[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | ค้นคำว่า - อ้อย
120 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 12 หน้า, หน้าที่ 13 มี 0 รายการ

🎗ใส่ปุ๋ยมากแต่.. พืชไม่โต โตช้า เพราะ
🎗ใส่ปุ๋ยมากแต่.. พืชไม่โต โตช้า เพราะ
🎗ใส่ปุ๋ยมากแต่.. พืชไม่โต โตช้า เพราะ "ธาตุอาหารที่มีอยู่ต่ำสุด จะจำกัดการเจริญเติบโตของพืช"
หากขาดธาตุอาหารที่จำเป็นอย่างใดอย่างหนึ่ง การเจริญเติบโตของพืชก็จะไม่ดี แม้ว่าจะมีธาตุอาหารที่จำเป็นอื่นๆ มากมาย เป็นคำอธิบายของ Law of the minimum ของ Liebig ต้อนฉบับของประโยคข้างต้นเขียนไว้ว่า "If one of the essential plant nutrients is deficient, plant growth will be poor even when all other essential nutrients are abundant."

บันทึกใน WikiPedia http://www.farmkaset..link..

จึงเป็นคำตอบของปัญหา ที่เกษตรกรพบในการเพาะปลูก โดยเฉพาะการปลูกพืชซ้ำๆ ในแปลงปลูกขนาดใหญ่ เช่น ไร่อ้อย ไร่ข้าวโพด ไร่มันสำปะหลัง

ทั้งที่ใส่ปุ๋ยมาก แต่พืชก็ตอบสนองไม่ดี ไม่โตไวเหมือนปีก่อนๆ สาเหตุเป็นเพราะว่า เกษตรกรใสสัดส่วนจำนวนมาก ให้อาหารพืชโดยการใส่ปุ๋ยเฉพาะ N-P-K หรือ ไนโตเจน-ฟอสฟอรัส-โพแทสเซียม ให้ซ้ำๆในทุกๆปี เช่น ปุ๋ยสูตร 13-13-21 ก็จะประกอบไปด้วย ไนโตรเจน 13 เปอร์เซนต์ ฟอสฟอรัส 13 เปอร์เซนต์ โพแตสเซียม 21 เปอร์เซนต์ และเปลี่ยนไปปุ๋ยสูตรอื่นๆ ก็เพียงแค่ เพิ่มลดสัดส่วน ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแตสเซียม ในการให้ปุ๋ยแต่ละครั้ง ถึงแม้ว่าสามธาตุนี้ เป็นธาตุอาหารพืช ที่จำเป็นมากที่สุด ต่อการเจริญเติบโต สร้างระบบราก และเพิ่มผลผลิตพืช แต่ธาตุอาหารอื่นๆ ถึงแม้พืชจะต้องการน้อย แต่เราไม่เคยเติม หรือไม่เคยให้พืชเลย พืชก็จะไม่สามารถนำ 3 ธาตุหลัก ไปใช้ได้อย่างเต็มที่

ยกตัวอย่างเช่น

- พืชขาดธาตุ แคลเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ แต่พืชเอาไปใช้ได้น้อย ถ้าขาดแคลเซียม) ธาตุแคลเซียม [Ca] ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนย้ายของสารอาหารต่างๆเข้าสู่พืช และยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการทำงานของเอนไซม์พืชหลายชนิด
การขาดแคลเซียม มีผลทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะพืชไม่สามารถนำสารอาหารในดินที่มีอยู่ไปใช้งานได้

- พืชขาดธาตุ แมกนีเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ ฉีดทางใบก็เยอะ แต่พืชก็ยังเหลือง ไม่สมบูรณ์) ธาตุแมกนีเซียม [Mg] เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของคลอโรฟิลล์ และก็มีความสำคัญในกระบวนการสร้างATPโดยทำหน้าที่เป็นโคแฟกเตอร์ (enzyme cofactor).
การขาดแมกนีเซียม อาจทำให้เกิดอาการเหลืองระหว่างเส้นใบ (interveinal chlorosis).

- พืชขาดธาตุ สังกะสี (พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะขาดสังกะสี) ธาตุสังกะสี [Zn] เป็นส่วนสำคัญสำหรับเอนไซม์หลายชนิดและเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการถอดรหัสพันธุกรรม (DNA transcription).
การขาดสังกะสี โดยทั่วไปแล้วจะทำให้การเติบโตของใบชะงักงัน

จะเห็นได้ชัดเจนแล้วว่า ธาตุอาหารพืชต่างๆนั้น ทำงานสอดคล้อง สนับสนุนกัน หากเราไม่เติมธาตุที่ขาด ใส่เฉพาะ N-P-K ไปมากๆ ก็ได้ประโยชน์น้อย เป็นการเปลืองต้นทุนโดยไม่ได้รับประโยชน์อย่างเต็มที่

🌿เกี่ยวกับ FK-1

ธาตุรอง และธาตุเสริม จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช และถูกดึงออกจากดินในทุกๆรอบการปลูกพืช ซึ่งปุ๋ยทั่วๆไป ไม่เคยเติมธาตุเหล่านี้ ซึ่งธาตุรองธาตุเสริมที่ขาด จะกลายเป็นข้อจำกัดการเจริญเติบโตของพืช เนื่องจาก "พืชจะเจริญเติบโตได้มากที่สุด เท่ากับธาตุอาหารที่มีต่ำที่สุด" ตามกฎ Liebig's law of the minimum ปุ๋ยตรา FK ประกอบด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช จึงทำให้พืชเจริญเติบโตได้อย่างต่อเนื่อง เพราะไม่เกิดอาการขาดธาตุ ซึ่งบางอย่าง เป็นธาตุที่ปุ๋ยอินทรีย์ไม่สามารถให้ได้

เมื่อพืช ได้รับธาตุอาหารที่ขาดไป ธาตุอาหารพืชต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในดิน ที่พืชไม่เคยดูดกินไปใช้ประโยชน์ได้ ก็สามารถนำไปใช้ได้ เนื่องจาก ธาตุบางตัว เป็นตัวนำพาธาตุอื่นๆ

การฉีดพ่น FK-1 ที่มีครบทั้ง ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม จึงช่วยบำรุง ฟื้นฟู ส่งเสริมการเจริญเติบโต การแตกยอด ใบ เสริมสร้างความสมบูรณ์ แข็งแรง ตลอดจนผลผลิตที่ดีขึ้น

🌿 ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี [FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]

🎯 สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส
🎯 ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด

🔤ทักแชทได้เลยค่ะ

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกลิงค์เพื่อแอดไลน์ http://www.farmkaset..link..

🎖คลิกลิงค์เพื่อสั่งซื้อผ่านหน้าเว็บ http://www.farmkaset..link..

