[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - สาร CBD
20 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 2 หน้า, หน้าที่ 3 มี 0 รายการ

อาหาร ขนมใส่กัญชา กินอย่างไรจึงปลอดภัย
อาหาร ขนมใส่กัญชา กินอย่างไรจึงปลอดภัย
ไม่ถึง 1 สัปดาห์ หลังจากการ ปลดล็อก กัญชาออกจากยาเสพติด ข่าวสารเกี่ยวกับผู้ที่เสพและผู้รับประทานเมนูอาหารที่ปรุงโดยมีกัญชาเป็นส่วนประกอบแล้วเกิดผลกระทบกับสุขภาพเริ่มปรากฏให้เห็น

กินก๊วยจั๊บใส่กัญชาแล้วเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง มึนงงและอาเจียน คุกกี้หรือบราวนี่ใส่กัญชา ที่ทำให้เกิดอาการมึนงง คือ ส่วนหนึ่งของอาการแพ้และผลกระทบสุขภาพที่เริ่มมีข่าวให้เห็นแล้ว

สำหรับการเสพกัญชา การปลดล็อกล่าสุดไม่มีกฎหมายที่ควบคุมปริมาณการเสพเอาไว้ ล่าสุด ในรายงานของผู้ป่วยที่รับกัญชาเข้าไปเกินขนาดของโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานคร พบมีผู้ป่วย 4 ราย เป็นชายอายุน้อยสุด 16 ปี อายุมากสุด 51 ปี ชายวัย 51 ผู้นี้ เสียชีวิตหลังจากมีอาการแน่นหน้าอกหลังจากเสพกัญชา และมีอาการหัวใจล้มเหลว ส่วนเยาวชนชายอายุ 16 ปี เสพกัญชามากเกินขนาด ขณะนี้ยังรักษาอยู่ห้องไอซียูที่โรงพยาบาลหลวงพ่อทวีศักดิ์

อาหาร เครื่องดื่มแต่ละประเภทควรใส่กัญชาปริมาณแค่ไหน ประกาศกรมอนามัย เรื่อง การนำใบกัญชามาใช้ในการทำ ประกอบ หรือปรุงอาหาร ในสถานประกอบกิจการอาหาร (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2565 เมื่อวันที่ 9 มิถุนายน 2565 ได้ระบุคำแนะนำเอาไว้

ประกาศนี้ครอบคลุมถึง ตลาด สถานที่จำหน่ายอาหาร สถานที่สะสมอาหาร และการจำหน่ายในที่หรือทางสาธารณะ ตาม พ.ร.บ. การสาธารณสุข 2535

นพ. สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย เปิดเผยว่า ประกาศดังกล่าวมีการแก้ไขเพิ่มเติม โดยกำหนดให้สถานประกอบกิจการอาหาร มีการจัดเก็บใบกัญชาที่สะอาด ถูกสุขลักษณะ จัดเก็บเป็นสัดส่วน อยู่ในสภาพแวดล้อมที่เหมาะสม ไม่ทำให้เกิดเชื้อรา หรือเน่าเสียแทน สำหรับข้อกำหนดอื่น ๆ ในประกาศยังคงเหมือนเดิม คือ สถานประกอบการกิจการอาหาร ต้องควบคุม กำกับ และต้องจัดให้มีการสื่อสารข้อมูลด้านสุขภาพและต้องตระหนักด้านความปลอดภัยแก่ผู้บริโภค เกี่ยวกับการจำหน่ายอาหารที่มีการใช้ใบกัญชาเป็นส่วนประกอบของอาหาร

เงื่อนไขที่ร้านอาหาร หรือผู้ขายอาหารต้องทำเมื่อขายอาหารที่มีกัญชาเป็นส่วนประกอบ
จัดทำข้อความที่แสดงข้อมูลเป็นสถานประกอบกิจการอาหารที่มีการใช้กัญชา
แสดงรายการอาหารที่มีการใช้ใบกัญชาทั้งหมด
แสดงข้อมูลปริมาณการใช้ใบกัญชาเป็นส่วนประกอบต่อรายการอาหาร ตามประเภทการทำประกอบหรือปรุงอาหาร เช่น อาหารทอด แนะนำการใช้ใบกัญชาสด 1-2 ใบสดต่อเมนู อาหารประเภทผัด แกง ต้ม ผสมในเครื่องดื่ม แนะนำการใช้ใบกัญชาสด 1 ใบสดต่อเมนู
แสดงข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัย ในการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่มีใบกัญชาเป็นส่วนประกอบ
แสดงคำเตือนรายการอาหารที่มีการใช้ใบกัญชาให้แก่ผู้บริโภคที่มีความเสี่ยง หากรับประทานอาหารที่ใช้ใบกัญชาทราบ ด้วยการระบุข้อความ

- เด็กและวัยรุ่นช่วงอายุน้อยกว่า 18 ปี ควรหลีกเลี่ยงการบริโภคอาหารที่มีส่วนผสมของกัญชา เช่น ขนม อาหารและเครื่องดื่ม

- สตรีมีครรภ์ และสตรีให้นมบุตรไม่ควรรับประทาน

- หากมีอาการผิดปกติ ควรหยุดรับประทานทันที

- ผู้ที่แพ้หรือไวต่อสารเตตราไฮโดรแคนนาบินอล (THC) หรือสารแคนนาบิไดออล (CBD) ควรระวังในการรับประทาน

- อาจทำให้ง่วงซึมได้ ควรหลีกเลี่ยงการขับขี่ยานพาหนะ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักรกล

6. ห้ามแสดงข้อความหรือโฆษณาสรรพคุณในการป้องกันหรือรักษาโรค

อาหารใส่กัญชา กินอย่างไรให้ปลอดภัย
ผศ.นพ.สหภูมิ ศรีสุมะ หัวหน้าสาขาวิชาเภสัชวิทยาและพิษวิทยา คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ให้ข้อมูลในรายการมหิดล แชนแนล เมื่อเดือน ธ.ค. 2564 ว่า การใช้กัญชาในการปรุงอาหารของคนไทย ที่พบเห็นได้ทั่วไป หลัก ๆ คือ ประเภทน้ำซุป ในก๋วยเตี๋ยว ซึ่ง คำแนะนำข้อแรก คือ อย่าใช้ช่อดอก เนื่องจากมีปริมาณของสาร THC สูง

เราเจอพะแนงไก่ใส่ช่อดอกแล้วน็อคมา บางคนบอกกินแกงไม่เป็นไร แต่คนสมัยก่อนเขาใส่ใบ

สำหรับการทำอาหารประเภทน้ำซุป ตัวสารออกฤทธิ์ที่ใช้เป็นยาหรือว่าเป็นตัวสารเสพติด ละลายน้ำไม่ค่อยเก่ง มักจะใช้ใบสดไปต้มกับน้ำ แต่สามารถสร้างกลิ่นได้ดี โดยสูตรดั้งเดิมของคนไทยใช้ใบเป็นหลัก เช่น แกง พะโล้ ไข่เจียว บางร้านอาหารนำไปทอดกรอบ ซึ่งอาหารกลุ่มทอด ปริมาณสารจะออกมามากกว่าเมนูอื่น

โดยทั่วไป ในอาหารมีคำแนะนำในเบื้องต้นอย่าให้ถึง 5 ใบต่อวัน สำหรับผู้ไม่มีโรคประจำตัว และแต่ละคนจะทนต่อสารไม่เท่ากัน ให้ลองให้ปริมาณที่น้อยที่สุดก่อน

สำหรับคุกกี้กัญชา จะมีสารของกัญชาเยอะหรือไม่ ผศ.นพ.สหภูมิ บอกว่าในกลุ่มขนมแปรรูป ในต่างประเทศรัฐที่เปิดเสรีเพื่อสันทนาการ เน้นการใส่สาร THC ค่อนข้างเยอะ ซึ่งใช้ช่อดอกมาสกัดสารด้วยน้ำมันเพื่อให้ระเหิดตัว ทำให้ปริมาณของสารเข้มข้นมากและเป็นลักษณะคล้ายเนยหรือขี้ผึ้ง ซึ่งนำมาแปรรูปเป็นเบเกอรี่ คุกกี้ บราวนี่ เป็นต้น

ผศ.นพ.สหภูมิ ให้ข้อมูลว่า โดยทั่วไปแล้วในรัฐที่ใช้กัญชาเพื่อสันทนาการ กำหนดปริมาณไว้ที่ ต่อหนึ่งหน่วยบริโภคสาร THC อย่าให้เกิน 5 มิลลิกรัม การกินหนึ่งครั้ง แนะนำกินปริมาณเท่านี้ แต่ในรัฐที่เปิดเสรีมากก็พบคุกกี้ที่มีปริมาณสาร THC เข้มข้น คือ 20 มิลลิกรัมต่อ 1 ชิ้น หากกินให้ได้หนึ่งหน่วยบริโภค ต้องตัดคุกกี้ออกเป็น 4 ชิ้น

หลักการบริโภคเพื่อการสันทนาการ จะมีระยะเวลาการออกฤทธิ์ กินแล้วต้องรอการดูดซึมในเวลาประมาณครึ่งชั่วโมง จึงจะรับประทานชิ้นต่อไปได้

ส่วนบราวนี่กัญชา ในประเทศเปิดเสรีกัญชา ถือเป็นของ "ฮาร์ดคอร์" ต่อหนึ่งหน่วยบริโภค ต้องแบ่งรับประทาน 16 ชิ้น เว้นแต่ละชิ้น 30 นาที เช่นกัน

คำแนะนำก่อนบริโภค
ปัญหาการรับสาร THC เกินขนาด มีพบในต่างประเทศเช่นกัน การใช้โดยทั่วไปฤทธิ์ของผู้บริโภค คือ ต้องการรู้สึกถึง อาการเคลิ้ม ๆ เมา ๆ แต่ถ้ามากเกินไป จะมีอาการเห็นภาพหลอน รู้สึกกระวนกระวาย หงุดหงิด ซึ่งจะเป็นอาการที่ไม่รู้ตัว หรืออาการใจสั่น มึนศีรษะ คลื่นไส้

ฤทธิ์ที่เราเจอบ่อย ๆ เมื่อมาถึงโรงพยาบาลแล้ว คือ ชีพจรเร็ว ปกติคนเราชีพจร 60-100 แต่ แต่ที่เจอเร็วได้ถึงเกือบสองเท่าของพื้นฐานปกติ คือ 150-180 ครั้งต่อนาที กลุ่มที่มีโรคหัวใจเดิมจะทนกับอัตราขนาดนี้ไม่ได้ นายแพทย์จากมหิดล กล่าวถึงผลกระทบทางสุขภาพหากมีการบริโภคในปริมาณที่ไม่เหมาะสม

อีกกลุ่มอาการที่พบ คือ ความดันแกว่ง การไม่สามารถควบคุมกล้ามเนื้อตัวเองได้ ทำให้ไม่สามารถทรงตัวได้ และอาการล้มหมดสติ

ผศ.นพ.สหภูมิ กล่าวว่า หากเริ่มมีอาการผิดปกติ ไม่แนะนำให้รอ ให้ไปโรงพยาบาลทันที เพราะฤทธิ์กัญชาจากการบริโภคมีฤทธิ์นาน ต่างจากการสูบที่เพียง 1-2 ชม. ฤทธิ์จะหมดแล้ว

สำหรับคำแนะนำก่อนบริโภคสำหรับผู้ลองใช้ ผศ.นพ.สหภูมิ แนะนำ ต้องตรวจสอบร้านที่ได้มาตรฐาน น่าเชื่อถือ สั่งเมนูมาตรฐานเพราะได้รับอนุญาตมาให้ใช้ผลิตภัณฑ์ ไม่ใช้ช่อดอก ส่วนการบริโภคขนม ต้องทราบที่มา ปริมาณของกัญชาที่ใส่


ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..
แปรรูปผลิตภัณฑ์กัญชาขาย​ ลดปัญหาผลผลิตล้นตลาด​
แปรรูปผลิตภัณฑ์กัญชาขาย​ ลดปัญหาผลผลิตล้นตลาด​
กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรไทยโนนมาลัย จ.บุรีรัมย์ ต่อยอดแปรรูปผลิตภัณฑ์สมุนไพรกัญชาจำหน่ายสร้างรายได้ ลดผลกระทบปัญหาผลผลิตล้นตลาดหลังปลดล็อคให้ประชาชนปลูกดูแลสุขภาพตัวเองได้ในครัวเรือน ทั้งรองรับการเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพที่หลายภาคส่วนกำลังผลักดัน

