[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - ปุ๋ยทางใบ
312 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 31 หน้า, หน้าที่ 32 มี 2 รายการ

กะเพราใบไหม้ โรคใบจุดกะเพรา โรคกะเพรา โรคต่างๆจากเชื้อรา ใช้ ไอเอส1 หยุดโรค + FK-1 ฟื้นฟู โตไว ผลผลิตดี
กะเพราใบไหม้ โรคใบจุดกะเพรา โรคกะเพรา โรคต่างๆจากเชื้อรา ใช้ ไอเอส1 หยุดโรค + FK-1 ฟื้นฟู โตไว ผลผลิตดี
โรคใบจุดกะเพรา อัลเทอนาเรีย (Alternaria) หรืออาการ กะเพราใบไหม้ มีสาเหตุจากเชื้อรา เริ่มจากอาการจุดสีน้ำตาลเข็ม และขยายขนาดใหญ่ขึ้น ลุกลามได้มาก จนใบเหลือง แห้ง ร่วงหล่น

ใช้ยาป้องกันกำจัดเชื้อรา เพื่อยับยั้งการระบาดลุกลาม ใบที่เสียหาย โดนทำลายแล้ว จะไม่สามารถกลับคืนมาเหมือนเดิมได้ เราใช้ยาเพื่อไม่ให้ระบาดลุกลามเพิ่มเติม การผสมปุ๋ยทางใบ ฉีดพ่นไปพร้อมกัน จะช่วยให้ฟื้นตัวได้เร็วขึ้น แตกยอด ออกใบใหม่ได้ดี พืชมีความสมบูรณ์ แข็งแรงขึ้น ส่งผลให้ได้ผลผลิตที่ดี

การป้องกันกำจัด โรคราต่างๆ
1. หมั่นตรวจสอบแปลงและป้องกันกำจัดตั้งแต่เริ่มพบโรค
2. กำจัดวัชพืช
3. งดให้น้ำในช่วงเย็น
4. ฉีดพ่น ไอเอส และ FK-1 ในอัตราส่วนที่แนะนำ สามารถผสม ฉีดพ่นไปพร้อมกันได้

ไอเอส ใช้ได้กับพืชทุกชนิด ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันกำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา เช่น โรคใบไหม้ ใบจุดสีน้ำตาล กิ่งแห้ง โรคใบติด โรคราน้ำค้าง ราสนิม แอนแทรคโนส ไฟธอปโทร่า หรือ โรคต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ใช้ไอเอส หยุดโรค และ FK-1 ธาตุหลัก N-P-K ธาตุรอง ธาตุเสริม Mg_ Zn สำหรับบำรุงให้แข็งแรง โตไว ผลผลิตดี สร้างภูมิคุ้มกันโรค

ตัวอย่างเชื้อรา สาเหตุโรคพืชต่างๆ
Pyricularia_oryzae สาเหตุ โรคไหม้คอรวง ข้าวเน่าคอรวง
Phytophthora_spp. Sclerotium_spp. สาเหตุ โรครากเน่า โคนเน่า
Capnodium_sp. Meliola_sp. สาเหตุ โรคราดำ
Maravaria_pterocarpi (ราสนิมพะยูง)
Olivea_teetonae (ราสนิมสัก)
Cercospora_sp. Macrophoma_sp. สาเหตุ โรคใบจุด
Alternaria_sp. Phyllachora_sp. สาเหตุ โรคใบจุดนูนดำ
Pestalotropsis_sp. สาเหตุ โรคใบไหม้
Oidium_sp. Uncinula_tectonas สาเหตุ โรคราแป้ง
Verticillium_sp. Fumsarium_spp. Selerotium_sp. สาเหตุ โรคเหี่ยว

✅ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
✅ฉีดพ่นต่อเนื่องไม่อันตราย
✅ใช้ได้กับพืชทุกชนิด

ข้อมูลและอัตราผสมใช้
🍂 ไอเอส อัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน (2 ครั้ง)
🌿 FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร

🎯 สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส ได้เลย
🎯 ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

🍂ข้อมูลจำเพาะ ไอเอส

สารอินทรีย์ยับยั้งเชื้อรา สกัดจากวัตถุดิบธรรมชาติทั้งหมด ผ่านการวิจัยพัฒนา เพื่อคัดเลือกวัตถุดับที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุม และยับยั้งเชื้อรา ด้วยเทคโนโลยี “การควบคุมด้วยประจุไฟฟ้า (Ion Control)” โดยควบคุมสภาพแวดล้อมที่ผิวใบพืช ทำให้เกิดภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และการขยายพันธุ์ของเชื้อรา อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดติดผิวใบพืชได้ดียิ่งขึ้น ปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้ใช้และผู้บริโภค
*การใช้ ไอเอส ในช่วงรักษาโรคพืชจากเชื้อรา กรณีลูกค้าใช้ปุ๋ยหมัก ที่หมักเอง ใช้น้ำหมักต่างๆ ให้เลิกใช้ทันที เนื่องจากอาจเป็นการเติมเชื้อโรคเข้าไปเรื่อยๆขณะทำการรักษา (80% ของการเกิดโรคพืช และล้อแมลง มีสาเหตุจากการใช้กากน้ำตาล การหมักปุ๋ย การทำน้ำหมักใช้เอง อย่างไม่ถูกวิธี หรือไม่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง)

🌿ข้อมูลจำเพาะ FK-1

ธาตุรอง และธาตุเสริม จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช และถูกดึงออกจากดินในทุกๆรอบการปลูกพืช ซึ่งปุ๋ยทั่วๆไป ไม่เคยเติมธาตุเหล่านี้ ซึ่งธาตุรองธาตุเสริมที่ขาด จะกลายเป็นข้อจำกัดการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจาก "พืชจะเจริญเติบโตได้มากที่สุด เท่ากับธาตุอาหารที่มีต่ำที่สุด" ตามกฎ Liebig s law of the minimum ปุ๋ยตรา FK ประกอบด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช จึงทำให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่เกิดอาการขาดธาตุ ซึ่งบางอย่าง เป็นธาตุที่ปุ๋ยอินทรีย์ไม่สามารถให้ได้

เมื่อพืช ได้รับธาตุอาหารที่ขาดไป ธาตุอาหารพืชต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในดิน ที่พืชไม่เคยดูดกินไปใช้ประโยชน์ได้ ก็สามารถนำไปใช้ได้ เนื่องจาก ธาตุบางตัว เป็นตัวนำพาธาตุอื่นๆ เช่น

- ขาดธาตุ แมกนีเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ ฉีดทางใบก็เยอะ แต่พืชก็ยังเหลือง ไม่สมบูรณ์) ธาตุแมกนีเซียม [Mg] เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของคลอโรฟิลล์ และก็มีความสำคัญในกระบวนการสร้างATPโดยทำหน้าที่เป็นโคแฟกเตอร์ (enzyme cofactor).
การขาดแมกนีเซียม อาจทำให้เกิดอาการเหลืองระหว่างเส้นใบ (interveinal chlorosis).

- ขาดธาตุ สังกะสี (พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะขาดสังกะสี) ธาตุสังกะสี [Zn] เป็นส่วนสำคัญสำหรับเอนไซม์หลายชนิดและเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการถอดรหัสพันธุกรรม (DNA transcription).
การขาดสังกะสี โดยทั่วไปแล้วจะทำให้การเติบโตของใบชะงักงัน

การฉีดพ่น FK-1 ที่มีครบทั้ง ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม จึงช่วยบำรุง ฟื้นฟู ส่งเสริมการเจริญเติบโต การแตกยอด ใบ เสริมสร้างความสมบูรณ์ แข็งแรง ตลอดจนผลผลิตที่ดีขึ้น

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกลิงค์เพื่อแอดไลน์ http://www.farmkaset..link..

🎖สั่งซื้อผ่านหน้าเว็บฟาร์มเกษตรโดยตรง (เลือกแยกซื้อได้)
http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อกับ Shopee http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อกับ Lazada http://www.farmkaset..link..
ป้องกัน รักษา ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป โรคยอดไม้กวาดทุเรียน
ป้องกัน รักษา ทุเรียนยอดแห้ง ทุเรียนก้านธูป โรคยอดไม้กวาดทุเรียน
อาการ ต้นทุเรียนแคระ ใบบิดม้วน หลุดร่วง ทุเรียนยอดแห้ง โรคทุเรียนก้านธูป ทุเรียนยอดไม้กวาด อาจเกิดได้จากหลายสาเหตุดังนี้

ระบบรากฝอยทุเรียน ทำงานไม่เต็มที่

อาจมีสาเหตุจากความแห้งแล้ง อากาศร้อน หรือสภาพภูมิอากาศไม่เหมาะสม ดินเสื่อม หรือสภาพดินไม่ดี มีความเป็นกรด หรือด่าง ในค่า pH ที่ไม่เหมาะสม อาการนี้ แก้ไขโดยให้ปุ๋ยทางใบ ที่มีธาตุอาหารครบถ้วน เช่น ปุ๋ย FK-1

เกิดจากโรคทุเรียน หรือเชื้อราต่างๆ เข้าทำลายทุเรียน

โรครากเน่า โคนเน่า กิ่งเน่า โรคใบไหม้ โรคไฟทอปธอร่า โรคแอนแทรคโนส โรคใบติด โรคราสีชมพู โรคราแป้ง โรคราดำ เป็นต้น สามารถป้องกัน กำจัดโรคทุเรียนต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อราได้ ด้วย

อ่านที่ http://www.farmkaset..link..
ปุ๋ยสำหรับอ้อย ปุ๋ยเร่งอ้อยแตกกอ ปุ๋ยเพิ่มผลผลิตอ้อย ตรา FK
ปุ๋ยสำหรับอ้อย ปุ๋ยเร่งอ้อยแตกกอ ปุ๋ยเพิ่มผลผลิตอ้อย ตรา FK
การให้ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ หรือปุ๋ยน้ำสำหรับอ้อยนั้น เป็นการส่งเสริมการเจริญเติบโต และเพิ่มผลผลิตให้กับอ้อยได้อย่างมีประสิทธิผล อีกวิธีหนึ่ง

การฉีดพ่นปุ๋ยทางใบให้กับอ้อย เป็นอาหารทางใบ ที่ทำให้ต้นอ้อย ดูดซึม นำธาตุอาหารที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ ในการเสริมสร้างการเจริญเติบโต และเพิ่มความหวาน หรือค่า CCS ได้

อ้อย ในแต่ละช่วงอายุ ต้องการธาตุอาหารหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่มีสัดส่วนต่างกัน ในแต่ละระยะของการเติบโต หากเราให้ธาตุอาหาร ตรงกับความต้องการเหมาะสมกับช่วงอายุ อ้อยจะโตเร็ว และสามารถเพิ่มผลผลิตได้เป็นอย่างดี

อ้อย ระยะ 1-4 เดือน ทั้งอ้อยปลูก และ อ้อยตอ ฉีดพ่น FK-1 ที่ประกอบไปด้วย ธาตุอาหารพืชโดยตรง มีสัดส่วน ธาตุหลัก ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแตสเซียม (K) ที่เสมอกัน และประกอบด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม เช่น แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) สังกะสี (Zn) สารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ที่สำคัญต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตให้กับอ้อย

อ้อยที่มีอายุ 5เดือนขึ้นไป เป็นระยะสะสมอาหาร เพิ่มค่าความหวาน หรือค่า CCS ซึ่งในระยะนี้ อ้อยจะต้องการธาตุอาหาร โพแตสเซียม (K) สูงกว่าธาตุหลักอื่นๆ

ฉีดพ่น FK-3S สำหรับอ้อย ที่มีอายุ 5เดือนขึ้นไป เพื่อเพิ่มน้ำหนัก เพิ่มค่าความหวาน หรือ ค่า CCS เพิ่มผลผลิตอ้อย

การสั่งซื้อ

โทร 090-592-8614

ไลน์ไอดี http://www.farmkaset..link..

สั่งซื้อกับ ฟาร์มเกษตร http://www.farmkaset..link..

สั่งซื้อกับ ช้อปปี้ http://www.farmkaset..link..

สั่งซื้อกับ ลาซาด้า http://www.farmkaset..link..
ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบสำหรับอ้อย
ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบสำหรับอ้อย
ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบสำหรับอ้อย
การให้ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ หรือปุ๋ยน้ำสำหรับอ้อยนั้น เป็นการส่งเสริมการเจริญเติบโต และเพิ่มผลผลิตให้กับอ้อยได้อย่างมีประสิทธิผล อีกวิธีหนึ่ง

การฉีดพ่นปุ๋ยทางใบให้กับอ้อย เป็นอาหารทางใบ ที่ทำให้ต้นอ้อย ดูดซึม นำธาตุอาหารที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ ในการเสริมสร้างการเจริญเติบโต และเพิ่มความหวาน หรือค่า CCS ได้

อ้อย ในแต่ละช่วงอายุ ต้องการธาตุอาหารหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่มีสัดส่วนต่างกัน ในแต่ละระยะของการเติบโต หากเราให้ธาตุอาหาร ตรงกับความต้องการเหมาะสมกับช่วงอายุ อ้อยจะโตเร็ว และสามารถเพิ่มผลผลิตได้เป็นอย่างดี

อ้อย ระยะ 1-4 เดือน ทั้งอ้อยปลูก และ อ้อยตอ ฉีดพ่น FK-1 ที่ประกอบไปด้วย ธาตุอาหารพืชโดยตรง มีสัดส่วน ธาตุหลัก ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแตสเซียม (K) ที่เสมอกัน และประกอบด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม เช่น แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) สังกะสี (Zn) สารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ที่สำคัญต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตให้กับอ้อย

อ้อยที่มีอายุ 5เดือนขึ้นไป เป็นระยะสะสมอาหาร เพิ่มค่าความหวาน หรือค่า CCS ซึ่งในระยะนี้ อ้อยจะต้องการธาตุอาหาร โพแตสเซียม (K) สูงกว่าธาตุหลักอื่นๆ

ฉีดพ่น FK-3S สำหรับอ้อย ที่มีอายุ 5เดือนขึ้นไป เพื่อเพิ่มน้ำหนัก เพิ่มค่าความหวาน หรือ ค่า CCS เพิ่มผลผลิตอ้อย

