[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - เพลี้ย
645 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 64 หน้า, หน้าที่ 65 มี 5 รายการ

ไม้ดอกเป็นโรค ไม้กระถางเป็นโรค ลักษณะอาการโรค ของไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้กระถาง
ไม้ดอกเป็นโรค ไม้กระถางเป็นโรค ลักษณะอาการโรค ของไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้กระถาง
ลักษณะอาการของโรค

อาการของโรคของไม้ดอกกระถาง หรืออาการผิดปกติซึ่งเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ของแสดงอาการได้หลายแบบในเวลาเดียวกัน หรือแสดงอาการผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งบนต้นพืชต้นเดียวกัน หรือปรากฏอาการบนส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนของต้นพืช เช่น ปรากฏอาการเป็นแผลจุด แผลไหม้ อาการเน่า อาการเหี่ยว บนราก ลำต้น กิ่งก้าน ใบ ดอก ผล เมล็ด หรืออาจปรากฏอาการทั้งต้น

อาการโรคของไม้ดอกไม้กระถาง มีลักษณะอาการผิดปกติได้ ดังนี้

1. อาการที่ราก

1.1 โรครากเน่า รากเกิดอาการเน่าดำหรือสีน้ำตาล เปลือกล่อนหลุดติดมือออกมา เนื่องจากเชื้อโรคเข้าทำลาย เช่น โรครากเน่า เป็นต้น

1.2 โรครากปม รากจะมีอาการพองออกเป็นปม โดยจะพองออกจากภายในรากมิใช่พองออกมาเพียงด้านใดด้านหนึ่ง เช่น โรครากปมของเยอบีร่าและอาฟริกันไวโอเลท

1.3 โรครากแผล เกิดแผลไปตามความยาวของราก โดยมีรอยสีน้ำตาล หรือน้ำตาลเข้ม ต่อมาจะเป็นช่องทางให้เชื้อต่าง ๆ เข้าทำลายซ้ำเติมได้ดีขึ้น สาเหตุของรากแผลส่วนมากเกิดจากการทำลายของไส้เดือนฝอย

1.4 โรครากกุด รากกุดสั้นเป็นกระจุก ไม่ยืดยาวออกตามปกติ เช่น โรครากกุดของเข็มญี่ปุ่นซึ่งเกิดจากการทำลายของไส้เดือนฝอย

2. อาการที่ลำต้นและกิ่งก้าน

2.1 โรคเน่าคอดิน อาการแบบนี้ใช้เรียกเฉพาะกรณีที่เกิดกับต้นกล้า โดยจะพบแผลเน่าบริเวณโคนต้นที่อยู่ติดกับผิวดิน ทำให้ต้นหักล้มและแห้งตายเป็นหย่อม ๆ เช่น ต้นกล้าของไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิดที่พบเน่าตายในแปลงเพาะกล้า โรคนี้เกิดจากเชื้อรา

2.2 โรคโคนเน่า อาการเน่ามีแผลเป็นสีน้ำตาลบริเวณโคนต้น ถ้าถากเปลือกดูจะเห็นว่าใต้เปลือกมีอาการเน่าเป็นสีน้ำตาล เช่น โรคโคนเน่าของปาล์มและกล้วยไม้ เป็นต้น ส่วนมากโรคนี้จะเกิดจากเชื้อรา

2.3 โรคลำต้นเน่า แผลที่พบบริเวณโคนต้นจะขยายลุกลามไปรอบลำต้น ทำให้เปลือกรอบ ๆ ลำต้นเน่า และต้นไม้ตายทั้งต้น หรือบางครั้งเชื้อเข้าทำลายบริเวณลำต้นที่มีความชื้นสูงอยู่เสมอ เช่น บริเวณคาคบไม้ โรคนี้ส่วนมากเกิดจากเชื้อรา เช่น โรคลำต้นเน่าของโป๊ยเซียน เป็นต้น

2.4 โรคยางไหล จะมีอาการยางไหลออกมาจากลำต้น โดยบริเวณดังกล่าวจะมีรอยแผลช้ำ มียางไหลออกมาตามรอยแผลนั้น เช่น โรคยางไหลของแคคตัส ซึ่งเกิดจากเชื้อรา

2.5 โรคปุ่มปม เกิดอาการเป็นก้อนปุ่มปมขึ้นบริเวณกิ่งและลำต้น ส่วนมากเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

3. อาการที่ใบ

3.1 โรคใบจุด เกิดจุดแผลที่ใบ รูปร่างแตกต่างกันไปในรายละเอียด แล้วแต่สาเหตุที่เข้าทำลาย ขนาดของแผลเป็นเพียงจุดบนใบ อาจเกิดกระจายกันทั่วทั้งใบ ถ้าเกิดจุดแผลมาก ๆ อาจจะทำให้ใบแห้งได้ โรคใบจุดของพืชส่วนมากเกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรคใบจุดของเยอบีรา โรคใบจุดของกุหลาบ โรคใบจุดของเบจมาศ เป็นต้น

3.2 โรคใบไหม้ เกิดแผลแห้งตาย มีขนาดของแผลใหญ่กว่าอาการใบจุด ขอบเขตขอบแผลจะกว้างขวางกว่า การไหม้อาจเกิดที่กลางใบ ปลายใบ หรือขอบใบก็ได้ ส่วนมากเกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรคใบไหม้ของเฟื้องฟ้า เป็นต้น

