[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - กำจัดเชื้อรา
790 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 79 หน้า, หน้าที่ 80 มี 0 รายการ

การดูแลรักษามะม่วง และเก็บเกี่ยว
การดูแลรักษามะม่วง และเก็บเกี่ยว
การดูรักษาและเก็บเกี่ยวมะม่วง

การดูแลรักษา

1. มะม่วงเริ่มปลูกถึงก่อนให้ผลผลิต

1.1 กำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่ม ใส่ปุ๋ยและให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดปี

1.2 ตัดแต่งกิ่ง และจัดโครงสร้างต้น ให้เหมาะสมกับระยะปลูก

1.3 ป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้มะม่วงมีกิ่งแข็งแรงมีใบสมบูรณ์

2. มะม่วงระยะเจริญทางกิ่งใบ

2.1 หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จแล้วทำการตัดแต่งกิ่งและใส่ปุ๋ยทางดินทันที พร้อมกับการให้น้ำ อย่างเพียงพอ เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต และสร้างความสมบูรณ์ของต้น

2.2 มะม่วงแตกใบใหม่อย่างน้อย 2 รุ่นในรอบปี ดูแลรักษาให้ต้นและใบมะม่วงสมบูรณ์เต็มที่

3. การเตรียมความพร้อมสำหรับการสร้างตาดอก

ปลายฤดูฝนเมื่อได้ต้นมะม่วงที่แข็งแรงสมบูรณ์ ควบคุมให้ต้นพักตัวและสะสมอาหารมะม่วงจะสร้างตาดอก ในระยะนี้ โดยงดการให้น้ำก่อนฤดูออกดอกอย่างน้อย 2 เดือน และไถพรวนรอบชายนอกทรงพุ่ม เป็นการตัดรากมะม่วงบางส่วนและกำจัดวัชพืชพร้อมกัน ในกรณีที่มีฝนหลงฤดูตกลงมา ควรพ่นปุ๋ยทางใบ เช่น สูตร 0-52-34 อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ประมาณ 2-3 ครั้ง เพื่อยับยั้งไม่ให้มะม่วงแตกใบอ่อนและยังคงมีการสะสมอาหารต่อไป

การให้น้ำ

1. การใช้ระบบให้น้ำแบบหัวเหวี่ยงเล็ก(มินิสปริงเกอร์) การปฏิบัติงานทำได้สะดวก ประหยัดแรงงานและพืชได้น้ำสม่ำเสมอ

2. การให้น้ำแบบสายยางรดหรือแบบปล่อยตามร่องขนาดเล็ก มีต้นทุนต่ำกว่าระบบแรก แต่ควบคุม ปริมาณน้ำที่ให้พืชได้ยาก ไม่สม่ำเสมอ ใช้น้ำ แรงงาน และเวลามากกว่าระบบหัวเหวี่ยงเล็ก



ปริมาณน้ำ

มะม่วงระยะบำรุงต้น มีความต้องการน้ำประมาณ 0.5 เท่าของอัตราการระเหยน้ำ กล่าวคือ ถ้าสภาพ อากาศมีอัตราการระเหยน้ำ 5 มิลลิเมตรต่อวัน (การระเหย 1 มิลลิเมตรเทียบเท่ากับน้ำ 1 ลิตรต่อ ตารางเมตร)ต้นมะม่วงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 3 เมตร จะต้องให้น้ำประมาณ 22.5 ลิตรต่อต้น ต่อวัน (ครั้ง)

มะม่วงหลังการติดผล ถือเป็นระยะวิกฤตที่มะม่วงต้องการใช้น้ำมากที่สุด ประมาณ 0.7-0.8 เท่าของ อัตราการระเหยน้ำ กล่าวคือ ถ้าสภาพอากาศมีอัตราการระเหยน้ำ 5 มิลลิเมตรต่อวัน ต้นมะม่วงที่มี เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 5 เมตร จะต้องให้น้ำประมาณ 87.5-100 ลิตรต่อต้นต่อวัน (ครั้ง)

ความถี่ของการให้น้ำ

ขึ้นกับเนื้อดินและสภาพอากาศ ดินที่มีเนื้อดินเป็นดินทรายให้น้ำ 2-3 วันต่อครั้ง เนื้อดินเป็นดิน เหนียวให้น้ำ 4-5วันต่อครั้ง อย่างไรก็ตามอาจใช้วิธีสังเกตจากความชื้นดิน และสภาพของใบมะม่วง ประกอบการวางแผนให้น้ำก็จะได้ผลดียิ่งขึ้น จากตัวอย่างที่ยกมาจากข้างบน ปริมาณการให้น้ำมะม่วง ระยะบำรุงต้นพืชต้องการน้ำ 22.5 ลิตรต่อต้นต่อวัน ถ้าต้องการให้น้ำ 4 วันต่อครั้งดังนั้นต้องให้น้ำ เท่ากับ 90 ลิตรต่อครั้ง

การงดให้น้ำ

ในช่วงก่อนมะม่วงออกดอก จะต้องงดให้น้ำจนกว่ามะม่วงเริ่มแทงช่อดอกแล้วจึงจะเริ่มให้น้ำอีก

การตัดแต่งกิ่ง

– การจัดทรงหรือสร้างทรงพุ่มมะม่วง

– เลือกลำต้นหลัก 1 ลำต้น ความสูง 75-100 เซนติเมตร

– ทำลายตายอด ทำให้ตาข้างผลิเกิดเป็นกิ่งแขนง คัดเลือกกิ่งไว้ในทิศทางที่ต้องการ 3-5 กิ่ง และเลือกกิ่งไว้ ไปอีก 2-3 ครั้ง ตามขนาดทรงพุ่มที่ต้องการ

– ขนาดพุ่มต้นควรคำนึงถึงความสะดวกในการทำงานรวมถึงความปลอดภัยและเหมาะสมกับเครื่องมือที่มีอยู่





วิธีการตัดแต่งกิ่ง

– การตัดแต่งกิ่งแบบบางเบา

เป็นการบังคับ และเลือกกิ่งให้เจริญเติบโตไปในทิศทางที่ต้องการ โดยตัดแต่งกิ่งที่ไม่ต้องการออก เช่น กิ่งที่โรคและแมลงทำลาย กิ่งกระโดง กิ่งไขว้ กิ่งไม่สมบูรณ์ กิ่งที่ผลิบริเวณ ปลายกิ่งที่แน่นมากเกินไปออก

– การตัดแต่งแบบปานกลาง

เมื่อพุ่มต้นใกล้จะชนกัน ตัดกิ่งรอบนอกทรงพุ่มทั้งหมดจากปลายยอดลึกเข้าหาศูนย์กลางต้นยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร มะม่วงจะผลิตา แตกกิ่ง – ใบใหม่มาทดแทน แล้วคัดเลือกกิ่งและตัดแต่งกิ่งอย่างบางเบา หลังการตัดแต่งแบบปานกลางอีก 1-2 ครั้ง

– การตัดแต่งกิ่งแบบหนัก

เมื่อต้นอายุมาก ต้นถูกโรคและแมลงทำลาย หรือต้นทรุดโทรม ควรสร้างโครงสร้างต้นมะม่วงใหม่(แต่งสาว) โดยตัดแต่งกิ่งเปิดกลางทรงพุ่มให้มีความสูง 1.5-3.0 เมตร ปริมาตรทรงพุ่ม ตัดออกไปประมาณครึ่งหนึ่ง กิ่งที่ถูกตัดเป็นแผลขนาดใหญ่ควรทาแผลด้วยยาป้องกันกำจัดเชื้อรา หรือสีน้ำมันจากนั้นกิ่งจะผลิตาให้กิ่ง แขนงใหม่ จากนั้นทำการคัดเลือกและตัดแต่งกิ่งอย่างบางเบา 1-2 ครั้ง เมื่อกิ่งแขนงใหม่บริเวณกลางทรงพุ่ม มีโครงสร้างเจริญเติบโตแข็งแรงมาทดแทนกิ่งเดิม และคาดการณ์ จะสามารถให้ผลผลิตในปีต่อไปได้ ให้ตัดแต่งกิ่งโครงสร้างเก่าที่อยู่รอบนอกของ โครงสร้างใหม่ออก มีความยาวใกล้เคียงกับการตัดแต่งกิ่งเปิดกลางทรงพุ่ม คัดเลือกกิ่งและตัดแต่งกิ่งแบบบางเบา 1-2 ครั้ง ช่วงแรกผลผลิตจะลดลงบ้างประมาณ 20-40 เปอร์เซ็นต์ แต่จะสามารถให้ผลผลิตได้เต็มที่ในปีที่ 3 หลังจากเริ่มตัดแต่ง กิ่งอย่างหนัก

หมายเหตุ : หลังจากตัดแต่งกิ่งทุกครั้งควรบำรุงต้นมะม่วงทันที ด้วยการใส่วัสดุปรับปรุงดินอินทรีย์แท้ เกรดAAA ตรายักษ์เขียว สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) และฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 30-50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 10-14 วัน และให้น้ำตามปกติ เพื่อเร่งการผลิตาสร้างกิ่ง และใบใหม่ที่สมบูรณ์มาทดแทนได้อย่างรวดเร็ว







รอบระยะพัฒนาการของผลมะม่วง

ระยะการพัฒนาจนครบรอบเป็นดังนี้

มิถุนายน(ตัดแต่งกิ่ง) กรกฎาคม(ตัดแต่งกิ่ง>แตกใบอ่อน ครั้งที่ 1)สิงหาคม(แตกใบอ่อน) กันยายน(แตกใบอ่อน ครั้งที่ 2) ตุลาคม(พักตัว) พฤศจิกายน(พักตัว) ธันวาคม(แทงช่อดอก)

มกราคม—>ดอกบาน กุมภาพันธ์(ผสมเกสร ตัดผลอ่อน) มีนาคม(ขยายผล) เมษายน(เข้าไคล) พฤษภาคม(เข้าไคล>ผลแก่>เก็บเกี่ยว)

การบังคับให้มะม่วงออกดอก

การบังคับให้ต้นมะม่วงออกดอก ด้วยสารพาโคลบิวทราโซล โดยราดสารนี้ลงในดินรอบๆ ต้น ซึ่งมีวิธีการดังนี้คือ

1) ต้องบำรุงต้นมะม่วงให้สมบูรณ์เต็มที่ก่อน กล่าวคือ หลังจากเก็บผลแล้วให้ตัดแต่งกิ่งใส่ปุ๋ยให้น้ำ เพื่อให้ต้นมะม่วงสมบูรณ์เต็มที่ หลังจากนั้นปล่อยให้มะม่วงแตกใบอ่อนอย่างน้อย 2 ชุด

2) ระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการใช้สารคือ ช่วงที่ใบยังอยู่ในระยะใบอ่อนหรือใบพวง