สั่งซื้อสินค้าจากเรา หรือ ลาซาด้า หรือ ช้อปปี้ คลิก http://www.farmkaset..link..
อาการใบหงิกม้วนในมะเขือเทศเชอร์รี่แดง
อาการใบหงิกม้วนในมะเขือเทศเชอร์รี่แดง
ใบหงิกม้วน อาจเกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ โรคไวรัส ธาตุอาหารไม่สมดุล และสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง อาการที่พบ มักพบอาการใบหงิกงอในใบอ่อนหรือส่วนบนใกล้ยอด แต่ใบด้านล่างปกติ ไม่แสดงอาการม้วนงอ

สาเหตุ

1. เกิดจากไวรัส

2. เกิดจากได้พืชรับธาตุอาหารไม่เพียงพอหรือไม่สมดุล

3. เกิดจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง

การสังเกตลักษณะอาการ

1. ให้สำรวจและตรวจสอบประชากรแมลงในแปลง เช่น แมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน แมลงศัตรูพืชทั้ง 3 ชนิดนี้ เป็นพาหะนำโรคไวรัส แต่หากไม่พบแมลง ไม่มีร่องรอยการทำลาย และต้นมีความสมบูรณ์ดี ก็ไม่น่าจะใช่โรคไวรัส

2. หากตรวจสอบต้นมะเขือเทศเชอรี่แดงทั้งลำต้น โดยสังเกตที่ใบ เช่น หากใบด้านล่างหรือใบชุดแรกมีความสมบูรณ์ แล้วใบด้านบน บริเวณใกล้ยอดมีอาการผิดปกติและหงิกม้วน อาจเกิดจากมะเขือเทศเชอรี่แดงได้รับธาตุอาหารบางชนิดไม่เพียงพอ โดยเฉพาะ โบรอนและแคลเซี่ยม โดยหากได้รับไม่เพียงพอจะทำให้พบอาการบิดม้วนของใบอ่อน

3. ในช่วงฤดูร้อนและอากาศค่อนข้างแห้ง อาจส่งผลให้ต้นมะเขือเทศมีการปรับตัวต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงโดยแสดงอาการใบหงิกม้วน ทั้งนี้ ให้สังเกตว่ามะเขือเทศเชอร์รี่แดงที่แสดงอาการว่าปลูกในทิศใดหรือบริเวณจุดใดของโรงเรือน

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1. คลุมหลังคาด้วยตาข่ายพรางแสง 25-50% ความกว้าง 1 เมตร โดยขึงทิศเหนือใต้ ระยะห่างระหว่างตาข่ายพลางแสงแต่ละผืน 1 เมตร (เว้นช่องเพื่อให้ได้รับแสงโดยตรง)

2. รดน้ำในแปลง ทางเดิน หรือติดหัวพ่นหมอก หรือสปริงเกอร์ฝอยในโรงเรือน เพื่อเพิ่มความชื้น หรือติดสปริงเกอร์บนหลังคาเพื่อลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน หากถ้าวางกระถางบนพลาสติก ให้นำท่อพีวีซี 1 นิ้ว วางใต้พลาสติกตามยาวเพื่อทำเป็นขอบไว้กักน้ำที่ซึมออกมาจากกระถาง

3. ติดตั้งพัดลม เปิดหลังคา เพิ่มการระบายอากาศ (ตรวจสอบแบบโรงเรือนดูก่อนว่าสามารถทำได้หรือไม่)

4. ควบคุมการให้น้ำให้ปุ๋ย ตามที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ โดยยึดหลักการว่า ฤดูร้อน ให้น้ำน้อยแต่บ่อยครั้ง

5. ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบด้วยธาตุอาหารแคลเซียม โบรอน และแมกนีเซียม โดยพ่นปุ๋ยทางใบอัตราไม่เกินครึ่งหนึ่งของฉลาก 1 ครั้ง/สัปดาห์ หรือ 1/4 ของฉลากทุกๆ 3 วัน (เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด เวลาพ่นปุ๋ยแคลเซียมและโบรอนทางใบ ควรผสมกรดฟูลวิค Fulvic acid หรือกรดอะมิโน เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนธาตุอาหาร เข้าสู่ใบได้ดีขึ้น) หรือฉีดพ่นปุ๋ยทางใบที่มี หรือปรับสูตรปุ๋ยระบบน้ำโดยเพิ่มธาตุอาหารแคลเซียม โบรอนและแมกนีเซียม เพื่อให้มะเขือเทศได้รับธาตุอาหารที่เหมาะสมและสมดุล

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
เทคนิคการใส่ปุ๋ยสับปะรด
เทคนิคการใส่ปุ๋ยสับปะรด

เทคนิคการให้ปุ๋ย สับปะรด เมื่อต้น สับปะรด มีอายุได้ 2 – 3 เดือน หลังการปลูกซึ่งจะเป็นช่วงของการสร้างราก ก็จะเริ่มให้ปุ๋ยทางดินครั้งแรก ก็จะเป็นสูตรปุ๋ยที่มีไนโตรเจน (N) เช่น สูตร 15-5-20 หรือ 21-0-0 หรือจะใช้สูตร 16-16-16 ตามความสมบูรณ์ของสภาพดินนั้นๆ



การใส่ปุ๋ยให้ชิดโคนต้นอัตราประมาณ 20 กรัมต่อต้น **ต้องระวังอย่าให้ปุ๋ยกระเด็นตกลงไปที่ยอด สับปะรด โดยเด็ดขาด เพราะจะทำให้ยอดไหม้และเน่าได้ จากนั้นในเดือนที่ 4- 6 ให้ใส่ปุ๋ยที่มีตัวท้ายสูง คือ โปแตสเซียม เช่น สูตร 15-5-20 อัตรา 20 กรัมต่อต้น ให้ใส่ปุ๋ยบริเวณกาบใบล่าง ของต้น สับปะรด ได้เลย ควรใส่ปุ๋ยในขณะที่กาบใบมีน้ำอยู่อย่างพอเพียงหรือหลังจากมีการให้น้ำแก่ต้น สับปะรด แล้วมีน้ำขังอยู่ที่กาบใบ จะทำให้ปุ๋ยละลายได้ดี



การใส่ปุ๋ยเกษตรกรจะนิยมใช้ช้อนหรือกระบวยตักปุ๋ยใส่ที่กาบใบล่างได้เลย เกษตรกรจะต้องใส่ปุ๋ยหรือฉีดพ่นสารเคมีให้ สับปะรด ในช่วงเย็นจนถึงค่ำจะดีที่สุด เพราใบ สับปะรด จะเปิดปากใบในช่วงกลางคืน แล้วจะปิดปากใบในตอนกลางวัน ปุ๋ยทางใบก็สามารถเสริมให้ต้น สับปะรด ได้เดือนละครั้ง ตามความเหมาะสม โดยจะเน้นปุ๋ยสูตรที่มีไนโตรเจน(N) และ โปแตสเซีย(K)สูง และควรเพิ่มธาตุอาหารเสริม เช่น เหล็กและสังกะสีลงไปด้วย หรือ ปุ๋ยทางใบบางสูตรก็จะมีมาให้ สูตรปุ๋ยทางใบที่นิยมใช้ก็จะมีสูตร 23-0-25 หรือ บ้างก็จะใช้ปุ๋ยผสม คือ ปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 อัตรา 500


กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร โดยมักจะฉีดพ่นให้ประมาณ 3 ครั้ง คือ 1 เดือน และ 5 วัน ก่อนที่จะบังคับให้ สับปะรด ออกดอกและจะฉีดให้อีกครั้ง ราว 20 วัน ภายหลังจากที่บังคับดอก ต้องมีความระมัดระวัง ต้องอาศัยประสบการณ์ เพราะการให้ปุ๋ยมากเกินไป ก่อนการบังคับการออกดอก 1 เดือน อาจจะส่งผลให้การบังคับการออกดอกยากตามมา



จากนั้นจะมีการใส่ปุ๋ยครั้งสุดท้ายในช่วงหลังการบังคับการออกดอกประมาณ 3 เดือน ใส่ปุ๋ยบำรุงคุณภาพผลและลดปัญหาเรื่องโรคเนื้อแกน โดยจะใส่ปุ๋ยที่มีสูตรตัวท้ายสูง คือ โปแตสเซียม(K) เช่น โปแตสเซียมซัลเฟต 0-0-50 อัตรา 10 กรัมต่อต้น ใส่บริเวณกาบล่าสุดในขณะที่ใบมีน้ำเพียงพอที่จะละลายปุ๋ยได้



ประโยชน์ของ สับปะรด


ประโยชน์ของ สับปะรด


สับปะรด ผลไม้ที่ทุกคนชื่นชอบ สับปะรด มีมากกว่าประโยชน์ที่เราคิด ช่วยป้องกันโรคต่างๆและ นำสับปะรด มาแปรรูปได้อีกมากมายเรามารู้จักกับ สับปะรด กันดีกว่าครับ



รู้จักกับส่วนต่างๆของ สับปะรด



สับปะรด เป็นผลไม้ลำต้นเตี้ย เจริญเติบโตได้ดีในสภาวะอากาศร้อนแห้ง แล้ง มีดินปนทราย ขนาดของผล สับปะรด จะใหญ่กว่าลำต้น ส่วนใบจะเรียวยาว และแข็งแรงใช้ในการกักเก็บน้ำได้ดีครับเพราะมีเส้นใยที่เหนียวมาก ตรงเปลือกของ สับปะรด จะมีลักษณะแข็ง มีตา ปรากฎอยู่รอบ ๆ เปลือก เนื้อ สับปะรด มีรสหวานอมเปรี้ยวชุ่มน้ำ บางพันธุ์มีรสหวานฉ่ำ ส่วนมากนะครับจะนิยมปลูกทั้งพันธุ์ปัตตาเวีย และพันธุ์ภูเก็ต แต่ในบ้านเราส่วนมากที่ขายกันอยู่ก็จะมี สับปะรด นางแล ภูแล เพชรบุรี ศรีราชา



แล้วส่วนต่างๆของ สับปะรด เนี่ย เขาเอามาทำอะไรกันบ้าง


ผลของ สับปะรด


ผลสับปะรด จะเป็นส่วนที่มีเนื้อและน้ำ ซึ้งมีประโยชน์มากมายเลยครับ เราจะกินผลสดๆก็ได้ รวมไปถึงมาแปรรูปเป็น สับปะรดกวน _ สับปะรด ในน้ำเชื่อมบรรจุกระป๋อง ที่เราเห็นทั่วไป _ แยมสับปะรด และสับปะรดอบแห้ง หรือจะคั้นเป็นเครื่องดื่มน้ำ สับปะรด _น้ำส้มสายชูก็ได้ครับ





ใบสับปะรด รู้ไหมครับว่า ใบสับปะรดเนี่ยเป็นเศษวัสดุที่มีมูลค่ามากเลยครับ เพราะเส้นใยที่เหนียวนั้น สามารถนำมาแปรรูปเป็นผ้าใย สับปะรด ซึ่งชาวฟิลิปปินส์ จะนิยมนำมาทำเป็นผ้าพื้นเมืองด้วยครับ อีกทั้งยังนำมาประยุกต์ใช้ทำเป็นกระดาษใบ สับปะรด หรือเชือก





เปลือกสับปะรด มีประโยชน์มากเช่นเดียวกันครับ เพราะตรงส่วนตาของ สับปะรด นั้น อุดมไปด้วยสารอาหารที่มีคุณค่า จึงนิยมนำมาแปรรูปเป็นอาหารของโค หรือจะอบแห้งเผื่อนำมาเป็นส่วนผสมหลักๆของอาหารสัตว์อื่นๆ แถมยังนำมาทำเป็นน้ำหมัก ปุ๋ยชีวภาพได้ด้วยครับ





แกนสับปะรด บางสายพันธุ์นะครับที่มีแกนกลางใหญ่ๆ จะนิยมนำมาแปรรูปเป็น แกน สับปะรด อบแห้ง และ แกนสับปะรดหยี ที่ไม่นิยมรับประทานสดๆเพราะ เนื้อของแกน สับปะรด จะมีลักษณะแข็งกระด้างครับ


ประโยชน์และสรรพคุณของ สับปะรด



1. ช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง รับประทาน สับปะรด วันละหนึ่งชิ้นก็จะช่วยให้ร่างกายได้รับวิตามินซี ที่สำคัญคือวิตามินช่วยในการทำงานของเนื้อเยื่อเกี่ยวพัน และยังช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันแข็งแรง เพื่อป้องกันไม่ให้ร่างกายติดเชื้อและต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ การรับประทาน สับปะรด วันละหนึ่งชิ้นจึงเป็นการเพิ่มแรงต้านทานโรคให้แก่ร่าง กายแต่ในผู้ที่มีเลือดจางไม่ควรกินมากนัก



2. ช่วยในการย่อยอาหาร สับปะรด มีกากใยอาหารอาหารมากซึ่งมีความสำคัญกับการย่อยอาหาร และเป็นที่รู้กันอยู่ว่ากากใยอาหารช่วยลดคอเลสเตอรอล ควบคุมน้ำตาลในเส้นเลือดและช่วยลดความเสี่ยงของมะเร็งเพราะใน สับปะรด มีเอนไซม์ตามธรรมชาติที่มีชื่อว่า “บรอมีเลน” สามารถช่วยย่อยอาหารได้ทั้งใสภาวะเป็นกรดและด่าง จึงเหมาะมากที่จะพาไปช่วยย่อยในกระเพาะซึ่งเป็นกรด หากกินสัปปะรดหลังอาหารเป็นประจำ จะช่วยในเรื่องของระบบขับถ่ายด้วยนะครับ (ใครที่กำลังอยากลดความอ้วนนี่ ผมคอนเฟริมเลยครับ ได้ผลดีจริงๆ )



3. ช่วยให้เลือดลมไหลเวียนดี สับปะรด มีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ เช่น วิตามินซี เบต้าแคโรทีน และแมงกานีสที่จะช่วยป้องกันอันตรายจากอนุมูลอิสระที่จะทำลายโครงสร้างของ เซลล์ และอาจทำให้เป็นโรคหัวใจและอัมพฤกษ์ อัมพาต นอกจากนี้ สารแอนตี้ออกซิแดนท์ยังมีความสำคัญต่อระบบภูมิคุ้มกันของร่างกายอีกด้วย



4. ป้องกันความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง การรับประทานผักและผลไม้เป็นประจำและลดความเสี่ยงจากโรคมะเร็ง โดยเฉพาะมะเร็งกระเพาะอาหาร และมะเร็งเต้านม เพราะ สับปะรด มีสารแอนตี้ออกซิแดนท์ที่ช่วยป้องกันการเติบโตของเซลล์ร้ายในปอด ป้องกันมะเร็งรังไข่