3.3 โรคราสนิมเหล็ก แผลขนาดเล็ก สีสนิมโผล่เป็นตุ่มออกมาจากใบพืช ลักษณะคล้าย ๆ กับสีสนิมเหล็ก เมื่อเอามือลูบดูจะมีสปอร์ของเชื้อราติดมือเป็นสีสนิมเห็นได้ชัด โรคนี้เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิมของทานตะวัน เป็นต้น

3.4 โรคราน้ำค้าง อาการของโรคนี้แตกต่างกัน ซึ่งพอจะแยกออกได้ดังนี้คือ อาการราน้ำค้างในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มักพบอาการใบลายสีเหลืองเขียวสลับกันตามความยาวของใบ ถ้าอากาศชื้น ๆ อุณหภูมิพอเหมาะจะพบผงสปอร์ของเชื้อสีขาว ๆ เกาะติดที่ใบ ในพืชตระกูลแตงจะเห็นใบมีอาการเป็นแผลจุดเหลี่ยมสีน้ำตาล ส่วนในพืชไม้ดอกต่าง ๆ จะเห็นเป็นใบจุดแผลสีเหลืองด้านบนใบ แต่ใต้ใบจะพบขุยสปอร์สีขาว ๆ โรคราน้ำค้างที่สำคัญ เช่น โรคราน้ำค้างของกุหลาบ เป็นต้น

3.5 โรคราแป้งขาว โรคนี้เกิดจากเชื้อรา โดยจะพบผงแป้งสีขาว ๆ เกาะติดที่ใบคล้าย ๆ กับเอาแป้งไปโรย ขึ้นปกคลุมกระจายตามส่วนต่าง ๆ ของใบหรือทั่วทั้งใบ ต่อมาใบจะเหลืองและแห้งตาย เช่น โรคราแป้งของบานชื่น และโรคราแป้งของกุหลาบ เป็นต้น

3.6 โรคแอนแทรคโนส ใบที่เกิดโรคนี้จะเป็นแผลแห้งสีน้ำตาล ส่วนมากจะเห็นเชื้อรามีลักษณะเรียงเป็นวงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ค่อนข้างชัดเจน ในพืชบางชนิดโรคนี้เกิดได้ทั้งบนใบ กิ่ง และผล สาเหตุเกิดจากเชื้อรา เช่น โรคแอนแทรคโนสของกล้วยไม้ มะลิ หน้าวัว เป็นต้น

3.7 โรคราดำ ใบที่เกิดโรคนี้จะมีผงคล้ายเขม่าดำคลุมผิวใบหรือส่วนอื่น ๆ ของพืช เมื่อใช้มือลูบจะหลุดออก เพราะเชื้อราชนิดนี้จะไม่แทงเข้าไปในใบพืช เพียงแต่ขึ้นปกคลุมผิวใบ ส่วนมากพบหลังการทำลายของเพลี้ยจั๊กจั่นและแมลงหวี่ขาว เพราะราชนิดนี้จะขึ้นเจริญบนน้ำหวานที่แมลงขับถ่ายออกมา

3.8 โรคเน่าเละ อาการคือ เน่าเละสีน้ำตาลอ่อน มีกลิ่นเหม็นรุนแรง เกิดได้ทั้งลำต้น ราก หัว และใบของพืช เมื่อเป็นโรคนี้พืชจะเน่าเละทั้งต้น หรือทั้งหัว สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคเน่าเละของกล้วยไม้รองเท้านารี แคคตัส โป๊ยเซียน เป็นต้น

3.9 โรคใบด่าง อาการใบด่างมีหลายลักษณะแล้วแต่สาเหตุที่ทำให้ด่าง อาจเกิดจากเชื้อไวรัส ขาดธาตุอาหาร หรือลักษณะกลายพันธุ์ของพืช สำหรับอาการใบด่างที่เกิดจากไวรัสส่วนมากมีสีเหลืองสลับเขียว เนื้อใบไม่เรียบ เป็นคลื่น และใบมีรูปร่างผิดปกติ เช่น โรคใบด่างเหลืองของฟิตูเนีย โรคใบด่างของกุหลาบ โรคใบด่างของมะลิ เป็นต้น

3.10 โรคแตกพุ่มฝอย บริเวณยอดจะแตกเป็นพุ่มฝอย โดยมีใบเล็ก ๆ รวมกันเป็นกระจุก โรคนี้เกิดจากเชื้อมายโคพลาสมา เช่น โรคแตกพุ่มฝอยของเยอบีรา ดาวเรือง เป็นต้น

4. อาการที่ดอก

พบอาการคล้าย ๆ กับที่เกิดบนใบ เช่น โรคดอกจุด ดอกไหม้ ดอกด่าง ดอกบิดเบี้ยวเสียรูปทรง ดอกเน่า และแอนแทรคโนส เป็นต้น โรคพวกนี้ส่วนมากเกิดจากเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส เช่น โรคดอกสนิมของกล้วยไม้ โรคดอกด่างของแคทลียา โรคดอกเน่าของหน้าวัว เป็นต้น

5. อาการที่เกิดกับพืชทั้งต้น

5.1 โรคเหี่ยว ต้นพืชจะแสดงอาการเหี่ยวเฉาในลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น การเกี่ยวเนื่องจากการขาดน้ำเมื่อได้น้ำก็จะฟื้นปกติ อาการเหี่ยวใบเหลืองลู่เนื่องจากเชื้อราไปทำลายท่อน้ำและอาหารของพืช อาการเหี่ยวแต่ใบยังเขียวอยู่ระยะหนึ่ง คือแมื่อแดดจัดก็จะเหี่ยว ต่อมาเมื่ออากาศเย็นลงก็จะฟื้นปกติ เป็นอยู่ระยะหนึ่งต่อจากนั้นก็จะเหี่ยวอย่างถาวร โรคนี้เกิดจากการทำลายของเชื้อราหลายชนิด และเชื้อแบคทีเรีย ตัวอย่างเช่น โรคเหี่ยวของฟิตูเนีย โรคเหี่ยวของบานชื่น โรคเหี่ยวของกล้วยไม้ โรคเหี่ยวของมะลิ เป็นต้น