3) ก่อนราดสาร ควรตรวจดูดินที่มีความชื้นพอสมควร และเมื่อราดสารลงดินแล้วให้รดน้ำตามด้วย เพื่อให้รากดูดสารได้อย่างเต็มที่

4) หลังจากราดสารประมาณ 21-30 วัน ให้ฉีดพ่น ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 7-10 วันเพื่อกระตุ้นช่อดอก ทำให้การออกดอกเป็นไปอย่างสม่ำเสมอทั้งต้น ประมาณ 1½เดือนถึง 2 เดือนมะม่วงก็จะออกดอก

5) อัตราการใช้สารพาโคลบิวทราโซลเปลี่ยนแปลงไปตามขนาดและอายุของต้นมะม่วง ดังนี้

เส้นผ่านศูนย์กลางทรงพุ่ม

6) การรดด้วยสารพาโคลบิวทราโซลให้รดทั่วบริเวณทรงพุ่มอย่างสม่ำเสมอ



การช่วยให้ช่อดอกมะม่วงติดผลดีขึ้น

เนื่องจากมีผู้สนใจปลูกมะม่วงกันแพร่หลาย และมักจะประสบปัญหาอย่างเดียวกันว่า มะม่วงออกช่อดอกแล้วไม่ค่อยติดผล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามีหมอกลงจัดในขณะที่ช่อดอกกำลังบานแล้ว ก็จะยิ่งทำให้มะม่วงไม่ติดผล ซึ่งก็มีความเชื่อกันอย่างนั้น ซึ่งสาเหตุหรืออุปสรรคต่าง ๆ ที่ทำให้มะม่วงเมื่อออกดอกแล้วไม่ติดผล มีดังต่อไปนี้คือ

1. สาเหตุอันเกิดจากเพลี้ยจั๊กจั่นและโรคราดำ

สาเหตุนี้เป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดในการที่จะให้ช่อมะม่วงไม่ติดผล ซึ่งพบสาเหตุนี้ในเกือบทุกสวนมะม่วง หรือทุกต้นมะม่วงในท้องที่จังหวัดต่าง ๆ เกือบทุกจังหวัดก็ว่าได้ การทำลายของเพลี้ยจั๊กจั่น หรือที่ชาวสวนเรียกกันว่า แมงกะอ้า กับโรคราดำนั้น เกิดควบคู่กันไป กล่าวคือ เพลี้ยจั๊กจั่นทำลายช่อดอกมะม่วง โดยดูดน้ำเลี้ยงช่อดอกมะม่วง ทำให้ดอกมะม่วงขาดน้ำเลี้ยง ไม่สามารถเจริญต่อไปเป็นผลมะม่วงได้ ดอกจะร่วงหล่นในที่สุด และในขณะเดียวกัน เพลี้ยจั๊กจั่นก็จะขับถ่ายออกมา เป็นของเหลวที่มีรสหวาน ที่เป็นอาหารอันโอชะของเชื้อราดำ ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในบรรยากาศ ทำให้ราดำเจริญได้ดีตามช่อดอกมะม่วง เห็นช่อดอกมะม่วงเป็นสีดำ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเกิดมีหมอกลงจัด นั่นย่อมหมายความว่า มีละอองน้ำในอากาศอยู่มาก มีความชื้นสูง ซึ่งธรรมชาติของเชื้อราดำหรือราต่างๆ จะชอบเจริญได้ดีในที่ๆ มีความชุ่มชื้นสูง ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า หมอกมีส่วนช่วยให้โรคราดำเจริญ หรือระบาดได้อย่างรวดเร็ว

วิธีป้องกัน : ใช้ ชีวภัณฑ์ปลอดสารพิษ “เมทา แม็ก” อัตรา 40-80 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเพื่อกำจัดเป็นประจำ ทุก ๆ 5-7 วันในช่วงที่มะม่วงเริ่มแทงช่อ-ดอกบาน(ประมาณ 4-5 ครั้ง)

2. สาเหตุอันเกิดจากสิ่งอื่นๆ ที่นอกเหนือจากแมลงและโรคทำลายช่อดอก

เมื่อต้นมะม่วงมีอายุไม่ถึงวัยที่จะออกดอกออกผล แต่ออกดอกก่อนกำหนด หรือการบำรุงต้นมะม่วงในช่วงระยะแรกตั้งแต่เริ่มเพาะปลูกนั้นไม่ดีพอ ต้นมะม่วงเหล่านี้ เมื่อออกดอกแล้ว มีดอกไม่ติดผล เพราะต้นมะม่วงยังไม่แข็งแรงและสมบูรณ์พอ อายุหรือวัยที่ต้นมะม่วงควรจะออกดอกออกผล คือ ถ้าปลูกด้วยกิ่งตอน ควรมีอายุประมาณ 3 ปี ถ้าปลูกด้วยกิ่งทาบหรือกิ่งติดตา ควรมีอายุประมาณ 4-5 ปี จึงเริ่มออกดอกออกผล ถ้าปลูกด้วยเมล็ด ควรมีอายุประมาณ 5-6 ปี ดังนี้เป็นต้น

วิธีป้องกันรักษา คือ หมั่นดูแลรักษา และใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำ หากมะม่วงติดดอก ให้เด็ดดอกทิ้งเสียในขณะที่ช่อดอกเริ่มออก เพื่อต้นมะม่วงจะได้ไม่เสียน้ำเลี้ยงไปสร้างช่อดอกต่อไป ถ้าปล่อยช่อดอกไว้ไม่เด็ดทิ้ง อาจติดผลได้ แต่เป็นผลที่ไม่สมบูรณ์ และต้นมะม่วงจะมีการเจริญเติบโตของลำตนช้าลง หรือชะงักงัน

3. ต้นมะม่วงขาดน้ำ หรืออากาศแห้งแล้งในระยะที่มีช่อดอก จะทำให้ดอกเหี่ยวแห้ง และร่วงหล่นไปได้

วิธีป้องกันรักษา คือ หลังจากมะม่วงออกช่อดอกแลว ให้รดน้ำอย่างสม่ำเสมออย่าปล่อยให้แห้ง

4.ต้นมะม่วงไม่สมบูรณ์และแข็งแรงพอ หากต้นมะม่วงไม่สมบูรณ์และแข็งแรงพอ ก็จะทำให้ช่อดอกมะม่วงไม่ติดผล เนื่องจากขาดอาหาร หรือน้ำเลี้ยงที่จะมาเลี้ยงช่อดอกหรือผลต่อไปได้

วิธีป้องกันรักษา : ใส่ปุ๋ยบำรุงต้น และฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิลตามคำแนะนำ และให้ตัดแต่งกิ่งมะม่วงที่แห้ง หรือกิ่งที่มีโรคหรือแมลงทำลาย ออกเสีย

อนึ่ง อาจมีสาเหตุอื่นอีกที่มะม่วงออกช่อดอก แล้วไม่ติดผล เช่น อาจเป็นเพราะ ในท้องที่ที่ปลูกมะม่วงนั้น มีแมลงช่วยผสมเกสรอยู่น้อย หรืออาจเป็นเพราะ ต้นมะม่วงที่ปลูกนั้นอยู่ในที่อับ ไม่มีลมพัดผ่าน และแสงแดดน้อย เรื่องพันธุ์มะม่วงก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เช่น มะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ พันธุ์พิมเสนมัน มักจะออกดอกติดผลได้ดีกว่าพันธุ์อื่น และมักจะออกดอกนอกฤดูกาลอีกด้วย พันธุ์แรดมักจะออกดอกก่อนพันธุ์อื่น และออกดอกติดผลสม่ำเสมอเกือบทุกปี เหล่านี้เป็นต้น

การให้ปุ๋ย

มะม่วงตั้งแต่เริ่มปลูกถึงอายุ 2 ปี :

ทางดิน : ใส่วัสดุปรับปรุงดินเกรด AAA “ตรายักษ์เขียว สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา 0.5-1 กิโลกรัมต่อต้น ทุก ๆ 30-45 วัน สลับกับการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 25-7-7 อัตรา 150-300 กรัม(1-2 กำมือ)ต้น ปีละ 2-3 ครั้ง

ทางใบ : ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 30-50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 15-20 วัน(1-2ครั้งต่อเดือนเป็นประจำ)


สรุปการให้ปุ๋ยมะม่วงที่ให้ผลผลิตแล้วหรือต้นอายุ 3 ปีขึ้นไป

ช่วงเวลา ทางดิน ทางใบ

หลังเก็บเกี่ยวและตัดแต่งกิ่งแล้ว ครั้งที่ 1 ใส่ ยักษ์เขียว เกรดAAA สูตรเข้มข้น(แถบทอง)อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น

ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตร 25-7-7 อัตรา 0.5กิโลกรัมต่อต้น ห่างจากครั้งแรก 30 วัน

ไบโอเฟอร์ทิล สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง อัตรา30-50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร(0.5 ลิตรต่อน้ำ200 ลิตร) + อาหารเสริมรวม “คีเลท” อัตรา5-10 กรัมฉีดพ่นทุก ๆ 10-14 วัน ประมาณ 5ครั้ง

เตรียมต้นสะสมอาหาร ใส่ ยักษ์เขียว เกรดAAA สูตรเข้มข้น(แถบทอง)อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อสะสมอาหารในต้น ปุ๋ยสูตร 0-52-34 อัตรา 50-80 กรัมต่อน้ำ20 ลิตร ฉีดพ่น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน ช่วยบังคับต้นให้สะสมอาหาร ไม่ให้แตกใบอ่อน

กระตุ้นดอก เร่งช่อยาว ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล สูตรบำรุงต้น ไล่แมลงอัตรา 50-80 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร(0.5 ลิตรต่อน้ำ 200 ลิตร + อาหารเสริมรวม “คีเลท”อัตรา 5-10 กรัม ฉีดพ่นทุก ๆ 10-14 วัน ประมาณ 4-5 ครั้ง

ติดผลจนถึงเก็บเกี่ยว ครั้งที่ 1 เมื่อติดเม็ดขนาดเท่ามะเขือพวง ใส่ ยักษ์เขียว เกรดAAA สูตรเข้มข้น(แถบทอง)อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น

ครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรก 30 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา0.5 กิโลกรัม + ยักษ์เขียว เกรดAAAสูตรเข้มข้น(แถบทอง)อัตรา 1-2กิโลกรัมต่อต้น

ครั้งที่ 3 หลังจากนั้นอีก 30 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 24-4-24 อัตรา 0.5กิโลกรัม+ปุ๋ยอินทรีย์ตรายักษ์เขียว สูตร1 (แถบทอง)อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้นต่อต้น

ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล สูตรเร่งขนาดผลอัตรา 50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร บวกกับ อาหารเสริมรวม “คีเลท” อัตรา 5-10 กรัมฉีดพ่นทุก ๆ 10-14 วันจนถึงเก็บเกี่ยว

หมายเหตุ :

1. อัตราการใส่ปุ๋ย ควรปรับใช้ตามขนาดต้น อายุพืช และความอุดมสมบูรณ์ของดิน ใช้ตามค่าการ วิเคราะห์ดินและพืช และควรกำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่มก่อนใส่ปุ๋ยทุกครั้ง และหากมีการตัดแต่งทรงพุ่มและควบคุมขนาดของทรงพุ่มไม่ให้มีขนาดใหญ่มากจนเกินไป จะทำให้ประหยัดปุ๋ยทางดินที่ใส่และยังประหยัดค่าแรงในการเก็บเกี่ยวอีกด้วย โดยขนาดทรงพุ่มที่เหมาะสม ควรมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 4 เมตร และสูงไม่เกิน 5 เมตรซึ่งหากทรงพุ่มอยู่ในช่วงที่กล่าวแล้ว การใช้ปุ๋ยเคมีแต่ละช่วง สามารถใช้เพียงต้นละ 0.5 กิโลกรัมร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ตรายักษ์เขียว 1-3 กิโลกรัม(ขึ้นอยู่กับปริมาณผลผลิต) มะม่วงก็จะให้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีและมีปริมาณมากเช่นเดียวกัน อีกทั้งยังช่วยประหยัดต้นทุน ทำให้มีส่วนต่างของกำไรมาก

2. เมื่อปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้นแล้ว จะพบว่าผลผลิตที่ได้จะมีคุณภาพดี(ติดดก_ลูกใหญ่_ได้น้ำหนัก) โดยที่เทียบเปอร์เซ็นต์ต้นทุนต่อผลผลิตแล้วจำนวนเงินกำไร(ผลตอบแทน)เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ได้เปรียบกว่าสวนอื่น ๆ ที่ลงทุนปุ๋ยและยาปริมาณมาก ๆ

3. ช่วงที่อากาศมีความชื้นสูง หากพบการระบาดของโรคราในพืชให้เว้นการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบทุกชนิดในช่วงนั้น แล้วใช้ยาป้องกันและรักษาโรคฉีดพ่นตามอาการ 1-2 ครั้งก่อน จึงเริ่มใช้ปุ๋ยทางใบต่อไปได้

4. การป้องกันแมลงศัตรูพืชก่อนที่จะเข้ามาทำลายต้นโดยการใช้ ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)นั้นจะประหยัดต้นทุนและลดความเสียหายได้ดีกว่า การใช้ยาฆ่าแมลงกำจัดเมื่อมีการระบาด ซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองต้นทุนมาก และมีความเสี่ยงที่แมลงจะดื้อยา ทำให้ต้องใช้ยาแรงขึ้น สิ้นเปลืองทั้งเงินและสุขภาพของผู้ใช้เอง

5. สำหรับในพื้นที่ ที่มีการปลูกพืชกันมาก แนะนำให้ใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) สลับหรือร่วมกับการใช้สารเคมีควบคุม อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้ผลและลดต้นทุนการผลิตการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6. การใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ “ยักษ์เขียว” ร่วมด้วยเป็นประจำ จะทำให้ต้นทุนปุ๋ยและสารทางดินต่อชุดการผลิต ลดลงได้ประมาณ 30-50 % โดยที่ผลผลิตที่ได้ยังเป็นปกติหรือดีกว่าเดิม และสังเกตได้ว่าสารอินทรีย์ในเนื้อปุ๋ยทำให้สภาพดินดีขึ้น ดินโปร่ง อุ้มน้ำได้ดี และพืชตอบสนองต่อการให้ปุ๋ยทางดินดีกว่าเดิม ในระยะยาวปัญหาเรื่องโรคทางดินน้อยกว่าแปลงข้างเคียงที่ไม่ได้ใช้ ผลในทางอ้อม เนื่องจาก ยักษ์เขียว เป็นสารอินทรีย์แท้ จึงกระตุ้นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ให้ย่อยปุ๋ย(เคมี)ที่ตกค้างในดินทำให้รากพืชสามารถดูดซึมกลับไปใช้ได้ ธาตุอาหารในดินจะสมดุลมากกว่า

สรุปเทคนิคการปฏิบัติเพื่อช่วยให้มะม่วงติดผลมาก

1. มะม่วงในฤดู เมื่อต้นเริ่มแทงช่อ ให้ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 50 ซีซีต่อน้ำ 20ลิตร + อาหารเสริมรวม “คีเลท” อัตรา 5-10 กรัมฉีดพ่นทุก ๆ 7-10 วัน จนกระทั่งดอกบาน ช่อดอกที่ได้จะสมบูรณ์ ติดดอกออกผลมาก และปัญหาเรื่องการระบาดของเพลี้ยจั๊กจั่นจะลดลง ประหยัดต้นทุนสารเคมีกำจัดแมลง

2. มะม่วงนอกฤดู หลังจากราดสาร 21-30 วัน ให้ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร (1/2 ลิตรต่อน้ำ 1 ถัง 200ลิตร) + อาหารเสริมรวม “คีเลท” อัตรา 5-10 กรัมฉีดพ่นทุก ๆ 7-10 วัน จนกระทั่งดอกบาน ช่อดอกที่ได้จะสมบูรณ์ ติดดอกออกผลมากสม่ำเสมอทั้งต้น และยังช่วยลดปัญหาเรื่องแมลงศัตรูพืชเข้าทำลายช่อดอก

3. ช่วงที่กระตุ้นดอก กรณีความชื้นในอากาศสูงหรือในช่วงฤดูฝน ควรใช้สารควบคุมโรคราหรือ ชีวภัณฑ์กำจัดโรครา(ปลอดสารพิษ) ไตรโคแม็ก อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นป้องกันเป็นระยะตามความเหมาะสม

4. เมื่อช่อมะม่วงเจริญพ้นพุ่มใบออกมาอย่างเด่นชัดแล้ว ควรรดน้ำให้ดินชุ่มอยู่เสมอ การรดน้ำควรรดแต่น้อยก่อน แล้วจึงเพิ่มมากขึ้น เรื่อย ๆ จนถึงที่เคยรดให้ตามปกติ

5. ในพื้นที่ที่มักมีการระบาดของแมลงศัตรูพืชรุนแรง ควรพ่นไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)ร่วมกับยาเพื่อป้องกันกำจัดแมลงที่จะมาทำลายช่อมะม่วง_หนอนเจาะผล_แมลงวันทอง ได้แก่ ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช(ปลอดสารพิษ) “เมทาแม็ก” + ชีวภัณฑ์ปลอดสารพิษ(กำจัดหนอน) “บาร์ท๊อป” ฉีดพ่นเป็นประจำ โดยเฉพาะในช่วงที่ต้องระมัดระวัง(แทงช่อดอก_ติดผล) หรืออาจใช้สารเคมีกำจัด อาทิเช่น อิมิดาโคลพริด_ เอ็นโดซัลแฟน หรือบีพีเอ็มซี อัตราตามฉลาก(ครั้งแรกให้พบในระยะที่ดอกยังตูม หรือสำรวจพบเพลี้ยจั๊กจั่น 3 ตัวต่อช่อและครั้งที่สองเมื่อเห็นว่ามะม่วงติดผลมีขนาดเท่าหัวแมลงวัน การพ่นยาครั้งที่สองอาจเติมยากันราลงไปด้วยถ้าเห็นว่ายังมีราดำอยู่ตามช่อดอกและใบ)หรือ พ่นคาร์บาริล อัตราตามฉลาก ทุก ๆ 7-10 วัน หากไม่ต้องการพ่นยากำจัดแมลง ให้ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)อัตรา 50-100 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 7-10 วัน และป้องกันการเข้าทำลายของโรครา ด้วยการฉีดพ่น โปรคลอราซ หรือ เบโนมิล ในช่วงก่อนดอกบาน



การเก็บเกี่ยว

การเก็บผลมะม่วงเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่ง ต้องเก็บให้ถูกต้อง เพื่อให้ผลมะม่วงที่ได้มีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาดไม่อ่อนเกินไป หรือปล่อยไว้จนสุกงอมเกินไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของมะม่วง และความใกล้ไกลของตลาด เป็นสำคัญ ข้อสังเกตง่ายๆ ว่ามะม่วงจะแก่เมื่อใดนั้น สิ่งที่น่าสังเกต 2 ประการคือ

1. แก้มผลทั้ง 2 ข้างพองโตเต็มที่ สีผิวเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีขาวจาง สังเกตจากผิวของผลมะม่วงมีสีขาวนวลหรือไขปกคลุมผล

2. เก็บตัวอย่างผลมะม่วงมา 2-3 ผล เพื่อทดสอบ โดยนำมะม่วงมาแช่น้ำดู หากผลมะม่วงจมน้ำแสดงว่าแก่จัด ถ้าลอยแสดงว่ายังอ่อนอยู่ และเวลาเก็บต้องอย่าให้ช้ำ มิฉะนั้นจะเน่าและเสียได้ง่ายเวลามะม่วงสุก

# http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3684
โรคไหม้ข้าว (ระยะออกรวง)
โรคไหม้ข้าว (ระยะออกรวง)
เตือนเกษตรกรที่ปลูกข้าวในทุกภาคของประเทศไทย ที่ข้าวอยู่ระยะตั้งท้องถึงออกรวง จากข้อมูลจากแปลงติดตามสถานการณ์ศัตรูข้าวพบโรคไหม้ข้าว ในหลายพื้นที่ทางภาคกลาง ภาคตะวันตก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทย ดังนั้น เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลงนาอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบการอาการของโรคไหม้ ใบข้าวมีแผล จุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตามีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล ให้เร่งป้องกันกำจัด

เชื้อสาเหตุของโรคไหม้ข้าว : เชื้อรา Magnaporthe oryzae

Synonyms : Pyricularia oryzae Cavara

ลักษณะอาการของ โรคไหม้ข้าว

ระยะกล้า ใบมีแผล จุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา มีสีเทาอยู่ตรงกลางแผล ความกว้างของแผลประมาณ ๒ - ๕ มิลลิเมตร และความยาวประมาณ ๑๐ - ๑๕ มิลลิเมตร แผลสามารถขยายลุกลามและกระจายทั่วบริเวณใบ ถ้าโรครุนแรงกล้าข้าวจะแห้งฟุบตาย อาการคล้ายถูกไฟไหม้