5. ช่วยป้องกันโรคต่างๆ การรับประทานผักและผลไม้ให้ได้วันละ 5 กำมือจะช่วยลดการเสียชีวิตด้วยโรคเรื้อรังต่างๆ เช่น อัมพฤกษ์ อัมพาต หรือมะเร็งได้ถึง 20% อีกทั้งยังเสริมสร้างการดูดซึมอาหาร เพราะ สับปะรด มีกรด และวิตามินหลายชนิดครับ



6. ช่วยให้เหงือกแข็งแรง สับปะรด ช่วยให้สุขภาพในช่องปากแข็งแรง เนื่องจาก สับปะรด มีวิตามินสูงที่จะช่วยป้องกันความเสี่ยงจากโรคเหงือกได้



7. ช่วยยับยั้งการอักเสบ เอนไซม์ Bromelain ใน สับปะรด จะช่วยยับยั้งการอักเสบ ทั้งนี้ ชาวอเมริกาใต้โบราณใช้ สับปะรด เป็นยารักษาโรคผิวหนังและรักษาบาดแผล



สับปะรด ดีต่อสุภาพสตรีและผู้ป่วย


สับปะรด แปรรูป



สำหรับสุภาพสตรีที่มีอาการปวดประจำเดือน อาการอักเสบจากริดสีดวงทวาร หรือผู้ป่วยอาการที่เกี่ยวข้องกับเส้นเลือดดำ โรคกระดูก ข้ออักเสบ รูมาตอยด์ เก๊าท์ หากรับประทาน สับปะรด เป็นประจำ จะช่วยบรรเทาอาการต่างๆเหล่านี้ได้ รวมไปถึงสมานแผลให้ทุเลาได้เร็วขึ้นด้วยครับ



วิธีรับประทาน สับปะรด ให้ถูกต้อง



สำหรับการรับประทานที่ถูกวิธีนะครับ ให้ใช้มีดใหญ่เฉือนเปลือกออกจนหมด จากนั้นจึงใช้มีดตัดส่วนตาออกเป็นร่องเฉียงเป็นแถว ๆ เอาส่วนตาออกแล้วตัดเป็นชิ้น แล้วเอาเกลือแกงทาให้ทั่วหรือมิฉะนั้นก็แช่ในน้ำเกลืออ่อน ๆ ประมาณ 2-3 นาที การทาเกลือหรือแช่ในน้ำเกลือนอกจากจะทำให้รสชาติดีขึ้นแล้วยังเป็นการทำลาย สารจำพวก Glycoalkaoid และเอ็มไซม์บางชนิด ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เกิดอาการแพ้ได้หลังรับประทานครับ



ข้อแนะนำของ สับปะรด



ถึงแม้ว่า สับปะรด จะเป็นผลไม้ที่เยี่ยมยอดเลยก็ว่าได้สำหรับเรานะครับ แต่หากรับประทานในปริมาณมากๆ อาจเป็นผลเสียต่อร่างกายได้ ควรรับประทาน สับปะรด ควบคู่ไปกับการทานอาหาร และผักผลไม้อื่นๆด้วยนะครับ อย่าลืมบอกต่อเคล็ดลับดีๆให้เพื่อนๆต่อได้นะครับ




ที่มา : วารสารเส้นทางกสิกรรม ประจำเดือนกันยายน 2554 " สับปะรด บริโภคสดพันธุ์ใหม่ MD2"หน้า 15-16 ชมรมเผยแพร่ความรู้ทางการเกษตร จ.พิจิตร



อ้างอิง:

http://www.farmkaset..link..

http://www.farmkaset..link..



อ่าน:3517
การปลูกเสาวรส
การปลูกเสาวรส
ชนิดและพันธุ์เสาวรส โดยทั่วไปแล้วเสาวรสสามารถแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือชนิดผลสีม่วง และชนิดผลสีเหลืองซึ่งมีลักษณะที่แตกต่างกันคือ

1. เสาวรสชนิดผลสีม่วง (Passiflora edulis)

เสาวรสชนิดนี้ผิวผลจะเป็นสีม่วงผลมีลักษณะกลมหรือรูปไข่ ดอกสามารถผสมตัวเองได้ดีดอกจะบานในตอนเช้า ผลสุกมีรสหวานและกลิ่นหอมกว่าพันธุ์สีเหลือง แต่ผลมักจะมีขนาดเล็กกว่าคือเส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 4-5 เซนติเมตร น้ำหนัก 50-60 กรัมต่อผล

2. เสาวรสชนิดผลสีเหลือง (Deneger P. edulis Forma F. flavicarpa)

ลักษณะผิวผลจะมีสีเหลืองผลมีขนาดใหญ่กว่าชนิดผลสีม่วงคือเส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 6 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 80-120 กรัมต่อผล เนื้อในให้ความเป็นกรดสูงกว่าชนิดสีม่วง จึงมีรสเปรี้ยวมากและใช้แปรรูป เป็นหลัก

เสาวรสชนิดผลสีเหลืองดอกจะบานในตอนเที่ยงส่วนใหญ่ผสมตัวเองไม่ติดต้องผสมข้ามต้นแต่ต้นมีทนทานต่อโรคต้นเน่า เถาเหี่ยว โรคไวรัสและทนต่อไส้เดือนฝอยมากกว่าพันธุ์สีม่วงจึงนิยมใช้เป็นต้นตอในการเสียบกิ่งของพันธุ์ม่วง

พันธุ์เสาวรสรับประทานสด

เสาวรสพันธุ์รับประทานสดที่มูลนิธิโครงการหลวง คัดเลือกได้และส่งเสริมให้ปลูกเป็นการค้ามี 2 พันธุ์คือเสาวรสรับประทานสดเบอร์ 1 และเบอร์ 2 ซึ่งเป็นชนิดพันธุ์สีม่วงทั้ง 2 พันธุ์ โดยคัดเลือกได้เมื่อปี พ.ศ. 2539 จากต้นที่เพาะเมล็ดจากเสาวรสสายพันธุ์ไต้เหวัน

1. พันธุ์รับประทานสดเบอร์ 1

ลักษณะผลเป็นรูปไข่สีม่วงอมแดง เมื่อตัดขวางผลจะเห็นว่ามีลักษณะเป็น 3 พู เส้นผ่าศูนย์กลางผลประมาณ 5 เซนติเมตร น้ำหนักผลประมาณ 70-80 กรัมต่อผลรสชาติหวานอมเปรี้ยว มีกลิ่นหอม ความหวานเฉลี่ยประมาณ 16 Brix

2. พันธุ์รับประทานสดเบอร์ 2

ลักษณะโดยทั่วไปคล้ายกับพันธุ์เบอร์ 1 แต่สีผลจะเข้มและมีคุณภาพดีกว่าพันธ์เบอร์ 1 คือ รสชาติหวานและน้ำหนักต่อผลสูงกว่า โดยผลมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-6 เซนติเมตร น้ำหนักประมาณ 70-100 กรัมต่อผล ความหวานเฉลี่ยที่ประมาณ 17-18 Brix พันธุ์นี้เปลือกหนากว่าพันธุ์เบอร์ 1 จึงสามารถเก็บไว้ได้นาน

ปัจจุบันมูลนิธิโครงการหลวง ได้เน้นให้เกษตรกรที่ปลูกเสาวรสใช้พันธุ์รับประทานเบอร์ 2 สำหรับปลูกเป็นการค้าเนื่องจากลักษณะเด่นที่กล่าวไปแล้วข้างต้น สำหรับพันธุ์ที่ใช้แปรรูปทั้งสีม่วงและสีเหลืองก็สามารถปลูกเพื่อรับประทานผลสดได้แต่ราคาของผลผลิตจะต่ำกว่าตามคุณภาพของผลผลิต

การขยายพันธุ์เสาวรส

วิธีการขยายพันธุ์

การปลูกเสาวรสรับประทานสดจะแตกต่างจากเสาวรสโรงงานที่ปลูกด้วยต้นกล้าจากการเพราะเมล็ด คือ ต้องรักษาให้เผลผลิตมีคุณภาพและรสชาติดี ไม่เปลี่ยนแปลงไปจากพันธุ์เดิม ดังนั้นการปลูกจึงจำเป็นต้องใช้ต้นกล้าที่ได้จากการเปลี่ยนยอดพันธุ์ดีโดยมีขั้นตอน ดังนี้

1. การเพาะเมล็ดสำหรับทำต้นตอ

ต้นตอที่ใช้ควรเป็นเสาวรสโรงงานชนิดพันธุ์สีเหลือง เนื่องจากมีความแข็งแรงและทนทานตอโรงแมลงได้ดี และเมล็ดที่จะนำมาเพราะควรคัดจากผลและต้นแม่ที่สมบูรณ์ไม่เป็นโรคไวรัส นำมาล้างเอารกที่หุ้มเมล็ดออก นำมาผึ่งให้แห้งแล้วจึงนำไปเพาะแต่ไม่ควรเก็บเมล็ดไว้นานเกินไปเพราะจะทำให้ความงอกลดลง

การเพาะเมล็ดสามารถทำได้ทั้งในภาชนะ เช่น ถุงพลาสติกและตะกร้าหรือในแปลงเพาะกล้าโดยวัสดุเพาะใช้ดิน ปุ๋ยหมัก ขี้เถ้าแกลบและขุยมะพร้าว ผสมกันในสัดส่วน 2:1:1:1 ใช้วิธีโรยเมล็ดเป็นแถวแล้วกลบด้วยวัสดุเพาะให้หน้าประมาณ 1 เซนติเมตร ระวังอย่าให้เมล็ดแน่นเกินไปเพราะจะทำให้เกิดโรคโคนเน่า ปกติเมล็ดที่เพาะจะงอกภายใน 7-10 วัน หลังจากต้นกล้ามีใบจริง 1 ใบ ซึ่งอายุประมาณ 15-20 วันหลังเพาะจึงย้ายลงถุงปลูกขนาด 2.5 x 6 นิ้ว หรือแปลงปลูก ถ้าเป็นฤดูฝนหรือสามารถให้น้ำได้ทั้งนี้ขึ้นกับว้าจะเปลี่ยนยอกดเป็นพันธุ์ดีในเรือนเพาะชำหรือในแปลงปลูก ในระหว่างการเพาะกล้านั้นต้องมีการพ่นยาป้องกันกำจัดมดที่จะทำลายเมล็ดและแมลงที่เป็นเพาหะของโรคไวรัส เช่น เพลี้ยไฟและไรแดงอยู่เสมอ เพื่อให้ต้นกล้าปลอดจากโรคไวรัสและต้องให้ปุ๋ยช่วยเพื่อให้ต้นกล้าเจริญเติบโตเร็วขึ้น โดยอาจจะให้ปุ๋ยทางใบหรือใช้ปุ๋ยสูตร 46-0-0 หรือ 21-0-0 ผสมน้ำรด หลังจากที่ต้นกล้ามีอายุประมาณ 2-3 เดือน จึงสามารถเปลี่ยนยอดเป็นพันธุ์ดีดได้

2. การเปลี่ยนยอดพันธุ์

เสาวรสเป็นพืชที่สามารถเปลี่ยนยอดได้ง่ายและทำได้ทุกฤดูกาล ซึ่งโดยทั่วไปแล้วสามารถทำได้ 2 แบบคือ การเปลี่ยนยอดพันธุ์ต้นกล้าในถุงก่อนนำไปปลูกและการนำต้นตอไปปลูกในแปลงก่อนแล้วจึงเปลี่ยนพันธุ์ภายหลัง

2.1 การเปลี่ยนยอดต้นกล้าที่ปลูกในถุง

การเปลี่ยนยอดแบบนี้มีข้อดีคือทำได้ง่ายและสะดวกในการปฏิบัติดูแลรักษา เนื่องจากทำได้ในพื้นที่จำกัดและสามารถคัดเลือกต้นกล้าที่มีความสมบูรณ์แข็งแรงสม่ำเสมอกันไปปลูก นอกจากนี้ยังให้ผลผลิตได้เร็วขึ้นจึงเป็นวิธีการที่แนะนำให้ใช้การเปลี่ยนยอดนิยมใช้วิธีเสียบลิ่ม (Cleft grafting) ซึ่งทำได้ 2 แบบคือ

2.1.1 การเปลี่ยนยอดแบบใช้ยอดอ่อน

การเปลี่ยนยอดแบบนี้งานพัฒนาและส่งเสริมไม้ผล มูลนิธิโครงการหลวงได้พัฒนาขึ้นเพื่อลดการติดโรคไวรัสของต้นกล้า ปรับปรุงคุณภาพของต้นกล้าให้แข็งแรงสมบูรณ์สม่ำเสมอมากขึ้น ลดระยะเวลาในการเลี้ยงต้นกล้าในถุงปลูกให้สั้นลง เพื่อให้ระบบรากไม่เสียและให้ต้นกล้าเจริญเติบโตได้ต่อเนื่องไม่ชะงัดการเจริญเติบโตหลังการเปลี่ยนยอด

ต้นตอที่เหมาะสำหรับเปลี่ยนยอดคืออายุ 1.5-2 เดือน หลังเพาะซึ่งจะมีใบประมาณ 5-7 ใบและต้นยังอ่อนอยู่ ทำการเตรียมแผลของต้นตอโดยตัดยอดให้เหลือใบ 3-4 ใบ ผ่าต้นตอลึก 1.5-2.0 เซนติเมตร นำยอดพันธุ์ที่เป็นปลายยอดอ่อน ความยาวประมาณ 5 เซนติเมตรมีใบ 2-3 ใบ มาปาดเป็นรูปลิ่มความยาวเท่ากับแผลของต้นตอ จากนั้นนำมาเสียบลงบนต้นตอผูกด้วยเชือกฟาง ยางยืดหรือใช้ตัวหนีบ เสร็จแล้วนำต้นใส่ไว้ในกระโจมพลาสติกเพื่อรักษาความชื้นไม่ให้ยอดเหี่ยว หลังจากนั้น 7 วัน ยอดพันธุ์ดีจะติดสามารถนำออกจากกระโจมและเลี้ยงให้แข็งแรงอีก 20-30 วันก่อนนำไปปลูก