(17 มิ.ย.65) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรไทยโนนมาลัย อ.คูเมือง จ.บุรีรัมย์ ซึ่งเป็นหมู่บ้านต้นแบบโครงการกัญชา 6 ต้น ได้ต่อยอดแปรรูปผลิตภัณฑ์กัญชาสมุนไพรไทย เช่น ยาดม ยาหม่อง น้ำมันกัญชา ยาสีฟัน และสบู่ จำหน่ายให้กับประชาชนและนักท่องเที่ยวเพื่อสร้างรายได้เสริม ลดปัญหาผลผลิตล้นตลาดและราคาที่อาจจะต่ำลง หลังจากมีการปลดล็อคกัญชา กัญชง ออกจากบัญชียาเสพติด และให้ประชาชนสามารถปลูกในครัวเรือนเพื่อดูแลรักษาสุขภาพตัวเองได้ ซึ่งก็เป็นผลดีกับประชาชนสามารถเข้าถึงกัญชาได้ง่ายขึ้น แต่เชื่อว่าในอนาคตหากผลผลิตมีจำนวนมากก็จะไม่สามารถขายได้ หรือราคาก็จะลดลง จึงต้องวางแผนไว้รองรับด้วยการนำส่งต่างๆ ของกัญชาที่เหลือจะป้อนให้กับ รพ.สต. มาผลิตหรือแปรรูปเป็นผลผลิตภัณฑ์ชุมชนเพื่อลดผลกระทบที่จะตามมาได้ อีกทั้งขณะนี้หลายภาคส่วนก็อยู่ระหว่างผลักดันให้เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวสายสุขภาพ และแหล่งเรียนรู้ ก็จะทำให้วิสาหกิจชุมชนสามารถขายผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกัญชาได้

นายวิไล คำพิบูล หนึ่งในสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสมุนไพรไทยโนนมาลัย ยอมรับว่า การปลดล็อคกัญชาออกจากบัญชียาเสพติดเป็นพืชสมุนไพร ก็เป็นสิ่งที่ดีต่อประชาชนจะได้เข้าถึงกัญชาในการดูแลสุขภาพตัวเองได้สะดวกมากขึ้น แต่ก็อาจจะมีผลกระทบกับวิสาหกิจชุมชนที่ขออนุญาตปลูกก่อนหน้านี้ เพราะช่วงนี้ราคาใบสดกัญชาก็เริ่มลดลงแล้ว จากช่วงแรกๆ ขายได้กิโลกรัมละ 15_500 บาท ลดเหลือกิโลกรัม 5_000 บาท ปัจจุบันเหลือประมาณกิโลกรัมละ 2_000 บาท จึงจำเป็นต้องวางแผนรองรับด้วยการนำมาแปรรูปจำหน่าย เพื่อเป็นอีกช่องทางหนึ่งที่จะสามารถสร้างรายได้จากกัญชาได้



ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..
 5 ประโยชน์ของกัญชา ที่น่าสนใจ
5 ประโยชน์ของกัญชา ที่น่าสนใจ
กัญชา ชื่อพืชคุ้นหูที่ถูกระบุในฐานะยาเสพติดมาอย่างยาวนาน แต่เมื่อไม่นานมานี้กัญชาก็ได้ถูกยอมรับอนุญาตให้สามารถนำมาใช้เพื่อการรักษา และเพื่อความผ่อนคลายได้โดยยังอยู่ภายใต้การควบคุมตามกฎหมายเพื่อให้ปลอดภัยต่อผู้ใช้งาน และไม่ก่อให้เกิดภาวะที่ประชาชนจะเสพติดจนเป็นอันตรายต่อร่างกาย และจิตใจได้ จึงไม่น่าแปลกใจที่จะมีทั้งร้านอาหาร คาเฟ่ รวมไปถึงผลิตภัณฑ์ที่ทยอยออกสินค้าใหม่ออกมาเพื่อเอาใจ สายเขียว ให้ได้เปิดประสบการณ์พืชทางเลือกใหม่กันมากขึ้น เลยขอรวบรวมประโยชน์ของกัญชา ว่าสรรพคุณกัญชานั้นจะมีอะไรที่น่าสนใจ และมีผลิตภัณฑ์อะไรในท้องตลาดที่เอาสรรพคุณของกัญชามาใช้ประโยชน์กันบ้าง

1.สรรพคุณกัญชา : ช่วยให้ผ่อนคลาย ประโยชน์ของกัญชาที่มีฤทธิ์ช่วยให้ผ่อนคลาย
เรามักจะเคยได้ยินกันว่าคนที่เสพกัญชาเข้าไปมักจะหัวเราะ อารมณ์ดี ร่าเริงผิดปกติ เพราะที่จริงแล้วในกัญชามีสาร Tetrahydrocannabinol เป็นสารที่ออกฤทธิ์ช่วยให้รู้สึกผ่อนคลายได้มากขึ้น อีกทั้งสารดังกล่าวยังมีฤทธิ์ช่วยให้นอนหลับได้ง่ายและนานขึ้นด้วย จึงทำให้ประโยชน์ของกัญชาสามารถช่วยผ่อนคลายความเครียดได้นั่นเอง

2.สรรพคุณของกัญชา : ช่วยให้เจริญอาหาร ประโยชน์ของกัญชาที่มีฤทธิ์ช่วยให้เจริญอาหาร
นอกจากสารข้างต้นจะทำให้รู้สึกผ่อนคลายแล้ว สารดังกล่าวยังทำให้กัญชามีสรรพคุณช่วยให้เจริญอาหารได้อีกด้วย โดยการใช้สารชนิดนี้จะถูกนำไปผสมกับสาร Dronabinol เพื่อใช้กระตุ้นให้รู้สึกอยากอาหารมากขึ้นในกลุ่มผู้ป่วยมะเร็งที่ได้รับการรักษาโดยใช้วิธีเคมีบำบัด และผู้ป่วยโรคเอดส์ พบว่าการใช้สรรพคุณกัญชาที่ได้นี้ช่วยให้กระตุ้นการอยากอาหารได้มากขึ้น

3.สรรพคุณของกัญชา : ต้านอาการซึมเศร้า ประโยชน์ของกัญชาที่มีฤทธิ์ช่วยต้านอาการซึมเศร้า
ในกัญชาจะมีสารชนิดหนึ่งที่ชื่อว่า Cannabinoids ที่ออกฤทธิ์ช่วยปรับสมดุลร่างกาย ทำให้กัญชามีสรรพคุณช่วยต้านอาการซึมเศร้าได้โดยเฉพาะอาการซึมเศร้าในผู้สูงวัยที่มีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับฮอร์โมน นอกจากนี้สรรพคุณของกัญชายังช่วยปรับความกระวนกระวายใจให้น้อยลง ปรับให้จิตใจสงบนิ่งได้มากขึ้น ช่วยให้ลดการแสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าวทางอารมณ์ได้มากขึ้นถ้าหากใช้ในปริมาณที่เหมาะสมเท่านั้น

4.สรรพคุณของกัญชา : ช่วยคลายกล้ามเนื้อ ประโยชน์ของกัญชาที่มีฤทธิ์ช่วยคลายกล้ามเนื้อ
ประโยชน์ของกัญชานอกจากช่วยเจริญอาหาร ทำให้รู้สึกผ่อนคลาย และต้านอาการซึมเศร้าและ สรรพคุณของกัญชายังสามารถช่วยคลายกล้ามเนื้อ และบรรเทาอาการปวดได้อีกด้วย สารในกัญชาทั้ง Tetrahydrocannabinol และ Cannabinoids นั้นมีส่วนช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ ที่เกี่ยวกับการบาดเจ็บกล้ามเนื้อทั้งการผ่อนคลายเนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ บรรเทาอาการปวดเฉียบพลันในกล้ามเนื้อ และการลดอาการอักเสบถือเป็นประโยชน์ของกัญชาที่ยอดเยี่ยมมากที่เดียว

5.สรรพคุณของกัญชา : ยับยั้งเซลล์มะเร็ง ประโยชน์ของกัญชาที่มีฤทธิ์ช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง
แม้จะมีข่าวออกมาพักใหญ่เกี่ยวกับประโยชน์ของกัญชาในการช่วยยับยั้งเซลล์มะเร็ง และอาจจะมีผลช่วยรักษาโรคมะเร็งได้ เพราะในกัญชาจะมีสาร Tetrahydrocannabinol ที่เชื่อว่าสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งปอดชนิด adenocarcinoma ได้ แต่สรรพคุณของกัญชาในข้อนี้ก็ยังอยู่ในขั้นตอนการวิจัยเพื่อให้ทราบผลที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดว่าประโยชน์ของกัญชาสามารถยับยั้งเซลล์มะเร็งได้หรือไม่

ประโยชน์ของกัญชาสามารถสร้างผลิตภัณฑ์กัญชาสรรพคุณดีที่น่าสนใจ
ทั้งนี้แม้ว่าประโยชน์ของกัญชาจะมีอยู่มาก แต่กฎหมายของไทยยังจำกัดการครอบครอง สายพันธุ์ที่อนุญาตใช้ทั้งในการรักษา และเชิงพาณิชย์ อีกทั้งผลิตภัณฑ์ ร้านค้า คาเฟ่ที่จะมีผลิตภัณฑ์กัญชาวางจำหน่ายจะต้องได้รับอนุญาตอย่างถูกต้อง และต้องขายกัญชาในความเข้มข้นที่กฎหมายกำหนด โดยปัจจุบันผลิตภัณฑ์ที่มีส่วนผสมของกัญชายา (ไม่นับรวมการขายในร้านอาหาร และคาเฟ่) ที่อนุญาตให้จำหน่ายตามประกาศของกระทรวงสาธารณสุขมี 4 ประเภท ได้แก่

1. ยาน้ำมันกัญชาที่เป็นยาปัจจุบันที่มีประโยชน์จากกัญชามีทั้งหมด 3 สูตรได้แก่ น้ำมันสกัดที่มีสาร Tetrahydrocannabinol และ Cannabinoids ในอัตรา 1:1_ น้ำมันสกัดที่มีสาร Tetrahydrocannabinol สูง และน้ำมันสกัดที่มีสาร Cannabinoids สูง

2. ตำรับยากัญชาแผนไทยที่ใช้ประโยชน์ของกัญชาไปรวมกับสมุนไพรอื่นเพื่อรักษา และบรรเทาอาการโรคต่าง ๆ โดยสูตรยาเหล่านี้จะอยู่ในตำรายาแผนไทยตามที่ประกาศของกระทรวงสาธารณสุข เช่น ยาศุขไสยาสน์ ยาแก้ลมแก้เส้น ยาทำลายพระสุเมรุ เป็นต้น

3. น้ำมันกัญชาตำรับหมอเดชา ที่มีสรรพคุณของกัญชาตามคำสั่งของแพทย์แผนไทยที่ผลิตโดยกองพัฒนาแผนยาไทยและสมุนไพร กรมการแพทย์แผนไทย และแผนทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข

4. ยาตำรับที่ปรุงขึ้นโทยแพทย์แผนไทย และแพทย์แผนไทยประยุกต์ที่สามารถดึงเอาประโยชน์ของกัญชามาใช้ได้อย่างเหมาะสม โดยแพทย์ที่ปรุงยาจะต้องได้รับการรับรองจาก กรมการแพทย์แผนไทย และแผนทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข

แม้ประโยชน์ของกัญชาจะสามารถช่วยบรรเทาอาการต่าง ๆ ได้มาก แต่สมุนไพรทุกอย่างย่อมมีทั้งข้อดีและข้อเสียถ้าหากได้รับมากจนเกินไป ดังนั้นก่อนจะพิจารณาการใช้ประโยชน์จากกัญชาก็อยากจะขอให้ลองศึกษาข้อมูลให้ถี่ถ้วน และเลือกใช้ผลิตภัณฑ์กัญชาที่เหมาะสมก็จะเกิดประโยชน์ต่อสุขภาพได้มากที่สุด

ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..

สำหรับผู้ผลิตสินค้าที่มีส่วนผสมของกัญชา-กัญชง ที่สนใจตรวจสารสำคัญ ของกัญชา-กัญชง สามารถส่งตัวอย่างเข้าตรวจวิเคราะห์กับ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ได้ที่ลิงค์ นี้ http://ไปที่..link..
อย.แนะวิธีการจดแจ้งเครื่องสำอาง ที่มีส่วนผสมของกัญชา กัญชง
อย.แนะวิธีการจดแจ้งเครื่องสำอาง ที่มีส่วนผสมของกัญชา กัญชง
“กัญชา” เป็นพืชสมุนไพรมากคุณค่า นอกจากจะมีประโยชน์ทางการแพทย์แล้ว กัญชายังเป็นพืชสมุนไพรทางเลือกในวงการเครื่องสำอางระดับโลกอีกด้วย ปัจจุบันเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของกัญชา (Cannabis Beauty) กำลังได้รับความนิยมอย่างมาก ทั้งผลิตภัณฑ์บำรุงผิว (skincare) ผลิตภัณฑ์บำรุงผม ผลิตภัณฑ์น้ำหอมและเครื่องสำอางแต่งหน้า (Makeup) ฯลฯ

“CBD” หรือ Cannabidol คือส่วนหนึ่งของกัญชาที่ถูกไปใช้เป็นวัตถุดิบในวงการความสวยความงาม เนื่องจากสารชนิดนี้มีคุณสมบัติต่อต้านอาการอักเสบ ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ฟื้นบำรุง และปกป้องผิวจากมลภาวะและแสงแดด ช่วยเพิ่มคอลลาเจนฟื้นฟูผิวหน้าให้เรียบเนียน กระตุ้นการผลัดเซลล์ และสร้างผิวใหม่ ลดรอยแดง รอยดำดูจางลง พร้อมเติมความชุ่มชื้นให้ผิว ทำให้เครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของกัญชา (Cannabis Beauty) เป็นสินค้าขายดีในทั่วทุกมุมโลก

