ค้นข้อมูล
สินค้า
ตามสินค้า
ติดต่อเรา
Central Lab ห้องปฏิบัติการกลาง
iLab ตรวจดิน
รับจ้างผลิตปุ๋ยยาฯOEM
แอพผสมปุ๋ย
English
อัพเดททุกวันที่..
พิมพ์คำค้นหา หรือลองคลิกตัวอย่าง >
มันสำปะหลัง
,
ข้าว
,
อ้อย
,
ทุเรียน
,
กัญชา
,
ข้าวโพด
,
ปาล์ม
,
ยางพารา
,
อินทผลัม
,
โรคใบไหม้
,
ราสนิม
,
เพลี้ย
,
ยาแช่ท่อนพันธุ์
[sort by :
last post
|
top views
]
..
+ โพสเรื่องใหม่
|
^ เลือกหน้า
|
ค้นคำว่า - มันสำปะหลัง
182 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 18 หน้า, หน้าที่ 19 มี 2 รายการ
กรุณากรอกหัวข้อ
พิมพ์คำว่า ฟาร์มเกษตร
พิมพ์คำว่า ฟาร์มเกษตร
มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 72 และ KU 50 ทนต่อโรคใบด่าง และควรเลือกใช้ท่อนพันธุ์ จากแหล่งที่ปลอดโรค หยุดการแพร่ระบาด โรคมันสำปะหลังใบด่าง ได้เป็นอย่างดี
นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เผยถึงสถานการณ์การระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลัง รายงานล่าสุดพบการระบาดใน 15 จังหวัด ได้แก่ อุบลราชธานี_ ศรีสะเกษ_ สุรินทร์_ บุรีรัมย์_ นครราชสีมา_ ปราจีนบุรี_ ฉะเชิงเทรา_ ชลบุรี_ กาญจนบุรี_ สระแก้ว_ ระยอง_ นครสวรรค์_ ลพบุรี_ ขอนแก่น และมหาสารคาม คิดเป็นพื้นที่ 55_924 ไร่ ได้ทำลายต้นมันสำปะหลังที่เป็นโรคไปแล้ว 13_111 ไร่ ซึ่งจังหวัดที่พบการระบาดเพิ่มขึ้น มีสาเหตุมาจากการใช้ท่อนพันธุ์ติดโรคที่มาจากแหล่งระบาดของโรค
แต่จากการสำรวจการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังในจังหวัดนครราชสีมา พบว่ามีการระบาดของโรคใบด่างลดลง เนื่องจากทางจังหวัดได้ออกประกาศการควบคุมการขนย้ายต้นพันธุ์ ท่อนพันธุ์ หลักเกณฑ์และวิธีการในการขออนุญาต และวิธีการขนย้ายต้นพันธุ์ ท่อนพันธุ์มันสำปะหลัง ซึ่งเป็นการป้องกันและหยุดยั้งการแพร่ระบาดของโรคไม่ให้แพร่ระบาดไปยังพื้นที่อื่น
เพื่อเป็นการเฝ้าระวังและป้องกันไม่ให้ระบาดเพิ่มขึ้น อธิบดีกรมวิชาการเกษตรแนะนำแหล่งซื้อท่อนพันธุ์มันสำปะหลังสะอาดในพื้นที่ไม่พบการระบาดใน 38 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์_ กำแพงเพชร_ จันทบุรี_ ชัยนาท_ ชัยภูมิ_ เชียงราย_ เชียงใหม่_ ตาก_ นครนายก_ นครพนม_ นราธิวาส_ น่าน_ บึงกาฬ_ ปทุมธานี_ ประจวบคีรีขันธ์_ พะเยา_ พิจิตร_ พิษณุโลก_ เพชรบุรี_ เพชรบูรณ์_ แพร่_ มุกดาหาร_ ยโสธร_ ร้อยเอ็ด_ ราชบุรี_ ลำปาง_ ลำพูน_ เลย_ สกลนคร_ สระบุรี_ สุโขทัย_ สุพรรณบุรี_ หนองคาย_ หนองบัวลำภู_ อำนาจเจริญ_ อุดรธานี_ อุตรดิตถ์ และอุทัยธานี
“การที่จะป้องกันกำจัดวงจรการระบาดของโรคใบด่างมันสำปะหลังได้อย่างมีประสิทธิภาพ ต้องแก้ที่สาเหตุสำคัญของการระบาดที่เพิ่มขึ้น จึงขอย้ำเตือนเกษตรกรทั้ง 53 จังหวัดที่ปลูกมันสำปะหลัง ให้เลือกซื้อท่อนพันธุ์มันสำปะหลังจากแหล่งที่ไม่มีการระบาดตามที่แนะนำ และไม่ควรใช้พันธุ์ 89 ที่อ่อนแอต่อโรคใบด่าง ให้ปลูกพันธุ์ ระยอง 72 หรือ KU 50 จะมีความทนต่อโรคใบด่างมากกว่า เพราะที่ผ่านมาทั้งสองพันธุ์นี้ ยังไม่เคยพบการเข้าทำลายของโรคใบด่างเลย” นางสาวเสริมสุข กล่าว.
อ้างอิง
thairath.co.th/ news/society/1682011
สินค้าจากฟาร์มเกษตร
จากการรวมรวมข้อมูล จากบทความต่างๆ จากหลายแหล่งข้อมูลพบว่า โรคใบด่างมันสำปะหลังนั้น อีกสาเหตุหนึ่งที่สำคัญคือมี เพลี้ยต่างๆ เป็นแมลงพาหะ ที่นำโรคใบด่างมันสำปะหลังจากแปลงข้างเคียง หรือบริเวณใกล้เคียงที่มีการระบาด นำมาติดในไร่ของเรา การป้องกันกำจัดโรคใบด่าง สามารถกำจัดได้ที่ต้นเหตุอีกอย่างหนึ่ง คือการกำจัด เพลี้ย แมลงพาหะ โดยการฉีดพ่นด้วย มาคา
มาคา สารอัลคาลอยด์ เป็นยาอินทรีย์ สำหรับป้องกันและกำจัดเพลี้ย สกัดจากพืช ผสมในอัตราส่วน 50 ซีซี ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 500 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร และสามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน เพื่อเร่งให้มันสำปะหลังฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของโรคและแมลงได้เร็วยิ่งขึ้น
FK-1 ใช้บำรุงให้ฟื้นตัวจากการเข้าทำลายของโรคและแมลง เร่งโต และเสริมสร้างความสมบูรณ์แข็งแรง
สามารถผสม FK-1 ผสมฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน อัตราการใช้ FK-1 แกะกล่องออกมามี 2 ถุง ผสมตัวยาจากสองถุงใช้พร้อมกัน ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร หรือ 500กรัม ต่อน้ำ 200ลิตร
ใน FK-1 นั้นประกอบด้วย ธาตุหลัก Nitrogen(ไนโตรเจน) 20%_ Phosphorus(ฟอสฟอรัส) 20%_ Potassium(โพแตสเซียม) 20% และธาตุรอง Magnesium(แมกนีเซียม) พร้อมธาตุเสริม Zinc(สังกะสี) และ Sticking agents (สารลดแรงตรึงผิว หรือสารจับใบนั่นเอง)
อ่าน:3602
การไถดินดาน ที่ถูกต้อง ก่อนปลูกมันสำปะหลัง น้ำและอากาศไหลซึมได้ดี รากมันโตได้ไกล เพิ่มผลผลิตได้เป็นอย่างดี
การไถดินดานในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง
ความหมายของชั้นดินดาน
ชั้นดินดาน หมายถึง ชั้นดินที่อัดตัวแน่นทึบ หรือชั้นที่มีสารเชื่อมอนุภาคดินมาจับตัวกัน ทำให้ดินแน่นทึบและแข็ง จนเป็นอุปสรรคต่อการชอนไชของรากพืช การไหลซึมของน้ำและอากาศ ซึ่งกระบวนการเกิดชั้นดินดานมี 3 ประเภท มีรายละเอียดดังนี้
1. ชั้นดินดานแข็ง (duripan) เป็นชั้นดินแข็งเชื่อมกันแน่นโดยสารเชื่อม ซึ่งสารเชื่อมมีหลายชนิดและมีชื่อเรียกแตกต่างกันไปขึ้นอยู่ชนิดของสารเชื่อม ได้แก่ เหล็ก คาร์บอเนต ซิลิก้า
2. ชั้นดินดานเปราะ (fragipan) เป็นชั้นดินดานที่มีความหนาแน่นสูงกว่าชั้นดินบนและล่าง ชั้นดินดานนี้เกิดจากการอัดตัวของดินเหนียว ทรายแป้ง และทราย มีการเชื่อมตัวกันแน่น เมื่อแห้ง จะเปราะ เมื่อชื้นน้ำซึมผ่านได้ยาก
3. ชั้นดินดานไถพรวน (plowpan) เป็นชนิดเดียวกันกับชั้นดินดานเปราะ แต่ใช้เรียกเฉพาะ ชั้นดินดานที่เกิดจากการไถพรวนในระดับความลึกเดียวกันเป็นเวลานาน ซึ่งพบมากในพื้นที่ปลูก มันสำปะหลังต่อเนื่องเป็นเวลานาน
สามารถแยกชั้นดินดานแข็งออกจากชั้นดินดานเปราะ โดย พิจารณาจากการละลายน้ำ ถ้าหากละลายน้ำได้ จะเป็นชั้นดินดานเปราะ โดย ชั้นดินดานเปราะมีข้อจำกัดในการปลูกพืชน้อยกว่าชั้นดินดานแข็ง
กระบวนการเกิดชั้นดินดานไถพรวน
เกิดจากการไถพรวน ในระดับความลึกเดียวกันเป็นเวลานาน โครงสร้างของดินแตกละเอียด เมื่อฝนตกทำให้อนุภาคของดินเหนียว ทรายแป้ง รวมทั้งอินทรียวัตถุถูกชะล้างลงมาสะสมกันใต้ชั้น ไถพรวน นอกจากนี้ ยังมีแรงกดทับจากแทรกเตอร์ ในการเตรียมดินจนถึงการเก็บเกี่ยว และรถบรรทุกขนส่งหัวมันสำปะหลังไปยังโรงงาน สิ่งดังกล่าวเหล่านี้ก่อให้เกิดชั้นดินดานไถพรวนขึ้นในพื้นที่ปลูก มันสำปะหลังต่อเนื่องมาเป็นเวลานาน
ระดับความรุนแรงของโอกาสเกิดชั้นดินดาน
การจำแนกระดับความรุนแรงของโอกาสในการเกิดชั้นดินดานในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังออกเป็น 3 ระดับ ดังนี้
ระดับที่ 1 มีโอกาสเกิดชั้นดินดานได้น้อย เนื่องจากพื้นที่เป็นดินเนื้อละเอียด มีปริมาณทรายแป้ง น้อย อนุภาคของดินเป็นแบบก้อนเหลี่ยมและก้อนกลม ซึ่งทนทานต่อแรงไถพรวนและแรงกดทับจากเครื่องจักรกลขนาดใหญ่