5.2 ต้นพืชแคระแกร็น ต้นพืชจะแสดงอาการแคระแกร็นเมื่อเปรียบเทียบกับต้นปกติ ทั้งนี้อาจเนื่องจากการปฏิบัติดูแลรักษาไม่ดีพอ มีไส้เดือนฝอยหรือแมลงกัดทำลายราก หรือมีเชื้อโรคบางชนิด เช่น ไวรัสเข้าทำลาย ทำให้ต้นพืชไม่สามารถเจริญเติบโตตามปกติได้ มีดอกและผลน้อย

5.3 ต้นพืชเติบโตผิดปกติ โดยต้นที่เป็นโรคจะยืดสูงกว่าต้นปกติ สีเขียวอ่อนและไม่ออกดอก อาจเกิดเนื่องจากได้รับฮอร์โมนที่ผิดปกติ หรือต้นพืชที่ได้รับปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไปก็จะทำให้เฝือใบ ไม่ออกดอก เป็นต้น

Reference: baanjomyut.com
อ่าน:3573
ป้องกัน กำจัด แมลงหวีขาว เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงศัตรู กัญชา และ กัญชง
ป้องกัน กำจัด แมลงหวีขาว เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงศัตรู กัญชา และ กัญชง
การใช้สารอินทรีย์ปลอดภัย ในการป้องกันกำจัดเพลี้ย แมลงหวี่ขาวในกัญชา และกัญชงนั้น การป้องกัน โดยการฉีดพ่นไว้เป็นระยะ จะได้ผลดีกว่าการกำจัด เนื่องจากเมื่อเวลาที่มีการระบาดมากแล้ว บริเวณข้างเคียงก็จะมีการระบาดด้วย เพื่อเราฉีดพ่นสารอินทรีย์ แม้ว่าจะป้องกันกำจัด เพลี้ย แมลงหวี่ขาวในแปลงเราแล้ว สามสี่วันถัดมา พวกที่ระบาดอยู่รอบนอก ในแปลงข้างเคียง หรือในตำบลใกล้ๆกัน ก็อาจจะระบาด และแพร่กระจายมาที่สวน หรือไร่ของเราอีก

ฉีดพ่น มาคา สารอินทรีย์ป้องกันและกำจัดเพลี้ย แมลงศัตรูพืช ผสมกับ FK-1 เพื่อบำรุงให้พืชฟื้นฟูจากการเข้าทำลายได้ดีขึ้น และสร้่างภูมิต้านทานให้กับ กัญชา กัญชง ทุก 3-5 วันในกรณีที่ระบาดแล้ว หรือทุก 15-30 วัน ในกรณีเพื่อป้องกันการระบาด
อ่าน:3589
โรคไวรัสมะละกอ
โรคไวรัสมะละกอ
โรคไวรัสมะละกอ ไม่มียารักษาโดยตรง ป้องกันได้โดยการกำจัดเพลี้ย ซึ่งเป็นแมลงพาหะ

การป้องกันโรคไวรัสมะละกอที่ดี เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลง ทำความสะอาด กำจัดวัชพืชในแปลงและบริเวณรอบๆแปลงปลูก

หากพบต้นมะละกอ ที่เป็นโรคไวรัสมะละกอ รีบขุดถอน และเผาทำลายนอกแปลงทันที และหมั่นทำความสะอาดอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้สัมผัสต้นมะละกอที่เป็นโรค ก่อนนำมาใช้อีกครั้งหนึ่ง

สำหรับพื้นที่ ที่มีการระบาดของโรคไวรัสมะละกอ หากเป็นไปได้ ให้หลีกเลี่ยงการปลูกพืชอาศัยของสาเหตุโรค เช่น พืชตระกูลแตง มะเขือเทศ ตำลึง และพืชตระกูลถั่วเป็นต้น ควรหาพืชอื่นๆมาปลูกหมุนเวียนแทน

เนื่องจากโรคไวรัสมะกอ ไม่มียารักษาโดยตรง เราป้องกันได้โดยการ ป้องกันกำจัดพาหะนำโรค อันได้แก่ เพลี้ยอ่อน เพลี้ยอ่อนฝ้าย และเพลี้ยต่างๆ โดยการฉีดพ่น มาคา สารอินทรีย์ป้องกันและกำจัด เพลี้ย แมลงศัตรูพืชจำพวกปากดูด ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุกๆ 3-7 วัน หมั่นสังเกตุ เมื่อเห็นว่าจำนวนเพลี้ยลดลงแล้ว เว้นระยะการฉีดพ่น เป็นระยะป้องกัน ทุก 15-30 วัน ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า บริเวณแปลงรอบข้าง หรือในหมู่บ้านตำบล มีการระบาดของเพลี้ยหรือไม่

ผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ มาคา เพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูของพืช จากโรคและแมลง ทำให้เจริญเติบโตดี และสมบูรณ์ยิ่งขึ้น
อ่าน:3655
โรคราดำมะม่วง (Sooty mold/Black Mildew) ต้องกำจัดแมลงพาหะ และกำจัดโรครา
โรคราดำมะม่วง (Sooty mold/Black Mildew) ต้องกำจัดแมลงพาหะ และกำจัดโรครา
สาเหตุของโรค
เกิดจาก แมงจำพวกปากดูด เช่น เพลี้ยจักจั่น เป็นพาหะนำโรค ทำให้เชื้อราดำหลายชนิด เช่น Capnodium sp._Meliola sp. มาเกาะติดของเหลว ที่เพลี้ยถ่ายไว้ จึงกำให้เชื้อโรคราเกาะติดมะม่วง และเจริญขึ้น