ระยะแตกกอ อาการพบได้ที่ใบ ข้อต่อของใบ และข้อต่อของลำต้น ขนาดแผลจะใหญ่กว่าที่พบในระยะกล้า แผลลุกลามติดต่อกันได้ที่บริเวณข้อต่อ ใบจะมีลักษณะแผลช้ำสีน้ำตาลดำ และมักหลุดจากกาบใบเสมอ

ระยะออกรวง (โรคไหม้คอรวง) ถ้าข้าวเพิ่งจะเริ่มให้รวง เมื่อถูกเชื้อราเข้าทำลาย เมล็ดจะลีบหมด แต่ถ้าเป็นโรคตอนรวงข้าวแก่ใกล้เก็บเกี่ยว จะปรากฏรอยแผลช้ำสีน้ำตาลที่บริเวณคอรวง ทำให้เปราะหักง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหายมาก

การแพร่ระบาด พบโรคในแปลงที่ต้นข้าวหนาแน่น ทำให้อับลม ถ้าใส่ปุ๋ยอัตราสูงและมีสภาพอากาศแห้งในตอนกลางวันและชื้นจัดในตอนกลางคืน ลมแรงจะแพร่กระจายโรคได้ดี

แนะนำวิธีการป้องกันกำจัดโรคไหม้ข้าว ดังนี้

๑. ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ยับยั้งโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน

๒. ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี

[FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]

* สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส
* ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

ควรพ่นในแปลงข้าวที่มีประวัติว่าเคยมีโรคระบาดมาก่อน เชื้อราจะพยายามต้านทานสารป้องกันกำจัด หรือดื้อยา หากต้องใช้ยาต่อเนื่อง ดังนั้น เพื่อป้องกัน ควรสลับยาบ้าง เมื่อจำเป็นต้องใช้นานเกินไป

ในฤดูถัดไป

๑. แช่เมล็ดพันธุ์ด้วย สารอินทรีย์ป้องกันกำจัดเชื้อรา ไอเอส ในอัตราส่วน 20ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร (ผสมอ่อนกว่าตอนฉีดพ่น)

๒. หว่านเมล็ดพันธุ์ในอัตราที่เหมาะสม ๑๕ – ๒๐ กิโลกรัมต่อไร่ ควรแบ่งแปลงให้มีการถ่ายเทอากาศได้ดี

อ้างอิงข้อมูลหลักจาก
๑. กรมการข้าว
๒. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
๓. กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย
อ่าน:3627
เตือนการระบาดโรคโคนเน่า - หัวเน่ามันสำปะหลัง ในพื้นที่ โคราช บุรีรัมย์และสระบุรี
กรมส่งเสิมการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ โดยเฉพาะจังหวัดนครราชสีมาบุรีรัมย์และจังหวัดสระบุรีซึ่งเคยพบปัญหาโคนเน่า ? หัวเน่ามันสำปะหลัง ในฤดูกาลเพาะปลูกที่ผ่านมา จึงขอให้เกษตรกรหมั่นสำรวจแปลง และติดตามสถานการณ์ของปัญหาโคนเน่า ? หัวเน่ามันสำปะหลังอย่างต่อเนื่อง และประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรใช้สารป้องกันและกำจัดเชื้อราหรือใช้เชื้อราไตรโคเดอร์มาแช่ท่อนพันธุ์ก่อนการเพาะปลูกทุกครั้ง

# http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3408
โรคแตงไทย โรคแตงโม และ โรคที่กิดกับพืชตระกูลแตง
โรคแตงไทย โรคแตงโม และ โรคที่กิดกับพืชตระกูลแตง
โรคที่เกิดกับผักตระกูลแตง

พืชตระกูลแตงมีหลายชนิด บางชนิดใช้รับประทานแบบพืชผักบางชนิดรับประทานแบบผลไม้ ไม่ว่าจะเป็นแตงชนิดไหนก็ตามมีโอกาสที่จะเป็นโรคชนิดเดียวกันได้ แตงที่รับประทานแบบผลไม้ได้แก่ แตงโม แตงกวา แคนตาลูป แตงไทย แตงที่ใช้เป็นอาหารจำพวก ผัก ได้แก่ แตงกวา แตงร้าน มะระ ฟักทอง ฟัก แฟง น้ำเต้า ตำลึง บวบ ฯลฯ

จากการสำรวจพบว่าพืชในตระกูลแตงแต่ละชนิดมีโรคระบาดที่สำคัญและเป็นอุปสรรคต่อการปลูกมากหลายโรคด้วยกัน แต่ละโรคทำลายพืชตระกูลแตงเกือบทุกชนิดและเป็นโรคเดียวกัน ดังนั้นการศึกษาและเรียบเรียงคำแนะนำเรื่องโรคใดโรคหนึ่งและวิธีป้องกันกำจัดจึงสามารถใช้รวมไปได้กับพืชทุกชนิดในตระกูลแตง

โรคผักตระกูลแตงและวิธีป้องกันกำจัด

โรคผักตระกูลแตงมีความสำคัญทางเศรษฐกิจไม่แพ้โรคผักของพืชตระกูลอื่น ๆ หรือพืชเศรษฐกิจอื่น ๆ และกำลังจะได้รับการส่งเสริมให้พืชบางชนิดในตระกูลนี้ปลูกกันอย่างกว้างขวาง เพื่อใช้ผลิตอาหารกระป๋องสำเร็จรูป เช่น ทำแตงกวาดอง ฯลฯ และเป็นที่แน่นอนว่าจะต้องประสพปัญหาเรื่องโรค ซึ่งจะทำให้เกิดความต้องการเอกสารวิชาการเกี่ยวกับรายละเอียดเรื่องโรคและวิธีป้องกันกำจัด เช่น รายละเอียดเรื่องระดับความเสียหายความรุนแรงของโรค การแพร่ระบาด สาเหตุของโรค สภาพสิ่งแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดโรคพาหะนำโรคและวิธีป้องกันกำจัดที่ให้ผลดีที่สุดและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายน้อย การป้องกันกำจัดโรค โดยวิธีใช้สารเคมีฉีดพ่นอาจไม่ได้ผลเลยและสิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายมากขึ้นโดยไม่จำเป็น เช่น ในกรณี ที่เกิดโรคขาดธาตุอาหารหรือสาเหตุอื่นที่ไม่ใช่เชื้อโรค ดังนั้น จำเป็นที่จะต้องทราบสาเหตุที่แท้จริงเสียก่อน แล้วจึงจะคัดเลือกวิธีการป้องกันกำจัดที่แท้จริงมาใช้หรืออาจจะต้องใช้วิธีการหลาย ๆ วิธีเข้าร่วมกันเพื่อให้การป้องกันกำจัดมีประสิทธิภาพสูง โรคจะได้ลดน้อยลง เพื่อที่จะให้การเรียบเรียงสมบูรณ์จึงได้จัดแบ่งโรคของผักตระกูลแตงออกเป็นหมวดหมู่ตามสาเหตุของโรค

โรคปลายผลเน่าเกิดจากขาดธาตุแคลเซียม

โรคปลายผลเน่าแห้งสีดำ (Blossomend rot)

โรคปลายผลเน่าเป็นโรคที่ทำความเสียหายมากกับแตงโม โดยเฉพาะพันธุ์ชาร์ลสตันเกรย์ ซึ่งปลูกไม่แพร่หลายนัก เพราะพันธุ์นี้มีขนาดใหญ่มากไม่เป็นที่นิยมของผู้ซื้อ แต่ก็มีข้อดีที่เก็บได้นานกว่าแตงพันธุ์ชูก้าเบบี้ ซึ่งนิยมปลูกกันมากในปัจจุบัน พันธุ์ชูก้าเบบี้เก็บไม่ได้นานเท่าชาร์ลสตันเกรย์ก็จริงแต่เนื่องจากไม่เป็นโรคนี้และมีขนาดกำลังดี จึงนิยมปลูกกันมาก นอกจากแตงโมแล้ว แตงร้านและแตงกวาก็ปรากฎว่าเป็นโรคนี้บ้างเล็กน้อย

ลักษณะอาการของโรค

อาการเหี่ยวเริ่มจากปลายผลเข้ามาต่อมาเนื้อเยื่อจะแห้งแข็งเป็นสีน้ำตาบ เนื่อเยื่อจะยุบเข้าไปและมักจะมีเชื้อราอื่น ๆ มาขึ้นบนเนื้อเยื่อที่ตายแล้วทำให้เกิดอาการเน่าขึ้นภายหลัง

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากการขาดธาตุแคลเซียมและเกี่ยวกับการดูดซึมน้ำของรากแตงโมด้วย สาเหตุทั้งสองมีความสัมพันธ์กันมาก เพราะธาตุแคลเซียมจะช่วยให้การดูดซึมที่รากดีขึ้นด้วย แตงโม คงต้องการธาตุนี้มากกว่าพืชอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกัน

การป้องกันกำจัด

การปลูกแตงโมควรใช้ปูนขาวใส่ลงในดินสัก 100-150 กิโลกรัมต่อไร่ หรือจะใช้ฉีดพ่นด้วยธาตุแคลเซียม เช่น แคลเซียมคลอไรด์ 0.2 % และควรให้น้ำสม่ำเสมอหรือต้องปลูกในที่ ๆ มีน้ำในระดับที่แตงโมจะดูดซึมได้สม่ำเสมอตลอดเวลา

โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

1. โรคเหี่ยวเฉาเกิดจากแบคทีเรีย (Bacterial wilt)

แตงกวาเป็นโรคนี้มากกว่าอย่างอื่น และแตงโมมีความทนทานต่อโรคนี้สูงมากจนเกือบจะไม่พบโรคนี้เลย ถ้ามีโรคนี้ระบาดจะเสียหายเพราะแตงจะเหี่ยวภายในเวลาอันรวดเร็ว

ลักษณะอาการของโรค

อาการเกิดที่ใบโดยแสดงอาการเหี่ยวเป็นบางใบก่อน อาการเหี่ยวลามไปที่ขั้วใบและเถาแตง ทำให้เถาแตงเหี่ยวตายทั้งต้นในเวลาอันรวดเร็ว เมื่อเหี่ยวมาก ๆ ผลจะเหี่ยวแห้งแล้วต้นพืชจะตาย

การตรวจโรคนี้ใช้วิธีตัดลำต้นที่เป็นโรคตามขวางเพื่อดูเชื้อบักเตรีซึ่งมีลักษณะเป็นของเหลวขุ่นข้นสีเหมือนสีน้ำนม ออกมาจากรอยตัด บางครั้งไม่พบของเหลวดังกล่าวควรนำไปแช่ในน้ำที่สะอาดถ้าพบของเหลวดังกล่าวไหลออกมาทำให้น้ำขุ่นกว่าเดิมก็แสดงว่าพืชนั้นมีแบคทีเรียในเนื้อเยื่อพืชก็ต้องนำมาทำการเพาะเลี้ยงเชื้อหาเชื้อบริสุทธิ์