2.1.2 การเปลี่ยนยอดแบบใช้ตาข้าง

การเปลี่ยนพันธุ์แบบนี้เป็นวิธีการที่ใช้อยู่เดิม ซึ่งมีวิธีการเช่นเดียวกับการเปลี่ยนยอดแบบใช้ยอดอ่อน แต่ต้นตอที่ใช้จะต้องมีอายุมากกว่าคือประมาณ 3-4 เดือน เพื่อให้ต้นตอมีขนาดใหญ่ใกล้เคียงกับยอดพันธุ์ดีที่ใช้ โดยตัดเถาให้มีตาข้าง 2 ตาและตัดใบออกให้เหลือครึ่งใบ ในกรณีที่ไม่มีกระโจมการเปลี่ยนยอดแบบนี้สามารถใช้ถุงครอบยอดเป็นต้นๆ ได้ หรือใส่ในกระโจมขนาดใหญ่ได้ เพราะไม่ต้องรักษาความชื้นให้สม่ำเสมอมากนัก

2.2 การเปลี่ยนยอดพันธุ์ในแปลงปลูก

วิธีการนี้จะทำหลังจากที่นำต้นตอลงไปปลูกในแปลงแล้ว ซึ่งมีข้อเสียคือยากแก่การเปลี่ยนพันธุ์และดูแลรักษาเนื่องจากใช้พื้นที่มาก แต่จะเหมาะสำหรับพื้นที่ปลูกที่อาศัยน้ำฝน เพราะสามารถปลูกต้นตอซึ่งมีความแข็งแรงกว่าต้นที่เปลี่ยนพันธุ์ลงไปก่อนในช่วงปลายฤดูฝนแล้วจึงทำการเปลี่ยนยอดพันธุ์ภายหลัง

การเปลี่ยนยอดสามารถทำได้ตั้งแต่หลังปลูกต้นตอไปแล้วประมาณ 1 เดือนจนกระทั่งเถาเจริญถึงค้างแล้ว โดยวิธีการเสียบลิ่ม (Cleft grafting) เช่นเดียวกับการเปลี่ยนพันธุ์ในถุงปลูก แต่กิ่งพันธุ์ที่นั้นจะเอาใบออกทั้งหมดและต้องคลุมด้วยถุงพลาสติกเพื่อรักษาความชื้นและหุ้มด้วยกระดาษป้องกันความร้อนจากแสงแดด นอกจากนี้ยังสามารถเปลี่ยนยอดพันธุ์ได้โดยวิธีการเสียบข้าง (Side grafting) ได้ หลังการเปลี่ยนยอดให้รักษาใบของต้นตอไว้แต่ต้องหมั่นปลิดยอดที่จะแตกจากตาข้างของต้นตอออก เพื่อไม่ให้แข่งขันกับยอดพันธุ์ดี

การวางแผนการขยายพันธุ์และการผลิตต้นกล้า

การขยายพันธุ์และผลิตต้นกล้าเสาวรสนั้นต้องมีการวางแผนให้สอดคล้องกับระยะเวลาที่ต้องการปลูก ฤดูกาลและนิสัยการเจริญเติบโตของเสาวรสโดยเฉพาะระยะเวลาให้ผลผลิต การวางแผนที่ถูกต้องจะทำให้เสาวรสให้ผลผลิตอย่างเต็มที่และเสียเวลาและค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษาน้อยที่สุด โดยต้องวางแผนผลิตต้นกล้าให้มีอายุเหมาะสมพอดีเมื่อถึงเวลาปลูกที่ได้กำหนดไว้ว่าเหมาะสมสำหรับรูปแบบการปลูกต่างๆ เช่นปลูกแบบให้น้ำหรือการปลูกแบบอาศัยน้ำฝน การผลิตต้นกล้าเร็วเกินไปจะทำให้ต้องเลี้ยงต้นไว้ในถุงนานจะมีปัญหาระบบรากไม่ดีและต้นทุนการดูแลเพิ่มขึ้น การผลิตต้องล้าช้าก็จะทำให้ต้นกล้าไม่แข็งแรงสมบูรณ์พอเพียงกับระยะเวลาปลูกที่เหมาะสม

การปลูกเสาวรสรับประทานสด

เสาวรสรับประทานสดมีวิธีการปลูกและการปฏิบัติดูแลรักษาเช่นเดียวกับเสาวรสโรงงาน แต่ต้องเพิ่มความประณีตในการปฏิบัติดูแลรักษาบางอย่าง เพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพดียิ่งขึ้น ปกติแล้วเสาวรสเป็นพืชที่มีอายุยาวนานหลายปี แต่โดยทั่วไปแล้วมีการปลูกกัน 2 ระบบ คือ การปลูกแบบเก็บเกี่ยว 1 ฤดูกาลต่อการปลูก 1 ครั้ง และเก็บเกี่ยว 2-3 ฤดูกาลต่อการปลูก 1 ครั้ง แต่ระบบที่แนะนำให้เกษตรกรใช้ในปัจจุบันคือแบบปลูก 1 ครั้ง เก็บเกี่ยว 2-3 ฤดูกาล เนื่องจากเป็นการลดต้นทุนคือลงทุนทำค้าง 1 ครั้งสามารถเก็บผลผลิตได้ยาวนานขึ้น

ระยะการปลูกและการวางแผนปลูก

โดยธรรมชาติแล้วเสาวรสจะออกดอกและให้ผลผลิตเมื่อมีอายุประมาณ 5-7 เดือนหลังปลูกสำหรับเสาวรสรับประทานสดนั้นจะออกดอกติดผลเร็วกว่านี้ เนื่องจากเป็นต้นกล้าที่เปลี่ยนยอด แต่อายุเหมาะสมที่ควรให้ติดผลไม่ควรต่ำกว่า 5 เดือนเพื่อให้ต้นแข็งแรงพอและขึ้นค้างแล้ว ปกติแล้วเสาวรสจะให้ผลผลิตได้ตลอดปีถ้าไม่ขาดน้ำ แต่ในสภาพที่ปลูกโดยอาศัยน้ำฝนนั้น เสาวรสจะให้ผลผลิตได้ดีในระหว่างเดือนสิงหาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ ดังนั้นการปลูกเสาวรสรับประทานสดจึงจะต้องวางแผนให้สอดคล้องกับช่วงเวลาการให้ผลผลิตและสภาพการปลูก

1. การปลูกโดยอาศัยน้ำฝน

เนื่องจากเสาวรสจะให้ผลผลิตได้ดีในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกุมภาพันธ์ การปลูกโดยอาศัยน้ำฝนและจะต้องตัดแต่งในเดือนกุมภาพันธ์ทุกปี ดังนั้นการปลูกจะต้องทำก่อนเดือนสิงหาคมอย่างน้อย 7 เดือน ซึ่งมี 2 ช่วงคือระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม ซึ่งเป็นช่วงปลายฤดูฝนถึงฤดูหนาว แต่หลังปลูกจะต้องให้น้ำช่วยเพื่อให้ต้นสามารถเจริญผ่านฤดูแล้วแรกไปก่อน สำหรับอีกช่วงหนึ่งคือการปลูกในช่วงต้นฤดูฝนคือเดือนพฤษภาคม ช่วงนี้ไม่ต้องให้น้ำแต่ในปีแรกช่วงระยะเวลาให้ผลผลิตจะสั้นแค่ 3-4 เดือนเท่านั้น คือจากเดือนพฤศจิกายนถึงกุมภาพันธ์

2. การปลูกแบบให้น้ำ

พื้นที่ปลูกสามารถให้น้ำได้ในฤดูแล้งเสาวรสจะสามารถให้ผลผลิตได้ทันทีเมื่ออายุประมาณ 5-7 เดือนหลังปลูก และให้ผลผลิตได้ตลอดปี ดังนั้นจึงสามารถปลูกได้ทุกช่วงเวลา แต่ยังคงต้องคำนึงถึงความสะดวกในการปฏิบัติดูแลรักษาด้วย ตัวอย่างเช่นถ้าปลูกในช่วงฤดูฝนจะประหวัดในเรื่องการให้น้ำแต่จะต้องเพิ่มการกำจัดวัชพืชมากขึ้น แต่ถ้าปลูกในช่วงฤดูแล้งจะต้องช่วยให้น้ำแต่ปัญหาเรื่องวัชพืชจะน้อยลงมาก

การปลูกเสาวรสในกรณีที่จะเปลี่ยนยอดในแปลงปลูกนั้นจะใช้เวลาตั้งแต่ปลูกจนกระทั่งเปลี่ยนพันธุ์และให้ผลผลิตใกล้เคียงกับการปลูกด้วยต้นพันธุ์ดีเช่นกัน โดยปกติแล้วจะปลูกต้นตอในช่วงปลายฤดูฝนและทำการเปลี่ยนพันธุ์ในช่วงปลายฤดูหนาวซึ่งต้นตอเจริญเติบโตถึงค้างแล้ว

ขั้นตอนการปลูก

การปลูกเสาวรสรับประทานสดมีขั้นตอนที่จะต้องดำเนินการและมีการปฏิบัติดูแลรักษาดังนี้

1. การคัดเลือกและเตรียมพื้นที่ปลูก

เสาวรสรับประทานสดเป็นไม้ผลที่ปลูกง่าย สามารถปลูกเป็นการค้าได้โดยอาศัยน้ำฝน แต่ถ้าสามารถเลือกพื้นที่ปลูกที่สามารถให้น้ำได้จะทำให้คุณภาพผลผลิตดีขึ้นและการให้ผลผลิตยาวนานตลอดปี เสาวรสรับประทานสดนั้นสามารถปลูกได้ตั้งแต่พื้นราบจนกระทั่งพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1_000 เมตร แต่พื้นที่ปลูกควรมีแสงแดดจัด ไม่ควรมีน้ำขังและลาดชันมากเกินไปเพราะจะทำให้ทำค้างยาก ในเขตที่มีฝนตกชุกเสาวรสอาจจะติดผลไม่ดีนักในบางช่วง เนื่องจากละอองเกสรตัวผู้จะถูกน้ำชะล้างและแมลงไม่สามารถผสมเกสรได้ เสาวรสปลูกได้ดีในดินหลายชนิด ดินที่เป็นกรดก็สามารถเจริญเติบโตได้ดี แต่ถ้าความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) ต่ำกว่า 5.5 ควรใส่ปูนขาวลงไปด้วย

การเตรียมพื้นที่ปลูกเสาวรสรับประทานสดนั้น ต้องมีการไถพรวนพื้นที่ก่อนถ้าพื้นที่ไม่ลาดชันนัก และถ้าสามารถหว่านปุ๋ยอินทรีย์ในขณะไถพรวนพื้นที่ได้ก็จะดีมาก เนื่องจากเสาวรสมีระบบรากตื้นแต่แผ่กว้างมาก จากนั้นจึงขุดหลุมปลูกโดยให้มีระยะปลูก 3×3 เมตร (177 ต้นต่อไร่) หลุมปลูกควรมีขนาด 30x30x30 เซนติเมตรและอยู่บริเวณโคนเสาค้างเพราะจะทำให้สะดวกในการปฏิบัติงานภายในแปลง ก้นหลุมปลูกรองด้วยปุ๋ยอินทรีย์หรือเศษวัชพืชและปุ๋ยเคมีสูตร 15-15-15 จำนวน 100 กรัม จากนั้นผสมดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์อีกครั้งลงในหลุมและควรเตรียมหลุมปลูกก่อนล่วงหน้าระยะหนึ่งจะดีมาก เพื่อให้อินทรียวัตถุที่ใส่ลงไปย่อยสลายก่อน

2. การคัดเลือกและเตรียมต้นกล้า

การปลูกเสาวรสรับประทานสดต้องมีการเตรียมต้นกล้าไว้ล่วงหน้าให้พอดีกับช่วงเวลาที่จะปลูกเพื่อให้ได้ต้นกล้าที่คุณภาพดี เพราะการผลิตกล้าเสาวรสส่วนใหญ่จะใช้ถุงปลูกขนาดเล็กให้สะดวกต่อการขนส่งจึงไม่สามารถเลี้ยงต้นกล้าไว้ในถุงปลูกนานได้และที่สำคัญต้นกล้าที่จะนำมาปลูกต้องคัดเลือกให้มีความสมบูรณ์สม่ำเสมอกันและไม่แสดงอาการเป็นโรคไวรัส

3. วิธีการปลูก

หลังจากเตรียมหลุมปลุกแล้วก็สามารถน้ำนกล้าลงปลูกได้ในกรณีที่ปลูกด้วยต้นที่เปลี่ยนยอดแล้วต้องให้รอยต่อของยอดพันธุ์กับต้นตออยู่สูงกว่าระดับดินเพื่อป้องกันเชื้อโรคเข้าทางรอยต่อและต้องตรวจสอบดูด้วยว่าได้เอาวัสดุพันกิ่งออกแล้วหรือไม่ เมื่อปลูกต้นกล้าแล้วใช้หลักไม้ไผ่ขนาดเล็กความสูงถึงระดับค้างปักและผูกเถาติดกับหลักหรือเสาค้างก็ได้เพื่อให้ยอดของต้นตั้งตรงตลอดเวลาต้นจึงจะเจริญเติบโตได้เร็ว

4. การทำค้าง

เนื่องจากเสาวรสเป็นไม้ผลประเภทเถ้าเลื้อยการปลูกจึงต้องมีค้างรองรับต้นและผลผลิต ค้างเสาวรสนั้นต้องแข็งแรงเพียงพอสามารถใช้งานได้อย่างน้อย 3 ปี ต่อการปลูก 1 ครั้งและต้องทำก่อนปลูกหรือทำทันทีหลังปลูกเพื่อให้ทันกันการเจริญเติบโตของต้นเสาวรสสามารถเลี้ยงเถาได้ทันทีเมื่อเถาเจริญถึงค้าง ซึ่งปกติจะใช้เวลาประมาณ 3 เดือน การทำค้างช้าเป็นปัญหาที่พบมาก เพราะเป็นขั้นตอนที่ต้องใช้ทุนและแรงงานมากที่สุด

ค้างเสาวรสมีอยู่ 2 ระบบคือค้างแบบรั้วตั้งและค้างแบบเป็นผืนที่ยังแยกออกเป็นอีก 2 แบบคือ แบบเป็นผืนใหญ่เต็มพื้นที่และแบบตัวที แต่ค้างแบบรั้วตั้งและแบบตัวทีนั้นยังไม่แนะนำให้เกษตรกรใช้เพราะพื้นที่เลี้ยงเถามีจำกัดต้องเพิ่มการตัดแต่งมากกว่าปกติ