ระดับที่ 2 มีโอกาสเกิดชั้นดินดานในระดับปานกลาง เนื่องจากพื้นที่เป็นเนื้อค่อนข้างละเอียด มีปริมาณทรายแป้งปานกลาง อนุภาคของดินเป็นแบบก้อนเหลี่ยม ซึ่งทนทานต่อแรงไถพรวนและแรง กดทับจากเครื่องจักรกลขนาดใหญ่ปานกลาง
ระดับที่ 3 มีโอกาสเกิดชั้นดินดานในระดับสูง เนื่องจากพื้นที่เป็นเนื้อค่อนข้างหยาบ มีปริมาณทรายแป้งสูง โครงสร้างของดินแน่นทึบ ซึ่งทนทานต่อแรงไถพรวนและแรงกดทับจากเครื่องจักรกลขนาดใหญ่ได้น้อย
สำหรับเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลัง สามารถทราบได้ว่าพื้นที่ปลูกพืชมีชั้นดินดานอยู่ใต้ดินหรือไม่ สังเกตในช่วงฤดูฝนเมื่อมีฝนตกลงมา พื้นที่ราบน้ำจะท่วมขังอยู่นาน เพราะน้ำไม่สามารถซึมผ่านชั้นดินดานลงไปสู่ชั้นดินล่างได้ แต่น้ำจะไหลบ่าไปบนผิวดิน เกิดการชะล้างหน้าดินออกจากพื้นที่ ส่วนในช่วงฤดูแล้งชั้นดินดานจะขวางกั้นไม่ให้ความชื้นจากดินชั้นล่างขึ้นมาถึงบริเวณรากพืชได้ พืชจะขาดน้ำ ทำให้พืชแคระแกร็นหรือยืนต้นตายได้ ในทางวิชาการเราสามารถเก็บตัวอย่างดินที่ระดับความลึก 50 เซนติเมตร เพื่อนำมาวิเคราะห์หาค่าความหนาแน่นรวม (bulk density) ถ้าดินมีความหนาแน่นรวมมากกว่า 1.65 กรัมต่อลูกบาศก์เซนติเมตร แสดงว่ามีชั้นดินดานเกิดขึ้นในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง
การไถระเบิดชั้นดินดานในพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง
พื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง มักมีการไถพรวนที่ระดับความลึกเดียวกันตลอด มีการไถพรวนในขณะดินมีความชื้นไม่เหมาะสม มีการกดทับจากแทรกเตอร์หรือรถบรรทุกในการเตรียมดิน เก็บเกี่ยว และการขนส่งหัวมันสำปะหลังไปยังโรงงาน สิ่งเหล่านี้ก่อให้เกิดชั้นดินดานได้ง่าย โดยชั้นดินดานจะขัดขวางการแพร่กระจายของรากพืชและการแทรกซึมของน้ำ ทำให้เกิดน้ำท่วมขังหรือไหลบ่ามากขึ้นในช่วงฝนตกและยังชะล้างเอาหน้าดินที่มีความอุดมสมบูรณ์สูงออกไปจากพื้นที่ ขณะเดียวกันก็ทำให้พืชขาดแคลนน้ำในช่วงฤดูแล้ง เนื่องจากชั้นดินดานจะขวางกั้นไม่ให้ความชื้นจากดินชั้นล่างขึ้นมาถึงบริเวณรากพืชได้ จึงทำให้พืชแคระแกร็นหรือยืนต้นตายได้ ดังนั้น พื้นที่ปลูกมันสำปะหลังที่มีชั้นดินดาน ควรทำการไถระเบิดชั้นดินดาน ทุก 3-5 ปี มีรายละเอียด 4 ขั้นตอน ดังนี้
1. การทำลายวัชพืชและเศษซากพืชก่อนไถระเบิดชั้นดินดานด้วยการไถพรวน 2 ครั้ง เพื่อไม่ให้เศษพืช พันขาไถระเบิดชั้นดินดานหรือเป็นอุปสรรคต่อการไถระเบิดชั้นดินดาน
2. การไถระเบิดชั้นดินดานด้วยเครื่องไถแบบสั่นสะเทือน (shaking ripper) โดยไถ 2 รอบ รอบแรกไถไปตามแนวยาวของพื้นที่ก่อน รอบที่สองไถตามขวางของพื้นที่หรือที่เรียกว่าไถตัดกันเป็นตาหมากรุก เพื่อให้ชั้นดินดานแตกร้าวสม่ำเสมอรอบทิศทางทั่วทั้งพื้นที่
3. ไถดะด้วยผาล 3 หรือผาล 4 เพื่อทำลายวัชพืชและตากหน้าดินเพื่อทำลายศัตรูพืช
4. ไถพรวนเพื่อย่อยดินให้ละเอียดและกลบรอยไถระเบิดชั้นดินดาน หลังจากนั้นทำการไถร่องปลูกมันสำปะหลัง
การไถระเบิดชั้นดินดานไม่ใช่เป็นการแก้ปัญหาการเกิดชั้นดินดานอย่างถาวร แต่ถ้าหากไม่มีการจัดดินที่ถูกต้องและเหมาะสมแล้ว ชั้นดินดานก็จะกลับมาเกิดขึ้นใหม่ได้ ส่งผลกระทบต่อการเจริญเติบโตของพืช ดังนั้น การชะลอการเกิดชั้นดินดานจึงเป็นวิธีที่ดีที่สุดสามารถทำได้ ดังนี้
1. การใช้เครื่องจักรกลการเกษตร โดย ควบคุมการใช้เครื่องจักรกลในพื้นที่การเกษตรเท่าที่จำเป็นและใช้ในขณะดินมีความชื้นพอเหมาะ ควบคุมแนวทางเดินของเครื่องจักรกลซ้ำที่เดิมและวางแนวปลูกพืชให้อยู่ระหว่างล้อของเครื่องจักร เพื่อไม่ให้เกิดชั้นดินดานทั่วพื้นที่
2. ความชื้นของดิน ชั้นดินดานที่อยู่ใต้ดินชั้นไถพรวนจะเป็นอุปสรรคต่อการไชชอนของรากพืช ก็ต่อเมื่อชั้นดินดานแห้ง ดังนั้น การรักษาความชื้นของดินชั้นดินดานให้พอเหมาะ สามารถลดผลกระทบของชั้นดินดานต่อรากพืช
3. การปรับปรุงโครงสร้างของดินเพื่อให้เม็ดดินมีเสถียรภาพ โดย การเพิ่มอินทรียวัตถุให้แก่ดิน ได้แก่ ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก และปุ๋ยพืชสด เพื่อให้ดินมีคุณสมบัติทางกายภาพดีขึ้น ดูดซับน้ำได้มากขึ้น มีช่องว่างในดินเพิ่มขึ้น ส่งผลให้ความหนาแน่นรวมลดลงได้
4. การปลูกหญ้าแฝก ชั้นดินดานเป็นดินที่มีความหนาแน่นสูง ส่วนประกอบของดินมีน้ำ ช่องว่าง อากาศ รวมทั้งอินทรียวัตถุลดน้อยลง หญ้าแฝกเป็นพืชที่ขึ้นได้ในสภาพดินดาน มีระบบรากลึกเจาะผ่านชั้นดินดานได้และให้ปริมาณรากมากกว่าพืชอื่น ดังนั้น เมื่อฝนตกลงมาความชื้นจะซึมผ่านลงตามระบบของรากหญ้าแฝก สร้างความชื้นและอินทรียวัตถุให้กับดินในชั้นดินดานอย่างรวดเร็ว
อ้างอิง
สถาบันวิจัยพืชไร่ และพืชทดแทนพลังงาน กรมวิชาการเกษตร
kubotasolutions.com/ knowledge/cassava/detail/393
อ่าน:3621
กรมวิชาการเกษตร ปลื้ม มันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ ระยอง 15 อายุ 8 เดือนเก็บผลผลิตได้ดี เปอร์เซ้นแป้งสูง
กรมวิชาการเกษตร ปลื้มมันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ระยอง 15 คุณสมบัติสุดปัง เข้าทางความต้องการเกษตรกร สร้างรายได้เร็วขึ้น อายุ 8 เดือนเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ ให้ผลผลิตหัวสดสูงถึง 4_632 กก./ไร่ แถมเปอร์เซ็นต์แป้งและผลผลิตแป้งสูงถูกใจโรงงาน ปี 63 มีความพร้อมของท่อนพันธุ์กว่า 2 แสนท่อน ขยายพื้นที่ปลูกได้ถึง 125 ไร่
นางสาวเสริมสุข สลักเพ็ชร์ อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า มันสำปะหลังเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของประเทศไทย ผลผลิตส่วนใหญ่นำไปแปรรูปเป็นมันเส้น มันอัดเม็ด เพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ และแป้งมันสำปะหลัง เพื่อใช้ในประเทศและส่งออกต่างประเทศ ปัจจุบันประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเป็นอันดับ 1 ของโลก มีมูลค่ามากกว่าปีละ 90_000 ล้านบาท อย่างไรก็ตาม จากปัญหาการขาดแคลนแรงงาน ราคาปัจจัยการผลิตที่สูงขึ้น สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ปัญหาโรคแมลงที่รุนแรงขึ้น ทำให้ต้นทุนในการผลิตมันสำปะหลังของเกษตรกรเพิ่มสูงขึ้น
นอกจากนี้ จากสภาพเศรษฐกิจและสังคมในปัจจุบัน ทำให้การผลิตมันสำปะหลังในบางท้องที่เปลี่ยนแปลงไปด้วยเช่นกัน เช่น เกษตรกรมีความต้องการรายได้เร็วขึ้น หรือต้องการใช้พื้นที่ในการปลูกพืชหมุนเวียน ดังนั้น การปรับปรุงพันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์ของกรมวิชาการเกษตรจึงตั้งเป้าหมายการปรับปรุงพันธุ์เพื่อให้ได้มันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ที่ให้ผลผลิตสูง เปอร์เซ็นต์แป้งสูง เมื่อเก็บเกี่ยวที่อายุ 8 เดือน ซึ่งโดยปกติมันสำปะหลังจะเก็บเกี่ยวได้ที่อายุ 11-12 เดือน เพื่อเป็นทางเลือกสำหรับเกษตรกรที่ต้องการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังได้เร็วขึ้น และให้ผลตอบแทนต่อไร่เพิ่มขึ้น ซึ่งจะทำให้เกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้น
อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าวว่า ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง กรมวิชาการเกษตร ได้วิจัยและปรับปรุงมันสำปะหลังเพื่อให้ได้พันธุ์ที่มีอายุเก็บเกี่ยวสั้นไม่เกิน 8 เดือน และให้ผลผลิตแป้งสูงกว่าพันธุ์ระยอง 5 ระยอง 7 และระยอง 72 ไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 โดยเริ่มดำเนินการตามขั้นตอนการปรับปรุงพันธุ์ในปี 2545 จนได้มันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ที่ผ่านการพิจารณารับรองเป็นพันธุ์ล่าสุดจากกรมวิชาการเกษตรเมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2562 ใช้ชื่อว่า "มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 15" มีลักษณะเด่น คือ มีอายุเก็บเกี่ยวสั้น โดยสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ที่อายุ 8 เดือน และเมื่อเก็บเกี่ยวที่อายุ 8 เดือนมันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 15 ยังให้ผลผลิตหัวสดสูงถึง 4_632 กก./ไร่ ให้เปอร์เซ็นต์แป้งสูง 29.2 เปอร์เซ็นต์ และให้ผลผลิตแป้งสูง 1_355 กก./ไร่ ซึ่งสูงกว่ามันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 5 ระยอง 7 ระยอง 72 และเกษตรศาสตร์ 50
มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 15 ได้จากการผสมเปิดของพันธุ์เกษตรศาสตร์ 50 ซึ่งเป็นพันธุ์แม่ที่ให้ผลผลิตสูงและปรับตัวได้ดีกับสภาพแวดล้อม ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง หลังจากผ่านการคัดเลือกพันธุ์และเปรียบเทียบพันธุ์เบื้องต้นที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง แล้วได้นำไปปลูกเปรียบเทียบกับพันธุ์มาตรฐานและประเมินผลผลิตที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตร ตลอดจนไร่เกษตรกรจังหวัดต่าง ๆ ในภาคตะวันออก ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และภาคกลาง ซึ่งเป็นแหล่งปลูกมันสำปะหลังที่สำคัญของประเทศรวม 16 จังหวัด
"ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยองมีความพร้อมของพันธุ์ที่นำไปปลูกขยายต่อในแปลงของเกษตรกรในปี 2562 ได้ท่อนพันธุ์ประมาณ 50_000 ท่อน สามารถปลูกได้ในพื้นที่จำนวน 25 ไร่ และในปี 2563 คาดว่าจะได้ท่อนพันธุ์ประมาณ 250_000 ท่อน เพื่อใช้ปลูกในพื้นที่จำนวน 125 ไร่ เกษตรกรที่สนใจสามารถติดต่อขอรอรับพันธุ์มันสำปะหลังระยอง 15 ได้ ที่ศูนย์วิจัยพืชไร่ระยอง กรมวิชาการเกษตร โทรศัพท์ 0-3868-1514 ถือเป็นการมอบของขวัญให้เกษตรกร เนื่องจากที่ผ่านมาเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังจำนวนมากรอพันธุ์ที่สามารถเก็บเกี่ยวได้เร็วมานาน" อธิบดีกรมวิชาการเกษตร กล่าว
อ้างอิง
kaset1009.com
อ่าน:3473
การเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง ระยะเวลาการเก็บเกี่ยวมันสำปะหลัง
มันสำปะหลังเป็นพืชที่ไม่จำกัดอายุการเก็บเกี่ยว แต่ควรเก็บเกี่ยวเมื่ออายุครบ 8 เดือนขึ้นไป โดยอายุที่เหมาะสมคือ 12 เดือน ไม่ควรเก็บเกี่ยวในช่วงที่มีฝนตกชุก เพราะจะทำให้มีเปอร์เซนต์แป้งต่ำ การเก็บเกี่ยวมันสำปะหลังมีกระบวนการดังต่อไปนี้
- ใช้มีดตัดต้นเหนือระดับพื้นดินประมาณ 30 เซนติเมตร
- ถอน โดยใช้จอบหรือรถแทรกเตอร์ที่มีอุปกรณ์ชุดพ่วงถ้ายเพื่อขุดหัวมันสำปะหลัง
- ตัดส่วนหัวมันสำปะหลังออกจากต้น หรือเหง้า
ข้อควรระวัง
- สภาพพื้นที่ปลูกควรดูแลรักษาให้ปราศจากวัชพืช โรค และแมลงอยู่เสมอ
- ต้นพันธุ์ที่ใช้ปลูกควรใหม่ สด ไม่บอบช้ำ ปราศจากโรค แมลง และเป็นพันธุ์ที่ไม่ถูกทำลายโดยสารเคมีกำจัดวัชพืช
- ผลผลิต (หัวสด) เมื่อเก็บเกี่ยวส่งจำหน่ายไม่ควรมีส่วนของลำต้นและดินปน
- หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต ควรรีบส่งจำหน่ายทันที ไม่ควรทิ้งไว้นานเกิน 4 วัน เพราะจะเน่าเสียหาย
- การพ่นสารเคมีกำจัดโรค แมลง และวัชพืช ทุกครั้ง ควรมีการป้องกันให้ถูกวิธี
อ้างอิง
nstda.or.th/ agritec/cassava-harvest
อ่าน:3590
กำจัดเพลี้ยด้วย แมลงช้างปีกใส กำจัดเพลี้ย เพลี้ยแป้ง ตัวอ่อนเพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ เพลี้ยไก่แจ้ ไรแดง แมลงหวี่ขาว แมลงช้างปีกใสจัดการเรียบ
ศัตรูธรรมชาติของเพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง แมลงช้างปีกใส
ชื่อทั่วไป : แมลงช้างปีกใส (Green lacewing)
วงศ์ (Family) : Chrysopidae
อันดับ (Order) : Neuroptera
เป็นแมลงห้ำที่มีบทบาทในการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืช โดยตัวอ่อนของแมลงช้างปีกใส เป็นตัวห้ำที่กินศัตรูพืชได้หลายชนิด เช่นเพลี้ยอ่อย เพลี้ยแป้ง ตัวอ่อนเพลี้ยหอย เพลี้ยไฟ เพลี้ยไก่แจ้ส้ม ไรแดง ไร 2 จุด และตัวอ่อนแมลงหวี่ขาว เป็นต้นทำให้แมลงช้างปีกใสเป็น เป็นตัวห้ำสำคัญที่ช่วยควบคุมแมลงศัตรูพืชในแปลงเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจในประเทศ
ตัวเต็มวัยเพศเมีย หลังจากผสมพันธุ์ 2-3 วัน ก็จะเริ่มวางไข่เป็นฟองเดี่ยวๆ ระยะไข่ใช้เวลา 3-4 วัน ระยะตัวอ่อนมี 3 วัย ตัวอ่อนวัยที่ 1_ 2 และ 3 ใช้เวลา 4-5 วัน 3-4 วัน และ 3-5 วัน ตามลําดับ รวมระยะตัวอ่อน 11-13 วัน ระยะดักแด้ 9-11 วัน ตัวเต็มวัยเพศผู้มีอายุ 14-30 วัน สําหรับเพศ เมียมีอายุ 19-58 วัน เพศเมีย 1 ตัว สามารถวางไข่ได้ 180-345 ฟอง
วงจรชีวิตของแมลงช้างปีกใส
รูปร่างลักษณะ
ไข่ มีลักษณะเป็นทรงยาวรี ขนาดเล็ก ความยาวเฉลี่ย 0.98 มิลลิเมตร ความกว้างเฉลี่ย 0.24 มิลลิเมตร เป็นฟองเดี่ยวๆ อยู่บนก้านสีขาวใส วางเป็นระเบียบเป็นแถวรอบใบพืช ไข่วางใหม่ๆ มีสีเขียวอ่อน เมื่อใกล้ฟักจะเปลี่ยนเป็นสีเทาดํา เมื่อฟักแล้วจะเป็นสีขาว มีอายุประมาณ 3-4 วัน
ตัวอ่อน มีลักษณะลําตัวกลมแบน เห็นชัดเจนในระยะที่ 3 โดยรอบลําตัวมีปุ่มขน ปากมีกรามโค้งยาวยื่นไปด้านหน้าคล้ายเคียว ใช้ดูดกินเหยื่อ เมื่อฟักเป็นตัวอ่อนวัยที่ 1 จะเป็นตัวห้ำทันที มีการลอกคราบเปลี่ยนวัย ตัวอ่อนทั้งหมด 3 วัย
ตัวอ่อนวัยที่ 1 เมื่อฟักออกจากไข่ใหม่ๆ มีสีน้ำตาลอ่อน ลําตัวเรียวเล็ก ว่องไว จะไต่ลงมาทางก้านชูไข่ ความยาวลําตัวเฉลี่ย 1.56 มิลลิเมตร ความกว้างโดยเฉลี่ย 0.48 มิลลิเมตร
ตัวอ่อนวัยที่ 2 รอบลําตัวเริ่มมีซากของเพลี้ยแป้งเกาะ ความยาวลําตัวเฉลี่ย 3.25 มิลลิเมตร ความกว้างโดยเฉลี่ย 2.32 มิลลิเมตร
ตัวอ่อนวัยที่ 3 ขนาดลําตัวโตอย่างรวดเร็วเห็นได้ชัดกว่าระยะอื่นๆ กินอาหารเก่ง รอบลําตัวมีผงแป้งเกาะ คล้ายเพลี้ยแป้งมาก ความยาวลําตัวเฉลี่ย 7.23 มิลลิเมตร ความกว้างโดยเฉลี่ย 3.40 มิลลิเมตร
ดักแด้ มีรูปร่างกลม ตัวอ่อนวัย 3 จะขดตัวสร้างเส้นใยสีขาวปกคลุมลําตัว จะเข้าดักแด้ติดกับใบพืช ความกว้างของดักแด้โดยเฉลี่ย 3.02 มิลลิเมตร ความยาวโดยเฉลี่ย 4.67 มิลลิเมตร
ตัวเต็มวัย มีปีก 2 คู่ เป็นปีกแบบบางอ่อน (membrane) เนื้อปีกใส มีเส้นปีกจํานวนมาก ลําตัวสีเขียวอ่อน เพศผู้ มีสีลําตัวจางกว่าเล็กน้อย และตัวเล็กกว่าเพศเมีย ความกว้างลําตัวเพศเมีย เฉลี่ย 2.25 มิลลิเมตร ความยาวลําตัว โดยเฉลี่ย 10.53 มิลลิเมตร ความกว้างลําตัวเพศผู้เฉลี่ย 1.55 มิลลิเมตร ความยาวลําตัวโดยเฉลี่ย 10.01 มิลลิเมตร ตัวเต็มวัยมีกลิ่นเฉพาะตัวค่อนข้างแรง
แหล่งข้อมูลอ้างอิง
กรมวิชาการเกษตร
kubotasolutions.com/ knowledge/cassava/detail/455
อ่าน:3586
ความรู้เบื้องต้นในการปลูกมันสำปะหลัง โดย ปิยะมาศ บัวแก้ว www.FarmKaset.ORG
