการแสดงเฉียบพลันมีตั้งแต่ระดับเล็กน้อยจนรุนแรงถึงแก่ชีวิต ขึ้นอยู่กับระดับความเข้มข้น ความเป็นพิษ และปริมาณที่ได้รับ ส่วนอาการเรื้อรัง
สารเคมีกำจัดศัตรูพืชจะสะสมในระบบต่างๆ ของร่างกายทำให้เกิดความผิดปกติและโรคต่างๆ เช่น มะเร็งสารเคมีกำจัดศัตรูพืชสามารถเข้าสู่ร่างกายได้
หลายทาง โดยการสัมผัสทางผิวหนัง การสูดหายใจละอองที่ฟุ้งกระจายในอากาศ และการรับประทานอาหารและน้ำดื่มที่มีสารเคมีปนเปื้อน ซึ่งพฤติกรรม
การใช้สารเคมีที่ไม่ปลอดภัยนั้นทำให้เกษตรกรผู้อาศัยในชุมชน และผู้บริโภคมีความเสี่ยงจากการได้รับอันตรายจากสารเคมีเพิ่มขึ้น

ความเป็นพิษของสารกำจัดศัตรูพืชชนิดต่างๆ

สารออร์กาโนฟอสเฟต มีฤทธิ์ขัดขวางการทำงานของระบบประสาทส่วนกลาง และระบบประสาท รอบนอก โดยจะจับกับตัวเอ็นไซม์
โคลีนเอสเตอเรส ซึ่งมีหน้าที่ส่งสัญญาณประสาทหยุดการทำงาน ผลการจับ ตัวกับเอ็นไซม์ทำให้ปริมาณของเอ็นไซม์ ลดลง และมีผลต่อกล้ามเนื้อต่าง ๆ
ต่อมต่าง ๆและกล้ามเนื้อเรียบซึ่ง ควบคุมอวัยวะต่าง ๆ ในการทำงานมากกว่าปกติ เนื่องจากปริมาณเอ็นไซม์โคลีนเอสเตอเรสมีไม่มากพอที่จะ หยุด
การทำงาน พบอาการ ม่านตาหรี่ หายใจลำบาก เวียนศีรษะ อาเจียน มือสั่น เดินโซเซ ชัก หมดสติ ระบบกล้ามเนื้อพบอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง ตะคริว
ที่กล้ามเนื้อ ต่อมต่าง ๆ ต่อมน้ำลายขับน้ำลายออกมา มาก ต่อมเหงื่อขับเหงื่อออกมามาก

สารคาร์บาเมต สารในกลุ่มนี้มีการออกฤทธิ์คล้ายคลึงกับสารออร์กาโนฟอสเฟต แต่ความเป็นพิษน้อยกว่า อาการที่เกิดขึ้นเหมือนกับการได้รับสาร
ออร์กาโนฟอสเฟต ยกเว้นอาการชัก ไม่รู้สึกตัวเกิดขึ้นน้อย

สารออร์กาโนคลอรีน สารกลุ่มนี้ถูกดูดซึมที่ผิวหนัง เมื่อได้รับมาก ๆจะทำให้ระบบประสาทส่วนกลาง ถูกขัดขวาง พบอาการกล้ามเนื้ออ่อนแรง เวียน
ศีรษะ ปวดศีรษะ

สารไพรีทรอยด์ เป็นสารที่มีความไวทางชีวภาพสูง และใช้แบบเจือจาง สารกลุ่มนี้ถูกกำจัดออกจาก ร่างกาย ไม่ถูกสะสมอยู่ในร่างกาย พบอาการชา
หายใจเร็วตื้น เจ็บคอ คอแห้ง แสบจมูก คันตามผิวหนัง ท้องเสีย น้ำลายไหลมาก หนังตากระตุก เดินโซเซ

สารกำจัดวัชพืช เช่น สารพาราควอท ที่ออกฤทธิ์เร็วและจะเสื่อมฤทธิ์ทันทีเมื่อตกถึงพื้นดิน สารนี้ ละลายน้ำและแอลกอฮอล์ได้ดี ไม่มีสี มีกลิ่นอ่อน ๆ
คล้ายกลิ่นแอมโมเนีย สารนี้มีพิษต่อผิวหนัง และเยื่อเมือกพบอาการผิวหนังแห้งแตก ผื่นแดง เป็นแผล เล็บซีดขาว เล็บเปราะ ระบบหายใจ พบอาการไอ
เลือดกำเดาไหล เจ็บคอ หากรับประทานเข้าไปทำให้เกิดพังผืดที่ปอด การหายใจล้มเหลว