ค้างแบบเป็นผืนใหญ่เต็มพื้นที่เป็นแบบที่แนะนำให้เกษตรกรใช้ปัจจุบันเนื่องจากมีพื้นที่เลี้ยงเถามาก เกษตรกรไม่ต้องเสียเวลาในการเลี้ยงและตัดแต่งเถามาก นอกจากนี้ยังทำได้ง่ายและแข็งแรงซึ่งค้างประกอบด้วย 2 ส่วนได้แก่

1. เสาค้าง สามารถใช้ได้ทั้งเสาคอนกรีต เสาไม้หรือเสาไม้ไผ่แต่ทั้งนี้ต้องคำนึงถึงการลงทุนให้น้อยที่สุดในพื้นที่ 1 ไร่ จะใช้เสาค้าง 177 ต้น คือใช้ระยะ 3×3 เมตร เช่นเดียวกับหลุมปลูก

2. ค้างส่วนบน เป็นพื้นที่เลื้อยของเถาเพื่อไม่ให้เถาห้อยตกลงมา วัสดุที่ใช้อาจจะเป็นไม้ไผ่ลวดสังกะสีหรือเชือกไนล่อนก็ได้ แต่วิธีที่แนะนำให้เกษตรกรใช้คือใช้ลวดสังกะสีเบอร์ 14 สานเป็นโครงสร้างและใช้เชือกไนล่อนสานเป็นตารางขนาด 40×50 เซนติเมตร วิธีนี้จะทำให้น้ำหนักค้างส่วนบนลดลง

ในแต่ละปีต้องมีการซ่อมแซมค้างที่เสียหายให้แข็งแรงอยู่เสมอ โดยปกติแล้วจะทำหลังจากการตัดแต่งกิ่งในเดือนกุมภาพันธ์ เช่น เปลี่ยนเชือกที่ขาดและเสาที่ผุพัง เป็นต้น

5. การจัดทรงต้นและการเลี้ยงเถา

เสาวรสเช่นเดียวกับไม้ผลชนิดอื่นๆ ที่จะต้องจัดทรงต้นให้เหมาะสมกับการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตโดยเริ่มตั้งแต่หลังปลูกจนกระทั่งขึ้นค้าง คือจะต้องให้เสาวรสมีลำต้นเดียวตั้งแต่ระดับพื้นดินจนถึงค้างในระยะนี้จะต้องคอยดูแลตัดหน่อที่งอกจากต้นตอกิ่งข้างของต้นออกให้หมดรวมทั้งต้องมัดเถาให้เลื้อยขึ้นตั้งตรงอยู่ตลอดเวลา เพราะถ้ายอดของเถาห้อยลงจะทำให้ยอดชะงักการเจริญเติบโตและแตกตาข้างมากและเนื่องจากเสาวรสรับประทานสดเน้นการเลี้ยวเถาเป็นต้นจากการเสียบยอดจึงติดผลเร็ว ต้องหมั่นเด็ดผลทิ้งจนกว่าต้นจะเจริญถึงค้าง

หลังจากต้นเจริญถึงค้างแล้วให้ทำการตัดยอดบังคับให้แตกเถาใหม่ 3-4 กิ่ง จากนั้นจัดเถาให้กระจายออกไปโดยรอบต้นทั่วพื้นที่ของค้าง และควรตัดยอดของเถาอีกครั้งเมื่อยาวพอสมควรแล้วเพื่อช่วยให้แตกยอดมากขึ้น

6. การใส่ปุ๋ย

เสาวรสเป็นพืชที่ออกดอกติดผลตลอดทั้งปี ดังนั้นจึงจำเป็นต้องได้รับปุ๋ยอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ จึงจะให้ผลผลิตได้ดีและมีคุณภาพโดยเฉพาะเสาวรสรับประทานสดนั้นยิ่งมีความจำเป็นมาก การได้รับปุ๋ยที่ไม่ถูกต้องและเพียงพอจะมีผลทำให้คุณภาพและรสชาติของผลผลิตต่ำกว่ามาตรฐาน ปุ๋ยที่ใช้ในการปลูกเสาวรสรับประทานสดมี 2 ชนิดคือ

1. ปุ๋ยอินทรีย์ มีประโยชน์ช่วยปรับปรุงโครงสร้างของดินทำให้ต้นเสาวรสมีความแข็งแรงขึ้นและลดความรุนแรงของโรคไวรัสลง ซึ่งได้แก่ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก ต้องใส่ให้อย่างน้อยปีละ 1 ครั้งคือใส่พร้อมกับการเตรียมดินก่อนปลูกและหลังจากสิ้นสุดช่วงเก็บเกี่ยวแล้วและทำการติดแต่งกิ่งของแต่ละปีในช่วงต้นกุมภาพันธ์โดยใช้ประมาณ 10 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี โดยอาจจะใช้วิธีโรยเป็นแถวระหว่างต้นหรือรอบต้นแล้วไถพรวนหรือดินกลบ

2. ปุ๋ยเคมี มีความจำเป็นต่อเสาวรสรับประทานสดมาก โดยทั่วไปแล้วแนะนำให้ใช้อย่างต่อเนื่อง ครั้งละจำนวนน้อยแต่บ่อยครั้งเพราะเสาวรสมีช่วงการให้ผลผลิตตลอดปีและพื้นที่สูงมักจะมีปัญหาการชะล้างของฝนทำให้เกิดการสูญเสียของปุ๋ยได้ง่าย อัตราใช้ปุ๋ยเคมีที่แนะนำคือ 150-200 กิโลกรัมต่อไร่ต่อปีหรือประมาณ 1 กิโลกรัมต่อต้นต่อปี
7. การให้น้ำและกำจัดวัชพืช

เสาวรสสามารถทนแล้งได้ดีพอสมควร สามารถปลูกโดยอาศัยน้ำฝนได้ แต่การปลูกเสาวรสรับประทานสดแบบให้น้ำเพื่อให้มีผลผลิตตลอดปีนั้นจำเป็นต้องให้น้ำในฤดูแล้งประมาณ 7 วันครั้ง ซึ่งสามารถให้ได้โดยหลายวิธี เช่น น้ำพ่นฝอย น้ำหยด หรือรดน้ำ ควรให้น้ำ 1-2 ครั้ง / สัปดาห์ เป็นต้น สำหรับวัชพืชนั้นต้องหมั่นกำจัดอยู่เสมอโดยอาจจะใช้วีการตัดหรือพ่นด้วยสารเคมีได้แต่ต้องไม่ใช้ประเภทดูดซึม หลังจากที่เถาเต็มค้างแล้วปัญหาเรื่องวัชพืชจะน้อยลง

8. การปลิดผล

โดยธรรมชาติแล้วเสาวรสจะออกดอกและติดผลได้ง่ายโดยจะเกิดที่ทุกข้อบริเวณโคนก้านใบของกิ่งใหม่ถึงแม้ว่าดอกบางส่วนจะร่วงไม่ติดผลแต่ก็มักจะติดผลค่อนข้างมากอยู่ ทำให้ผลผลิตคุณภาพไม่สม่ำเสมอจำเป็นต้องปลิดผลที่มีคุณภาพต่ำทิ้ง ให้ผลที่เหลืออยู่มีคุณภาพดี ซึ่งจำเป็นมากสำหรับเสาวรสรับประทานสดที่ต้องเน้นเรื่องคุณภาพ

ใน 1 เถาเสาวรสจะให้ผลที่มีคุณภาพดีเป็นชุด ๆ ละ 3-4 ผล หลังจากติดผล 1 ชุดแล้ว ผลชุดที่ติดต่อไปมักมีขนาดเล็กเพราะอาหารไม่เพียงพอจึงต้องทิ้งบ้าง นอกจากนี้ยังมีผลที่บิดเบี้ยวเนื่องจากการทำลายของโรคแมลงที่ต้องปลิดทิ้งด้วย โดยทำตั้งแต่ผลมีขนาดเล็กอยู่

9. การตัดแต่งเถา

เนื่องจากเสาวรสเป็นไม้ผลที่ออกดอกบนกิ่งใหม่จึงต้องทำให้ต้นมีการแตกกิ่งใหม่ตลอดเวลาเสาวรสจึงจะให้ผลผลิตได้ดีอีกประการหนึ่งคือเถาเสาวรสจะเลื้อยยืดยาวออกไปตลอดเวลา ทำให้กิ่งใหม่และผลติดอยู่ไกลลำต้นจึงได้รับน้ำและอาหารไม่เต็มที่ การตัดแต่งจะมีประโยชน์ในการช่วยให้ต้นแตกกิ่งใหม่และเถาไม่ยาวเกินไป ซึ่งทำได้ 2 ลักษณะตามรูปแบบการปลูกคือ

1) การปลูกแบบอาศัยน้ำฝน จะต้องทำการตัดแต่งหนัก 1 ครั้ง หลังจากสิ้นสุดฤดูกาลเก็บผลผลิตในเดือนกุมภาพันธ์โดยตัดเถาโครงสร้างที่เกิดจากลำต้นให้เหลือ 3-4 กิ่งยาวประมาณ 30 เซนติเมตร หลังจากนั้น 1 เดือนจะแตกยอดใหม่ที่กิ่งโครงสร้าง ตัดแต่งกิ่งอีกครั้งโดยเลื้อยยอดใหม่ที่สมบูรณ์ ไว้ 2-3 ยอดต่อเถาโครงสร้าง 1 เถา จัดเถาให้กระจายไปรอบต้น

ในระหว่างที่ต้นเจริญเติบโตและให้ผลผลิตนั้นต้องคอยตัดแต่งกิ่งข้างที่แก่และกิ่งที่ให้ผลผลิตไปแล้วออกโดยให้เหลือตา 2-3 ตา เพื่อให้แตกยอดใหม่ให้ผลผลิตต่อไป

2) การปลูกแบบให้น้ำ

การปลูกแบบนี้จะไม่มีการตัดแต่งหนักในฤดูแล้งเพราะต้องการให้มีผลผลิตตลอดปี แต่จะใช้การตัดยอดของเถาโครงสร้างที่ยืดยาวออกไปเป็นระยะๆ หลังจากที่ต้นขึ้นค้างแล้ว เพื่อบังคับให้แตกเถาข้างมากขึ้นและทำการตัดแต่งเถาข้างเมื่อยาวพอสมควรเป็นระยะเช่นกัน เพื่อบังคับให้แตกเถาแขนงให้มากสำหรับให้ผลผลิตและต้องตัดแต่งเถาข้างหรือเถาแขนงที่แก่หรือให้ผลผลิตแล้วออกเป็นประจำเพื่อให้แตกยอดใหม่ทดแทนตลอดเวลาโดยตัดให้เหลือ 2-3 ตา

ในบางช่วงที่ต้นติดผลน้อยกว่าปกติ อาจจะตัดแต่งให้หนักมากขึ้นได้เพราะจะไม่กระทบกับการให้ผลผลิตมากนัก

10. การเก็บเกี่ยวและการบ่ม

เสาวรสรับประทานสดจะไม่เก็บเกี่ยวโดยปล่อยให้ร่วงเหมือนกับเสาวรสโรงงาน คือต้องเก็บจากต้นโดยผลจะสุกเมื่ออายุประมาณ 50-70 วันหลังดอกบาน ระยะที่เหมาะสมเก็บเกี่ยวเมื่อผลเปลี่ยนเป็นสีม่วงแล้วประมาณ 70-80 เปอร์เซ็นต์ โดยสีของผลจะเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีแดงอมม่วงจึงเก็บเกี่ยวด้วยวิธีการใช้กรรไกรตัดขั้วผลจากต้นให้สั้นติดผล แล้วจึงนำมาบ่มเพื่อให้สีผลสวยและรสชาติดีขึ้น โดยทั่วไปแล้วจะทำการเก็บเกี่ยวทุกๆ 2-3 วันต่อครั้ง

การบ่อใช้ก๊าซอะเซทธิลีน ซึ่งทำได้หลายวิธีเช่น ใส่ผลลงไปภาชนะเช่นกล่องกระดาษ แล้วนำแคลเซียมคาร์ไบด์ที่ใส่ในภาชนะเล็กๆ หรือห่อกระดาษเติมน้ำเล็กน้อยให้เกิดก๊าซอะเซทธิลีนแล้วปิดภาชนะทิ้งไว้ 2-3 วันผลจะเปลี่ยนสีเป็นสีม่วงแดงเข้มขึ้นจึงนำส่งจำหน่าย ในกรณีที่ผลผลิตมีจำนวนมากให้ใช้วิธีใส่ผลผลิตลงในลังพลาสติกหลายๆ ลังนำมาตั้งรวมกันใส่แคลเซียมคาร์ไบด์มากเกินไปเพราะจะทำให้ผิวผลเสียหาย

ก่อนการบ่มควรคัดคุณภาพผลผลิตก่อนที่สำคัญคือระดับความสุกของผลให้สม่ำเสมอกันเพราะจะทำให้ใช้ระยะเวลาในการบ่มเท่ากันสีของผลสม่ำเสมอกันทุกผล

11. การคัดคุณภาพผลผลิตและบรรจุหีบห่อ

ผลผลิตเสาวรสรับประทานสดนั้นต้องเน้นเรื่องคุณภาพเป็นอย่างมากโดยเฉพาะคุณภาพภายใน ซึ่งได้แก่ความหวานและน้ำหนักต่อผล โดยความหวานต้องไม่ต่ำกว่า 16 Brix และผลที่มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางผล 5 เซนติเมตร ควรมีน้ำหนักประมาณ 70 กรัม เพราะผลที่มีขนาดใหญ่แต่น้ำหนักเบาภายในจะมีเนื้อน้อย สำหรับลักษณะภายนอกนั้นผลต้องไม่บิดเบี้ยว ไม่เน่า แตก หรือเหี่ยว ผิวผลอาจจะลายจากโรคไวรัสหรือแมลงได้ แต่ไม่มากเกินไป ปัจจุบันมูลนิธิโครงการหลวงกำหนดชั้นมาตรฐานผลผลิตไว้ 2 เกรด คือ เกรด 1 เส้นผ่าศูนย์กลางผลตั้งแต่ 5 เซนติเมตรขึ้นไป และเกรด 2 เส้นผ่าศูนย์กลางผลตั้งแต่ 4-5 เซนติเมตร

หลังจากคัดคุณภาพแล้วจึงบรรจุผลผลิตเพื่อส่งจำหน่ายโดยกำหนดให้บรรจุผลลงในลังสีเขียวที่บุข้างด้วยกระดาษและส่งให้งานคัดบรรจุตรวจสอบคุณภาพและส่งจำหน่ายต่อไปโดยอาจจะบรรจุใหม่สำหรับขายปลีกเป็นกิโลกรัม

