[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - FK-1
898 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 89 หน้า, หน้าที่ 90 มี 8 รายการ

โรคราแป้งกุหลาบ
โรคราแป้งกุหลาบ
กรมวิชาการเกษตร เพื่อเกษตรกร ระยะนี้อากาศเย็น และมีหมอกในตอนเช้าอาจส่งผลกระทบต่อการปลูกกุหลาบ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกกุหลาบเฝ้าระวังการเกิดโรคราแป้ง สามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของต้นกุหลาบ

โดยจะพบอาการของโรคได้กับทุกส่วนของพืช บนใบอ่อน หรือดอกตูม เริ่มแรกจะพบแสดงอาการบนผิวใบเกิดรอยแผลจุดสีชมพูเข้ม ต่อมาจะพบเชื้อรามีลักษณะคล้ายผงแป้งสีขาวเกิดขึ้นเป็นหย่อมๆ ทั้งด้านบนใบและใต้ใบ หากรุนแรง จะพบผงสีขาวบนก้านใบ กิ่ง ดอก ก้านดอก ใบอ่อน กลีบเลี้ยง กลีบดอก และลำต้น หรือพบผงสีขาวทั่วทั้งต้น ทำให้ใบและดอกบิดเบี้ยวเสียรูปทรง ใบจะเหลืองแล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แห้งกรอบ และร่วงในที่สุด

เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูก กำจัดวัชพืช ตัดแต่งและเก็บส่วนที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เพื่อลดความชื้น ลดแหล่งสะสมเชื้อราสาเหตุโรค ทำให้สภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมต่อการระบาดของโรค หากเริ่มพบต้นที่เป็นโรค ให้เกษตรกรพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ราแป้ง ราน้ำค้าง โรคใบไหม้ ใบจุด

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
โรคราแป้งในพืชตระกูลแตง (เชื้อรา Oidium sp.)
โรคราแป้งในพืชตระกูลแตง (เชื้อรา Oidium sp.)
ชนิดพืชที่อาจเกิดผลกระทบ : พืชตระกูลแตง เช่น แตงกวา แตงร้าน แตงโม แตงไทย เมล่อน แคนตาลูป ซูกินี ฟักทอง ฟักเขียว ฟักแม้ว มะระจีน และบวบ

ระยะการเจริญเติบโตของพืช : ทุกระยะการเจริญเติบโต

ปัญหาที่ควรระวัง : โรคราแป้ง (เชื้อรา Oidium sp.)

ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ

พบเชื้อราคล้ายผงแป้งสีขาวเกิดเป็นหย่อมๆ บนใบมักพบที่ใบส่วนล่างของต้นก่อน ถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสมอาการโรคจะกระจายทั่วทั้งใบ และลุกลามขึ้นไปยังใบส่วนบนของต้น เห็นเชื้อราคล้ายผงแป้งสีขาวปกคลุมใบเกือบทั้งต้น ต่อมาใบค่อยๆซีดเหลืองและแห้ง หากโรคระบาดรุนแรงจะลุกลามไปยังทุกส่วนของพืช ทำให้ต้นแห้งตายในที่สุด ถ้าพืชเป็นโรคในระยะติดผลอ่อน จะทำให้ผลแกร็น บิดเบี้ยว ผวขรุขระ เป็นตุ่ม หรือแผลที่เปลือก

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1. ดูแลและบำรุงรักษาต้นพืชให้มีความแข็งแรง สมบูรณ์

2. หมั่นกำจัดวัชพืช เพื่อให้มีการถ่ายเทอากาศในแปลงได้ดี

3. ตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ เมื่อพบโรคเริ่มระบาด พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรค

4. แปลงที่เป็นโรค หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตแล้ว ควรเก็บซากพืชไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ราแป้ง ราน้ำค้าง โรคใบไหม้ ใบจุด

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
โรคราแป้งองุ่น
โรคราแป้งองุ่น
กรมวิชาการเกษตรเตือนเกษตรกรผู้ปลูกองุ่นให้สังเกตโรคราแป้ง ด้วยในช่วงปลายหนาวต้นร้อนสภาพอากาศมีความชื้นต่ำ กลางวันร้อน กลางคืนเย็น เอื้อให้เกิดการระบาดของโรคราแป้ง