ความรู้เบื้องต้นการปลูกมันสำปะหลัง ตั้งแต่การเตรียมแปลงปลูก การเตรียมดินปลูกมันสำปะหลัง การยกร่องปลูก การเตรียมท่อนพันธุ์ การดูแลมันสำปะหลัง การป้องกันกำจัดโรค และแมลงศัตรูมันสำปะหลัง ตลอดจนการเก็บเกี่ยวผลผลิต
https://www.youtube.com/watch?v=-hEyOjT02sI
อ่าน:3447
มันสำปะหลังใบด่าง เกิดจากเชื้อไวรัส ป้องกันได้โดยการกำจัดแมลงพาหะ และบำรุงมันสำปะหลังให้สมบูรณ์แข็งแรง
โรคใบด่างมันสำปะหลัง (Cassava Mosaic Disease)
โรคใบด่างมันสำปะหลัง เกิดจากเชื้อไวรัส ในวงศ์ Geminiridae สกุล Begomovirus ปัจจุบันมีรายงานทั้งหมด 10 ชนิด โดยพบในทวีปแอฟริกา 8 ชนิด และในทวีปเอเชีย 2 ชนิด ได้แก่ Indian cassava mosaic virus (ICMV) พบในประเทศอินเดีย และ Sri Lankan cassava mosaic virus (SLCMV) พบในประเทศศรีลังกา อินเดีย เวียดนาม และกัมพูชา
ลักษณะอาการของ โรคมันสำปะหลังใบด่าง
ใบด่างและใบหงิก เสียรูปทรง อาการด่างมีหลายแบบ เช่น ด่างเขียวซีดสลับเขียวเข้ม ด่างเหลือสลับเขียว ใบหงิก หรือ หงิกเหลือง ใบย่อยบิดเบี้ยวหงิกงอ โค้งเสียรูปทรง ใบอ่อนและใบที่เจริญใหม่มีขนาดเล็กลง ยอดหงิก ต้นแคระแกร็น
การแพร่ระบาด ของโรคใบด่างมันสำปะหลัง เกิดจากแมลงหวี่ เป็นพาหะนำโรค
สามารถแพร่ระบาดโดยท่อนพันธุ์ โดยมีแมลงหวี่ขาวยาสูบ (tobacco whitefly) เป็นพาหะนำโรค ซึ่งแมลงหวี่ขาวยาสูบมีพืชอาศัยหลายชนิด เช่น กะเพรา โหระพา ผักชีฝรั่ง พืชตระกูลพริก มะเขือ มันฝรั่ง และพืชตระกูลแตง ทำให้มีการแพร่ระบาดไปได้อย่างกว้างขวาง
วิธีการป้องกันกำจัด โรคมันสำปะหลังใบด่าง
1.ห้ามนำเข้าท่อนพันธุ์หรือส่วนขยายท่อนพันธุ์มันสำปะหลังจากต่างประเทศ ยกเว้นมันเส้นและหัวมันสด ตาม พ.ร.บ.กักพืช พ.ศ. 2507 (ฉบับที่ 6) พ.ศ.2550
2.สอดส่องการลักลอบนำเข้าท่อนพันธุ์หรือส่วนขยายพันธุ์มันสำปะหลัง จากต่างประเทศ หากพบให้แจ้งสำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรังหวัด กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย และกรมวิชาการเกษตร
3.ใช้พันธุ์ที่ปลอดโรคโดยไม่ใช้ท่อนพันธุ์จากแหล่งที่พบการระบาดของโรค หรือแหล่งที่พบอาการของโรค หรือท่อนพันธุ์ที่ไม่ทราบแหล่งที่มา หรือท่อนพันธุ์ที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง
4.สำรวจแปลงมันสำปะหลังอย่างสม่ำเสมอ อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
5.กำจัดแมลงพาหะ ได้แก่ แมลงหวี่ขาวยาสูบ
6.เฝ้าระวังการระบาด ของไวรัส ใบด่างในพืชอาศัยอื่นๆ ที่มีแมลงหวี่ขาวยาสูบเป็นพาหะ โดยหลีกเลี่ยงการปลูกพืชอาศัยของแมลงหวี่ขาวยาสูบ เช่น โหระพา กะเพรา ผักชีฝรั่ง พริก มะเขือ มันฝรั่ง และพืชตระกูลถั่ว และพืชอาศัยของเชื้อไวรัสใบด่างมันสำปะหลัง เช่น สบู่ดำ ละหุ่ง บริเวณแปลงปลูกมันสำปะหลัง
อ้างอิง
สำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร
kubotasolutions.com
* สำหรับผลิตภัณฑ์จากฟาร์มเกษตร เราแนะนำใช้มาคา เพื่อป้องกันและกำจัดแมลงหวี่ขาวยาสูบ และบำรุงมันสำปะหลังให้สมบูรณ์แข็งแรง ต้านทานต่อโรค ด้วย FK-1 ซึ่งประกอบไปด้วย ธาตุหลัก N-P-K และธาตุรอง ธาตุเสริม ที่ช่วยเสริมสร้างความแข็งแรง ต้านทานต่อโรค ให้กับมันสำปะหลัง การหายจากอาการมันสำปะหลังใบด่างนี้ คือจะค่อยๆหมดไป เมื่อมันสำปะหลัง มีความเจริญเติบโต สมบูรณ์แข็งแรงขึ้น ในขณะที่เรา ป้องกัน และกำจัดแมลงพาหะ และให้ธาตุหลัก ธาตุรอง บำรุงไปพร้อมกัน
อ่าน:3465
ปุ๋ยมันสำปะหลัง เร่งโต FK-1 และปุ๋ยเร่งหัวมันสำปะหลัง FK-3C เพิ่มผลผลิต
https://www.youtube.com/watch?v=Z_fCbeoWee0
เพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง ด้วย ปุ๋ย FK-1 ที่มีธาตุหลัก ธาตุรอง ที่สมดุล ครบถ้วนสำหรับมันสำปะหลัง และ ปุ๋ย FK-3C เร่งผลผลิตมันสำปะหลัง ที่เน้น โพแตสเซียมสูงถึง 40% เพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังด้วย ปุ๋ยตรา FK
อ่าน:3432
โรคใบไหม้มันสำปะหลัง มันสำปะหลังใบไหม้ ฉีดพ่นด้วยไอเอส และบำรุงให้ฟื้นตัวได้รวดเร็ว ด้วย FK-1
โรคใบไหม้มันสำปะหลัง (Cassava Bacterial Blight : CBB)
เกิดจากเชื้อ Xanthomonas campestris pv. manihotis มีรายงานการพบครั้งแรกในประเทศบราซิลในปี 2455 หลังจากนั้นมีรายงานการแพร่ระบาดเกือบทุกประเทศที่มีการปลูกมันสำปะหลังทั้งทวีปเอเชียและลาตินอเมริกา ในประเทศไทยพบครั้งแรกที่จังหวัดระยอง เมื่อปี 2518 และต่อมาพบทั่วทุกภาค ระดับความเสียหายเนื่องจากโรคนี้มีตั้งแต่ 30 เปอร์เซ็นต์ เมื่อใช้ท่อนพันธุ์จากต้นที่เป็นโรคถ้าสภาพแวดล้อมเหมาะสมต่อการเกิดโรคและใช้ต้นพันธุ์ที่เป็นโรคติดต่อกัน 3 ถึง 4 ปี โดยไม่มีการป้องกันกำจัด อาจมีความเสียหายถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ระดับความเสียหายจะขึ้นอยู่กับเปอร์เซ็นต์การใช้ท่อนพันธุ์ที่มีเชื้อปะปนมา (Contaminated cutting) ปลูกในแปลงและความเสียหายอาจรุนแรงถึง 90 เปอร์เซ็นต์ เมื่อมีเชื้อโรค เช่น เชื้อ Colletrotrichum spp. และ Choanephora cucurbitarum ร่วมเข้าทำลาย นอกจากจะทำความเสียหายกับผลผลิตโดยตรงแล้วยังทำให้ขาดแหล่งโปรตีนและไวตามินที่สำคัญสำหรับประชากรในบางประเทศ เนื่องจากคนเหล่านั้นรับประทานใบมันสำปะหลังแทนผัก ฉะนั้น โรคใบไหม้จึงมีความสำคัญเป็นอันดับ 1 ในแถบอัฟริกา และลาตินอเมริกา สำหรับประเทศทางแถบเอเชีย เช่น ประเทศจีน และประเทศไทย ความเสียหายจัดอยู่ในระดับปานกลาง
ลักษณะอาการเริ่มแรกของ อาการมันสำปะหลังใบไหม้ ซึ่งมีสาเหตุจากเชื้อรา
แสดงอาการใบจุดเหลี่ยมฉํ่านํ้า ใบไหม้ ใบเหี่ยว ยางไหลจนถึงอากยอดเหี่ยวและแห้งตายลงมา นอกจากนี้ยังทำให้ระบบท่อนํ้าอาหารของลำต้นและรากมันสำปะหลังเน่า
ท่อนพันธุ์มันสำปะหลังที่เป็นโรค เป็นอีกสาเหตุ ที่ทำให้เกิดโรคใบไหม้ ควรคัดเลือกที่มาของท่อนพันธุ์ที่นำมาปลูก จากแปลงที่ไม่มีโรคระบาด
มันสำปะหลังจะแสดงอาการ คือ ยอดที่ผลิตใหม่ เหี่ยว มียางไหล และมีอาการแห้งตายจากยอดอย่างรวดเร็ว และแพร่ระบาดไปยังต้นข้างเคียง ซึ่งมักจะแสดงอาการเป็นจุดชํ้าเล็กที่ต้นแล้วแผลขยายใหญ่เปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลเข้มลุกลามเป็นแผลใหญ่ บางครั้งจะพบวงสีเหลือง (yellow halo) ลามเป็นใบไหม้ และใบร่วง ลำต้นแห้งตาย เมื่อผ่าดูระบบท่อนํ้าและอาหารทั้งของลำต้น และรากจะมีสีคลํ้า เนื่องจากเนื้อเยื่อของส่วนนี้ถูกทำลาย ในบางครั้งจะพบอาการยางไหลบนส่วนลำต้นที่ยังอ่อนหรือก้านใบ และแผลจุดบนใบ พบระบาดมากได้ในช่วงฤดูฝน
การแพร่ระบาดของโรคมันสำปะหลังใบไหม้ที่สำคัญ
คือ ติดไปกับท่อนพันธุ์ที่เป็นโรค แพร่กระจายไปโดยฝนหรือกับดิน หรือกับเครื่องมือที่ใช้ในการเกษตร เช่น มีดที่ใช้ในการตัดท่อนพันธุ์ ในบางประเทศมีรายงานว่า แมลงเป็นตัวการในการแพร่ระบาด เชื้อสาเหตุของโรคสามารถอยู่รอดในดินบนเศษซากพืชได้นานกว่า 2 ปี
การป้องกันกำจัด โรคมันสำปะหลังใบไหม้
1. ใช้พันธุ์ต้านทาน พันธุ์ที่แนะนำในปัจจุบัน มีความต้านทานต่อโรคปานกลาง
2. ใช้ท่อนพันธุ์ที่ปราศจากเชื้อ
3. ปลูกพืชอายุสั้นเป็นพืชหมุนเวียน หรือหลีกเลี่ยงการปลูกมันสำปะหลังในแปลงที่ระบาดรุนแรงนาน 6 เดือน