อ้างอิงข้อมูล

Wiki pedia : http://www.farmkaset..link..
Website: http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3481
โรครา โรคใบไหม้ ใบจุด ราสนิม ราน้ำค้าง ไฟทอปธอร่า บวกด้วย ฟึ้นฟู ให้แตกยอด แตกใบใหม่
โรครา โรคใบไหม้ ใบจุด ราสนิม ราน้ำค้าง ไฟทอปธอร่า บวกด้วย ฟึ้นฟู ให้แตกยอด แตกใบใหม่
แก้ปัญหาโรคพืช ที่ีมีสาเหตุจากเชื้อรา ยกตัวอย่างเช่น โรคใบไหม้ ในพืชต่างๆ โรคใบติดทุเรียน โรคราน้ำค้างองุ่น เกิดจากเชื้อรา Plasmopara viticola ในแคนตาลูป เกิดจากเชื้อรา Pseudoperonospora cubensis ในข้าวเกิดจาก เชื้อรา Peronosclerospora sorghi โรคใบไหม้มันฝรั่ง โรคใบจุดสีน้ำตาลในข้าว โรคเน่าคอรวงในข้าว หรือข้าวขาดคอรวง โรคแอนแทรคโนส พริก และพืชอื่นๆ ที่เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum sp โรคราแป้ง เกิดจากเชื้อรา Oidium sp. โรคใบจุด โรคราสนิม โรคราน้ำค้าง โรคราดำ โรคราเขม่าดำ และโรคเชิื้อราในอีกหลายพืช

โรคที่ใช้ไอเอสไม่ได้ คือโรคที่ไม่ได้มีสาเหตุจากเชื้อรา แต่มีสาเหตุจากเชื้อไวรัส เช่น โรคใบด่าง โรคใบด่างในอ้อย โรคไวรัสวงแหวนมะละกอ หรือโรคที่มีสาเหตุจากแบคทีเรียต่างๆ เช่น โรคแคงเกอร์ในพืชตระกูลส้ม มะนาว ก็ใช้ไอเอสไม่ได้เช่นกัน

🍂ไอเอส ราคา 450บาท บรรจุ 1ลิตร ส่วนผสม 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร
🌾FK ธรรมชาตินิยม ราคา 490บาท บรรจุ 250ซีซี ส่วนผสม 25-50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร

🔤ทักแชทได้เลยค่ะ

☎โทร 090-592-8614

🆗ไลน์ไอดี FarmKaset คลิกที่นี่เพื่อแอดไลน์

🎖 คลิกที่นี่เพื่อสั่งซื้อผ่านหน้าเว็บ

🍂ข้อมูล ไอเอส

สารอินทรีย์ยับยั้งเชื้อรา สกัดจากวัตถุดิบธรรมชาติทั้งหมด ผ่านการวิจัยพัฒนา เพื่อคัดเลือกวัตถุดับที่มีประสิทธิภาพสูงในการควบคุม และยับยั้งเชื้อรา ด้วยเทคโนโลยี “การควบคุมด้วยประจุไฟฟ้า (Ion Control)” โดยควบคุมสภาพแวดล้อมที่ผิวใบพืช ทำให้เกิดภาวะที่ไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต และการขยายพันธุ์ของเชื้อรา อีกทั้งยังเพิ่มประสิทธิภาพในการยึดติดผิวใบพืชได้ดียิ่งขึ้น ปลอดภัยต่อผู้ใช้และผู้ใช้และผู้บริโภค

🎗คุณประโยชน์
- ป้องกันการเข้าทำลายของเชื้อรา สาเหตุโรคในพืชต่างๆ
- ลดการแพร่กระจายของเชื้อราที่เกิดกับพืช
- ป้องกันการลุกลามของแผลที่เกิดจากการเข้าทำลายของเชื้อรา
- มีความต้านทานโรคเพิ่มขึ้น เมื่อใช้เป็นประจำ
อ่าน:3509
ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว แผ่นดินของเรานี้ แสนอุดมสมบูรณ์
ในน้ำมีปลา ในนามีข้าว แผ่นดินของเรานี้ แสนอุดมสมบูรณ์
ประเทศไทยเรานี้ดี ไม่ว่าจะภาคไหนๆก็ทำเกษตรได้ ถึงแม้แต่ละภาค จะอุดมสมบูรณ์มากน้อยต่างกัน แต่ก็มีเอกลักษณ์เฉพาะถิ่น ทางใต้ และตะวันออก ปลูกผลไม้ได้ดี ผลิตมีคุณภาพเป็นอันดับ 1 ของโลก ทางอีสาน ทำพืชไร่ได้ดี ไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลัง ปลูกข้าวหอมมะลิ ได้เป็นอันดับ 1 ของโลก ภาคกลางและภาคตะวันตก ปลูกได้หลายอย่าง ทั้งพืชไร่ พืชสวน ชลประทานดี ภาคเหนือ มีลิ้นจี่ ลำใย ไร่ชา พืชเมืองหนาวอีกหลายชนิด

ทั้งประเทศไทย มีอุณหมิที่พอดี ไม่ต่างกันมากเกินไป ในทุกๆภาค ถึงแม้จะร้อนมากในบางฤดู ก็ไม่ร้อนเป็นทะเลทรายเช่นในตะวันออกกลาง ถึงแม้จะหนาวจับใจลมแรง ในฤดูหนาว ก็ใช่ว่าจะหนาวจนหิมะตก จนอยู่กันไม่ได้

ถ้าใครมองว่า เกิดและอาศัยอยู่ในประเทศไทยนี้ ไม่สุขสบาย จะต้องไปอยู่ที่ไหน ถึงจะสุขสบาย จะต้องเกิดอีกกี่ชาติ ถึงจะสุขสบาย
อ่าน:3448
ดอกชบา การปลูกชบา การดูแล ป้องกันกำจัดโรค และแมลง
ดอกชบา การปลูกชบา การดูแล ป้องกันกำจัดโรค และแมลง
ชบาในบ้านเรารู้จักกันมานานแล้ว จะเห็นได้จากบ้านคนสมัยก่อนจะมีชบายอยู่แทบทุกบ้านปัจจุบันชบาได้รับการผสมพันธุ์เพื่อให้ได้พันธุ์ใหม่ออกมามากมาย ซึ่งล้วนแต่สวย ๆ งาม ๆทั้งนั้น ทำให้ได้ดอกของชบาที่มีรูปร่างสวยงามสีสันของดอกสดใส ขบานั้นจัดเป็นไม้พุ่ม ความสูงดดยทั่วไปประมาณ 2.50 เมตร ใบมีสีเขียวเข้ม มนรี ปลายใบแหลม แต่ปัจจุบันก็ยังมีพันธุ์ แตกต่างออกไปอีกมากมาย

การดูแล

แสง ชอบแสงแดดมาก

น้ำ ต้องการน้ำพอประมาณ

ดิน เป็นไม้ที่ปลูกได้ง่ายสามารถเจริญเติบโตได้ในดินแทบทุกชนิด แต่ไม่ควรให้ดินเปียกหรือแฉะเกินไป

ปุ๋ย ใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมัก

การขยายพันธ์ ตอน ปักชำ

โรคและแมลง ไม่ค่อยมีโรคจะมีก็แต่เพลี้ยที่รบกวนอยู่

การป้องกันกำจัด ฉีดพ่นด้วยยามาลาไธออนหรือไดอาซินอน ตามคำแนะนำที่ระบุไว้ในฉลาก

ลักษณะเด่น

คือ มีเส้นใยและยางเมือก (mucilagnous) อยู่ในเนื้อไม้โดยทั่วไปเป็นไม้พุ่มขนาดกลางใบเป็นใบเดี่ยวเรียงเวียนสลับมีรูปร่างหลายแบบ เช่น รูปไข่ รูปกลม รูปรีหรือเว้าเป็นแฉก3-5 แฉก มีกลีบดอก 5 กลีบแต่ละดอกจะเชื่อมติดกันเป็นวงที่ฐานดอกเกสรเพศผู้ประกอบด้วยอับเรณูสีเหลืองรูปไตและก้านชูอับเรณูสีขาวหรือสีเดียวกันเกสรเพศเมีย อยู่ปลายหลอดเกสรเพศผู้มักมีก้านเล็ก ๆ แยกยอดเกสรเพศเมียเป็น 5 ยอกตามจำนวนห้องรังไข่ส่วนยอดมีน้ำหวานสำหรับจับละอองเรณู