ผู้ผลิตสินค้าเครื่องสำอางในเมืองไทยต่างเล็งเห็นโอกาสทางการตลาดของสินค้ากลุ่มนี้ด้วยเช่นกัน ผู้ผลิตแต่ละรายตั้งใจพัฒนาสินค้าออกมาวางขายในอนาคต อย่างไรก็ตาม การผลิตสินค้าคงเวลาไม่นานเท่าไร หลายคนสงสัยว่า ขั้นตอนการยื่นจดทะเบียนเครื่องสำอางจากกัญชากับองค์การอาหารและยา (อย.) จะยุ่งยากพอๆ กับการขึ้นทะเบียนยาหรือไม่ สามารถหาคำตอบได้ ดังต่อไปนี้

อย.ปลดล็อกผลิตภัณฑ์สุขภาพจากกัญชา
ภญ.ปริณดา เตชะศิรินุกูล สำนักควบคุมเครื่องสำอางและวัตถุอันตราย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กล่าวว่า ปัจจุบัน อย.ปลดล็อกให้นำส่วนต่างๆ ของกัญชง กัญชา ที่ไม่มีวัตถุเสพติดนำมาใช้ประโยชน์ในรูปแบบผลิตภัณฑ์สุขภาพประเภทต่างๆ ที่ อย. กำกับดูแล ได้แก่ ยา อาหาร เครื่องสำอาง เครื่องมือแพทย์ ซึ่งแต่ละส่วนที่ อย. กำกับดูแลมีความแตกต่างกันในเรื่องขั้นตอนการรับขึ้นทะเบียน การรับจดแจ้ง

ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง เป็นสินค้าที่ อย. กำกับดูแล อยู่ในระดับความเสี่ยงต่ำ เพราะเป็นสินค้าที่ใช้ภายนอก หากสามารถแสดงหลักฐานได้ว่า สินค้าดังกล่าวมีความปลอดภัย สามารถปฏิบัติตามเงื่อนไขที่ อย. กำหนด ก็สามารถจดแจ้งทะเบียนสินค้ากับ อย.ได้เลย สังเกตได้ว่า การยื่นคำขอกับ อย. จะใช้คำไม่เหมือนกัน กรณีเครื่องสำอางใช้คำว่าจดแจ้ง หากเป็นผลิตภัณฑ์ยาจะใช้คำว่าขึ้นทะเบียน หมายความ เอกสารต่างๆ ที่นำมายื่นกับ อย.ต้องแสดงหลักฐานอย่างชัดเจน มีผลแล็บ ผลการวิจัยต่างๆ กรณีการจดแจ้งจะใช้กับผลิตภัณฑ์ที่ค่อนข้างปลอดภัยมีความเสี่ยงต่ำ ผู้ประกอบการที่มาขออนุญาตเพียงแค่การยื่นแจ้งแสดงความจำนงตามที่เงื่อนไข อย. กำหนด
เครื่องสำอาง

สินค้า “เครื่องสำอาง” ตามพระราชบัญญัติเครื่องสำอางของ อย. คือ วัตถุที่ใช้สำหรับทา ถู นวด โรย พ่น หยอด ใส่ อบ ฯลฯ กับส่วนภายนอกของร่างกายมนุษย์ รวมถึงการใช้กับฟันและเยื่อบุในช่องปาก โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อทำความสะอาด เพิ่มความสวยงาม หรือระงับกลิ่นกาย หรือปกป้องดูแลส่วนต่างๆ ของร่างกายให้อยู่ในสภาพดี รวมทั้งเครื่องประทินผิวต่างๆ แต่ไม่รวมเครื่องประดับและเครื่องตกแต่งซึ่งเป็นอุปกรณ์ภายนอกร่างกาย

หากผู้ประกอบการ ไม่รู้ว่าสินค้าที่ผลิตจัดอยู่ในกลุ่มเครื่องสำอางหรือเปล่า ก็ให้ดูคำนิยามตรงนี้ หากไม่ได้กับมนุษย์โดยตรง แต่ใช้กับสัตว์เลี้ยง จะไม่เข้านิยามเครื่องสำอาง เพราะ อย. ดูแลเครื่องสำอางที่ใช้กับมนุษย์และใช้บริเวณผิวหนังภายนอก ไม่สามารถใช้เครื่องมือฉีดเข้าไปในร่างกายได้ หากมีการผลักดันใต้เซลล์ผิวจะเกินนิยามของเครื่องสำอางทันที กรณีน้ำชง เช่น น้ำคอลลาเจน ก็ไม่อยู่ในกลุ่มเครื่องสำอาง แต่จัดอยู่ในประเภทอาหารหรือยา สินค้าเครื่องสำอางลงลึกได้มากที่สุดแค่ใช้กับช่องปากและฟัน เช่น ยาสีฟัน น้ำยาบ้วนปาก สเปรย์ระงับกลิ่นปาก จัดเป็นเครื่องสำอางได้ แต่สเปรย์สมุนไพรระงับเจ็บคอ ฉีดเข้าไปในลำคอ ก็ไม่ใช่กลุ่มเครื่องสำอาง

กรณีใช้น้ำมันกัญชงที่อนุญาตใส่ลงไปในยาสีฟัน จัดเป็นเครื่องสำอาง หากมีสวนล้างเข้าไปภายในร่างกาย ไม่นับเป็นเครื่องสำอางเช่นเดียวกัน เพราะวัตถุประสงค์หลักของเครื่องสำอางคือ เพื่อความสะอาดและความสวยงาม หากอ้างวัตถุประสงค์เพื่อบำบัดรักษาโรคหรือแสดงสรรพคุณส่งเสริมสุขภาพ ไม่นับว่าเป็นเครื่องสำอาง แม้จะใช้ภายนอกก็ตาม

ปัจจุบัน อย. มีหน่วยงานขึ้นมากำกับดูแลโดยตรง เรียกว่า กองผลิตภัณฑ์สมุนไพร หรือ cosmesutical ดูแลรับผิดชอบผลิตภัณฑ์ที่ใช้ภายนอก หวังผลในการเปลี่ยนแปลงสุขภาพแต่ไม่ถึงว่าเป็นยา สินค้าเครื่องสำอาง เพื่อความสะอาดและความสวยงาม ผู้ประกอบการสามารถขออนุญาตได้ที่กองผลิตภัณฑ์สมุนไพรโดยตรง หากแจ้งว่าเป็นเครื่องสำอาง ที่ช่วยรักษาโรคสะเก็ดเงิน แสดงว่าผู้ผลิตไม่มีความจริงใจกับผู้บริโภค เพราะการจดแจ้งเป็นเครื่องสำอาง ไม่สามารถอวดอ้างถึงสรรพคุณว่า เปลี่ยนแปลงร่างกายได้ เพราะเครื่องสำอางใช้แล้ว ทำให้ลักษณะการมองดูดีขึ้นกว่าเดิมเท่านั้น

สารเทอร์ปีน (Terpene) จะให้กลิ่นเฉพาะเป็นน้ำมันหอมระเหยสกัด ที่มีในกัญชง กัญชา นำมาใช้ประโยชน์กับผลิตภัณฑ์สำอาง น้ำหอม ที่เน้นกลิ่นหอมอะโรมาที่ช่วยให้ร่างกายผ่อนคลาย ปกป้องดูแลส่วนต่างๆ ของร่างกายให้อยู่ในสภาพดี อย่างเช่น ผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดด ในประเทศไทยผลิตภัณฑ์ป้องกันแสงแดดอยู่ในกลุ่มเครื่องสำอาง แต่ประเทศญี่ปุ่นจัดกลุ่มนี้อยู่ในสินค้ายา

หลักเกณฑ์แยกชนิดเครื่องสำอางของ อย.
ภญ.ปริณดา เตชะศิรินุกูล กล่าวว่า อย. มีหลักเกณฑ์การพิจารณาคุณสมบัติของสินค้าเครื่องสำอางจาก 3 ปัจจัยหลัก ได้แก่

1. วิธีใช้งาน ที่เน้นการใช้ภายนอกเท่านั้น
2. วัตถุประสงค์การใช้งานหรือสรรพคุณ ที่แสดงบนฉลาก เน้นทำความสะอาด เพื่อความสวยงาม สินค้ากำจัดสิวและแบคทีเรีย แม้ใช้ภายนอก แต่อ้างว่าสรรพคุณด้านบำบัดรักษา ก็ไม่ใช่สินค้าเครื่องสำอาง หากนำกัญชา กัญชง มาเป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางและนำมาขึ้นทะเบียน กองผลิตภัณฑ์สมุนไพร ไม่สามารถใช้สาร CBD THC เกินเงื่อนไขที่กำหนด มิฉะนั้น กลายเป็นสินค้ายาเสพติด ผิดกฎหมายเหมือนที่เคยเป็นมา
3. สูตรส่วนประกอบของสารที่แจ้งได้ ต้องอยู่ในตำราเครื่องสำอาง ในปัจจุบันมีการปลดล็อกบางส่วน ของพืชกัญชา กัญชงมาใช้เป็นเครื่องสำอางได้ ตามเงื่อนไขที่กำหนด
ขั้นตอนจดแจ้งสถานที่ผลิตเครื่องสำอาง

ผู้ประกอบการที่ต้องการจดแจ้งผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง จำเป็นต้องจดแจ้งสถานที่ผลิตด้วย สำหรับเครื่องสำอางที่มีกัญชา กัญชงเป็นวัตถุดิบ อย.อนุญาตให้เฉพาะผู้ผลิต ไม่อนุญาตให้ผู้นำเข้ามาจดแจ้ง เพื่อนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยได้ เพราะรัฐบาลส่งเสริมให้มีการผลิตภายในประเทศเท่านั้น ส่วนสถานที่ผลิต ต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์การผลิตเครื่องสำอางที่ อย.กำหนดไว้ หากเป็นผู้ประกอบการเครื่องสำอางที่มีพื้นที่ผลิตอยู่แล้ว จะใช้กัญชา กัญชงเป็นส่วนผสมเข้าไปด้วย ก็ไม่ต้องยื่นจดทะเบียนสถานที่ผลิตใหม่ เพราะถือว่าผ่านเกณฑ์มาก่อนแล้ว

สถานที่ผลิตเครื่องสำอางจากกัญชง กัญชา ต้องมีอย่างน้อย 2 ห้อง คือ ห้องผลิต และห้องเก็บวัตถุดิบ ไม่สามารถผลิตกลางแจ้งได้ ไม่อนุญาตให้ผลิตแบบเปิด ซึ่งสถานที่ผลิตดังกล่าวสามารถใช้บริเวณบ้านได้ แต่ต้องแยกสัดส่วนจากบริเวณที่อยู่อาศัยอย่างชัดเจน มีอุปกรณ์การผลิตที่ถูกหลักสุขอนามัย เมื่อเตรียมสถานที่ ตามหลักเกณฑ์เรียบร้อยแล้ว ผู้ประกอบการสามารถยื่นขอจดทะเบียนสถานที่ผลิตได้ ผ่านทางระบบออนไลน์ ก่อนยื่น ควรคุยกับเจ้าหน้าที่ อย.สักเล็กน้อย

การติดต่อประสานงานกับ อย.สามารถส่งข้อมูลผ่านทางออนไลน์ได้ทั้งหมด โดยเข้าไปที่ระบบ E submission ไป submit จัดส่งเอกสารประกอบคำร้อง เช่น บัตรประชาชน ทะเบียนบ้าน สำเนาจดทะเบียนบริษัทและร้านค้า หลังเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเอกสารแล้ว จะโทร.นัดตรวจเยี่ยมสถานที่จริง หากโรงงานอยู่ใน กทม. จะใช้เจ้าหน้าที่ อย.