4. ใช้ชีววิธี (Biological control) การฉีดพ่นเชื้อบักเตรีเรืองแสง เช่น Pseudomonas fluorescens บนใบมันสำปะหลังพันธุ์ Mcol 22 ซึ่งอ่อนแอต่อโรคใบไหม้ ทำให้จำนวนจุดบนใบและจำนวนใบไหม้ต่อต้นลดลง และทำให้ผลผลิตเพิ่มขึ้น 2.7 เท่า
5. ฉีดพ่นด้วย ไอเอส เพื่อยังการเจริญเติบโตของเชื้อรา ไม่ให้ลุกลามแพร่ระบาด และหากให้พืชฟื้นตัวไว สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปด้วยพร้อมกัน
อ้างอิงข้อมูลจาก กรมวิชาการเกษตร
อ่าน:3432
การปลูกมันสำปะหลัง การเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังให้ได้ผลผลิตดี
มันสำปะหลัง Manihot esculenta Crantz เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญอันดับต้น ๆ ของประเทศไทย นอกจากจะเป็นผู้ผลิตมันสำปะหลังได้มากเป็นอันดับที่สามของโลก รองจากประเทศ ไนจีเรีย และบราซิล ยังเป็นประเทศผู้ส่งออกผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังเป็นอันดับหนึ่งของโลก และนำรายได้เข้าประเทศปีละกว่า 30_000 ล้านบาท เนื่องจากมันสำปะหลังเป็นพืชของขวัญของเกษตรกรไทย เนื่องจากเป็นพืชที่ปลูกง่ายแม้ดินจะไม่ดี ทนต่อความแห้งแล้ง ปัญหาโรคแมลงมีน้อย หัวสดมีตลาดรองรับแน่นอน การขุดเก็บเกี่ยวไม่ขึ้นกับฤดูกาล สามารถจะชะลอการเก็บเกี่ยวได้
จากการสำรวจมันสำปะหลังจะเห็นได้ว่า ผลผลิตหัวมันสดเฉลี่ยต่อไร่เพิ่มขึ้นไม่มากในปี 2547/2548 2548/2549 เฉลี่ยต่อไร่ (2_749และ 2_921กิโลกรัม)
จากการสำรวจการปลูกมันสำปะหลังประจำปี 2550/2551 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 7_302_960 ไร่ ผลผลิตต่อไร่ 3_782 ตัน ผลผลิตรวม 27_618_763 ตัน เปรียบเทียบกับ ปีประจำปี 2549/2550 ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกมันสำปะหลัง 7_201_243 ไร่ ผลผลิตต่อไร่ 3_668 ตัน ผลผลิตรวม 26_411_233 ตัน
พื้นที่เก็บเกี่ยวเพิ่มขึ้น 1.41% ผลผลิตต่อไร่เพิ่มขึ้น 3.11% และผลผลิตรวมเพิ่มขึ้น 4.57% (มูลนิธิพัฒนามันสำปะหลังแห่งประเทศไทย_ 2550) แม้ในปัจจุบัน จะมีการขยายพื้นที่มันสำปะหลังพันธุ์ดีสู่เกษตรกรไปมากแล้วก็ตาม สาเหตุหลักเนื่องจากดินเสื่อมโทรม ทำให้ผลผลิตต่ำแม้ใช้มันสำปะหลังพันธุ์ดีเนื่องจากเกษตรกรไม่นิยมปรับปรุงบำรุงดิน
การเพิ่มผลผลิตโดยรวมของประเทศ จึงมาจากการขยายพื้นที่ปลูกเพิ่มมากขึ้นมากกว่า ในการเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังต่อไร่เพิ่มขึ้นนั้น เกษตรกรสามารถทำได้ 3 วิธีร่วมกันคือ
- การจัดการดินดี
- การใช้พันธุ์ดีที่เหมาะสมกับดินและพื้นที่
- การปฏิบัติดูแลรักษาดี
ก็จะช่วยให้ผลผลิตต่อไร่สูงขึ้น ปัญหาของเกษตรกรผู้ผลิตมันสำปะหลังคือ ดินเสื่อมโทรมจะเป็นปัญหาอันดับหนึ่ง จึงจำเป็นต้องหาหนทางในการปรับปรุงสมบัติทางกายภาพของดิน และการบำรุงรักษาดิน และการดูแลรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดินให้สูงอยู่เสมอ จะช่วยให้ผลผลิตหัวสดต่อไร่สูงขึ้นกว่าในปัจจุบัน เนื่องจากศักยภาพของพันธุ์มันสำปะหลังพันธุ์ใหม่ ถ้าเกษตรกรมีการปฏิบัติดูแลรักษาได้อย่างเหมาะสม จะทำให้ได้ผลผลิตสูงเฉลี่ยต่อไร่ 5-10 ตันต่อไร่ได้ เนื่องจากการผลิตมันสำปะหลังในปัจจุบัน แม้ราคาจำหน่ายหัวมันสดจะสูงขึ้นถึงกิโลกรัมละกว่า 2.50 บาท แต่ปัจจัยการผลิตต่างๆ ก็แพงขึ้นตามตัวไม่ว่าจะราคาน้ำมัน (ดีเซล) ที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ปุ๋ยเคมี สารกำจัดวัชพืช ค่าแรงงาน ทำให้ต้องมองหาวิธีการลดต้นทุนปัจจัยการผลิต โดยเฉพาะปุ๋ยเคมี มีราคาแพงถึงกระสอบละ 1_000 กว่าบาทนั้น ต้องมองหาแหล่งปุ๋ยอินทรีย์ ที่นับวันจะหาอยากเพื่อจะนำมาใช้ทั้งโดยตรง และร่วมกับการใช้ปุ๋ยเคมีที่ใช้อัตราต่ำลง แต่ยังคงให้ผลผลิตคุ้มกับการลงทุน
ในปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหากับการใช้น้ำมันเชื้อเพลิง ที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศและน้ำมันิบมีราคาสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น การหาแหล่งพลังงานใหม่เข้ามาทดแทนการนำเข้าน้ำมันดิบ จากวัตถุดิบทางการเกษตรที่สามารถผลิตได้เองภายในประเทศ จะช่วยให้เกิดความมั่นคงทางด้านพลังงานของประเทศ อย่างยั่งยืน สถานภาพวัตถุดิบที่นำมาใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอล สามารถผลิตได้จากพืชจำพวกแป้งและน้ำตาล เมื่อนำมาผสมกับน้ำมันเบนซินในอัตราส่วน 20% จะได้น้ำมันที่เรียกว่า แก๊ซโซฮอล์ (Gasohol) โดยวัตถุดิบทางการเกษตรในประเทศไทยที่มีศักยภาพสูงสำหรับการผลิตเอทานอลได้แก่ อ้อย กากน้ำตาล และมันสำปะหลัง
จากการวิจัยและพัฒนาพบว่า วัตถุดิบที่เหมาะสมที่สุดในอุตสาหกรรมการผลิตเอทานอล คือมันเส้นเมื่อเปรียบเทียบกับวัสดุชนิดอื่นๆ การใช้วัตถุดิบจากมันสำปะหลังจะมีผลกระทบต่ออุตสาหกรรมที่ใช้มันน้อยที่สุด ทั้งนี้พิจารณาถึงความสามารถและกำลังการผลิตหัวมันสำปะหลังซึ่งในปัจจุบัน ผลผลิตหัวสดมีปริมาณไม่เพียงพอในการผลิตแป้ง ในปัจจุบัน และราคาหัวมันสดที่สูงถึงกว่า 2.50 บาท จึงทำให้ส่งผลกระทบต่อการผลิตเอธานอลที่ไม่คุ้มกับการลงทุน เนื่องจากปัญหาจำนวนผลผลิตส่วนใหญ่ใช่ในอุตสาหกรรมอาหาร จึงมีผลผลิตไม่เพียงพอในการนำไปผลิตพลังงานทดแทน หากจะเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้สูงขึ้นเป็นเรื่องจำเป็น
การปฏิบัติในการปลูกเพื่อเพิ่มผลผลิตและปริมาณแป้งในมันสำปะหลัง เพื่อรองรับทางด้านพลังงานสามารถทำได้ดังนี้
1. การเตรียมดินดี ดินเป็นปัจจัยการผลิตที่สำคัญในการปลูกพืช ดินที่ปลูกจะต้องมีความอุดมสมบูรณ์ที่เหมาะสมในการปลูกมันสำปะหลังส่วนใหญ่จะปลูกในดินร่วนปนทราย ในสภาพพื้นที่ลอนลาด เนินเขาต่างๆ ในการปฏิบัติส่วนใหญ่หลังการเก็บเกี่ยวผลผลิตเสร็จในช่วงต้นฤดูฝน ถ้าทำการปลูกต่อจะไถพื้นที่ด้วยรถไถผาล 3 หรือเรียกว่าไถดะ เพื่อไถหมักต้นและใบสดที่ทิ้งในแปลง รวมทั้งวัชพืชที่ขึ้นในแปลงโดยทิ้งไว้ประมาณ 15-20 วัน เพื่อหมักให้วัชพืชเน่าเปื่อย หากจะบำรุงดินโดยใช้ปุ๋ยอินทรีย์ หรือสารปรับปรุงดิน เช่น ยิบซั่ม ก็ทำการหว่านให้ทั่วทั้งแปลง เมื่อดินมีความชื้นเพียงพอก็ทำการไถอีกครั้งด้วยรถไถผาล 7 เรียกว่าไถแปร ถ้าหากปลูกแบบพื้นราบก็ทำการปลูกได้เลยโดยการใช้เชือกทำเครื่องหมาย
ระยะปลูกให้เหมาะสมในแต่ละสภาพพื้นที่ หากในบางพื้นที่ก็ทำการยกร่องปลูกก็ขึ้นกับสภาพพื้นที่
2. ปรับปรุง และบำรุงดิน ปัจจุบันพันธุ์มันสำปะหลัง เทคโนโลยีการผลิตนั้น ประเทศไทยถือได้ว่ามีความก้าวหน้ามากที่สุดประเทศหนึ่ง ในประเทศผู้ปลูกมันสำปะหลังในโลกปัจจุบัน แต่ปัญหาใหญ่ของเกษตรกรที่ปลูกมันสำปะหลังในประเทศไทยคือ ปัญหาเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของดินที่ต่ำ ทำให้ผลผลิตหัวสดเฉลี่ยของเกษตรและของประเทศ ส่วนใหญ่ยังอยู่ในเกณฑ์ที่ค่อนข้างต่ำประมาณ 2.5-3.0 ตันต่อไร่ (ปี 2549/50 3.7 ตันต่อไร่) แม้เกษตรกรจะใช้มันสำปะหลังพันธุ์ที่ใหม่และให้ผลผลิตสูงเฉลี่ย 5-10 ตันต่อไร่ก็ตาม แต่หากไม่มีการปรับปรุงบำรุงดินให้ดีก็คงจะได้ผลผลิตสูงได้ยาก
