[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - ปุ๋ย
2153 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 215 หน้า, หน้าที่ 216 มี 3 รายการ

มะเขือเทศใบซีด มะเขือเทศใบเหลือง อาการเริ่มจากใบแก่ ก่อนลุกลามไปใบอ่อน เพราะขาดไนโตรเจน
มะเขือเทศใบซีด มะเขือเทศใบเหลือง อาการเริ่มจากใบแก่ ก่อนลุกลามไปใบอ่อน เพราะขาดไนโตรเจน
อาการ มะเขือเทศ ขาดไนโตรเจน คล้ายกับอาการ มะเขือเทศขาดกำมะถัน

ต่างกันตรงที่ อาการมะเขือเทศขาดธาตุไนโตรเจน จะเริ่มจากใบแก่ ลุกลามไปยังใบใหม่ หรือใบอ่อน ส่วน อาการมะเขือเทศขาดธาตุกำมะถัน จะเริ่มออกอาการจากใบอ่อนก่อน เนื่องจาก กำมะถันไม่เคลื่อนที่ในต้น ซึ่งต่างกับ ไนโตรเจน

การขาดธาตุไนโตรเจน อาจมีสาเหตุจาก ดินมีค่า pH ต่ำหรือสูง ดินทรายหรือดินร่วน (ชะละลาย) มีสารอินทรีย์ต่ำ สภาพแห้งแล้ง ฝนตกมาก (ชะละลาย) หรือมีการชะหน้าดินหนัก ใช้สารเพิ่มหรือปุ๋ยสด/ปุ๋ยคอก เป็นจำนวนมาก (เช่น ฟาง) พืชโตเร็ว

ไนโตรเจน ทำหน้าที่ การสังเคราะห์กรดอะมิโน โปรตีน โคเอนไซม์ กรดนิวคลิอิก การสังเคราะห์คลอโรฟิลล์และ ATP

สามารถฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงฟื้นฟู จากอาการขาดธาตุไนโตรเจน ในอัตราส่วน 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร

Reference
Main content from: yara.co.th
อ่าน:3492
ดอกชบา การปลูกชบา การดูแล ป้องกันกำจัดโรค และแมลง
ดอกชบา การปลูกชบา การดูแล ป้องกันกำจัดโรค และแมลง
ชบาในบ้านเรารู้จักกันมานานแล้ว จะเห็นได้จากบ้านคนสมัยก่อนจะมีชบายอยู่แทบทุกบ้านปัจจุบันชบาได้รับการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ออกมามากมาย ซึ่งล้วนแต่สวย ๆ งาม ๆทั้งนั้น ทำให้ได้ดอกของชบาที่มีรูปร่างสวยงามสีสันของดอกสดใส ขบานั้นจัดเป็นไม้พุ่ม ความสูงดดยทั่วไปประมาณ 2.50 เมตร ใบมีสีเขียวเข้ม มนรี ปลายใบแหลม แต่ปัจจุบันก็ยังมีพันธุ์ แตกต่างออกไปอีกมากมาย

การดูแล

แสง ชอบแสงแดดมาก

น้ำ ต้องการน้ำพอประมาณ

ดิน เป็นไม้ที่ปลูกได้ง่ายสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ไม่ควรให้ดินเปียกหรือแฉะเกินไป

ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก

การขยายพันธ์ ตอน ปักชำ

โรคและแมลง ไม่ค่อยมีโรคจะมีก็แต่เพลี้ยที่รบกวนอยู่

การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยยามาลาไธออนหรือไดอาซินอน ตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในฉลาก

ลักษณะเด่น

คือ มีเส้นใยและยางเมือก (mucilagnous) อยู่ในเนื้อไม้โดยทั่วไปเป็นไม้พุ่มขนาดกลางใบเป็นใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับมีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปไข่ รูปกลม รูปรีหรือเว้าเป็นแฉก3-5 แฉก มีกลีบดอก 5 กลีบแต่ละดอกจะเชื่อมติดกันเป็นวงที่ฐานดอกเกสรเพศผู้ประกอบด้วยอับเรณูสีเหลืองรูปไตและก้านชูอับเรณูสีขาวหรือสีเดียวกันเกสรเพศเมีย อยู่ปลายหลอดเกสรเพศผู้มักมีก้านเล็ก ๆ แยกยอดเกสรเพศเมียเป็น 5 ยอกตามจำนวนห้องรังไข่ส่วนยอดมีน้ำหวานสำหรับจับละอองเรณู

ประเภทของดอกอาจแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ
1.ดอกบานเป็นรูปถ้วย
2.ดอกบานเป็นรูปแผ่แบน
3.กลีบดอกบานแบบแผ่โค้ง

การขยายพันธุ์

การขยายพันธุ์มี 3 วิธี คือ
1.การปักชำ
2.การเสียบยอด
3.การติดตา

โรคและแมลงศัตรู
1. โรค ที่พบในชบาได้แก่ โรคใบจุดในช่วงฤดูฝน โรคใบหงิกที่เกิดจากเชื้อไวรัสโดยมีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ

2. แมลงศัตรุ ที่พบมากได้แก่ แมลงหวี่ขาวดูดน้ำเลี้ยงจากใบและยอดอ่อนทำให้เกิดโรค ใบหงิก เพลี้ยแป้ง เพี้ยหอย
ดูดน้ำเลี้ยงจากใบและกิ่งก้านนอกจากนี้ยังมีหนอนผีเสื้อบางชนิดกัดกินดอกอ่อนทำให้ดอกไม่บานหรือกลีบเว้าแห่วง

3. สัตว์สัตรู ได้แก่ หอยทาก ทำลายโดยการกัดกินดอก กำจัดโดยใช้มือดึงออกหรือโรยปูนขาวรอบพื้นที่ปลูก

สรรพคุณทางยาและประโยชน์

ในคัมภีร์อายุรเวท พูดถึงสรรพคุณของดอกชบาว่า ช่วยฟอกโลหิต บำรุงจิตใจให้แช่มชื่น บำรุงผิวพรรณ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาและบรรเทาโรคเกี่ยวกับไต และโดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง เช่นเสียเลือดประจำเดือนมากเกินไป ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ รวมทั้งปัญหาเรื่องระดูขาวไม่เพียงแต่ดอกชบาเท่านั้นที่ใช้เป็นยาดีของอินเดีย ส่วนอื่นๆของชบายังใช้เป็นยารักษาโรคได้ด้วย อย่างเช่น เปลือกต้นชบาใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา ใบชบาใช้แก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก บำรุงผม

ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีระดูขาว - นำดอกชบาสด 4 ดอกมาตำให้แหลก แล้วกินตอนท้องว่างในตอนเช้าติดต่อกัน 7 วัน นำดอกชบามาตากให้แห้งในที่ร่ม เมื่อแห้งสนิทดีแล้ว เอามาบดเป็นผง กินครั้งละ 1 ช้อนชาตอนเช้าติดต่อกันนาน 7 วัน
ประจำเดือนไม่มา ใช้ดอกชบา 3 ดอกบดให้แหลก แล้วผสมกับน้ำมะนาวสัก 2 ช้อนโต๊ะ หรือผสมกับนม 1 แก้ว แล้วดื่มตอนท้องว่างตอนเช้า จะช่วยปรับเรื่องประจำเดือนได้ เอาเฉพาะกลีบดอกชบาผสมกับน้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลปี๊บอย่างละเท่าๆ กันใส่ในโถแก้วมีฝาปิด แล้วเอาโถแก้วออกตากแดดติดต่อกันสัก 21 วัน น้ำตาลจะละลายผสมกับดอกชบา พอครบกำหนดแล้วเอามากินครั้งละ 2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง นานสองถึงสามสัปดาห์ ยาสูตรนี้ถือว่า เป็นยาบำรุงประจำเดือน
ดับร้อนและแก้ไข้ - ใช้ดอกชบา 4 ดอกแช่ในน้ำต้มสุก 2 แก้ว แล้วดื่มต่างน้ำ จะช่วยดับร้อนผ่อนกระหายและแก้ไข้ได้ดี
รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ฮ่องกงฟุต - ใช้เปลือกต้น 50 กรัม แช่ในแอลกอฮอล์ 150 ซีซี นานหนึ่งวัน แล้วกรองเอาแต่น้ำยาไว้ทาบริเวณที่เป็นฮ่องกงฟุต
รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก - ใช้ใบชบาหรือฐานดอกก็ได้มาตำให้แหลก แล้วเอามาพอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก น้ำเมือกจากใบจะช่วยรักษาแผลได้เป็นอย่างดี
บำรุงผม - ใช้ใบชบาหนึ่งกำมือมาล้างให้สะอาด ตำให้แหลก เติมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นเอาแต่น้ำ กรองเอากากทิ้ง แล้วใช้น้ำเมือกจากใบชบาสระผม ช่วยชำระล้างสิ่งสกปรก และบำรุงเส้นผมให้ดกดำเป็นเงางาม

Reference: nongyai.ac.th
อ่าน:3904
โรคใบไหม้ในทุเรียน โรคใบติดทุเรียน เกิดได้ง่าย ในช่วงอากาศร้อน ปนฝน
โรคใบไหม้ในทุเรียน โรคใบติดทุเรียน เกิดได้ง่าย ในช่วงอากาศร้อน ปนฝน
สภาพอากาศร้อนชื้น เวลากลางวันมีแดดจัด และมีฝนตกในบางพื้นที่ช่วงนี้ แนะนำให้เกษตรกรชาวสวนทุเรียนเฝ้าระวัง การระบาดของโรคใบไหม้หรือโรคใบติด สามารถพบได้ในระยะการเจริญเติบโตทางลำต้น อาการเริ่มแรกจะพบบนใบมีแผลคล้ายถูกน้ำร้อนลวก ต่อมาแผลจะขยายตัวและเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล มีขนาดและรูปร่างไม่แน่นอน จากนั้นจะลุกลามไปยังใบปกติข้างเคียง กรณีที่มีความชื้นสูงเชื้อราสาเหตุโรคจะสร้างเส้นใยคล้ายใยแมงมุมยึดใบให้ติดกัน ใบที่เป็นโรคจะแห้งติดอยู่กับกิ่งก่อนหลุดร่วงไปสัมผัสกับใบที่อยู่ด้านล่าง ทำให้โรคระบาดลุกลามจนใบไหม้เห็นเป็นหย่อมๆ ใบแห้งติดกันเป็นกระจุกแขวนค้างตามกิ่ง ต่อมาใบจะร่วงจนเหลือแต่กิ่ง และกิ่งแห้งในที่สุด ทำให้ต้นทุเรียนเสียรูปทรง