หากอยู่ต่างจังหวัด จะเป็นเจ้าหน้าที่จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดเข้าไปตรวจสอบโรงงานในระยะเวลาไม่เกิน 20 วัน หากพบสถานที่ผลิตตรงตามตามหลักเกณฑ์ที่ อย.กำหนด ก็สามารถเริ่มต้นจดแจ้งสินค้าเครื่องสำอางได้เลย หากใครไม่สะดวกในเรื่องการสื่อสารออนไลน์ สามารถเขียนคำร้องยื่นกับ อย. หรือสาธารณสุขจังหวัดได้โดยตรง

หากได้รับการอนุมัติ ต้องเสียค่าธรรมเนียมจดแจ้งเครื่องสำอาง 900 บาท กรณีที่เป็นนิติบุคคลหรือประชาชนทั่วไป หากยื่นจดแจ้งในนามวิสาหกิจชุมชนจะได้ลดหย่อนใบจดแจ้ง เหลือ 500 บาท อย.จะประมวลผลต่อว่า สูตรการผลิตเหมาะสมหรือไม่ หากผ่านการอนุมัตให้มีการจดแจ้งทะเบียนเครื่องสำอางจะมีอายุการใช้งาน 3 ปี นับจากวันที่ออกใบรับจดแจ้ง

กัญชา กัญชง กฎหมายเดิม (ก่อน 16 ธันวาคม 2563)
กัญชา กัญชง จัดเป็น Narcotic natural and synthesis ซึ่งเป็นวัตถุห้ามใช้ลำดับที่ 306 ในบัญชีท้ายประกาศฯ ชื่อวัตถุต้องห้ามใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตเครื่องสำอาง พ.ศ. 2559 ซึ่งในสมัยก่อน ไม่สามารถใช้งานได้จนกระทั่งกฎหมายยาเสพติดถูกปลดล็อก จึงสามารถนำส่วนอื่นของกัญชา กัญชง ที่ไม่ใช่สารเสพติดมาใช้ประโยชน์ได้

ปัจจุบันกัญชาที่ยังเป็นสิ่งเสพติดอยู่คือ ช่อดอกและเมล็ดกัญชา ที่น่าภาคภูมิใจมากๆ ก็คือเมล็ดกัญชง ได้ถูกปลดล็อกแล้วสามารถนำมาใส่ในเครื่องสำอางได้ แต่เมล็ดกัญชายังนับเป็นสารเสพติดอยู่ไม่สามารถนำมาใช้ในเครื่องสำอางได้ กัญชา-กัญชงแตกต่างกันที่ ปริมาณสาร THC ไม่เกิน 1 เปอร์เซ็นต์ ถือเป็นกัญชง ถ้าเกินปริมาณที่กำหนด จัดเป็นกัญชา

ดังนั้น สามารถปลูกกัญชงและนำเมล็ดกัญชงหรือน้ำมันสกัดจากสารกัญชง มาใช้ในเครื่องสำอางได้ ส่วนอื่นๆ ของกัญชา เช่น เปลือก ลำต้น เส้นใย ราก ใบ กิ่ง ก้าน ยังนำมาใช้เป็นเครื่องสำอางได้ ในขณะนี้ อย. ได้ยกร่างกฎหมายเรื่องการใช้ประโยชน์ เปลือก ใบ ราก มาบดเป็นผงใส่ในเครื่องสำอาง ขณะนี้อยู่ระหว่างขั้นตอนการสอบถามความเห็นของผู้ประกอบการและประชาชน

ปัจจุบันเครื่องสำอางสามารถใส่ได้แค่เมล็ดกัญชงหรือสารสกัดจากเมล็ดกัญชงเท่านั้น ส่วนอื่นที่ปลดล็อกแล้ว เช่น ราก กิ่ง ใบ หรือแม้ทั้งสารสกัด CBD ที่มีสาร THC ไม่เกิน 0.2 อยู่ระหว่างการศึกษาข้อมูล ตอนนี้นำร่องให้ใช้น้ำมันสกัดจากเมล็ดกัญชงในการผลิตเครื่องสำอางได้แล้ว แต่อนุญาตให้ใช้เฉพาะผู้ผลิตในประเทศ และแหล่งผลิตที่ถูกกฎหมายเท่านั้น ไม่ได้อนุญาตให้มีการนำเข้า เพราะรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมเกษตรกรในประเทศ และใช้วัตถุดิบที่ปลูกในประเทศอย่างถูกกฎหมายเท่านั้น

เงื่อนไขใช้เมล็ดกัญชงในเครื่องสำอาง
อย.กำหนดสเปกว่า เมล็ดกัญชงหรือสารสกัดกัญชงที่นำมาใช้ในเครื่องสำอาง มี สาร THC ปนเปื้อนได้ไม่เกิน 0.2 เปอร์เซ็นต์ กรณีใช้ในเครื่องสำอาง กลุ่ม soft gelatin capsule เช่น น้ำมันมาใส่ในแคปซูลนุ่มๆ แล้วบีบทาเฉพาะจุด อาจมีการเสี่ยงของผู้บริโภคเกิดขึ้น จึงลดระดับ THC ในผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป ไม่เกิน 0.001 เปอร์เซ็นต์ รวมถึงผลิตภัณฑ์ในช่องปากและอื่นๆ เช่น ยาสระผม ยาระงับกลิ่นกาย ใส่น้ำมันเมล็ดกัญชงได้ แต่ THC ต้องน้อยกว่า 0.001 เปอร์เซ็นต์ ต้องใช้ภายนอกเท่านั้น จึงอยู่ในหลักเกณฑ์นี้ นอกเหนือจากนี้จัดอยู่ในกลุ่มยา

ติดฉลากเครื่องสำอางจากกัญชง
ภญ.ปริณดา เตชะศิรินุกูล กล่าวว่า หลัง อย. อนุญาตให้มีการจดแจ้งทะเบียนเครื่องสำอางแล้ว ต้องเพิ่มคำเตือนในฉลากเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของเมล็ดกัญชง ซึ่งสามารถใช้ใน 2 รูปแบบ คือ
รูปแบบทั่วไป เช่น แชมพู สบู่ ครีมบำรุงผิว ลักษณะนี้จะมีคำเตือน 2 อย่าง คือ ผลิตภัณฑ์นี้อาจก่อให้เกิดการแพ้ได้หากมีอาการผิดปกติขึ้นกรุณาหยุดใช้และปรึกษาแพทย์โดยด่วน

สำหรับผลิตภัณฑ์ที่มีความเสี่ยงมาก เช่น น้ำมันหยอด บางคนคิดว่ารับประทานได้ จะต้องเพิ่มคำเตือนว่า ห้ามรับประทาน ปัจจุบันก็มีคนมาขออนุญาตจดแจ้งเครื่องสำอางกับ อย.บ้างแล้ว แต่ยังไม่มีใครผ่านเพราะติดปัญหาเรื่องเอกสารประกอบการพิจารณาไม่ครบถ้วนชัดเจน
หลักเกณฑ์การรับจดแจ้ง

เอกสารประกอบการพิจารณา คือส่วนสำคัญที่สุดในการจดแจ้งเครื่องสำอางกับ อย. จำเป็นต้องมีเอกสารแสดงผลวิเคราะห์ปริมาณ THC ในวัตถุดิบ น้ำมันกัญชงที่จะใช้ผู้ประกอบการสามารถขอจากผู้ขายวัตถุดิบได้ว่า น้ำมันที่นำมาขายมีปริมาณ THC เท่าไร
จุดที่มีปัญหามากคือ เอกสารระบุแหล่งที่มาของวัตถุดิบต้องชัดเจน ซึ่งเป็นใบอนุญาตปลูกตามกฎหมายของ พ.ร.บ.ยาเสพติด รวมทั้งเอกสารการรับซื้อพืชกัญชงที่ออกด้วย อย. หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด ซึ่งเป็นรูปแบบใหม่ที่กองสารเสพติดเพิ่มเข้ามา ต้องแนบเข้ามาด้วย ที่ผ่านมา ผู้ประกอบการหลายคนไม่มีเอกสารยืนยัน อย. ไม่รู้ว่าวัตถุดิบมาจากไหน ก็ไม่สามารถอนุญาตให้จดแจ้งได้

นอกจากนี้ ยังมีหนังสือรับรอง ออกโดยคณะกรรมการบริษัท รับรองกับ อย. ว่าจะผลิตเครื่องสำอาง โดยไม่อวดอ้างสรรพคุณเกินจริงของเครื่องสำอาง หากเกินจริง ยินยอมให้ อย. ยกเลิกเพิกถอนใบอนุญาตได้ แนบฉลากประกอบการพิจารณา สุดท้ายต้องคำนวณปริมาณ THC จากผลิตภัณฑ์สำเร็จรูป โดยคำนวณจากปริมาณจากสารที่วิเคราะห์ได้ และเปอร์เซ็นต์ที่ใช้ในสูตร

ผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางที่ใช้กัญชงสามารถใช้ชื่อ hemp หรือ กัญชง เป็นส่วนหนึ่งของชื่อเครื่องสำอางได้ โดยระบุชัดเจนว่าได้มาจากส่วนใด ปัจจุบันอนุญาตให้ใช้แค่เมล็ด ฉะนั้น ต้องตั้งชื่อให้ชัดเจนว่า Hemp seed oil จะใช้ส่วนไหนต้องแจ้งให้ถูกต้อง ไม่ใช้แค่ชื่อ hemp หรือ บอกว่า สบู่กัญชงลอยๆ ต้องแจ้งให้ชัดเจนว่า สบู่น้ำมันเมล็ดกัญชง หากเป็นน้ำมันสกัดจากกัญชง ต้องระบุว่า hemp oil bodycare หรือน้ำมันนวดผิว ชื่อต้องบอกผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางด้วย เพราะกลัวผู้บริโภคจะนำไปใช้ผิด ชื่อต้องอยู่ในเครือข่ายเครื่องสำอาง ไม่อ้างบำบัดบรรเทารักษาป้องกันโรค

กรณีผู้ประกอบการเป็นผู้ปลูกเองหรือเป็นแค่ผู้ซื้อวัตถุดิบมาใช้ก็ตาม หากไม่มั่นใจว่าวัตถุดิบที่นำมาใช้มีปริมาณสาร THC เกินกว่าที่กฎหมายกำหนดหรือไม่ สามารถดำเนินงานตรวจสอบได้กับห้องปฏิบัติการ

การโฆษณาเครื่องสำอาง
หลังจาก อย.อนุมัตการจดแจ้งเครื่องสำอางเรียบร้อยแล้ว สิ่งที่ผู้ประกอบควรตระหนักคือ การโฆษณา เนื่องจาก อย.ตรวจพบความผิดของการโฆษณาเครื่องสำอางเยอะมาก ทางสื่อสังคมทางออนไลน์ต่างๆ ทั้งนี้ การโฆษณาเครื่องสำอางไม่ต้องขออนุญาต ผู้ประกอบการสามารถลงโฆษณาไปก่อนได้ หากเป็นยาและอาหารต้องให้เจ้าหน้าที่ อย.ดูก่อน สำหรับเครื่องสำอางลงไปก่อนได้ แต่ต้องไม่ก่อให้เกิดผลเสียหรือไม่เป็นธรรมต่อผู้บริโภค ไม่ว่าจะเป็นแหล่งกำเนิด คุณภาพ สภาพ ปริมาณ ลักษณะตัวเครื่องสำอางเอง และสิ่งที่โฆษณาต้องไม่เกินจริง

น้ำมันสกัดจากเมล็ดกัญชงทำให้ผิวนุ่มได้ แต่ไม่สามารถแก้โรคสะเก็ดเงินได้ เพราะเป็นการโฆษณาเครื่องสำอางเกินจริง กลายเป็นยารักษาโรคแทน และไม่สามารถโฆษณาเกี่ยวกับการบรรเทารักษาโรค กรณีมีเงินอยากลงโฆษณา แต่ไม่รู้จะถูกต้องหรือไม่ สามารถให้ อย. ช่วยออกความคิดเห็นได้ โดยมีค่าใช้จ่ายเพิ่มเติม สำหรับสื่อสิ่งพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง มีค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 5_000 บาท หากเป็นสื่ออิเล็กทรอนิกส์ โทรทัศน์ สื่อโซเชียลต่างๆ เสียค่าใช้จ่ายอยู่ที่ 10_000 บาท ระยะเวลาพิจารณาทำการ 60 วัน หากอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม สามารถค้นหาได้ในกูเกิ้ล พิมพ์คำว่า อย. เครื่องสำอาง นี่เป็นเว็บไซต์ทางการของกลุ่มควบคุมเครื่องสำอาง ภายในเว็บไซต์นี้จะมีรายละเอียดเกี่ยวกับ การขออนุญาต แบบฟอร์มคำขอ คู่มือประชาชน

อย.อยากเน้นย้ำให้ผู้บริโภค ตรวจสอบเลขที่ใบรับจดแจ้ง ของ อย. หรือเลขที่ใบรับอนุญาตต่างๆ ของ อย. มีช่องทางทั้งหมด 4 ช่องทาง 1. เป็นเพื่อนกับ อย. @fdathai ทางไลน์ 2. แอปพลิเคชั่น อย. สมาร์ท 3. เว็บไซต์หลัก fda.moph.go.th 4. เว็บไซต์ oryor.com ซึ่งข้อมูลเหล่านี้จะช่วยให้คนไทยเข้าถึงข้อมูลที่เป็นประโยชน์ในการพิจารณาเลือกซื้อสินค้าเครื่องสำอางที่มีคุณภาพ ถูกต้อง และปลอดภัยได้อย่างสบายใจ

ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..
สำหรับผู้ผลิตสินค้าที่มีส่วนประกอบของกัญชา สามารถส่งตัวอย่างเข้าตรวจวิเคราะห์กับ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ได้ที่ลิงค์นี้ http://ไปที่..link..

สำหรับผู้ผลิตสินค้าที่สนใจตรวจฉลากโภชนาการของผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง จาก กัญชา-กัญชา สามารถส่งตัวอย่างเข้าตรวจวิเคราะห์กับ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ได้ที่ลิงค์นี้ http://ไปที่..link..


