ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร | อ่านแล้ว 6685 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

โดรนเพื่อการเกษตร เทรนด์ทางเลือกใหม่ ยุค 4.0

โดรนเพื่อการเกษตร เทรนด์ทางเลือกใหม่ ยุค 4.0



data-ad-format="autorelaxed">

ในปัจจุบันที่กระแสโลกได้เปลี่ยนเข้าสู่ยุคใหม่แบบ Knowledge - Based และเข้าสู่ยุค Digital Economy ที่มีการคิดค้น วิจัยและพัฒนา โดยใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมในภาคธุรกิจต่างๆ ซึ่ง อากาศยานไร้คนขับ (Unmanned Aerial Vehicles : UAV) หรือ “โดรน” (Drone) นับเป็นเทคโนโลยีที่เข้ามามีบทบาทต่อรูปแบบการทำธุรกิจมากขึ้น ซึ่งหลายฝ่ายกำลังจับตาอยู่ในขณะนี้ เพราะโดรนสามารถทำหน้าที่ในการบังคับเครื่องบินแทนมนุษย์ได้ จึงถูกนำมาใช้ในงานต่างๆ มากขึ้น ไม่จำกัดเฉพาะทางการทหารดังเช่นในอดีต (ศตวรรษที่ 20) 

 

แต่ล่าสุด โดรนถูกนำมาใช้ในภาคการเกษตร เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ลดต้นทุนการผลิต ประหยัดเวลาและแรงงานคน โดยสารมารถพ่นยา/ปุ๋ย เป็นต้น นอกจากนี้ ยังสามารถควบคุมคุณภาพการผลิตได้อย่างแม่นยำอีกด้วย จึงนับได้ว่าโดรนเพื่อการเกษตร เป็นทางเลือกที่น่าสนใจของการทำเกษตรสมัยใหม่ที่เกษตรกร/ผู้ประกอบการ ควรนำมาปรับใช้ เพื่อพัฒนาไปสู่การเป็นเกษตรกรมืออาชีพ (Smart Farmer)

 

 

"จากสนามรบสู่ไร่นา" : (ซ้าย) "RQ-4 Global Hawk" โดรนลาดตระเวนของกองทัพอากาศสหรัฐอเมริกา (USAF) ผลิตโดย Northrop Grumman บริษัทสัญชาติอเมริกัน , (ขวา) "DJI MG-1S" โดรนพ่นยากำจัดศัตรูพืช ผลิตโดย DJI บริษัทสัญชาติจีน

 

"โดรนเพื่อการเกษตร" อุปกรณ์ที่กำลังมาแรงในยุคเกษตร 4.0 : โดรน คือเครื่องบินอัตโนมัติที่มีให้เห็นแล้วบนท้องฟ้าในเวลานี้ โดยโดรนสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้หลายวัตถุประสงค์ เช่น การสำรวจท่อส่งก๊าซ การเก็บข้อมูลสภาพอากาศ สภาพการจราจร การลำเลียงขนส่ง การบันทึกภาพเหตุการณ์จากมุมสูง การสำรวจพื้นที่การเกษตรและชลประทาน เป็นต้น โดยคาดว่าในปี 2563 มูลค่าตลาดโดรนเชิงพาณิชย์ของโลกอาจจะอยู่ที่ราว 127,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ หรือ 4.4 ล้านล้านบาท 

 

โดยโดรนเพื่อการเกษตรคาดว่าจะมีมูลค่าตลาดโดรนสูงเป็นอันดับ 2 ที่ราว 32,400 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เนื่องจากในประเทศที่การเกษตรมีความก้าวหน้าสูง โดรนจะมีราคาถูก เพื่อนำไปใช้ในการสำรวจพื้นที่ทางการเกษตรขนาดใหญ่ รวมถึงวิเคราะห์ดิน การปลูกเมล็ดพันธุ์ และคาดการณ์เวลาในการเก็บเกี่ยวได้อย่างแม่นยำ ด้วยความสามารถในการสร้างแผนที่ในรูปแบบสามมิติ (3D Mapping) ทำให้ผู้ประกอบการสามารถวิเคราะห์และวางแผนในการเพาะปลูกได้ง่ายขึ้น อันแสดงถึงแนวโน้มที่ดีของความต้องการใช้โดรนเพื่อการเกษตรในอนาคต 

 

 