สารเคมีกำจัดหนู เช่น ซิงค์ฟอสไฟต์ มีความเป็นพิษมาก เมื่อถูกน้ำและกรดในกระเพาะอาหารเกิดปฏิกิริยาได้ก๊าซพิษฟอสฟีน ทำลายเซลล์กระเพาะ
อาหาร ตับ ไต การดูดซึมเข้าสู่ร่างกายทำให้มีน้ำคั่งในปอด ปวดศีรษะ หายใจขัด ความดันโลหิตสูง อาจทำให้เสียชีวิตภายในระยะเวลา 2-3 ชั่วโมง

สารไธโอคาร์บาเมต เป็นสารกลุ่มรักษาโรคพืช ลักษณะอาการเกิดขึ้นมีลักษณะเหมือนไพรีทรอยด์ ทางเดินหายใจพบอาการ คอแห้ง แสบจมูก ไอ
ตาพบอาการเคืองตา ตาแดง ผิวหนัง พบอาการคันผิวหนัง มีจุดขาวที่ผิวหนัง ผื่นแดง

ความเป็นพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชที่ต้องเฝ้าระวัง 12 ชนิด

สารกําจัดศัตรูพืชที่ต้องเฝ้าระวัง 12 ชนิด ที่กรมควบคุมโรคเห็นความสําคัญเป็นสารในกลุ่มเดียวกับวัตถุอันตรายที่กรมวิชาการเกษตรเฝ้าระวังซึ่งสารกําจัด
ศัตรูพืชกลุ่มนี้เป็นสารที่อยู่ในข่ายที่ต้องเฝ้าระวังในการใช้เนื่องจากเป็นสารที่มีปริมาณการใช้มาก มีความเป็นพิษสูง หรือมีการตกค้างระยะยาวในสิ่งแวดล้อม
สารทั้ง12 ชนิดนี้ ประกอบด้วย

อัลดิคาร์บ (Aldicarb)
บลาสติซิดิน เอส ( Blasticidin-S)
คาร์โบฟูราน (Carbofuran)
ไดโครโตฟอส (Dicrotophos)
อีพีเอ็น (EPN)
อีโธโปรฟอส (Ethoprofos)
โฟมีทาเนต (Formethanate)
เมทิดาไธออน (Methidathion)
เมโทมิล (Methomyl)
อ๊อกซามิล (Oxamyl)
เอ็นโดซัลแฟน (Endosulfan)
พาราไธออนเมทธิล(Parathion Methyl)
การจัดระดับความเป็นพิษของสารเคมีกำจัดศัตรูพืชโดยใช้ค่า ปริมาณสารเคมีต่อน้ำหนักตัวของสัตว์ทดลองที่รับเข้าไปครั้งเดียวแล้วทำให้ตายไป 50%
(LD50) และมีหลายหน่วยงานได้จัดระดับความเป็นอันตรายของสารเคมีทางการเกษตร เพื่อแยกระดับความรุนแรงของสารเคมีแต่ละชนิด โดยให้สัญลักษณ์
ของอันตรายแต่ละระดับ

อ่านต่อทั้งหมดที่ http://www.farmkaset..link..
โรคราน้ำค้างในฟักแม้ว
โรคราน้ำค้างในฟักแม้ว
กรมวิชาการเกษตร เพื่อเกษตรกร ในช่วงที่มีอากาศหนาว มีน้ำค้างลงจัด และมีความชื้นในอากาศสูงเช่นนี้ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกฟักแม้ว (ชาโยเต้ หรือ มะระหวาน) ให้หมั่นสังเกตอาการของโรคราน้ำค้างที่สามารถพบได้ในทุกระยะการเจริญเติบโต มักพบอาการของโรคบนใบที่อยู่บริเวณด้านล่างของต้นก่อน ต่อมาขยายลุกลามไปยังใบที่อยู่ด้านบน เริ่มแรกพบแผลเหลี่ยมเล็กฉ่ำน้ำตามกรอบของเส้นใบย่อย ต่อมาแผลเปลี่ยนเป็นสีเหลือง

กรณีที่ในตอนเช้ามีความชื้นสูง จะพบเส้นใยเชื้อราเป็นขุยสีขาวเทาตรงแผลใต้ใบ จากนั้น แผลจะขยายใหญ่ติดต่อกัน และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือเทาดำ หากอาการรุนแรง จะทำให้ใบเหลืองและแห้งตายทั้งต้น และต้นที่เป็นโรคจะติดผลน้อย ผลมีขนาดเล็ก คุณภาพของผลจะลดลง กรณีเป็นโรคในระยะผลอ่อน จะทำให้ผลลีบเล็ก และบิดเบี้ยว

