[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - ปุ๋ย
2168 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 216 หน้า, หน้าที่ 217 มี 8 รายการ

ไม้ดอกเป็นโรค ไม้กระถางเป็นโรค ลักษณะอาการโรค ของไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้กระถาง
ไม้ดอกเป็นโรค ไม้กระถางเป็นโรค ลักษณะอาการโรค ของไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้กระถาง
ลักษณะอาการของโรค

อาการของโรคของไม้ดอกกระถาง หรืออาการผิดปกติซึ่งเกิดจากสาเหตุต่าง ๆ ของแสดงอาการได้หลายแบบในเวลาเดียวกัน หรือแสดงอาการผิดปกติอย่างใดอย่างหนึ่งบนต้นพืชต้นเดียวกัน หรือปรากฏอาการบนส่วนใดส่วนหนึ่งหรือหลายส่วนของต้นพืช เช่น ปรากฏอาการเป็นแผลจุด แผลไหม้ อาการเน่า อาการเหี่ยว บนราก ลำต้น กิ่งก้าน ใบ ดอก ผล เมล็ด หรืออาจปรากฏอาการทั้งต้น

อาการโรคของไม้ดอกไม้กระถาง มีลักษณะอาการผิดปกติได้ ดังนี้

1. อาการที่ราก

1.1 โรครากเน่า รากเกิดอาการเน่าดำหรือสีน้ำตาล เปลือกล่อนหลุดติดมือออกมา เนื่องจากเชื้อโรคเข้าทำลาย เช่น โรครากเน่า เป็นต้น

1.2 โรครากปม รากจะมีอาการพองออกเป็นปม โดยจะพองออกจากภายในรากมิใช่พองออกมาเพียงด้านใดด้านหนึ่ง เช่น โรครากปมของเยอบีร่าและอาฟริกันไวโอเลท

1.3 โรครากแผล เกิดแผลไปตามความยาวของราก โดยมีรอยสีน้ำตาล หรือน้ำตาลเข้ม ต่อมาจะเป็นช่องทางให้เชื้อต่าง ๆ เข้าทำลายซ้ำเติมได้ดีขึ้น สาเหตุของรากแผลส่วนมากเกิดจากการทำลายของไส้เดือนฝอย

1.4 โรครากกุด รากกุดสั้นเป็นกระจุก ไม่ยืดยาวออกตามปกติ เช่น โรครากกุดของเข็มญี่ปุ่นซึ่งเกิดจากการทำลายของไส้เดือนฝอย

2. อาการที่ลำต้นและกิ่งก้าน

2.1 โรคเน่าคอดิน อาการแบบนี้ใช้เรียกเฉพาะกรณีที่เกิดกับต้นกล้า โดยจะพบแผลเน่าบริเวณโคนต้นที่อยู่ติดกับผิวดิน ทำให้ต้นหักล้มและแห้งตายเป็นหย่อม ๆ เช่น ต้นกล้าของไม้ดอกไม้ประดับหลายชนิดที่พบเน่าตายในแปลงเพาะกล้า โรคนี้เกิดจากเชื้อรา

2.2 โรคโคนเน่า อาการเน่ามีแผลเป็นสีน้ำตาลบริเวณโคนต้น ถ้าถากเปลือกดูจะเห็นว่าใต้เปลือกมีอาการเน่าเป็นสีน้ำตาล เช่น โรคโคนเน่าของปาล์มและกล้วยไม้ เป็นต้น ส่วนมากโรคนี้จะเกิดจากเชื้อรา

2.3 โรคลำต้นเน่า แผลที่พบบริเวณโคนต้นจะขยายลุกลามไปรอบลำต้น ทำให้เปลือกรอบ ๆ ลำต้นเน่า และต้นไม้ตายทั้งต้น หรือบางครั้งเชื้อเข้าทำลายบริเวณลำต้นที่มีความชื้นสูงอยู่เสมอ เช่น บริเวณคาคบไม้ โรคนี้ส่วนมากเกิดจากเชื้อรา เช่น โรคลำต้นเน่าของโป๊ยเซียน เป็นต้น

2.4 โรคยางไหล จะมีอาการยางไหลออกมาจากลำต้น โดยบริเวณดังกล่าวจะมีรอยแผลช้ำ มียางไหลออกมาตามรอยแผลนั้น เช่น โรคยางไหลของแคคตัส ซึ่งเกิดจากเชื้อรา

2.5 โรคปุ่มปม เกิดอาการเป็นก้อนปุ่มปมขึ้นบริเวณกิ่งและลำต้น ส่วนมากเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย

3. อาการที่ใบ

3.1 โรคใบจุด เกิดจุดแผลที่ใบ รูปร่างแตกต่างกันไปในรายละเอียด แล้วแต่สาเหตุที่เข้าทำลาย ขนาดของแผลเป็นเพียงจุดบนใบ อาจเกิดกระจายกันทั่วทั้งใบ ถ้าเกิดจุดแผลมาก ๆ อาจจะทำให้ใบแห้งได้ โรคใบจุดของพืชส่วนมากเกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรคใบจุดของเยอบีรา โรคใบจุดของกุหลาบ โรคใบจุดของเบจมาศ เป็นต้น

3.2 โรคใบไหม้ เกิดแผลแห้งตาย มีขนาดของแผลใหญ่กว่าอาการใบจุด ขอบเขตขอบแผลจะกว้างขวางกว่า การไหม้อาจเกิดที่กลางใบ ปลายใบ หรือขอบใบก็ได้ ส่วนมากเกิดจากเชื้อราและแบคทีเรีย เช่น โรคใบไหม้ของเฟื้องฟ้า เป็นต้น