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3493
ลองกอง การเพิ่มผลผลิตในฤดูและนอกฤดู
ลองกอง การเพิ่มผลผลิตในฤดูและนอกฤดู
ลองกองเป็นพืชที่เพื่อนๆ เกษตรกรส่วนใหญ่ปลูกกันเชิงการค้านะครับ วันนี้ผมจะไม่ชวนคุยเรื่องการปลูก แต่จะมาชวนคุยเรื่องการเพิ่มผลผลิตกันครับ ทั้งเรื่องการตัดแต่งกิ่งให้ได้ผลเยอะและมีคุณภาพ และการปลูกลองกองนอกฤดู เพื่อให้พวกเราได้ผลผลิตเยอะขึ้นกันนะครับ

การตัดแต่งช่อผลในช่วง 1-2 สัปดาห์และ 7-8 สัปดาห์หลังดอกบานเลือกช่อที่สมบูรณ์ และทำการเด็ดผลบริเวณโคนช่อกรณีที่ผลแน่นมากเกินไป เพราะเมื่อเจริญเติบโตขึ้นจะเกิดการเบียดเสียดและอัดแน่นจนทำให้หลุดทั้งช่อได้ ในการตัดช่อดอกต่อกิ่ง แนะนำว่าเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 นิ้วให้ไว้ดอก 3-5 ช่อ ถ้าเส้นผ่านศูนย์กลาง 1.5 นิ้วให้ไว้ดอก 10 ถึง 15 ช่อ สำหรับการตัดแต่งผลช่อ ควรตัดแต่งผลที่ไม่สมบูรณ์และก้านอัดแน่นเกินไปออก ให้ผลที่เหลืออยู่เจริญเติบโตเต็มที่และสม่ำเสมอทุกผล ทำให้ช่อผลลองกองมีคุณภาพดี การตัดปลายช่อผลเป็นนวัตกรรมใหม่ทำให้คุณภาพผลผลิตลองกองดีขึ้นมาก ผลสุกสม่ำเสมอจากโคนช่อและปลายช่อ โดยใช้กรรไกรปากเป็ดและกรรไกรปากนกแก้วต่อด้ามยาว 2-3 เมตร ควรทำความสะอาดและฆ่าเชื้อโรคที่คมกรรไกรทุกครั้งที่ใช้งาน

การใส่ปุ๋ยบำรุงผลนั้น ขณะที่ผลลองกองกำลังเจริญเติบโต จำเป็นต้องเพิ่มปุ๋ยบำรุงโดยเฉพาะ ถ้ามีการแตกใบอ่อนออกมาในระยะนี้ ลองกองต้องสูญเสียสารอาหารที่สะสมไว้ออกไป ฉะนั้นต้องใส่ปุ๋ยอินทรีย์หรือปุ๋ยสูตร 13-13-21 อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น หรือสูตร 12-12-17 ปริมาณ 0.5- 1 กิโลกรัมต่อต้น ถ้าต้องการให้ใบอ่อนแก่เร็วขึ้นควรใช้ปุ๋ยทางใบสูตร 7-13 -14 ในอัตรา 100 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นเพิ่มเติมและให้น้ำสม่ำเสมอ

ต่อมาเรามาดูเรื่องการบังคับลองกองออกนอกฤดูกันบ้างครับ ก่อนอื่นต้องสังเกตที่ต้นลองกองที่ตาดอกว่ามีดอกออกหรืไม่ ถ้าดอกไม่ออกก็ควรฉีดพ่นฮอร์โมนเพื่อเปิดตาดอกก่อน สังเกตกิ่ง ที่ตาดอกอันเล็กๆ ถ้าหากว่าเราไม่ทำการบังคับเร่งดอก ดอกและผลก็จะไปออกตามฤดูกาล ขั้นตอนที่สำคัญคือสังเกตไปที่ใต้ต้นลองกองนะครับเห็นหญ้าเขียวปกคลุมอยู่ เราควรจะตัดออกให้เกลี้ยงแล้วโรยด้วยปุ๋ยยูเรีย 46-0-0 ประมาณ 3-4 กำมือ หลังจากนั้นประมาณ 2 สัปดาห์ สังเกตที่ต้นลองกองว่ากิ่งก้านจะเริ่มทรุดโทรม ใบก็จะเหลือน้อยลง ถ้าหากว่ามีฝนตกในช่วงนี้ให้หาพลาสติกมาคลุมโคนต้นไว้ เมื่อต้นลองกองทรุดโทรมเหมือนกับใกล้จะตาย เราก็จะให้น้ำ ด้วยสปริงเกอร์อย่างน้อยประมาณ 2 ชั่วโมงขึ้นไป แล้วทดสอบด้วยการเหยียบไปที่โคนต้นที่เรารดน้ำ ดินจะมีการยุบตัวลง ก็ถือว่าใช้ได้ครับ และเราก็ควรจะรดน้ำทุกวันนะครับวันละประมาณครึ่งชั่วโมงก็พอนะครับหลังจากนั้นประมาณ 2 สัปดาห์ ดอกก็จะเริ่มมีความยาวขึ้นมาประมาณ 2 เซนติเมตร ผ่านไปประมาณ 3 สัปดาห์ 4 สัปดาห์ความยาวก็จะเริ่มยาวขึ้น ดอกที่ออกมาหลายๆ ช่อ เราก็จะเด็ดออกให้เหลือแค่ช่อเดียว ระยะห่างของช่อดอกให้ห่างกันอย่างน้อย 1 คืบ แต่ถ้าจะให้ดีที่สุดก็ประมาณ 1 ศอก เพื่อที่เราจะได้ช่อที่มีความยาวมีความสมบูรณ์เต็มที่ หลังจากนั้นประมาณ 3 เดือนผลผลิตลองกองก็จะเริ่มออกสู่ตลาด โดยรวมแล้วเราก็จะใช้เวลาบังคับลองกองจนถึงผลผลิตออกก็ประมาณ 5 เดือนครับ

Reference http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3785
การดูแลรักษามะม่วง และเก็บเกี่ยว
การดูแลรักษามะม่วง และเก็บเกี่ยว
การดูรักษาและเก็บเกี่ยวมะม่วง

การดูแลรักษา

1. มะม่วงเริ่มปลูกถึงก่อนให้ผลผลิต

1.1 กำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่ม ใส่ปุ๋ยและให้น้ำอย่างสม่ำเสมอตลอดปี

1.2 ตัดแต่งกิ่ง และจัดโครงสร้างต้น ให้เหมาะสมกับระยะปลูก

1.3 ป้องกันกำจัดศัตรูพืชให้มะม่วงมีกิ่งแข็งแรงมีใบสมบูรณ์

2. มะม่วงระยะเจริญทางกิ่งใบ

2.1 หลังเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จแล้วทำการตัดแต่งกิ่งและใส่ปุ๋ยทางดินทันที พร้อมกับการให้น้ำ อย่างเพียงพอ เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโต และสร้างความสมบูรณ์ของต้น

2.2 มะม่วงแตกใบใหม่อย่างน้อย 2 รุ่นในรอบปี ดูแลรักษาให้ต้นและใบมะม่วงสมบูรณ์เต็มที่

3. การเตรียมความพร้อมสำหรับการสร้างตาดอก

ปลายฤดูฝนเมื่อได้ต้นมะม่วงที่แข็งแรงสมบูรณ์ ควบคุมให้ต้นพักตัวและสะสมอาหารมะม่วงจะสร้างตาดอก ในระยะนี้ โดยงดการให้น้ำก่อนฤดูออกดอกอย่างน้อย 2 เดือน และไถพรวนรอบชายนอกทรงพุ่ม เป็นการตัดรากมะม่วงบางส่วนและกำจัดวัชพืชพร้อมกัน ในกรณีที่มีฝนหลงฤดูตกลงมา ควรพ่นปุ๋ยทางใบ เช่น สูตร 0-52-34 อัตรา 50 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ประมาณ 2-3 ครั้ง เพื่อยับยั้งไม่ให้มะม่วงแตกใบอ่อนและยังคงมีการสะสมอาหารต่อไป

การให้น้ำ

1. การใช้ระบบให้น้ำแบบหัวเหวี่ยงเล็ก(มินิสปริงเกอร์) การปฏิบัติงานทำได้สะดวก ประหยัดแรงงานและพืชได้น้ำสม่ำเสมอ

2. การให้น้ำแบบสายยางรดหรือแบบปล่อยตามร่องขนาดเล็ก มีต้นทุนต่ำกว่าระบบแรก แต่ควบคุม ปริมาณน้ำที่ให้พืชได้ยาก ไม่สม่ำเสมอ ใช้น้ำ แรงงาน และเวลามากกว่าระบบหัวเหวี่ยงเล็ก



ปริมาณน้ำ

มะม่วงระยะบำรุงต้น มีความต้องการน้ำประมาณ 0.5 เท่าของอัตราการระเหยน้ำ กล่าวคือ ถ้าสภาพ อากาศมีอัตราการระเหยน้ำ 5 มิลลิเมตรต่อวัน (การระเหย 1 มิลลิเมตรเทียบเท่ากับน้ำ 1 ลิตรต่อ ตารางเมตร)ต้นมะม่วงที่มีเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 3 เมตร จะต้องให้น้ำประมาณ 22.5 ลิตรต่อต้น ต่อวัน (ครั้ง)

มะม่วงหลังการติดผล ถือเป็นระยะวิกฤตที่มะม่วงต้องการใช้น้ำมากที่สุด ประมาณ 0.7-0.8 เท่าของ อัตราการระเหยน้ำ กล่าวคือ ถ้าสภาพอากาศมีอัตราการระเหยน้ำ 5 มิลลิเมตรต่อวัน ต้นมะม่วงที่มี เส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม 5 เมตร จะต้องให้น้ำประมาณ 87.5-100 ลิตรต่อต้นต่อวัน (ครั้ง)

ความถี่ของการให้น้ำ

ขึ้นกับเนื้อดินและสภาพอากาศ ดินที่มีเนื้อดินเป็นดินทรายให้น้ำ 2-3 วันต่อครั้ง เนื้อดินเป็นดิน เหนียวให้น้ำ 4-5วันต่อครั้ง อย่างไรก็ตามอาจใช้วิธีสังเกตจากความชื้นดิน และสภาพของใบมะม่วง ประกอบการวางแผนให้น้ำก็จะได้ผลดียิ่งขึ้น จากตัวอย่างที่ยกมาจากข้างบน ปริมาณการให้น้ำมะม่วง ระยะบำรุงต้นพืชต้องการน้ำ 22.5 ลิตรต่อต้นต่อวัน ถ้าต้องการให้น้ำ 4 วันต่อครั้งดังนั้นต้องให้น้ำ เท่ากับ 90 ลิตรต่อครั้ง

การงดให้น้ำ

ในช่วงก่อนมะม่วงออกดอก จะต้องงดให้น้ำจนกว่ามะม่วงเริ่มแทงช่อดอกแล้วจึงจะเริ่มให้น้ำอีก

การตัดแต่งกิ่ง

– การจัดทรงหรือสร้างทรงพุ่มมะม่วง

– เลือกลำต้นหลัก 1 ลำต้น ความสูง 75-100 เซนติเมตร

– ทำลายตายอด ทำให้ตาข้างผลิเกิดเป็นกิ่งแขนง คัดเลือกกิ่งไว้ในทิศทางที่ต้องการ 3-5 กิ่ง และเลือกกิ่งไว้ ไปอีก 2-3 ครั้ง ตามขนาดทรงพุ่มที่ต้องการ

– ขนาดพุ่มต้นควรคำนึงถึงความสะดวกในการทำงานรวมถึงความปลอดภัยและเหมาะสมกับเครื่องมือที่มีอยู่





วิธีการตัดแต่งกิ่ง

– การตัดแต่งกิ่งแบบบางเบา

เป็นการบังคับ และเลือกกิ่งให้เจริญเติบโตไปในทิศทางที่ต้องการ โดยตัดแต่งกิ่งที่ไม่ต้องการออก เช่น กิ่งที่โรคและแมลงทำลาย กิ่งกระโดง กิ่งไขว้ กิ่งไม่สมบูรณ์ กิ่งที่ผลิบริเวณ ปลายกิ่งที่แน่นมากเกินไปออก

– การตัดแต่งแบบปานกลาง

เมื่อพุ่มต้นใกล้จะชนกัน ตัดกิ่งรอบนอกทรงพุ่มทั้งหมดจากปลายยอดลึกเข้าหาศูนย์กลางต้นยาวประมาณ 50-100 เซนติเมตร มะม่วงจะผลิตา แตกกิ่ง – ใบใหม่มาทดแทน แล้วคัดเลือกกิ่งและตัดแต่งกิ่งอย่างบางเบา หลังการตัดแต่งแบบปานกลางอีก 1-2 ครั้ง

– การตัดแต่งกิ่งแบบหนัก

เมื่อต้นอายุมาก ต้นถูกโรคและแมลงทำลาย หรือต้นทรุดโทรม ควรสร้างโครงสร้างต้นมะม่วงใหม่(แต่งสาว) โดยตัดแต่งกิ่งเปิดกลางทรงพุ่มให้มีความสูง 1.5-3.0 เมตร ปริมาตรทรงพุ่ม ตัดออกไปประมาณครึ่งหนึ่ง กิ่งที่ถูกตัดเป็นแผลขนาดใหญ่ควรทาแผลด้วยยาป้องกันกำจัดเชื้อรา หรือสีน้ำมันจากนั้นกิ่งจะผลิตาให้กิ่ง แขนงใหม่ จากนั้นทำการคัดเลือกและตัดแต่งกิ่งอย่างบางเบา 1-2 ครั้ง เมื่อกิ่งแขนงใหม่บริเวณกลางทรงพุ่ม มีโครงสร้างเจริญเติบโตแข็งแรงมาทดแทนกิ่งเดิม และคาดการณ์ จะสามารถให้ผลผลิตในปีต่อไปได้ ให้ตัดแต่งกิ่งโครงสร้างเก่าที่อยู่รอบนอกของ โครงสร้างใหม่ออก มีความยาวใกล้เคียงกับการตัดแต่งกิ่งเปิดกลางทรงพุ่ม คัดเลือกกิ่งและตัดแต่งกิ่งแบบบางเบา 1-2 ครั้ง ช่วงแรกผลผลิตจะลดลงบ้างประมาณ 20-40 เปอร์เซ็นต์ แต่จะสามารถให้ผลผลิตได้เต็มที่ในปีที่ 3 หลังจากเริ่มตัดแต่ง กิ่งอย่างหนัก