สำหรับแนวทางในการป้องกันโรคใบไหม้ เกษตรกรควรหมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบการระบาดของโรคใบไหม้ ให้เกษตรกรตัดส่วนที่เป็นโรคและเก็บเศษพืชที่เป็นโรคและใบที่ร่วงหล่นนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก เพื่อลดปริมาณเชื้อสะสมในแปลง จากนั้น ให้เกษตรกรพ่นที่ใบให้ทั่วทั้งต้นด้วย สารอินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคพืช ไอเอส ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อนำ้ 20ลิตร สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมในคราวเดียวกัน เพื่อฟื้นฟู บำรุงพืช จากการเข้าทำลายของโรคได้รวดเร็วยิ่งขึ้น

ส่วนในแปลงปลูกที่มีความชื้นสูง และมีการระบาดของโรคเป็นประจำ หลีกเลี่ยง การใส่ปุ๋ยที่มีไนโตรเจนสูง เพื่อลดการแตกใบของต้นทุเรียน จากนั้น ให้เกษตรกรตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่งและกำจัดวัชพืชในแปลงปลูก เพื่อให้อากาศถ่ายเทสะดวก และช่วยลดความชื้นสะสมในแปลงปลูก อีกทั้งควรทำความสะอาดอุปกรณ์การเกษตรเมื่อใช้กับต้นที่เป็นโรคก่อนนำกลับมาใช้ใหม่ทุกครั้ง

Reference
Main content from: technologychaoban.com
อ่าน:3425
ทุเรียนป่าละอู หวาน-มัน เนื้อหนา ผลผลิตแปลงใหญ่ จ.ประจวบฯ
ทุเรียนป่าละอู หวาน-มัน เนื้อหนา ผลผลิตแปลงใหญ่ จ.ประจวบฯ
สำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จ.ราชบุรี เร่งผลักดัน หวังยกระดับแปลงใหญ่ทุเรียนป่าละอู จ.ประจวบคีรีขันธ์ สู่มาตรฐาน GAP

เมื่อวันที่ 11 มี.ค.64 นางธัญธิตา บุญญมณีกุล ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมและพัฒนาการเกษตรที่ 2 จ.ราชบุรี กล่าวว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเกษตรแปลงใหญ่ทุเรียนป่าละอู ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งมี นายประโยชน์ พรหมสุวรรณ เป็นประธานกลุ่ม ได้รวมกลุ่มกันเมื่อปี 2562 มีสมาชิก 50 กว่าราย พื้นที่ 500 กว่าไร่ ปัจจุบันมีเกษตรกรปลูกทุเรียนจำนวนมาก ด้วยสภาพภูมิประเทศที่เอื้ออำนวยต่อการเจริญเติบโตของต้นทุเรียน จึงเหมาะอย่างยิ่ง

ดังนั้น จึงได้มีการรวมตัวของเกษตรกรที่ปลูกทุเรียนป่าละอู ใน ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ จัดตั้งเป็นแปลงใหญ่ทุเรียนป่าละอู เมื่อปี 2562 เพื่อการลดต้นทุนการผลิต การผสมปุ๋ยใช้เองตามความต้องการของต้นทุเรียน การใช้ปุ๋ยเคมีร่วมกับปุ๋ยอินทรีย์ การผลิตสารชีวภัณฑ์เพื่อใช้ในการจัดการกับโรคและแมลงที่ต้องแก้ปัญหาอย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้เพื่อลดต้นทุนให้ได้มากที่สุด เพิ่มผลผลิตโดยใช้การตัดแต่งต้น การปัดดอก การตัดแต่งผล ให้ได้ผลผลิตที่มีขนาดที่คุณภาพตามความต้องการของตลาด มีการบริหารจัดการกลุ่ม บริหารจัดการในรูปแบบคณะกรรมการ มีการวางแผนการผลิตกับสมาชิกกลุ่ม แลกเปลี่ยนเรียนรู้ และเป็นแหล่งรวบรวมผลผลิตจำหน่าย นอกจากนี้ยังมีการพัฒนาคุณภาพสินค้าและคุณภาพให้สูงขึ้น ได้รับรองมาตรฐาน GAP ทุกแปลง มีการใช้ปุ๋ยและฮอร์โมนในอัตราที่เหมาะสม คัดเกรดให้ได้ขนาดที่เหมาะสม และพัฒนาบรรจุภัณฑ์ในการจำหน่าย และมีการตลาดแบบขายส่ง การจัดมหกรรมสินค้าเกษตร การทำการตลาดแบบออนไลน์ ผ่าน Line และ Facebook