3.3 โรคราสนิมเหล็ก แผลขนาดเล็ก สีสนิมโผล่เป็นตุ่มออกมาจากใบพืช ลักษณะคล้าย ๆ กับสีสนิมเหล็ก เมื่อเอามือลูบดูจะมีสปอร์ของเชื้อราติดมือเป็นสีสนิมเห็นได้ชัด โรคนี้เกิดจากเชื้อรา เช่น โรคราสนิมของทานตะวัน เป็นต้น

3.4 โรคราน้ำค้าง อาการของโรคนี้แตกต่างกัน ซึ่งพอจะแยกออกได้ดังนี้คือ อาการราน้ำค้างในพืชใบเลี้ยงเดี่ยว มักพบอาการใบลายสีเหลืองเขียวสลับกันตามความยาวของใบ ถ้าอากาศชื้น ๆ อุณหภูมิพอเหมาะจะพบผงสปอร์ของเชื้อสีขาว ๆ เกาะติดที่ใบ ในพืชตระกูลแตงจะเห็นใบมีอาการเป็นแผลจุดเหลี่ยมสีน้ำตาล ส่วนในพืชไม้ดอกต่าง ๆ จะเห็นเป็นใบจุดแผลสีเหลืองด้านบนใบ แต่ใต้ใบจะพบขุยสปอร์สีขาว ๆ โรคราน้ำค้างที่สำคัญ เช่น โรคราน้ำค้างของกุหลาบ เป็นต้น

3.5 โรคราแป้งขาว โรคนี้เกิดจากเชื้อรา โดยจะพบผงแป้งสีขาว ๆ เกาะติดที่ใบคล้าย ๆ กับเอาแป้งไปโรย ขึ้นปกคลุมกระจายตามส่วนต่าง ๆ ของใบหรือทั่วทั้งใบ ต่อมาใบจะเหลืองและแห้งตาย เช่น โรคราแป้งของบานชื่น และโรคราแป้งของกุหลาบ เป็นต้น

3.6 โรคแอนแทรคโนส ใบที่เกิดโรคนี้จะเป็นแผลแห้งสีน้ำตาล ส่วนมากจะเห็นเชื้อรามีลักษณะเรียงเป็นวงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ค่อนข้างชัดเจน ในพืชบางชนิดโรคนี้เกิดได้ทั้งบนใบ กิ่ง และผล สาเหตุเกิดจากเชื้อรา เช่น โรคแอนแทรคโนสของกล้วยไม้ มะลิ หน้าวัว เป็นต้น

3.7 โรคราดำ ใบที่เกิดโรคนี้จะมีผงคล้ายเขม่าดำคลุมผิวใบหรือส่วนอื่น ๆ ของพืช เมื่อใช้มือลูบจะหลุดออก เพราะเชื้อราชนิดนี้จะไม่แทงเข้าไปในใบพืช เพียงแต่ขึ้นปกคลุมผิวใบ ส่วนมากพบหลังการทำลายของเพลี้ยจั๊กจั่นและแมลงหวี่ขาว เพราะราชนิดนี้จะขึ้นเจริญบนน้ำหวานที่แมลงขับถ่ายออกมา

3.8 โรคเน่าเละ อาการคือ เน่าเละสีน้ำตาลอ่อน มีกลิ่นเหม็นรุนแรง เกิดได้ทั้งลำต้น ราก หัว และใบของพืช เมื่อเป็นโรคนี้พืชจะเน่าเละทั้งต้น หรือทั้งหัว สาเหตุเกิดจากเชื้อแบคทีเรีย เช่น โรคเน่าเละของกล้วยไม้รองเท้านารี แคคตัส โป๊ยเซียน เป็นต้น

3.9 โรคใบด่าง อาการใบด่างมีหลายลักษณะแล้วแต่สาเหตุที่ทำให้ด่าง อาจเกิดจากเชื้อไวรัส ขาดธาตุอาหาร หรือลักษณะกลายพันธุ์ของพืช สำหรับอาการใบด่างที่เกิดจากไวรัสส่วนมากมีสีเหลืองสลับเขียว เนื้อใบไม่เรียบ เป็นคลื่น และใบมีรูปร่างผิดปกติ เช่น โรคใบด่างเหลืองของฟิตูเนีย โรคใบด่างของกุหลาบ โรคใบด่างของมะลิ เป็นต้น

3.10 โรคแตกพุ่มฝอย บริเวณยอดจะแตกเป็นพุ่มฝอย โดยมีใบเล็ก ๆ รวมกันเป็นกระจุก โรคนี้เกิดจากเชื้อมายโคพลาสมา เช่น โรคแตกพุ่มฝอยของเยอบีรา ดาวเรือง เป็นต้น

4. อาการที่ดอก

พบอาการคล้าย ๆ กับที่เกิดบนใบ เช่น โรคดอกจุด ดอกไหม้ ดอกด่าง ดอกบิดเบี้ยวเสียรูปทรง ดอกเน่า และแอนแทรคโนส เป็นต้น โรคพวกนี้ส่วนมากเกิดจากเชื้อรา แบคทีเรีย และไวรัส เช่น โรคดอกสนิมของกล้วยไม้ โรคดอกด่างของแคทลียา โรคดอกเน่าของหน้าวัว เป็นต้น