หมายเหตุ : หลังจากตัดแต่งกิ่งทุกครั้งควรบำรุงต้นมะม่วงทันที ด้วยการใส่วัสดุปรับปรุงดินอินทรีย์แท้ เกรดAAA ตรายักษ์เขียว สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) และฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 30-50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 10-14 วัน และให้น้ำตามปกติ เพื่อเร่งการผลิตาสร้างกิ่ง และใบใหม่ที่สมบูรณ์มาทดแทนได้อย่างรวดเร็ว







รอบระยะพัฒนาการของผลมะม่วง

ระยะการพัฒนาจนครบรอบเป็นดังนี้

มิถุนายน(ตัดแต่งกิ่ง) กรกฎาคม(ตัดแต่งกิ่ง>แตกใบอ่อน ครั้งที่ 1)สิงหาคม(แตกใบอ่อน) กันยายน(แตกใบอ่อน ครั้งที่ 2) ตุลาคม(พักตัว) พฤศจิกายน(พักตัว) ธันวาคม(แทงช่อดอก)

มกราคม—>ดอกบาน กุมภาพันธ์(ผสมเกสร ตัดผลอ่อน) มีนาคม(ขยายผล) เมษายน(เข้าไคล) พฤษภาคม(เข้าไคล>ผลแก่>เก็บเกี่ยว)

การบังคับให้มะม่วงออกดอก

การบังคับให้ต้นมะม่วงออกดอก ด้วยสารพาโคลบิวทราโซล โดยราดสารนี้ลงในดินรอบๆ ต้น ซึ่งมีวิธีการดังนี้คือ

1) ต้องบำรุงต้นมะม่วงให้สมบูรณ์เต็มที่ก่อน กล่าวคือ หลังจากเก็บผลแล้วให้ตัดแต่งกิ่งใส่ปุ๋ยให้น้ำ เพื่อให้ต้นมะม่วงสมบูรณ์เต็มที่ หลังจากนั้นปล่อยให้มะม่วงแตกใบอ่อนอย่างน้อย 2 ชุด

2) ระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการใช้สารคือ ช่วงที่ใบยังอยู่ในระยะใบอ่อนหรือใบพวง

3) ก่อนราดสาร ควรตรวจดูดินที่มีความชื้นพอสมควร และเมื่อราดสารลงดินแล้วให้รดน้ำตามด้วย เพื่อให้รากดูดสารได้อย่างเต็มที่

4) หลังจากราดสารประมาณ 21-30 วัน ให้ฉีดพ่น ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 7-10 วันเพื่อกระตุ้นช่อดอก ทำให้การออกดอกเป็นไปอย่างสม่ำเสมอทั้งต้น ประมาณ 1½เดือนถึง 2 เดือนมะม่วงก็จะออกดอก

5) อัตราการใช้สารพาโคลบิวทราโซลเปลี่ยนแปลงไปตามขนาดและอายุของต้นมะม่วง ดังนี้

เส้นผ่านศูนย์กลางทรงพุ่ม

6) การรดด้วยสารพาโคลบิวทราโซลให้รดทั่วบริเวณทรงพุ่มอย่างสม่ำเสมอ



การช่วยให้ช่อดอกมะม่วงติดผลดีขึ้น

เนื่องจากมีผู้สนใจปลูกมะม่วงกันแพร่หลาย และมักจะประสบปัญหาอย่างเดียวกันว่า มะม่วงออกช่อดอกแล้วไม่ค่อยติดผล โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้ามีหมอกลงจัดในขณะที่ช่อดอกกำลังบานแล้ว ก็จะยิ่งทำให้มะม่วงไม่ติดผล ซึ่งก็มีความเชื่อกันอย่างนั้น ซึ่งสาเหตุหรืออุปสรรคต่าง ๆ ที่ทำให้มะม่วงเมื่อออกดอกแล้วไม่ติดผล มีดังต่อไปนี้คือ

1. สาเหตุอันเกิดจากเพลี้ยจั๊กจั่นและโรคราดำ

สาเหตุนี้เป็นสาเหตุที่สำคัญที่สุดในการที่จะให้ช่อมะม่วงไม่ติดผล ซึ่งพบสาเหตุนี้ในเกือบทุกสวนมะม่วง หรือทุกต้นมะม่วงในท้องที่จังหวัดต่าง ๆ เกือบทุกจังหวัดก็ว่าได้ การทำลายของเพลี้ยจั๊กจั่น หรือที่ชาวสวนเรียกกันว่า แมงกะอ้า กับโรคราดำนั้น เกิดควบคู่กันไป กล่าวคือ เพลี้ยจั๊กจั่นทำลายช่อดอกมะม่วง โดยดูดน้ำเลี้ยงช่อดอกมะม่วง ทำให้ดอกมะม่วงขาดน้ำเลี้ยง ไม่สามารถเจริญต่อไปเป็นผลมะม่วงได้ ดอกจะร่วงหล่นในที่สุด และในขณะเดียวกัน เพลี้ยจั๊กจั่นก็จะขับถ่ายออกมา เป็นของเหลวที่มีรสหวาน ที่เป็นอาหารอันโอชะของเชื้อราดำ ซึ่งมีอยู่ทั่วไปในบรรยากาศ ทำให้ราดำเจริญได้ดีตามช่อดอกมะม่วง เห็นช่อดอกมะม่วงเป็นสีดำ และโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าเกิดมีหมอกลงจัด นั่นย่อมหมายความว่า มีละอองน้ำในอากาศอยู่มาก มีความชื้นสูง ซึ่งธรรมชาติของเชื้อราดำหรือราต่างๆ จะชอบเจริญได้ดีในที่ๆ มีความชุ่มชื้นสูง ดังนั้นจึงกล่าวได้ว่า หมอกมีส่วนช่วยให้โรคราดำเจริญ หรือระบาดได้อย่างรวดเร็ว

วิธีป้องกัน : ใช้ ชีวภัณฑ์ปลอดสารพิษ “เมทา แม็ก” อัตรา 40-80 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นเพื่อกำจัดเป็นประจำ ทุก ๆ 5-7 วันในช่วงที่มะม่วงเริ่มแทงช่อ-ดอกบาน(ประมาณ 4-5 ครั้ง)

2. สาเหตุอันเกิดจากสิ่งอื่นๆ ที่นอกเหนือจากแมลงและโรคทำลายช่อดอก

เมื่อต้นมะม่วงมีอายุไม่ถึงวัยที่จะออกดอกออกผล แต่ออกดอกก่อนกำหนด หรือการบำรุงต้นมะม่วงในช่วงระยะแรกตั้งแต่เริ่มเพาะปลูกนั้นไม่ดีพอ ต้นมะม่วงเหล่านี้ เมื่อออกดอกแล้ว มีดอกไม่ติดผล เพราะต้นมะม่วงยังไม่แข็งแรงและสมบูรณ์พอ อายุหรือวัยที่ต้นมะม่วงควรจะออกดอกออกผล คือ ถ้าปลูกด้วยกิ่งตอน ควรมีอายุประมาณ 3 ปี ถ้าปลูกด้วยกิ่งทาบหรือกิ่งติดตา ควรมีอายุประมาณ 4-5 ปี จึงเริ่มออกดอกออกผล ถ้าปลูกด้วยเมล็ด ควรมีอายุประมาณ 5-6 ปี ดังนี้เป็นต้น

วิธีป้องกันรักษา คือ หมั่นดูแลรักษา และใส่ปุ๋ยตามคำแนะนำ หากมะม่วงติดดอก ให้เด็ดดอกทิ้งเสียในขณะที่ช่อดอกเริ่มออก เพื่อต้นมะม่วงจะได้ไม่เสียน้ำเลี้ยงไปสร้างช่อดอกต่อไป ถ้าปล่อยช่อดอกไว้ไม่เด็ดทิ้ง อาจติดผลได้ แต่เป็นผลที่ไม่สมบูรณ์ และต้นมะม่วงจะมีการเจริญเติบโตของลำตนช้าลง หรือชะงักงัน

3. ต้นมะม่วงขาดน้ำ หรืออากาศแห้งแล้งในระยะที่มีช่อดอก จะทำให้ดอกเหี่ยวแห้ง และร่วงหล่นไปได้

วิธีป้องกันรักษา คือ หลังจากมะม่วงออกช่อดอกแลว ให้รดน้ำอย่างสม่ำเสมออย่าปล่อยให้แห้ง

4.ต้นมะม่วงไม่สมบูรณ์และแข็งแรงพอ หากต้นมะม่วงไม่สมบูรณ์และแข็งแรงพอ ก็จะทำให้ช่อดอกมะม่วงไม่ติดผล เนื่องจากขาดอาหาร หรือน้ำเลี้ยงที่จะมาเลี้ยงช่อดอกหรือผลต่อไปได้

วิธีป้องกันรักษา : ใส่ปุ๋ยบำรุงต้น และฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิลตามคำแนะนำ และให้ตัดแต่งกิ่งมะม่วงที่แห้ง หรือกิ่งที่มีโรคหรือแมลงทำลาย ออกเสีย

อนึ่ง อาจมีสาเหตุอื่นอีกที่มะม่วงออกช่อดอก แล้วไม่ติดผล เช่น อาจเป็นเพราะ ในท้องที่ที่ปลูกมะม่วงนั้น มีแมลงช่วยผสมเกสรอยู่น้อย หรืออาจเป็นเพราะ ต้นมะม่วงที่ปลูกนั้นอยู่ในที่อับ ไม่มีลมพัดผ่าน และแสงแดดน้อย เรื่องพันธุ์มะม่วงก็เป็นสิ่งสำคัญเช่นกัน เช่น มะม่วงพันธุ์น้ำดอกไม้ พันธุ์พิมเสนมัน มักจะออกดอกติดผลได้ดีกว่าพันธุ์อื่น และมักจะออกดอกนอกฤดูกาลอีกด้วย พันธุ์แรดมักจะออกดอกก่อนพันธุ์อื่น และออกดอกติดผลสม่ำเสมอเกือบทุกปี เหล่านี้เป็นต้น

การให้ปุ๋ย

มะม่วงตั้งแต่เริ่มปลูกถึงอายุ 2 ปี :

ทางดิน : ใส่วัสดุปรับปรุงดินเกรด AAA “ตรายักษ์เขียว สูตรเข้มข้นพิเศษ(แถบทอง) อัตรา 0.5-1 กิโลกรัมต่อต้น ทุก ๆ 30-45 วัน สลับกับการใส่ปุ๋ยเคมีสูตร 25-7-7 อัตรา 150-300 กรัม(1-2 กำมือ)ต้น ปีละ 2-3 ครั้ง

ทางใบ : ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 30-50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 15-20 วัน(1-2ครั้งต่อเดือนเป็นประจำ)


สรุปการให้ปุ๋ยมะม่วงที่ให้ผลผลิตแล้วหรือต้นอายุ 3 ปีขึ้นไป

ช่วงเวลา ทางดิน ทางใบ

หลังเก็บเกี่ยวและตัดแต่งกิ่งแล้ว ครั้งที่ 1 ใส่ ยักษ์เขียว เกรดAAA สูตรเข้มข้น(แถบทอง)อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น

ครั้งที่ 2 ใส่ปุ๋ยสูตร 25-7-7 อัตรา 0.5กิโลกรัมต่อต้น ห่างจากครั้งแรก 30 วัน

ไบโอเฟอร์ทิล สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง อัตรา30-50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร(0.5 ลิตรต่อน้ำ200 ลิตร) + อาหารเสริมรวม “คีเลท” อัตรา5-10 กรัมฉีดพ่นทุก ๆ 10-14 วัน ประมาณ 5ครั้ง

เตรียมต้นสะสมอาหาร ใส่ ยักษ์เขียว เกรดAAA สูตรเข้มข้น(แถบทอง)อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อสะสมอาหารในต้น ปุ๋ยสูตร 0-52-34 อัตรา 50-80 กรัมต่อน้ำ20 ลิตร ฉีดพ่น 2-3 ครั้ง ห่างกัน 7-10 วัน ช่วยบังคับต้นให้สะสมอาหาร ไม่ให้แตกใบอ่อน

กระตุ้นดอก เร่งช่อยาว ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล สูตรบำรุงต้น ไล่แมลงอัตรา 50-80 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร(0.5 ลิตรต่อน้ำ 200 ลิตร + อาหารเสริมรวม “คีเลท”อัตรา 5-10 กรัม ฉีดพ่นทุก ๆ 10-14 วัน ประมาณ 4-5 ครั้ง

ติดผลจนถึงเก็บเกี่ยว ครั้งที่ 1 เมื่อติดเม็ดขนาดเท่ามะเขือพวง ใส่ ยักษ์เขียว เกรดAAA สูตรเข้มข้น(แถบทอง)อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้น

ครั้งที่ 2 หลังจากครั้งแรก 30 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 16-16-16 อัตรา0.5 กิโลกรัม + ยักษ์เขียว เกรดAAAสูตรเข้มข้น(แถบทอง)อัตรา 1-2กิโลกรัมต่อต้น

ครั้งที่ 3 หลังจากนั้นอีก 30 วัน ใส่ปุ๋ยสูตร 13-13-21 หรือ 24-4-24 อัตรา 0.5กิโลกรัม+ปุ๋ยอินทรีย์ตรายักษ์เขียว สูตร1 (แถบทอง)อัตรา 1-2 กิโลกรัมต่อต้นต่อต้น

ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล สูตรเร่งขนาดผลอัตรา 50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร บวกกับ อาหารเสริมรวม “คีเลท” อัตรา 5-10 กรัมฉีดพ่นทุก ๆ 10-14 วันจนถึงเก็บเกี่ยว

หมายเหตุ :

