<กลับหน้าค้นข้อมูล
แจ้งลิงค์ในเนื้อหาเสีย
ประเทศไทย เป็นประเทศกำลังพัฒนา ที่มีปัญหาเหมือนกับ ประเทศที่พัฒนาแล้ว สังคมผู้สูงวัย
ผมเองก็คิดอยู่นะ ว่าเราอายุมากขึ้นทุกวัน และปัจจุบันนี้ เทคโนโลยีการแพทย์ สาธารณะสุขก็ดีขึ้น ทำให้คนเราอายุยืนขึ้น และด้วยสภาพสังคม ที่มีการเกิดใหม่น้อย ทำให้ประชากรรุ่นใหม่ มีน้อยกว่ากลุ่มผู้สูงวัย และสัดส่วนผู้สูงวัยก็เพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ ปัญหาหลักๆที่สำคัญประการหนึ่ง ที่เราโต้แย้งไม่ได้เลยคือ คนไทยจำนวนไม่น้อย
แก่ก่อนรวย เป็นปัญหาของคนไทย
ไม่ใช่เรื่องตลก เพราะหากเราแก่แล้วไม่มีเงินเก็บ ไม่มีลูกหลาน หรือมีลูกหลานแต่ก็ไม่ได้มาดูแล คนแก่จะอยู่กันอย่างไร? แต่ในส่วนประเทศที่พัฒนาแล้ว ถึงจะเป็นสังคมผู้สูงวัยเช่นกัน แต่ทุกคนมีสวัสดีการรัฐที่ดี มีเงินเก็บ และใช้ชีวิตได้อย่างสบาย
แก่ก็สบาย ภาครัฐออกแบบให้ ดูแลอย่างดี
ปัญหาไม่ใช่คนไทยไม่เก่งไม่วางแผน คนในประเทศ จะมีชีวิตที่ดีมากน้อยเพียงใดนั้น ภาครัฐ มีส่วนต่อชีวิตทุกคน ไม่น้อยไปกว่าตัวแต่ละบุคคลเอง คนต่างชาติในประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่เขาแก่ แต่อยู่ได้อย่างสบาย เป็นเพราะภาครัฐของเขาออกแบบมาให้เป็นอย่างดี คนแก่ต่างชาติเหล่านั้น ไม่ได้เก่งกว่า ดีกว่า คนแก่คนไทยแต่อย่างใด แต่เขาโชคดี ที่อยู่ในประเทศที่ภาครัฐ ดูแล เอาใจใส่ประชาชนในประเทศเขา ประชาชนต้องการผู้นำที่ดี ที่เสียสละเพื่อส่วนรวม จึงเลือกคนดีเข้าไปบริหารชาติบ้านเมือง ปี 2035 ประเทศเราก็จะเข้าสู่สภาะสังคมผู้สูงวัยอย่างเต็มที่
ใครเล่า จะเข้ามาแก้ปัญหา แก่ก่อนรวยได้
ชีวิตความเป็นอยู่ของคนไทย คงต้องฝากไว้กับผู้นำแล้ว
ไม่ว่าจะเป็นรัฐบาลไหนก็ตาม
.
การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรของไทยที่เกิดขึน้ อย่างรวดเร็วในช่วง 3 - 4 ทศวรรษที่ผ่านมา
.
ทาให้ประเทศเข้าสู่การเป็นสังคมผู้สูงวัย ตัง้ แต่ประมาณปี 2543 - 2544 คือ มีประชากรอายุ 60 ปี คิดเป็นสัดส่วนมากกว่าร้อยละ10 ของประชากรทัง้ หมด นอกจากสัดส่วนผู้สูงอายุที่เพิ่มขึน้ แล้ว ยังมีอีกตัวบ่งชีหนึ่งที่แสดงถึงการก้าวเข้าสู่สังคม
ผู้สูงวัยแล้ว นนั่ คือ “ดัชนีการสูงวัย” (Aging index) ซึ่งแสดงถึงการเปรียบเทียบโครงสร้างการทดแทนกันของประชากรกลุ่มผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปี ขึน้ ไป) กับกลุ่มประชากรวัยเด็ก (อายุต่ากว่า 15 ปี ) โดยดัชนีการสูงวัยมีค่าต่ากว่า 100 แสดงว่าจานวนประชากรสูงอายุมีน้อยกว่าจานวนเด็ก แต่ในทางตรงข้าม ถ้าดัชนีมีค่าเกินกว่า 100 แสดงว่าจานวนประชากรสูงอายุมีมากกว่าจานวนประชากรเด็ก ปัจจุบันประชากรโลกมีอายุสูงขึน้ จึงมีการใช้ดัชนีการสูงวัยจาแนกสังคม
.
(ปราโมทย์ ปราสาทกุล,2556) ดังนี ้
.
สังคมเยาว์วัย (young society) หมายถึงค่าดัชนีต่ากว่า 50
สังคมสูงวัย (aged society) หมายถึงค่าดัชนีระหว่าง 50 - 119.9
สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์ (completed aged society) หมายถึงค่าดัชนีระหว่าง 120 - 199.9
สังคมสูงวัยระดับสุดยอด (super aged society) หมายถึงค่าดัชนีตัง้ แต่ 200 ขึน้ ไป
.
ประชากรโลกได้เปลี่ยนผ่านสู่ประชากรสูงวัย กลุ่มประเทศพัฒนาแล้ว เช่น ประเทศสมาชิกในยุโรป
.
อเมริกาเหนือ ได้เข้าสู่สังคมสูงวัยอย่างสมบูรณ์แล้ว (Population Reference Bureau, 2012) ในขณะที่บางประเทศ
ในเอเซีย เช่น ญี่ปุ่น ได้เข้าสู่สังคมสูงวัยระดับสุดยอดแล้วเช่นกัน ประเทศไทยจัดอยู่ในกลุ่มสังคมสูงวัยของกลุ่ม
.
ประเทศอาเซียนเป็นอันดับที่ 2 รองจากประเทศสิงคโปร์