จุดเด่นของกลุ่มคือ การควบคุมคุณภาพการผลิตโดยกลุ่มเกษตรกรให้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมี ทำให้ทุเรียนได้คุณภาพ มีการใช้สารชีวภัณฑ์เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น สร้างแบรนด์ของตนเอง ในนามวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่ผู้ปลูกทุเรียนป่าละอู และทุเรียนหมอนทองป่าละอู หรือ ทุเรียนป่าละอู (PaLa-U Durian) ซึ่งหมายถึงทุเรียนพันธุ์หมอนทองที่ปลูกในพื้นที่ ป่าละอู ต.ห้วยสัตว์ใหญ่ อ.หัวหิน จ.ประจวบคีรีขันธ์ มีเอกลักษณ์ที่โดดเด่น เฉพาะตัว มีรสหวาน เนื้อหนาเนียนละเอียด สีเหลืองอ่อน เนื้อแห้งมีความมันมากกว่าความหวาน กลิ่นไม่รุนแรง ได้รับการขึ้นทะเบียน GI จากกรมทรัพย์สินทางปัญญา เลขที่ 54100075 ไว้อีกด้วย

"สำนักงานส่งเสริมฯ ได้เข้ามาส่งเสริมให้ความรู้แก่เกษตรกรในหลายๆ ด้าน ทั้งการบริหารจัดการกลุ่ม การแปรรูป การลดต้นทุน เพิ่มผลผลิตและพัฒนาคุณภาพสินค้า และที่สำคัญคือการส่งเสริมให้เกษตรกรทุกรายได้รับการรับรองมาตรฐานสินค้าเกษตรปลอดภัย GAP ซึ่งเป็นการช่วยยกระดับแปลงใหญ่ทุเรียนป่าละอูซึ่งทุเรียนป่าละอูมีลักษณะทางกายภาพ คือมีรูปทรงผลเป็นวงรีบริเวณด้านใต้ผลแหลม น้ำหนักระหว่าง 1.5-5 กิโลกรัม เปลือกมีสีเขียวปนน้ำตาล ปลายหนามแหลมคมมาก ร่องพูชัดเจน ก้านขั้วค่อนข้างใหญ่ สีน้ำตาล จับดูจะรู้สึกสาก พอแก่จัดขั้วจะมีรสหวาน เนื้อหนา สีเหลืองอ่อน รสชาติ หวาน มัน เมล็ดลีบทำให้รู้สึกมีเนื้อหนาขึ้น เป็นทุเรียนที่เป็นทั้งเอกลักษณ์และขึ้นชื่อที่ อ.ป่าละอู จ.ประจวบคีรีขันธ์ เลยก็ว่าได้" นางธัญธิตา กล่าว.

Reference
thairath.co.th/news/local/central/2048127
อ่าน:3394
อาการพืชขาดธาตุแมกนีเซียม พืชจะใบเหลือง และมีเส้นใยสีเขียวบนใบเหลือง อาการเกิดที่ใบแก่ ฉีดพ่น FK-1
อาการพืชขาดธาตุแมกนีเซียม พืชจะใบเหลือง และมีเส้นใยสีเขียวบนใบเหลือง อาการเกิดที่ใบแก่ ฉีดพ่น FK-1
แมกนีเซียม (Mg)

มันสำปะหลังค่อนข้างจะขาด Mg (แมกนีเซียม) ได้ง่าย มันสำปะหลังมีความต้องการ Mg (แมกนีเซียม) ที่เข้มข้นในสารละลายธาตุอาหารสูงกว่าถั่วพุ่มหรือฝ้าย การใส่ปุ๋ย K (โพแตสเซียม) มากเกินไปจะทำ ให้พืชเกิดการขาด Mg (แมกนีเซียม) ได้

การทดสอบปุ๋ย Mg ในดินที่มีความอุดมสมบูรณ์ต่ำมากๆ และดินกรด 2 งาน จัดทำในเขตที่ราบภาคตะวันตกของโคลัมเบียพบว่า พืช
จะตอบสนองต่อ Mg อย่างมีนัยสำคัญจนถึงระดับสูงสุดที่ 9.6 กก. Mg/ไร่โดยภาพรวมแหล่งต่างๆ ของ Mg จะไม่มีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญ Mg จากซัลโฟแม็ก (Sulphomag) ซึ่งละลายน้ำ ได้ดีกว่าจะมีการตอบสนองได้ดีกว่าเมื่อใช้อัตราปานกลาง ส่วนแมกนีเซียมซัลเฟตใส่โดยโรยเป็นแถบและการหว่านแมกนีเซียมอ๊อกไซด์จะได้ผลดีกว่าเมื่อใช้อัตราสูงๆ

การใช้ปูนโดโลไมท์หว่านไถกลบลงในดินจะไม่ค่อยมีประสิทธิภาพในการเพิ่มผลผลิต และถึงแม้ว่าแมกนีเซียมซัลเฟตจะค่อนข้างละลายน้ำ แต่การหว่านแมกนีเซียมซัลเฟตและไถกลบลงในดินจะให้ผลดีกว่าการใส่โดยการโรยเป็นแถบสั้นๆ ใกล้กับท่อนพันธุ์พร้อมกับการใส่ปุ๋ย N P K

ฉีดพ่น FK-1 ที่ประกอบด้วย แมกนีเซียม แคลเซียม สังกะสี ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแตสเซียม (Mg Ca Zn N P K)