5. อาการที่เกิดกับพืชทั้งต้น

5.1 โรคเหี่ยว ต้นพืชจะแสดงอาการเหี่ยวเฉาในลักษณะต่าง ๆ กัน เช่น การเกี่ยวเนื่องจากการขาดน้ำเมื่อได้น้ำก็จะฟื้นปกติ อาการเหี่ยวใบเหลืองลู่เนื่องจากเชื้อราไปทำลายท่อน้ำและอาหารของพืช อาการเหี่ยวแต่ใบยังเขียวอยู่ระยะหนึ่ง คือแมื่อแดดจัดก็จะเหี่ยว ต่อมาเมื่ออากาศเย็นลงก็จะฟื้นปกติ เป็นอยู่ระยะหนึ่งต่อจากนั้นก็จะเหี่ยวอย่างถาวร โรคนี้เกิดจากการทำลายของเชื้อราหลายชนิด และเชื้อแบคทีเรีย ตัวอย่างเช่น โรคเหี่ยวของฟิตูเนีย โรคเหี่ยวของบานชื่น โรคเหี่ยวของกล้วยไม้ โรคเหี่ยวของมะลิ เป็นต้น

5.2 ต้นพืชแคระแกร็น ต้นพืชจะแสดงอาการแคระแกร็นเมื่อเปรียบเทียบกับต้นปกติ ทั้งนี้อาจเนื่องจากการปฏิบัติดูแลรักษาไม่ดีพอ มีไส้เดือนฝอยหรือแมลงกัดทำลายราก หรือมีเชื้อโรคบางชนิด เช่น ไวรัสเข้าทำลาย ทำให้ต้นพืชไม่สามารถเจริญเติบโตตามปกติได้ มีดอกและผลน้อย

5.3 ต้นพืชเติบโตผิดปกติ โดยต้นที่เป็นโรคจะยืดสูงกว่าต้นปกติ สีเขียวอ่อนและไม่ออกดอก อาจเกิดเนื่องจากได้รับฮอร์โมนที่ผิดปกติ หรือต้นพืชที่ได้รับปุ๋ยไนโตรเจนมากเกินไปก็จะทำให้เฝือใบ ไม่ออกดอก เป็นต้น

Reference: baanjomyut.com
อ่าน:3984
ปุ๋ยมันหวานญี่ปุ่น
ปุ๋ยมันหวานญี่ปุ่น
มันหวานญี่ปุ่น ได้รับความนิยมจากผู้บริโภค มาสักระยะหนึ่งแล้ว ในประเทศไทย มีทั้งชาวไร่มันสำปะหลังเดิม และหันมาทดลองปลูก และเกษตรกรรายใหม่ ที่เริ่มปลูกมันวานญี่ปุ่น ซึ่งสอดคล้องกับความต้องการในตลาด หลายราย จึงสร้างรายได้สูงกว่าเดิมมากกว่าสองเท่า โดยเฉพาะเมื่อเทียบรายได้ต่อไร่ กับการปลูกมันสำปะหลัง ทั้งนี้ อย่าลืมว่าเกษตรกร ต้องมีช่องทางการตลาดของตัวเอง หรือมีผู้รับซื้อที่เข้าถึงและติดต่อกันแล้ว

มันหวานญี่ปุ่น สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตหลังปลูกได้ในเวลา 100-120 วัน นับเป็นพืชระยะสั้น ที่ได้ผลผลิตเร็ว ในเดือนที่ 1 และเดือนที่ 2 เราสามารถฉีดพ่น FK-1 เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโต เพื่อให้มันหวานญี่ปุ่น โตเร็ว สมบูรณ์แข็งแรง สามารถฉีดพ่นได้ทุกสัปดาห์ หรือทุก 15 วัน ตามกำลัง ซึ่งใน FK-1 ประกอบด้วย ธาตุหลัก ธาตุเสริม ที่จะส่งเสริมการเจริญเติบโต เสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรงได้ เมื่อ มันหวานญี่ปุ่น มีอายุได้ 90 วัน หันมาฉีดพ่น FK-3C เพื่อส่งเสริมกระบวนการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาล ทำให้ มันหวานญี่ปุ่น หัวโตขึ้น มีคุณภาพดี และรสชาติดีขึ้น

Reference
Original picture from fourfarm.com
อ่าน:3541
ปุ๋ยมะม่วง ปุ๋ยน้ำ สำหรับมะม่วง FK-1 ครบถ้วน โตไว ผลผลิตดี
ปุ๋ยมะม่วง ปุ๋ยน้ำ สำหรับมะม่วง FK-1 ครบถ้วน โตไว ผลผลิตดี
ฉีดพ่นมะม่วง สม่ำเสมอ ด้วย FK-1 เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโต ความสมบูรณ์แข็งแรง ได้ผลผลิตสูง และมีคุณภาพดี

FK-1 ประกอบด้วย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม ที่เป็นธาตุอาหารพืชหลัก ในปริมาณที่เหมาะสม ที่ส่งเสริมการเจริญเติบโตของมะม่วง ได้อย่างสมดุลย์ นอกจากนั้น แคลเซียม แมกนีเซียม สังกะสี ยังช่วยส่งเสริม เสริมสร้างความสมบูรณ์ แข็งแรง และคุณภาพของผลผลิต
อ่าน:3504
ปุ๋ยบำรุงมะนาว ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ
ปุ๋ยบำรุงมะนาว ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ
มะนาว จัดเป็นพืชสมุนไพรใกล้ตัว หาได้ง่าย ปลูกได้ไม่ยาก แต่หากจะปลูกให้ได้ผลผลิตสูง เพื่อการค้าขาย ก็นับว่าเป็นพืชที่หินไม่น้อย เพราะช่วงที่ผลผลิตมะนาวออกสู่ตลาดเยอะ ก็ชนกัน จนทำให้ราคาถูก ส่วนตอนช่วงที่ราคาแพง ก็คือช่วงที่ผลผลิตมะนาวมีน้อยนั้นเอง ทำให้ หลายๆคน หันมาสนใจการปลูก หรือการทำมะนาวนอกฤดู ซึ่งก็มีวิธีการทำมะนาวนอกฤดูต่างๆ หลายเทคนิค สำหรับผู้สนใจ อาจจะลองค้นคำว่า มะนาวนอกฤดู บนแอพ YouTube ดู ก็จะพบหลากหลายวิธี หลายเทคนิค ที่มาสอนกันอย่างละเอียดเลยทีเดียว

