[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - ปุ๋ย
2153 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 215 หน้า, หน้าที่ 216 มี 3 รายการ

สายพันธุ์มันเทศ มันเทศมีกี่สายพันธุ์
สายพันธุ์มันเทศ มันเทศมีกี่สายพันธุ์
มันเทศ ในปัจจุบันมากความหลากหลายมากขึ้น ตามร้านค้าจะมีมันเทศที่มาจากต่างประเทศมากมาย เช่น มันเทศจากญี่ปุ่น มันเทศจากเกาหลี มันเทศจากไต้หวัน มันเทศจากจากอินโดนีเซีย มีหลายสายพันธุ์ หลายสี เช่น เนื้อสีขาว สีเหลือง สีส้ม สีม่วง มีราคาสูง และรสชาติดีกว่ามันเทศสายพันธุ์ไทยดั้งเดิม ที่นับวันจะหายากมากขึ้น เพราะขาดการดูแล ขาดการอนุรักษ์ และพัฒนาสายพันธุ์ที่ดี รสชาติพันธุ์ดั้งเดิมในไทยและต่างประเทศจะแตกต่างกัน หรือแม้แต่สายพันธุ์เดียวกันปลูกพื้นที่ต่างกัน สภาพดิน อากาศต่างกัน การดูแลรักษาที่ต่างกัน จะทำให้รสชาติและคุณภาพแตกต่างกันได้

สายพันธุ์มันเทศที่นิยม มีดังนี้

1.พันธุ์โอกุด เป็นมันเทศที่มีเถาเลื้อยยาวพอควร ใบเป็นแฉก เนื้อในสีเหลืองอ่อน เป็นพันธุ์ที่นิยมรับประทานกันมาก

2.พันธุ์ไทจุง มีเถาไม่เลื้อยมากนัก ลำต้นลักษณะคล้ายทรงพุ่ม ใบเป็นแฉก หัวรูปร่างคล้ายรูปไข่ เนื้อในมีสีเหลือง เมื่อนำไปต้มหรือนึ่งเนื้อจะไม่เละ

3.พันธุ์ห้วยสีทน 1 เป็นพันธุ์ที่มีเถาเลื้อยยาว ใบกว้างพอประมาณ เนื้อในสีแดง และมีรสหวาน

การเตรียมดินปลูก ให้ไถพรวนดินลึก ประมาณ 25-30 เซนติเมตร แล้วทำการตากดินกับแดดแรงๆ 7-10 วัน จากนั้นให้ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักที่สลายตัวดีแล้ว ประมาณ 1.5-2 ตันต่อไร่ ทำการพรวนดินหรือย่อยดิน และให้ใส่ปูนขาว คลุกเคล้าให้เข้ากัน เพื่อปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างของดินด้วย แล้วทำการยกร่อง และปลูกบนสันร่อง

การปลูก ให้จัดระยะปลูกระหว่างต้น 30-50 เซนติเมตร ระหว่างแถว 100 เซนติเมตร โดยขุดหลุมบนสันร่องตามระยะปลูก ใช้ท่อนพันธุ์วางทำมุมกับพื้น ประมาณ 40-60 องศา ลึกลงไปในดินประมาณ 8-10 เซนติเมตร แล้ว กลบดินด้วยดินผสมหรือดินละเอียด จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม

การให้น้ำ ในระยะแรกที่ปลูก ต้องให้น้ำจนกว่าต้นจะสามารถตั้งตัวได้ หรือเจริญเติบโตดี แล้วสามารถงดการให้น้ำได้ เพราะมันเทศเป็นพืชทนแล้งได้ดี และควรงดการให้น้ำก่อนการเก็บเกี่ยว ประมาณ 3-4 สัปดาห์ เพื่อสะดวกในการขุดหัว มันเทศ

การใส่ปุ๋ย ในครั้งแรก ให้ใส่รองก้นหลุม โดยใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก อัตรา 50 กิโลกรัมต่อไร่ ในครั้งที่ 2 เมื่อต้นมันอายุได้ประมาณ 15 วัน และ ครั้งที่ 3 เมื่อมันอายุได้ 30 วัน ในอัตรา 50-100 กิโลกรัมต่อไร่ ตามความอุดมสมบูรณ์ของดิน แล้วทำพรวนดินกลบโคนต้นทุกครั้ง

การเก็บเกี่ยว มันเทศมีอายุการเก็บเกี่ยว ประมาณ 90-150 วัน แล้วแต่พันธุ์ที่ปลูก โดยสังเกตจากผิวต้นบริเวณโคนต้นมันเทศ จะแตกแยกออกเป็นรอย หรือทดลองขุดดูสัก 2-3 ต้น ใช้มีดตัดหัวมันเทศ ถ้าแก่เต็มที่รอยตัดจะมียางไหลซึมออกมา และแห้งไปอย่างรวดเร็ว การขุดต้องระมัดระวังอย่าให้บอบช้ำ หรือมีรอยแผล จะเสียราคา นำหัวที่ขุดมาไปผึ่งลมให้ดินที่ติดมาแห้ง และหลุดร่วงไป ทำความสะอาด คัดขนาด บรรจุถุงรอการจำหน่ายต่อไป

การดูแลรักษา โรคของมันเทศ ได้แก่ โรคใบจุด โรคหัวเน่า ควรฉีดพ่นน้ำยาฉุนผสมน้ำสะเดา และรอยตัดที่หัว หรือที่เป็นแผล ให้ทาด้วยปูนแดงให้ทั่ว เพื่อป้องกันไม่ให้ลุกลามต่อไป ส่วนแมลงนั้นได้ แก่ ด้วงงวง หนอนชอนใบ ควรฉีด พ่นด้วยน้ำยาฉุนผสมน้ำสะเดาเช่นกัน
การเลือกพันธุ์มันสำปะหลัง ให้เหมาะกับดิน และสภาพพื้นที่ปลูก
การเลือกพันธุ์มันสำปะหลัง ให้เหมาะกับดิน และสภาพพื้นที่ปลูก
การเลือกพันธุ์มันสำปะหลัง ให้เหมาะกับดิน และสภาพพื้นที่ปลูก
ดินทราย
- เนื้อดินมีลักษณะหยาบ (ทรายจัด)
- ความอุดมสมบูรณ์ต่ำมาก
- การระบายน้ำดีมาก
- พบมากในภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

พันธุ์มันสำปะหลัง ที่เหมาะสมกับดินทราย
- มันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50
- มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 72

ดินร่วนปนทราย
- เนื้อดินค่อนข้างหยาบ
- ความอุดมสมบูรณ์ค่อนข้างต่ำ
- การระบายน้ำดี
- พบมากในทุกภาค

พันธุ์มันสำปะหลัง ที่เหมาะสมกับดินร่วนปนทราย
- มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 7
- มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 9
- มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 90
- มันสำปะหลังพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50

ดินร่วนปนเหนียว
- เนื้อดินปานกลางถึงค่อนข้างละเอียด
- ความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงค่อนข้างดี
- การระบายน้ำปานกลาง
- พบมากในทุกภาค

พันธุ์มันสำปะหลัง ที่เหมาะสมกับดินร่วนปนเหนียว
- มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 5
- มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 7
- มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 11
- มันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 80

ดินด่างหรือดินที่มีหินปูนปะปน
- เนื้อดินปานกลาง
- มีเม็ดปูนปะปนสะสมที่ความลึกตั้งแต่ 50-100 เซนติเมตร
- ความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงสูง
- การระบายน้ำปานกลางถึงดี
- มักมีปัญหาการขาดธาตุเหล็ก สังกะสี กำมะถัน
- พบมากตามที่ลาดเชิงเขาใกล้ภูเขาหินปูนในภาคกลาง ภาคตะวันตก และภาคเหนือ

พันธุ์มันสำปะหลัง ที่เหมาะสมกับดินด่าง หรือดินที่มีหินปูนปะปน
- มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 5
- มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 11

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
ขั้นตอนการปลูกตะไคร้
ขั้นตอนการปลูกตะไคร้
1. เลือกพันธุ์ที่ดี สำหรับตระไครในบ้านเราที่นิยมปลูกกันมีอยู่ 2 สายพันธุ์ นั่นก็คือพันธุ์พื้นบ้าน และก็พันธุ์เกษตร ซึ่งแนะนำให้ปลูกพันธุ์เกษตรเพราะให้ผลผลิตที่สูงกว่า ลำต้นใหญ่กว่าพันธุ์พื้นบ้าน มีราคาเท่ากัน

2. ตัดใบ (เพื่อลดการคลายน้ำ )และรากของตะไคร้ออก เพื่อเตรียมการปลูก เกษตรกรสามารถที่จะนำต้นตระไคร้แช่น้ำไว้สัก 5 วันก่อนการปลูกเพื่อให้มั่นใจว่าตะไคร้มีรากงอกออกมานั้นแปลว่าปลูกได้ 100 เปอร์เซ็นต์

3. การเตรียมดิน ทำการไถพรวนดินสัก 2 รอบ ยกร่องได้จะดีมากโรยปูนขาวเพื่อปรับสภาพดิน ทิ้งไว้ 5- 7วัน ก่อนทำการปลูก

4. ขุดหลุมสำหรับปลูกต้นตะไคร้ขนาด 25 X 25 เซ็นติเมตร (2จอบ) ลึก 25 เซ็นติเมตร นำปุยคอกผสมกับดินคลุกให้เข้ากันปักต้นพันธุ์ตะไคร้ลงดินให้มีลักษณะเอียง 45 องศา ลึก 5 เซนติเมตร จำนวนหลุมละ 2 ต้น