Reference: main content from agriman.doae.go.th
อ่าน:3441
เร่งโต ระเบิดราก เพิ่มผลผลิต ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ FK-1 ฟื้นฟูพืช โตไว แข็งแรง จึงต้านทานต่อโรค
เร่งโต ระเบิดราก เพิ่มผลผลิต ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ FK-1 ฟื้นฟูพืช โตไว แข็งแรง จึงต้านทานต่อโรค
FK-1 ประกอบด้วย
✅ไนโตรเจน
✅ฟอสฟอรัส
✅โพแทสเซียม
✅แคลเซียม
✅แมกนีเซียม
✅สังกะสี
✅สารจับใบ
อ่าน:3416
โรคมันสำปะหลัง มันสำปะหลังขาดธาตุสังกะสี ทำให้โตช้า พบจุดขาว หรือเหลืองบนใบอ่อน ใบย่น ขาดรุนแรงอาจตายได้
โรคมันสำปะหลัง มันสำปะหลังขาดธาตุสังกะสี ทำให้โตช้า พบจุดขาว หรือเหลืองบนใบอ่อน ใบย่น ขาดรุนแรงอาจตายได้
ปัญหาผลผลิตมันสำปะหลังต่ำ เนื่องจากขาดจุลธาตุสังกะสี

ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช มีอยู่ 16 ธาตุ แต่มีเพียง 7 ธาตุ เท่านั้นที่พืชต้องการใช้ในปริมาณน้อยมาก และเราเรียกธาตุเหล่านี้ว่า จุลธาตุ (Micronutrient) ได้แก่ เหล็ก (Fe) แมงกานีส (Mn) สังกะสี (Zn) ทองแดง (Cu) โบรอน (B) โมลิดินัม (Mo) คลอรีน (Cl) แม้ว่าพืชต้องการธาตุเหล่านี้น้อย แต่ก็มีความจำเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งการขาดสังกะสีในมันสำปะหลัง ซึ่งในปัจจุบันเป็นปัญหาของเกษตรกรจำนวนมาก

ความสำคัญของธาตุสังกะสี

เป็นส่วนประกอบที่จำเป็นของเอนไซม์หลายชนิด รวมทั้งออกซิเจนและฮอร์โมนในพืช เกี่ยวข้องกับกระบวนการสร้างกรดอินโดลอะเซติก (LAA) เป็นธาตุที่จำเป็นต่อการสร้างคลอโรฟิลล์ และการสร้างเมล็ดพืช ตลอดจนมีบทบาทในการสังเคราะห์โปรตีน ช่วยส่งเสริมการใช้ประโยชน์ของธาตุฟอสฟอรัสและไนโตรเจนในพืช

ลักษณะอาการขาดธาตุสังกะสีในมันสำปะหลัง

พบเห็นโดยทั่วไปในดินด่าง จะมีลักษณะการยืดต้นช้า พบจุดหรือแถบสีขาว หรือเหลือง บนใบอ่อน ใบอาจย่นหรือเปลี่ยนรูปร่าง อาจพบจุดแผลเซลล์ตายในใบล่างและอาจรุนแรงทำให้ต้นตาย ส่งผลถึงความอยู่รอดและผลผลิตมันสำปะหลัง

สาเหตุ

- พื้นที่มีการชะล้างพังทลายของหน้าดิน ความอุดมสมบูรณ์ต่ำ

- ปลูกมันสำปะหลังในที่เดิมเป็นเวลานาน ไม่มีการปลูกพืชหมุนเวียน

- ดินมีความเป็นด่างสูง (pH สูง) หรือดินที่มีแคลเซียม (Ca) สูง

- เกษตรกรใส่ปุ๋ยธาตุอาหารหลักอย่างเดียว

ข้อแนะนำ

ฉีดพ่น FK-1 ทุก 7-15 วัน ต่อเนื่อง 2-4 ครั้ง ตามอัตราส่วนที่แนะนำ
อ่าน:3558
โรคข้าว ข้าวขาดฟอสฟอรัส จะแคระแกรน แตกกอน้อย ใบแคบ สั้น ลำต้นผอมเรียว ชะงักการโต ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุง
โรคข้าว ข้าวขาดฟอสฟอรัส จะแคระแกรน แตกกอน้อย ใบแคบ สั้น ลำต้นผอมเรียว ชะงักการโต ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุง
การขาดฟอสฟอรัส (Phosphorus deficiency)

ฟอสฟอรัส (P)

เป็นองค์ประกอบที่สำคัญของ Adenosine triphosphate (ATP) นิวคลีโอไทล์ (Nucleotile) กรดนิวคลีอิก (Nucleic acids) และฟอสโฟไลปิด (Phospholipid) ฟอสฟอรัสจะช่วยในการแตกกอ การพัฒนาของราก การออกดอกและการสุกแก่ของข้าว ปุ๋ยฟอสเฟตจะจำเป็นมากสำหรับข้าวที่ระบบรากยังไม่พัฒนาเต็มที่ เช่นหลังการปักดำใหม่ๆ ดังนั้นจึงควรใส่ปุ๋ยฟอสเฟตเป็นปุ๋ยรองพื้นก่อนการปักดำหรือในวันปักดำ

ข้าวที่ขาดฟอสฟอรัส

จะแคระแกรน การแตกกอน้อย ใบแคบ สั้น ตั้งตรงและมีสีเขียวเข้ม ลำต้นผอมเรียว ข้าวจะชะงักการเจริญเติบโต จำนวนใบ จำนวนรวงและจำนวนเมล็ดต่อรวงลดลง ใบอ่อนสมบูรณ์ดีแต่ใบแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลและตายในที่สุด ถ้าพันธุ์ข้าวที่ปลูกสามารถผลิต Anthocyanin ได้ใบอาจเปลี่ยนเป็นสีแดงหรือสีม่วง ในดินที่เป็นกรดการขาดฟอสฟอรัสมักจะเกิดร่วมกับเหล็กเป็นพิษ