ประเภทของดอกอาจแบ่งได้ 3 ลักษณะ คือ
1.ดอกบานเป็นรูปถ้วย
2.ดอกบานเป็นรูปแผ่แบน
3.กลีบดอกบานแบบแผ่โค้ง

การขยายพันธุ์

การขยายพันธุ์มี 3 วิธี คือ
1.การปักชำ
2.การเสียบยอด
3.การติดตา

โรคและแมลงศัตรู
1. โรค ที่พบในชบาได้แก่ โรคใบจุดในช่วงฤดูฝน โรคใบหงิกที่เกิดจากเชื้อไวรัสโดยมีแมลงหวี่ขาวเป็นพาหะ

2. แมลงศัตรุ ที่พบมากได้แก่ แมลงหวี่ขาวดูดน้ำเลี้ยงจากใบและยอดอ่อนทำให้เกิดโรค ใบหงิก เพลี้ยแป้ง เพี้ยหอย
ดูดน้ำเลี้ยงจากใบและกิ่งก้านนอกจากนี้ยังมีหนอนผีเสื้อบางชนิดกัดกินดอกอ่อนทำให้ดอกไม่บานหรือกลีบเว้าแห่วง

3. สัตว์สัตรู ได้แก่ หอยทาก ทำลายโดยการกัดกินดอก กำจัดโดยใช้มือดึงออกหรือโรยปูนขาวรอบพื้นที่ปลูก

สรรพคุณทางยาและประโยชน์

ในคัมภีร์อายุรเวท พูดถึงสรรพคุณของดอกชบาว่า ช่วยฟอกโลหิต บำรุงจิตใจให้แช่มชื่น บำรุงผิวพรรณ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาและบรรเทาโรคเกี่ยวกับไต และโดยเฉพาะโรคเกี่ยวกับระบบสืบพันธุ์ของผู้หญิง เช่นเสียเลือดประจำเดือนมากเกินไป ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ รวมทั้งปัญหาเรื่องระดูขาวไม่เพียงแต่ดอกชบาเท่านั้นที่ใช้เป็นยาดีของอินเดีย ส่วนอื่นๆของชบายังใช้เป็นยารักษาโรคได้ด้วย อย่างเช่น เปลือกต้นชบาใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา ใบชบาใช้แก้แผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก บำรุงผม

ประจำเดือนมาไม่สม่ำเสมอ มีระดูขาว - นำดอกชบาสด 4 ดอกมาตำให้แหลก แล้วกินตอนท้องว่างในตอนเช้าติดต่อกัน 7 วัน นำดอกชบามาตากให้แห้งในที่ร่ม เมื่อแห้งสนิทดีแล้ว เอามาบดเป็นผง กินครั้งละ 1 ช้อนชาตอนเช้าติดต่อกันนาน 7 วัน
ประจำเดือนไม่มา ใช้ดอกชบา 3 ดอกบดให้แหลก แล้วผสมกับน้ำมะนาวสัก 2 ช้อนโต๊ะ หรือผสมกับนม 1 แก้ว แล้วดื่มตอนท้องว่างตอนเช้า จะช่วยปรับเรื่องประจำเดือนได้ เอาเฉพาะกลีบดอกชบาผสมกับน้ำตาลอ้อยหรือน้ำตาลปี๊บอย่างละเท่าๆ กันใส่ในโถแก้วมีฝาปิด แล้วเอาโถแก้วออกตากแดดติดต่อกันสัก 21 วัน น้ำตาลจะละลายผสมกับดอกชบา พอครบกำหนดแล้วเอามากินครั้งละ 2 ช้อนชา วันละ 2 ครั้ง นานสองถึงสามสัปดาห์ ยาสูตรนี้ถือว่า เป็นยาบำรุงประจำเดือน
ดับร้อนและแก้ไข้ - ใช้ดอกชบา 4 ดอกแช่ในน้ำต้มสุก 2 แก้ว แล้วดื่มต่างน้ำ จะช่วยดับร้อนผ่อนกระหายและแก้ไข้ได้ดี
รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อรา เช่น ฮ่องกงฟุต - ใช้เปลือกต้น 50 กรัม แช่ในแอลกอฮอล์ 150 ซีซี นานหนึ่งวัน แล้วกรองเอาแต่น้ำยาไว้ทาบริเวณที่เป็นฮ่องกงฟุต
รักษาแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก - ใช้ใบชบาหรือฐานดอกก็ได้มาตำให้แหลก แล้วเอามาพอกบริเวณที่ถูกไฟไหม้น้ำร้อนลวก น้ำเมือกจากใบจะช่วยรักษาแผลได้เป็นอย่างดี
บำรุงผม - ใช้ใบชบาหนึ่งกำมือมาล้างให้สะอาด ตำให้แหลก เติมน้ำเล็กน้อย แล้วคั้นเอาแต่น้ำ กรองเอากากทิ้ง แล้วใช้น้ำเมือกจากใบชบาสระผม ช่วยชำระล้างสิ่งสกปรก และบำรุงเส้นผมให้ดกดำเป็นเงางาม

Reference: nongyai.ac.th
อ่าน:4000
โรคพืช
โรคพืช
โรคพืช หมายถึงลักษณะอาการของพืชที่ผิดไปจากปกติ ซึ่งอาจเกิดขึ้นบนส่วนใดส่วนหนึ่งของต้นพืช หรือตลอดทั้งต้น และรวมไปจนถึงการแห้งตายไปทั้งต้น สาเหตุที่ทำให้เกิดโรคพืชแบ่งได้ 2 สาเหตุคือ

1. เกิดจากสิ่งมีชีวิต (pathogenic disease) เช่น โรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส (virus) เชื้อไมโคพลาสมา

(mycoplasma) เชื้อแบคทีเรีย (bacteria) เชื้อรา (fungi) และไส้เดือนฝอย โรคพืชจะเกิดขึ้นและสามารถแพร่กระจายระบาดออกไปได้ถ้าหากมีเชื้อสาเหตุเหล่านี้ ตลอดจนมีสภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการเกิดและการแพร่กระจายของโรคพืชนั้น ๆ การแพร่กระจายของโรคพืชอาศัย น้ำ ฝน ความชื้น ลม ดิน หรือโดยการถ่ายทอด (transmission) ผ่านทางเมล็ดพันธุ์ ส่วนขยายพันธุ์ หรือโดยแมลง

ลักษณะอาการ (symptom) ของโรคพืชซึ่งเกิดจากเชื้อสาเหตุที่แตกต่างกัน จะแตกต่างกันดังต่อไปนี้

1.1) ลักษณะอาการของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อไวรัส มักมีอาการโรคใบหด ใบหงิก ใบสีเหลืองส้ม ใบด่างเหลือง ใบม้วน

1.2) ลักษณะอาการของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อไมโคพลาสมา มักมีอาการโรคใบขาว ลำต้นแคระแกรน แตกกอเป็นพุ่ม หรือใบเหลืองซีด กิ่งแห้งตาย ลำต้นทรุดโทรมและไม่ให้ผลผลิต

1.3) ลักษณะอาการของโรคพืชจากเชื้อแบคทีเรีย มีลักษณะอาการแตกต่างกัน 5 แบบ คือ

1.3.1) เหี่ยว (wilt) อาการเหี่ยวเฉา เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปเจริญในท่อน้ำ ท่ออาหารของต้นพืช ทำให้เกิดการอุดตันของท่อน้ำและท่ออาหาร จึงเป็นเหตุให้พืชได้รับน้ำและอาหารไม่เพียงพอ เกิดอาการเหี่ยวเฉา หรือเจริญเติบโตผิดปกติและจะตายไปในที่สุด เช่น โรคเหี่ยวของมะเขือเทศ มันฝรั่ง ยาสูบ ถั่วลิสง กล้วย แตงกวา แตงโม มีสาเหตุมาจากเชื้อ Xanthomonas spp._ Pseudomonas spp._ Erwinia spp.