กล่าวถึง FK-1 จัดเป็นปุ๋ยพื้นฐาน ที่มีธาตุหลัก ธาตุเสริมครบถ้วน เหมาะแก่การฉีดพ่นทางใบ เพื่อบำรุงมะนาวตั้งแต่หลังปลูกใหม่ๆ ไปจนถึงก่อนออกผล เนื่องจาก FK-1 นั้น ประกอบไปด้วย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแตสเซียม ซึ่งเป็นธาตุอาหารหลัก ที่สำคัญ ในการเสริมสร้างการเจริญเติบโต และนอกจากนั้น ยังมี สารสังเคราะห์คลอโรคฟิลล์ ที่เพิ่มความเขียว และเสริมสร้างกระบวนการสร้างอาหารของมะนาว ทำให้ต้นมะนาว เจริญเติบโตได้อย่างรวดเร็ว มีความสมบูรณ์ แข็งแรง ต้านทานต่อโรคได้ดีขึ้น
อ่าน:3790
ฟื้นฟูพืช จากการเข้าทำลายของโรคและแมลง ด้วยธาตุหลัก ธาตุเสริม ที่มีอยู่ใน FK-1
ฟื้นฟูพืช จากการเข้าทำลายของโรคและแมลง ด้วยธาตุหลัก ธาตุเสริม ที่มีอยู่ใน FK-1
โดยทั่วไปแล้ว เวลาที่เรารักษาโรคพืช หรือกำจัดเพลี้ย แมลงศัตรูพืชต่างๆ เมื่อโรคพืชหาย หรือแมลงถูกกำจัดไปแล้ว พืชยังต้องใช้ระยะเวลานาน เพื่อที่จะฟื้นตัว ซ่อมแซมส่วนที่เสียหายจากการเข้าทำลายของโรคและแมลง อย่างโรคใบไหม้ ตัวยาต่างๆจะเข้าไปยับยั้งไม่ให้โรคลุกลาม ขยายวงการทำลายพืช หรือหยุดการติดต่อ เมื่อโรคหยุดลุกลาม คือพืชหายจากโรค

แต่การจะทำให้พืชกลับมาฟื้นตัว และเจริญเติบโต สมบูรณ์แข็งแรง และให้ผลผลิตที่ดีได้ดังเดิม เราจำเป็นต้องให้ธาตุอาหารต่างๆ ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช เช่นเดียวกับคนที่ป่วย เมื่อได้ยารักษาโรคแล้ว ต้องให้น้ำเกลือ ต้องทานอาหารหลัก และถ้าให้อาหารเสริมด้วยก็ยิ่งฟื้นตัว กลับมา แข็งแรงได้เร็วขึ้น

FK-1 ประกอบด้วย ธาตุอาหารหลักของพืช N-P-K หรือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแตสเซียมตามลำดับ ไนโตรเจน จะช่วยส่งเสริมความเขียว เสริมสร้างเนื้อเยื่อใหม่ ส่งเสริมให้พืช ผลิใบ แตกใบใหม่ และเจริญเติบโตได้เร็วขึ้น ฟอสฟอรัส ส่งเสริมระบบรากพืช ทำให้พืชมีระบบรากที่ดี แข็งแรง ทำให้พืชหาอาหารได้ดี ส่งผลไปถึงการออกดอก และการติดผล ส่วนโพแตสเซียม จะส่งเสริมกระบวนการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาล ไปสะสมที่ผลผลิต ทำให้ พืชออกผลได้สมบูรณ์ มีขนาดใหญ่ น้ำหนักดี รสชาติดี นอกจากนั้นแล้ว ใน FK-1 ยังมี แคลเซียม แมกนีเซียม และสังกะสี ที่จำเป็นต่อความต้องการของพืช และมักจะขาด เพราะธาตุจำเป็นเหล่านี้ ไม่ได้มีอยู่ในปุ๋ยทั่วไปที่เราใส่กัน

ใช้ FK-1 ฉีดพ่นพืชอย่างต่อเนื่อง จะทำให้พืชเจริญเติบโต สมบูรณ์ แข็งแรง และได้ผลผลิตดี
อ่าน:3534
มะเขือเทศใบซีด มะเขือเทศใบเหลือง อาการเริ่มจากใบแก่ ก่อนลุกลามไปใบอ่อน เพราะขาดไนโตรเจน
มะเขือเทศใบซีด มะเขือเทศใบเหลือง อาการเริ่มจากใบแก่ ก่อนลุกลามไปใบอ่อน เพราะขาดไนโตรเจน
อาการ มะเขือเทศ ขาดไนโตรเจน คล้ายกับอาการ มะเขือเทศขาดกำมะถัน

ต่างกันตรงที่ อาการมะเขือเทศขาดธาตุไนโตรเจน จะเริ่มจากใบแก่ ลุกลามไปยังใบใหม่ หรือใบอ่อน ส่วน อาการมะเขือเทศขาดธาตุกำมะถัน จะเริ่มออกอาการจากใบอ่อนก่อน เนื่องจาก กำมะถันไม่เคลื่อนที่ในต้น ซึ่งต่างกับ ไนโตรเจน