มักพบอาการของโรคได้ในระยะองุ่นกำลังพัฒนาผล และอาการของโรคจะเกิดได้กับทุกส่วนของต้นองุ่น โดยจะพบเชื้อราลักษณะคล้ายผงแป้งสีขาวเกิดกระจายเป็นหย่อมๆ ต่อมาผงสีขาวจะเปลี่ยนเป็นสีเทา

อาการที่ใบ...จะพบผงสีขาวของเชื้อราทั้งด้านบนใบและใต้ใบ โดยในระยะแรกบริเวณใบที่ถูกเชื้อราเข้าทำลายจะมีสีเหลืองอ่อนและจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล หากอาการรุนแรงจะทำให้ใบม้วนงอ เสียรูป ใบจะเหี่ยวและแห้งตายในที่สุด

อาการที่กิ่งอ่อนและยอด...จะพบผงสีขาวของเชื้อราตามกิ่งอ่อนและยอด โดยในระยะแรกบริเวณที่ถูกเชื้อราเข้าทำลายจะมีสีเทาและจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล หากโรคระบาดรุนแรงจะพบผงสีขาวของเชื้อราขึ้นคลุมเต็ม ทำให้แคระแกร็นและแห้งตาย

อาการที่ช่อดอก...จะพบผงสีขาวของเชื้อราตามช่อดอก ทำให้ดอกเหี่ยวแห้งและดอกร่วงไม่ติดผล

อาการที่ผล...จะพบผงสีขาวของเชื้อราบนผลองุ่น ทำให้ผิวของผลเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ผลองุ่นบิดเบี้ยว บางครั้งทำให้ผลแตก

ดังนั้นเกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ ตัดแต่งกิ่งองุ่นให้โปร่ง มีอากาศถ่ายเทสะดวก อย่าให้มีใบแน่นทึบจนเกินไป เพื่อลดความชื้นในแปลงปลูก และไม่ให้เป็นแหล่งสะสมของเชื้อ

ถ้าพบโรคเริ่มระบาดให้เกษตรกรตัดและเก็บส่วนที่เป็นโรคนำออกจากแปลงไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณการสะสมของเชื้อสาเหตุโรค

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ราแป้ง ราน้ำค้าง โรคใบไหม้ ใบจุด

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
ราแป้งเงาะ โรคราแป้งที่พบในเงาะผลอ่อน
ราแป้งเงาะ โรคราแป้งที่พบในเงาะผลอ่อน
อากาศร้อน และมีฝนตกในบางพื้นที่ระยะนี้ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรชาวสวนเงาะเฝ้าระวังการเกิดโรคราแป้ง มักพบได้ในระยะที่ต้นเงาะสร้างช่อดอกและเริ่มติดผลอ่อน เริ่มแรกจะพบผงสีขาวหรือสีเทาอ่อนคล้ายแป้งเกาะบนช่อดอกและตามร่องขนของผลเงาะ ทำให้ต้นเงาะติดผลน้อยหรือไม่ติดผล กรณีที่ต้นเงาะติดผลจะมีผลขนาดเล็กไม่สมบูรณ์ ผลหลุดร่วงง่ายหรือทำให้ผลเน่าแห้งติดคาที่ก้านช่อ หากเป็นโรคราแป้งในระยะผลโต จะทำให้ขนที่ผลแห้ง แข็ง ผิวผลมีสีคล้ำไม่สม่ำเสมอ ถ้าอาการรุนแรงจะทำให้ขนกุด เรียกว่า เงาะขนเกรียน สำหรับในระยะที่ผลเงาะกำลังสุก ส่วนที่มีเชื้อราปกคลุมจะมีสีซีดกว่าปกติ อาจพบอาการของโรคได้ที่ส่วนยอดและใบ หากอาการรุนแรงจะทำให้ใบอ่อนร่วง

สำหรับแนวทางในการป้องกันโรคราแป้ง ให้เกษตรกรกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก และตัดแต่งทรงพุ่มต้นเงาะให้โปร่ง อากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อเป็นการลดความชื้นในทรงพุ่ม และลดแหล่งสะสมของเชื้อสาเหตุโรค จากนั้น เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบโรค ให้เกษตรกรตัดแต่งและเก็บส่วนที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสาเหตุโรค ส่วนเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการเกษตรเมื่อใช้ในแปลงที่มีการระบาดแล้ว เกษตรกรควรนำเครื่องมือมาทำความสะอาดด้วยการล้างและผึ่งแดดให้แห้งก่อนนำกลับไปใช้ในแปลงทุกครั้ง