1.3.2) เน่าเละ (soft rot) อาการเน่าและมีกลิ่นเหม็น ทั้งนี้เพราะแบคทีเรียเข้าทำลายเซลล์พืช และมีเชื้อจุลินทรีย์อื่น ๆ ร่วมเข้าทำลายซ้ำเติม โรคพืชแบบนี้มักเกิดกับส่วนของพืชที่อวบน้ำ เช่น โรคเน่าเละของพืชผัก มันฝรั่ง มะเขือเทศ แตงกวา กะหล่ำ พริก ส่วนใหญ่มีสาเหตุมาจากเชื้อ Erwinia spp.

1.3.3) แผลเป็นจุด (spot หรือ local lesion) อาการจุดแห้งตาย เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปเจริญอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์หรือในเซลล์ ทำให้เซลล์บริเวณนั้นตายเป็นแผลแห้งมีขอบเขตจำกัด เช่น โรคใบจุดของฝ้าย โรคใบจุดของถั่วเหลือง โรคขอบใบแห้งของข้าว โรคแคงเคอร์ของส้ม โรคใบจุดของยาสูบ เชื้อสาเหตุ ได้แก่ Xanthomonas sp._ Pseudomonas spp.

1.3.4) ไหม้ (blight) อาการใบไหม้ตาย เริ่มจากจุดเล็ก ๆ ก่อน แล้วแผ่ขยายไปเรื่อย ๆ โดยไม่มีขอบเขตจำกัด เกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปเจริญอยู่ในช่องว่างระหว่างเซลล์ แต่ไม่ทำลายเนื้อเยื่อเซลล์ เพียงแต่ทำให้การเคลื่อนย้ายน้ำและอาหารในพืชไม่สะดวก ทำให้ใบและลำต้นมีสีซีด (necrosis) และอาจแห้งตายไปในที่สุด เช่น โรคใบไหม้ของถั่ว ยางพารา แอปเปิ้ล เชื้อสาเหตุได้แก่ Xanthomonas spp. Phythopthora spp. และ Erwinia spp.

1.3.5) ปุ่มปม (gall หรือ tumer) อาการเป็นปุ่มปมเกิดจากเชื้อแบคทีเรียเข้าไปเจริญอยู่ในเซลล์พืช แล้วสร้างสารบางชนิดออกมากระตุ้นให้เซลล์บริเวณนั้นมีการแบ่งตัวมากขึ้น เช่น โรค crown gall ของมะเขือเทศ โรค gall ของหัวบีท เชื้อสาเหตุได้แก่ Agrobacterium spp. และ Xanthomonas spp.

1.4) ลักษณะอาการของโรคพืชจากเชื้อรา ลักษณะอาการของโรคพืชจากเชื้อรามีมากหลายแบบ เช่น ใบเป็นแผล ใบไหม้ ใบบิด ต้นเหี่ยว รากเน่า โคนต้นเน่า ผลเน่า เมล็ดเน่า ต้นกล้าเน่า หรือต้นแห้งตายไปทั้งต้น ลักษณะอาการของโรคพืชจากเชื้อรามักจะสังเกตเห็นเส้นใย (hypha) สปอร์ (spore) ส่วนสืบพันธุ์ต่างๆ เช่น sporangium_ conidia_ basidiumascus มีสีขาว หรือสีดำ หรือสีน้ำตาล ปรากฏตามรอยแผลอาการของโรค หรือตรงส่วนที่เชื้อสาเหตุเข้าสู่ต้นพืช ตัวอย่างของโรคพืชที่เกิดจากเชื้อราได้แก่ โรคโคนเน่าคอดินของต้นกล้า โรครากและโคนต้นเน่า โรคราน้ำค้าง โรคเน่าของผลไม้และผัก โรคราแป้งขาว โรคราสนิมเหล็ก โรคเขม่าดำ โรคแส้ดำของอ้อย โรคไหม้ของข้าว โรคใบจุดของข้าวโพด โรคใบจุดตานกของยางพารา โรคแอนแทรคโนส โรคเหี่ยวของมะเขือเทศ

1.5) ลักษณะอาการของโรคพืชจากไส้เดือนฝอย มักทำให้เกิดโรครากปม รากขอด และลำต้นพืชเหี่ยวเฉาตายไปในที่สุด

2) เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต (nonpathogenic disease) อาการของโรคพืชอาจเกิดจากสาเหตุเนื่องจากสิ่งไม่มีชีวิต เช่น การขาดธาตุอาหาร ธาตุอาหารเป็นพิษ ดินเป็นกรด ดินเค็มจัด ดินเป็นด่าง หรือพิษจากสารเคมีบางชนิด สาเหตุต่างๆ เหล่านี้ทำให้การเจริญเติบโตของต้นพืชผิดปกติ ลำต้นแคระแกร็น มีสีซีด หรือสีผิดปกติ ไม่ให้ผลผลิต โรคพืชซึ่งมีสาเหตุเกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต จะเกิดเฉพาะบริเวณ ไม่สามารถแพร่กระจายหรือระบาดไปยังแหล่งอื่นๆ ได้

สำหรับปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรค สืบศักดิ์ (2540) กล่าวว่าปัจจัยที่มีผลต่อการเกิดโรคนั้น มีด้วยกัน 4 ประการที่สำคัญคือ เชื้อสาเหตุของโรค พืชอาศัย สภาพแวดล้อม และเวลา ปัจจัยทั้งสี่มีความสัมพันธ์ต่อกันอย่างยิ่งยวด จะขาดสิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่ได้เลย หากนำมาเขียนเป็นรูปจะได้รูปสามเหลี่ยมด้านเท่า ซึ่งเรียกว่า “สามเหลี่ยมโรคพืช” ดังแสดงในรูป

Reference: main content from natres.psu.ac.th
อ่าน:3814
โรคอ้อย อ้อยขาดธาตุแคลเซียม (Calcium, Ca) แสดงอาการเป็นทางเหลือง หรือสีน้ำตาล แก้ไขได้
โรคอ้อย อ้อยขาดธาตุแคลเซียม (Calcium, Ca) แสดงอาการเป็นทางเหลือง หรือสีน้ำตาล แก้ไขได้
อ้อยใบแก่จะแสดงอาการขาดแคลเซียม โดยใบอ้อยจะมีลักษณะเป็นทางสีเหลืองจนถึงสีน้ำตาล โดยบนใบแก่อาจจะสังเกตเห็นลักษณะเป็นสีสนิมแล้วใบก็จะตายไปก่อนที่จะแก่