สำหรับประเทศไทยในปัจจุบัน โดรนเพื่อการเกษตรเข้ามามีบทบาทมากขึ้นในลักษณะของการทำการเกษตรแบบแม่นยำ เช่น “การรดน้ำ การให้ฮอร์โมน การให้ปุ๋ยทางใบ” เพื่อลดข้อจำกัดของต้นพืชที่สูง ทำให้เกษตรกรไม่สามารถรดได้อย่างทั่วถึง รวมถึงช่วงเวลาของการให้ปุ๋ยทางใบ ควรจะให้ปุ๋ยในช่วงเวลา 6.00 - 7.00 น. ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ดีที่พืชกำลังเปิดปากใบ ทำให้พืชสามารถดูดซึมอาหารผ่านปากใบได้ทันทีโดยไม่ต้องผ่านราก ซึ่งอาจต้องทำในเวลาอันรวดเร็ว การใช้โดรนจึงประหยัดเวลามากกว่าการใช้แรงงานคน นอกจากนี้ หากเป็นต้นพืชไม่สูงนักเช่นข้าว ก็จะเป็นข้อดีที่เกษตรกรไม่ต้องเหยียบย่ำต้นข้าวจนเกิดความเสียหาย 

 

"การถ่ายภาพวิเคราะห์/ตรวจโรคพืช" ทำให้เกษตรกรสามารถดูแลรักษาโรคพืชได้อย่างตรงจุด ด้วยการใช้โดรนเอาสารน้ำ/ยา มาฉีดพ่นเพื่อรักษาโรคพืชเข้าตรงจุดและแม่นยำมากขึ้น โดยโดรน 1 ลำ สามารถฉีดพ่นพืชในตระกูลพืชไร่อย่างข้าว มันสำปะหลัง และอ้อยได้จำนวน 100 - 200 ไร่ต่อวัน ซึ่งใช้แรงงานมาควบคุมโดรน 1 - 2 คน เท่านั้น ขณะที่เมื่อเทียบกับแรงงานคนอย่างเดียวอาจต้องใช้คน 10 - 20 คน นอกจากนี้ การใช้โดรนเพื่อการเกษตรยังช่วยลดการฟุ้งกระจายของสารเคมีที่เกษตรกรอาจได้รับทั้งการสัมผัสและสูดดมขณะฉีดพ่นอีกด้วย

 

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า หากไทยมีการนำเทคโนโลยีการเกษตรอย่างโดรนเพื่อการเกษตรเข้ามาประยุกต์ใช้ตามนโยบายนาแปลงใหญ่ของภาครัฐในปี 2560  จะทำให้เกษตรกรสามารถลดต้นทุนการผลิตได้รวมราว 1,100 ล้านบาท และคาดว่าจะสามารถลดต้นทุนการผลิตได้กว่า 6,000 ล้านบาทในอีก 4 ปีข้างหน้า โดยการประมาณการดังกล่าวอยู่ภายใต้สมมติฐานของพื้นที่เป้าหมายนาแปลงใหญ่ที่ 1,512 แปลงในปี 2560 และ 7,000 แปลงในปี 2564 ตลอดจนได้รวมผลของค่าเสื่อมราคาของโดรนเข้าไว้ด้วยแล้ว 

 

และยังคาดว่า ในอนาคตจะมีการใช้โดรนเพื่อเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือทางการเกษตรมากขึ้นอย่างแน่นอน โดยการลดต้นทุนการผลิตดังกล่าว ตั้งอยู่บนสมมติฐานว่าเกษตรกรสามารถเข้าสู่โครงการนาแปลงใหญ่ได้ และพื้นที่ที่ทำการใช้โดรนมีความพร้อมแล้ว อย่างไรก็ดี ประเด็นด้านพื้นที่นาแปลงใหญ่อาจมีข้อจำกัดอยู่บ้างในทางปฏิบัติ เนื่องจากต้องเป็นขนาดพื้นที่ที่เหมาะสม ซึ่งต้องเป็นที่ดินของตนเองหรือเช่ามีเอกสารสิทธิ์ถูกต้อง หรือพื้นที่ที่ได้รับอนุญาตให้ใช้ประโยชน์จากหน่วยงานที่มีสิทธิ์รับรอง แต่เกษตรกรส่วนใหญ่เป็นรายย่อยที่เช่าพื้นที่ทำกินซึ่งอาจไม่มีเอกสารสิทธิ์ ซึ่งเป็นอุปสรรคสำคัญที่ไม่สามารถเข้าร่วมโครงการนาแปลงใหญ่ได้ทั้งหมด

 