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งแพร่ระบาดโดยแมลงศัตรูพืช

การป้องกันกำจัด

ถอนต้นที่เป็นโรคไปทำลายเสีย กำจัดแมลงที่อาจนำเชื้อโรค

2. โรคใบจุด โรคใบจุดของผักตระกูลแตงที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย มีเชื้อแบคทีเรียเป็นสาเหตุอยู่ 2 ชนิด

ก. โรคใบจุดเกิดจากแบคทีเรีย (Angular leaf spot_ Bacterial spot jor Blight)

แตงแคนตาลูป แตงโม เป็นโรคนี้มากกว่าอย่างอื่น ส่วนแตงกวา น้ำเต้า มีความคงทนต่อโรคนี้ต่างกัน

ลักษณะอาการของโรค

อาการเริ่มแรกจะเป็นเป็นจุดฉ่ำน้ำ ขนาดแผลไม่แน่นอน ในที่ ๆ มีอากาศชื้นอาจพบเชื้อแบคทีเรียดูดออกมาที่แผล

เมื่อแผลแห้งจุดของแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและใบจะแห้งร่วงไปในที่สุด อาการของโรคเป็นเฉพาะที่ เช่น ที่กิ่ง ใบ ผล แต่แผลที่ผลมีขนาดเล็กกว่า ถ้าเป็นมาก ๆ ผลจะร่วง

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Pseudomonas lachrymans (E.F. Smith and Bryan) Carsner

การป้องกันกำจัด

เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียอาศัยอยู่ในเศษซากพืชและอยู่ในเมล็ด การป้องกันจึงควรแช่เมล็ดพันธุ์ด้วยน้ำร้อน ประมาณ 55 องศาเซลเซียส นาน 10 นาที ก่อนปลูก หรือปลูกพืชหมุนเวียน 3 ปี ควรทำลายเศษซากพืชเสียก่อนปลูกพืชและใช้ยาฆ่าแมลงที่อาจนำเชื้อโรคมาสู่ต้นพืช

ข. โรคใบจุด (Bacterial leaf-spot)

พืชที่เป็นโรคนี้ได้แก่ แตงกวา ฟักทอง แตงโม น้ำเต้า

ลักษณะอาการของโรค

โรคใบจุดนี้มีอาการเหมือนกับชนิดแรกต่างกันพบโรคเฉพาะที่ใบไม่เป็นที่ผล

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย Xanthomonas cucurbitae

การป้องกันกำจัด

ใช้วิธีการป้องกันกำจัดเหมือนชนิดแรก

โรคที่เกิดจากเชื้อรา

1. โรคราน้ำค้าง (Downy mildew)

โรคราน้ำค้างจัดว่าเป็นโรคที่สำคัญของแตงโมทุกพันธุ์รวมทั้งพืชในตระกูลนี้อีกหลายชนิดเช่น แตงกวา แตงร้าน มะระ ฯลฯ ส่วนพวกตำลึง บวบ ฟักทอง ฟักข้าว ไม่ค่อยพบโรคนี้ระบาด

ลักษณะอาการของโรค

ใบแตงโมมีแผลสี่เหลี่ยมสีน้ำตาลอ่อนประปรายทั่วใบ ทำให้ใบแห้งและเหี่ยวอาการจะปรากฎบนใบแก่โคนเถาก่อน โรคระบาดรวดเร็วมากจะทำให้เถาแตงเหี่ยวตายหมดทั้งเถาได้ในเวลาที่อากาศชื้น ด้านท้องใบจะมีกระจุกของราสีขาวหม่นขึ้นบนแผลคล้ายผงแป้ง โรคมักจะระบาดรุนแรงและรวดเร็ว เมื่อแตงกำลังให้ผล ทำให้เถาแตงตายไปก่อนที่แตงโมจะสุก

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis ซึ่งเป็นเชื้อราที่แพร่ระบาดไปในอากาศ

การป้องกันกำจัด

1. คลุกเมล็ดพันธุ์ด้วย ไอเอส อัตราผสม 20 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร

2. ฉีดพ่นด้วย ไอเอส ชนิดใดชนิดหนึ่งฉีดพ่น 5-7 วันต่อครั้ง

โรคราแป้ง

โรคราแป้งจัดว่าเป็นโรคที่ทำความเสียหายมากอีกโรคหนึ่งของแตงโมทุกพันธุ์และพืชในตระกูลนี้เกือบทุกชนิดเป็นโรคนี้ได้ง่าย

ลักษณะอาการของโรค

ใบมีราสีขาวจับคล้ายผงแป้งโดยเฉพาะด้านบนใบและตามผล เมื่อเชื้อราเริ่มจับใบใหม่ ๆ มีลักษณะเป็นวงกลมสีขาวซึ่งจะขยายออกไปจนคลุมเต็มผิวใบทำให้ใบแห้งกรอบเป็นสีน้ำตาลอาการใบแห้งจะเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและทำให้ใบแห้งหมดทั้งเถาได้ เถาแตงโมจะทรุดโทรมเร็ว

สาเหตุของโรค

โรคราแป้งเกิดจากเชื้อรา Oidium sp. ซึ่งสร้างสปอร์สีขาวคล้ายผงแป้งจับเคลือบอยู่บนใบและหลุดปลิวแพร่ระบาดไปในอากาศได้ง่าย

การป้องกันกำจัด

1. ควรฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อรานี้โดยใช้ยากำมะถันผงชนิดละลายน้ำได้ในอัตรา 30-40 กรัม ต่อน้ำ 1 ปี๊บ

2. ใช้ยาคาราเทนหรือมิลเด็กซ์

หมายเหตุ อัตราส่วนตามข้างสลากการฉีดพ่นยาดังกล่าวต้องฉีดพ่นในเวลาที่ไม่มีแสงแดดหรืออากาศร้อนจัด และใช้ความเข้มข้นต่ำไว้ก่อนจะไม่ทำให้เกิดอาการใบไหม้ ยาชนิดอื่นไม่ให้ผลดีเท่ายาที่กล่าวมาแล้ว

3. โรคแอนแทรกโนส (Anthracnose)

แตงโมทุกพันธุ์เป็นโรคนี้และจัดว่าเป็นโรคที่ระบาดทั่วไป โรคนี้ไม่ทำให้เนื้อใบเสียแต่ทำให้แตงโม มีรสหวานน้อยลงและมีสีอ่อนกว่าปกติ ยกเว้นแตงแคนตาลูป ซึ่งมีแผลใหญ่และผลเน่าอย่างรวดเร็วและเสียหายมากกว่าแตงพันธุ์อื่น ๆ

ลักษณะอาการของโรค

โรคนี้ทำให้เกิดจุดหรือแผลนูนเล็ก ๆ สีน้ำตาบประปรายทั่วไป แผลดังกล่าวนี้เกิดบนผลแตงโม ทำให้ผลแตงโมมีผิวขรุขระ พันธุ์ที่ไม่มีความต้านทาน แผลจะขยายใหญ่ขึ้นและเนื้อเยื่อตรงกลางแผลจะยุบต่ำลงไปจากระดับเดิมเล็กน้อย ตรงกลางแผลมีเชื้อราเป็นหยดเยิ้มสีชมพูอ่อน เรียงเป็นวงกลมซ้อนกันหลายชั้นตามขนาดของแผลที่ขยายใหญ่ขึ้น เช่น แผลบนแตงแคนตาลูป

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum lagenarium

การป้องกันกำจัด

ฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เช่น ไอเอส อัตราตามข้างสลากทุก ๆ 5-7 วัน เมื่อเริ่มพบโรคระบาดและเก็บผลที่เป็นโรคทิ้ง เพื่อทำให้มีเชื้อแพร่ระบาดมากขึ้น ยาป้องกันกำจัดเชื้อราเกือบทุกชนิดให้ผลในการป้องกันกำจัดใกล้เคียงกัน การใส่ปุ๋ยอินทรีย์และกากพืชจำนวนมากมีผลทำให้โรคลดน้อยลงได้มาก

4. โรคเหี่ยว (Fusarium wilts)

แตงโม แตงกวา แตงร้าน แคนตาลูป เป็นโรคนี้ทั่วไปทุกแห่ง พืชอื่น ๆ ในตระกูลเดียวกันนี้มีความต้านทานและคงทนต่อโรคสูง จึงไม่ใครพบโรคนี้ ความเสียหายเกิดขึ้นมากน้อยแล้วแต่จำนวนต้นที่เหี่ยวตาย แต่จัดว่าเป็นโรคที่สำคัญโรคหนึ่งซึ่งเป็นมากในระยะที่แตงกำลังตกผล ซึ่งอาจจะทำให้ต้นเหี่ยวตายไปก่อนที่จะเก็บผล

ลักษณะอาการของโรค

ใบแก่ที่อยู่ที่โคนเถาแตงจะเริ่มเหลืองและเหี่ยวตายก่อนแล้วลามไปจนถึงปลายเถาบางต้นมีลำต้นแตกช้ำ แตงมักจะเริ่มเหี่ยวจากแขนงใดแขนงหนึ่งก่อน แล้วจะแห้งตายหมดทั้งเถาในเวลาต่อมา

สาเหตุของโรค

เกิดจากเชื้อรา Fusarium spp. ซึ่งเป็นเชื้อราที่ชอบอาศัยอยู่ในดินที่เป็นทรายมากและเป็นดินกรด ดินที่ปลูกแตงติดต่อกันหลายปีมักจะมีโรคนี้ระบาดมาก

การป้องกันกำจัด

1. ควรปรับดินด้วยปูนขาวประมาณ 100-150 กก. ต่อไร่ และเมื่อจะปลูกซ้ำ ที่ควรจะใส่ปุ๋ยอินทรีย์ให้มากหลังจากการใส่ปูนขาวจะช่วยทำให้โรคนี้ลดน้อยลง ถ้าปุ๋ยอินทรีย์จำพวกปุ๋ยคอกหรือมูลสัตว์หายากก็ควรพิจารณาปลูกพืชตระกูลถั่วแซมหรือสลับแล้วไถกลบต้นถั่วให้เป็นปุ๋ยพืชสดหรือกากพืชลงไปในดิน และไม่ควรปลูกแตงซ้ำที่เกินกว่า 3 ปี

2. ใช้ ไอเอส อัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร รดโคนต้นให้ชุ่ม

หมายเหตุ การใส่ปุ๋ยวิทยาศาสตร์มากจะทำให้เป็นโรคนี้มากขึ้น ควรใส่แต่น้อยแต่ใส่หลาย ๆ ครั้ง

5. โรคใบจุด

แตงมีโรคใบจุดเกิดจากเชื้อราต่างกันหลายชนิด มีอาการคล้ายคลึงกัน การระบาดของโรคไม่รุนแรงเหมือนโรคอื่น ๆ โรคใบจุดของแตงมีดังต่อไปนี้