ความสำคัญ
พบทั่วไปในแหล่งปลูกมะม่วงของประเทศ ราดำที่จะกล่าวถึงมีหลายชนิดด้วยกัน แต่ที่พบเห็นทั่ว ๆ ไป ชนิดที่ขึ้นปกคลุมใบเป็นแผ่นสีดำ เมื่อแห้งอาจจะร่อนหลุดออกเป็นแผ่น ๆ อีกชนิดหนึ่งขึ้นบนใบมีลักษณะคล้ายดาวเป็นแฉก ๆ ราดำเหล่านี้ไม่ได้ดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืชโดยตรง แต่อาจมีผลคือการเจริญเติบโต โดยเฉพาะอย่างยิ่งในฤดูที่มะม่วงออกดอก หากมีราดำขึ้นปกคลุมดอก จะเป็นผลให้การผสมเกสรของดอก ไม่สามารถจะเกิดขึ้นได้ เนื่องจากมีเชื้อราขึ้นปกคลุมปลายเกสรตัวเมีย ปกติแล้วราดำมีอยู่ทั่ว ๆ ไปในอากาศแต่ไม่สามารถจะเจริญขึ้นบนใบ หรือช่อดอกมะม่วงได้ หากไม่มีแมลงปากดูด ได้แก่ เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้ง โดยแมลงเหล่านี้จะดูดกินน้ำเลี้ยงจากพืช ตามยอดอ่อน และช่อดอก แล้วจะถ่ายสารซึ่งมีลักษณะคล้ายน้ำหวานออกมาฟุ้งกระจายไปเคลือบตามบริเวณใบ และช่อดอก ซึ่งเชื้อราดำ ในอากาศก็จะสามารถขึ้นได้ และทำให้การติดดอกออกผลของมะม่วงลดลงหรือไม่ติดผลเลย

ลักษณะอาการ
โรคราดำจะเกิดทั้งบนใบ ช่อดอก และผลอ่อน มีลักษณะเหมือนเขม่าหรือฝุ่นสีดำปกคลุมเป็นแผ่นสีดำ ซึ่งเมื่อแห้งอาจจะร่วงหลุดเป็นแผ่น

การป้องกันกำจัด

เนื่องจากโรคนี้เกิดจากแมลงเป็นสาเหตุสำคัญ ดังนั้นในช่วงที่มะม่วงเริ่มแทงช่อดอก ให้เข้าสำรวจแมลงปากดูด เช่น เพลี้ยจักจั่นในสวน

หากพบ ให้ฉีดพ่นด้วย มาคา สารอินทรีย์ป้องกันกำจัด เพลี้ย และแมลงจำพวกปากดูด

ผสม ไอเอส สารอินทรีย์ยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน

ช่วงระบาด ฉีดพ่นซ้ำ ทุก 5-7 วัน หมั่นสังเกตุอาการ

ระยะป้องกัน ฉีดพ่นทุก 15-30 วัน โดยอ้างอิงจากการระบาดในแปลงข้างเคียง

Reference
Main content from: kaengkhoi.saraburi.doae.go.th
อ่าน:3559
ฟื้นฟูพืช จากการเข้าทำลายของโรคและแมลง ด้วยธาตุหลัก ธาตุเสริม ที่มีอยู่ใน FK-1
ฟื้นฟูพืช จากการเข้าทำลายของโรคและแมลง ด้วยธาตุหลัก ธาตุเสริม ที่มีอยู่ใน FK-1
โดยทั่วไปแล้ว เวลาที่เรารักษาโรคพืช หรือกำจัดเพลี้ย แมลงศัตรูพืชต่างๆ เมื่อโรคพืชหาย หรือแมลงถูกกำจัดไปแล้ว พืชยังต้องใช้ระยะเวลานาน เพื่อที่จะฟื้นตัว ซ่อมแซมส่วนที่เสียหายจากการเข้าทำลายของโรคและแมลง อย่างโรคใบไหม้ ตัวยาต่างๆจะเข้าไปยับยั้งไม่ให้โรคลุกลาม ขยายวงการทำลายพืช หรือหยุดการติดต่อ เมื่อโรคหยุดลุกลาม คือพืชหายจากโรค

แต่การจะทำให้พืชกลับมาฟื้นตัว และเจริญเติบโต สมบูรณ์แข็งแรง และให้ผลผลิตที่ดีได้ดังเดิม เราจำเป็นต้องให้ธาตุอาหารต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่นเดียวกับคนที่ป่วย เมื่อได้ยารักษาโรคแล้ว ต้องให้น้ำเกลือ ต้องทานอาหารหลัก และถ้าให้อาหารเสริมด้วยก็ยิ่งฟื้นตัว กลับมา แข็งแรงได้เร็วขึ้น