บ่อยครั้งที่จะพบว่ายอดใบนั้นจะมีการบิดม้วนไปตามความยาวของขอบใบเมื่อมีการขาดแคลเซียมอย่างต่อเนื่อง ในใบอ่อนนั้นจะมีการผิดรูปร่างแห้งตายอย่างไรก็ตามการขาดแคลเซียมนั้นพบได้ไม่บ่อย

ลักษณะอาการโรค อ้อยขาดแคลเซียมจะทำให้เนื้อเยื่อเจริญส่วนยอดตาย ใบอ่อนจะมีอาการยอดงอบิดเบี้ยวและไหม้ที่ส่วนยอด และขอบใบใบจะมีแผลเล็ก ๆ สีซีด และมีจุดแห้งๆ ตรงกลาง ต่อมาแผลจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดงเปลือกจะอ่อนนุ่มและเปราะ ลำจะผอมเรียวการเจริญเติบโตจะลดลงและอ่อนแอ ถ้าขาดแคลเซียมอย่างรุนแรงการเจริญเติบโตจะหยุดชะงักและตายในที่สุด

คำแนะนำการป้องกันกำจัด

การใส่ปุ๋ยโพแทสเซียมในอัตราสูงจะทำ ให้เกิดการขาดแคลเซียม ในดินเป็นกรดซึ่งมีแคลเซียมต่ำ โดยปกติอาการขาดแคลเซียมในอ้อยของประเทศไทยไม่ค่อยพบเห็นบ่อยนัก ส่วนใหญ่มักจะพบร่วมกับอาการเป็นพิษของอลูมิเนียมในดินกรดจัดในประเทศบราซิล อ้อยจะมีรากยาวขึ้นและหยั่งลึกลงในดินมากขึ้น เมื่อมีการใส่แคลเซียมในรูปของยิปซั่มโดยปกติการแก้ปัญหาการขาดแคลเซียมมักจะใช้หินปูนบดละเอียดหรือยิปซั่ม การใช้หินปูนก็เพื่อจะทำให้ความเป็นกรดของดินลดลง และเพื่อให้อ้อยได้แคลเซียมและแมกนีเซียมด้วย ส่วนยิปซั่มมักจะใส่ในดินที่เป็นด่าง หรือดินเค็ม เพื่อปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพของดินให้ดีขึ้น และเข้าไปแทนที่ขับไล่เกลือออกจากดิน แล้วลดปริมาณเกลือโดยการชะล้าง

ฉีดพ่น FK-1 ที่ประกอบด้วย ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแตสเซียม แคลเซียม แมกนีเซียม และ สังกะสี ในอัตราส่วน 50 กรัม ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 500 กรัม ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นที่ผสมแล้วประมาณ 80 ลิตรต่อไร่ ทุก 7-15 วัน ต่อเนื่อง 2-3 ครั้ง

Reference: main content from ocsb.go.th
อ่าน:3461
โรคอ้อย โรคราน้ำค้างในอ้อย ความงอกลดลง พบแผลทางยาวสีเหลืองบนใบ ใบฉีกขาดเป็นฝอย
โรคอ้อย โรคราน้ำค้างในอ้อย ความงอกลดลง พบแผลทางยาวสีเหลืองบนใบ ใบฉีกขาดเป็นฝอย
อ้อยแสดงอาการของโรคราน้ำค้าง ใบมีการฉีกขาดเป็นฝอย

สาเหตุของโรค เชื้อรา Sclerosporaspontanea Weston

ลักษณะอาการโรค

ระยะอ้อยงอก ความงอกจะลดลง พบแผลเป็นทางยาวสีเหลืองบนใบที่เพิ่งแตกขึ้นมาต่อจากนั้นทางยาวสีเหลืองนี้จะเกิดเพิ่มขึ้นจนมองเห็นใบเป็นสีขาวเหลืองเรียงสลับกันตลอดใบ และที่ด้านใต้ใบ ถ้าสังเกตในตอนเช้า หรือตอนที่อากาศค่อนข้างเย็นและชื้นจะพบผงสีขาวขึ้นอยู่ ผงสีขาวนี้เป็นส่วนของเชื้อราที่จะแพร่ระบาดไป ทำให้พืชต้นอื่นเกิดโรคอีกได้เมื่อใบแก่ แผลจะเปลี่ยนไปเป็นสีน้ำตาลและแห้ง ใบเหล่านี้โดยมากจะฉีกขาดตามรอยแผลที่เกิดโรค หรือปลายใบจะฉีกขาดออกจากกันเป็นฝอย ลำอ้อยเล็ก ผอม ไม่สมบูรณ์หรือแคระแกร็น นอกจากนี้อ้อยบางต้นยังแสดงอาการใบหงิกงอ(leaf twisting) อีกด้วย

การแพร่ระบาด

สปอร์หรือ conidia จะปลิวไปตามลม เส้นใยติดไปกับท่อนพันธุ์ spore ติดไปกับส่วนของพืชหรือดิน หรือเครื่องมือที่ใช้ปฏิบัติในไร่

คำแนะนำการป้องกันกำจัด

• ปลูกอ้อยต้านทานโรค

• ไม่ควรนำอ้อยจากแหล่งที่มีโรคระบาดไปใช้ทำพันธุ์

• แช่ท่อนพันธุ์ในน้ำร้อน อุณหภูมิคงที่ 52 องศาเซลเซียส 30 นาทีก่อนปลูก

•เผาทeลายอ้อยที่เป็นโรคและพืชอาศัย เช่น หญ้าพงเพื่อทำลายเชื้อและลดโอกาสที่เชื้อจะแพร่ระบาด

• ทำความสะอาดเครื่องมือที่ใช้ปฏิบัติการในไร่ที่มีโรคระบาดเพื่อป้องกันไม่ให้มีเชื้อติดมา

Reference: main content from ocsb.go.th
อ่าน:3470
โรคอ้อย โรคอ้อยยอดบิด (พกกะบอง) เมื่อโรครุนแรงยอดจะเน่าแห้งเป็นสีน้ำตาลแดง และใบที่ม้วนอยู่ถูกทำลาย ลำตายในที่สุด
โรคอ้อย โรคอ้อยยอดบิด (พกกะบอง) เมื่อโรครุนแรงยอดจะเน่าแห้งเป็นสีน้ำตาลแดง และใบที่ม้วนอยู่ถูกทำลาย ลำตายในที่สุด
สาเหตุของโรค เชื้อรา Fusarium moniliforme

ลักษณะอาการโรค

เริ่มแรกที่โคนของใบอ่อน จะคอดกว่าปกติมีสีขาวซีดหรือเหลืองซีดย่น ต่อไปใบอ่อนที่แตกออกมาใหม่จะมีลักษณะเหี่ยวย่นบิดม้วน ฉีกขาด ใบสั้น เมื่อใบแก่ขึ้นตรงบริเวณที่เคยเป็นสีซีดจะมีแถบสีแดง รูปร่างไม่แน่นอนเกิดขึ้น แถบนี้อาจจะลุกลามลงมายังส่วนที่เป็นสีเขียวของกาบใบ ลักษณะของแผลบนใบและกาบใบมีรูปร่างและการจัดเรียงไม่แน่นอนทั้งแผล