5. รดน้ำในช่วงแรกๆ 2-3 วันต่อครั้ง หลังจากตะไครเริ่มงามแล้ว สัปดาห์ละครั้ง แนะนำให้ทำเป็นระบบให้น้ำผ่านทางท่อเพื่อลดการใช้แรงงานและเวลาในการรดน้ำ

6. เมื่อเข้าเดือนที่ 3 สามารถเริ่มให้ปุ๋ยเร่งสูตร 46-0-0 หรือใครที่จะทำเป็นออแกนิกส์ก็เปลี่ยนเป็นปุ๋ยคอก เสร็จแล้วรดน้ำอีกครั้ง

7. เมื่อเข้าเดือนที่ 6 ก็สามารถเก็บขายได้เลย โดย 1 กอสามารถให้ผลผลิตได้ 6-10 กิโลกรัมสำหรับแมลงศัตรูพืชไม่มีให้มารบกวนแน่นอน เพราะตัวตะไคร้เองมีสารสำหรับไล่แมลงอยู่แล้วหายห่วง แถมลดต้นทุนได้อีกมาก ต้นทุนต่อไร่ให้สูงสุดไม่น่าจะเกิน 3_000 บาท

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
โรคลิ้นจี่ ใบจุดสนิม ใบจุดสาหร่าย โรคราสนิมลิ้นจี่ โรคราดำลิ้นจี่ ลิ้นจี่ใบไหม้ โรคลิ้นจี่ต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา
โรคลิ้นจี่ ใบจุดสนิม ใบจุดสาหร่าย โรคราสนิมลิ้นจี่ โรคราดำลิ้นจี่ ลิ้นจี่ใบไหม้ โรคลิ้นจี่ต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา
โรคลิ้นจี่ ใบจุดสนิม ใบจุดสาหร่าย โรคราสนิมลิ้นจี่ โรคราดำลิ้นจี่ ลิ้นจี่ใบไหม้ โรคลิ้นจี่ต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา
โรคใบจุดสนิม หรือจุดสาหร่าย
สาเหตุ สาหร่ายเซฟาลิวโรส ( Cephaleuros virescens)

ลักษณะอาการ เกิดบนใบแก่ลิ้นจี่ แผลเริ่มแรกเป็นจุดขุยสีเทาอมเขียวฟูเล็กน้อย เกิดกระจัดกระจายบนใบ ต่อมาจุดจะขยายออกและเปลี่ยนเป็นสีเหลืองแกมส้มหรือสีสนิม ลักษณะค่อนข้างกลมขนาด 3-5 มิลลิเมตร ระยะต่อมาจุดจะแห้งและทำให้เนื้อเยื่อใบทั้งด้านบนและใต้ใบบริเวณแผลมีลักษณะสีน้ำตาลดำ ในที่สุดใบที่เป็นโรคจะมีสีซีดเหลืองปนน้ำตาลและใบร่วง

การแพร่ระบาด
สาหร่ายแพร่ระบาดไปกับลมและพายุฝน เข้าทำลายในสภาพอากาศที่มีความชื้นสูง พืชอาศัยของสาหร่ายชนิดนี้มีหลายชนิดเช่น มะม่วง ลำไย เงาะ ฝรั่ง ส้ม ทุเรียน และไม้ผลอื่น ๆ

การป้องกันกำจัด
ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง และพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์

โรคราสนิม
สาเหตุ เชื้อราสเกอกา (Skierka nephelii)

ลักษณะอาการ ใบลิ้นจี่ที่แก่บริเวณใต้ทรงพุ่ม แสดงอาการเป็นจุดนูนขนาดเล็กมากสีเหลือง เกิดกระจัด กระจายทางด้านใต้ใบ และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลในระยะต่อมา

การแพร่ระบาด สปอร์ของเชื้อราฟุ้งกระจายแพร่ระบาดไปกับลมและพายุ ในสภาพอากาศทางภาคเหนือ ของประเทศไทย

การป้องกันกำจัด ตัดแต่งกิ่งให้โปร่ง และพ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชแมนโคเซบ เป็นโรคที่ยังไม่มี ความสำคัญทางเศรษฐกิจ
โรคลำต้นและกิ่งแห้ง

สาเหตุ ยังไม่ทราบสาเหตุ

ลักษณะอาการ พบเป็นกับลิ้นจี่หลายพันธุ์ อายุ 3-20 ปี ส่วนใหญ่เมื่อต้นลิ้นจี่มีอายุตั้งแต่ 10 ปี ขึ้นไป เริ่มแรกแสดงอาการทรุดโทรมใบร่วงและปลายกิ่งแห้งเป็นบางกิ่งหรือทั้งต้น บริเวณโคน ลำกิ่งหรือลำต้น มีแผลลักษณะเป็นรอยแตก รูปร่างและขนาดไม่แน่นอน เมื่อเฉือนผิวเปลือกออก แผลมีอาการไหม้สีน้ำตาลหรือสีน้ำตาลดำ การพัฒนาของโรคจะเป็นไปอย่างช้า ๆ กรณีต้นลิ้นจี่ที่มีอายุยังน้อยการพัฒนาการจะเป็นอย่างเฉียบพลัน ใบจะร่วงและกิ่งแห้งอย่างรวดเร็ว ในที่สุดต้นลิ้นจี่มีลักษณะยืนต้นตาย

การแพร่ระบาด พบเป็นกับต้นลิ้นจี่ตลอดทั้งปี

การป้องกันกำจัด ตัดแต่งกิ่งเป็นโรคนำไปเผาทำลาย แล้วบำรุงรักษาต้นให้สมบูรณ์แข็งแรง โดยการใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยเคมี และพ่นสารป้องกันกำจัดศัตรูพืชอย่างสม่ำเสมอ

โรคราดำ
สาเหตุ เชื้อรา แคบโนเดียม และเมลิโอลา (Copnodium sp. และ Meliola sp.)

ลักษณะอาการ ใบ กิ่ง ช่อดอก และช่อผล มีลักษณะเป็นคราบเขม่าหรือฝุ่นผง มีสีดำ ขึ้นเจริญปกคลุมทำให้ชะงักการเจริญเติบโตและผิวของผลไม่สะอาด เมื่อถูกน้ำฝนชะล้างคราบเขม่าสีดำของเชื้อราจะหลุดไปเอง

การแพร่ระบาด เชื้อราดำแพร่ระบาดภายหลังแมลงพวกดูด เช่น เพลี้ยหอย เพลี้ยแป้งเข้าทำลายต้นลิ้นจี่ แล้วขับถ่ายสารเหนียวเป็นละอองน้ำหวาน (honey dew) ลงบนพืช ซึ่งเป็นอาหารของเชื้อราดำ

การป้องกันกำจัด ตัดแต่งทรงพุ่มให้โปร่ง ควบคุมการแพร่ระบาดของแมลงเพลี้ยหอย และเพลี้ยแป้ง และพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชอย่างสม่ำเสมอ

โรคเปลือกผลไหม้

สาเหตุ ยังไม่ทราบสาเหตุของโรคที่ชัดเจน

ลักษณะอาการ โรคเปลือกผลไหม้ มี 2 ลักษณะ

- อาการไหม้บริเวณขั้วผล แผลมีลักษณะสีน้ำตาลอ่อนขอบแผลสีน้ำตาล รูปไข่และขนาดไม่แน่นอน ขนานไปตามความยาวผลพบในระยะที่ผลลิ้นจี่กำลังสร้างเนื้อผล (เปลือกสีเขียวปนเหลือง) ต่อมาเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือน้ำตาลปนดำ บางครั้งแผลแตกปริเนื่องจากเนื้อผลขยายขนา

- อาการไหม้ทั่วไปบนผล แผลมีลักษณะสีน้ำตาลอ่อนจนถึง น้ำตาลปนดำบนผล ตำแหน่ง ขนาดและรูปร่างของแผล ไม่แน่นอน พบในระยะที่ผลลิ้นจี่กำลังสร้างเนื้อเป็นต้นไป แผลอาจแตกปริเนื่องจากเนื้อผลขยายขนาด
โรคผลแตก

สาเหตุ ลิ้นจี่ได้รับน้ำหรือธาตุอาหารไม่เพียงพอในระยะระหว่างที่ผลลิ้นจี่กำลังพัฒนา

ลักษณะอาการ เปลือกผลแตกตามความยาวของผลบริเวณก้นผลในระยะที่ผลลิ้นจี่กำลังสร้างเนื้อผลหุ้มเมล็ด และระยะที่เปลือกผลเริ่มเปลี่ยนสี ต่อมาเนื้อผลเน่าเนื่องจากมีจุลินทรีย์เข้าทำลายซ้ำเติม การแพร่ระบาด เป็นโรคที่ไม่ติดเชื้อไม่มีการแพร่ระบาด

การป้องกันกำจัด

1. ให้น้ำลิ้นจี่ทีละน้อยและสม่ำเสมอระหว่างที่ผลลิ้นจี่ กำลังพัฒนา

2. ให้ปุ๋ยธาตุอาหารรองอย่างสม่ำเสมอระหว่างที่ผลลิ้นจี่กำลังพัฒนา เช่น ธาตุแคลเซียม โบรอน สังกะสี ทองแดง และแมกนีเซียม นอกเหนือจากการให้ธาตุอาหารหลักได้แก่ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโปแตสเซียม

3. พ่นสารป้องกันและกำจัดโรคแมลงศัตรูพืชโดยสม่ำเสมอ
โรคผลร่วง
สาเหตุเป็นผลมาจากการตายของคัภพะในระหว่างที่ใบเลี้ยงมีการพัฒนา เกิดในช่วงที่ผลลิ้นจี่มีอายุ ประมาณ30-50 วัน ภายหลังการผสมเกสร และบางครั้งอาจเกิดจากการทำลายของหนอนเจาะขั้วลิ้นจี่