สำหรับพื้นที่ที่พบอาการของโรคราน้ำค้าง เกษตรกรควรหมั่นตรวจและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ และตัดแต่งใบที่อยู่ด้านล่างของต้นออกบางส่วน เพื่อให้แปลงปลูกมีอากาศถ่ายเทสะดวก ลดการสะสมเชื้อราสาเหตุโรค และทำลายแหล่งอาศัยของด้วงเต่าแตง อีกทั้งควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียนที่ไม่ใช่พืชตระกูลแตง

ภายหลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเรียบร้อยแล้ว ให้เกษตรกรเก็บเศษซากพืชส่วนที่เหลือนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที และให้เลือกใช้ผลหรือกิ่งพันธุ์คุณภาพดีจากแหล่งปลอดโรค หลีกเลี่ยงการปลูกพืชแน่นจนเกินไป เพราะจะทำให้เกิดความชื้นสูง อากาศไม่ถ่ายเท และโรคระบาดได้รวดเร็ว ส่วนแปลงที่เป็นโรค ควรงดการให้น้ำในช่วงเย็น กรณีพบด้วงเต่าแตงที่เป็นพาหนะเชื้อราสาเหตุโรค

ที่มา http://www.farmkaset..link..

ฉีดพ่น ไอเอส เพื่อป้องกัน รักษาโรคราน้ำค้าในฟักแม้ว ฉีดพ่น FK-1 เพื่อฟื้นฟู บำรุงฟักแม้ว เสริมสร้างภูมิต้านทานต่อโรคและแมลง ส่งเสริมการเจริญเติบโต และเพิ่มผลผลิต
รับมือ โรคราน้ำค้างในข้าวโพด
รับมือ โรคราน้ำค้างในข้าวโพด
ในระยะนี้จะมีอากาศร้อนและมีฟ้าหลัวตอนกลางวัน และมีฝนฟ้าคะนองกับมีลมกระโชกแรงบางแห่ง กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดให้หมั่นสังเกตอาการของโรคราน้ำค้าง มักพบแสดงอาการในระยะที่เริ่มเพาะปลูกจนถึงระยะที่ต้นข้าวโพดมีอายุประมาณ 30 วัน ซึ่งในระยะนี้ต้นข้าวโพดจะอ่อนแอต่อโรคนี้มาก โดยอาการของโรคจะพบได้ตั้งแต่ข้าวโพดเริ่มงอก เริ่มแรกจะพบจุดเล็กสีเขียวฉ่ำน้ำบนใบอ่อน ต่อมาใบข้าวโพดบริเวณยอดมีสีเหลืองซีด หรือใบลายเป็นทางสีเขียวอ่อนสลับเขียวแก่ ในเวลาเช้าที่มีอากาศค่อนข้างเย็นและมีความชื้นสูง ด้านใต้ใบมักพบส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อราเป็นผงสีขาวจำนวนมาก บางครั้งพบยอดข้าวโพดแตกเป็นพุ่ม ต้นแคระแกร็น เตี้ย ข้อถี่ ไม่มีฝักหรือมีฝักขนาดเล็ก ก้านฝักมีความยาวมากหรือมีจำนวนฝักมากกว่าปกติ แต่ฝักจะไม่สมบูรณ์ เช่น มีจำนวนเมล็ดน้อย หรือไม่มีเมล็ดเลย

กรณีเริ่มพบการระบาดของโรค ให้เกษตรกรถอนต้นกล้าข้าวโพดที่แสดงลักษณะอาการของโรคไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที เนื่องจากเชื้อสาเหตุโรค สามารถเข้าทำลายต้นข้าวโพดได้ตั้งแต่ในระยะที่ข้าวโพดเริ่มงอก ซึ่งการพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชหลังจากต้นข้าวโพดอายุ 20 วันขึ้นไป จะไม่สามารถป้องกันกำจัดโรคนี้ได้ สำหรับพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน ในส่วนของข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่มีพื้นที่ปลูกเป็นบริเวณกว้าง ให้เน้นการป้องกันกำจัดโดยใช้วิธีการคลุกเมล็ดพันธุ์

ที่มา http://www.farmkaset..link..