5.1 โรคใบจุดของแตงเกิดจากเชื้อออเทอนาเรีย (Alternaria)

ลักษณะอาการของโรค

จุดแผลจะฉ่ำน้ำ มีสีเหลือง และสีของแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล หรือเทากลาง ๆแผลมีสีดำ เมื่อแผลมีขนาดใหญ่ แผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มและพบเชื้อราขึ้นเรียงเป็นวงแหวนกลาง ๆ แผลอาจฉีกขาด ผลของต้นที่เป็นโรคมักจะสุกก่อนกำหนด และอาจพบแผลที่ผลและที่ลำต้น

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Alternaria cucumerina (Ellis and Everhart Elliott)

การป้องกันกำจัด

เนื่องจากเชื้อราอาศัยอยู่ในเศษซากพืช การป้องกันกำจัดจึงควรทำดังนี้

1. ทำลายเศษซากพืชที่เป็นโรค

2. ใช้เมล็ดที่ปราศจากโรค

3. คลุกยาคลุกเมล็ด เช่น ไดเทนเอ็ม 45 ชนิดสีแดงเสียก่อนปลูก

4. ปลูกพืชหมุนเวียน 3 ปี

5. ฉีดพ่นด้วย ไอเอส

5.2 โรคใบจุดเกิดจากเชื้อราเซอคอสปอรา

ลักษณะอาการของโรค

จุดของแผลมีขนาดเล็กเป็นรูปกลมหรือเหลี่ยมมีสีน้ำตาล กลาง ๆ จุด มีสีขาวหรือน้ำตาลอ่อนขอบของแผลมีสีม่วง หรือน้ำตาลอ่อน ส่วนมากเกิดด้านใบ

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Cercospora citrullina Cook

การป้องกันกำจัด

ใช้วิธีเดียวกับโรคที่เกิดจากเชื้อออเทอนาเรีย

6. โรคใบแห้ง (Corynespora blight)

แตงกวาเป็นโรคได้ง่าย

ลักษณะอาการของโรค

ลักษณะของแผลที่ใบจะกลมหรือเหลี่ยมมีสีน้ำตาล กลาง ๆ แผลมีสีเขียวหรือเหลือง เมื่อมีแผลมากและแผลมีขนาดใหญ่ขึ้น ใบจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและแห้งตาย แผลบนกิ่งก้าน มีลักษณะยาวตามส่วนของพืช ผลที่ถูกเชื้อเข้าทำลายมักจะเป็นผลที่แก่และผลที่มีสีเหลือง ใบหรือผลอ่อนที่มีสีเขียวเชื้อราชนิดนี้จะไม่เข้าทำลาย

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Corynespora melonia (Cooke) Lindan

การป้องกันกำจัด

1. ทำลายเศษซากพืชที่เป็นโรคและเศษซากพืชหลังเก็บเกี่ยว

2. ใช้ยาเบนเลท ไดเทนเอ็ม 45 หรือ ไดโฟลาแทน ชนิดใดชนิดหนึ่งในการป้องกันกำจัดแต่จากการทดลองพบว่ายาเบนเลทใช้ได้ผลดี

7. โรคดอกเน่า (Choanephora wet-rot)

พืชที่เป็นโรคนี้ได้แก่ น้ำเต้า ฟักทอง และพืชอื่น ๆ

ลักษณะอาการของโรค

บริเวณที่เป็นโรคจะเป็นจุดสีดำขนาดเท่าหัวเข็มหมุด ฉ่ำน้ำและเน่าเละมักเป็นโรคบริเวณยอดอ่อน ๆ และยอดที่กำลังมีดอกโดยยอดจะมีสีซีดกว่ายอดปกติ ต่อมายอดและผลอ่อนจะแห้ง ส่วนมากจะพบโรคนี้ในเวลาที่มีฝนตากชุกและมีน้ำค้างหรือหมอกลงจัด

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อรา Choanephora cucurbitarum

การป้องกันกำจัด

ใช้ยาซาพรอล หรือไดโฟลาแทน อัตราส่วนตามข้างสลาก ฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน

8. โรคผลเน่า

โรคผลเน่าที่พบมากเกิดจากเชื้อรา 2 ชนิด และเป็นมากกับแตงโมและแตงกวา

8.1 โรคผลเน่าเกิดจากเชื้อพิเทียม (Pythium Fruit rot)

ใช้ยาริดโดมิล เอ็มแซด 72 หรือไดโฟลาแทนหรือซาพรอล อัตราส่วนตามข้างสลาก ฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน

ลักษณะอาการของโรค

จะพบโรคนี้ทั้งที่ผลและที่ราก อาการที่ผลจะเน่าและมักพบเส้นใยสีขาวของเชื้อราปกคลุมอยู่ที่ผิวของผล ถ้าเกิดที่รากจะทำให้รากเน่า

สาเหตุของโรค

เกิดจากเชื้อรา Pythium spp.

8.2 โรคผลเน่าเกิดจากเชื้อดิพโพเดีย (Diplodia fruit rot)

แตงโมเป็นโรคนี้ได้มากที่สุด นอกจากนี้มีแตงกวา และแคนตาลูป

ลักษณะอาการของโรค

เมื่อกดดูบริเวณขั้วของแตงโมที่เป็นโรคจะบุ๋ม เชื้อราจะเข้าบริเวณขั้วก่อนเนื้อเยื่อที่ติดกับขั้วจะเน่าและฉ่ำน้ำ อาการเน่าเกิดขึ้นเร็วมาก เมื่อเป็นมาก ๆ ผลแตงจะมีสีดำ ถ้าอากาศชื้น ๆ จะพบเชื้อราสีเทา คลุมอยู่ที่ผล ถ้าพบเป็นโรคในผลที่ยังอ่อนเชื้อราจะเข้ามาบริเวณปลายผล มีอาการเหมือนบริเวณที่ขั้วของผลแตงโมที่ถูกเชื้อชนิดนี้เข้าทำลาย โดยมีสีอ่อนกว่าบริเวณที่ไม่ถูกเชื้อเข้าทำลาย เมื่อแผลมีขนาดใหญ่สีของแผลจะเข้ม พบเชื้อราบริเวณผิวแตงเห็นได้ชัดเจน ต่อมาผิวแตงจะแห้ง เชื้อราชนิดนี้ทำให้เกิดอาการผลเน่าได้เช่นเดียวกับเชื้อราชนิดแรกที่กล่าวมาแล้ว

สาเหตุของโรค

เกิดจากเชื้อรา (Diplodia gossypina coke)

การป้องกันกำจัด

1. ฉีดพ่นยาป้องกันกำจัดเชื้อรา

9. โรครากปม

การปลูกแตงโมในที่บางแห่งมีปัญหาโรครากปมระบาดมาก โรคนี้ไม่ทำให้เถาแตงโมตายแต่ก็ทำให้แตงแคระแกรนไม่ใคร่เจริญเติบโต ทำให้ผลผลิตตกต่ำ

ลักษณะอาการของโรค

ยอดแตงแสดงอาการชูตั้งชันและไม่เจริญยืดยาวออกไป ในเวลากลางวันที่มีอากาศร้อน เถาแตงจะแสดงอาการเหี่ยวและฟื้นเป็นปกติในเวลากลางคืนอีก ถ้าถอนต้นแตงตรวจดูจะพบรากบวมเป็นปมขนาดต่าง ๆ กัน ไม่มีรากฝอยซึ่งเป็นสาเหตุให้การดูดอาหารและน้ำที่รากไม่เป็นปกติเกิดการอุดตันขึ้นเพราะเชื้อโรคเข้าไปอาศัยอยู่และไปกระตุ้นให้เซลส์ของรากโตและมีระบบเนื้อเยื่อรากผิดปกติไป

สาเหตุของโรค

เกิดจากไส้เดือนฝอยชนิดหนึ่ง Meloidogyne spp. ซึ่งตัวเมียจะไชเข้าไปอาศัยอยู่ในราก ทำให้รากบวมโตเป็นปมและแย่งอาหารจากราก

การป้องกันกำจัด

1. ใช้ยาฟูราดาน อัตรา 3 กรัม รองก้นหลุมเมื่อปลูก

2. ควรใช้ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยคอกและกากพืชเพื่อปรับปรุงดินจะช่วยลดปริมาณการเป็นโรคลง โดยเฉพาะการปลูกในดินร่วนปนทราย

3. ถอนต้นพืชที่เป็นโรคทิ้งเพื่อกำจัดไข่ตัวเมียที่จะแพร่ระบาดในแปลง

หมายเหตุ ในดินเหนียวและดินที่มีอินทรีย์วัตถุมาก ๆ ไม่ค่อยเป็นโรคนี้

10. โรคยอดหงิกใบด่าง

โรคยอดหงิกใบด่างของแตงโมและพืชอื่น ๆ เกิดจากเชื้อวิสาซึ่งมีศัตรูจำพวกปากดูดเป็นตัวนำเชื้อโรคให้แพร่ระบาดติดต่อกัน จัดว่าเป็นโรคที่สำคัญอีกโรคหนึ่ง ทำความเสียหายมากเพราะจะทำให้ต้นที่เป็นโรคไม่ผลิดอกออกผล หรือมีผลเล็กผิดปกติ

ลักษณะอาการของโรค

พืชจะแสดงอาการใบมีสีเขียวและเหลืองด่างลายประปรายทั่วใบและเนื้อใบหยักเป็นคลื่น ใบเล็กลง ยอดตั้งชันและชงักการเจริญเติบโต ยอดหก ไม่ผลิดอกออกผลต่อไป

สาเหตุของโรค

โรคนี้เกิดจากเชื้อวิสาที่มีศัตรูจำพวกปากดูดเช่น แมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟและเพลี้ยอ่อนเป็นพาหะนำโรคจากต้นที่เป็นโรคติดต่อไปยังต้นดีได้ง่าย เชื้อวิสาของแตงโมมีหลายชนิดซึ่งทำให้เกิดอาการใกล้เคียงกัน

การป้องกันกำจัด

เนื่องจากมีศัตรูพืชเป็นตัวนำโรคจึงต้องป้องกันมิให้มีศัตรูดังกล่าวระบาดโดยการฉีดพ่นยาฆ่าแมลงประเภทดูดซึม เช่น แลนเนท และเซวิน กำจัดพวกเพลี้ยไฟและเพลี้ยอ่อน และถอนทำลายต้นที่แสดงอาการเป็นโรคออกไปจากไร่ จะช่วยลดโรคนี้หรือป้องกันโรคนี้ได้