สาเหตุของการขาดฟอสฟอรัส

เกิดจากการมีระดับฟอสฟอรัสในดินนาต่ำหรือถูกตรึงโดยดินจนพืชนำมาใช้ประโยชน์ไม่ได้ (จะเกิดในดินที่เป็นกรดจัด) การใส่ปุ๋ยไม่เพียงพอต่อความต้องการของพืช วิธีการปลูกแบบนาหว่านมีโอกาสทำให้ข้าวขาดฟอสฟอรัสมากกว่าปลูกแบบปักดำเพราะต้นข้าวจะหนาแน่นกว่าและมีรากตื้นกว่าข้าวที่

การจัดการเพื่อการป้องกันและแก้ไขการขาดฟอสฟอรัสสามารถทำได้โดย การไถกลบฟางข้าวลงในแปลง เพราะถึงแม้ว่าปริมาณฟอสฟอรัสในฟางข้าวจะมีน้อย แต่จะช่วยรักษาระดับฟอสฟอรัสในดินในระยะยาว ใส่ปุ๋ยฟอสเฟต ปุ๋ยคอกและวัสดุอินทรีย์อื่นๆ ให้กับข้าวอย่างพอเพียง เพื่อชดเชยกับธาตุอาหารที่สูญเสียไปจากการเก็บเกี่ยวผลผลิต

ฉีดพ่น FK-1 เพื่อให้ ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม

Reference: main content from ricethailand.go.th
อ่าน:3434
โรคอ้อย อ้อยขาดธาตุแคลเซียม (Calcium, Ca) แสดงอาการเป็นทางเหลือง หรือสีน้ำตาล แก้ไขได้
โรคอ้อย อ้อยขาดธาตุแคลเซียม (Calcium, Ca) แสดงอาการเป็นทางเหลือง หรือสีน้ำตาล แก้ไขได้
อ้อยใบแก่จะแสดงอาการขาดแคลเซียม โดยใบอ้อยจะมีลักษณะเป็นทางสีเหลืองจนถึงสีน้ำตาล โดยบนใบแก่อาจจะสังเกตเห็นลักษณะเป็นสีสนิมแล้วใบก็จะตายไปก่อนที่จะแก่

บ่อยครั้งที่จะพบว่ายอดใบนั้นจะมีการบิดม้วนไปตามความยาวของขอบใบเมื่อมีการขาดแคลเซียมอย่างต่อเนื่อง ในใบอ่อนนั้นจะมีการผิดรูปร่างแห้งตายอย่างไรก็ตามการขาดแคลเซียมนั้นพบได้ไม่บ่อย

ลักษณะอาการโรค อ้อยขาดแคลเซียมจะทำให้เนื้อเยื่อเจริญส่วนยอดตาย ใบอ่อนจะมีอาการยอดงอบิดเบี้ยวและไหม้ที่ส่วนยอด และขอบใบใบจะมีแผลเล็ก ๆ สีซีด และมีจุดแห้งๆ ตรงกลาง ต่อมาแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงเปลือกจะอ่อนนุ่มและเปราะ ลำจะผอมเรียวการเจริญเติบโตจะลดลงและอ่อนแอ ถ้าขาดแคลเซียมอย่างรุนแรงการเจริญเติบโตจะหยุดชะงักและตายในที่สุด

คำแนะนำการป้องกันกำจัด

การใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมในอัตราสูงจะทำ ให้เกิดการขาดแคลเซียม ในดินเป็นกรดซึ่งมีแคลเซียมต่ำ โดยปกติอาการขาดแคลเซียมในอ้อยของประเทศไทยไม่ค่อยพบเห็นบ่อยนัก ส่วนใหญ่มักจะพบร่วมกับอาการเป็นพิษของอลูมิเนียมในดินกรดจัดในประเทศบราซิล อ้อยจะมีรากยาวขึ้นและหยั่งลึกลงในดินมากขึ้น เมื่อมีการใส่แคลเซียมในรูปของยิปซั่มโดยปกติการแก้ปัญหาการขาดแคลเซียมมักจะใช้หินปูนบดละเอียดหรือยิปซั่ม การใช้หินปูนก็เพื่อจะทำให้ความเป็นกรดของดินลดลง และเพื่อให้อ้อยได้แคลเซียมและแมกนีเซียมด้วย ส่วนยิปซั่มมักจะใส่ในดินที่เป็นด่าง หรือดินเค็ม เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดินให้ดีขึ้น และเข้าไปแทนที่ขับไล่เกลือออกจากดิน แล้วลดปริมาณเกลือโดยการชะล้าง

ฉีดพ่น FK-1 ที่ประกอบด้วย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแตสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และ สังกะสี ในอัตราส่วน 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 500 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นที่ผสมแล้วประมาณ 80 ลิตรต่อไร่ ทุก 7-15 วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง

Reference: main content from ocsb.go.th
อ่าน:3426
โรคอินทผลัม โรคเชื้อราเขม่าผง Graphiola Leaf Spot (False Smut) of Palm
โรคอินทผลัม โรคเชื้อราเขม่าผง Graphiola Leaf Spot (False Smut) of Palm
ธรรมชาติของอินทผลัม เป็นพืชที่อยู่ในพื้นที่แห้งแล้งแบบทะเลทราย การนำมาทดลองปลูกในประเทศไทยของเรา มีปัญหาของโรคต่างๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับความชื้นปรากฏให้เห็นอยู่บ้าง โดยเฉพาะโรคเชื้อรา

"โรคเขม่าผง Graphiola Leaf Spot (False Smut) of Palm"

ซึ่งมีลักษณะเป็นผงสีขาวๆ เกิดขึ้นตามใบ ส่วนมากจะเกิดช่วงปลายฝนต้นหนาว แต่บางครั้งก็เกิดในฤดูอื่นๆ เมื่อมีความชื้นในอากาศ การที่ต้นจะตายไม่ใช่ตายเพราะโรคนี้ แต่จะตายเพราะโรคชนิดอื่นที่เข้ามาแทรกในตอนนั้น

- โรคนี้เกิดในพื้นที่ปลูกในภูมิภาคที่มีความชื้นสูง มีฝนมาก แต่ในภูมิภาคที่มีความร้อนและแห้ง จะปรากฏโรคชนิดนี้น้อย

- อินทผลัมพันธุ์แทบทุกสายพันธุ์สามารถเกิดโรคนี้ได้ในสภาพชื้น

- โรคชนิดนี้ เป็นผงจุดสีขาวๆ เกิดตามผิวใบ หากไม่มีโรคชนิดอื่นเกิดขึ้นพร้อมกัน จะปรากฏให้เห็นเป็นผงสีขาวๆ เกิดตามใบเท่านั้น มากหรือน้อย ขึ้นอยู่กับระดังความชื้นที่สะสมมา หากเป็นเฉพาะโรคนี้โรคเดียว ไม่ปรากฏมีโรคอื่น หรือ การขาดสารอาหาร หรือ ขาดน้ำ มาพร้อมกัน โรคชนิดนี้ไม่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้น เอกสารต่างประเทศกล่าวว่า การเกิดโรคชนิดนี้อย่างเดียว เป็นเหมือนเครื่องสำอางค์ของใบเท่านั้น การขาดธาตุอาหารมีผลกระทบกับต้นอินทผลัมมากกว่าโรคนี้

- หากตรวจพบว่าเป็นโรคชนิดนี้แล้ว ไม่แนะนำให้มีการตัดแต่งออกไป ยกเว้นแต่จะเป็นโรคอื่นๆ ด้วย หากจะมีการตัดใบ ต้องมั่นใจว่า ธาตุโพแตสเซียมในดินเพียงพอที่จะทำให้ต้นฟื้นขึ้นมาได้จากการตัดแต่งใบออกไป หากดูแล้วไม่ค่อยจะชอบมันเกิดตามใบ ต้องการจะตัดออก ให้รดปุ๋ยที่มีธาตุโพแตสเซียมลงไปด้วยทุกครั้ง

- แนะนำให้ใช้ ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา ฉีดพ่นในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร

- ให้เข้าใจว่า ยาป้องกันและกำจัดเชื้อราเหล่านี้ ไม่ได้ทำให้ใบที่เป็นอยู่แล้วหายไป แต่จะทำให้โรคไม่ลามต่อไปยังใบใหม่ๆ ที่เกิดขึ้นมา หรือ ลามเพิ่มเติมออกไป เท่านั้น

- ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุง ให้ฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของโรคพืช ได้เร็วขึ้น และเจริญเติบโตได้รวดเร็ว สมบูรณ์

กรณีที่เป็นพื้นที่แห้งอยู่แล้ว แต่เนื่องจากการสะสมของโรคในช่วงฝนที่ตกบ่อยมากจึงทำให้เกิดโรคนี้ให้เห็นบ้าง ไม่เป็นมาก โรคแบบนี้ ไม่เป็นเฉพาะอินทผลัม พืชทางเศรษฐกิจที่เขาปลูกกันจำนวนมากก็เป็น วิธีการจัดการเมื่อพบโรคนี้ คือ

- ในช่วงของการเพาะต้นกล้า หากจะทำเรือนเพาะชำแบบมีแสงส่องถึงได้เต็มที่ก็ควรจะทำ เพื่อป้องกันน้ำฝนกที่อาจจะมากเกินไป หรือ ป้องกันน้ำค้างในช่วงฤดูหนาว

- จุดที่วางถุง ควรเป็นพื้นที่แห้ง ไม่ชุ่มน้ำ ไม่ควรวางถุงให้ชิดกัน ควรวางให้ห่างกันเล็กน้อย หากมีพื้นที่จำกัดลองวางให้ห่างกันสัก ๑ นิ้ว หากมีพื้นที่มาก ให้วางห่างกันประมาณสัก ๕ นิ้ว เพื่อให้อากาศรอบถุงหมุนเวียนได้ ไม่สะสมโรคชนิดนี้ รวมทั้งโรคอื่นๆ ที่เกิดขึ้นได้กับต้นอินทผลัม