การปรับปรุงบำรุงดินเป็นสิ่งจำเป็นในการปลูกมันสำปะหลัง หากจะปลูกแล้วให้มีกำไรและให้ผลผลิตอย่างยั่งยืน ปัจจุบันเกษตรกรนิยมใช้ปุ๋ยอินทรีย์ได้แก่ ปุ๋ยมูลไก่ มูลสุกร มูลโค หรือมูลสัตว์ชนิดอื่น ๆ ที่หาได้โดยใส่อัตราประมาณ 500 – 1_000 กก./ไร่ หรือปุ๋ยอื่น ๆ ที่หาได้ในท้องถิ่น เช่นนอกจากนั้นยังสามารถใช้วัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานที่สามารถนำมาใช้โดยตรง เช่น เปลือกมันสำปะหลังจากโรงงานแป้งมันสำปะหลังที่ทิ้งหมักไว้แล้ว วัสดุเหลือทิ้งจากโรงงานผงชูรส เป็นต้น การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในการปรับปรุงบำรุงดิน ต้องใส่่ในปริมาณที่มาก เนื่องจากปุ๋ยอินทรีย์ส่วนใหญ่มีปริมาณธาตุอาหารที่ต่ำ และการปลดปล่อยธาตุอาหารก็ช้า และต้องใช้เวลาในการใช้จึงจะเห็นผลจำเป็นต้องใส่ร่วมกับปุ๋ยเคมี
จึงจะเกิดประโยชน์และช่วยให้ผลผลิตสูงขึ้น
ในกรณีปลูกพืชปุ๋ยสดเพื่อทำเป็นปุ๋ยพืชสดบำรุงดินเป็นเรื่องที่ดีในทางทฤษฎี แต่ในทางปฏิบัติแม้ผลการทดลอง จากการใช้ปุ๋ยพืชสดร่วมกับการปลูกมันสำปะหลังได้ผลผลิตหัวสดสูงขึ้น แต่การขยายผลจากงานทดลองสู่เกษตรกรยังไม่มีการตอบรับจากเกษตรส่วนใหญ่ เนื่องจากเกษตรกรมีทุนในการปลูกมันสำปะหลังน้อยอยู่แล้ว การไถแต่ละครั้งต้องใช้ต้นทุนสูงขึ้นจึงไม่ได้รับการยอมรับ
ประภาสและคณะ ศึกษาการใช้แคลเซียมซัลเฟต (CaSo4.2H2O) หรือยิบซั่มซึ่งเป็นสารปรับปรุงดินที่มีธาตุแคลเซี่ยม(Ca) และกำมะถัน(S) เป็นองค์ประกอบหลักใส่ในการปลูกมันสำปะหลัง ร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยมูลไก่ ทั้งในช่วงต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝนโดยในชุดดินวาริน ทำการศึกษาโดยใช้มันสำปะหลังพันธุ์ เกษตรศาสตร์ 50 ระยอง 72 และพันธุ์ห้วยบง 60 ส่วนชุดดินมาบบอนใช้มันสำปะหลังพันธุ์ห้วยบง 60 และพันธุ์ระยอง 5 ทั้งต้นฤดูฝนและปลายฤดูฝนเป็นเวลา 3 ปี
จากผลการทดลองในดินชุดวาริน ในอำเภอด่านขุนทดจังหวัดนครราชสีมา และชุดดินมาบบอนในอำเภอพนมสารคามจังหวัดฉะเชิงเทรา ในการทดลองทั้งสองชุดดินที่มีสภาพเป็นดินร่วนปนทรายสามารถยกระดับผลผลิตเพิ่มขึ้นได้อย่างชัดเจน ก็เป็นทางเลือกที่เกษตรกรจะพิจารณาใส่ในการปลูกมันสำปะหลัง เนื่องจากปัญหาราคาปุ๋ยเคมีที่มีราคาแพงมาก
3. การวางแผนการปลูกให้เหมาะสมกับฤดูกาล
ปลูกปลายฤดูฝน
ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือช่วงเดือนตุลาคม ไม่ควรเกินวันที่ 10 พฤศจิกายน ในภาคตะวันออกตั้งแต่เดือนตุลาคม-กุมภาพันธ์ การปลูกมันสำปะหลัง ในช่วงปลายฤดูฝนความสม่ำเสมอในการเจริญเติบโตของมันสำปะหลังจะต่ำกว่าการปลูกในช่วงต้นฤดูฝน เนื่องจากการปลูกปลายฤดูฝนมันสำปะหลังจะติดแล้ง ในช่วงระยะแรกของการเจริญเติบโตอายุ 3-4 เดือน การปลูกในช่วงปลายฤดูฝนจึงแนะนำให้ปลูกในพื้นที่ดินเป็นทรายหรือร่วนปนทราย ไม่แนะนำให้ปลูกในพื้นที่ดินค่อนข้างเหนียว ซึ่งเมื่อกระทบแล้งมันสำปะหลังจะตายมาก และมีในภาคตะวันออกอาจจะเริ่มปลูกตั้งแต่เดือนตุลาคม – มกราคม เนื่องจากสภาพดินส่วนใหญ่เป็นดินร่วนปนทรายและหากมีการไถดะให้ลึกเพื่อตัดเก็บความชื้นเอาไว้
จะช่วย ให้ในดินมีความชื้นและปริมาณน้ำฝนที่มากและการกระจายตัวของฝนมากกว่าในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ปลูกต้นฤดูฝน
ตั้งแต่ปลายมีนาคม – เมษายน ในฤดูฝนควรดำเนินการในช่วงเดือนพฤษภาคมให้เสร็จ หากปลูกหลังจากเดือนนี้จะมีปัญหาเรื่องวัชพืชที่มี ต้นทุนสูงที่สุดในขั้นตอนการปลูกมันสำปะหลั งยิ่งทำในพื้นที่มากๆแล้วไม่แนะนำให้ดำเนินการในช่วงเดือนนี้ ควรทำในช่วงต้นฤดูฝน
4. ปลูกมันสำปะหลังพันธุ์ดี คือ พันธุ์ที่มีการปรับตัวในสภาพแวดล้อมต่าง ๆได้ดี สามารถงอกและมีอัตราการอยู่รอดสูง เจริญเติบโตดี สามารถคลุมวัชพืชดี ทรงต้นดี อายุการเก็บต้นพันธุ์หลังการเก็บเกี่ยวได้นาน ให้ผลผลิตหัวสดและปริมาณแป้งสูง ในพื้นที่ของเกษตรกรผู้ปลูกมันสำปะหลังควรเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกพันธุ์ดีที่เหมาะสมกับดินที่เกษตรกรปลูกเอง ในปัจจุบันทางราชการได้แนะนำพันธุ์มันสำปะหลังประเภทปลูกส่งโรงงานอุตสาหกรรมให้เกษตรกรขยายพันธุ์ปลูกไปแล้วจำนวน 11 พันธุ์ ได้แก่ พันธุ์ระยอง 1 ระยอง 3 ระยอง 60 ศรีราชา 1 ระยอง 90 เกษตรศาสตร์ 50 ระยอง 5 ระยอง 72 ห้วยบง 60 ระยอง 7 และระยอง 9 ซึ่งแต่ละพันธุ์มีลักษณะเด่น และด้อยต่างกัน
5. การใช้ต้นพันธุ์ดี พันธุ์ที่มีคุณภาพเหมาะสมและวิธีการปลูกที่ถูกต้องผลผลิตหัวสดที่ได้จากการปลูกมันสำปะหลัง มีความสัมพันธุ์อย่างมากกับความงอกและจำนวนต้น อยู่รอดจนกระทั่งขุดเก็บเกี่ยว แต่ส่วนมากนิยมการปลูกแบบปักตรง ซึ่งได้รับผลผลิตสูงกว่า ตางอกได้เร็วกว่า การดูแลรักษาหลังการปลูก เช่น การกำจัดวัชพืช ปัญหาเรื่องแดดเผาต้นไม่มี การใส่ปุ๋ยตลอดจนการขุดเก็บเกี่ยวทำได้สะดวก การเลือกท่อนพันธุ์ที่ดี เป็นต้นพันธุ์ที่ใหม่หลังการตัดต้นพันธุ์แล้ว ควรรีบดำเนินการปลูกภายใน 1 – 2 สัปดาห์ หากขุดมันแล้ว เกิดภาวะแห้งแล้งไม่เหมาะสมในการปลูก หากจำเป็นต้องเก็บต้นไว้ปลูกหลายเดือนควรเก็บท่อนพันธุ์ตั้งไว้กลางแจ้ง ให้โคนต้นถึงพื้นดินทุกต้นและกรบโคนต้น รดน้ำให้ดินมีความชื้นโดยกองละประมาณ 500 ต้น ต้นมันสำปะหลังจะรักษาน้ำเลี้ยงคงความสดไว้ได้นานกว่า 2 เดือน ต้นพันธุ์ที่เหมาะสมควรคัดต้นที่สมบูรณ์ ตาของท่อนพันธุ์ต้องถี่ ต้นมีสีออกน้ำตาล หลีกเหลี่ยงการใช้ส่วนที่เป็นโคนต้นและปลายยอดที่มีสีเขียว รวมทั้งลำต้นที่เป็นโพรง วิธีการสับท่อนพันธุ์เป็นเรื่องที่น่าสนใจและใช้ความระมัดระวังอย่างมาก อย่าให้กระทบกระเทือนตาบนท่อนพันธุ์ และแนะนำให้สับตรงหรือเฉียงเล็กน้อย ไม่ควรสับเฉียงจนแหลมมาก นอกจากนั้นต้องตัดท่อนพันธุ์ให้มีความยาวที่เหมาะสม คือ ยาวประมาณ 20-25 ซม. การใช้ต้นพันธ์เพื่อปลูก ถ้าต้นพันธุ์มันสำปะหลังมีความยาวขนาด 1.20 เมตร จะใช้ต้นพันธุ์ประมาณ 500 - 650 ต้นต่อไร่ก็ขึ้นกับพันธุ์
6. วิธีการปลูก
สำหรับการปลูกมันสำปะหลังในประเทศไทยที่เกษตรกรนิยมปลูกมีด้วยกัน 3 วิธีคือ
6.1.การปลูกแบบยกร่อง
6.2.การปลูกแบบพื้นราบ
6.3.การปลูกโดยใช้เครื่องจักร
7.จัดระยะปลูกให้ถูกต้อง
ทุกสภาพดินการปลูกมันสำปะหลังเพื่อเพิ่มผลผลิตสามารถกระทำได้โดยการใช้ระยะปลูกให้เหมาะสมกับชนิดของพันธุ์ที่ใช้ และความอุดมสมบูรณ์ของดิน หลักในการพิจารณาโดยทั่วๆไปที่เป็นที่ทราบกันดีในหมู่ผู้คนที่มีอาชีพปลูกมันสำปะหลังสำปะหลังก็คือ “ดินเลวปลูกถี่ ดินดีปลูกห่าง” ความนิยมของเกษตรกรในแต่ละพื้นที่ โดยจะมีระปลูกโดยทั่วไปเช่น ระยะ1.0 x1.0 เมตรใช้ท่อนพันธุ์ 1_600 ท่อน 1.2 x 0.8 เมตร (1_600 ท่อนปลูกระยะถี่1.0 x 0.8 เมตร (2_400 ท่อน ) ในบางครั้งจะเห็นว่าเกษตรกรนั้นปลูกระถี่กว่านี้จะใช้ระยะ 1.2 x 0.3-0.7 เมตร ขึ้นกับพันธุ์ที่ใช้ปลูก
8. การกำจัดวัชพืช
นอกจากปัญหาเรื่องความอุดมสมบูรณ์ของดินแล้ว ปัญหาวัชพืชหรือทางภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เรียกว่า “รุ่น” เป็นปัจจัยสำคัญที่จะทำให้ผลผลิตมันสำปะหลังลดลงตลอดฤดูฝน ค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ในการปลูกและดูแลรักษาเกิดจากการป้องกันกำจัดวัชพืช โดยเฉพาะในระยะ 1-4 เดือนแรกของการปลูกเกษตรกร
ต้องหมั่นตรวจแปลงปลูกทุก 15 วัน เพื่อแก้ปัญหาวัชพืชโดยใช้หลักป้องกันไว้ก่อน การแก้ปัญหาล่าช้า ปล่อยให้วัชพืชแข็งแรง เจริญเติบโตจนกระทั่งออกดอก จะกำจัดทำลายยากและยืดเยื้อ ใช้ต้นทุนสูง ทำให้มันสำปะหลังแคระแกรน ผลผลิตต่ำ การปลูกมันสำปะหลังในช่วงปลายฤดูฝนซึ่งตรงกับหน้าแล้ง ปัญหาวัชพืชจะไม่รุนแรง