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ราแป้ง ราน้ำค้าง โรคใบไหม้ ใบจุด

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
โรคราน้ำค้าง : DOWNY MILDEW DISEASE
โรคราน้ำค้าง : DOWNY MILDEW DISEASE
เชื้อสาเหตุ : รา Peronospora parasitica (Pers. Ex.Fr.) Fr. ชีววิทยาของเชื้อ : ราสร้างเส้นใยแบบไม่มีผนังกั้นตามขวาง ก้านชูสปอร์ยาวตรง แตกกิ่งก้านเป็น มุมแหลมคล้ายต้นไม้ ปลายสุดของกิ่งก้านมีลักษณะบางเรียวเล็ก สปอร์เป็นรูปไข่ หรือกลมใส ไม่มีสี ติดอยู่ตรง ปลายสุดของก้านชูสปอร์ สปอร์งอกเป็นเส้นใย

ลักษณะอาการ : โรคสามารถแสดงอาการได้ทุกระยะการเจริญของพืช ในระยะกล้า ใบเลี้ยงเกิดเป็น จุดช้ำสีน้ำตาลหรือดำ ลำต้นเน่า ยุบตัว ทำให้พืชตายหรือแคระแกร็น ไม่เจริญเติบโต ในระยะต้นโตอาการระยะ แรกมักเกิดจุดสีเหลืองเป็นหย่อมๆ หรือเป็นปื้นเหลืองด้านหน้าใบ มีเส้นใยสีขาวหรือเทาคล้ายปุยฝ้ายด้าน หลังใบ แต่ในสภาพอากาศแห้งมักจะพบแต่อาการเหลืองซีดเท่านั้น เมื่อเกิดการระบาดรุนแรง แผลขยาย ขนาดใหญ่มากขึ้น เนื้อใบกลายเป็นสีเหลือง สีน้ำตาล และแห้งตาย ในกะหล่ำดอกและบร๊อคโคลี่ ถ้าเชื้อ เข้าทำลายในระยะสร้างดอก จะเกิดเป็นจุดดำเล็กๆ บนช่อดอก หากอาการรุนแรงดอกอาจยืดหรือบิดเบี้ยวเสีย รูปทรง ในกะหล่ำปลีเกิดแผลเป็นจุดเล็กๆ บนใบ ไม่ค่อยขยายขนาด

การแพร่ระบาด : ราแพร่กระจายไปกับลม น้ำฝนหรือน้ำที่ใช้ในการเพาะปลูก อาการของโรคพบได้ทั่วไป สภาวะอุณหภูมิต่ำและความชื้นสูง หมอกหรือน้ำค้างลงจัด เป็นสภาพที่เหมาะสมต่อการเกิดโรคและการระบาด เชื้อราอยู่ข้ามฤดูปลูกโดยสร้างสปอร์ผนังหนา ซึ่งติดอยู่ตามเศษซากพืช วัชพืชหรืออาศัยกับต้นที่งอกเองนอกฤดู และสามารถติดไปกับเมล็ดพันธุ์ได้

การป้องกันกำจัด :

1. ใช้เมล็ดพันธุ์ปราศจากเชื้อ หรือแช่เมล็ดในน้ำอุ่นอุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส นาน 20-30 นาที ก่อนปลูก หรือคลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช เมทาแลกซิล หรือ เมทาแลกซิล+แมนโคเซบ

2. ควรปลูกพืชให้มีระยะห่างพอสมควร ไม่เบียดแน่นจนเกินไป

3. หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรเก็บทำลายเศษซากพืชออกจากบริเวณแปลงปลูก

4. ควรหลีกเลี่ยงการปลูกซ้ำในแปลงที่เคยมีการระบาด และควรปลูกพืชหมุนเวียน

5. เมื่อพบอาการของโรคในแปลง ควรฉีดพ่นด้วยสารป้องกันกำจัด

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ราแป้ง ราน้ำค้าง โรคใบไหม้ ใบจุด