ในส่วนของต้นที่ปลูกกันอยู่ตอนนี้ที่เป็นอยู่นี้ จุดไหนที่มีความชื้นสูงจะเป็นมากหน่อย และที่แน่ๆ จะเป็นดินเพาะแบบไหน ใส่วัสดุเพาะที่จะเสี่ยงต่อการเกิดโรคแบบไหนก็ตาม ก็มีโอกาสเป็นเท่ากันหมด หากจุดวางถุงมีความชื้นสูง ทั้งความชื้นใต้ถุง ใต้ดิน และร่มเงามากไป ได้ประยุกต์เพื่อแก้ไข ดังนี้

- รดน้ำให้น้อยลง เพื่อลดความชื้น ไม่ควรรดน้ำอินทผลัมในช่่วงเย็น แต่ควรจะรดน้ำในช่วงเช้า ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้เกิดความชื้นสะสมในเวลากลางคืนที่อากาศเย็นนั่นเอง

- ใช้ปูนขาวผสมน้ำรดลงไปบ้าง เพื่อช่วยเรื่องการกำจัดเชื้อโรคบางชนิดในดิน

- บริเวณไหนมีร่มเงาหรือความชื้นมากไป ย้ายถุงเพาะออกไปวางในจุดที่แห้ง มีแสงแดดเต็มที่

Reference: main content from sites.google.com/site/datepalmnongtu/
อ่าน:3567
2153 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 215 หน้า, หน้าที่ 216 มี 3 รายการ
|-Page 208 of 216-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าด้วงงวงไชเหง้า ในต้นกล้วย และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/01/30 12:28:37 - Views: 3508
กำจัดศัตรูพืช ยาฆ่าหนอนแดง ใน พุทรา และ พืชทุกชนิด บาซีเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/03/07 10:55:32 - Views: 3428
ปุ๋ยพุทรา ตรา FK ปุ๋ยน้ำสำหรับพุทรา บทบาทของปุ๋ยตรา FK ในการปลูกและเพิ่มผลิตพุทรา
Update: 2565/12/17 12:13:06 - Views: 3392
ยาดม-ยาอม-ยาหอม สู่การส่งออกสมุนไพรไทย
Update: 2565/11/19 13:00:00 - Views: 3403
กำจัดเพลี้ยหอยเกล็ด ศัตรูพืชในต้นทุเรียน มาคา ฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเพลี้ย FK-T อาหารเสริมพืชชั้นเลิศ โดย FK
Update: 2566/05/25 15:42:36 - Views: 3453
หนอนกัดกินเปลือกยางพารา
Update: 2564/08/18 05:25:23 - Views: 3448
การบำรุงดูแลสวนปาล์มน้ำมันเพื่อเพิ่มผลผลิต ด้วยการใช้ฮิวมิค FK เสริมฟลูวิคและปุ๋ยทางใบ FK-1
Update: 2567/11/06 10:15:44 - Views: 29
ข้าวใบไหม้ ข้าวเน่าคอรวง พบได้ทั้งใน นาปรัง และนาปี มีสาเหตุจากเชื้อรา รักษาด้วย ไอเอส บำรุงด้วย FK-1
Update: 2564/01/09 09:46:14 - Views: 3479
การดูแลสวนลำไยตลอดปี ด้วยฮิวมิคFK (เสริมฟลูวิค) และปุ๋ยทางใบ FK-1 เพื่อการเติบโตและผลผลิตที่สมบูรณ์
Update: 2567/11/09 08:28:55 - Views: 66
โรคไหม้ ระบาดนาข้าว กรมการข้าว เร่งช่วยชาวนา แนะใช้ข้าวพันธุ์ต้านทานโรค ข้าวใบไหม้
Update: 2564/08/09 10:22:28 - Views: 3978
พืชเป็นโรค หมายความว่าอย่างไร ?
Update: 2564/04/24 02:41:12 - Views: 3386
กำจัดเชื้อรา หน่อไม้ฝรั่ง ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/09/26 10:33:17 - Views: 3399
การให้ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบสำหรับต้นพุทรา: วิธีการและสูตรที่เหมาะสม
Update: 2566/11/18 09:03:29 - Views: 3413
ทุเรียนใบไหม้ มีสาเหตุมาจากโรคเชื้อรา แก้ด้วย ไอเอส ราฝ่อ หยุดลุกลาม
Update: 2563/10/28 14:21:37 - Views: 3706
ฮิวมิค แอซิด: เทคโนโลยีใหม่สำหรับฟื้นฟูระบบรากและปรับปรุงดินในการปลูกมะปราง
Update: 2567/02/13 09:52:05 - Views: 3418
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรครากเน่า ใน ดอกโป๊ยเซียน ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/18 10:34:00 - Views: 3556
การป้องกันและกำจัดโรคเชื้อราในผักกาดหอม
Update: 2566/05/13 09:57:14 - Views: 3411
โรคราดำทุเรียน ป้องกันราดำทุเรียน แก้ราดำทุเรียน ติดต่อ ไลน์ @FarmKaset
Update: 2565/03/02 00:24:03 - Views: 3399
โรคมันสำปะหลัง มันสำปะหลังขาดธาตุสังกะสี ทำให้โตช้า พบจุดขาว หรือเหลืองบนใบอ่อน ใบย่น ขาดรุนแรงอาจตายได้
Update: 2564/03/07 00:03:14 - Views: 3558
การป้องกันและกำจัดโรคเชื้อราในพืชพริกไทย
Update: 2566/05/06 11:18:43 - Views: 3428
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022