หมายเหตุ ศัตรูพวกนี้มีขนาดเล็กมาก แต่พอจะสังเกตเห็นได้ด้วยตาเปล่า เพลี้ยไฟตัวเรียวยาวสีเหลืองอมส้ม เคลื่อนไหวรวดเร็ว ตัวแก่มีสีดำและบินได้

Main Content Reference:
กลุ่มงานวิจัยโรคพืชผักและไม้ประดับ กองโรคพืชและจุลชีวเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์
thaikasetsart.com
อ่าน:3571
การควบคุมศัตรูพืชไม่มีวิธีการใดดีท่ีสุด ต้องใช้หลักการผสมผสาน
การควบคุมศัตรูพืชไม่มีวิธีการใดดีท่ีสุด ต้องใช้หลักการผสมผสาน
ควรเลือกวิธีการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ปลูก ชนิดผัก ระยะเวลาปลูก ชนิดแมลง ลักษณะการทำลาย พฤติกรรมของแมลง การแพร่ระบาด และความจำเป็นของการควบคุม

วิธีเขตกรรม

ปลูกพืชหมุนเวียน ใช้พันธุ์ต้านทาน ทำลายแหล่งอาศัยของแมลงปลูกพืชอื่นสลับกับแปลงผัก จัดการเวลาปลูกและเก็บเกี่ยวทำความสะอาดแปลงปลูก เว้นระยะปลูกเหมาะสม

ตากดิน

หญ้า/วัชพืชเป็นพืชอาศัยของโรค-แมลง ควรไถพรวนเพื่อกำจัดวัชพืช ตากดินโดยยกแปลงเป็นรูปสามเหลี่ยมให้โดนแสงแดดมากที่สุดประมาณ 1 สัปดาห์ พลิกกลับดิน เพื่อกำจัดไข่หรือดักแด้ของแมลงที่อยู่ลึกใต้ดินและยังช่วยกำจัดเชื้อราแบคทีเรีย สาเหตุของโรครากเน่าโคนเน่า

ใช้กับดัก

กับดักแสงไฟล่อผีเสื้อกลางคืน กับดักกาวเหนียว

กางมุ้ง

ป้องกันได้ 50%
(แมลงบางตัววางไข่บนดิน ถ้าตากดินไม่ดีพอ ป้องกันไม่ได้)

ใช้สารสกัดจากธรรมชาติ

ใช้ มาคา ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นเพื่อป้องกันและกำจัดแมลง สม่ำเสมอตามสภาพการระบาดของ เพลี้ย แมลงศัตรูพืช

Reference: main content from nstda.or.th
อ่าน:3981
โรคอินทผลัม โรคเชื้อราเขม่าผง Graphiola Leaf Spot (False Smut) of Palm
โรคอินทผลัม โรคเชื้อราเขม่าผง Graphiola Leaf Spot (False Smut) of Palm
ธรรมชาติของอินทผลัม เป็นพืชที่อยู่ในพื้นที่แห้งแล้งแบบทะเลทราย การนำมาทดลองปลูกในประเทศไทยของเรา มีปัญหาของโรคต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับความชื้นปรากฏให้เห็นอยู่บ้าง โดยเฉพาะโรคเชื้อรา

"โรคเขม่าผง Graphiola Leaf Spot (False Smut) of Palm"

ซึ่งมีลักษณะเป็นผงสีขาวๆ เกิดขึ้นตามใบ ส่วนมากจะเกิดช่วงปลายฝนต้นหนาว แต่บางครั้งก็เกิดในฤดูอื่นๆ เมื่อมีความชื้นในอากาศ การที่ต้นจะตายไม่ใช่ตายเพราะโรคนี้ แต่จะตายเพราะโรคชนิดอื่นที่เข้ามาแทรกในตอนนั้น

- โรคนี้เกิดในพื้นที่ปลูกในภูมิภาคที่มีความชื้นสูง มีฝนมาก แต่ในภูมิภาคที่มีความร้อนและแห้ง จะปรากฏโรคชนิดนี้น้อย

- อินทผลัมพันธุ์แทบทุกสายพันธุ์สามารถเกิดโรคนี้ได้ในสภาพชื้น

- โรคชนิดนี้ เป็นผงจุดสีขาวๆ เกิดตามผิวใบ หากไม่มีโรคชนิดอื่นเกิดขึ้นพร้อมกัน จะปรากฏให้เห็นเป็นผงสีขาวๆ เกิดตามใบเท่านั้น มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับระดังความชื้นที่สะสมมา หากเป็นเฉพาะโรคนี้โรคเดียว ไม่ปรากฏมีโรคอื่น หรือ การขาดสารอาหาร หรือ ขาดน้ำ มาพร้อมกัน โรคชนิดนี้ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้น เอกสารต่างประเทศกล่าวว่า การเกิดโรคชนิดนี้อย่างเดียว เป็นเหมือนเครื่องสำอางค์ของใบเท่านั้น การขาดธาตุอาหารมีผลกระทบกับต้นอินทผลัมมากกว่าโรคนี้

- หากตรวจพบว่าเป็นโรคชนิดนี้แล้ว ไม่แนะนำให้มีการตัดแต่งออกไป ยกเว้นแต่จะเป็นโรคอื่นๆ ด้วย หากจะมีการตัดใบ ต้องมั่นใจว่า ธาตุโพแตสเซียมในดินเพียงพอที่จะทำให้ต้นฟื้นขึ้นมาได้จากการตัดแต่งใบออกไป หากดูแล้วไม่ค่อยจะชอบมันเกิดตามใบ ต้องการจะตัดออก ให้รดปุ๋ยที่มีธาตุโพแตสเซียมลงไปด้วยทุกครั้ง

- แนะนำให้ใช้ ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ฉีดพ่นในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร

- ให้เข้าใจว่า ยาป้องกันและกำจัดเชื้อราเหล่านี้ ไม่ได้ทำให้ใบที่เป็นอยู่แล้วหายไป แต่จะทำให้โรคไม่ลามต่อไปยังใบใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมา หรือ ลามเพิ่มเติมออกไป เท่านั้น

- ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุง ให้ฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของโรคพืช ได้เร็วขึ้น และเจริญเติบโตได้รวดเร็ว สมบูรณ์

กรณีที่เป็นพื้นที่แห้งอยู่แล้ว แต่เนื่องจากการสะสมของโรคในช่วงฝนที่ตกบ่อยมากจึงทำให้เกิดโรคนี้ให้เห็นบ้าง ไม่เป็นมาก โรคแบบนี้ ไม่เป็นเฉพาะอินทผลัม พืชทางเศรษฐกิจที่เขาปลูกกันจำนวนมากก็เป็น วิธีการจัดการเมื่อพบโรคนี้ คือ

- ในช่วงของการเพาะต้นกล้า หากจะทำเรือนเพาะชำแบบมีแสงส่องถึงได้เต็มที่ก็ควรจะทำ เพื่อป้องกันน้ำฝนกที่อาจจะมากเกินไป หรือ ป้องกันน้ำค้างในช่วงฤดูหนาว

- จุดที่วางถุง ควรเป็นพื้นที่แห้ง ไม่ชุ่มน้ำ ไม่ควรวางถุงให้ชิดกัน ควรวางให้ห่างกันเล็กน้อย หากมีพื้นที่จำกัดลองวางให้ห่างกันสัก ๑ นิ้ว หากมีพื้นที่มาก ให้วางห่างกันประมาณสัก ๕ นิ้ว เพื่อให้อากาศรอบถุงหมุนเวียนได้ ไม่สะสมโรคชนิดนี้ รวมทั้งโรคอื่นๆ ที่เกิดขึ้นได้กับต้นอินทผลัม

ในส่วนของต้นที่ปลูกกันอยู่ตอนนี้ที่เป็นอยู่นี้ จุดไหนที่มีความชื้นสูงจะเป็นมากหน่อย และที่แน่ๆ จะเป็นดินเพาะแบบไหน ใส่วัสดุเพาะที่จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคแบบไหนก็ตาม ก็มีโอกาสเป็นเท่ากันหมด หากจุดวางถุงมีความชื้นสูง ทั้งความชื้นใต้ถุง ใต้ดิน และร่มเงามากไป ได้ประยุกต์เพื่อแก้ไข ดังนี้

- รดน้ำให้น้อยลง เพื่อลดความชื้น ไม่ควรรดน้ำอินทผลัมในช่่วงเย็น แต่ควรจะรดน้ำในช่วงเช้า ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดความชื้นสะสมในเวลากลางคืนที่อากาศเย็นนั่นเอง

- ใช้ปูนขาวผสมน้ำรดลงไปบ้าง เพื่อช่วยเรื่องการกำจัดเชื้อโรคบางชนิดในดิน

- บริเวณไหนมีร่มเงาหรือความชื้นมากไป ย้ายถุงเพาะออกไปวางในจุดที่แห้ง มีแสงแดดเต็มที่

Reference: main content from sites.google.com/site/datepalmnongtu/
อ่าน:3565
ยาแก้โรคเน่า ทานตะวันงอก ต้นอ่อนทานตะวัน โรคทานตะวันอ่อน ที่เกิดจากเชื้อราต่างๆ
ยาแก้โรคเน่า ทานตะวันงอก ต้นอ่อนทานตะวัน โรคทานตะวันอ่อน ที่เกิดจากเชื้อราต่างๆ
การแก้ปัญหาเบื้องต้นของ โรคราทานตะวันงอก ทานตะวันงอกใบจุด โรคเน่าคอดิน

ลองใช้ดินผสมขี้เถ้าแกลบดำ เปลี่ยนแทนดินเดิม ในส่วนขั้นตอนของการแช่เมล็ด ให้ผสม ไอเอส ในอัตราส่วน 25 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร เพื่อแช่เมล็ดก่อนปลูก การเลือกใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่ไม่มีโรคจากเชื้อรา ก็เป็นสิ่งสำคัญ และอีกสาเหตุหลักของโรคต่างๆใน ทานตะวัน คือ เชื้อราที่ฝังในดิน ควรกำจัดเชื้อราในดินก่อนปลูก

วิธีเพาะ ต้นอ่อนทานตะวัน. งอก
1. เตรียมวัสดุปลูกมา เกลี่ยให้ทั่วถาดเพาะ โดยวัสดุปลูกอาจจะใช้ มูลไส้เดือน1:ขุยมะพร้าว3ผสมให้เข้ากัน หรือจะใช้ดินปลูกต้นไม้ทั่วไปได้ค่ะ
2. นำเมล็ดที่เเช่น้ำ 6-8 ชม. และเทน้ำทิ้ง หาผ้าชุบน้ำหมาดๆ มาปิดไว้จนรากเริ่มงอก นำเม็ดทานตะวันมาเกลี่ยให้ทั่วถาด
3. รดน้ำให้ชุม พอประมาณ
4. นำถาดมาซอนกัน ปิดไว้อีก 2 วัน จนต้นเริ่มดันถาด
5. เมื่อปิดไว้ 2 วัน จนเมล็ดเริ่มดันถาดเเล้ วค่อยยกถาดออก เเล้วว่างถาดบนชั้นปลูกต่อไป จนต้นโต เเละเก็บผลผลิตต่อไป