FK-1 ประกอบด้วย ธาตุอาหารหลักของพืช N-P-K หรือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแตสเซียมตามลำดับ ไนโตรเจน จะช่วยส่งเสริมความเขียว เสริมสร้างเนื้อเยื่อใหม่ ส่งเสริมให้พืช ผลิใบ แตกใบใหม่ และเจริญเติบโตได้เร็วขึ้น ฟอสฟอรัส ส่งเสริมระบบรากพืช ทำให้พืชมีระบบรากที่ดี แข็งแรง ทำให้พืชหาอาหารได้ดี ส่งผลไปถึงการออกดอก และการติดผล ส่วนโพแตสเซียม จะส่งเสริมกระบวนการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาล ไปสะสมที่ผลผลิต ทำให้ พืชออกผลได้สมบูรณ์ มีขนาดใหญ่ น้ำหนักดี รสชาติดี นอกจากนั้นแล้ว ใน FK-1 ยังมี แคลเซียม แมกนีเซียม และสังกะสี ที่จำเป็นต่อความต้องการของพืช และมักจะขาด เพราะธาตุจำเป็นเหล่านี้ ไม่ได้มีอยู่ในปุ๋ยทั่วไปที่เราใส่กัน

ใช้ FK-1 ฉีดพ่นพืชอย่างต่อเนื่อง จะทำให้พืชเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง และได้ผลผลิตดี
อ่าน:3430
ดอกชบา การปลูกชบา การดูแล ป้องกันกำจัดโรค และแมลง
ดอกชบา การปลูกชบา การดูแล ป้องกันกำจัดโรค และแมลง
ชบาในบ้านเรารู้จักกันมานานแล้ว จะเห็นได้จากบ้านคนสมัยก่อนจะมีชบายอยู่แทบทุกบ้านปัจจุบันชบาได้รับการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ออกมามากมาย ซึ่งล้วนแต่สวย ๆ งาม ๆทั้งนั้น ทำให้ได้ดอกของชบาที่มีรูปร่างสวยงามสีสันของดอกสดใส ขบานั้นจัดเป็นไม้พุ่ม ความสูงดดยทั่วไปประมาณ 2.50 เมตร ใบมีสีเขียวเข้ม มนรี ปลายใบแหลม แต่ปัจจุบันก็ยังมีพันธุ์ แตกต่างออกไปอีกมากมาย

การดูแล

แสง ชอบแสงแดดมาก

น้ำ ต้องการน้ำพอประมาณ

ดิน เป็นไม้ที่ปลูกได้ง่ายสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ไม่ควรให้ดินเปียกหรือแฉะเกินไป

ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก

การขยายพันธ์ ตอน ปักชำ

โรคและแมลง ไม่ค่อยมีโรคจะมีก็แต่เพลี้ยที่รบกวนอยู่

การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยยามาลาไธออนหรือไดอาซินอน ตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในฉลาก

ลักษณะเด่น

คือ มีเส้นใยและยางเมือก (mucilagnous) อยู่ในเนื้อไม้โดยทั่วไปเป็นไม้พุ่มขนาดกลางใบเป็นใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับมีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปไข่ รูปกลม รูปรีหรือเว้าเป็นแฉก3-5 แฉก มีกลีบดอก 5 กลีบแต่ละดอกจะเชื่อมติดกันเป็นวงที่ฐานดอกเกสรเพศผู้ประกอบด้วยอับเรณูสีเหลืองรูปไตและก้านชูอับเรณูสีขาวหรือสีเดียวกันเกสรเพศเมีย อยู่ปลายหลอดเกสรเพศผู้มักมีก้านเล็ก ๆ แยกยอดเกสรเพศเมียเป็น 5 ยอกตามจำนวนห้องรังไข่ส่วนยอดมีน้ำหวานสำหรับจับละอองเรณู

ประเภทของดอกอาจแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ
1.ดอกบานเป็นรูปถ้วย
2.ดอกบานเป็นรูปแผ่แบน
3.กลีบดอกบานแบบแผ่โค้ง

การขยายพันธุ์

การขยายพันธุ์มี 3 วิธี คือ
1.การปักชำ
2.การเสียบยอด
3.การติดตา

โรคและแมลงศัตรู
1. โรค ที่พบในชบาได้แก่ โรคใบจุดในช่วงฤดูฝน โรคใบหงิกที่เกิดจากเชื้อไวรัสโดยมีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ

2. แมลงศัตรุ ที่พบมากได้แก่ แมลงหวี่ขาวดูดน้ำเลี้ยงจากใบและยอดอ่อนทำให้เกิดโรค ใบหงิก เพลี้ยแป้ง เพี้ยหอย
ดูดน้ำเลี้ยงจากใบและกิ่งก้านนอกจากนี้ยังมีหนอนผีเสื้อบางชนิดกัดกินดอกอ่อนทำให้ดอกไม่บานหรือกลีบเว้าแห่วง

3. สัตว์สัตรู ได้แก่ หอยทาก ทำลายโดยการกัดกินดอก กำจัดโดยใช้มือดึงออกหรือโรยปูนขาวรอบพื้นที่ปลูก

สรรพคุณทางยาและประโยชน์

ในคัมภีร์อายุรเวท พูดถึงสรรพคุณของดอกชบาว่า ช่วยฟอกโลหิต บำรุงจิตใจให้แช่มชื่น บำรุงผิวพรรณ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาและบรรเทาโรคเกี่ยวกับไต และโดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง เช่นเสียเลือดประจำเดือนมากเกินไป ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ รวมทั้งปัญหาเรื่องระดูขาวไม่เพียงแต่ดอกชบาเท่านั้นที่ใช้เป็นยาดีของอินเดีย ส่วนอื่นๆของชบายังใช้เป็นยารักษาโรคได้ด้วย อย่างเช่น เปลือกต้นชบาใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา ใบชบาใช้แก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก บำรุงผม

ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีระดูขาว - นำดอกชบาสด 4 ดอกมาตำให้แหลก แล้วกินตอนท้องว่างในตอนเช้าติดต่อกัน 7 วัน นำดอกชบามาตากให้แห้งในที่ร่ม เมื่อแห้งสนิทดีแล้ว เอามาบดเป็นผง กินครั้งละ 1 ช้อนชาตอนเช้าติดต่อกันนาน 7 วัน
ประจำเดือนไม่มา ใช้ดอกชบา 3 ดอกบดให้แหลก แล้วผสมกับน้ำมะนาวสัก 2 ช้อนโต๊ะ หรือผสมกับนม 1 แก้ว แล้วดื่มตอนท้องว่างตอนเช้า จะช่วยปรับเรื่องประจำเดือนได้ เอาเฉพาะกลีบดอกชบาผสมกับน้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลปี๊บอย่างละเท่าๆ กันใส่ในโถแก้วมีฝาปิด แล้วเอาโถแก้วออกตากแดดติดต่อกันสัก 21 วัน น้ำตาลจะละลายผสมกับดอกชบา พอครบกำหนดแล้วเอามากินครั้งละ 2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง นานสองถึงสามสัปดาห์ ยาสูตรนี้ถือว่า เป็นยาบำรุงประจำเดือน
ดับร้อนและแก้ไข้ - ใช้ดอกชบา 4 ดอกแช่ในน้ำต้มสุก 2 แก้ว แล้วดื่มต่างน้ำ จะช่วยดับร้อนผ่อนกระหายและแก้ไข้ได้ดี
รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ฮ่องกงฟุต - ใช้เปลือกต้น 50 กรัม แช่ในแอลกอฮอล์ 150 ซีซี นานหนึ่งวัน แล้วกรองเอาแต่น้ำยาไว้ทาบริเวณที่เป็นฮ่องกงฟุต
รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก - ใช้ใบชบาหรือฐานดอกก็ได้มาตำให้แหลก แล้วเอามาพอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก น้ำเมือกจากใบจะช่วยรักษาแผลได้เป็นอย่างดี
บำรุงผม - ใช้ใบชบาหนึ่งกำมือมาล้างให้สะอาด ตำให้แหลก เติมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นเอาแต่น้ำ กรองเอากากทิ้ง แล้วใช้น้ำเมือกจากใบชบาสระผม ช่วยชำระล้างสิ่งสกปรก และบำรุงเส้นผมให้ดกดำเป็นเงางาม

Reference: nongyai.ac.th
อ่าน:3942
ป้องกันเพลี้ย กำจัดเพลี้ย ฆ่าเพลี้ย ด้วย ยาป้องกันกำจัดเพลี้ยอินทรีย์ มาคา
ป้องกันเพลี้ย กำจัดเพลี้ย ฆ่าเพลี้ย ด้วย ยาป้องกันกำจัดเพลี้ยอินทรีย์ มาคา
มาคา ป้องกันและกำจัด เพลี้ยต่างๆ ปลอดสารพิษ ปลอดภัยต่อผู้ใช้ ผู้บริโภค และสัตว์เลี้ย

ป้องกันกำจัดเพลี้ยต่างๆ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยจักจั่น เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน และแมลงจำพวกปากดูดหลายๆชนิด
อ่าน:3402
การควบคุมศัตรูพืชไม่มีวิธีการใดดีท่ีสุด ต้องใช้หลักการผสมผสาน
การควบคุมศัตรูพืชไม่มีวิธีการใดดีท่ีสุด ต้องใช้หลักการผสมผสาน
ควรเลือกวิธีการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชให้เหมาะสมกับพื้นที่ปลูก ชนิดผัก ระยะเวลาปลูก ชนิดแมลง ลักษณะการทำลาย พฤติกรรมของแมลง การแพร่ระบาด และความจำเป็นของการควบคุม

วิธีเขตกรรม

ปลูกพืชหมุนเวียน ใช้พันธุ์ต้านทาน ทำลายแหล่งอาศัยของแมลงปลูกพืชอื่นสลับกับแปลงผัก จัดการเวลาปลูกและเก็บเกี่ยวทำความสะอาดแปลงปลูก เว้นระยะปลูกเหมาะสม

ตากดิน

หญ้า/วัชพืชเป็นพืชอาศัยของโรค-แมลง ควรไถพรวนเพื่อกำจัดวัชพืช ตากดินโดยยกแปลงเป็นรูปสามเหลี่ยมให้โดนแสงแดดมากที่สุดประมาณ 1 สัปดาห์ พลิกกลับดิน เพื่อกำจัดไข่หรือดักแด้ของแมลงที่อยู่ลึกใต้ดินและยังช่วยกำจัดเชื้อราแบคทีเรีย สาเหตุของโรครากเน่าโคนเน่า

ใช้กับดัก

กับดักแสงไฟล่อผีเสื้อกลางคืน กับดักกาวเหนียว

กางมุ้ง

ป้องกันได้ 50%
(แมลงบางตัววางไข่บนดิน ถ้าตากดินไม่ดีพอ ป้องกันไม่ได้)

ใช้สารสกัดจากธรรมชาติ

ใช้ มาคา ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นเพื่อป้องกันและกำจัดแมลง สม่ำเสมอตามสภาพการระบาดของ เพลี้ย แมลงศัตรูพืช