ลักษณะอาการ ผลลิ้นจี่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5-8 มิลลิเมตร ร่วง ผลลิ้นจี่บางส่วนอาจไม่ร่วงและมีการพัฒนาเจริญเติบโตไปจนแก่และสุก แต่ผลจะมีขนาดเล็กกว่าผลที่มีเมล็ดปกติ

การแพร่ระบาด สาเหตุที่เกิดจากการตายของคัภพะ ไม่ทำให้โรคแพร่ระบาด ปัจจัยที่เกิดจากหนอนเจาะขั้ว ลิ้นจี่ ดูรายละเอียดในแมลงศัตรูลิ้นจี่และการป้องกันกำจัด

การป้องกันกำจัด การตายของคัภพะไม่ทราบวิธีการป้องกันกำจัด ส่วนการป้องกันกำจัดหนอนเจาะขั้วลิ้นจี่ ดูในแมลงศัตรูลิ้นจี่และการป้องกันกำจัด
โรคราน้ำค้างเทียม หรือโรคผลไหม้สีน้ำตาล
สาเหตุ เชื้อราเพอร์โรโนไฟโธรา (Peronophythora litchii)

ลักษณะอาการ เกิดแผลสีน้ำตาลดำรูปร่างและขนาดไม่แน่นอน และขอบแผลมีลักษณะไม่ชัดเจนบนก้านผล ผล ใบ และรากลิ้นจี่ เชื้อราสร้างส่วนขยายพันธุ์สีขาวฟูบนแผลในช่วงระยะหลังของการติดเชื้อ เมื่อสภาพแวดล้อมชุ่มชื้นและมีฝนตก

การแพร่ระบาด เชื้อราฟักตัวข้ามฤดูถัดไป หรือเศษซากพืชที่ติดเชื้อ แล้วแพร่ระบาดไปกับน้ำฝน ลมพายุ แมลง และดินที่มีเชื้อในฤดูถัดไป สภาพอุณหภูมิที่ 22-25 0C และมีฝนตกชุกเกือบทุกวัน โรคจะลุกลามและแพร่ระบาดอย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง

การป้องกันกำจัด การป้องกันกำจัดโรคราน้ำค้างเทียม จะให้ผลดีถ้าใช้วิธีผสมผสานกันระหว่างวิธีการต่าง ๆ ดังนี้

1. ปลูกลิ้นจี่ให้มีระยะห่างที่พอเหมาะไม่ปลูกชิดเกินไป

2. ตัดแต่งกิ่งให้โปร่งเพื่อให้แสงแดดส่องถึงโคนต้น และกำจัดวัชพืชภายใต้ทรงพุ่ม แล้วขนย้ายกิ่งแห้ง และกิ่งที่ติดเชื้อออกไปจากแปลงแล้วเผาทำลาย

3 บำรุงรักษาต้นลิ้นจี่ให้เจริญเติบโตแข็งแรง โดยการใส่ปุ๋ย ให้น้ำในช่วงที่อากาศแห้งแล้งและพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืชและสารฆ่าแมลงอย่างสม่ำเสมอ

4. หมั่นตรวจแปลงในฤดูหนาวเมื่อพบใบลิ้นจี่เป็นโรค ควรพ่นต้นลิ้นจี่และผิวดินบริเวณ โคนต้นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชคอปเปอร์ออกซีคลอไรด์ กรณีที่พบโรคช่วงฤดูฝน ซึ่งสภาพอากาศอบอุ่นและดินมีความชื้นสูง ควรพ่นด้วยสารละลายจุนสีเข้มข้น 0.2-0.3% ผสมโซดาซักผ้า เข้มข้น 0.1% ถ้าพ่นบนผิวดินเพิ่มความเข้มข้นเป็น 2 เท่า จาก นั้นโรยปูนขาวบริเวณโคนต้น
5.การป้องกันกำจัดโรคในระยะแตกตาดอก ระยะเริ่มติดผลไปจนถึงก่อนผลสุกควรพ่นป้องกันด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชแมนโคเซบ เมื่อพบอาการของโรคปรากฏที่ผลเพียง 1 ผล ให้เปลี่ยนไปพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช เมตาแลกซิลผลมแมนโคเซบ ไซม๊อกซานิล และแมนโคเซบ ฯลฯ จำนวน 1-2 ครั้ง แล้วกลับไปพ่นสารป้องกันกำจัดโรคพืช แมนโคเซบ เช่นเดิม เว้นระยะให้สารเคมีสลายตัวก่อนการเก็บเกี่ยวอย่างน้อย 7 วัน

6. กรณีที่ผลและใบลิ้นจี่เป็นโรคแล้วร่วงหล่นอยู่บนพื้นดินภายใต้ทรงพุ่ม ควรรีบเก็บแล้วนำไปเผาทำลาย ไม่ควรปล่อยทิ้งไว้นาน เนื่องจากเชื้อราสามารถมีชีวิตและอาศัยอยู่ในดินข้ามฤดู เมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสมจะทำให้เกิดการติดเชื้อใหม่ในฤดูต่อไป

สาเหตุ เกิดจากเชื้อราหลายชนิด เช่น เชื้อราคอเลคโตตริคัม (Colletrichum gloeosporioides)
เชื้อราโบทรัยโอดิโพลเดีย (Botryodipia theobromae) เชื้อราโฟมา (Phoma sp.) เชื้อราโฟมอพซิส (Phomopsissp.) เป็นต้น

ลักษณะอาการ ผลลิ้นจี่สุกภายหลังเก็บเกี่ยวที่เก็บรักษาไว้ในสภาพควบคุมความชื้น จะแสดงอาการแผลเน่า สีน้ำตาลเข้มจนถึงสีน้ำตาลดำ ลักษณะแผลค่อนข้างกลมมีขนาดไม่แน่นอน เชื้อราสร้างเส้นใยและมวลสปอร์บนผิวเปลือกที่เป็นโรค ภายใต้สภาพอุณหภูมิห้องโรคผลเน่าจะพัฒนาอย่างรวดเร็วภายในเวลา 2-3 วัน การเก็บรักษาผลลิ้นจีในสภาพอุณหภูมิ 5-6๐C

อาการโรค ผลเน่าจะมีการพัฒนาการไปอย่างช้า ๆ และอาการรุนแรงน้อยกว่าการเก็บรักษา ในสภาพอุณหภูมิห้อง

การแพร่ระบาด เชื้อราแพร่ระบาดไปกับลมและพายุฝน เข้าทำลายผลลิ้นจี่แบบแฝงตั้งแต่ในแปลงปลูก แต่จะปรากฏอาการให้เห็นภายหลังการเก็บเกี่ยว

การป้องกันกำจัด พ่นป้องกันด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชแมนโคเซบ โปรคลอราซ คาร์เบนดาซิม ฯลฯ ชนิดใดชนิดหนึ่ง และหยุดพ่นก่อนเก็บเกี่ยวผลผลิตอย่างน้อย 14 วัน

อ้างอิง arda.or.th/kasetinfo/north/plant/lychee_disease.html
ความหมายของสูตรปุ๋ย ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 0-0-60 หรือ 18-46-0 หรือ 46-0-0 หรือ x-x-x ... หมายความว่าอะไร
ความหมายของสูตรปุ๋ย ปุ๋ยสูตร 15-15-15 หรือ 0-0-60 หรือ 18-46-0 หรือ 46-0-0 หรือ x-x-x ... หมายความว่าอะไร
เพื่อนๆเคยสงสัยกันไหมว่า เวลาเราไปซื้อปุ๋ย เพื่อใส่กับพืชที่เราปลูก เช่น ไปซื้อปุ๋ย แล้วได้สูตร 16-16-16 หรือสูตรอื่นๆมานั้น ตัวเลข 3 หลังนั้น หมายความว่าอย่างไร

จริงๆแล้ว ตัวเลข 3 หลักนั้น หมายถึง ธาตุอาหารพืช ถูกวางเรียงกันดังนี้
ไนโตรเจน(N)-ฟอสฟอรัส(P)-โพแตสเซียม(K) เช่น 15-15-15 แปลว่า ปุ๋ยสูตรนี้ ประกอบไปด้วย ไนโตรเจน15เปอร์เซนต์ - ฟอสฟอรัส15เปอร์เซนต์ - โพแตสเซียม15เปอร์เซนต์

ทำไม.. ปุ๋ยส่วนมาก เน้นแต่ 3 ธาตุอาหาร N-P-K ล่ะ

ตอบว่า มหาสารอาหาร (macronutrients) คือกลุ่ม ธาตุอาหารพืช ที่จำเป็นต่อพืชมากที่สุด มีอยู่ 9 ธาตุ
1.คาร์บอน 2.ไฮโดรเจน 3.ออกซิเจน
4.ไนโตรเจน 5.ฟอสฟอรัส 6.โพแทสเซียม
7.กำมะถัน 8.แคลเซียม 9.แมกนีเซียม

แล้วทำไม.. ให้แค่ 3 ตัวล่ะ มีทั้งหมด 9 ธาตุ
คาร์บอน พืชได้รับจากขบวนการสังเคราะห์แสง โดยรับคาร์บอนไดออกไซด์มาจากอากาศ
ไฮโดรเจน พืชได้รับไฮโดรเจนส่วนใหญ่จากน้ำ
ออกซิเจน พืชได้รับออกซิเจน จากกระบวนการสังเคราะห์แสง