สารสำคัญ ในกัญชา มีอะไรบ้าง
สารสำคัญ ในกัญชา มีอะไรบ้าง
สารสำคัญในกัญชา บทความนี้จะพาทุกคนมาทำความรู้จักกับสารสำคัญในกัญชา มีอะไรบ้าง
สารสำคัญในกัญชา แต่ละตัวสำคัญอย่างไร ตัวใหนทำไห้เมา ตัวใหนทำไห้ติด และตัวใหนใช้รักษาโรค เราจะพาทุกท่านมาหาคำตอบในบทความนี้กันคะ

สารสำคัญในกัญชามีหลายร้อยชนิด แบ่งออกเป็นกลุ่มหลักๆ ได้3กลุ่ม
1)สารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids)
2)สารเทอร์ปีน (Terpenes)
3)สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid)

กลุ่มที่ 1 สารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids)
เป็นสารสำคัญในกัญชา ซึ่งสารในกลุ่มนี้เป็นสารประกอบทางเคมี ที่มีมากกว่า 500 ชนิด เป็นสารที่ต้นกัญชาสามารถผลิตได้ และเก็บสะสมไว้ในไตรโคม และต่อมขน ที่มีอยู่มากบริเวณ ดอกกัญชาตัวเมีย

สารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids) มากกว่า 100 ชนิด จะมีแค่ในต้นกัญชาเท่านั้น ไม่สามารถหาได้จากพืชนิดอื่น สาร (Cannabinoids) ที่ได้จากกัญชา จะเรียกว่า ไฟโตแคนนาบินอยด์ เพื่อไม่ไห้สับสนระหว่าง สารแคนนาบินอนยด์ที่ร่างการมนุษย์สร้างขึ้น

หลายคนสงสัยว่ากัญชาสร้างสารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids) ที่เหมือนกับสารที่ร่างกายสร้างได้ด้วยหรือ คำตอบคือ เกือบเหมือนแต่ไม่เหมือน แต่ที่สำคัญเป็นสารที่ใช้แทนกันได้ สารโฟโตแคนนาบินอยด์จากกัญชา มีโครงสร้าง ทางเคมีคล้ายกับสาร แคนนาบินอยด์ ที่ร่างกายสร้างขึ้น เพื่อใช้งานในระบบทำงานของร่างกาย เรียกว่า ระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ Endocannabinioid System (ESC)

ระบบเอ็นโดแคนนนาบินอยด์
คือการรักษาสมดุลของร่างกายเพื่อไห้ทำงานเป็นปกติ โดยการควบคุมการทำงานต่างๆทั้งระบบประสาท กระบวนการทางกายภาพ การตอบสนองต่อความเจ็บปวด ความอยากอาหาร การย่อยอาหาร อารมณ์ การอักเสบต่างๆ ระบบภูมิคุ้มกัน ระบบประสาทสำผัส การทำงานของหัวใจและอื่นๆระบบต่างๆจะถูกควบคุมด้วยระบบเอ็นโดแคนนาบินอยด์ หากร่ายกายมนุษย์ไม่สามารถสร้างแคนนาบินอยด์ ได้หรือสร้างได้น้อย

ร่างกายเกิดอาการผิดปกติ อาจเกิดโรคต่างๆขึ้นได้ การใช้สารแคนนาบินอยด์ ที่ได้จากกัญชาไปทดแทน จึงช่วยรักษาและป้องกันโรค ที่เกิดจากกระบวนการบกพร่องของสารแคนนาบินอยด์

สารแคนนาบินอยด์ จากต้นกัญชา
สารแคนนาบินอยด์ (Cannabinoids) เป็นสารสำคัญในกัญชา ตัวที่รู้จักและมีการศึกษามากในปัจจุบันได้แก่สาร THC_CBD_CBC_CBN_CBV โดยมีข้อมูลไห้พบมากที่สุดได้แก่ สารเดลตร้า 9 เดลตร้า ไฮโดรแคนนาบินอยด์ (THC) และแคนนาบิไดออล (CBD)

ซึ่งทั้ง2ชนิด มีโครงสร้างทางเคมีที่คล้ายกันมาก โดยทั้ง2ประกอบด้วย คาร์บอน 21 อะตอม ไฮโดรเจน 30 และออกซิเจน 2 อะตอม แต่ที่มันต่างกันก็เพราะ การเรียนตัวของอะตอมไม่เหมือนกัน

สารเดลตร้า 9 เดตร้า ไฮโดรเเคนนาบินอยด์ (THC) สารกลุ่มนี้เป็นสารที่กลุ่มผู้ใช้เพื่อการนันทนาการต้องการ เพราะจะทำไห้เกิดอาการเมา หรือมีการผ่อนคลายทางร่างกาย ยิ่ง THC สูง ยิ่งเกิดอาการเมา

ซึ่งมีผลข้างเคียงจากการเสพติดตามมามากมายเช่น อาการปากแห้ง กระหายน้ำ หัวใจเต้นเร็ว ตาแดง สูญเสียความทรงจำชั่วขณะ ประสาทหลอน หูแว่ว

สารแคนนาบิไดออล (CBD) เป็นสารสำคัญในกัญชา สารตัวนี้จะทำไห้รู้สึกผ่อนคลายเช่นกัน แต่จะไม่ทำไห้มีผลต่อสุขภาพจิตประสาท ไม่ทำไห้เกิดอาการติด และยังช่วยลดอาการทางจิตประสาท ที่เกิดจากสาร ลดอาการวิตกกังวล ลดอาการคลื่นไส้อาเจียน ป้องกันโรคนอนไม่หลับ ลดอาการชักจากโรคปอกประสาทเสื่อม และโรคลมชักต่างๆ

กลุ่มที่ 2 สารเทอร์ปีน (Terpents)
เป็นสารสำคัญในกัญชาอีกชนิดหนึ่ง เป็นสารประกอบอโรมาติก เป็นสารทำไห้มีกลิ่นเฉพาะตัว ทำไห้เราสามารภแยกสายพันธ์ุกัญชาได้จากกลิ่น ซึ่งกลิ่นเหล่านี้ทำไห้กัญชามีเสน่ห์แตกต่างกันไป กัญชาจะมีกลิ่นและรสชาติที่โดดเด่น มีทั้ง ส้ม เบอร์รี่ มิ้น และอื่นๆอีกมากมาย

สิ่งที่ทำไห้ปริมาณสารเทอปีนมีมาก หรือ น้อย ประกอบด้วยหลายปัจจัย เช่น สภาพแวดล้อมที่ปลูก อุณภูมิ ปุ๋ย แสงไฟที่ได้รับ อายุการเก็บเกี่ยว การบ่ม การเก็บรักษา สิ่งต่างๆเหล่านี้ล้วยมีผลต่อปริมาณ และคุณภาพ ของสารเทอร์ปีน

เทอร์ปีน เป็นสารสำคัญในกัญชาที่มีผลต่อร่างการโดยตรง ช่วยไห้ผ่อนคลาย ช่วยบำบัดโรค โดยเป็นตัวเสริมซึ่งกันและกัน ระหว่าง สารแคนนาบินอยด์ ทำไห้มีฤทธิ์มากขึ้น หากใช้สารสกัด CBD เพียวๆอาจไม่ได้ผลดี เหมือนการใช้ดอกแห้งที่นังไม่สกัด เพราะสารสกัด CBD เพียวๆ จะไม่มีสารเทอร์ปีนอยู่ด้วย

กลุ่มที่ 3 สารฟลาโวนอยด์ (Flavonoid)
สารฟลาโวนอยด์ เป็นสารสำคัญในกัญชา ที่จัดเป็นนิวตราซูติคอล หรือ อาหาร หรือส่วนประกอบของอาหาร เป็นประโยชน์ต่อสุขภาพ ประโยชน์ทางยา ป้องกัน รักษาโรค และชะลอความชรา มีคุณสมบัติเป็นสารต้านอนุมูลอิสระ

โดยทำหน้าที่หน่วงเหนี่ยว หรือเป็นสารต้านปฏิกริยา ออกซิเดชั่น จึงช่วยหยุด กริยาลูกโซ่ของอนุมูลอิสระได้ และยังช่วยลดการเกิดโรคเรื่อรังชนิดต่างๆ มีประโยชน์ต่อระบบสมอง ระบบเส้นเลือด และหัวใจ รวมทั้งพบสรรพคุณในการฆ่ามะเร็งได้ด้วย ปัจจุบันค้นพบการสำคัญในกัญชา ที่เป็นสารกลุ่ม ฟลาโวนอยด์ มากกว่า20ชนิด

การใช้กัญชารักษาโรค
การใช้กัญชารักษาโรคนั้นจำเป็นต้องใช้ทั้ง 3 กลุ่ม ดังที่กล่าวไปข้างต้น ทำงานร่วมกันจึงจะได้ผลดี หากทำสกัดแยกสารออกมาเดี่ยวๆอาจจะไม่ได้ผลดีเท่าที่ควร แต่การใช้ยาทางการแพทย์แผนปัจจุบัน จำเป็นต้องระบุสารเคมีที่ใช้ไห้ชัดเจน ทั้งปริมาณและความบริสุทธิของสาร

ซึ่งเป็นอุปสรรค์ ของการใช้กัญชาทางการแพทย์อยู่พอสมควร ทั้งยังทำไห้ราคาสูงขึ้น เพราะจะต้องทำไห้เป็นสารบริสุทธิ์ การใช้กัญชาทางการแพทย์ในรูปแบบสมุนไพร น้ำมันกัญชา หรือการสูบไอระเหย จึงสะดวกกว่ามาก

ข้อมูลจาก http://www.farmkaset..link..

สำหรับผู้ผลิตสินค้าที่มีส่วนประกอบของกัญชา สามารถส่งตัวอย่างเข้าตรวจวิเคราะห์กับ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ได้ที่ลิงค์นี้ http://www.farmkaset..link..
สายพันธุ์กัญชา
กัญชา เป็นพืชสกุล Cannabis อยู่ในวงศ์ Cannabaceae มี 3 สายพันธุ์ที่พบบ่อย ได้แก่ สายพันธุ์ซาติวา (Cannabis sativa) สายพันธุ์อินดิกา (Cannabis indica) และสายพันธุ์รูเดอราลิส (Cannabis ruderalis) ส่วนคำว่ามาลีฮวนน่า (Marijuana) เป็นคำแสลงที่ใช้ส่วนดอกของต้นกัญชานำมาสูบ

ซาติวา (Cannabis sativa)
เป็นภาษาละติน แปลว่า เพาะปลูก ตั้งโดย คาโรรัส ลินเนียส Carolus Linnæus หรือ Carl Linnaeus) นักพฤกษศาสตร์ชาวสวีเดน โดยจัดวงศ์พืชชนิดนี้ไว้เมื่อปี ค.ศ. 1753 (พ.ศ. 2296) มีแหล่งกำเนิดบริเวณเส้นศูนย์สูตร เช่น โคลัมเบีย เม็กซิโก (ทวีปอเมริกา) ตอนกลางของทวีปแอฟริกา และเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

ซาติวามีลำต้นหนา ความสูงเมื่อเติบโตเต็มที่ประมาณ 6 เมตร ใบยาว เรียว สีเขียวอ่อน (เมื่อเทียบกับอินดิกา) ระยะเวลาการเติบโตพร้อมเก็บเกี่ยว 9-16 สัปดาห์ ชอบแดดและ อากาศร้อน ซาติวามีสาร THC (Tetrahydrocannabinol) ที่ออกฤทธิ์กระตุ้นประสาท (Psychoactive) สูงกว่าอินดิกา

อินดิกา (Cannabis indica)
ผู้ค้นพบสายพันธุ์นี้คือ ฌอง-แบ๊บติสท์ ลามาร์ค (Jean-Baptiste Lamarck) ทหารนักชีววิทยา ชาวฝรั่งเศส ผู้ตั้งชื่อและตีพิมพ์ความรู้เรื่องกัญชาสายพันธุ์นี้ในปี ค.ศ. 1785 (พ.ศ. 2328) กัญชาสายพันธุ์อินดิกาได้ชื่อตามแหล่งกำเนิดที่ค้นพบในอินเดียและบริเวณตะวันออกกลาง

อินดิกามีลำต้นพุ่มเตี้ย ความสูงเมื่อเติบโตเต็มที่ประมาณ 180 เซนติเมตร ใบกว้าง สั้น สีเขียวเข้ม (เมื่อเทียบกับซาติวา) กิ่งก้านดกหนา ระยะเวลาการเติบโตพร้อมเก็บเกี่ยว 6-8 สัปดาห์ ชอบที่ร่มและอากาศเย็น อินดิกามีสาร CBD (Cannabidiol) ซึ่งออกฤทธิ์ระงับ ประสาท (Sedative) ทำให้กล้ามเนื้อผ่อนคลาย ลดอาการปวดเรื้อรัง

รูเดอราลิส (Cannabis ruderalis)
ผู้ตีพิมพ์เรื่องราวกัญชาสายพันธุ์นี้คนแรก คือ นักพฤกษศาสตร์ชาวรัสเชีย ดี.อี. จานิสเชสกี้ (D. E. Janischewsky) เมื่อปี ค.ศ. 1924 (พ.ศ. 2467) กัญชาสายพันธุ์รูเดอราลิสมีแหล่ง กำเนิดบริเวณตอนกลางและตะวันออกของทวีปยุโรป

รูเดอราลิส มีลำต้นเตี้ยที่สุดในบรรดา 3 สายพันธุ์ ดูคล้ายวัชพืช ใบกว้างมี 3 แฉก เติบโตเร็ว อยู่ได้ทั้งอากาศร้อนและเย็น ปริมาณสาร THC น้อย (เมื่อเทียบกับสองสายพันธุ์แรก) แต่มี CBD สูง มักนำไปผสมข้ามสายพันธุ์ (hybrid) กับซาติวาและอินดิกา เพื่อให้ได้ คุณสมบัติทางยา

ประโยชน์ของสาร THC และ CBD ในกัญชา

สาร CBD มีฤทธิ์ช่วยลดการอักเสบ ลดการชักเกร็ง ช่วยให้สงบ ผ่อนคลาย และมีคุณสมบัติยังยั้งการเจริญเติบโตของเซลล์เนื้องอกหลายชนิดในหลอดทดลอง

สาร THC มีผลต่อจิต ประสาท ทำให้ผ่อนคลาย นอนหลับ ลดอาการคลื่นไส้ อาเจียน และกระตุ้นให้อยากอาหาร