Reference: main content from nstda.or.th
อ่าน:4010
สารอินทรีย์ ป้องกันกำจัดเพลี้ย มาคา แก้ปัญหา เพลี้ย และแมลงปากดูดต่างๆ ฉีดพ่น มาคา
สารอินทรีย์ ป้องกันกำจัดเพลี้ย มาคา แก้ปัญหา เพลี้ย และแมลงปากดูดต่างๆ ฉีดพ่น มาคา
📣มาคา สารอินทรีย์ ป้องกันกำจัดเพลี้ย และแมลงปากดูดต่างๆ
✅เพลี้ยไฟ กวนดอกผัก กวนยอดอ่อน จนใบหงิก ยอดหงิก
✅มะเขือ มันเทศ มันสำปะหลัง โดนแมลงหวี่ขาวกวน จนเป็นไวรัส
✅เพลี้ยแป้ง กวนต้นฝรั่ง มะม่วงช่อดำ ลูกเสีย ดอกเสีย เป็นด่าง ๆ
✅แมลงและเพลี้ยไฟ กวนจนไม่ติดลูก ลูกบิดลูกเบี้ยว
✅แมลงบั่ว เพลี้ยกระโดด กวนต้นข้าว ข้าวเสียหาย
อ่าน:3580
การป้องกันกำจัดเพลี้ยทุเรียน เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน ควบคุมเพี้ยไก่แจ้ ด้วยศัตรูธรรมชาติ กระตุ้นใบอ่อนลดเวลาการทำลาย ใช้ ยาฆ่าเพลี้ยอินทรีย์
การป้องกันกำจัดเพลี้ยทุเรียน เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน ควบคุมเพี้ยไก่แจ้ ด้วยศัตรูธรรมชาติ กระตุ้นใบอ่อนลดเวลาการทำลาย ใช้ ยาฆ่าเพลี้ยอินทรีย์
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน (Durain psyllid )

รูปร่างลักษณะและชีวประวัติ

ตัวเต็มวัยวางไข่เข้าไปในเนื้อเยื่อพืช ทำให้เห็นเป็นวงสีเหลืองหรือน้ าตาลตามใบเป็นกลุ่ม ๆ กลุ่มหนึ่งมีประมาณ 8 - 14 ฟอง หลังจากนั้นไข่จะฟักออกเป็นตัวอ่อนขนาดยาวประมาณ 3 ม.ม. และมีปุยสีขาวติดอยู่ตามล าตัว โดยเฉพาะด้านท้ายของล าต้นมีปุยสีขาวคล้าย ๆ กับหางไก่ แมลงชนิดนี้จึงได้ชื่อว่า "เพลี้ยไก่แจ้" หรือ "เพลี้ยไก่ฟ้า" เมื่อแมลงนี้ลอกคราบเป็นตัวเต็มวัยมีสีน้ าตาลปนเขียว ขนาดยาวประมาณ 5 ม.ม. มีอายุได้นานถึง 6 เดือนมักไม่ค่อยบินนอกจากได้รับความกระทบกระเทือน ทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะอาศัยอยู่ด้านหลังใบตลอดเวลา

ลักษณะการทำลาย

ทั้งตัวอ่อน และตัวเต็มวัยดูดกินน้ำเลี้ยงจากใบอ่อนของทุเรียน ที่ยังไม่โตเต็มที่ ทำให้ใบอ่อนเป็นจุดสีเหลือง ไม่เจริญเติบโตและเล็กผิดปกติเมื่อระบาดมาก ๆ ใบจะหงิกงอ แห้งและร่วงหมดนอกจากนั้นยังทำให้ยอดอ่อนแห้งและตายได้ ตัวอ่อนของเพลี้ยชนิดนี้จะขับสารสีขาวออกมา เป็นสาเหตุทำให้เกิดเชื้อราตามบริเวณที่สารสีขาวขับออกมา ระยะที่ทำลายมากที่สุดคือ ในระยะตัวอ่อน แมลงชนิดนี้ทำความเสียหายให้กับทุเรียนพันธุ์ชะนีมากที่สุด

การป้องกันและกำจัด

ระดับเศรษฐกิจ : เพลี้ยไก่แจ้ 5 ตัว/ยอด และยอดถูกท าลายมากกว่าร้อยละ 50 ต่อต้น

1. ติดตามสถานการณ์เพลี้ยไก่แจ้และศัตรูธรรมชาติ สำรวจร้อยละ 10 ของต้นทั้งหมด 7 วัน/ครั้ง ในช่วงมิถุนายน -พฤศจิกายน ตรวจนับ 5 ยอด/ต้น ทั้งเพลี้ยไก่แจ้และศัตรูธรรมชาติ พบเพลี้ยไก่แจ้ที่ยังมีชีวิตมากกว่า 5 ตัว/ยอด ถือว่ายอดถูกทำลาย

2. อนุรักษ์ศัตรูธรรมชาติไว้ควบคุมเพลี้ยไก่แจ้ตามธรรมชาติ ตัวห้ำ : แมลงช้างปีกใส Chrysopa sp. แมลงช้างปีกใสแปดจุด Ankylopteryx octopunctata แมลงช้างปีกสีน้ำตาล Hemerobius sp. ต่อหลวง ต่อรัง แมงมุม _ด้วงเต่า Menochilus sexmaculatus ด้วงเต่าโรโดเลีย Rodolia sp. ด้วงเต่า Scymnus sp

3. กระตุ้นการแตกใบอ่อนให้พร้อมกันทุกต้นเพื่อลดช่วงเวลาการเข้าทำลายของเพลี้ยไก่แจ้ให้สั้นลง โดยการฉีดพ่น FK-1 อัตรา 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นที่ใบ ประมาณ 10 ลิตรต่อต้น จำนวน 2 ครั้ง ระยะแตกใบอ่อน ครั้งที่ 1 ระหว่างเดือนมิถุนายน - กรกฎาคม ระยะแตกใบอ่อน ครั้งที่ 2 ระหว่างเดือนสิงหาคม - กันยายน