ตัดออกไป 3 เหลืออีก 6 ธาตุ
macronutrients แบ่งเป็น สองกลุ่ม
1.ธาตุอาหารหลัก (primary macronutrients) ได้แก่ ไนโตรเจน (N)_ ฟอสฟอรัส (P)_ และ โพแทสเซียม (K)
2.ธาตุอาหารรอง (secondary macronutrients) ได้แก่ แคลเซียม (Ca)_แมกนีเซียม (Mg)_ และ ซัลเฟอร์(กำมะถัน) (S)

จะเห็นได้แล้วว่า N_ P_ K หรือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และ โพแตสเซียมนั้น จัดเป็น ธาตุอาหารหลัก
คำว่า หลัก ก็คือสำคัญที่สุดพืชต้องการเยอะ ก็เลยต้องเติม 3 ธาตุนี้ มากที่สุด ปุ๋ยสูตร จึงเน้น 3 ธาตุนี้เป็นหลัก หากพืชที่ปลูกพืช ไม่โดนปลูกซ้ำแล้วซ้ำเล่าหลายสิบปี และสภาพดินไม่แย่ ก็อาจจะไม่ขาด ธาตุอาหารอื่นๆ เลยเติมเฉพาะ 3 ธาตุหลักนี้

แต่ปัจจุบัน การปลูกพืชเมืองไทย ทำเกษตรมานานซ้ำที่เดิมมาหลายสิบปี และไม่ค่อยได้เติมอินทรียวัตถุ จึงอาจจะเกิดอาการขาดธาตุรอง แคลเซียม แมกนีเซียม และกำมะถันด้วย หลายๆแปลงเกษตร จึงจำเป็นต้องใช้พวก สารปรับสภาพดิน และปุ๋ยธาตุเสริมต่างๆ

เราควรซื้อ ปุ๋ยสูตรอะไรดี?

ในบทความนี้ ขอตอบแบบง่ายๆ จำได้ง่ายๆเลย ให้จำดังนี้
N-P-K
คือ ไนโตรเจน-ฟอสฟอรัส-โพแตสเซียม
คือ ต้น-ดอกและระบบราก-ผลผลิต
อยากเร่งต้น เร่งโต เร่งใบ ใช้ปุ๋ยสูตรเลขตัวหน้า หรือ N สูง กว่า ตัวกลาง และ ตัวหลัง
อยากเร่งดอก เร่งราก ใช้ปุ๋ยเลขตัวกลาง หรือ P สูงกว่า ตัวหน้า และ ตัวหลัง
อย่างเร่งผลผลิต ผลโต เพิ่มความหวาน เร่งน้ำยาง ใช้ปุ๋ยเลขตัวหลัง หรือ K สูงกว่า ตัวหน้า และ ตัวกลาง

เช่น
46-0-0 แม่ปุ๋ยเร่งต้น
18-46-0 แม่ปุ๋ยเร่งดอกเร่งราก
0-0-60 แม่ปุ๋ยเร่งผลผลิต
เป็นต้น

สินค้าจากเรา ปุ๋ยน้ำ FK-1 ที่ประกอบด้วย ปุ๋ยสูตร 20-20-20 บวกด้วย แคลเซียม แมกนีเซียม และ สังกะสี ใช้ เร่งการเจริญเติบโต แตกยอด ผลิใบ สร้างความสมบูรณ์ แข็งแรง พืชจึงต้านทานต่อโรคได้ดีขึ้น

เขียนโดย FarmKaset.ORG อ้างอิง WiKi Pedia
ปุ๋ยสำหรับลำไย ฉีดพ่นทางใบ FK-1 เร่งโต และ FK-3 เพิ่มผลผลิต
ปุ๋ยสำหรับลำไย ฉีดพ่นทางใบ FK-1 เร่งโต และ FK-3 เพิ่มผลผลิต
ฉีดพ่น FK-1 เพื่อส่งเสริมการเจริญเติบโตของลำไยก่อนออกผล ทำให้ต้นลำไยโตไว ขยายทรงพุ่ม มีความสมบูรณ์แข็งแรง พร้อมที่จะติดดอกออกผล

ฉีดพ่น FK-3 เมื่อลำไยติดผล เพื่อส่งเสริมขบวนการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาล มาสะสมเป็นผลผลิต ทำให้ ลำไยผลโต น้ำหนักดี มีคุณภาพ ผลผลิตสูง ขายได้ราคา

FK-1 ราคา 890 บาท ผสมน้ำได้ 400 ลิตร
FK-3 ราคา 950 บาท ผสมน้ำได้ 400 ลิตร
ซื้อทั้งสองอย่าง 1840 บาท

ข้อมูลและอัตราผสมใช้

🌿 FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร

🌿 FK-3 มีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลักเน้นโพแตสเซียม ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร

🌿ข้อมูลจำเพาะ FK-1 และ FK-3

FK-1 และ FK-3 ต่างกันตรงที่
FK-1 จะให้ ธาตุ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส และโพแตสเซียม สูง เสมอเท่ากัน เหมาะกับการส่งเสริมการเจริญเติบโต ให้พืช สมบูรณ์แข็งแรง พร้อมก่อนจะออกผลผลิต
FK-3 จะให้ ธาตุ โพแตสเซียม สูงมากเป็นพิเศษ เพื่อเร่งผลผลิต ให้ผลโต น้ำหนักดี เพิ่มแป้งและน้ำตาลได้ดี ลดไนโตรเจนลง เพื่อป้องกันกันขึ้นใบ (บ้าใบ) เน้นที่ผลผลิตแทน เหมาะสำหรับระยะออกผล

ธาตุรอง และธาตุเสริม จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช และถูกดึงออกจากดินในทุกๆรอบการปลูกพืช ซึ่งปุ๋ยทั่วๆไป ไม่เคยเติมธาตุเหล่านี้ ซึ่งธาตุรองธาตุเสริมที่ขาด จะกลายเป็นข้อจำกัดการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจาก "พืชจะเจริญเติบโตได้มากที่สุด เท่ากับธาตุอาหารที่มีต่ำที่สุด" ตามกฎ Liebig s law of the minimum ปุ๋ยตรา FK ประกอบด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช จึงทำให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่เกิดอาการขาดธาตุ ซึ่งบางอย่าง เป็นธาตุที่ปุ๋ยอินทรีย์ไม่สามารถให้ได้

เมื่อพืช ได้รับธาตุอาหารที่ขาดไป ธาตุอาหารพืชต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในดิน ที่พืชไม่เคยดูดกินไปใช้ประโยชน์ได้ ก็สามารถนำไปใช้ได้ เนื่องจาก ธาตุบางตัว เป็นตัวนำพาธาตุอื่นๆ เช่น

- ขาดธาตุ แคลเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ แต่พืชเอาไปใช้ได้น้อย ถ้าขาดแคลเซียม) ธาตุแคลเซียม [Ca] ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนย้ายของสารอาหารต่างๆเข้าสู่พืช และยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการทำงานของเอนไซม์พืชหลายชนิด
การขาดแคลเซียม มีผลทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะพืชไม่สามารถนำสารอาหารในดินที่มีอยู่ไปใช้งานได้

- ขาดธาตุ แมกนีเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ ฉีดทางใบก็เยอะ แต่พืชก็ยังเหลือง ไม่สมบูรณ์) ธาตุแมกนีเซียม [Mg] เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของคลอโรฟิลล์ และก็มีความสำคัญในกระบวนการสร้างATPโดยทำหน้าที่เป็นโคแฟกเตอร์ (enzyme cofactor).
การขาดแมกนีเซียม อาจทำให้เกิดอาการเหลืองระหว่างเส้นใบ (interveinal chlorosis).

- ขาดธาตุ สังกะสี (พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะขาดสังกะสี) ธาตุสังกะสี [Zn] เป็นส่วนสำคัญสำหรับเอนไซม์หลายชนิดและเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการถอดรหัสพันธุกรรม (DNA transcription).
การขาดสังกะสี โดยทั่วไปแล้วจะทำให้การเติบโตของใบชะงักงัน

การฉีดพ่น FK-1 ที่มีครบทั้ง ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม จึงช่วยบำรุง ฟื้นฟู ส่งเสริมการเจริญเติบโต การแตกยอด ใบ เสริมสร้างความสมบูรณ์ แข็งแรง ตลอดจนผลผลิตที่ดีขึ้น

🔤ทักแชทได้เลยค่ะ

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกลิงค์เพื่อแอดไลน์ http://www.farmkaset..link..

🎖สั่งซื้อผ่านหน้าเว็บฟาร์มเกษตรโดยตรง (เลือกแยกซื้อได้) :
http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อ FK-1_FK-3 กับ Lazada : http://www.farmkaset..link..

🎗ซื้อ FK-1_FK-3 กับ Shopee : http://www.farmkaset..link..

ปุ๋ยฉีดพ่นลำไย ปุ๋ยน้ำลำไย ปุ๋ยเพิ่มผลผลิตลำไย ปุ๋ยเพิ่มน้ำหนักลำไย
🎗เพลี้ยไฟกุหลาบ
🎗เพลี้ยไฟกุหลาบ
🎗เพลี้ยไฟกุหลาบ
เพลี้ยไฟ เป็นแมลงศัตรูกุหลาบ ที่สำคัญชนิดหนึ่ง เพลี้ยไฟกุหลาบ จะดูดกินน้ำเลี้ยงในส่วนที่อ่อนของพืช เช่น ยอดอ่อนของกุหลาบ ตาดอก ใต้กลีบดอกกุหลาบ และใต้ใบ เป็นแห่งที่ซ่อนของเพลี้ยไฟ เมื่อเพลี้ยไฟเข้าทำลายกุหลาบ จำทำให้ดอกมีสีซีดเป็นทางสีขาว น้ำตาล และ ดำ ใบกุหลาบจะหงิกงอ เป็นคลื่น ยอดกุหลาบหงิก ใบกุหลาบบิดเบี้ยง เสียรูปทรง ดอกกุหลาบไม่บาน หนักเข้า ก็อาจจะเหี่ยว แห้ง และตายได้ในที่สุด

🦗 ฉีดพ่น มาคา สารอินทรีย์ กำจัด เพลี้ย แมลงหวี่ขาว แมลงพาหะของโรค และแมลงจำพวกปากดูดต่างๆ ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน (2 ครั้ง)

🌿 ฉีดพ่น FKธรรมชาตินิยม เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี

🎯 สามารถผสม FKธรรมชาตินิยม ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส
🎯 ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

🔤ทักแชทได้เลยค่ะ

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกลิงค์เพื่อแอดไลน์ http://www.farmkaset..link..