9. การเพิ่มผลผลิตโดยการใช้ปุ๋ยเคมี การใส่ปุ๋ยเคมีให้ทันเวลาหมายถึงการใส่ปุ๋ยเคมีหลังปลูก เพื่อใส่ปุ๋ยเนื่องจากพื้นที่ปลูกมันสำปะหลังของเกษตรกรส่วนใหญ่ทำในพื้นที่หลายไร่ จึงจำเป็นต้องเริ่มใส่ปุ๋ยให้เร็วเพราะจะทำให้มันสำปะหลังเจริญเติบได้เร็ว สามารถคลุมวัชพืชได้เร็ว และจะช่วยลดปัญหาการชะล้างพังทะลายของดินซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่ง ที่ทำให้ดินขาดความอุดมสมบูรณ์ แล้วยังจะช่วยลดการกำจัดวัชพืชได้ซึ่งจะทำให้ลดต้นทุนการผลิตได้
10. ขุดเก็บเกี่ยวให้ถูกฤดูกาลในช่วงเวลาที่เหมาะสม ส่วนใหญ่ขุดระหว่าง 8-12 เดือน มันสำปะหลังสังเกตุจากมันจะเริ่มทิ้งใบ โดยใช้เครื่องจักรหรือแรงงานคน ส่วนใหญ่จะเริ่มขุดในช่วงเดือนกุมภาพันธุ์ถึงเดือนเมษายนเป็นส่วนใหญ่เนื่องจากมันจะได้อายุครบ 12 เดือนหรือใกล้เคียง อีกช่วงหนึ่งที่มีการขุดหัวมันขายมากก็ในช่วง เดือนกันยายน-ตุลาคม หรือเรียกว่ามันที่ปลูกปลายฤดูฝน หากช่วงไหนราคามันไม่ดีหรือมีแปลงขนาดใหญ่ ที่มีการหมุนเวียนการปลูกภายในฟาร์มขนาดใหญ่ ก็ไม่จำเป็นที่จะขุดที่ 12 เดือน เป็นหลักอาจจะยืดอายุการขุดออกไปถึง 15-18 เดือนเนื่องจากอายุ ยิ่งมาก ผลผลิตก็ยิ่งสูงขึ้นก็ขึ้นกับปริมาณน้ำฝน
ข้อมูลจาก ku.ac.th/e-magazine/ oct51/agri/agri2.htm
อ่าน:3801
182 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 18 หน้า, หน้าที่ 19 มี 2 รายการ
|
-Page 17 of 19
-|
1
|
2
|
3
|
4
|
5
|
6
|
7
|
8
|
9
|
10
|
11
|
12
|
13
|
14
|
15
|
16
|
17
|
18
|
19
|
โทร
090-592-8614
ไลน์ไอดี
@FarmKaset
กลุ่มสินค้าขายดีมาก
ฮิวมิคFK ใช้ได้ทุกพืช ช่วยพืชโตไว เขียวแข็งแรง สามารถผสมปุ๋ยยาฯต่างๆ เพิ่มการดูดซับปุ๋ยยาฯได้ดีขึ้น
อัตราผสม 10กรัม (1ช้อนแกง) ต่อน้ำ 20ลิตร 1กก. ผสมน้ำได้ถึง 2000ลิตร
ขนาด 500 กรัม
ราคา : 190 บาท
ขนาด 1 กิโลกรัม
ราคา : 250 บาท
สั่งซื้อได้ที่ |
ลาซาด้า
|
ช้อปปี้
สั่งกับ
TikTok
|
แอดไลน์สั่งซื้อ
ป้องกันกำจัด เพลี้ยไฟ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยไก่แจ้ เพลี้ย แมลงปากดูดต่างๆ และ หนอนชอนใบ โล่ปลาดาว ไทอะมีทอกแซม
อัตราผสม 10กรัม (1ช้อนแกง) ต่อน้ำ 20ลิตร 100 กรัม ผสมน้ำได้ถึง 200ลิตร
ขนาด 100 กรัม
ราคา : 69 บาท
สั่งซื้อได้ที่ |
ลาซาด้า
|
ช้อปปี้
สั่งกับ
TikTok
|
แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน ใช้ได้ทุกพืช สารป้องกันกำจัดโรคพืช โรคเชื้อราหลายชนิด เช่น ใบไหม้ ใบจุด ใบติด กิ่งแห้ง ราน้ำค้าง ราสนิม ไปทอปธอร่า แอนแทรคโนส กุ้งแห้ง
อัตราผสม 40กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร 1กก. ผสมน้ำได้ถึง 500ลิตร
ขนาด 1 กิโลกรัม
ราคา : 390 บาท
สั่งซื้อได้ที่ |
ลาซาด้า
|
ช้อปปี้
สั่งกับ
TikTok
|
แอดไลน์สั่งซื้อ
กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)
เอฟเค-1
ฟื้นฟูพืช เร่งโตเร่งใบเร่งเขียว เร่งระบบราก เร่งดอก 1กล่อง (2กิโลกรัม)
ราคา : 890 บาท
สั่ง FK-1 กับ |
ลาซาด้า
|
ช้อปปี้
สั่งกับ
TikTok
|
แอดไลน์สั่งซื้อ
FK-3 1ชุด (2กิโลกรัม)
พืชออกผลทุกชนิด ขยายขนาดผล เพิ่มน้ำหนัก
ราคา : 950 บาท
สั่ง FK-3 กับ |
ลาซาด้า
|
ช้อปปี้
สั่งกับ
TikTok
|
แอดไลน์สั่งซื้อ
FK-3S 1ชุด (2กิโลกรัม)
อ้อยย่างปล้องสูง ลำโต เพิ่มค่าความหวาน CCS น้ำหนักดี
ราคา : 950 บาท
สั่ง FK-3S กับ |
ลาซาด้า
|
ช้อปปี้
สั่งกับ
TikTok
|
แอดไลน์สั่งซื้อ
FK-3R 1ชุด (2กิโลกรัม)
ข้าวรวงยาว เมล็ดเต็ม น้ำหนักดี
ราคา : 950 บาท
สั่ง FK-3R กับ |
ลาซาด้า
|
ช้อปปี้
สั่งกับ
TikTok
|
แอดไลน์สั่งซื้อ
FK-3C 1ชุด (2กิโลกรัม)
มันสำปะหลังหัวดก โต น้ำหนักดี เปอร์เซ็นต์แป้งสูง
ราคา : 950 บาท
สั่ง FK-3C กับ |
ลาซาด้า
|
ช้อปปี้
สั่งกับ
TikTok
|
แอดไลน์สั่งซื้อ
กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า
โปรฯเล็กยอดฮิต ป้องกันกำจัดราต่างๆ+ฟื้นฟูบำรุง FKT 250ซีซี + ไอเอส 250ซีซี (ผสมน้ำได้ 100ลิตร)
ราคา : 499 บาท
(ปกติ 740บาท)
สั่งกับ |
ลาซาด้า
|
ช้อปปี้
ไอเอส {ป้องกันกำจัดโรคพืช โรคใบไหม้ โรคราต่างๆ} 1ขวด (1000ซีซี)
ราคา : 450 บาท
สั่งไอเอสกับ |
ลาซาด้า
|
ช้อปปี้
ไอเอส3ลิตร {ป้องกันกำจัดโรคพืช โรคใบไหม้ โรคราต่างๆ} แกลลอน3ลิตร
ราคา : 900 บาท
สั่งไอเอส3ลิตร กับ |
ลาซาด้า
|
ช้อปปี้
มาคา {ป้องกันกำจัด เพลี้ย แมลงศัตรูพืช} 1ขวด (1000ซีซี)
ราคา : 470 บาท
สั่งมาคากับ |
ลาซาด้า
|
ช้อปปี้
ไอกี้-บีที {ป้องกันกำจัดหนอนต่างๆ} 1กระปุก (500กรัม)
ราคา : 490 บาท
สั่งไอกี้-บีทีกับ |
ลาซาด้า
|
ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม 1 ลิตร
ราคา : 890 บาท
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ |
ลาซาด้า
|
ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม 1ขวด (250ซีซี)
ราคา : 490 บาท
สั่งFK-T 250ซีซี กับ |
ลาซาด้า
|
ช้อปปี้
ไอเอส {ป้องกันกำจัดโรคพืช โรคใบไหม้ โรคราต่างๆ} 1ขวด (250ซีซี) 250บาท
สั่งไอเอสกับ |
ลาซาด้า
|
ช้อปปี้
โปรฯ FKT 1ลิตร + ไอเอส 1ลิตร
ราคา : 970 บาท
(ปกติ 1340บาท)
สั่งกับ |
ลาซาด้า
|
ช้อปปี้
โปรฯ FKT 1ลิตร + มาคา
ราคา : 980 บาท
(ปกติ 1360บาท)
สั่งกับ |
ลาซาด้า
|
ช้อปปี้
โปรฯ FKT 1ลิตร + ไอกี้-บีที
ราคา : 990 บาท
(ปกติ 1380บาท)
สั่งกับ |
ลาซาด้า
|
ช้อปปี้
กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง
อินเวท ป้องกันกำจัดเพลี้ย ทุกชนิด ใช้ได้ทุกพืช
ราคา : 250 บาท
สั่ง อินเวท กับ |
ลาซาด้า
|
ช้อปปี้
สั่งกับ
TikTok
|
แอดไลน์สั่งซื้อ
เมทาแลคซิล ป้องกันกำจัดโรคพืช โรคใบไหม้ ใบจุด ราน้ำค้าง ราสนิม โรคจากเชื้อราทุกชนิด ใช้ได้ทุกพืช
ราคา : 450 บาท
สั่ง เมทาแลคซิล กับ |
ลาซาด้า
|
ช้อปปี้
สั่งกับ
TikTok
|
แอดไลน์สั่งซื้อ
คาร์รอน กำจัดหญ้า คุมหญ้า กำจัดวัชพืชทั้งใบแคบ และใบกว้าง
ราคา : 450 บาท
สั่ง คาร์รอน กับ |
ลาซาด้า
|
ช้อปปี้
แอดไลน์สั่งซื้อ
กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย
สตาร์เฟอร์ 30-20-5 เร่งต้น เร่งโตไว เร่งใบเขียว ใช้ได้กับทุกพืช
ราคา : 250 บาท
สั่งกับ |
ลาซาด้า
|
ช้อปปี้
สั่งกับ
TikTok
|
แอดไลน์สั่งซื้อ
แอพฯผสมสตาร์เฟอร์เป็นสูตรต่างๆตามต้องการ
สตาร์เฟอร์ 10-40-10
เร่งราก เร่งดอก ใช้ได้กับทุกพืช
ราคา : 250 บาท
สั่งกับ |
ลาซาด้า
|
ช้อปปี้
สั่งกับ
TikTok
|
แอดไลน์สั่งซื้อ
แอพฯผสมสตาร์เฟอร์เป็นสูตรต่างๆตามต้องการ
สตาร์เฟอร์ 15-5-30 เพิ่มผลผลิต เร่งแป้ง สร้างน้ำตาล ขยายขนาดผล ใช้ได้กับทุกพืช
ราคา : 250 บาท
สั่งกับ |
ลาซาด้า
|
ช้อปปี้
สั่งกับ
TikTok
|
แอดไลน์สั่งซื้อ
แอพฯผสมสตาร์เฟอร์เป็นสูตรต่างๆตามต้องการ
แม็กซ่า สารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ประกอบด้วย แมกนีเซียม ซิงค์ เร่งเขียว สร้างภูมิต้านทาน ใช้ได้ทุกพืช
ราคา : 250 บาท
สั่ง แม็กซ่า กับ |
ลาซาด้า
|
ช้อปปี้
สั่งกับ
TikTok
|
แอดไลน์สั่งซื้อ
บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.