อ้างอิง: http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3377
เผยปลูกกัญชง 4 เดือน ฟันกำไร 2 ล้าน ต้องรู้เทคนิค แนะจุดต่างกัญชา
เผยปลูกกัญชง 4 เดือน ฟันกำไร 2 ล้าน ต้องรู้เทคนิค แนะจุดต่างกัญชา
นักวิชาการ เผยปลูกกัญชง 4 เดือน ฟันกำไร 2 ล้าน ต้องรู้เทคนิค แนะจุดต่างกัญชา

ชื่อของ “กัญชง” ถูกพูดถึง ถูกสงสัย และกลายเป็นพืชที่คนไทยอยากรู้จักมากที่สุด ภายหลังจากที่ ครม.ไฟเขียว เห็นชอบ ร่างกฎกระทรวง ดัน “กัญชง” เป็นพืชเศรษฐกิจชนิดใหม่

ส่วน “กัญชง” คืออะไร ปลูกยังไง ปลูกแล้วรวยหรือไม่ และแตกต่างจากกัญชาอย่างไร ทีมข่าวเจาะประเด็นไทยรัฐออนไลน์ พูดคุยกับ รศ.ดร.วิเชียร กีรตินิจกาล ผู้ทรงคุณวุฒิ ภาควิชาพืชไร่นา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และที่ปรึกษา การปลูกและการปรับปรุงพันธุ์กัญชา องค์การเภสัชกรรม มีข้อมูลน่าสนใจมากมาย ทีมข่าวไล่เรียงใจความสำคัญมาให้ ดังต่อไปนี้

กัญชง VS กัญชา แตกต่างกันอย่างไร?
“อันที่จริงแล้ว กัญชง กับ กัญชา เป็นพืชวงศ์เดียวกัน ถือว่าเป็นพี่น้องกันก็ว่าได้ เพียงแต่ทั้งคู่จะมีความแตกต่างทางกายภาพ และปริมาณสารสำคัญ ซึ่งสหประชาชาติกำหนดไว้ว่า ในกัญชง ต้องมีสาร THC ต่ำกว่า 0.2% แต่สำหรับประเทศไทยกำหนดไว้ว่า ต้องมี THC ไม่เกิน 1% และไม่ให้ใช้ในอาหาร” รศ.ดร.วิเชียร กล่าว

โดย "กัญชง" และ "กัญชา" จะมีลักษณะทางกายภาพแตกต่างกัน ดังต่อไปนี้

กัญชง - มีลำต้นสูงประมาณ 2 เมตรขึ้นไป สูงใหญ่กว่ากัญชา แตกกิ่งก้านน้อย ใบเป็นสีเขียวอมเหลือง มีแฉกประมาณ 7-9 แฉก แต่กัญชงมีข้อแตกต่างที่ชัดเจนจากกัญชา คือ ชั้นของกิ่งจะสูงชะลูดกว่ากัญชา และถึงแม้ว่า กัญชงจะมีใบเหมือนกัญชา แต่มีสีเขียวเหลืองมากกว่ากัญชา

ขณะที่ กัญชง จะมีสารสำคัญที่จะกล่าวถึงต่อไป คือ THC (Tetrahydro Cannabionol สารออกฤทธิ์ทางจิตประสาททำให้เมา) และ CBD (Cannabinol ไม่ออกฤทธิ์ทางจิตประสาทและไม่เมา)

กัญชา - ส่วนกัญชามีความสูงไม่ถึง 2 เมตร แตกกิ่งก้านมาก มีใบประมาณ 5-7 แฉก เป็นสีเขียวถึงเขียวจัด ส่วนใบเมื่อนำมาสูบจะมีกลิ่นหอมคล้ายหญ้าแห้ง โดยมีสรรพคุณช่วยลดอาการคลื่นไส้อาเจียนจากการได้รับเคมีบำบัด ช่วยผ่อนคลาย แต่หากเสพในปริมาณมากจะทำให้เกิดอาการประสาทหลอน เห็นภาพลวงตา หูแว่ว ควบคุมตัวเองไม่ได้

ประโยชน์ “กัญชง”
โดย รศ.ดร.วิเชียร แบ่งประโยชน์ของกัญชง ออกเป็น 3 ประเภท ดังต่อไปนี้

1. ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์จากเส้นใย (ชาวเขาในประเทศไทยปลูก)
การปลูกกัญชงเพื่อใช้ประโยชน์จากเส้นใยจะใช้ในส่วนของลำต้น ซึ่งเส้นใยของกัญชงนั้น มีคุณภาพสูง จึงถูกนำไปใช้เป็นวัตถุดิบในการทำเป็นผลิตภัณฑ์ ได้มากกว่า 50_000 รายการ เช่น เสื้อผ้า_ เยื่อกระดาษ_ เชือก_ กระเป๋า_ ฉนวนกันความร้อน_ วัสดุก่อสร้าง_ เฟอร์นิเจอร์ เป็นต้น ส่วนกากใยที่เหลือก็สามารถนำไปผลิตเป็นเอทานอลได้อีกด้วย

“เส้นใยของกัญชงมีความแข็งแรงมากกว่าฝ้ายถึง 2 เท่า เพราะฉะนั้น เสื้อยืด cotton ธรรมดา ราคาส่งในตลาดอาจอยู่ที่ 30-60 บาท แต่พอเป็นเสื้อที่ผสมใยกัญชง ราคาส่งในตลาดจะพุ่งไปที่ 120-150 บาททันที”

2. ปลูกเพื่อเอาเมล็ด (เมืองไทยยังไม่มีใครปลูก)
ขณะเดียวกัน เมล็ดของกัญชงก็ยังสามารถสกัดเป็นน้ำมันคุณภาพเพื่อใช้ในผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร_ เครื่องสำอาง และยังมีโอเมก้า 3 ที่สามารถนำมาเป็นส่วนประกอบในอาหารได้ อีกทั้งยังมีสารต้านอนุมูลอิสระที่ช่วยยับยั้งความเสื่อมของเซลล์ ลดภาวะการอักเสบของผิวหนังได้อีกด้วย

"โดยมูลค่าของน้ำมันจากเมล็ดกัญชง 1 ลิตรจะมีราคาอยู่ที่ประมาณ 3_000-4_000 บาท” รศ.ดร.วิเชียร กล่าว

3. ปลูกเพื่อเอาสาร CBD (ประเทศไทยปลูกได้ แต่ห้ามเอามาใส่ในอาหารเสริม แต่สามารถเอามาใช้เป็นยาได้)
“การปลูกกัญชงเพื่อเอาสาร CBD จะใช้ส่วนของดอก ซึ่งกัญชงประเภทนี้ จะมีความคล้ายกัญชามากๆ และจะมีสาร THC น้อยมาก แต่ให้สาร CBD สูง” รศ.ดร.วิเชียร กล่าว

“การนำ CBD มาใช้เป็นยา ถือว่าให้ผลที่ดีมาก ยกตัวอย่างเช่น เหตุการณ์ที่นักศึกษาของมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในไทยป่วยเป็นลมชัก อาการอยู่ในระดับแย่มาก แต่เมื่อใช้สารสกัด CBD ก็สามารถรอดชีวิตมาได้ ซึ่งไม่น่าเชื่อว่า นักศึกษาคนหนึ่งที่กำลังจะตาย เพราะไม่มียารักษา กลับรอดด้วยสาร CBD จากกัญชง และนอกจากนี้ สาร CBD ยังช่วยแก้ปัญหาในเรื่องของการนอนไม่หลับ_ การเจ็บป่วย (ทดแทนมอร์ฟีน)_ รักษาอาการปวดศีรษะ ไมเกรน_ ผลิตภัณฑ์กลุ่มรักษาสิว และเครื่องสำอางได้อีกด้วย” รศ.ดร.วิเชียร กล่าว

ปลูกกัญชงแล้วจะรวยหรือไม่?
เมื่อถามว่า การปลูกกัญชง จะทำให้รวยหรือไม่? รศ.ดร.วิเชียร ผู้มากประสบการณ์ในการวิจัยและพัฒนากัญชง ให้คำตอบว่า “ถ้าถามว่า ปลูกกัญชงแล้วจะรวยไหม คำตอบก็คือ มีโอกาสที่รายได้จะดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งการปลูกกัญชงที่ชาวเขาปลูก มีรายได้ไร่ละ 2_000-3_000 บาท จึงไม่มีใครอยากปลูก เพราะรายได้น้อยมาก แต่ถ้าคุณปลูกพันธุ์ที่ดี คุณปลูกถูกวิธี คุณก็จะได้เงินเยอะ เพราะฉะนั้น คุณต้องรู้ว่า คุณควรปลูกกัญชงเพื่อใช้ประโยชน์แบบไหน และคุณต้องรู้ว่า คุณจะปลูกไปขายให้ใคร”

“การปลูกกัญชงเพื่อเอาเส้นใย จะได้เงินน้อยกว่าการปลูกกัญชงเพื่อเอาเมล็ด แต่การปลูกกัญชงเพื่อเอาเมล็ดก็จะได้เงินน้อยกว่าการปลูกกัญชงเพื่อเอาสาร CBD” รศ.ดร.วิเชียร กล่าว

โดย รศ.ดร.วิเชียร กล่าวถึงผลกำไรจากการปลูก “กัญชง” ซึ่งใช้ระยะเวลาในการปลูกรอบละ 4 เดือน บนพื้นที่ 1 ไร่ จะได้ผลกำไรโดยประมาณ(หากปลูกอย่างถูกวิธี) ดังต่อไปนี้

ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์จากเส้นใย --> กำไร 2_000 บาท
ปลูกเพื่อเอาเมล็ด --> กำไร 20_000 บาท
ปลูกเพื่อเอาสาร CBD (ขาดตลาด ความต้องการสูงมาก) --> กำไร 2_000_000 บาท หรือเฉลี่ยกิโลกรัมละประมาณ 70_000 กว่าบาท
“แม้สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงจะอนุญาตให้ปลูกกัญชงได้ครัวเรือนละไม่เกิน 1 ไร่ แต่ต้องมีใบอนุญาตปลูก พร้อมระบุสายพันธุ์ที่ได้รับอนุญาต แต่ภาครัฐก็ต้องอธิบายให้ชาวบ้านเข้าใจด้วยว่า การปลูกกัญชงสามารถนำไปขายใครได้บ้าง ปลูกอย่างไร เพราะถ้าปลูกไปแล้ว แต่ไม่รู้จะเอาไปขายใคร ก็เปล่าประโยชน์” รศ.ดร.วิเชียร ทิ้งท้าย.

Reference: thairath.co.th/news/ local/bangkok/1761733
อ่าน:3394
กัญชา กัญชง: จากสิ่งต้องห้ามเป็นสิ่งต้องมี
กัญชา กัญชง: จากสิ่งต้องห้ามเป็นสิ่งต้องมี
กัญชานั้นเป็นสิ่งที่ผิดกฎหมายมาเกือบร้อยปีในเกือบทุกประเทศทั่วโลก เนื่องด้วยสารที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาทในต้นกัญชา อย่างไรก็ตาม ด้วยประโยชน์ทางการแพทย์ของกัญชาที่นักวิทยาศาสตร์ยุคปัจจุบันได้ค้นพบพืชสมุนไพรชนิดนี้ จึงกลายเป็นโอกาสใหม่ของนักธุรกิจ_ นักลงทุน_ ผู้บริโภค และผู้ป่วยทั่วโลก

ช่วงปลายเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา หลังรัฐประกาศอนุญาตให้ภาคเอกชนไทยปลูกกัญชงได้ หุ้นไทยที่มีแผนทำธุรกิจเกี่ยวกับกัญชงได้ปรับตัวขึ้นอย่างต่อเนื่อง และได้รับความสนใจจากทั้งนักลงทุนไทยและต่างชาติ โดยประเทศไทยนั้นถือเป็นประเทศแรกในเอเชียที่อนุญาตให้มีการปลูกทั้งกัญชงและกัญชา โดยกัญชงนั้นทางภาครัฐอนุญาตให้ภาคเอกชนมาขออนุญาตปลูกได้ ส่วนการปลูกกัญชานั้นยังคงจำกัดให้เพียงบางหน่วยงานที่ได้รับอนุญาต เช่น โรงพยาบาล_ สถาบันการศึกษา และวิสาหกิจชุมชน

แม้ว่ากัญชาและกัญชงจะเป็นพืชที่คล้ายคลึงกันมาก เส้นแบ่งที่ชัดเจนที่สุดคือปริมาณสารที่มีฤทธิ์ต่อจิตประสาท (tetrahydrocannabinol หรือ THC) โดยเหตุผลที่รัฐเปิดกว้างให้กับพืชกัญชงมากกว่านั้นเป็นเพราะกัญชงมีสาร THC น้อยจนไม่ก่อให้เกิดการนำมาสูบจนมึนเมาได้ ในขณะที่ในกัญชามีปริมาณ THC ในระดับที่สูงกว่าและเมื่อนำกัญชามาสูบแล้วจะมีสารออกฤทธิ์มึนเมา แต่สำหรับสารสำคัญที่ทำให้ทั้งกัญชาและกัญชงได้รับความนิยมเพื่อใช้ทางการแพทย์ คือสาร Cannabidiol หรือ CBD ซึ่งสามารถรักษาและบรรเทาโรคและอาการได้หลากหลาย เช่น โรคลมชัก_ พาร์กินสัน หรือแม้กระทั่งช่วยลดความทรมานจากการทำคีโมรักษามะเร็ง ประโยชน์ของ CBD นั้นมีหลายประการจนในประเทศไทยและอีกหลายประเทศทั่วโลกได้ทำการปลดล็อกให้กัญชงและกัญชาสำหรับใช้ทางการแพทย์ถูกกฎหมาย