🦗ข้อมูล มาคา

มาคา เป็นยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ แมลงจำพวกปากดูดต่างๆ กำจัดแมลงศัตรูพืช
สกัดจากพืช_ 100% จากธรรมชาติ ปลอดสารพิษ ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค
*การใช้มาคากำจัด เพลี้ย และแมลงศัตรูพืช กรณีลูกค้าใช้ปุ๋ยหมัก ที่หมักเอง ใช้น้ำหมักต่างๆ ให้เลิกใช้ทันที เนื่องจากอาจเป็นการเติมเชื้อโรคเข้าไปเรื่อยๆขณะทำการรักษา (80% ของการเกิดโรคพืช และล้อแมลง มีสาเหตุจากการใช้กากน้ำตาล การหมักปุ๋ย การทำน้ำหมักใช้เอง อย่างไม่ถูกวิธี หรือไม่ผ่านกระบวนการฆ่าเชื้ออย่างถูกต้อง)

🌿เกี่ยวกับ FKธรรมชาตินิยม

ธาตุรอง และธาตุเสริม จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช และถูกดึงออกจากดินในทุกๆรอบการปลูกพืช ซึ่งปุ๋ยทั่วๆไป ไม่เคยเติมธาตุเหล่านี้ ซึ่งธาตุรองธาตุเสริมที่ขาด จะกลายเป็นข้อจำกัดการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจาก "พืชจะเจริญเติบโตได้มากที่สุด เท่ากับธาตุอาหารที่มีต่ำที่สุด" ตามกฎ Liebig s law of the minimum

FKธรรมชาตินิยม ประกอบด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช จึงทำให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่เกิดอาการขาดธาตุ ซึ่งบางอย่าง เป็นธาตุที่ปุ๋ยอินทรีย์ไม่สามารถให้ได้

เมื่อพืช ได้รับธาตุอาหารที่ขาดไป ธาตุอาหารพืชต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในดิน ที่พืชไม่เคยดูดกินไปใช้ประโยชน์ได้ ก็สามารถนำไปใช้ได้ เนื่องจาก ธาตุบางตัว เป็นตัวนำพาธาตุอื่นๆ

การฉีดพ่น FKธรรมชาตินิยม ที่มีครบทั้ง ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม จึงช่วยบำรุง ฟื้นฟู ส่งเสริมการเจริญเติบโต การแตกยอด ใบ เสริมสร้างความสมบูรณ์ แข็งแรง ตลอดจนผลผลิตที่ดีขึ้น

🎖คลิกลิงค์เพื่อสั่งซื้อผ่านหน้าเว็บ http://www.farmkaset..link..

อ้างอิง

http://www.farmkaset..link..
ระวังโรคไหม้และขอบใบแห้งของข้าว
ระวังโรคไหม้และขอบใบแห้งของข้าว
เนื่องจากเกษตรกรปลูกข้าวโดยใช้อัตราเมล็ดพันธุ์ และใส่ปุ๋ยไนโตรเจนที่มากเกินไป ประกอบกับความชื้นสัมพัทธ์ในอากาศสูงซึ่งสภาพดังกล่าวเหมาะกับการระบาดของโรคไหม้ข้าวที่เกิดจากเชื้อรา และโรคขอบใบแห้ง สร้างความเสียหายให้แก่ข้าว

นายชัด ขำเอี่ยม เกษตรอำเภอหันคา กล่าวว่า พื้นที่อำเภอหันคา มีพื้นที่ปลูกข้าวทั้งสิ้นจำนวน 198_130 ไร่ แต่พบกับปัญหาภัยแล้งส่งผลให้เกษตรกรทำนาล่าช้ากว่าเดิม ซึ่งขณะนี้ส่วนใหญ่ข้าวอยู่ระยะแตกกอ มีเพียงบางส่วนที่อยู่ในระยะตั้งท้องและออกรวง รวมพื้นที่ยืนต้น จำนวน 105_000 ไร่ คิดเป็นร้อยละ 53 ของพื้นที่ปลูกข้าวทั้งหมด จากการออกสำรวจพบว่า พื้นที่ปลูกข้าวบางส่วนของเกษตรที่ปลูกข้าวพันธุ์ กข41 ซึ่งเป็นพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคขอบใบแห้ง หากเกษตรกรพบต้นข้าวได้รับเชื้อราเข้าทำลายจะแสดงอาการตามระยะการเจริญเติบโต ดังนี้

โรคไหม้ข้าว ซึ่งเกิดจากเชื้อรา พบที่ใบจะเป็นแผลจุดสีน้ำตาลคล้ายรูปตา สีเทาอยู่ตรงกลางแผลขนาดแตกต่างกันไป จุดแผลนี้สามารถขยายแผลลุกลามจนแผลติดกัน กระจายทั่วไปในกรณีที่โรครุนแรง กล้าข้าวจะแห้งและฟุบตายทั้งกอ อาการคล้ายถูกไฟไหม้ การป้องกันกำจัด โดยใช้พันธุ์ต้านทาน เช่น สุพรรณบุรี1 คลองหลวง1 ในส่วนของ โรคขอบใบแห้ง ซึ่งเกิดจากเชื้อ แบคทีเรีย โรคนี้เป็นได้ตั้งแต่ระยะกล้า แตกกอ จนถึง ออกรวง ต้นกล้าก่อนนำไปปักดำจะมีจุดเล็กๆ ลักษณะช้ำที่ขอบใบของใบล่าง ต่อมาประมาณ 7-10 วัน จุดช้ำนี้จะขยายกลายเป็นทางสีเหลืองยาวตามใบข้าว ใบที่เป็นโรคจะแห้งเร็ว และสีเขียวจะจางลงเป็นสีเทาๆ ที่แผลมีหยดน้ำสีครีมคล้ายยางสนกลม ๆ ขนาดเล็กเท่าหัวเข็มหมุด ต่อมาจะกลายเป็นสีน้ำตาลและหลุดไปตามน้ำหรือฝน ซึ่งจะทำให้โรคสามารถระบาดต่อไปได้ ขอบแผลมีลักษณะเป็นขอบลายหยัก แผลนี้เมื่อนานไปจะเปลี่ยนเป็นสีเทา ใบที่เป็นโรค ขอบใบจะแห้งและม้วนตามความยาว

การแพร่ระบาด เชื้อสาเหตุโรคสามารถแพร่ไปกับน้ำ ในสภาพแวดล้อมที่มีความชื้นสูง และสภาพที่มีฝนตก ลมพัดแรง จะช่วยให้โรคแพร่ระบาดอย่างกว้างขวางรวดเร็ว การป้องกันกำจัดใช้พันธุ์ข้าวที่ต้านทาน เช่น พันธุ์สุพรรณบุรี 60 สุพรรณบุรี 90 สุพรรณบุรี 1 สุพรรณบุรี 2 กข7 และ กข23

ทั้งนี้ ขอให้เกษตรกร หมั่นตรวจสอบแปลงข้าวเป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ระยะนี้พบว่าหลายแปลงที่พบทั้ง 2 โรค เกษตรกรสามารถใช้สารเคมีที่มีองค์ประกอบสารเคมีที่สามารถกำจัดได้ทั้งเชื้อรา และแบคทีเรีย เช่น ไอโซโพรไทโอเลน(ฟูจิ-วัน) อีกทั้งควร ป้องกันกำจัดศัตรูพืชแบบผสมผสาน คือ การใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ อัตราที่เหมาะสม ประมาณ 15 กิโลกรัมต่อไร่ ใช้ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดิน (ถูกสูตร ถูกอัตรา ถูกวิธี และถูกระยะเวลา) รวมทั้งใช้สารสมุนไพรและสารชีวภัณฑ์ เพื่อลดต้นทุนการผลิต ปรึกษาสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้านท่าน

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา รายละเอียดด่านล่างนะคะ
ปลูก ข่าตาแดง ส่งโรงงาน สร้างรายได้หลักล้านบาทต่อเดือน
ปลูก ข่าตาแดง ส่งโรงงาน สร้างรายได้หลักล้านบาทต่อเดือน
ปัจจุบันอุตสาหกรรมเครื่องปรุงรสอาหารได้เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พืชเครื่องเทศที่สำคัญอย่าง “ข่า” ที่ให้รสร้อนซ่าจัดจาดและมีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์ กลายเป็นที่ต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ข่ามีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ แต่ถ้าพูดถึงสายพันธุ์ข่าที่เป็นที่ต้องการในอุตสาหกรรมเครื่องปรุงรสก็ได้แก่ “ข่าตาแดง” เพราะด้วยคุณสมบัติที่มีกลิ่น สี และรสชาติที่โดดเด่น ตลอดจนมีสรรพคุณทางสมุนไพรมากมาย ดังนั้น ทำให้ข่าตาแดงเป็นที่ต้องการของตลาดจำนวนมาก