ให้บริการตรวจวิเคราะห์
☑
ตรวจฉลากโภชนาการ
☑
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
☑
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
☑
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
☑
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
☑
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
☑
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
☑
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
☑
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
☑
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด
|
ปุ๋ยทุเรียน
|
ปุ๋ยมันสำปะหลัง
|
ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย
|
ปุ๋ยนาข้าว
|
ปุ๋ยยางพารา
|
ปุ๋ยมะพร้าว
|
ปุ๋ยข้าวโพด
|
ปุ๋ยปาล์ม
|
ปุ๋ยสับปะรด
|
ปุ๋ยถั่วเหลือง
|
ปุ๋ยพริกไทย
|
ปุ๋ยกาแฟ
|
ปุ๋ยมะนาว
|
ปุ๋ยส้ม
|
ปุ๋ยลำไย
|
ปุ๋ยลิ้นจี่
|
ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง
|
ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว
|
ปุ๋ยมังคุด
|
ปุ๋ยมันฝรั่ง
|
ปุ๋ยหอมหัวใหญ่
|
ปุ๋ยกระเทียม
|
ปุ๋ยหอมแดง
|
ปุ๋ยมะเขือเทศ
|
ปุ๋ยกล้วยไม้
|
ปุ๋ยอินทผลัม
|
ปุ๋ยน้อยหน่า
|
ปุ๋ยชมพู่
|
ปุ๋ยเงาะ
|
ปุ๋ยมะม่วง
|
ปุ๋ยมะขาม
|
ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้
|
ทุเรียนใบติด
|
มันสำปะหลังใบไหม้
|
โรคอ้อยใบไหม้
|
ข้าวใบไหม้
|
ยางพาราใบไหม้
|
โรคมะพร้าวใบไหม้
|
โรคราน้ำค้างข้าวโพด
|
ปาล์มใบไหม้
|
โรคสับปะรด
|
โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง
|
พริกไทยใบไหม้
|
โรคกาแฟใบไหม้
|
ราสนิมมะนาว
|
ส้มใบไหม้
|
ลำไยใบไหม้
|
ลิ้นจี่ใบไหม้
|
หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้
|
กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย
|
โรคใบจุดมังคุด
|
มันฝรั่งใบใหม้
|
โรคหอมเลื้อย
|
โรคใบจุดกระเทียม
|
โรคหอมแดง
|
ราแป้งมะเขือเทศ
|
โรคจุดสนิมกล้วยไม้
|
อินทผลัมใบไหม้
|
น้อยหน่าดอกร่วง
|
ชมพู่ใบไหม้
|
เงาะใบไหม้
|
มะม่วงใบไหม้
|
ราแป้งมะขาม
|
โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด
|
เพลี้ยทุเรียน
|
เพลี้ยมันสำปะหลัง
|
เพลี้ยอ้อย
|
เพลี้ยข้าว
|
เพลี้ยยางพารา
|
เพลี้ยมะพร้าว
|
เพลี้ยข้าวโพด
|
เพลี้ยปาล์มน้ำมัน
|
เพลี้ยสับปะรด
|
เพลี้ยถั่วเหลือง
|
เพลี้ยพริกไทย
|
เพลี้ยกาแฟ
|
เพลี้ยมะนาว
|
เพลี้ยส้ม
|
เพลี้ยลำไย
|
เพลี้ยลิ้นจี่
|
เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง
|
เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว
|
เพลี้ยมังคุด
|
เพลี้ยมันฝรั่ง
|
เพลี้ยหอมหัวใหญ่
|
เพลี้ยกระเทียม
|
เพลี้ยหอมแดง
|
เพลี้ยมะเขือเทศ
|
เพลี้ยกล้วยไม้
|
เพลี้ยอินทผาลัม
|
เพลี้ยน้อยหน่า
|
เพลี้ยชมพู่
|
เพลี้ยเงาะ
|
เพลี้ยมะม่วง
|
เพลี้ยมะขาม
|
เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้
|
โรคทุเรียน
|
โรคมันสำปะหลัง
|
โรคอ้อย
|
โรคข้าว
|
โรคยางพารา
|
โรคมะพร้าว
|
โรคข้าวโพด
|
โรคปาล์ม
|
โรคสับปะรด
|
โรคถั่วเหลือง
|
พริกไทยใบไหม้
|
โรคกาแฟ
|
โรคมะนาว
|
โรคส้ม
|
โรคลำไย
|
โรคลิ้นจี่
|
โรคหน่อไม้ฝรั่ง
|
โรคกระเจี๊ยบเขียว
|
โรคมังคุด
|
โรคมันฝรั่ง
|
โรคหอม
|
โรคกระเทียม
|
โรคหอมแดง
|
โรคมะเขือเทศ
|
โรคกล้วยไม้
|
โรคอินทผาลัม
|
โรคน้อยหน่า
|
โรคชมพู่
|
โรคเงาะ
|
โรคมะม่วง
|
โรคมะขาม
|
โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด
|
เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน
|
เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง
|
เพลี้ยอ้อย
|
เพลี้ยศัตรูข้าว
|
เพลี้ยแป้งยางพารา
|
เพลี้ยศัตรูมะพร้าว
|
เพลี้ยข้าวโพด
|
เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน
|
เพลี้ยแป้งสับปะรด
|
เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง
|
เพลี้ยแป้งพริกไทย
|
เพลี้ยแป้งกาแฟ
|
เพลี้ยไฟมะนาว
|
เพลี้ยไฟส้ม
|
เพลี้ยแป้งลำไย
|
เพลี้ยแป้งลิ้นจี่
|
เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง
|
เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว
|
เพลี้ยไฟมังคุด
|
เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง
|
เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่
|
เพลี้ยไฟกระเทียม
|
เพลี้ยไฟหอมแดง
|
เพลี้ยมะเขือเทศ
|
เพลี้ยไฟกล้วยไม้
|
เพลี้ยแป้งอินทผาลัม
|
เพลี้ยแป้งน้อยหน่า
|
เพลี้ยไฟชมพู่
|
เพลี้ยแป้งเงาะ
|
เพลี้ยจักจั่นมะม่วง
|
เพลี้ยมะขาม
|
เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช
|
กำจัดหนอนทุเรียน
|
กำจัดหนอนมันสำปะหลัง
|
กำจัดหนอนกออ้อย
|
กำจัดหนอนในนาข้าว
|
กำจัดหนอนในสวนยางพารา
|
กำจัดหนอนมะพร้าว
|
กำจัดหนอนข้าวโพด
|
กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน
|
กำจัดหนอนสับปะรด
|
กำจัดหนอนถั่วเหลือง
|
กำจัดหนอนพริกไทย
|
กำจัดหนอนกาแฟ
|
กำจัดหนอนมะนาว
|
กำจัดหนอนส้ม
|
กำจัดหนอนลำไย
|
กำจัดหนอนลิ้นจี่
|
กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง
|
กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว
|
กำจัดหนอนมังคุด
|
กำจัดหนอนมันฝรั่ง
|
กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่
|
กำจัดหนอนกระเทียม
|
กำจัดหนอนหอมแดง
|
กำจัดหนอนมะเขือเทศ
|
กำจัดหนอนกล้วยไม้
|
กำจัดหนอนอินทผาลัม
|
กำจัดหนอนน้อยหน่า
|
กำจัดหนอนชมพู่
|
กำจัดหนอนเงาะ
|
กำจัดหนอนมะม่วง
|
กำจัดหนอนมะขาม
|
กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025
ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ
คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย
เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
คู่มืองป้องกันและกำจัดโรคในลำไย โรคราต่างๆ ใบไหม้ ราแป้ง ราสนิม กิ่งแห้ง และราอื่นๆ
Update: 2566/04/30 08:55:27 - Views: 8462
โรคถั่วฝักยาว ราแป้งถั่วฝักยาว อาการใบเหลือง ใบไหม้ ในถั่วฝักยาว
Update: 2564/08/22 22:28:51 - Views: 3800
เพลี้ย! ดูดกินน้ำเลี้ยงที่ใบกัญชา ทำให้ กัญชาใบหงิก ม้วน ใบจุดด่างขาว ใบจุดด่างเหลือง
Update: 2564/08/30 22:29:29 - Views: 3649
ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ สำหรับ อินทผลัม อินทผาลัม FK-1 โตไว ใบเขียว ติดผล ส่งเสริมผลผลิต
Update: 2564/09/07 00:48:59 - Views: 3506
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยหอย ในดอกลีลาวดี และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/03 10:05:11 - Views: 3437
ยารักษาโรคกะเพราใบจุด กะเพราใบไหม้ ใบแห้ง โรคต่างๆจากเชื้อรา ใช้ ไอเอส
Update: 2564/10/10 00:48:22 - Views: 3539
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรครากเน่า เน่าคอดิน ใน ถั่วเหลือง ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/16 14:55:27 - Views: 3493
โรคสับปะรด ที่เกิดจากเชื้อราต่างๆ ทำให้เกิดอาการสับปะรดยอดเน่า รากเน่า ใบไหม้ ยกตัวอย่างได้ดังต่อไปนี้
Update: 2566/11/08 06:16:07 - Views: 11141
สาเหตุ และ การรักษาโรคแอนแทรคโนสในแตงกวา
Update: 2564/08/09 04:15:53 - Views: 3453
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 0-0-60 : ตัวช่วยสำคัญสำหรับมะเขือเปราะผลใหญ่ ดก เพิ่มผลผลิต
Update: 2567/03/12 10:17:29 - Views: 3593
การใช้คาร์รอน (Diuron 80% WG) ในกำจัดวัชพืชในสวนผักกะหล่ำปลี
Update: 2567/02/13 09:19:12 - Views: 3669
เลี้ยงไก่ไข่อินทรีย์ ต้นทุนต่ำ ทำกำไรตัวละ 3 บาทต่อวัน
Update: 2565/11/15 14:14:32 - Views: 3480
ยากำจัดโรคราแป้ง ใน พริก โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอสใช้ได้กับพืชทุกชนิด (ขนาด 3 ลิตร ใช้ได้15 ไร่)
Update: 2566/06/12 10:49:58 - Views: 3438
กำจัดเชื้อรา ต้นหอม ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/09/22 11:33:56 - Views: 3445
ฮิวมิค แอซิด ฟาร์มิค - เคล็ดลับการปลดปล่อยธาตุอาหารให้กับพืชแอ๊ปเปิ้ล
Update: 2567/02/13 09:25:43 - Views: 3508
รับมือ โรคราน้ำค้างในข้าวโพด
Update: 2564/08/10 05:03:35 - Views: 3882
ปุ๋ยสำหรับต้นทานตะวัน
Update: 2564/05/11 08:02:21 - Views: 3768
ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบสำหรับอ้อย
Update: 2564/08/27 22:13:46 - Views: 3644
มะม่วงเจริญเติบโตได้ดี และให้ผลผลิตสูง ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แมกนีเซียม ซิงค์ เป็นองค์ประกอบที่สำคัญ
Update: 2566/11/10 07:07:37 - Views: 10689
กำจัดเพลี้ย ใน ต้นโกโก้ เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเพลี้ย บิวทาเร็กซ์ ปุ๋ยน้ำอะมิโน โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/05/11 14:06:12 - Views: 3464
GA4 © FarmKaset.ORG |
สถาบันอนุญาโตตุลาการ
: 2022