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
โรคราแป้งองุ่น และ โรคราน้ำค้างองุ่น
โรคราแป้งองุ่น และ โรคราน้ำค้างองุ่น
การปลูกองุ่นในประเทศไทยสามารถให้ผลผลิตที่มีคุณภาพได้ แต่ไทยเป็นประเทศที่อยู่ในเขตร้อนชื้น จึงมักพบโรคและแมลงศัตรูที่สำคัญที่สร้างความเสียหายให้กับองุ่น เช่น โรคราน้ำค้าง โรคราแป้ง โรคแอนแทรคโนส เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง และหนอนกระทู้ เป็นต้น ทำให้เกษตรกรใช้สารเคมีเพื่อป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูองุ่นในปริมาณที่มากเกินความจำเป็น ส่งผลกระทบต่อสุขภาพของเกษตร ผู้บริโภค และสิ่งแวดล้อม ดังนั้นการจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน (Integrated Pest Management; IPM) จึงเป็นทางเลือกหนึ่งในการป้องกันกำจัดโรคและแมลงศัตรูพืชที่เป็นมิตรต่อคนและสิ่งแวดล้อม เป็นการเลือกใช้วิธีการจัดการศัตรูพืชตั้งแต่ 2 วิธีการขึ้นไปมาใช้ร่วมกันอย่างเหมาะสม เป็นการลดการใช้สารเคมีเกษตรในการป้องกันกำจัดศัตรูพืช หรือใช้เท่าที่จำเป็นเท่านั้นเพื่อลดระดับปริมาณศัตรูพืชให้อยู่ในระดับที่ไม่ก่อให้เกิดความเสียหายทางเศรษฐกิจ และเกิดความสมดุลของระบบนิเวศ โรคและแมลงศัตรูองุ่นที่สำคัญ ได้แก่

โรคราน้ำค้างองุ่น (Downy mildew)

เชื้อสาเหตุ : Plasmopara viticola

ลักษณะอาการ : เป็นขุยสีขาวที่ใต้ใบองุ่น ด้านบนใบจะเห็นเป็นสีเหลืองเป็นจ้ำๆ ถ้าเป็นรุนแรงใบจะไหม้ ช่อดอกและผลอ่อนเหี่ยวแห้ง

การระบาด : ระบาดในช่วงฤดูฝน หรือในช่วงที่มีความชื้นสูง

การป้องกันกำจัด :

1. หมั่นตรวจสอบแปลงและป้องกันกำจัดตั้งแต่เริ่มพบโรค
2. กำจัดวัชพืชในโรงเรือนและรอบโรงเรือน
3. งดให้น้ำในช่วงเย็น
4. การใช้สารปลอดภัย


โรคราแป้งองุ่น (Powdery mildew)

เชื้อสาเหตุ : Oidium tuckeri

ลักษณะอาการ : เป็นขุยแป้งขี้เถาสีขาว เกิดบนใบ กิ่ง และผล

การระบาด : ระบาดในช่วงปลายฤดูฝน-ฤดูหนาว

การป้องกันกำจัด :

1. หมั่นตรวจสอบแปลงและป้องกันกำจัดตั้งแต่เริ่มพบโรค
2. กำจัดวัชพืชในโรงเรือนและรอบโรงเรือน
3. การใช้สารปลอดภัย

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ราแป้ง ราน้ำค้าง โรคใบไหม้ ใบจุด

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
เพลี้ยไฟ (rice thrips)
เพลี้ยไฟ (rice thrips)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Stenchaetothrips biformis (Bagnall) วงศ์ : Thripidae อันดับ : Thysanoptera

เพลี้ยไฟ Stenchaetohrips biformis (Bagnall) เป็นแมลงจำพวกปากดูด ขนาดเล็กลำตัวยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีสีดำ ตัวอ่อนสีเหลืองอ่อน ตัวเต็มวัยวางไข่ในเนื้อเยื่อของใบข้าว ตัวอ่อน มี 2 ระยะ ระยะเวลาตั้งแต่ตัวอ่อนถึงตัวเต็มวัยนานประมาณ 15 วัน