คุณราชพฤกษ์ รักษาการ หรือ คุณเบียร์ บ้านเลขที่ 39 หมู่ 6 บ้านหนองปลาหมอ ตำบลหนองปลาหมอ อำเภอโนนสิลา จังหวัดขอนแก่น (โทร. 09-2470-2095) คนรุ่นใหม่ที่มีใจรักเกษตรโดยผันตัวเองจากอาชีพวิศวกรอนาคตไกล มาเป็นปลูกข่าตาแดง เนื่องจากมองเห็นความต้องการของอุตสาหกรรมเครื่องปรุงรสที่มีความต้องการจำนวนมาก ซึ่งกลายเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข่ารายใหญ่ที่บุกเบิกปลูกข่าตาแดงส่งโรงงานเครื่องปรุงรส สร้างรายได้สูงกว่า 1 ล้านบาท/เดือน

คุณราชพฤกษ์ เล่าถึงจุดเปลี่ยนจากอาชีพวิศวกรมาเป็นเกษตรกรปลูกข่าตาแดงว่า เกิดจากความเบื่อหน่ายเมืองหลวงที่ต้องเจอรถติด รวมถึงความวุ่นวายของผู้คนที่เดินสวนกันอย่างพลุกพล่าน จึงมีความคิดหาอาชีพใหม่ที่ทำอยู่ใกล้ ๆ บ้านอย่างสงบสุข ซึ่งตอนนั้นได้มีโอกาสออกแบบโรงงานให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องปรุงรสอาหาร และได้เห็นว่าอุตสาหกรรมเครื่องปรุงรสอาหารมีความต้องการเครื่องเทศอย่างข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด จำนวนมาก จึงมีความสนใจกับพืชทั้ง 3 อย่างนี้มาก

“เหตุที่เลือกปลูกข่า เพราะแอบไปถามกับเจ้าหน้าที่ในโรงงานเครื่องปรุงรสอาหารว่าพืชเครื่องเทศอะไรที่เป็นที่ต้องการและได้ราคาสูงสุด ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็บอกว่า “ข่า” ดังนั้นจึงกลับไปศึกษาเรื่องข่าพร้อมกับศึกษาตลาดข่าอย่างจริงจัง ซึ่งก็พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มักจะปลูกข่าเหลือง ซึ่งคิดว่าหากเราปลูกพันธุ์ที่แตกต่างกว่าจะสร้างจุดเด่นได้ดีกว่า และทำให้ข่าที่ปลูกมีราคาดี รวมถึงเป็นที่ต้องการของตลาดด้วย”

จากการศึกษาพันธุ์ข่าต่าง ๆ ก็ตัดสินใจเลือกปลูกข่าตาแดงที่มีลักษณะลำต้นขนาดเล็กสีเขียว ใบ มีรูปร่างคล้ายใบพาย ออกสลับกันรอบ ๆ ต้น ออกดอกเป็นช่อตรงปลายยอด เป็นสีขาวและมีสีแดงเล็กน้อย ส่วนหน่อ มีลักษณะเป็นสีแดง มีกลิ่นหอมฉุนมากกว่าข่าพันธุ์อื่น ๆ ตลอดจนมีสรรพคุณ ทั้งขับลม เป็นยาระบาย รักษาโรคบิด บำรุงโลหิต และที่สำคัญเป็นพืชที่ทนแล้ง สามารถปลูกได้ง่ายทุกสภาพพื้นที่ ทำให้ตัดสินใจเลือกปลูกข่าตาแดง พร้อมกับเจาะจงตลาดไปที่อุตสาหกรรมเครื่องปรุงรส

ก่อนปลูกข่าตาแดงก็ได้คุยกับเจ้าหน้าที่โรงงานแล้วว่าจะปลูกข่าตาแดงซึ่งมีทั้งความโดดเด่น สรรพคุณ รวมถึงกลิ่นที่เฉพาะ ทางโรงงานก็ยินดีจะรับ จึงเริ่มลงมือทำอย่างจริงจัง ซึ่งข่าตาแดงที่ปลูกก็เป็นที่ติดใจของตลาด จนมีความต้องการอย่างต่อเนื่องอีกด้วย จากนั้นก็ได้เปลี่ยนอาชีพจากวิศวกรเป็นเกษตรกรปลูกข่าอย่างเต็มตัว

คุณราชพฤกษ์ บอกว่าตอนนี้มีพื้นที่ปลูกข่าตาแดง 120 ไร่ สามารถส่งผลผลิตสู่โรงงานได้วันละ 1.4 ตัน หรือ 1_400 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 30-35 บาท ทำให้มีรายได้ 40_000-50_000 บาท/วัน หรือประมาณ 1_500_000 บาท/เดือน แต่ก่อนที่จะมาถึงจุดนี้ ต้องมีการเรียนรู้เรื่องการปลูกข่าอย่างมาก ซึ่งการเรียนรู้คนเดียวนั้นไม่เพียงพอแน่สำหรับเกษตรกรมือใหม่ ดังนั้น จึงคิดหาวิธีลัดซึ่งก็ คือ การเข้าหาชาวบ้านที่มีประสบการณ์ปลูกข่ามาเป็นสิบ ๆ ปี อาจจะดูโง่ที่จบถึงวิศวกรไปให้เกษตรกรสอนการปลูกข่า แต่สิ่งที่เกษตรกรสอนทุกสิ่งทุกอย่าง มักดีกว่าตำราเป็นร้อย ๆ เล่ม เพราะเรื่องบางเรื่องก็ต้องมาเรียนรู้เอง จะไปเชื่อแต่ในตำราก็ไม่ได้ การที่จะประสบความสำเร็จได้ทุกวันนี้ ต้องมีความขยันหาความรู้ใหม่ ๆ ทั้งในหนังสือ ตลอดจนกล้าที่จะเข้าหาผู้รู้จริง ๆ อย่างเกษตรกรผู้ปลูกนั่นเอง

สำหรับเคล็ดลับการปลูกที่ทำให้ประสบความสำเร็จและสามารถขยายพื้นที่ปลูกข่าได้ถึง 120 ไร่ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุก ๆ วัน คือ ความอดทน ความใส่ใจประณีตทุกกระบวนการในการปลูก รวมถึงความใฝ่รู้ที่ศึกษาเรื่องการปลูกข่าเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดทำได้ดังนี้ การเตรียมดิน ต้องมีการไถระเบิดดินดานเพื่อเปิดหน้าดินและให้พืชได้สัมผัสน้ำได้ดียิ่งขึ้น เมื่อเสร็จแล้วให้ไถพรวนดินให้ละเอียดอีกประมาณ 2 รอบ ทั้งนี้ ในการไถพรวนดินควรระวังน้ำท่วมขัง เพราะข่าจะไม่ชอบดินชื้น ต้องทำอย่างไรก็ได้ไม่ให้น้ำขังในดิน

การเตรียมท่อนพันธุ์ ควรเลือกท่อนพันธุ์ที่มาจากต้นแม่ซึ่งมีอายุ 1 ปีขึ้นไป เพราะจะมีตามาก รากงอกใหม่ได้ง่าย โดยแยกแง่ง ตัดใบ ตัดราก ออกให้หมดพร้อมกับล้างน้ำให้สะอาดก็นำมาปลูกในไร่ให้ผลผลิตได้แล้ว หรือถ้าหาท่อนพันธุ์ไม่ได้ให้หาซื้อท่อนพันธุ์ตามตลาด โดยเลือกหัวและแง่งที่สมบูรณ์ที่สุด จากนั้นให้นำไปแช่น้ำยากันเชื้อราและน้ำยาเร่งราก แช่ไว้ประมาณ 20 นาที ควรเลือกเหง้าที่มีขนาดพอเหมาะ หากเหง้าไหนมีขนาดใหญ่เกินไปให้ตัดแบ่งเป็น 2 เหง้าได้ แต่ควรนำปูนกินหมากผสมน้ำทาตรงแผล เพื่อกันเชื้อราขึ้นซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตของข่า

วิธีการปลูก เริ่มจากใช้จอบขุดหลุมลึก ประมาณ 1 หน้าจอบ แล้วนำเหง้าข่ามาวางลงไปพร้อมกับกลบดินและรดน้ำพอชุ่ม โดยวิธีการปลูกข่ามีทั้งหมด 4 แบบ ได้แก่ ปลูกแบบใช้ท่อนพันธุ์ข่า 1 เหง้า ใช้ระยะห่างระหว่างกอและแถว 60 x 80 เซนติเมตร เป็นการปลูกที่เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ทดลองปลูกข่า เพราะใช้ต้นทุนค่อนข้างต่ำทั้งยังจัดการแปลงได้ง่ายกว่าการปลูกแบบอื่น ๆ ซึ่งการปลูกโดยใช้ท่อนพันธุ์เหง้าเดียวใช้ต้นทุนค่าท่อนพันธุ์ประมาณ 15_000 บาท/ไร่ เมื่อนำผลผลิตไปขายจะได้ทั้งหมด 45_000 บาท/ไร่


วิธีที่ 2 ปลูกแบบใช้ท่อนพันธุ์ข่า 2 เหง้า ซึ่งใช้ระยะห่างระหว่างกอและแถว 80 x 80 เซนติเมตร ใช้ทุนค่าท่อนพันธุ์ 30_000 บาท/ไร่ เก็บเกี่ยวขายผลผลิตได้ 90_000 บาท/ไร่ วิธีที่ 3 ปลูกแบบใช้ท่อนพันธุ์ข่า 3 เหง้า ระยะห่างระหว่างกอและแถว 1 x 1 เมตร ใช้ต้นทุนค่าท่อนพันธุ์ 45_000 บาท/ไร่ เก็บเกี่ยวขายผลผลิตได้ถึง 120_000-135_000 บาท/ไร่ ส่วนวิธีสุดท้ายปลูกแบบใช้ท่อนพันธุ์ข่า 4 เหง้า ใช้ระยะห่างระหว่างกอและแถว 1.20 x 1.20 เมตร ใช้ต้นทุนท่อนพันธุ์ 60_000 บาท/ไร่ เก็บเกี่ยวขายผลผลิตได้ 160_000-180_000 บาท/ไร่