นอกจากประโยชน์ด้านการแพทย์ของ CBD อีกสาเหตุที่นักลงทุนให้ความสนใจต่อการเข้ามาของธุรกิจกัญชงถูกกฎหมายนั้นก็เพราะกัญชาและกัญชงนับเป็นพืชที่มีมูลค่าสูงมากที่สุดชนิดหนึ่งของโลก สำหรับเกษตรกรไทย ถ้าเลือกที่จะปลูกข้าวอาจมีรายได้เพียงหลักหมื่นต่อไร่ต่อปี ในขณะที่ปลูกกัญชงอาจได้ผลิตผล (โดยเฉพาะดอกกัญชงแห้งที่มีสาร CBD สูง) ที่มีมูลค่าหลักล้านบาทต่อไร่ต่อปี และการที่กัญชาเป็นพืชล้มลุก ระยะเวลา 1 การเก็บเกี่ยวประมาณสี่เดือน ทำให้ปีหนึ่งสามารถปลูกได้ถึง 1-3 รอบ ในขณะที่ผลไม้ยืนต้น เช่น ทุเรียน มังคุด สามารถเก็บเกี่ยวได้เพียงหนึ่งครั้งต่อปี

สำหรับภาพตลาดกัญชาทั่วโลก อ้างอิงข้อมูลจาก MarketsandMarkets ปี 2020 ตลาดกัญชาทั่วโลกมีขนาด 2 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ และคาดการณ์จะเติบโตได้ต่อเนื่องในอัตรา 28% ต่อปี จนมีขนาด 9 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐ ในปี 2026 การเติบโตที่แข็งแกร่งนี้ก็จะมาจากการค่อยๆ ทยอยปลดล็อกกฎหมายกัญชาในแต่ละประเทศทั่วโลก และการเพิ่มการใช้ในประเทศที่กัญชาถูกกฎหมายอยู่แล้ว โดยเฉพาะในทวีปอเมริกาเหนือ ซึ่งเป็นตลาดของการบริโภคกัญชาถูกกฎหมายที่ใหญ่ที่สุดของโลก ซึ่งประเทศแคนาดาได้มีการออกกฎหมายให้กัญชาถูกกฎหมาย ทั้งการใช้เพื่อการแพทย์และสันทนาการไปแล้วตั้งแต่ปี 2018 ส่วนในประเทศอเมริกาแต่ละรัฐก็มีการทยอยแก้กฎหมายกัญชาอย่างต่อเนื่อง

ในเวลาเดียวกันกับกระแสหุ้นกัญชงในประเทศไทย หุ้นกัญชาที่จดทะเบียนในอเมริกาก็ปรับตัวขึ้นอย่างมากเช่นกันตั้งแต่ต้นปี 2021 ได้แก่ Tilray ปรับตัวขึ้น 227%_ Aphria 192%_ Canopy Growth 37%_ Aurora 26% (หมายเหตุ: หุ้นสองตัวแรกขึ้นแรงเป็นพิเศษจากปัจจัยการควบรวมกันและจากการถูกดันโดยชาว Reddit) หลักๆ จากความหวังว่า ประธานาธิบดีไบเดนจะแก้กฎหมายให้กัญชาถูกกฎหมายในระดับสหพันธรัฐ (Federal level) หรือหมายถึงกฎหมายที่บังคับใช้ทั่วประเทศอเมริกา จากที่ปัจจุบันการใช้กัญชายังถือเป็นความผิดทางอาญาระดับสหพันธรัฐ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันแต่ละรัฐสามารถออกกฎหมายกัญชาแยกแตกต่างกันไปได้ เช่น รัฐแคลิฟอร์เนียกัญชาถูกกฎหมายทั้งเพื่อใช้ในการแพทย์และเพื่อสันทนาการ ในขณะที่รัฐเพนซิลเวเนียกัญชานั้นถูกกฎหมายเฉพาะเพื่อการแพทย์ โดยปัจจุบันมีทั้งสิ้น 15 รัฐที่สามารถใช้กัญชาเพื่อสันทนาการได้ และ 34 รัฐที่สามารถใช้กัญชาเพื่อการแพทย์ได้

X

แม้ว่าหุ้นกัญชาที่จดทะเบียนในสหรัฐฯ โดยภาพรวมจะยังขาดทุนอยู่ด้วยค่าใช้จ่ายที่สูงโดยเฉพาะค่า R&D แต่ถ้าการเติบโตของยอดขายมีอย่างต่อเนื่องก็จะสามารถกำไรได้ในที่สุด โดยหุ้นกัญชาบางตัวก็เริ่มมี EBITDA เป็นบวกแล้ว (EBITDA คือ กำไรก่อนดอกเบี้ย ภาษี ค่าเสื่อม และค่าตัดจำหน่าย)

สำหรับนักลงทุนที่สนใจลงทุนในธุรกิจกัญชาต่างประเทศก็ควรจะศึกษาในรายละเอียดเพื่อเพิ่มความรู้และความเข้าใจในธุรกิจ เลือกบริษัทที่ผู้บริหารมีความสามารถและมีศักยภาพในการเติบโต ประกอบกับเลือกหุ้นที่มูลค่าสมเหตุผล นอกจากนี้ ควรกระจายการลงทุนในหลายบริษัท ไม่ลงทุนกระจุกตัวจนเกินไปเพื่อลดความเสี่ยงเฉพาะของแต่ละบริษัท นักลงทุนควรศึกษากฎระเบียบของตลาดที่จะลงทุนรวมถึงภาษี รวมถึงการเปิดบัญชี Broker ซื้อขายหลักทรัพย์ และการป้องกันความเสี่ยงอัตราแลกเปลี่ยน อีกทางเลือกหนึ่ง นักลงทุนสามารถเลือกลงทุนผ่านกองทุนรวม หรือ Exchange Traded Fund (ETF) ที่ลงทุนในหุ้นที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจกัญชาหลายๆ ตัวไว้ด้วยกัน ตัวอย่างเช่น ETFMG Alternative Harvest ที่ลงทุนในธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับกัญชา ยาสูบ และอื่นๆ ครอบคลุมถึงกัญชาเพื่อการแพทย์และสันทนาการ

ในอดีตนักลงทุนอาจจะมองว่ากัญชาเป็นสิ่งเสพติด แต่หากเรามองถึงประโยชน์ทางการแพทย์ของสาร CBD ในกัญชา การลงทุนในหุ้นกัญชาก็ไม่ต่างจากการลงทุนธุรกิจนวัตกรรมสุขภาพ ที่จะมีผลิตภัณฑ์ใหม่ๆ ออกมาที่เป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยนานาประเทศ

Reference: โดย ผู้จัดการออนไลน์
อ่าน:3400
กัญชา-กัญชง ต่างกันอย่างไร กฎหมายอนุญาตใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง
กัญชา-กัญชง ต่างกันอย่างไร กฎหมายอนุญาตใช้ประโยชน์อะไรได้บ้าง
กัญชา เป็นพืชที่เราคุ้นชื่อมานานและรู้จักในนามของพืชต้องห้ามเพราะกฎหมายจัดว่าเป็นยาเสพติด ส่วนกัญชง ก่อนหน้านี้เราไม่คุ้นชื่อกันเท่าไหร่ แต่ช่วงหลัง ๆ ก็เริ่มได้ยินบ่อยจนคุ้นหูมากแล้วเหมือนกัน เนื่องจากรัฐบาลปัจจุบันได้ปลดล็อกให้ใช้ประโยชน์มากมายของพืช 2 ชนิดนี้ เพื่อประโยชน์ทางการแพทย์และเศรษฐกิจ

คำว่า “ปลดล็อก” ไม่ได้หมายความว่า พืช 2 ชนิดนี้ถูกถอดออกจากรายชื่อยาเสพติดแล้ว แต่หมายถึงการอนุญาตให้ใช้ประโยชน์ได้ภายใต้กรอบกฎหมาย

กระทรวงสาธารณสุขได้ออกประกาศกระทรวง เรื่อง ระบุชื่อยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 (ฉบับที่ 2) เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2563 ให้บางส่วนของต้นกัญชาและกัญชงไม่จัดเป็นยาเสพติด

ส่วนต่าง ๆ ของกัญชาที่ไม่จัดเป็นยาเสพติด ได้แก่ เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน ราก ใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย สารสกัด CBD ที่มี THC ไม่เกินร้อยละ 0.2% และกากที่เหลือจากการสกัดกัญชา ซึ่งต้องมี THC ไม่เกิน 0.2%

ส่วนต่าง ๆ ของกัญชงที่ไม่จัดเป็นยาเสพติด ได้แก่ เปลือก ลำต้น เส้นใย กิ่งก้าน ราก ใบ ซึ่งไม่มียอดหรือช่อดอกติดมาด้วย สารสกัด CBD ที่มี THC ไม่เกิน 0.2% เมล็ด น้ำมันหรือสารสกัดจากเมล็ด และกากที่เหลือจากการสกัดกัญชง ซึ่งต้องมี THC ไม่เกิน 0.2%

ประชาชน เอกชน สามารถใช้ประโยชน์จากส่วนเหล่านี้ของกัญชาและกัญชงได้ แต่มีข้อกำหนดว่าต้องได้มาจากสถานที่ปลูกหรือผลิตในประเทศ ซึ่งได้รับอนุญาตแล้วเท่านั้น กรณีการนำเข้าสามารถนำเข้าได้ โดยขออนุญาตเป็นยาเสพติด ยกเว้นเปลือกแห้ง แกนลำต้นแห้ง และเส้นใยแห้ง ได้รับการยกเว้นไม่เป็นยาเสพติดตามประกาศนี้

กรณีกัญชงนั้นก้าวหน้าไปก่อนกัญชาแล้ว เพราะกระทรวงสาธารณสุขได้ออกกฎกระทรวง เรื่อง การขออนุญาตและการอนุญาตผลิต นำเข้า ส่งออก จำหน่าย หรือมีไว้ในครอบครองซึ่งยาเสพติดให้โทษในประเภท 5 เฉพาะกัญชง (Hemp) พ.ศ. 2563 ให้ขออนุญาตปลูก ผลิต ส่งออก จำหน่าย ครอบครองได้ตั้งแต่วันที่ 29 มกราคม 2564 ส่วนการนำเข้าเมล็ดพันธุ์กัญชงเข้ามาปลูกจะสามารถทำได้ภายใน 5 ปี นับตั้งแต่กฎกระทรวงฉบับนี้บังคับใช้

ทราบเรื่องทางกฎหมาย-การอนุญาตให้ใช้ประโยชน์กันแล้ว เรามาทำความรู้จักกัญชากับกัญชงกันต่อซิว่า มีความเหมือนและความต่างกันอย่างไร

อย่างที่เราเห็นกันว่า กัญชา กัญชง มีความคล้ายความเหมือนทั้งชื่อและรูปร่างหน้าตา จริง ๆ แล้ว กัญชาและกัญชงเป็นพืชที่มีต้นกำเนิดจากพืชชนิดเดียวกัน คือ Cannabis sativa L. ในวงศ์ Cannabidaceae จึงทำให้ลักษณะภายนอกแตกต่างกันน้อยมาก แต่หลังจากที่มีการนำพืชทั้ง 2 ชนิดนี้ไปใช้ประโยชน์อย่างกว้างขวาง โดยในอดีตกัญชาถูกใช้เป็นยารักษาโรคและเพื่อการสันทนาการ ขณะที่กัญชงเป็นพืชที่นำเส้นใยมาใช้สำหรับการถักทอ จึงมีการคัดเลือกสายพันธุ์ที่ดีสุด ทำให้กัญชงและกัญชามีความแตกต่างกันเกิดขึ้น

กัญชา (Marijuana) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L.subsp. indica ต้นสูงไม่มากหากเทียบกับกัญชง โดยมีความสูงไม่เกิน 2 เมตร มีลักษณะเป็นต้นพุ่ม แตกกิ่งก้านสาขาค่อนข้างมาก ลำต้นเป็นปล้องหรือข้อสั้น ใบสีเขียวจัด มี 5-7 แฉก โดยจะเรียงชิดกัน จะออกดอกเมื่ออายุประมาณ 3 เดือน และช่อดอกมียางมาก

กัญชง (Hemp) มีชื่อทางวิทยาศาสตร์ว่า Cannabis sativa L.subsp. sativa โดยทั่วไปจะมีลำต้นสูงกว่ากัญชา หรือสูงมากกว่า 2 เมตร มีลักษณะลำต้นสูงเรียว แตกกิ่งก้านสาขาน้อย ปล้องหรือข้อยาว ใบสีเขียวอ่อน มีประมาณ 7-11 แฉก โดยใบมีการเรียงสลับค่อนข้างห่างอย่างชัดเจน กัญชงจะออกดอกเมื่ออายุมากกว่า 4 เดือน และช่อดอกมียางไม่มาก

การจะแยกแยะพืชสองพี่น้องนี้ด้วยตาเปล่า เราต้องจำลักษณะสำคัญของมันว่า กัญชาต้นเตี้ยและใบอ้วน ส่วนกัญชงต้นสูงและใบเรียว