ลักษณะการทำลายและการระบาด

เพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะทำลายข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยง จากใบข้าวที่ยังอ่อนโดยอาศัยอยู่ตามซอกใบ ระบาดในระยะกล้า เมื่อใบข้าวโตขึ้นใบที่ถูกทำลายปลายใบจะเหี่ยวขอบใบจะม้วนเข้าหากลางใบและ อาศัยอยู่ในใบที่ม้วนนั้น พบทำลายข้าวในระยะกล้าหรือหลังปักดำ 2-3 สัปดาห์ โดยเฉพาะในอากาศร้อนแห้งแล้งหรือฝนทิ้งช่วงนานติดต่อกันหรือสภาพนาข้าวที่ ขาดน้ำ ถ้าระบาดมากๆ ทำให้ต้นข้าวแห้งตายได้ทั้งแปลง

พืชอาหาร

ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ มิลเลท ป่านลินิน หญ้าข้าวนก หญ้าไซ และหญ้าต่างๆ

การป้องกันกำจัด

1) ดูแลแปลงข้าวระยะกล้าหรือหลังหว่าน 7 วัน อย่าให้ขาดน้ำ

2) ไขน้ำท่วมยอดข้าวทิ้งไว้ 1-2 วัน เมื่อตรวจพบเพลี้ยไฟตัวเต็มวัย 1-3 ตัวต่อต้นในข้าวอายุ 6-7 วันหลังหว่าน ใช้ปุ๋ยยูเรียอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านเมื่อข้าวอายุ 10 วัน เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของต้นข้าว

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

มาคา สารอินทรีย์ ป้องกัน กำจัด เพลี้ยไฟ และเพลี้ยต่างๆ

FK-1 บำรุง ฟื้นฟู ส่งเสริมการเจริญเติบโต ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
โรคพืชวงศ์แตง แตงโม แตงกวา เมลอน สคว็อช ซุคคินี่
โรคพืชวงศ์แตง แตงโม แตงกวา เมลอน สคว็อช ซุคคินี่
สำรวจโรคในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์แตงโม (19แปลง) แตงกวา (16 แปลง) เมลอน (93 แปลง) สคว็อช (33แปลง) ซุคคินี่ (28แปลง) ในเขต อ.เมืองขอนแก่น _ อ.หนองเรือ_ อ.น้ำพอง จังหวัดขอนแก่น และ อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม_ กิ่งอำเภอเอราวัณ จ.เลย_ อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู_ อ.ดอนตาล และ อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร และน้ำเต้า(17 แปลง) ในอ.ยางตลาด อ.ห้วยผึ้ง จ.กาฬสินธุ์

ในช่วงฤดูการปลูกปลายธันวาคม 2548- เดือนเมษายน 2549_ กันยายน - พฤศจิกายน 2549 และช่วงฤดูปลูกปลายธันวาคม 2549 ถึง เมษายน 2550 ในแต่ละแปลงได้สำรวจโรค 2 ครั้งคือ ในช่วงที่เริ่มผสมเกสรหรือติดผลแรก และในระยะที่ผลแก่เต็มที่ก่อนเก็บเกี่ยว รวมทั้งการตรวจวินิจฉัยตัวอย่างโรคแตงโมที่ปลูกอยู่ในแหล่ง อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น อ. พรรณานิคม จ. สกลนคร และ อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ ซึ่งบริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์ส่งมาให้ตรวจ

ได้พบโรคที่สำคัญต่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ซึ่งอาการโรคมีความแตกต่างไปตามชนิด โรค ชนิดพืช สายพันธุ์พืช ระยะการเจริญของพืชและวิธีการดูแลรักษาแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกร และระดับความรุนแรงของโรคแต่ละชนิดในแปลงแตกต่างกันไปตามสภาพการเอา ใจใส่ดูแลแปลง และสภาพพื้นที่ปลูก และสายพันธุ์พืช