ปลายใบและขอบใบที่เป็นโรคมักมีสีน้ำตาลเข้มจนถึงสีดำทำให้ดูคล้ายกับถูกไฟเผา อาการใบที่ไม่คลี่จะเห็นยอดหดย่น เชื้อยังสามารถลุกลามเข้าไปยังลำต้น และเข้าไปยังจุดเจริญทำ ให้เกิดแถบสีน้ำตาลในลำต้น ซึ่งอาจยาวลงไปหลายปล้องในฤดูฝนที่สภาพอากาศมีความชื้นสูง เชื้อจากส่วนใบจะเจริญเข้าทำลายยอดอ้อย ทำให้เนื้อเยื่อเจริญภายในยอดและปล้องอ้อยส่วนบน ๆของลำเน่า มีสีแดงเข้ม

เมื่อโรครุนแรงยอดจะเน่าแห้งเป็นสีน้ำตาลแดง และใบที่ม้วนอยู่ถูกทำลาย ลำตายในที่สุด ดังนั้น หากโรคไม่รุนแรงมากลำที่เหลืออยู่ในกอจะเจริญต่อไปได้โดยไม่ถูกทำลายเมื่อโรคลดการระบาดการแพร่ระบาด โรคระบาดรุนแรงในฤดูฝนในระยะอ้อยย่างปล้องโดยเฉพาะในช่วงเวลาที่มีความชื้นสูง และลดการระบาดเมื่ออากาศแห้งลงในปลายฤดูฝน ทั้งนี้เชื้อสาเหตุโรคสามารถอยู่ข้ามฤดูได้ในเศษซากอ้อยที่เป็นโรค โดยแผลที่เป็นโรคสามารถสร้างสปอร์และปล่อยสปอร์ให้ลอยไปตามลมได้

คำแนะนำการป้องกันกำจัด

• ใช้พันธุ์อ้อยที่ต้านทานต่อโรค

• เผาทำลายอ้อยที่แสดงอาการของโรค เพื่อป้องกันไม่ให้มีการแพร่ระบาดไปยังแหล่งอื่น

• ลดการใช้ปุ๋ยเดี่ยวไนโตรเจนในขณะที่อ้อยอายุยังน้อย

• ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน หมั่นสังเกตุอาการ

• ผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส เพื่อส่งเสริม ฟืนฟูอ้อย จากการเข้าทำลายของโรค

Reference: main content from ocsb.go.th
อ่าน:4607
อ้อยขาดธาตุแมกนีเซียม (Magnesium, Mg) อ้อยแคระ อ้อยจุดสนิม อาจมีมีสาเหตุจากเชื้อรา หรืออาจเป็นเพราะขาดแมกนีเซียม ต้องพิจารณาดีๆ
อ้อยขาดธาตุแมกนีเซียม (Magnesium, Mg) อ้อยแคระ อ้อยจุดสนิม อาจมีมีสาเหตุจากเชื้อรา หรืออาจเป็นเพราะขาดแมกนีเซียม ต้องพิจารณาดีๆ
ภายใต้สภาพที่มีการขาดแมกนีเซียมอย่างรุนแรง ลำต้นอ้อยจะมีการแคระแกร็นทำให้เกิดเป็นสีสนิมอย่างรุนแรงและมีสีน้ำตาล โดยภายในลำต้นนั้นอาจจะกลายเป็นสีน้ำตาลได้

สีสนิมที่เกิดขึ้นนั้นสามารถกระจายไปทั่วทั้งแผ่นใบและอาจจะทำให้ใบแก่นั้นเกิดการหลุดหักร่วงก่อนอายุจริง

ลักษณะอาการโรค อ้อยที่ขาดแมกนีเซียม จะมีจุดประคล้ายสนิมเหล็กทั่วบริเวณด้านบนของใบภายในลำอ้อย ถ้าผ่าดูจะมีสีน้ำตาลทำให้ใบแก่และหลุดร่วงก่อนอายุลำต้นอาจแคระแกร็น ลักษณะคล้ายกับอ้อยขาดแคลเซียมมาก ลำต้นเล็ก ปล้องสั้น

คำแนะนำการป้องกันกำจัด

การขาดแมกนีเซียมมักขาดในดินทราย และดินที่มีโพแทสเซียมสูงการใส่โพแทสเซียมในอัตราสูงจะทำให้เกิดการขาดแมกนีเซียมได้ในดินที่มีแมกนีเซียมต่ำ ปุ๋ยที่ให้แมกนีเซียม โดยการฉีดพ่น FK-1 ที่ประกอบด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ฉีดพ่นประมาณ 80ลิตรต่อไร่ ทุก 7-15 วัน ต่อเนื่อง 2-4 ครั้ง

Reference: main content from ocsb.go.th
อ่าน:3493
โรคข้าวโพด โรคราน้ำค้าง หรือโรคใบลาย (Corn Downy Mildew)
โรคข้าวโพด โรคราน้ำค้าง หรือโรคใบลาย (Corn Downy Mildew)
โรคราน้ำค้างของข้าวโพด หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่าโรคใบลาย เป็นโรคที่ทำความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างร้ายแรงให้แก่แหล่งที่ปลูกข้าวโพดในหลายประเทศ เช่น อินเดีย อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ ไต้หวัน เวียดนาม และประเทศไทย การสำรวจพบโรคนี้เป็นครั้งแรกในประเทศไทยที่ อำเภอพยุหะคีรีและอำเภอท่าตะโก จังหวัดนครสวรรค์ เมื่อปี2511 ต่อมาพบระบาดอีกในหลายจังหวัด เช่น ลพบุรี ตาก สุโขทัย พิษณุโลก เพชรบูรณ์ และนครราชสีมา จนถึงปัจจุบันนอกจากจังหวัดที่ได้กล่าวถึงโรคนี้ระบาดไปทุกแหล่งที่มีการปลูกข้าวโพด โดยเฉพาะกาญจนบุรีและอุทัยธานีที่มีการปลูกข้าวโพดติดต่อกันตลอดปี พบว่าไม่สามารถควบคุมโรคโดยใช้สารเมตาแลคซิลที่เคยใช้ได้ผลในอดีตที่ผ่านมา ความรุนแรงของโรคทำให้ผลผลิตข้าวโพดลดลง 30-80 เปอร์เซ็นต์ ในแหล่งที่โรคระบาดรุนแรงและพันธุ์ข้าวโพดที่อ่อนแอจะทำความเสียหายถึง 100 เปอร์เซ็นต์ ข้าวโพดหวาน ข้าวโพดพันธุ์พื้นเมือง เช่น ข้าวโพดเทียนและข้าวโพดข้าวเหนียว เป็นพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคมาก

ลักษณะอาการของโรค มี 3 ลักษณะดังนี้

1. Infection site หรือบางครั้งเรียกว่า infection point อาการที่มีลักษณะเป็นจุดเล็กๆขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1-2 มิลลิเมตร จุดมีลักษณะเป็นสีเขียวฉ่ำน้ำ เกิดจากการเข้าทำลายของ germ tube ที่งอกออกจากสปอร์ มักเกิดและเห็นได้ชัดกับข้าวโพดที่ระยะกล้าอายุประมาณไม่เกิน 1 สัปดาห์
2. Local symptom อาการเฉพาะแห่ง เป็นลักษณะอาการที่เกิดต่อมาจากอาการแบบที่1พบเป็นทางยาวสีเหลืองหรือสีเขียวอ่อนสลับกับเขียวแก่ แผลจะขยายจากจุด infection site ลามลงมาทางโคนใบ ต่อมาเมื่อข้าวโพดอายุมากเข้ารอยสีเขียวอ่อนหรือสีเหลืองก็จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ลักษณะคล้ายใบไหม้และแห้งตายในที่สุด
3. Systemic symptom อาการกระจายทั่วต้น ลักษณะอาการที่ต้นข้าวโพดมีใบสีเหลืองซีดโดยเฉพาะในบริเวณยอด ต้นแคระแกรน เตี้ย ข้อถี่ ไม่มีฝักหรือมีฝักขนาดเล็ก ก้านฝักมีความยาวมากหรือมีจำนวนฝักมากกว่าปกติ แต่จะไม่สมบูรณ์ เช่น มีเมล็ดจำนวนน้อยหรือไม่มีเมล็ดเลย บางครั้งใบยอดมีลักษณะอาการใบลายเป็นทางสีเขียวอ่อนสลับกับเขียวแก่ หลังจากใบแรกที่แสดงอาการแบบนี้แล้ว ใบที่เจริญต่อมาจะแสดงอาการแบบ systemic หมด ถ้าความชื้นสูงเชื้อทำให้เกิดอาการยอดแตกฝอยเป็นพุ่ม เกสรตัวผู้กลายเป็นเกสรตัวเมียสร้างเมล็ดและต้นอ่อน

สภาพแวดล้อมที่เหมาะต่อการระบาดของโรค

1. ความชื้นของบรรยากาศค่อนข้างสูง โดยเฉพาะบริเวณที่มีน้ำค้าง อากาศเย็น และฝนตกชุกอย่างไรก็ตามแม้ว่าฝนจะตกชุกแต่ดินไม่สามารถเก็บน้ำไว้ได้ ทำให้ความชื้นที่สูงเกิดในระยะเวลาสั้นๆ โรคก็เกิดน้อย
2. อุณหภูมิของบรรยากาศ เชื้อโรคนี้จะเจริญได้ดีในที่อุณหภูมิค่อนข้างเย็น คือประมาณ 20-26 องศาเซลเซียส

เชื้อสาเหตุ

เชื้อรา Peronosclerospora sorghi (Weston &Uppal) C.G. Shaw เชื้อราชนิดนี้มีก้านชูสปอร์ตรง แผ่ขยายออกที่ปลาย สีใส มีขนาด 180-300 ไมครอน มักจะแตกแขนงแบบสองแฉกเสมอ แทงทะลุออกมาจากปากใบข้าวโพดแบบเดี่ยวหรือเป็นกลุ่ม จากใต้ใบและด้านบนของใบ สปอร์ใสรูปไข่หรือรียาวมีขนาดอยู่ระหว่าง 14.4-27.3x15-28.9 ไมครอน ติดอยู่บนก้านชูเรียวแหลมยาวประมาณ 13 ไมครอน

การงอกของสปอร์โดยสร้างท่อเล็กยาว เมื่อมีหยดน้ำแล้วแทงทะลุผ่านปากใบเข้าทำลายพืช เมื่อสภาพแวดล้อมไม่เหมาะสมเชื้อราสร้างสปอร์ผนังหนา รูปร่างยาวรี ฝังตัวอยู่ในเนื้อใบบริเวณท่อน้ำท่ออาหาร มีขนาด 25-42.9 ไมครอน สีใส ผนังสีเหลือง เพื่อคงทนต่อสภาพแวดล้อมและติดไปกับเมล็ด ใบข้าวโพดที่แสดงอาการโรค เชื้อราจะสร้างสปอร์เมื่อมี ความชื้นสูง อุณหภูมิระหว่าง 17-29 oซ ช่วงที่เหมาะสมคือ 24-26 oซ การงอกของ สปอร์ต้องการความชื้นสัมพัทธ์สูง อุณหภูมิ 21-25 oซ ซึ่งเป็นช่วงเวลาหลังเที่ยงคืนแล้ว สปอร์มีอายุเพียง 3-4 ชั่วโมง และเมื่อถูกแสงแดดยามเช้าก็ตายไป การเข้าทำลายพืชทั้งต้นสามารถพบได้ที่ อุณหภูมิ 11-32 oซ ที่มีความชื้นอย่างน้อย 4 ชม.

การแพร่ระบาด

โรคจะเริ่มระบาดตอนต้นฤดูฝน ประมาณเดือนพฤษภาคม มิถุนายน กรกฎาคม และสิงหาคมไปจนสิ้นฤดูฝนเมื่อฝนตกต้องตามฤดูกาล อุณหภูมิ 20-26 oซ และความชื้นสูงเหมาะสมต่อการเจริญของเชื้อราชนิดนี้มาก โดยสามารถพบเชื้อโรคสร้างสปอร์ เป็นผงสีขาวๆบนผิวใบที่ลายของข้าวโพดในเวลาเช้ามืดของคืนที่มีฝนตกและอากาศค่อนข้างเย็น เมื่อสปอร์แก่จะแพร่ระบาดไปโดยลมเข้าทำลายต้นอื่นๆ ต่อไป นอกจากนี้เชื้อที่ติดไปกับเมล็ดพันธุ์ที่ยังไม่แห้งดี เชื้อโรคที่ตกอยู่ในดิน หรือที่เกิดบนพืชอาศัยอื่น พอสรุปได้ว่า การแพร่ระบาดของเชื้อโรคมาจากแหล่งต่างๆ ดังนี้

1. ใบข้าวโพดที่เป็นโรค
2. ติดมากับเมล็ดข้าวโพดจากต้นที่เป็นโรค
3. พืชอาศัยบางชนิด เช่น ข้าวฟ่าง หญ้าพงหรือแขม หรืออ้อยเลา หรือหญ้าคาหลวง (Saccharum spontaneaum)
4. เชื้อราอาจจะตกค้างในดินในรูปของสปอร์ที่มีผนังหนา

การป้องกันกำจัด

1. หลีกเลี่ยงการปลูกก่อนฝนตกชุกหรือปลูกก่อนฤดูฝน ซึ่งโดยปกติพบว่าโรคนี้มักระบาดในช่วงฤดูฝนกับข้าวโพดที่มีอายุประมาณ 1-3 สัปดาห์จะอ่อนแอต่อการเข้าทำลายของเชื้อโรคมาก แต่ถ้าต้นข้าวโพดมีอายุมากกว่า 1 เดือน พบว่ามีอัตราการเกิดโรคน้อย
2. การกำจัดพืชอาศัย เป็นอีกวิธีหนึ่งที่ลดการอยู่ข้ามฤดูของเชื้อสาเหตุได้ พบว่า หญ้าเจ้าชู้ ข้าวฟ่าง หญ้าพง และอ้อย แสดงอาการโรคราน้ำค้าง สปอร์ที่สร้างบนพืชทั้งสี่สามารถทำให้เกิดโรคดังกล่าวแก่ข้าวโพดได้ หรือข้าวโพดที่หลงเหลือจากการเก็บเกี่ยวหรือต้นอ่อนที่งอกใหม่จากเมล็ดที่ร่วงหล่นในแปลง เชื้อสาเหตุของโรคก็สามารถอยู่ข้ามฤดูได้เช่นกัน
3. หลีกเลี่ยงการใช้เมล็ดพันธุ์จากแหล่งที่มีโรคระบาดมาทำพันธุ์
4. ใช้เมล็ดพันธุ์ที่ตากแห้งสนิท (ความชื้นประมาณ 12 เปอร์เซ็นต์) มาทำพันธุ์ เพื่อป้องกันเชื้อที่ติดมากับเมล็ด เมล็ดข้าวโพดที่ได้จากต้นที่เป็นโรคเมื่อยังมีความชื้นในเมล็ดสูง(15-20เปอร์เซ็นต์) จะสามารถถ่ายทอดเชื้อโรคได้
5. ใช้พันธุ์ต้านทาน ปัจจุบันมีข้าวโพดทั้งสายพันธุ์ลูกผสมและสายพันธุ์แท้เป็น จำนวนมาก มีความต้านทานเชื้อสาเหตุโรคราน้ำค้างได้ดีและให้ผลผลิตสูง เช่น พันธุ์นครสวรรค์ 1 นครสวรรค์ 72 สุวรรณ 1 สุวรรณ 5 สุวรรณ 3601
6. เมื่อพบโรค ฉีดพ่นด้วย ไอเอส ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร สามารถฉีดพ่น FK-1 ไปพร้อมกัน เพื่อส่งเสริมการฟื้นฟูของพืช

