<กลับหน้าค้นข้อมูล
แจ้งลิงค์ในเนื้อหาเสีย
โรคแตงโมเถาเหี่ยว โรคราน้ำค้างแตงโม เพลี้ยไฟแตงโม
การป้องกันกำจัดโรคต่างๆในแตงโม โรคเถาเหี่ยว โรคราน้ำค้าง และ กำจัดแมลง พวก เพลี้ยไฟ ในแตงโม
โรคเถาเหี่ยว (ที่เกิดจากเชื้อราฟิวซาเรียม)
แตงโมที่เป็นโรคนี้สีใบจะซีด ใบและเถาจะเหี่ยวจริงบริเวณโคนเถาที่ใกล้กับผิวดิน จะแตกตามยาวและมีน้ำเมือกซึมออกมา เมื่อผ่าไส้กลางเถาดูจะเห็นภายในเป็นสีน้ำตาล โรคนี้จะระบาดมากในช่วงแตงโมออกดอก การปลูกซ้ำที่เดิม โรคนี้จะระบาดรุนแรงมาก
สาเหตุ
เชื้อรานี้เจริญและทำลายแตงโมได้ดีที่อุณหภูมิระหว่าง 24 - 27 องศาเซลเซียส
ขณะแตงกำลังเจริญเติบโตมีผนตกติดต่อกันยาวนาน
ดินมีธาตุไนโตรเจนอยู่สูง แต่มีธาตุฟอสฟอรัส (P2O5) และโปแตสเซี่ยม (K2O) อยู่ต่ำ
ดินเป็นกรดจัด
การป้องกันและกำจัด
- อย่าปลูกแตงโมซ้ำที่เดิม
- ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ยับยั้งโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน
- ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี
[FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]
* สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส
* ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด
ลักษณะที่มองเห็นในครั้งแรก คือ ใบในเถาจะเหี่ยวลงทีละใบ การเหี่ยวจะเหี่ยวจากปลายเถามาหาโคนเถาในเถาใดเถาหนึ่ง เมื่อเหี่ยวมาถึงโคนเถาก็จะเหี่ยวพร้อมกันหมดทั้งต้น แต่ใบยังคงเขียวอยู่ และพืชตายในทันทีที่พืชเหี่ยวทั้งต้นสาเหตุของการเหี่ยวก็คือเชื้อแบคทีเรียไปอุดท่อส่งน้ำเลี้ยงในต้นแตงโม ถ้าเอามีดเฉือนเถาตามยาวดูจะเห็นว่ากลางลำต้นในเถาฉ่ำน้ำมากกว่า ปกติเชื้อแบคทีเรียนี้อาศัยอยู่ในตัวของแมลงเต่าแตงต้นแตงโมได้รับเชื้อโรคจากการกัดกินใบของแมลงเต่าแดงนี้ เมื่อเชื้อแบคทีเรียเข้าสู่ต้นแตงโมทางแผลที่แมลงเต่ากัดกิน ก็จะเพิ่มปริมาณขึ้นอย่างรวดเร็ว แล้วก็กระจายตัวเข้าสู่ท่อน้ำและอาหารของแตงโม เราอาจป้องกันและรักษาได้ โดยฉีดสารเคมีเซวิน 85 ป้องกันแมลงเต่าแตงและใช้ยาปฏิชีวนะสเตรปโตมัยซิน เช่น อะกริมัยซิน ฉีดพ่นทุกสัปดาห์ ใช้อัตราส่วนผสมตามที่แจ้งไว้ในซองบรรจุสารเคมีที่จำหน่าย เมื่อพบว่าต้นแตงโมบางส่วนเริ่มเป็นโรคนี้ สารเคมีนี้ช่วยรักษาและป้องกันได้ แต่มีข้อเสียคือเสื่อมคุณภาพเร็วจึงต้องซื้อแต่สารเคมีใหม่ใช้เท่านั้น ถ้าสารเคมีอะกริมัยซินเก่าเกิน 1 ปีขึ้นไป จะฉีดไม่ได้ผล
โรคราน้ำค้าง
ลักษณะที่มองเห็นได้ คือ เกิดจุดสีเหลืองบนหลังใบ และขยายตัวใหญ่ขึ้น จำนวนจุดสีเหลืองเพิ่มปริมาณมากขึ้น และใต้ใบตรงตำแหน่งเดียวกัน จะมีกลุ่มของเชื้อราสีม่วงอมเทาเกาะเป็นกลุ่มอยู่ เชื้อโรคนี้เจริญได้อย่างรวดเร็ว เมื่ออากาศอุ่นและชุ่มชื้น เมื่อใบแก่ตายเชื้อก็จะไปทำลายใบอ่อนต่อไป เมื่อใบแห้งไปหมดแล้ว ผลที่เกิดขึ้นมาก็คือ แตงติดผลน้อยและคุณภาพผลแก่ก็ต่ำด้วย สปอร์ของเชื้อรานี้แพร่ระบาดไปโดยลมและโดยแมลงพวกเต่าแตง
การป้องกันและกำจัด
- ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ยับยั้งโรคพืช ที่เกิดจากเชื้อรา ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน
- ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี
[FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]
* สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส
* ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด
แมลงศัตรูที่สำคัญ
เพลี้ยไฟ
เป็นแมลงชนิดหนึ่งที่มีตัวขนาดเล็กมาก ตัวอ่อนจะมีสีแสด ตัวแก่จะเป็นสีดำ มีขนาดเท่าปลายเข็ม จะดูดน้ำเลี้ยงที่ยอดอ่อนของแตงโม และใต้ใบอ่อนของแตงโม มีผลทำให้ใบแตงโมไม่ขยาย ยอดหดสั้นลง ปล้องถี่ ยอดชูตั้งขึ้นชาวบ้านเรียกโรคนี้ว่า โรคยอดตั้ง บางแห่งก็เรียก โรคไอ้โต้ง เพลี้ยไฟจะบินไปเป็นฝูง มีลักษระเล็กละเอียดคล้ายฝุ่น สภาพฤดูแล้ง ความชื้นในอากาศต่ำลมจะช่วยพัดพาเพลี้ยไฟให้เคลื่อนที่เข้าทำลายพืชผลในไร่ได้รวดเร็วขึ้น ในพืชผักที่ปลูกด้วยกัน เช่น ฟักทอง แตงโม แฟง ฟัก ในไร่ของเกษตรกรถูกเพลี้ยไฟทำลายเสียหายหนัก มีมะระพืชเดียวที่สามารถต้านทานเพลี้ยไฟได้ และเมื่อสวนใดสวนหนึ่งฉีดพ่นยา เพลี้ยไฟจะหนีเข้ามายังสวนข้างเคียงที่ไม่ได้ฉีดยาป้องกัน
การป้องกันและกำจัด
- ฉีดพ่น มาคา สารอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยแมลงศัตรูพืช ในอัตตราส่วน 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร ทุก 5-7 วัน
- ฉีดพ่น FK-1 เพื่อบำรุงพืช ให้มีความแข็งแรงอยู่เสมอ โตไว ผลผลิตดี
[FK-1 แกะกล่องมาจะมีสองถุง ถุงแรกเป็นธาตุหลัก ถุงที่สองเป็นสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ต้องใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร]
* สามารถผสม FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกับ ไอเอส
* ควรฉีดพ่นช่วยเช้าก่อนแดดออก หรือ ช่วงเย็น หลังแดดร่มลมตก ไม่ควรฉีดพ่นตอนแดดร้อนจัด
#
http://www.farmkaset..link..