แบ่งออกได้เป็นกลุ่มใหญ่ คือ

กลุ่มที่ 1) โรคที่เกิดจากเชื้อรา จัดเรียงตามลำดับความถี่ที่พบจากมากไปน้อย ได้แก่ โรคเถาแตกยางไหล (gummy stem blight) จากเชื้อรา Didymella bryoniae หรือ Phoma cucurbitarum โรคเถาแตกผลเน่าดำจากเชื้อราไฟซาโลสปอรา (Physalospora rhodina) โรคราน้ำค้าง(downy mildew) จากเชื้อรา Pseudoperospora cubensis โรคราแป้ง (powdery mildew) เกิดจากเชื้อรา Oidium sp. โรคเหี่ยวฟิวซาเรี่ยม (fusarium wilt) เกิดจากเชื้อรา Fusarium spp. โรคใบจุดเซอร์คอสปอรา (Cercospora leaf spot) เกิดจากเชื้อรา Cercospora sp. โรคใบจุดคอไรนีสปอรา (Corynespora leaf spot) เกิดจากเชื้อรา Corynespora sp. โรคแอนแทรกโนส (anthracnose) เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum orbiculare โรคเหี่ยวสเคลอโรเตียม (sclerotium wilt) เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii โรคผลเน่าจากเชื้อราพิเทียม (Pythium spp.)

กลุ่มที่ 2) โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย จัดเรียงตามลำดับความถี่ที่พบจากมากไปน้อย ได้แก่ โรคใบจุดแบคทีเรียจากเชื้อ แซนโทโมแนส (Xanthomonas leaf spot) จากเชื้อ Xanthomonas spp._ โรคผลเน่าแบคทีเรีย(bacterial fruit blotch เกิดจากเชื้อ อะซิโดโวแรกซ์ (Acidovorax avenae subsp. citrulli) โรคผลเน่าจากเชื้อเออร์วิเนีย (Erwinia spp.) โรคเหี่ยว ต้นหรือเถาเน่าเละ (wilt and stem or vine soft rot) จากเชื้อเออร์วิเนีย (Erwinia spp.) และกลุ่มอาการโรคที่จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยระบุชนิดเชื้อ เพิ่มเติมคือ โรคเหี่ยวเฉียบพลัน (sudden wilt) ในเมลอน โรคยอดไหม้ถอยกลับ (die back) โรคเหี่ยวเขียวในแตงกวา (bacterial wilt) และโรคเถาเหี่ยวเหลืองในแตงกวา (yellow vine wilt) โรคเถาแห้ง (vine necrosis)

กลุ่มที่ 3) โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เรียงตามความถี่ที่พบจากมากไปน้อย คือ โรคใบด่างซีเอ็มวี (Cucumber mosaic virus) โรคใบด่างจากเชื้อในจีนัสโพทีไวรัสซึ่งมีหลายชนิด ได้แก่ ไวรัสใบด่างจุดวงแหวนมะละกอ (Papaya ringspot virus-W)_ ไวรัสใบด่างซุคคินี่ (Zucchini yellow mosaic virus)_ และไวรัสในวงศ์โพทีวิริดีที่ยังไม่ได้จำแนกระบุชนิด โรคใบด่างเนื้อเยื่อตายที่เกิดจากไวรัสในจีนัสทอสโพไวรัส (Tospovirus) โรคใบด่างเขียวที่เกิดจากเชื้อไวรัสใบด่างเขียว( Cucumber green mottle mosaic virus) และกลุ่มไวรัสที่จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยระบุชนิดเพิ่มเติม คือ โรคไวรัสใบด่างเนื้อเยื่อตาย และโรคไวรัสเถาเหลือง

กลุ่มที่ 4) โรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอย ในบางพื้นที่พบปัญหาสำคัญที่เกิดจากไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne spp.)

และ กลุ่มที่ 5) โรคที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต (abiotic disease) ที่พบมากคือ การเป็นพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสารกำจัดวัชพืชที่ฉีดพ่นแบบไม่ถูกต้อง

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
โรคราน้ำค้างแตงโม
โรคราน้ำค้างแตงโม
โรคราน้ำค้างที่เกิดกับแตงโม ลักษณะที่มองเห็นได้ คือ เกิดจุดสีเหลืองบนหลังใบ และขยายตัวใหญ่ขึ้น จำนวนจุดสีเหลืองเพิ่มปริมาณมากขึ้น และใต้ใบตรงตำแหน่งเดียวกัน จะมีกลุ่มของเชื้อราสีม่วงอมเทาเกาะเป็นกลุ่มอยู่ เชื้อโรคนี้เจริญได้อย่างรวดเร็ว เมื่ออากาศอุ่นและชุ่มชื้น เมื่อใบแก่ตายเชื้อก็จะไปทำลายใบอ่อนต่อไป เมื่อใบแห้งไปหมดแล้ว ผลที่เกิดขึ้นมาก็คือ แตงติดผลน้อยและคุณภาพผลแก่ก็ต่ำด้วย สปอร์ของเชื้อรานี้แพร่ระบาดไปโดยลมและโดยแมลงพวกเต่าแตง