#ข้าวโพดใบลาย #โรคข้าวโพด #โรคราน้ำค้างข้าวโพด

ป้องกัน ยับยั้งด้วย ไอเอส สารอินทรีย์ ในอัตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร
📌 ไอเอส ข้อมูลเพิ่มเติม http://www.farmkaset..link.. 📌 ไอเอส ข้อมูลรายละเอียด และโปรโมชั่น ที่ลิงค์นี้นะค่ะ http://www.farmkaset..link.. ✅ ปลอดสารพิษ ✅ จากธรรมชาติ ✅ ปลอดภัยต่อทั้งผู้ใช้และผู้บริโภค
🚚 มีบริการเก็บเงินปลายทางฟรี ไม่ต้องโอน
📞 โทรสอบถามหรือสั่งซื้อ 090-592-8614
👉 แอดไลน์ไอดี FarmKaset หรือคลิก http://www.farmkaset..link.. 👉 สอบถามสั่งซื้อทางเพจ ฟาร์มเกษตร หรือคลิก http://www.farmkaset..link..
อ่าน:3629
120 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 12 หน้า, หน้าที่ 13 มี 0 รายการ
|-Page 10 of 13-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 |


โทร 090-592-8614
ไลน์ไอดี @FarmKaset

กลุ่มสินค้าขายดีมาก

ฮิวมิค FK
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
ไทอะมีทอกแซม
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ
แพนน่อน
สั่งซื้อได้ที่ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
สั่งกับ TikTok | แอดไลน์สั่งซื้อ


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
มะยงชิดใบไหม้ โรครามะปรางหวาน ใบจุดสีน้ำตาล ใบเหี่ยว แก้ด้วย ไอเอส
Update: 2564/04/26 00:48:24 - Views: 4682
โรคทุเรียนต่างๆ ทุเรียนใบไหม้ ราสีชมพูในทุเรียน โรคทุเรียนก้านธูป เชื้อราต่างๆ ใช้ ไอเอส
Update: 2566/10/28 12:25:31 - Views: 11068
กำจัดโรคพืชที่เกิดจากเชื้อรา ใน ผักคะน้า เร่งฟื้นฟูจากการเข้าทำลายของเชื้อรา ไตรโครเร็กซ์ ปุ๋ยน้ำอะมิโน โดยไดโนเร็กซ์
Update: 2566/04/26 13:38:32 - Views: 3494
มันสำปะหลังใบหงิก ปัญหาใหญ่จากเพลี้ย แก้ได้ง่ายๆ ด้วย อินเวท และ ปุ๋ยสตาร์เฟอร์
Update: 2567/03/15 14:24:48 - Views: 3705
ที่สุดของ ปุ๋ยน้ำ FK-1 ทดแทนปุ๋ยเม็ด ลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต ธาตุหลัก N20% P20% K20% และสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ Mg23% Zn10% โปรดอ่านวิธีใช้ โทร 090-592-8614 ไลน์ @FarmKaset
Update: 2565/03/07 00:04:59 - Views: 3439
ยาฆ่าเพลี้ย ใบแมงลัก ปลอดสารพิษ มาคาและ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/09/10 10:50:08 - Views: 3490
ธาตุอาหารพืช โบรอน ซิลิคอน แคลเซียม ไนโตรเจน แมกนีเซียม ฟอสฟอรัส คาร์บอน โพแทสเซียม สำคัญกับพืชอย่างไร - FK iLab ตรวจวิเคราะห์ดิน ตรวจวิเคราะห์ปุ๋ย รายงานผลออนไลน์
Update: 2563/09/02 08:36:07 - Views: 3632
การรับมือกับโรคเชื้อราในดอกกุหลาบ: วิธีป้องกันและการจัดการ
Update: 2566/11/20 09:09:23 - Views: 3487
ยากำจัด เพลี้ย สำหรับ มะเขือเทศ เพลี้ยแป้ง เพลี้ยอ่อน เพลี้ยไฟ แมลงหวี่ขาว ฉีดพ่น มาคา
Update: 2564/09/19 23:12:20 - Views: 3479
มะเขือเทศใบซีด มะเขือเทศใบเหลือง อาการเริ่มจากใบแก่ ก่อนลุกลามไปใบอ่อน เพราะขาดไนโตรเจน
Update: 2564/03/27 03:26:32 - Views: 3543
เร่งการออกดอกและเร่งรากด้วยปุ๋ยสตาร์เฟอร์ สูตร 10-40-10+3 MgO
Update: 2567/02/12 14:04:46 - Views: 3611
โรคดอกรัก ใบไหม้ ราน้ำค้าง ราสนิม ใบจุด ขาดธาตุอาหาร ใช้ ไอเอส + FKธรรมชาตินิยม #ดอกรักใบไหม้ #ปุ๋ยดอกรัก
Update: 2564/11/03 03:38:11 - Views: 3434
คู่มือป้องกันกำจัดโรคเชื้อราต่างๆในดาวเรือง ดาวเรืองใบไหม้ ดอกไหม้ ดอกเป็นจุด ราแป้ง ฯลฯ
Update: 2566/05/01 10:27:34 - Views: 11396
โรคถั่วฝักยาว ราแป้งถั่วฝักยาว อาการใบเหลือง ใบไหม้ ในถั่วฝักยาว
Update: 2564/08/22 22:28:51 - Views: 3801
โรคไหม้คอรวง ข้าวขาดคอรวง ข้าวเน่าคอรวง แก้ด้วย ไอเอส สารอินทรีย์กำจัดเชื้อรา ปลอดภัย
Update: 2562/10/21 20:42:14 - Views: 3656
5 พืชเศรษฐกิจไทย ที่มีมูลค่าส่งออกสูงสุด
Update: 2567/11/19 07:40:20 - Views: 65
คู่มืองป้องกันและกำจัดโรคในลำไย โรคราต่างๆ ใบไหม้ ราแป้ง ราสนิม กิ่งแห้ง และราอื่นๆ
Update: 2566/04/30 08:55:27 - Views: 8462
เพลี้ย! ดูดกินน้ำเลี้ยงที่ใบกัญชา ทำให้ กัญชาใบหงิก ม้วน ใบจุดด่างขาว ใบจุดด่างเหลือง
Update: 2564/08/30 22:29:29 - Views: 3649
ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ สำหรับ อินทผลัม อินทผาลัม FK-1 โตไว ใบเขียว ติดผล ส่งเสริมผลผลิต
Update: 2564/09/07 00:48:59 - Views: 3506
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าเพลี้ยหอย ในดอกลีลาวดี และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/02/03 10:05:11 - Views: 3437
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022