การขาดธาตุไนโตรเจน อาจมีสาเหตุจาก ดินมีค่า pH ต่ำหรือสูง ดินทรายหรือดินร่วน (ชะละลาย) มีสารอินทรีย์ต่ำ สภาพแห้งแล้ง ฝนตกมาก (ชะละลาย) หรือมีการชะหน้าดินหนัก ใช้สารเพิ่มหรือปุ๋ยสด/ปุ๋ยคอก เป็นจำนวนมาก (เช่น ฟาง) พืชโตเร็ว

ไนโตรเจน ทำหน้าที่ การสังเคราะห์กรดอะมิโน โปรตีน โคเอนไซม์ กรดนิวคลิอิก การสังเคราะห์คลอโรฟิลล์และ ATP

สามารถฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงฟื้นฟู จากอาการขาดธาตุไนโตรเจน ในอัตราส่วน 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

Reference
Main content from: yara.co.th
อ่าน:3679
ดอกชบา การปลูกชบา การดูแล ป้องกันกำจัดโรค และแมลง
ดอกชบา การปลูกชบา การดูแล ป้องกันกำจัดโรค และแมลง
ชบาในบ้านเรารู้จักกันมานานแล้ว จะเห็นได้จากบ้านคนสมัยก่อนจะมีชบายอยู่แทบทุกบ้านปัจจุบันชบาได้รับการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ออกมามากมาย ซึ่งล้วนแต่สวย ๆ งาม ๆทั้งนั้น ทำให้ได้ดอกของชบาที่มีรูปร่างสวยงามสีสันของดอกสดใส ขบานั้นจัดเป็นไม้พุ่ม ความสูงดดยทั่วไปประมาณ 2.50 เมตร ใบมีสีเขียวเข้ม มนรี ปลายใบแหลม แต่ปัจจุบันก็ยังมีพันธุ์ แตกต่างออกไปอีกมากมาย

การดูแล

แสง ชอบแสงแดดมาก

น้ำ ต้องการน้ำพอประมาณ

ดิน เป็นไม้ที่ปลูกได้ง่ายสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ไม่ควรให้ดินเปียกหรือแฉะเกินไป

ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก

การขยายพันธ์ ตอน ปักชำ

โรคและแมลง ไม่ค่อยมีโรคจะมีก็แต่เพลี้ยที่รบกวนอยู่

การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยยามาลาไธออนหรือไดอาซินอน ตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในฉลาก

ลักษณะเด่น

คือ มีเส้นใยและยางเมือก (mucilagnous) อยู่ในเนื้อไม้โดยทั่วไปเป็นไม้พุ่มขนาดกลางใบเป็นใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับมีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปไข่ รูปกลม รูปรีหรือเว้าเป็นแฉก3-5 แฉก มีกลีบดอก 5 กลีบแต่ละดอกจะเชื่อมติดกันเป็นวงที่ฐานดอกเกสรเพศผู้ประกอบด้วยอับเรณูสีเหลืองรูปไตและก้านชูอับเรณูสีขาวหรือสีเดียวกันเกสรเพศเมีย อยู่ปลายหลอดเกสรเพศผู้มักมีก้านเล็ก ๆ แยกยอดเกสรเพศเมียเป็น 5 ยอกตามจำนวนห้องรังไข่ส่วนยอดมีน้ำหวานสำหรับจับละอองเรณู

ประเภทของดอกอาจแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ
1.ดอกบานเป็นรูปถ้วย
2.ดอกบานเป็นรูปแผ่แบน
3.กลีบดอกบานแบบแผ่โค้ง

การขยายพันธุ์

การขยายพันธุ์มี 3 วิธี คือ
1.การปักชำ
2.การเสียบยอด
3.การติดตา

โรคและแมลงศัตรู
1. โรค ที่พบในชบาได้แก่ โรคใบจุดในช่วงฤดูฝน โรคใบหงิกที่เกิดจากเชื้อไวรัสโดยมีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ

2. แมลงศัตรุ ที่พบมากได้แก่ แมลงหวี่ขาวดูดน้ำเลี้ยงจากใบและยอดอ่อนทำให้เกิดโรค ใบหงิก เพลี้ยแป้ง เพี้ยหอย
ดูดน้ำเลี้ยงจากใบและกิ่งก้านนอกจากนี้ยังมีหนอนผีเสื้อบางชนิดกัดกินดอกอ่อนทำให้ดอกไม่บานหรือกลีบเว้าแห่วง

3. สัตว์สัตรู ได้แก่ หอยทาก ทำลายโดยการกัดกินดอก กำจัดโดยใช้มือดึงออกหรือโรยปูนขาวรอบพื้นที่ปลูก

สรรพคุณทางยาและประโยชน์

ในคัมภีร์อายุรเวท พูดถึงสรรพคุณของดอกชบาว่า ช่วยฟอกโลหิต บำรุงจิตใจให้แช่มชื่น บำรุงผิวพรรณ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาและบรรเทาโรคเกี่ยวกับไต และโดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง เช่นเสียเลือดประจำเดือนมากเกินไป ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ รวมทั้งปัญหาเรื่องระดูขาวไม่เพียงแต่ดอกชบาเท่านั้นที่ใช้เป็นยาดีของอินเดีย ส่วนอื่นๆของชบายังใช้เป็นยารักษาโรคได้ด้วย อย่างเช่น เปลือกต้นชบาใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา ใบชบาใช้แก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก บำรุงผม

ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีระดูขาว - นำดอกชบาสด 4 ดอกมาตำให้แหลก แล้วกินตอนท้องว่างในตอนเช้าติดต่อกัน 7 วัน นำดอกชบามาตากให้แห้งในที่ร่ม เมื่อแห้งสนิทดีแล้ว เอามาบดเป็นผง กินครั้งละ 1 ช้อนชาตอนเช้าติดต่อกันนาน 7 วัน
ประจำเดือนไม่มา ใช้ดอกชบา 3 ดอกบดให้แหลก แล้วผสมกับน้ำมะนาวสัก 2 ช้อนโต๊ะ หรือผสมกับนม 1 แก้ว แล้วดื่มตอนท้องว่างตอนเช้า จะช่วยปรับเรื่องประจำเดือนได้ เอาเฉพาะกลีบดอกชบาผสมกับน้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลปี๊บอย่างละเท่าๆ กันใส่ในโถแก้วมีฝาปิด แล้วเอาโถแก้วออกตากแดดติดต่อกันสัก 21 วัน น้ำตาลจะละลายผสมกับดอกชบา พอครบกำหนดแล้วเอามากินครั้งละ 2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง นานสองถึงสามสัปดาห์ ยาสูตรนี้ถือว่า เป็นยาบำรุงประจำเดือน
ดับร้อนและแก้ไข้ - ใช้ดอกชบา 4 ดอกแช่ในน้ำต้มสุก 2 แก้ว แล้วดื่มต่างน้ำ จะช่วยดับร้อนผ่อนกระหายและแก้ไข้ได้ดี
รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ฮ่องกงฟุต - ใช้เปลือกต้น 50 กรัม แช่ในแอลกอฮอล์ 150 ซีซี นานหนึ่งวัน แล้วกรองเอาแต่น้ำยาไว้ทาบริเวณที่เป็นฮ่องกงฟุต
รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก - ใช้ใบชบาหรือฐานดอกก็ได้มาตำให้แหลก แล้วเอามาพอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก น้ำเมือกจากใบจะช่วยรักษาแผลได้เป็นอย่างดี
บำรุงผม - ใช้ใบชบาหนึ่งกำมือมาล้างให้สะอาด ตำให้แหลก เติมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นเอาแต่น้ำ กรองเอากากทิ้ง แล้วใช้น้ำเมือกจากใบชบาสระผม ช่วยชำระล้างสิ่งสกปรก และบำรุงเส้นผมให้ดกดำเป็นเงางาม

Reference: nongyai.ac.th
อ่าน:4317
โรคใบไหม้ในทุเรียน โรคใบติดทุเรียน เกิดได้ง่าย ในช่วงอากาศร้อน ปนฝน
โรคใบไหม้ในทุเรียน โรคใบติดทุเรียน เกิดได้ง่าย ในช่วงอากาศร้อน ปนฝน
สภาพอากาศร้อนชื้น เวลากลางวันมีแดดจัด และมีฝนตกในบางพื้นที่ช่วงนี้ แนะนำให้เกษตรกรชาวสวนทุเรียนเฝ้าระวัง การระบาดของโรคใบไหม้หรือโรคใบติด สามารถพบได้ในระยะการเจริญเติบโตทางลำต้น อาการเริ่มแรกจะพบบนใบมีแผลคล้ายถูกน้ำร้อนลวก ต่อมาแผลจะขยายตัวและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล มีขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน จากนั้นจะลุกลามไปยังใบปกติข้างเคียง กรณีที่มีความชื้นสูงเชื้อราสาเหตุโรคจะสร้างเส้นใยคล้ายใยแมงมุมยึดใบให้ติดกัน ใบที่เป็นโรคจะแห้งติดอยู่กับกิ่งก่อนหลุดร่วงไปสัมผัสกับใบที่อยู่ด้านล่าง ทำให้โรคระบาดลุกลามจนใบไหม้เห็นเป็นหย่อมๆ ใบแห้งติดกันเป็นกระจุกแขวนค้างตามกิ่ง ต่อมาใบจะร่วงจนเหลือแต่กิ่ง และกิ่งแห้งในที่สุด ทำให้ต้นทุเรียนเสียรูปทรง

สำหรับแนวทางในการป้องกันโรคใบไหม้ เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบการระบาดของโรคใบไหม้ ให้เกษตรกรตัดส่วนที่เป็นโรคและเก็บเศษพืชที่เป็นโรคและใบที่ร่วงหล่นนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสะสมในแปลง จากนั้น ให้เกษตรกรพ่นที่ใบให้ทั่วทั้งต้นด้วย สารอินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคพืช ไอเอส ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อนำ้ 20ลิตร สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมในคราวเดียวกัน เพื่อฟื้นฟู บำรุงพืช จากการเข้าทำลายของโรคได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ส่วนในแปลงปลูกที่มีความชื้นสูง และมีการระบาดของโรคเป็นประจำ หลีกเลี่ยง การใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพื่อลดการแตกใบของต้นทุเรียน จากนั้น ให้เกษตรกรตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก และช่วยลดความชื้นสะสมในแปลงปลูก อีกทั้งควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรเมื่อใช้กับต้นที่เป็นโรคก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ทุกครั้ง

Reference
Main content from: technologychaoban.com
อ่าน:3539
ทุเรียนป่าละอู หวาน-มัน เนื้อหนา ผลผลิตแปลงใหญ่ จ.ประจวบฯ
ทุเรียนป่าละอู หวาน-มัน เนื้อหนา ผลผลิตแปลงใหญ่ จ.ประจวบฯ
สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จ.ราชบุรี เร่งผลักดัน หวังยกระดับแปลงใหญ่ทุเรียนป่าละอู จ.ประจวบคีรีขันธ์ สู่มาตรฐาน GAP