สาเหตุของโรคราน้ำค้างแตงโม

คล้ายๆกับโรคราน้ำค้างทั่วๆ ไป คือ ชอบอุณหภูมิที่ค่อนข้างเย็นและความชื้นสูงในการเกิด และการเข้าทำลายพืช โรคราน้ำค้างของแตงโมจะเจริญเติบโตระบาดได้ดีในช่วงของอุณหภูมิระหว่าง 16-27 องศาเซลเซียส แต่จะดีที่สุดที่ 20 องศาเซลเซียสส่วนความชื้นนั้นต้องสูงเกินกว่า 86% ขึ้นไป

การป้องกันและกำจัดโรคราน้ำค้าง

ขจัดทำลายวัชพืชพวกแตงต่างๆ และต้นที่งอก หรือหลงเหลือจากการเก็บเกี่ยวให้หมดจากบริเวณหรือแปลงปลูก

เมื่อปรากฏมีโรคเกิดขึ้นในแปลงปลูก ให้รีบป้องกันการระบาดเพื่อรักษาต้นที่ยังดีอยู่โดยการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชจากเชื้อรา

อ้าอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
แตงโมเถาเหี่ยว
แตงโมเถาเหี่ยว
โรคแตงโมเถาเหี่ยว เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum ใบแตงโมเหลือง จากโคนเถา ลุกลามสู่ยอด และเริ่มเหี่ยวแห้งตาย ส่งผลโดยตรงต่อผลผลิต

ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ

แตงโมจะแสดงอาการใบเหลืองโดยเริ่มจากใบบริเวณโคนเถาและเหลืองต่อเนื่องไปสู่ยอด ต่อมาเถาแตงจะเหี่ยวและตาย บางครั้งจะมีรอยแตงตามยาวของลำต้น โดยเฉพาะบริเวณโคนเถา
ที่ใกล้กับผิวดิน หากมีความชื้นสูงจะพบเส้นใยสีขาวอมชมพูของเชื้อราสาเหตุโรค และเมื่อผ่าดูจะพบภายในลำต้นเป็นสีน้ำตาล

แนวทางการป้องกัน/แก้ไข ดังนี้

๑. หลีกเลี่ยงการปลูกแตงโมในพื้นที่ที่เคยมีการระบาดของโรคนี้มาก่อน

๒. ก่อนปลูกควรไถกลับหน้าดินตากแดด และใส่ปูนขาวหรือโดโลไมท์ เพื่อปรับสภาพดิน

๓. แปลงปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดี

๔. ไม่ปลูกแตงโมแน่นเกินไป เพื่อให้สามารถระบายความชื้นได้ดี

๕. ตรวจแปลงปลูกสม่ำเสมอ เมื่อพบโรคให้ถอนต้นที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก แล้วโรยปูนขาวหรือให้สารป้องกันกำจัดโรคพืช

แปลงที่มีการระบาดของโรค ควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน ไม่ปลูกพืชตระกูลแตง เช่น แตงกวา ฟักทอง มะระ และแคนตาลูป และพืชในตระกูลพริก มะเขือเทศ และมันฝรั่ง เนื่องจากอ่อนแอต่อโรค