การใช้ถาดเพาะ ต้นอ่อนทานตะวัน มีผลดีกว่าการใช้ตะกร้า หรือกะละมัง ปัญหาเรื่องต้นไม่อวบ ขึ้นไม่พร้อมกัน ปัญหาเหล่านี้จะหมดไป

ยาป้องกันกำจัดโรค ยากำจัดเพลี้ย ยากำจัดหนอน ซึ่งใช้ได้กับทุกพืชไร่ พืชสวน ผัก ผลไม้ ที่ปลูกในประเทศไทย

ป้องกันและกำจัดหนอนต่างๆ ฉีดพ่นด้วย ไอกี้-บีที สารชีวินทรีย์กำจัดหนอน

ฉีดพ่น ไอกี้-บีที ในอัตราส่วน 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน

ป้องกันและกำจัดเพลี้ยอ่อน และเพลี้ยต่างๆ ฉีดพ่นด้วย มาคา

ฉีดพ่น มาคา ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน

การป้องกันและยับยั้ง โรคใบไหม้ โรคเน่า และโรคต่างๆที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ใช้ ไอเอส

ฉีดพ่น ไอเอส ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500ซีซี ต่อน้ำ 200ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วแปลงที่มีการระบาด 2-4 ครั้ง แล้วแต่ความหนักเบาของการระบาด แต่ละครั้งของการฉีดพ่น เว้นระยะประมาณ 3-7 วัน

ปุ๋ยสำหรับเร่งผลผลิต เร่งให้พืชให้ฟื้นตัว จากการเข้าทำลาย ของโรคและแมลงศัตรูพืช ใช้ FK-1

FK-1 ใช้เร่งโต เสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรง เพิ่มผลิต

นอกจากเราใช้ FK-1 ฉีดพ่นเพื่อเร่งการเจริญเติบโตของพืชแล้ว เรายังสามารถผสม FK-1 ผสมฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน กับยารักษาโรคพืช และยากำจัดเพลี้ย แมลงศัตรูพืช หรือยากำจัดหนอน จะช่วยให้พืช ฟื้นตัวได้เร็ว จากการเข้าทำลายของโรคและแมลง และกลับมาเจริญเติบโต ได้อย่างสมบูรณ์แข็งแรง

อัตราการใช้ FK-1 แกะกล่องออกมามี 2 ถุง ผสมตัวยาจากสองถุงใช้พร้อมกัน ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร
ใน FK-1 นั้นประกอบด้วย ธาตุหลัก Nitrogen(ไนโตรเจน) 20%_ Phosphorus(ฟอสฟอรัส) 20%_ Potassium(โพแตสเซียม) 20% และธาตุรอง Magnesium(แมกนีเซียม) พร้อมธาตุเสริม Zinc(สังกะสี) และ Sticking ‎agents (สารลดแรงตรึงผิว หรือสารจับใบนั่นเอง)

ขอบคุณข้อมูล อ้างอิงบางส่วนจาก
facebook.com/ 1450292685232110/posts/ 1462052637389448/
อ่าน:3550
คำนิยม - คุณ Love JR ใช้ ไอเอส กำจัดเชื้อราใน แก้วมังกร และ FK-1 เร่งฟื้นตัว
คำนิยม - คุณ Love JR ใช้ ไอเอส กำจัดเชื้อราใน แก้วมังกร และ FK-1 เร่งฟื้นตัว
คำนิยม - คุณ Love JR ใช้ ไอเอส กำจัดเชื้อราใน แก้วมังกร และ FK-1 เร่งฟื้นตัว

อ่าน:3409
คำนิยม - ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและกำจัดเชื้อรา ใช้ดี ลูกค้าซื้อซ้ำต่อเนื่อง
คำนิยม - ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและกำจัดเชื้อรา ใช้ดี ลูกค้าซื้อซ้ำต่อเนื่อง
หลังจากนำไปใช้ 16 สัปดาห์ ลูกค้ายังกลับมาสั่งซื้อ ไอเอส ในช่องทางเดิม ขอบคุณลูกค้าที่ไม่ลืมกันนะคะ
อ่าน:3448
โรคไหม้คอรวง ข้าวขาดคอรวง ข้าวเน่าคอรวง แก้ด้วย ไอเอส สารอินทรีย์กำจัดเชื้อรา ปลอดภัย
โรคไหม้คอรวง ข้าวขาดคอรวง ข้าวเน่าคอรวง แก้ด้วย ไอเอส สารอินทรีย์กำจัดเชื้อรา ปลอดภัย
โรคไหม้คอรวง ข้าวขาดคอรวง ข้าวเน่าคอรวง แก้ด้วย ไอเอส สารอินทรีย์กำจัดเชื้อรา ปลอดภัย
โรคไหม้คอรวง ถ้าเป็นในระยะออกรวงข้าวเพิ่งจะเริ่มให้รวง เมื่อถูกเชื้อราสาเหตุของโรคนี้เข้าทำลายเมล็ดจะลีบหมดแต่ถ้าเป็นกับข้าวในระยะแก่ใกล้เก็บเกี่ยวคอรวงจะมีรอยแผลช้า สีน้ำตาลเทา ให้เปราะหักง่าย รวงข้าวร่วงหล่นเสียหายมาก

สาเหตุเชื้อรา Pyricularia oryzae.
การแพร่ระบาด พบโรคในแปลงที่ต้นข้าวหนาแน่น ทำให้อับลม ถ้าใส่ปุ๋ยไนโตรเจนสูงและมีสภาพแห้งในตอนกลางวนัและชื้นจัดในตอนกลางคืน น้ำค้างยาวนานถึงตอนสายราว 9 โมงอากาศค่อนข้างเย็น อุณหภูมิประมาณ 22-25 องศาเซลเซียส ลมแรงจะช่วยใหโ้รคแพร่กระจายไดดี

สั่งซื้อได้ 3 ช่องทาง
โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกเพื่อแอดไลน์ http://line.me/ti/p/~FarmKaset เฟสบุ๊คแชทสั่งซื้อ
https://www.facebook.com/farmkaset มีเจ้าหน้าที่คอยตอบตลอดเวลา
อ่าน:3589
790 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 79 หน้า, หน้าที่ 80 มี 0 รายการ
|-Page 79 of 80-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
การใช้ Metalaxyl ผสม Starfer Fertilizer 30-20-5 ฉีดพ่นป้องกันและกำจัดโรคในพริก
Update: 2567/02/28 13:29:58 - Views: 3417
ข้าววัชพืช ป้องกัน กำจัด ลดปริมาณ เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว
Update: 2564/08/25 10:58:39 - Views: 3406
การควบคุมโรคเชื้อราในแก้วมังกร อย่างมีประสิทธิภาพด้วย
Update: 2566/05/04 09:40:51 - Views: 3394
ฟาร์มิค ฮิวมิค แอซิด ฟื้นระบบราก ปลดปล่อยธาตุอาหารไห้กับพืช ปรับปรุงโครงสร้างดิน ช่วยไห้ดินร่วยซุย ระบายน้ำดี สร้างระบบรากฝอย สำหรับฉีดพ่น ต้นเงาะ
Update: 2567/02/13 09:47:16 - Views: 3525
ระวัง!! เพลี้ยอ่อน..ในต้นข้าวโพด สร้างความเสียหายได้มาก จัดการได้อย่างไร
Update: 2566/11/06 14:37:49 - Views: 3409
กำจัดเชื้อรา ต้นหอม ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/09/22 11:33:56 - Views: 3416
กำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าหนอนเจาะสมอฝ้าย ใน หน่อไม้ฝรั่ง และ พืชทุกชนิด บาซีเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/03/02 13:57:52 - Views: 3444
สารออกฤทธิ์ฮิวมิคแอซิดของยี่ห้อฟาร์มิคสำหรับฟื้นฟูระบบรากและปลดปล่อยธาตุอาหารให้กับพืช
Update: 2567/02/13 09:26:05 - Views: 3434
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคราสนิม ในผักบุ้ง ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง 100%
Update: 2565/12/26 09:35:17 - Views: 3431
ยาฆ่าเพลี้ย แมลงจำพวกปากดูด ใน ลองกอง และพืช ทุกชนิด เป็นสารชีวภาพปลอดภัย ปลอดสารพิษ มาคาและ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2566/03/23 11:12:36 - Views: 3417
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคหัวเน่า ในมันหวานญี่ปุ่น ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/06 13:59:39 - Views: 3448
ดูแลมังคุดให้ได้ผลผลิตสูง ตลอดช่วงอายุ
Update: 2567/11/04 17:25:18 - Views: 20
การป้องกันกำจัด โรคใบไหม้ ใบจุด ไฟธอปธอร่า ในต้นยางพารา ด้วย ไอเอส และ FK-1
Update: 2566/02/22 13:34:52 - Views: 3396
กำจัดเพลี้ย ในพืชทุกชนิด เช่นเพลี้ยแป้ง เพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ และเพลี้ยต่างๆด้วย INVET
Update: 2566/10/09 14:04:22 - Views: 3443
การทำปุ๋ยสูตร 16-16-8 ใช้เอง โดยใช้ แอพผสมปุ๋ย ช่วยคำนวณ
Update: 2566/01/30 07:26:10 - Views: 3542
แก้โรคทุเรียนใบไหม้ ทุเรียนใบติด รักษาอาการทุเรียนใบไหม้ โรคใบติดทุเรียน ด้วยการฉีดพ่น ยับยั้งการระบาดของเชื้อรา
Update: 2563/07/02 14:34:05 - Views: 3511
ฟาร์มิค ฮิวมิค แอซิด สารปรับปรุงดิน ฟื้นระบบราก ปลดปล่อยธาตุอาหาร เพิ่มผลผลิต สำหรับต้นแตงไทย
Update: 2567/02/13 09:28:41 - Views: 3447
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยอ่อน ในต้นกล้วย และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/01/30 09:46:32 - Views: 3421
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 0-0-60 เป็นตัวช่วยที่ทำให้มะเขือเทศของคุณมีผลผลิตที่ดก ผลใหญ่ สวยงาม และมีคุณภาพดี
Update: 2567/03/06 14:54:55 - Views: 3450
ปุ๋ยสำหรับโกโก้ ปุ๋ยเพิ่มผลผลิตโกโก้ ยารักษาโรครา แก้โกโก้ใบไหม้ ปุ๋ยและยาฯ สำหรับ โกโก้
Update: 2564/10/26 02:05:50 - Views: 3425
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022