ต้นทุนและจำนวนเงินที่ขายได้ ทั้ง 4 แบบ จะแปรผันตามกันไป เมื่อใช้ท่อนพันธุ์มากขึ้นก็จะได้ผลผลิตข่าที่มากขึ้น ซึ่งการปลูกแบบที่ 1 และ 2 เหมาะสำหรับเกษตรกรรายย่อยหรือเกษตรกรที่เพิ่งทดลองปลูก เนื่องจากมีการจัดการแปลงเรื่องหญ้า ปุ๋ย แมลงที่ง่าย ตลอดจนได้ผลผลิตเหง้าใหญ่ รวมถึงใช้เงินลงทุนที่ต่ำกว่าด้วย ส่วนแบบที่ 3 และ 4 ใช้เงินลงที่สูงกว่า แต่ก็ได้ผลผลิตที่มากกว่า ทั้งยังช่วยจัดการในเรื่องของหญ้า เพราะทรงพุ่มที่ชิดติดกันทำให้หญ้าขึ้นได้ยาก แต่ทว่าผลผลิตข่าที่ได้เหง้าเล็ก ดังนั้น การปลูกแบบ 3 และ 4 จึงเหมาะสมสำหรับเกษตรกรรายใหญ่ที่ต้องการผลผลิตจำนวนมาก โดยที่ไม่ต้องดูแลแปลงปลูกมากนัก

“สำหรับการดูแลรักษาข่า ให้สังเกตต้นข่าตั้งแต่ปลูกจนมีอายุครบ 3 สัปดาห์ จะเห็นต้นข่าตายและเริ่มมีหน่อใหม่ขึ้นมาแทน ซึ่งเป็นธรรมชาติของข่า ดังนั้น เมื่อเห็นต้นข่าตาย อย่าตกใจ เนื่องจากต้นข่าจะตายเป็นธรรมชาติอย่างนี้อยู่แล้ว พอถึงสัปดาห์ที่ 4 จะเห็นต้นข่าเริ่มงอกใหม่และเจริญเติบโตไปเรื่อย ๆ ทั้งนี้ เมื่อเห็นต้นข่ามีใบ 2-3 ใบ ให้เริ่มใส่ปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0 บริเวณกอข่า ประมาณกอละ 10 เม็ด/สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนถึงเดือนที่ 4 ให้เปลี่ยนสูตรปุ๋ยเป็น 0-0-60 พร้อมกับเปลี่ยนการใส่ปุ๋ยจากใส่ประมาณ 10 เม็ด ให้เพิ่มมากขึ้น 1 เม็ด ทุก 15 วัน”

สำหรับการให้น้ำ มีการให้น้ำแบบระบบน้ำหยด สปริงเกอร์ ระบบน้ำฝอย โดยให้แบบสม่ำเสมอเพื่อให้ดินมีความชุ่มชื่น แต่ก็ไม่ได้รดน้ำแบบทุกวันเนื่องจาก ข่า ไม่ชอบที่ชื่นแฉะ นอกจากนี้ยังมีการให้น้ำพร้อมกับให้ธาตุอาหารไปด้วย โดยการหมักน้ำในถัง 2_000 ลิตร ใส่มูลโคแห้งพร้อมกับหมัดปากถุง 1 กระสอบ ใส่ EM ขยายตัวลงไป 1 ลิตร หมักทิ้งไว้ 3 วัน จากนั้นสูบน้ำในถังมารดทั่วแปลงได้เลย ซึ่งจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่น ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ในดินและข่าอีกด้วย

โรคและแมลงในแปลงจะไม่ค่อยพบ เนื่องจากโรคและแมลงทั้งหลายมักมีต้นเหตุมากจากปุ๋ยมูลโคมูลไก่ทั้งหลายที่เกษตรกรมักนำมาใส่เป็นรองพื้น ซึ่งการปลูกจะหลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยมูลสัตว์เพื่อเป็นปุ๋ยรองพื้น จะเน้นแต่ปุ๋ยเคมีล้วน ๆ เพราะปุ๋ยเคมีให้ผลผลิตที่เร็วเพียงพอสำหรับการส่งข่าให้กับโรงงานทุกวัน แต่ถ้าถามว่าปุ๋ยอินทรีย์ทำในเชิงเศรษฐกิจได้ไหม ได้แต่ผลผลิตข่าที่ได้ก็จะไม่เยอะเท่าปุ๋ยเคมี ดังนั้น ในแปลงจึงมีแต่การใช้ปุ๋ยเคมี แม้จะใช้เงินในส่วนที่ซื้อปุ๋ย แต่ก็ช่วยลดในเรื่องต้นทุนค่ายารักษาโรคและแมลงที่มีต้นเหตุมาจากปุ๋ยมูลโคมูลไก่ได้

คุณราชพฤกษ์ บอกว่าการปลูกข่า 1 ครั้ง สามารถเก็บผลผลิตได้นานถึง 10 ปี แต่ทั้งนี้ ควรมีวิธีการขุดที่ถูกวิธี ซึ่งทำดังนี้ เลือกขุดข่าเพียง 3 มุม จากทั้งหมด 4 มุม ยกตัวอย่างเช่น ปลูกข่า 1 กอ จะมีต้นข่าขึ้นประมาณ 10 ต้น เป็นสี่เหลี่ยม เมื่อข่าโตจนเก็บผลผลิตได้ประมาณ 6-8 เดือน ให้เลือกขุดออกไป 3 มุม เหลือไว้หนึ่งมุม สำหรับเหลือให้ข่าแพร่พันธุ์ขยายต่อไปได้ แต่เมื่อเก็บผลผลิตในครั้งต่อไป ควรสับเปลี่ยนมุมที่ขุดออก เพราะจะทำให้ข่าที่งอกใหม่แต่ละครั้งเจริญเติบโตดี มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

เรื่องของตลาด ก็อย่างที่บอกไปว่าปลูกข่าตาแดงเพื่อส่งโรงงานโดยเฉพาะ ไม่มีการส่งตลาดรายย่อยอื่น ๆ ซึ่งราคาข่าที่ได้ตอนนี้ แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ข่าอ่อน เป็นข่าที่เก็บผลผลิตในช่วงเดือนที่ 6 เมื่อนำไปขายจะได้ราคาดีมากถึงกิโลกรัมละ 30-35 บาท ส่วนอย่างที่สอง คือ ข่าแก่ เป็นข่าที่อยู่ในช่วงการเจริญเติบในเดือนที่ 8 ซึ่งหลงเหลือจากเก็บผลผลิตไม่ทันของคนงาน ซึ่งขายได้ราคากิโลกรัม 10-15 บาท ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบข่าแก่กับข่าอ่อนแล้วอัตราส่วนในแปลงที่ขุดได้แต่ละวันจะมีข่าอ่อนถึง 80-90 เปอร์เซ็นต์ จะมีข่าแก่เพียง 10-20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่น่าพึงพอใจมาก เพราะตอนนี้ทางตลาดมีความยินดีที่จะรับทั้งข่าอ่อนและข่าแก และมีแนวโน้มที่รับอย่างนี้ต่อไปเรื่อย ๆ เพราะอุตสาหกรรมเครื่องปรุงรสอาหารกำลังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น หากใครที่กำลังที่คิดจะมาทำการเกษตร ข่าตาแดง จึงเป็นทางเลือกที่ดีเลยทีเดียว”

“การทำการเกษตร ไม่ว่าจะปลูกอะไรอย่างแรกควรมีเงินทุน รองลงมาคือความอดทน พร้อมกับใจที่รักสิ่งนั้นแบบจริงจัง เพราะการเกษตรมันต้องใช้เวลาในการปลูก เจริญเติบโต ตลอดจนการเก็บเกี่ยว ซึ่งทุกขั้นตอนล้วนต้องใช้ความอดทนและเงินทุนทั้งสิ้น หากมีเงินน้อยนิดแล้วอยากทำการเกษตร เป็นสิ่งที่ผิดอย่างยิ่ง เนื่องจากสิ่งที่ไม่คาดคิดในการเกษตรมักเกิดได้เสมอ อาทิเช่น เกิดโรคและแมลงระบาด พืชที่ปลูกขาดธาตุอาหาร หากไม่มีความรู้ ตลอดจนเงินทุนหมุนเวียนก็ทำให้การทำเกษตรนั้นล้มเหลวได้ ดังนั้น หากทำการเกษตรโดยเฉพาะการปลูกข่าตาแดง ควรมีการวางแผน มีเงินทุน ตลอดความอดทน แต่ทั้งนี้ ไม่ว่าอุปสรรคจะมีมากแค่นั้น หากมีความพยายามแล้วก็จะผ่านพ้นไปได้ด้วยดีอย่างแน่นอน” คุณราชพฤกษ์ทิ้งท้ายไว้

ข้อมูล : เกษตรกรก้าวหน้า

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
โรคเหี่ยว หรือ แง่งเน่า ใน ขิง ข่า ขมิ้น
โรคเหี่ยว หรือ แง่งเน่า ใน ขิง ข่า ขมิ้น
เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลขิง ข่า และขมิ้นในทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการระบายน้ำไม่ดีเนื่องจากช่วงนี้มีฝนตกในหลายพื้นที่ สภาพอากาศชื้น เหมาะต่อการเกิดโรค โดยเฉพาะขิง ข่า ขมิ้นที่อยู่ในช่วงปลูกใหม่ ดังนั้น เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลง หากพบอาการของโรคให้รีบแจ้งสำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้านเพื่อดำเนินการหาแนวทางควบคุม และป้องกันกำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรง

เชื้อสาเหตุ : เชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum

ลักษณะอาการ
อาการในระยะเริ่มแรกหลังจากถูกเชื้อเข้าทำลาย ใบแก่ที่อยู่ตอนล่างๆ จะเหี่ยวตกลู่ลง ต่อมาจะม้วนเป็นหลอดและเหลือง อาการจะค่อยๆ ลามจากล่างสูงขึ้นไปยังส่วนบน ในที่สุดใบจะม้วนและเหลืองแห้งทั้งต้น บริเวณโคนต้นและหน่อที่แตกออกมาใหม่จะมีลักษณะช้ำฉ่ำน้ำ ซึ่งต่อมาจะเน่าเปื่อยหักหลุดออกมาจากแง่งโดยง่าย แต่จะไม่มีกลิ่นเหม็น เมื่อตรวจดูที่ลำต้นจะพบว่าส่วนที่เป็นท่อน้ำ ท่ออาหาร จะถูกทำลายเป็นสีคล้ำหรือน้ำตาลเข้ม และมีเมือกของแบคทีเรียเป็นของเหลวสีขาวข้นคล้ายน้ำนมซึมออกมาตรงรอยแผลหรือรอยตัดของต้นหรือแง่งขิงที่เป็นโรค สำหรับแง่งจากต้นที่เพิ่งแสดงอาการโรคในระยะแรก หากนำขึ้นมาผ่าออกดู จะพบรอยช้ำฉ่ำน้ำเป็นปื้นๆ โดยเฉพาะแง่งที่ยังอ่อน ต่อมาอาการจะทวีความรุนแรงทำให้เนื้อเยื่อเปื่อยยุ่ยและสีคล้ำขึ้น อาการเหล่านี้จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในสภาพที่อากาศชื้นและร้อน ตั้งแต่เริ่มแสดงอาการจนทำให้ต้นหักพับตาย จะใช้เวลา ๕ - ๗ วัน เป็นอย่างช้า

การแพร่กระจาย
เชื้อสามารถติดไปกับแง่งขิง หรือหน่อที่ใช้ทำพันธุ์ เป็นเชื้อที่มีคุณสมบัติความสามารถในการขยายพันธุ์แพร่ระบาด การเข้าทำลายพืช การอยู่ข้ามฤดูปลูก ระบาดมากในช่วงฝนตกชุก

กรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้

๑. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้นที่เริ่มแสดงอาการของโรคเหี่ยว ให้ขุดต้นไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที และโรยปูนขาวบริเวณหลุมที่ขุด เพื่อป้องกันการระบาดของโรค

๒. ใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่า ๔๐ กรัม (๒ ช้อนแกง) ร่วมกับกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง ๑ กิโลกรัม น้ำเปล่า ๑๕ ลิตร หมักทิ้งไว้ ๖ ชั่วโมง ก่อนผสมน้ำเปล่าหรือน้ำที่ละลายพูมิชซัลเฟอร์ (พูมิชซัลเฟอร์ ๒๐ กิโลกรัมต่อน้ำ ๒๐๐ ลิตร ปล่อยให้ตกตะกอนนานประมาณ ๑๕ นาทีหรือน้ำใส) ๒๐๐ ลิตร ร่วมกับไคโตซาน MT ๕๐ ซีซี. ซิลิโคเทรช ๑๐๐ กรัม และม้อยเจอร์แพล้นหรือสารจับใบ ๒๐ ซีซี. ก่อนนำไปพ่นให้ทั่วทั้งบนใบใต้ใบอย่างชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำทุกๆ ๑๐ - ๑๕ วัน

๓. ในแปลงที่มีการระบาดของโรค หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต นําส่วนต่างๆ ของพืชที่เป็นโรคไปเผาทําลาย



ในฤดูถัดไป

๔ ควรเลือกพื้นที่ปลูกที่ไม่เคยมีการระบาดของโรคนี้มาก่อน และมีการระบายน้ำที่ดี

๕ ไถพรวนดินให้ลึกเกินกว่า ๒๐ เซนติเมตร จากผิวดิน และตากดินไว้นานกว่า ๒ สัปดาห์ จะช่วยลดปริมาณเชื้อในดินลงได้มาก

๖. พื้นที่ที่เคยมีการระบาดของโรค ควรรมดินเพื่อฆ่าเชื้อโรค โดยโรยยูเรียผสมปูนขาว อัตรา
๘๐ : ๘๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ จากนั้นไถกลบและรดน้ำให้ดินมีความชื้น ทิ้งไว ๓ สัปดาห์ จึงเริ่มปลูกขมิ้น

๗. ใช้หัวพันธุจากแปลงที่ปลอดโรค

๘. ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค ไม่ควรปลูกพืชอาศัยของเชื้อ เช่น พืชตระกูลขิง พืชตระกูลมะเขือมันฝรั่ง พริกและถั่วลิสง ให้สลับปลูกพืชชนิดอื่นที่ไมใช่พืชอาศัย เช่น ข้าว ข้าวโพด และมันสำปะหลัง เพื่อตัดวงจรของโรค


ที่มา : สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร

กรมวิชาการเกษตร
เรียบเรียงโดย : กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
2153 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 215 หน้า, หน้าที่ 216 มี 3 รายการ
|-Page 192 of 216-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
โรคมันสำปะหลัง มันสำปะหลังขาดธาตุสังกะสี ทำให้โตช้า พบจุดขาว หรือเหลืองบนใบอ่อน ใบย่น ขาดรุนแรงอาจตายได้
Update: 2564/03/07 00:03:14 - Views: 3558
การป้องกันและกำจัดโรคเชื้อราในพืชพริกไทย
Update: 2566/05/06 11:18:43 - Views: 3428
โรคราแป้งทุเรียน (Powdery Mildew)
Update: 2564/06/17 17:48:13 - Views: 3453
เพิ่มผลผลิตบวบ ปุ๋ยบำรุงบวบ ปุ๋ยน้ำสำหรับบวบ ปลูกบวบ ผลผลิตดี ฉีดพ่น FKธรรมชาตินิยม
Update: 2564/10/01 04:22:42 - Views: 3410
การดูแลสวนกาแฟเพื่อให้ต้นโตไวและได้ผลผลิตสูง ด้วยฮิวมิค FK เสริมฟลูวิค และปุ๋ยทางใบ FK-1
Update: 2567/11/06 14:24:57 - Views: 23
อะโวคาโด้ ผลใหญ่ ผลดก ด้วย ปุ๋ย สตาร์เฟอร์ 0-0-60 โพแทสเซี่ยม สูตรเร่งผล เพิ่มผลผลิต ขยายขนาด เพิ่มน้ำหนัก และคุณภาพ
Update: 2567/04/29 10:32:42 - Views: 3460
ยาแก้ โรคแตงโมเถาเหี่ยว ยารักษา โรคราน้ำค้างแตงโม โรคต่างๆจากเชื้อรา ใช้ ไอเอส
Update: 2564/09/24 11:21:59 - Views: 3437
คู่มือป้องกันกำจัดโรคราต่างๆในแมคคาเดเมีย แมคคาเดเมียใบไหม้ ใบจุด ราสนิม ราต่างๆ
Update: 2566/05/01 15:18:59 - Views: 10192
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าด้วงเต่าแตง ในแตงกวา และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/01/27 14:06:44 - Views: 3564
วิธีปลูกทุเรียนอย่างละเอียด ตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์ ไปจนถึงการเก็บเกี่ยว
Update: 2564/05/31 08:12:06 - Views: 4129
ยาแก้โรคเน่า ทานตะวันงอก ต้นอ่อนทานตะวัน โรคทานตะวันอ่อน ที่เกิดจากเชื้อราต่างๆ
Update: 2563/06/25 09:41:19 - Views: 3554
เทคนิคการบำรุง สวนมะพร้าว ให้ได้ผลผลิตสูง
Update: 2567/11/07 09:02:03 - Views: 65
เผือก ใบไหม้ ใบจุดตากบ ใบจุดตาเสือ กำจัดโรคเผือก จากเชื้อราต่างๆ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/10/25 11:06:39 - Views: 3647
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 0-0-60 : สูตรลับผลใหญ่ ผลดก เพิ่มน้ำหนัก และคุณภาพสำหรับมะไฟของคุณ
Update: 2567/03/13 12:01:10 - Views: 3474
กำจัดเชื้อรา ดอกมะลิ ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/09/12 11:17:29 - Views: 3421
ความสำเร็จอันหอมหวานของการปลูกทุเรียน: คู่มือสำหรับเกษตรกร
Update: 2566/04/28 13:19:39 - Views: 8668
การควบคุมโรคเชื้อราในมะขามหวานอย่างมีประสิทธิภาพ
Update: 2566/05/04 09:41:13 - Views: 3430
การจัดการเพลี้ยในต้นถั่วพู: วิธีที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันและลดความเสียหาย
Update: 2566/11/20 12:54:43 - Views: 3578
การปลูกมันสำปะหลัง ดูแลให้ได้ผลผลิตดี
Update: 2567/11/05 08:10:23 - Views: 22
ยาป้องกัน กำจัด หนอนพุทรา หนอนชมพู่ หนอนฝรั่ง หนอนทุกชนิด ใช้ได้ทุกพืช ไอกี้-บีที + FK-1 บำรุง ฟื้นตัว สร้างภูมิฯ 1ชุด ใช้ได้ 5ไร่
Update: 2564/08/10 12:14:40 - Views: 3654
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022