อ้างอิง:
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปทุมธานี
- ที่มา http://www.farmkaset..link.. - รูปภาพจาก http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
898 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 89 หน้า, หน้าที่ 90 มี 8 รายการ
|-Page 65 of 90-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
ฮิวมิค FK สารอินทรีย์เข้มข้น ช่วยให้มะพร้าวเจริญเติบโตแข็งแรง ผลผลิตดก และยังใช้ได้กับพืชทุกชนิด!
Update: 2567/10/22 09:34:42 - Views: 134
การป้องกัน กำจัดเพลี้ย กำจัดแมลงศัตรูพืช ด้วย ชีวภัณฑ์ บิวเวอเรีย และ เมธาไรเซียม ได้ผลดี และปลอดภัย
Update: 2566/11/10 06:26:57 - Views: 9504
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรครากขาว รากแดง รากน้ำตาล ใน ยางพารา ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/18 08:51:41 - Views: 3410
คุณสามารถที่จะเอาร้องเท้าใส่เข้าไปในไมโครเวฟได้ แต่มันจะไม่มีทางออกมาเป็นคุ๊กกี้
Update: 2556/05/06 22:46:53 - Views: 3431
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคราสนิม ในแก้วมังกร ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/03 13:30:50 - Views: 3693
คู่มือป้องกันกำจัดโรคเชื้อราต่างๆในดาวเรือง ดาวเรืองใบไหม้ ดอกไหม้ ดอกเป็นจุด ราแป้ง ฯลฯ
Update: 2566/05/01 10:27:34 - Views: 10341
โรคแอนแทรคโนสในทุเรียน
Update: 2564/04/27 12:41:00 - Views: 3470
การป้องกันและกำจัดโรคเชื้อราในถั่วเขียวอย่างได้ผล
Update: 2566/05/13 10:26:44 - Views: 3432
มะเขือใบไหม้ ใบจุด ราสนิม ใบเหลือง ใบแห้ง โรคราต่างๆในมะเขือ ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม
Update: 2564/09/07 22:48:49 - Views: 3733
หนอนมะม่วง หนอนเจาะผลมะม่วง หนอนเจาะลำต้นมะม่วง หนอนต่างๆ ฉีดพ่น ไอกี้-บีที
Update: 2564/09/19 23:13:53 - Views: 3574
คู่มือป้องกันกำจัดโรคราต่างๆในแมคคาเดเมีย แมคคาเดเมียใบไหม้ ใบจุด ราสนิม ราต่างๆ
Update: 2566/05/01 15:18:59 - Views: 10121
การรับมือกับโรครากเน่ายอดเน่าในสับปะรด: วิธีป้องกันและกำจัดโรคที่เกิดจากเชื้อราในสับปะรด
Update: 2566/11/08 12:55:15 - Views: 3397
หนอนชอนใบส้ม หนอนเจาะผลส้ม หนอนผีเสื้อ หนอนต่างๆในพืชตระกูลส้ม ป้องกันดีที่สุด พบระบาดให้เร่งกำจัด
Update: 2566/11/06 08:56:06 - Views: 10055
กำจัดเชื้อรา พริก ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/09/27 10:02:49 - Views: 3399
มะละกอผลเน่า มะละกอใบไหม้ ราขาวมะละกอ ราดำมะละกอ ควบคุม ป้องกันกำจัด ก่อนโรคจะสร้างความเสียหาย
Update: 2566/11/04 19:44:55 - Views: 9573
รับจ้างผลิต ปุ๋ย ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ยาปราบฯ สารจับใบ ไตรโคเดอร์มา บิวเวอเรีย เมทาไรเซียม สารอินทรีย์ต่างๆ โรงงานมาตรฐาน ISO 9001
Update: 2566/03/17 18:57:05 - Views: 3664
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 0-0-60 เป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกต้นหม่อน ช่วยให้ผลหม่อนมีคุณภาพดี เพิ่มผลผลิต และเพิ่มรายได้
Update: 2567/03/11 10:54:41 - Views: 3442
วิธีดูแลไร่ ข้าวโพด ให้ได้ผลผลิตสูง
Update: 2567/11/07 08:55:50 - Views: 59
ระวัง!! โรคใบไหม้ จุดดำ ราแป้ง โรคแอนแทรคโนส ในต้นสตอเบอร์รี่ สร้างความเสียหายได้มาก จัดการได้อย่างไร ??
Update: 2566/11/03 15:09:42 - Views: 3696
ที่สุดของ ปุ๋ยเร่งผล สำหรับพืชออกผลทุกชนิด ให้ โพแทสเซียม มากถึง 40% เร่งผลโต น้ำหนักดี โปรดอ่านวิธีใช้ ; ไลน์ @FarmKaset
Update: 2565/02/17 00:18:03 - Views: 3688
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022