เมื่อวันที่ 11 มี.ค.64 นางธัญธิตา บุญญมณีกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จ.ราชบุรี กล่าวว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรแปลงใหญ่ทุเรียนป่าละอู ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมี นายประโยชน์ พรหมสุวรรณ เป็นประธานกลุ่ม ได้รวมกลุ่มกันเมื่อปี 2562 มีสมาชิก 50 กว่าราย พื้นที่ 500 กว่าไร่ ปัจจุบันมีเกษตรกรปลูกทุเรียนจำนวนมาก ด้วยสภาพภูมิประเทศที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของต้นทุเรียน จึงเหมาะอย่างยิ่ง

ดังนั้น จึงได้มีการรวมตัวของเกษตรกรที่ปลูกทุเรียนป่าละอู ใน ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ จัดตั้งเป็นแปลงใหญ่ทุเรียนป่าละอู เมื่อปี 2562 เพื่อการลดต้นทุนการผลิต การผสมปุ๋ยใช้เองตามความต้องการของต้นทุเรียน การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ การผลิตสารชีวภัณฑ์เพื่อใช้ในการจัดการกับโรคและแมลงที่ต้องแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด เพิ่มผลผลิตโดยใช้การตัดแต่งต้น การปัดดอก การตัดแต่งผล ให้ได้ผลผลิตที่มีขนาดที่คุณภาพตามความต้องการของตลาด มีการบริหารจัดการกลุ่ม บริหารจัดการในรูปแบบคณะกรรมการ มีการวางแผนการผลิตกับสมาชิกกลุ่ม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเป็นแหล่งรวบรวมผลผลิตจำหน่าย นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาคุณภาพสินค้าและคุณภาพให้สูงขึ้น ได้รับรองมาตรฐาน GAP ทุกแปลง มีการใช้ปุ๋ยและฮอร์โมนในอัตราที่เหมาะสม คัดเกรดให้ได้ขนาดที่เหมาะสม และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ในการจำหน่าย และมีการตลาดแบบขายส่ง การจัดมหกรรมสินค้าเกษตร การทำการตลาดแบบออนไลน์ ผ่าน Line และ Facebook

จุดเด่นของกลุ่มคือ การควบคุมคุณภาพการผลิตโดยกลุ่มเกษตรกรให้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ทำให้ทุเรียนได้คุณภาพ มีการใช้สารชีวภัณฑ์เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น สร้างแบรนด์ของตนเอง ในนามวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ผู้ปลูกทุเรียนป่าละอู และทุเรียนหมอนทองป่าละอู หรือ ทุเรียนป่าละอู (PaLa-U Durian) ซึ่งหมายถึงทุเรียนพันธุ์หมอนทองที่ปลูกในพื้นที่ ป่าละอู ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น เฉพาะตัว มีรสหวาน เนื้อหนาเนียนละเอียด สีเหลืองอ่อน เนื้อแห้งมีความมันมากกว่าความหวาน กลิ่นไม่รุนแรง ได้รับการขึ้นทะเบียน GI จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เลขที่ 54100075 ไว้อีกด้วย

"สำนักงานส่งเสริมฯ ได้เข้ามาส่งเสริมให้ความรู้แก่เกษตรกรในหลายๆ ด้าน ทั้งการบริหารจัดการกลุ่ม การแปรรูป การลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตและพัฒนาคุณภาพสินค้า และที่สำคัญคือการส่งเสริมให้เกษตรกรทุกรายได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรปลอดภัย GAP ซึ่งเป็นการช่วยยกระดับแปลงใหญ่ทุเรียนป่าละอูซึ่งทุเรียนป่าละอูมีลักษณะทางกายภาพ คือมีรูปทรงผลเป็นวงรีบริเวณด้านใต้ผลแหลม น้ำหนักระหว่าง 1.5-5 กิโลกรัม เปลือกมีสีเขียวปนน้ำตาล ปลายหนามแหลมคมมาก ร่องพูชัดเจน ก้านขั้วค่อนข้างใหญ่ สีน้ำตาล จับดูจะรู้สึกสาก พอแก่จัดขั้วจะมีรสหวาน เนื้อหนา สีเหลืองอ่อน รสชาติ หวาน มัน เมล็ดลีบทำให้รู้สึกมีเนื้อหนาขึ้น เป็นทุเรียนที่เป็นทั้งเอกลักษณ์และขึ้นชื่อที่ อ.ป่าละอู จ.ประจวบคีรีขันธ์ เลยก็ว่าได้" นางธัญธิตา กล่าว.

Reference
thairath.co.th/news/local/central/2048127
อ่าน:3485
อาการพืชขาดธาตุแมกนีเซียม พืชจะใบเหลือง และมีเส้นใยสีเขียวบนใบเหลือง อาการเกิดที่ใบแก่ ฉีดพ่น FK-1
อาการพืชขาดธาตุแมกนีเซียม พืชจะใบเหลือง และมีเส้นใยสีเขียวบนใบเหลือง อาการเกิดที่ใบแก่ ฉีดพ่น FK-1
แมกนีเซียม (Mg)

มันสำปะหลังค่อนข้างจะขาด Mg (แมกนีเซียม) ได้ง่าย มันสำปะหลังมีความต้องการ Mg (แมกนีเซียม) ที่เข้มข้นในสารละลายธาตุอาหารสูงกว่าถั่วพุ่มหรือฝ้าย การใส่ปุ๋ย K (โพแตสเซียม) มากเกินไปจะทำ ให้พืชเกิดการขาด Mg (แมกนีเซียม) ได้