นอกจากลักษณะทางกายภาพที่ค่อนข้างต่างกันแล้ว สารสกัดที่ได้จากพืชทั้ง 2 ชนิดก็มีปริมาณที่ต่างกันด้วย กัญชงและกัญชามีสารที่เรียกว่า THC (Tetrahydroconnabinol) และ CBD (Canabidiol) ซึ่งสารเหล่านี้จะเป็นตัวแบ่งแยกพืชทั้ง 2 ชนิดนี้ออกจากกัน

THC เป็นสารที่ทำให้เมาหรือเคลิบเคลิ้ม พบได้มากในกัญชา โดยมีประมาณ 1-20% ส่วนกัญชงมีสารชนิดนี้น้อยกว่า 1% ในทางการแพทย์สาร THC มีประโยชน์ช่วยลดอาการปวด ช่วยเพิ่มความอยากอาหาร รักษาผลข้างเคียงจากการทำเคมีบำบัด แต่การใช้สารชนิดนี้ในการรักษาก็อาจจะทำให้ผู้ป่วยปากแห้ง ตาแห้ง หรือการตอบสนองช้าลงได้

ส่วนสาร CBD ซึ่งเป็นสารที่พบได้ในกัญชงมากกว่ากัญชา คือพบประมาณ 2% แต่ในกัญชามีสารชนิดนี้อยู่น้อยมาก เมื่อเสพสารชนิดนี้เข้าไปจะไม่มีอาการเมาหรือเคลิบเคลิ้มเหมือนกัญชา คุณสมบัติทางการแพทย์ของ CBD มีหลากหลาย ช่วยลดอาการปวด แก้อาการนอนไม่หลับ แก้อาการโรคลมชัก แม้จะใช้ในปริมาณมากก็ไม่มีผลข้างเคียง และสารนี้ยังนิยมนำมาใช้ในเครื่องสำอางและสกินแคร์ต่าง ๆ ด้วย

อีกประโยชน์หนึ่งของกัญชง คือ เป็นพืชที่ให้เส้นใยยาว เส้นใยมีความละเอียดใกล้เคียงกับลินิน มีความเหนียวทนทาน และมีความเงางาม ครบถ้วนคุณสมบัติเส้นใยชั้นดี จึงเป็นเส้นใยชนิดหนึ่งที่นิยมใช้ผลิตเสื้อผ้าเครื่องนุ่งห่มกันมาเป็นเวลายาวนานแล้ว ในปัจจุบันผ้าที่ทอจากเส้นใยกัญชงมีราคาสูงและเป็นที่ต้องการมาก

ด้วยประโยชน์ที่หลากหลาย ใช้งานได้เกือบทุกส่วน จึงไม่น่าแปลกใจที่ทั้งกัญชาและกัญชงกำลังได้รับความสนใจอย่างมาก ไม่ใช่แค่ในระดับรายย่อยเท่านั้น ได้ข่าวว่าบริษัทใหญ่ ๆ ก็กำลังสนใจโอกาสใหม่นี้เช่นกัน

Reference: prachachat.net/d-life/news-618836
อ่าน:3443
คุมเข้มดูแลทุกขั้นตอน ปลูกกัญชง ห่วงเกษตรกร ถูกหลอก เสียหาย
คุมเข้มดูแลทุกขั้นตอน ปลูกกัญชง ห่วงเกษตรกร ถูกหลอก เสียหาย
นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ในฐานะประธานกรรมการควบคุมยาเสพติดให้โทษ เปิดเผยว่า กระทรวงสาธรณสุขจะร่วมมือกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เพื่อดูและเกษตรกรไม่ให้เกิดความเสียหายจากการปลูกกัญชง และไม่ให้ถูกหลอกลวงจากผู้ไม่หวังดี โดยจะเข้าไปดูแลทุกขั้นตอน ตั้งแต่การวิจัยและพัฒนา การปลูก การสกัดหรือแปรรูป และการพัฒนาต่อยอดไปทำเป็นผลิตภัณฑ์ต่างๆ

"ไม่ใช่คิดจะปลูกก็ปลูกได้เลย ต้องมีการขออนุญาตก่อน เพราะยังควบคุมการปลูกอยู่ อย่าไปตามกระแสโดยไม่ไตร่ตรอง เดี๋ยวจะถูกหลอก" นพ.ธงชัย กล่าว

นายพิเชษฐ์ วิริยะพาหะ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า กรมฯ จะเข้ามาดูแลเรื่องความเสี่ยงของเกษตรกรผู้ปลูกตั้งแต่มาตรฐานของเมล็ดพันธุ์กัญชง ทั้งในส่วนของผู้นำเข้า ผู้จำหน่าย และผู้ปลูก การวิจัยสายพันธุ์ที่เหมาะสม รวมถึงการให้ความรู้ทางวิชาการเกี่ยวกับระบบการเพาะปลูกที่มีความเหมาะสมในแต่ละสภาพพื้นที่ การดูแลรักษาในระหว่างการปลูก ตลอดจนการเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการอนุญาต การปลูกกัญชา ซึ่งจะทำหน้าที่ประเมินความเหมาะสมในเบื้องต้นแล้วส่งต่อให้กับคณะกรรมการในระดับจังหวัดพิจารณา

"เนื่องจากเป็นเรื่องใหม่จึงยังไม่มีการทำวิจัยไว้ จากนี้จะได้เร่งวิจัยหาสายพันธุ์ที่เหมาะสมในแต่ละพื้นที่" นายพิเชษฐ์ กล่าว

ทั้งนี้ กรมฯ จะเร่งวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ที่มีความเหมาะสมในแต่ละพื้นที่ หลังมีข่าวการหลอกขายเมล็ดพันธุ์ให้กับเกษตรกรรายย่อย โดยคาดว่าจะนำเข้าเมล็ดพันธุ์เข้ามาเริ่มทดลองได้ราวเดือน ส.ค.64 ซึ่งจะทดลองปลูกทั้งในระบบปิด_ ในโรงเรือน และในระบบเปิด ซึ่งจะได้ผลทดลองชุดแรกหลังจากนั้นอีก 120 วัน

ด้าน นพ.ไพศาล ดั่นคุ้ม เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กล่าวว่า กัญชงเป็นพืชที่นำไปใช้ประโยชน์ได้ทุกส่วน เช่น เปลือก ลำต้น เส้นใย ใช้ทำเครื่องนุ่งห่ม วัสดุก่อสร้าง เสื้อเกราะ ส่วนช่อดอกนำมาสกัดให้ได้สาร CBD ใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ อาหาร เครื่องสำอาง ขณะที่เมล็ดกัญชงและน้ำมันเมล็ดกัญชง ใช้แปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์อาหาร และเครื่องสำอาง

กฎกระทรวงเปิดกว้างให้กับผู้ขออนุญาตปลูกกัญชงเป็นประชาชน หรือเกษตรกร บุคคลทั่วไป หน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานภาคเอกชน สามารถมาขออนุญาตได้ ซึ่งหากพื้นที่ปลูกอยู่ในกรุงเทพฯ สามารถยื่นขออนุญาตที่ อย. ส่วนต่างจังหวัดยื่นได้ที่สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) โดย สสจ.ร่วมกับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ตรวจประเมินพื้นที่ พื้นที่ปลูกต้องมีหลักฐานแสดงกรรมสิทธิ์หรือสิทธิครอบครองถูกต้องตามกฎหมาย เช่น โฉนดที่ดิน สัญญาเช่าที่ดิน

และตั้งแต่วันที่ 29 ม.ค.64 ที่กฎกระทรวงกัญชงมีผลบังคับใช้ทั่วประเทศมีผู้มายื่นขออนุญาตปลูกแล้วจำนวนทั้งสิ้น 18 ราย พื้นที่ประมาณ 900 ไร่ โดยมีทั้งเกษตรกร วิสาหกิจชุมชน และผู้ประกอบการภาคเอกชน ซึ่งเป็นการปลูกเพื่อใช้ประโยชน์เกี่ยวกับเส้นใย

เลขาธิการ อย.กล่าวว่า แม้ในพื้นที่ภาคเหนือจะมีกัญชงสายพันธุ์พื้นเมืองปลูกอยู่แล้ว แต่คุณภาพในเรื่องเส้นใย และสาร CBD ยังต่ำ ดังนั้น จึงต้องมีการนำเข้าเมล็ดพันธุ์คุณภาพจากต่างประเทศ

ส่วนกรณีบริษัทเอกชนที่มีคุณสมบัติเป็นผู้นำเข้าเมล็ดพันธุ์กัญชง-กัญชานั้น ในการนำเข้าแต่ละครั้งจะต้องส่งเอกสารรายละเอียดชัดเจน เช่น คำสั่งซื้อ สายพันธุ์ เพื่อป้องกันปัญหารั่วไหล เพราะเมล็ดพันธุ์สามารถนำไปใช้เป็นยาเสพติดได้ ซึ่งขณะนี้เอกชนทั้ง 7 รายที่ได้รับอนุญาตให้เป็นผู้นำเข้า ขณะนี้ยังไม่ได้แจ้งขอมาว่ามีการนำเข้ามาเมื่อไหร่อย่างไร

Reference: ryt9.com/s/iq01/3210598
อ่าน:3412
20 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 2 หน้า, หน้าที่ 3 มี 0 รายการ
|-Page 2 of 3-|
1 | 2 | 3 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
ดอกชบา การปลูกชบา การดูแล ป้องกันกำจัดโรค และแมลง
Update: 2564/03/27 00:40:19 - Views: 3902
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคยอดเน่า ใน อินทผาลัม ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/19 13:36:44 - Views: 3470
ยากำจัดโรคเน่าดำ ยอดเน่า ในดอกกล้วยไม้ โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอสใช้ได้กับพืชทุกชนิด (ขนาด 3 ลิตร ใช้ได้15 ไร่)
Update: 2566/06/10 13:46:21 - Views: 3402
คำนิยม - ขอบคุณลูกค้าปลูกแตงกวาปลอดสารเคมี ใช้สินค้าหลายอย่างจากเราเลยค่ะ
Update: 2562/10/25 21:28:34 - Views: 3377
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคราสีชมพู ใน ยางพารา ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/17 14:39:39 - Views: 3555
ปุ๋ยแตงโม ปุ๋ยน้ำแตงโม ปุ๋ยเพิ่มผลผลิตแตงโม ผลผลิตดี ฉีดพ่น FK-1
Update: 2564/09/25 00:49:02 - Views: 3398
ยาฆ่าเพลี้ยแป้ง แมลงจำพวกปากดูด ใน มะนาว เป็นสารชีวภาพปลอดภัย ปลอดสารพิษ มาคาและ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2566/02/28 14:11:19 - Views: 3410
กำจัดแมลงศัตรูพืชมันสำปะหลัง ยาฆ่าปลวก ในมันสำปะหลัง และพืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/01/25 09:29:53 - Views: 3595
กำจัดแมลงศัตรูพืชมันสำปะหลัง ยาฆ่าแมลงหวี่ขาว ในมันสำปะหลัง และพืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/01/25 08:49:30 - Views: 3419
โรคราแป้งในตำลึง และผักต่างๆ : POWDERY MILDEW DISEASE [ ไอเอส + FK-1 ]
Update: 2564/08/09 04:58:26 - Views: 3762
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ สูตร 10-40-10+3 MgO: เร่งการออกดอกและเร่งราก สำหรับต้นดอกรัก
Update: 2567/02/12 14:39:32 - Views: 3582
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าไรแดง ในมะนาว และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/01/28 14:53:33 - Views: 3419
การรับมือกับโรคเชื้อราในต้นผักสลัด: วิธีป้องกันและการดูแลเพื่อสวนผักที่แข็งแรง
Update: 2566/11/18 09:48:07 - Views: 3528
NSUT10-266: โคลนอ้อยดีเด่นน้ำตาลสูง
Update: 2564/08/10 11:58:55 - Views: 3466
ราสนิมขาวผักบุ้ง โรคผักบุ้งใบไหม้ และโรคราต่างๆ สร้างความเสียหายต่อผลผลิต ควบคุม ป้องกันกำจัดก่อนเกิดความเสียหาย
Update: 2566/11/04 09:56:30 - Views: 9443
คู่มือป้องกันกำจัดโรคเชื้อราต่างๆในดาวเรือง ดาวเรืองใบไหม้ ดอกไหม้ ดอกเป็นจุด ราแป้ง ฯลฯ
Update: 2566/05/01 10:27:34 - Views: 10349
การป้องกันกำจัดโรคใบไหม้ในขนุน และป้องกันขนุนผลเน่า ป้องกันขนุนผลไหม้
Update: 2566/01/31 09:49:09 - Views: 3551
การจัดการเพลี้ยในต้นกาแฟ: วิธีที่มีประสิทธิภาพในการควบคุมและป้องกัน
Update: 2566/11/10 14:36:30 - Views: 3492
การใช้ฮิวมิค FK (เสริมฟลูวิค) และปุ๋ยทางใบ FK-1 เพื่อการเจริญเติบโตของพืชผักผลไม้นานาชนิด
Update: 2567/11/11 07:39:57 - Views: 22
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธาตุอาหารของพืช ธาตุหลัก ธาตุรอง ที่พืชจำเป็นต้องใช้ในการเจริญเติบโต
Update: 2563/06/16 22:23:14 - Views: 4452
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022