1. อัตราการใส่ปุ๋ย ควรปรับใช้ตามขนาดต้น อายุพืช และความอุดมสมบูรณ์ของดิน ใช้ตามค่าการ วิเคราะห์ดินและพืช และควรกำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่มก่อนใส่ปุ๋ยทุกครั้ง และหากมีการตัดแต่งทรงพุ่มและควบคุมขนาดของทรงพุ่มไม่ให้มีขนาดใหญ่มากจนเกินไป จะทำให้ประหยัดปุ๋ยทางดินที่ใส่และยังประหยัดค่าแรงในการเก็บเกี่ยวอีกด้วย โดยขนาดทรงพุ่มที่เหมาะสม ควรมีเส้นผ่านศูนย์กลางไม่เกิน 4 เมตร และสูงไม่เกิน 5 เมตรซึ่งหากทรงพุ่มอยู่ในช่วงที่กล่าวแล้ว การใช้ปุ๋ยเคมีแต่ละช่วง สามารถใช้เพียงต้นละ 0.5 กิโลกรัมร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ ตรายักษ์เขียว 1-3 กิโลกรัม(ขึ้นอยู่กับปริมาณผลผลิต) มะม่วงก็จะให้ผลผลิตที่มีคุณภาพดีและมีปริมาณมากเช่นเดียวกัน อีกทั้งยังช่วยประหยัดต้นทุน ทำให้มีส่วนต่างของกำไรมาก

2. เมื่อปฏิบัติตามคำแนะนำข้างต้นแล้ว จะพบว่าผลผลิตที่ได้จะมีคุณภาพดี(ติดดก_ลูกใหญ่_ได้น้ำหนัก) โดยที่เทียบเปอร์เซ็นต์ต้นทุนต่อผลผลิตแล้วจำนวนเงินกำไร(ผลตอบแทน)เพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด ทำให้ได้เปรียบกว่าสวนอื่น ๆ ที่ลงทุนปุ๋ยและยาปริมาณมาก ๆ

3. ช่วงที่อากาศมีความชื้นสูง หากพบการระบาดของโรคราในพืชให้เว้นการฉีดพ่นปุ๋ยทางใบทุกชนิดในช่วงนั้น แล้วใช้ยาป้องกันและรักษาโรคฉีดพ่นตามอาการ 1-2 ครั้งก่อน จึงเริ่มใช้ปุ๋ยทางใบต่อไปได้

4. การป้องกันแมลงศัตรูพืชก่อนที่จะเข้ามาทำลายต้นโดยการใช้ ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)นั้นจะประหยัดต้นทุนและลดความเสียหายได้ดีกว่า การใช้ยาฆ่าแมลงกำจัดเมื่อมีการระบาด ซึ่งจะทำให้สิ้นเปลืองต้นทุนมาก และมีความเสี่ยงที่แมลงจะดื้อยา ทำให้ต้องใช้ยาแรงขึ้น สิ้นเปลืองทั้งเงินและสุขภาพของผู้ใช้เอง

5. สำหรับในพื้นที่ ที่มีการปลูกพืชกันมาก แนะนำให้ใช้ไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) สลับหรือร่วมกับการใช้สารเคมีควบคุม อย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้ได้ผลและลดต้นทุนการผลิตการผลิตได้อย่างมีประสิทธิภาพ

6. การใช้ ปุ๋ยอินทรีย์ “ยักษ์เขียว” ร่วมด้วยเป็นประจำ จะทำให้ต้นทุนปุ๋ยและสารทางดินต่อชุดการผลิต ลดลงได้ประมาณ 30-50 % โดยที่ผลผลิตที่ได้ยังเป็นปกติหรือดีกว่าเดิม และสังเกตได้ว่าสารอินทรีย์ในเนื้อปุ๋ยทำให้สภาพดินดีขึ้น ดินโปร่ง อุ้มน้ำได้ดี และพืชตอบสนองต่อการให้ปุ๋ยทางดินดีกว่าเดิม ในระยะยาวปัญหาเรื่องโรคทางดินน้อยกว่าแปลงข้างเคียงที่ไม่ได้ใช้ ผลในทางอ้อม เนื่องจาก ยักษ์เขียว เป็นสารอินทรีย์แท้ จึงกระตุ้นจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์ให้ย่อยปุ๋ย(เคมี)ที่ตกค้างในดินทำให้รากพืชสามารถดูดซึมกลับไปใช้ได้ ธาตุอาหารในดินจะสมดุลมากกว่า

สรุปเทคนิคการปฏิบัติเพื่อช่วยให้มะม่วงติดผลมาก

1. มะม่วงในฤดู เมื่อต้นเริ่มแทงช่อ ให้ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 50 ซีซีต่อน้ำ 20ลิตร + อาหารเสริมรวม “คีเลท” อัตรา 5-10 กรัมฉีดพ่นทุก ๆ 7-10 วัน จนกระทั่งดอกบาน ช่อดอกที่ได้จะสมบูรณ์ ติดดอกออกผลมาก และปัญหาเรื่องการระบาดของเพลี้ยจั๊กจั่นจะลดลง ประหยัดต้นทุนสารเคมีกำจัดแมลง

2. มะม่วงนอกฤดู หลังจากราดสาร 21-30 วัน ให้ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง) อัตรา 50 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร (1/2 ลิตรต่อน้ำ 1 ถัง 200ลิตร) + อาหารเสริมรวม “คีเลท” อัตรา 5-10 กรัมฉีดพ่นทุก ๆ 7-10 วัน จนกระทั่งดอกบาน ช่อดอกที่ได้จะสมบูรณ์ ติดดอกออกผลมากสม่ำเสมอทั้งต้น และยังช่วยลดปัญหาเรื่องแมลงศัตรูพืชเข้าทำลายช่อดอก

3. ช่วงที่กระตุ้นดอก กรณีความชื้นในอากาศสูงหรือในช่วงฤดูฝน ควรใช้สารควบคุมโรคราหรือ ชีวภัณฑ์กำจัดโรครา(ปลอดสารพิษ) ไตรโคแม็ก อัตรา 80 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตรฉีดพ่นป้องกันเป็นระยะตามความเหมาะสม

4. เมื่อช่อมะม่วงเจริญพ้นพุ่มใบออกมาอย่างเด่นชัดแล้ว ควรรดน้ำให้ดินชุ่มอยู่เสมอ การรดน้ำควรรดแต่น้อยก่อน แล้วจึงเพิ่มมากขึ้น เรื่อย ๆ จนถึงที่เคยรดให้ตามปกติ

5. ในพื้นที่ที่มักมีการระบาดของแมลงศัตรูพืชรุนแรง ควรพ่นไบโอเฟอร์ทิล(สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)ร่วมกับยาเพื่อป้องกันกำจัดแมลงที่จะมาทำลายช่อมะม่วง_หนอนเจาะผล_แมลงวันทอง ได้แก่ ชีวภัณฑ์กำจัดแมลงศัตรูพืช(ปลอดสารพิษ) “เมทาแม็ก” + ชีวภัณฑ์ปลอดสารพิษ(กำจัดหนอน) “บาร์ท๊อป” ฉีดพ่นเป็นประจำ โดยเฉพาะในช่วงที่ต้องระมัดระวัง(แทงช่อดอก_ติดผล) หรืออาจใช้สารเคมีกำจัด อาทิเช่น อิมิดาโคลพริด_ เอ็นโดซัลแฟน หรือบีพีเอ็มซี อัตราตามฉลาก(ครั้งแรกให้พบในระยะที่ดอกยังตูม หรือสำรวจพบเพลี้ยจั๊กจั่น 3 ตัวต่อช่อและครั้งที่สองเมื่อเห็นว่ามะม่วงติดผลมีขนาดเท่าหัวแมลงวัน การพ่นยาครั้งที่สองอาจเติมยากันราลงไปด้วยถ้าเห็นว่ายังมีราดำอยู่ตามช่อดอกและใบ)หรือ พ่นคาร์บาริล อัตราตามฉลาก ทุก ๆ 7-10 วัน หากไม่ต้องการพ่นยากำจัดแมลง ให้ฉีดพ่นไบโอเฟอร์ทิล (สูตรบำรุงต้น ไล่แมลง)อัตรา 50-100 ซีซีต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก ๆ 7-10 วัน และป้องกันการเข้าทำลายของโรครา ด้วยการฉีดพ่น โปรคลอราซ หรือ เบโนมิล ในช่วงก่อนดอกบาน



การเก็บเกี่ยว

การเก็บผลมะม่วงเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกขั้นตอนหนึ่ง ต้องเก็บให้ถูกต้อง เพื่อให้ผลมะม่วงที่ได้มีคุณภาพดี เป็นที่ต้องการของตลาดไม่อ่อนเกินไป หรือปล่อยไว้จนสุกงอมเกินไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ของมะม่วง และความใกล้ไกลของตลาด เป็นสำคัญ ข้อสังเกตง่ายๆ ว่ามะม่วงจะแก่เมื่อใดนั้น สิ่งที่น่าสังเกต 2 ประการคือ

1. แก้มผลทั้ง 2 ข้างพองโตเต็มที่ สีผิวเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีขาวจาง สังเกตจากผิวของผลมะม่วงมีสีขาวนวลหรือไขปกคลุมผล

2. เก็บตัวอย่างผลมะม่วงมา 2-3 ผล เพื่อทดสอบ โดยนำมะม่วงมาแช่น้ำดู หากผลมะม่วงจมน้ำแสดงว่าแก่จัด ถ้าลอยแสดงว่ายังอ่อนอยู่ และเวลาเก็บต้องอย่าให้ช้ำ มิฉะนั้นจะเน่าและเสียได้ง่ายเวลามะม่วงสุก

# http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3684
ปุ๋ยฉีดพ่น มะยงชิด ปุ๋ยทางใบ มะปรางหวาน
ปุ๋ยฉีดพ่น มะยงชิด ปุ๋ยทางใบ มะปรางหวาน
ปุ๋ยฉีดพ่น มะยงชิด ปุ๋ยทางใบ มะปรางหวาน
ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ สำหรับบำรุงมะยงชิด มะปรางหวาน เสริมธาตุหลัก ธาตุเสริม สารสังเคราะห์คลอโรคฟิลล์ ช่วยฟื้นฟู บำรุง เร่งโต เสริมสร้างความสมบูรณ์ แข็งแรง ส่งเสริมผลผลิต

ไนโตรเจน เสริมความเขียวของใบ เสริมสร้างเนื้อเยื่อ ส่งเสริมการเจริญเติบโต ฟอสฟอรัส ช่วยระบบรากแข็งแรง ดูดกินอาหารได้เดีขึ้น โพแตสเซียม ส่งเสริมกระบวนการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาล ไปสะสมเป็นผลผลิต ทำให้ผลโต น้ำหนักดี คุณภาพผลผลิตดี นอกจากนั้นยังประกอบด้วย แคลเซียม แมกนีเซียม และสังกะสี ที่จะมีส่วนช่วยส่งเสริมให้พืช เจริญเติบโตได้เป็นอย่างดี และมีความสมบูรณ์แข็งแรง
อ่าน:3617
312 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 31 หน้า, หน้าที่ 32 มี 2 รายการ
|-Page 31 of 32-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
ปุ๋ยฉีดพ่นมะม่วง FK-1 มะม่วงโตไว ใบเขียว ผลผลิตดี มีคุณภาพ
Update: 2564/05/04 13:05:25 - Views: 3432
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 3 สูตร: พัฒนาต้นมะเขือเปราะให้ใหญ่ แข็งแรง และมีผลผลิตสูง
Update: 2567/02/12 14:56:35 - Views: 3579
แนะนำลักษณะประจำของมันสำปะหลัง ที่นิยมปลูก
Update: ././. .:.:. - Views: 3444
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์: เพิ่มประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตของต้นละมุด
Update: 2567/02/12 14:54:56 - Views: 3416
🔥ข้าวโพดใบไหม้ มันสำปะหลังใบไหม้ โรคไหม้ในพืชนั้น มีสาเหตุจากเชื้อรา ใช้ ไอเอส
Update: 2564/07/08 13:49:54 - Views: 3412
โรคฟัก ฟักใบไหม้ ฟักใบเหลือง โรคราน้ำค้างในฟัก โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม
Update: 2564/10/02 23:37:50 - Views: 3592
ต้นยางพารา.. ใบไหม้ !! ใบเหลือง รากเน่า รากขาว ราเส้นดำ ราสนิม ใบร่วง โรคราต่างๆ ป้องกันกำจัดด้วย ไอเอส และ ปุ๋ย FK-T
Update: 2567/03/20 11:17:47 - Views: 3509
ต้นกาแฟ โตไว ใบเขียว ผลใหญ่ ผลผลิตดี ฉีดพ่นปุ๋ย FK-1 ต้นทุนต่อไร่ถูกกว่าปุ๋ยเม็ด 4เท่า เพิ่มผลผลิตสูงสุด 20เปอร์เซ็นต์
Update: 2566/04/10 13:06:08 - Views: 3451
เพลี้ยในดอกชบา การระบาดของเพลี้ยในดอกชบาและวิธีการควบคุม
Update: 2566/11/09 10:39:41 - Views: 3407
โรคที่เกิดจากเชื้อราในต้นแคคตัส: สาเหตุ อาการ และวิธีการจัดการ
Update: 2566/11/09 10:22:38 - Views: 3465
การใช้คาร์รอน (Diuron 80% WG) ในการกำจัดหญ้าและวัชพืชในสวนมะละกอ
Update: 2567/02/13 09:17:55 - Views: 3624
แก้ปัญหาหนอนในต้นกระเพรา: วิธีป้องกันและกำจัดให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างมีประสิทธิภาพ
Update: 2566/11/22 10:30:27 - Views: 3500
วิธีป้องกันและควบคุมเพลี้ยศัตรูพืช ในแตงไทย
Update: 2566/11/08 14:33:26 - Views: 3428
แมลงศัตรูข้าว แตนเบียน ป้องกันกำจัดเพลี้ยกระโดด หรือง่ายๆ ใช้ มาคา
Update: 2564/02/26 11:27:36 - Views: 3480
ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบสำหรับอ้อย
Update: 2564/08/27 22:13:46 - Views: 3569
ฮิวมิค แอซิด ฟาร์มิค - เทคโนโลยีที่เสริมสร้างการเจริญเติบโตของต้นอะโวคาโด้
Update: 2567/02/13 09:27:45 - Views: 3490
กำจัดเพลี้ย ใน แตงโม เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเพลี้ย บิวทาเร็กซ์ ปุ๋ยน้ำอะมิโน โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/05/06 15:27:08 - Views: 3443
ระวังโรคไหม้และขอบใบแห้งของข้าว
Update: 2564/08/30 04:05:18 - Views: 3636
การใช้ Metalaxyl ผสม Starfer Fertilizer 30-20-5 ฉีดพ่นป้องกันและกำจัดโรคในพริก
Update: 2567/02/28 13:29:58 - Views: 3417
ข้าววัชพืช ป้องกัน กำจัด ลดปริมาณ เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าว
Update: 2564/08/25 10:58:39 - Views: 3406
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022