การทดสอบปุ๋ย Mg ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำมากๆ และดินกรด 2 งาน จัดทำในเขตที่ราบภาคตะวันตกของโคลัมเบียพบว่า พืช
จะตอบสนองต่อ Mg อย่างมีนัยสำคัญจนถึงระดับสูงสุดที่ 9.6 กก. Mg/ไร่โดยภาพรวมแหล่งต่างๆ ของ Mg จะไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ Mg จากซัลโฟแม็ก (Sulphomag) ซึ่งละลายน้ำ ได้ดีกว่าจะมีการตอบสนองได้ดีกว่าเมื่อใช้อัตราปานกลาง ส่วนแมกนีเซียมซัลเฟตใส่โดยโรยเป็นแถบและการหว่านแมกนีเซียมอ๊อกไซด์จะได้ผลดีกว่าเมื่อใช้อัตราสูงๆ

การใช้ปูนโดโลไมท์หว่านไถกลบลงในดินจะไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิต และถึงแม้ว่าแมกนีเซียมซัลเฟตจะค่อนข้างละลายน้ำ แต่การหว่านแมกนีเซียมซัลเฟตและไถกลบลงในดินจะให้ผลดีกว่าการใส่โดยการโรยเป็นแถบสั้นๆ ใกล้กับท่อนพันธุ์พร้อมกับการใส่ปุ๋ย N P K

ฉีดพ่น FK-1 ที่ประกอบด้วย แมกนีเซียม แคลเซียม สังกะสี ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแตสเซียม (Mg Ca Zn N P K)

Reference: main content from agriman.doae.go.th
อ่าน:3540
2168 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 216 หน้า, หน้าที่ 217 มี 8 รายการ
|-Page 209 of 217-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 | 217 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันและยับยั้งเชื้อรา ขนาด 3 ลิตร ปลอดภัย ใช้ดี
Update: 2562/08/30 11:47:08 - Views: 4249
ไม้ดอกเป็นโรค ไม้กระถางเป็นโรค ลักษณะอาการโรค ของไม้ดอก ไม้ประดับ ไม้กระถาง
Update: 2564/04/10 11:02:37 - Views: 3984
ประโยชน์ของปุ๋ย FK-1 สำหรับพืชทุกชนิด
Update: 2566/02/08 06:22:15 - Views: 3513
การดูแลรักษามะม่วง และเก็บเกี่ยว
Update: 2564/05/28 08:42:32 - Views: 4519
มันสำปะหลังอินทรีย์ จ.อุบลราชธานี พืชยกระดับรายได้เกษตรกร มีตลาดรองรับ
Update: 2564/05/03 15:16:55 - Views: 3555
โรคทุเรียนใบติด ใบไหม้ ใบจุด โรคราต่างๆ ใช้ ไอเอส1 หยุดโรค + FK-1 ฟื้นฟู บำรุง สร้างภูมิคุ้มกันโรค 1ชุด ใช้ได้ 5ไร่
Update: 2564/08/23 06:43:42 - Views: 3533
วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA คืออะไร
Update: 2564/08/21 21:30:12 - Views: 3755
เทคนิค การเก็บเมล็ดพันธุ์ พื้นบ้าน โดยเกษตรกร
Update: 2562/08/18 23:51:03 - Views: 4433
การต่อสู้กับโรคราสนิมในต้นกาแฟ
Update: 2566/05/17 10:59:50 - Views: 3552
นกน้อยกระโจนทยาน
Update: 2563/05/25 16:12:52 - Views: 3505
ทุเรียน โตไว ใบเขียว เร่งราก เร่งดอก ขยายขนาด ผลใหญ่ ผลดก เพิ่มน้ำหนัก เพิ่มคุณภาพ ผลผลิต ด้วย ปุ๋ย สตาร์เฟอร์
Update: 2567/03/21 14:48:22 - Views: 3841
ยากำจัดโรคใบจุดตากบ ใน กาแฟ โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอสใช้ได้กับพืชทุกชนิด (ขนาด 3 ลิตร ใช้ได้15 ไร่)
Update: 2566/06/14 14:39:11 - Views: 3572
สถานการณ์ทุเรียนไทยปี 2568: โอกาสทางการค้าและปัญหาภายในประเทศที่ต้องจับตา
Update: 2568/03/22 08:16:58 - Views: 321
โรครากเน่าโคนเน่าในต้นส้มเขียวหวาน: สาเหตุ อาการ และวิธีการป้องกันและรักษา
Update: 2566/11/08 09:46:10 - Views: 3468
ข้าวแดง ข้าวลาย ข้าวหาง ข้าวดีด ข้าวเด้ง
Update: 2564/08/26 22:39:23 - Views: 3914
ข้อกำหนด การนำพืชจากต่างประเทศ เข้าประเทศญี่ปุ่น
Update: 2564/08/13 11:46:50 - Views: 3601
10 ขั้นตอนง่าย สู่การเป็นเจ้าของแบรนด์เครื่องสำอาง
Update: 2565/11/15 12:15:46 - Views: 3505
การป้องกันกำจัดโรคราสีชมพูในทุเรียนด้วยสารอินทรีย์ ไอเอส
Update: 2566/01/06 14:04:31 - Views: 3659
ยากำจัดโรคเหี่ยว ใน แตงโม โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอสใช้ได้กับพืชทุกชนิด (ขนาด 3 ลิตร ใช้ได้15 ไร่)
Update: 2566/06/07 13:58:07 - Views: 3510
โรคใบร่วงยางพารา
Update: 2565/02/25 01:40:49 - Views: 3509
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022