4. ใช้กับดักกาวเหนียวสีเหลืองล่อตัวเต็มวัยมาทำลาย

5. ใช้น้ำฉีดพ่นใบอ่อนที่คลี่แล้ว เพื่อลดปริมาณเพลี้ยไก่แจ้

6. ฉีดพ่น มาคา สารอินทรีย์ ป้องกันและกำจัดเพลี้ย ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน หมั่นสั่งเกตุอาการ ควรหายาอื่นๆ มาสลับใช้ หากจำเป็นต้องใช้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน เพื่อป้องกันการดื้อยา

7. ผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกัน เพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูพืช จากการเข้าทำลายของโรค หนอน และแมลง

Reference: main content from pmc03.doae.go.th
อ่าน:3560
645 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 64 หน้า, หน้าที่ 65 มี 5 รายการ
|-Page 57 of 65-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
มะนาว ใบไหม้ ใบจุด รากเน่า โคนเน่า โรคแคงเกอร์ ราสนิม ราน้ำค้าง โรคราต่างๆป้องกันกำจัดด้วย ไอเอส และเร่งฟื้นฟู ด้วย FK-T
Update: 2567/03/22 11:54:36 - Views: 3545
ใบบัวบก ใบไหม้ โคนเน่า กำจัดโรคใบบัวบก จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/10/11 10:33:48 - Views: 3399
กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่งด้วย ไอกี้ ปลอดภัย 490 บาท ฟื้นฟูบำรุง FK-T 890 บาท โปรฯซื้อคู่ เพียง 990 บาท
Update: 2565/07/26 08:05:00 - Views: 3409
ยาฆ่าเพลี้ย แมลงจำพวกปากดูด ใน กระเจี๊ยบ เป็นสารชีวภาพปลอดภัย ปลอดสารพิษ มาคาและ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2566/02/28 14:31:28 - Views: 3457
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าด้วงกุหลาบ ในข้าวโพด และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/01/26 12:59:52 - Views: 3455
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ สูตร 10-40-10+3 MgO: เคล็ดลับการเร่งความงดงามของดอกแก้ว
Update: 2567/02/12 14:07:51 - Views: 3463
ที่สุดของ ปุ๋ยเร่งผลมะนาว ปุ๋ยมะนาว เพิ่มขนาด-น้ำหนัก สำหรับพืชออกผลทุกชนิด โพแทสเซียม มากถึง 40% ผลโต น้ำหนักดี โปรดอ่านวิธีใช้
Update: 2565/02/13 20:20:12 - Views: 3407
ปุ๋ยสำหรับมะลิ โตไว ใบเขียว ออกดอกสวยงาม ส่งเสริมการเจริญเติบโต ฉีดพ่น FKธรรมชาตินิยม
Update: 2564/09/14 22:46:56 - Views: 3440
กำจัดโรคทุเรียนที่เกิดจากเชื้อรา ไอเอส สารอินทรีย์ยับยั้งเชื้อรา FK-1 เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเชื้อรา ในต้นทุเรียน
Update: 2566/05/22 15:17:23 - Views: 3462
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 3 สูตร: เสริมความเจริญเติบโตของมะละกอในทุกช่วงอายุ
Update: 2567/02/13 08:54:01 - Views: 3440
ดูแลต้นทุเรียน กำจัดโรคไฟทอปธอรา โรคที่เกิดจากเชื้อราในต้นทุเรียน ไอเอส และ FK-T ธรรมชาตินิยม คู่หูดูแลต้นทุเรียน โดย FK
Update: 2566/05/25 10:10:01 - Views: 3452
ยาฆ่าเพลี้ย แมลงจำพวกปากดูด ใน ส้ม เป็นสารชีวภาพปลอดภัย ปลอดสารพิษ มาคาและ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2566/03/11 09:51:34 - Views: 3414
เจาะลึกแนวคิดการทำธุรกิจ เอ็มเจมอเตอร์ กับ คุณมานิตย์ จงจิตเวชกุล - ปิยะมาศ บัวแก้ว Piyamas Live
Update: 2563/06/04 17:06:50 - Views: 3554
ยาฆ่าเพลี้ย แมลงจำพวกปากดูด ใน มะละกอ เป็นสารชีวภาพปลอดภัย ปลอดสารพิษ มาคาและ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2566/02/28 14:06:46 - Views: 3442
ฝนตกทั้งคืนทั้งวัน เจ้าด้องแด้งก็จะอ้อนๆ หน่อย ขอแต่ที่นอนนุ่มๆ และเสื้อก็ซับขนหมาดีจริงๆ 
Update: 2562/08/30 14:01:13 - Views: 3392
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคใบจุด ในผักสลัด ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/20 13:57:29 - Views: 3457
สัญญาณเตือน!! ต้นองุ่นขาดธาตุอาหาร
Update: 2566/11/04 14:19:44 - Views: 3479
การเลือกซื้อ ดาบ คาตานะ ดาบซามูไร ให้ได้คุณภาพดี ในราคาไม่แพง
Update: 2566/10/28 12:32:08 - Views: 10131
ยากำจัดโรคราน้ำค้าง ใน ผักกาดขาวปลี โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอสใช้ได้กับพืชทุกชนิด (ขนาด 3 ลิตร ใช้ได้15 ไร่)
Update: 2566/06/02 10:18:15 - Views: 3401
การทำลายของหนอนศัตรูพืชในผลมะปราง: ผลกระทบและวิธีการป้องกัน
Update: 2566/11/09 12:46:08 - Views: 3380
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022