ฉีดพ่น ไอเอส เพื่อป้องกัน รักษาโรคราน้ำค้างในข้าวโพด ฉีดพ่น FK-1 เพื่อฟื้นฟูข้าวโพด บำรุง เสริมสร้างภูมิต้านทานโรคราน้ำค้าง รวมถึงส่งเสริมการเจริญเติบโต ตลอดจนเพิ่มผลผลิต
907 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 90 หน้า, หน้าที่ 91 มี 7 รายการ
|-Page 83 of 91-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
คู่มือป้องกันกำจัดโรคราต่างๆในแมคคาเดเมีย แมคคาเดเมียใบไหม้ ใบจุด ราสนิม ราต่างๆ
Update: 2566/05/01 15:18:59 - Views: 10604
โรคใบไหม้ทุเรียน ทุเรียนใบไหม้ [ ไอเอส และ FK-1 ]
Update: 2564/08/09 10:25:35 - Views: 3765
โรคพืช
Update: 2564/08/12 22:09:57 - Views: 3607
การใช้สารอินทรีย์และปุ๋ย เพื่อควบคุมเพลี้ยอ่อน และเร่งการเจริญเติบโตของ ต้นมะนาว
Update: 2565/12/22 08:37:59 - Views: 3417
การป้องกันกำจัด เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ยต้นทุเรียน
Update: 2566/05/06 08:15:02 - Views: 7825
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคใบไหม้ ในกล้วย ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง 100%
Update: 2565/12/20 12:01:18 - Views: 3567
ปุ๋ยมังคุด FK-1 และ FK-3 เร่งการเจริญเติบโต เร่งผลผลิตมังคุด ด้วยธาตุอาหารที่ครบถ้วน
Update: 2565/12/13 13:51:07 - Views: 3420
ปุ๋ยสำหรับอ้อย เพื่อบำรุงผลผลิต การแก้โรคอ้อย ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ป้องกันกำจัดเพลี้ย ในไร่อ้อย
Update: 2563/06/18 17:25:32 - Views: 4225
โรคทุเรียนผลเน่า กำจัดโรค ในทุเรียน โรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ไอเอส สารอินทรีย์ยับยั้งเชื้อราสกัดจากวัตถุดิบธรรมชาติ
Update: 2566/05/22 12:05:12 - Views: 3414
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์: เพิ่มประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตของต้นละมุด
Update: 2567/02/12 14:54:56 - Views: 3433
โรคใบติดทุเรียน โรคราสีชมพูในทุเรียน โรคทุเรียนกิ่งแห้ง ต้องหมั่นสังเกตุตรวจดูแลสวน หากพบ ให้เร่งป้องกันกำจัด
Update: 2566/11/04 14:14:10 - Views: 10534
กำจัดเพลี้ย ใน ถั่วฝักยาว เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเพลี้ย บิวทาเร็กซ์ ปุ๋ยน้ำอะมิโน โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/05/06 14:15:21 - Views: 3504
การทำไร่อ้อย ใน 4 ขั้นตอนหลักๆ
Update: 2563/09/27 20:19:32 - Views: 3824
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคยางไหล กิ่งแห้ง ในมะม่วง ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง 100%
Update: 2565/12/22 14:46:32 - Views: 3486
ดอกทานตะวัน ใบไหม้ ใบจุด ราน้ำค้าง กำจัดโรค เชื้อราต่างๆในดอกทานตะวัน ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK สวน ปุ๋ย ศัตรูพืช
Update: 2565/11/08 10:05:01 - Views: 3441
บำรุงต้นมะเขือเทศ เพิ่มผลผลิตด้วย ปุ๋ยฮิวมิค ตรา ฟาร์มิค
Update: 2567/03/12 13:45:01 - Views: 3432
เพิ่มผลผลิตข้าว ด้วย FK-1 เร่งโต แตกกอ เขียวดี FK-3R ข้าวรวงยาว เมล็ดเต็ม ผลผลิตสูง
Update: 2562/10/04 16:32:51 - Views: 3418
ผักกาดขาว โตไว ใบเขียว ต้นใหญ่ แข็งแรง ผลผลิตดี อะมิโนโปรตีนจำเป็นสำหรับพืช 18 ชนิด อะมิโนแรปเตอร์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/04/05 16:03:14 - Views: 3400
กล้วย ใบไหม้ ใบจุด โรคตายพลาย ราแป้ง รากเน่า โรคราต่างๆ กำจัดด้วย ไอเอส และเร่งฟื้นฟูด้วย ปุ๋ย FK-T
Update: 2567/04/04 11:24:46 - Views: 3519
ทำไมต้อง เกษตรอินทรีย์ ?
Update: 2565/08/23 05:37:11 - Views: 3419
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022