แม้ปัจจุบันการใช้โดรนเพื่อการเกษตรในประเทศไทยจะยังไม่เป็นที่แพร่หลายนัก แต่คาดว่าในอนาคต ราคาโดรนเพื่อการเกษตรจะถูกลง เนื่องจากบริษัทผู้ผลิตโดรนมีการแข่งขันกันหลายบริษัท  ผนวกกับความนิยมใช้โดรนของเกษตรกร/ผู้ประกอบการที่มีมากขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อใช้เป็นเครื่องทุ่นแรง รวมทั้งเทรนด์ของสินค้าจำพวกเทคโนโลยีที่มักจะมีราคาลดลงอย่างรวดเร็วตามเทคโนโลยีที่พัฒนาขึ้น โดยศูนย์วิจัยกสิกรไทย ประเมินว่า “ในอีก 5 ปีข้างหน้า (ปี 2565) ราคาโดรนเพื่อการเกษตรอาจลดลงราวร้อยละ 20-25 ต่อปี” อยู่ที่ 67,000 - 106,000 บาท จากราคาเปิดตัวในปี 2558 ที่ราว 300,000 - 500,000 บาท

 

ทั้งนี้ ภาครัฐมีการสนับสนุนเทคโนโลยีทางการเกษตรอย่างโดรน สำหรับผู้เข้าร่วมโครงการเกษตรแปลงใหญ่ อย่างไรก็ดี เกษตรกรส่วนใหญ่ยังคงมีการทำเกษตรแปลงเล็ก ทำให้ไม่สามารถได้รับการสนับสนุน อีกทั้งการลงทุนเทคโนโลยีดังกล่าวสำหรับเกษตรแปลงเล็กก็จะไม่คุ้มค่ากับการลงทุน ดังนั้น หากพื้นที่ของเกษตรกรมีความเหมาะสมและมีคุณลักษณะตามโครงการเกษตรแปลงใหญ่ของภาครัฐ เกษตรกรอาจพิจารณาการรวมกลุ่มกันทำเกษตรแปลงใหญ่ตามแนวทางของภาครัฐที่วางไว้  นอกจากนี้ ภาครัฐควรสร้างความเข้าใจทางด้านเทคโนโลยีและการมีส่วนร่วมของเกษตรกรมากขึ้น เพื่อให้เกษตรกรยอมรับความเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่เข้ามา รวมถึงภาครัฐควรพิจารณาความคุ้มค่าในการลงทุนเพื่อนำเทคโนโลยีเข้ามาใช้ด้วย

 

 

อนึ่ง กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เล็งเห็นถึงปัญหาในการเข้าถึงเทคโนโลยีของเกษตรกร จึงได้กำหนดเป้าหมายในการเข้าถึงเทคโนโลยีการเกษตรในยุทธศาสตร์เกษตรและสหกรณ์ระยะ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ในด้านการเพิ่มความสามารถในการแข่งขันภาคเกษตรด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม ซึ่งรวมถึงแนวทางในการดำเนินการและตัวชี้วัดต่างๆ ที่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์ชาติ 20 ปี (พ.ศ.2560-2579) ในด้านการสร้างความสามารถในการแข่งขันอีกด้วย อย่างไรก็ดี ในระยะแรก การนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ 

 

เกษตรกรอาจจะต้องเตรียมความพร้อม และลงทุนเบื้องต้น เช่น การประเมินสภาพดิน/น้ำ ปรับพื้นที่แปลง เป็นต้น รวมทั้งจะต้องมีผู้เชี่ยวชาญมาแนะนำแก่เกษตรกร ซึ่งอาจเป็นความร่วมมือจากภาครัฐและเอกชน อันจะทำให้เกษตรกรสามารถเข้าถึงเทคโนโลยีที่ภาครัฐสนับสนุนไว้ได้ง่ายยิ่งขึ้น!!!

 

ศูนย์วิจัยกสิกรไทย

 

source: naewna.com/local/296347


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 6685 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร]:
เดินหน้าพัฒนา Smart Farmer ติวเข้มจนท.ส่งเสริมเกษตรสู่บทบาท ผู้จัดการเรียนรู้
ส่งเสริมและพัฒนาให้เกษตรกรไทย ให้เป็นผู้ประกอบการเกษตรที่มีการใช้เทคโนโลยี และการบริหารจัดการเพื่อการดำเนินธุรกิจ
อ่านแล้ว: 6350
หนุนอุตฯเกษตรภาคเหนือ พัฒนาสู่ยุค ไทยแลนด์4.0
รากฐานที่สำคัญในการจะพัฒนาภาคการเกษตรให้อยู่รอดได้ ต้องอยู่บนปัจจัยที่สำคัญ 3 ด้าน
อ่านแล้ว: 5493
หัวเว่ยชูนวัตกรรมในภาคการเกษตร พลิกวิถีเกษตรยุค 4.0
หนึ่งสิ่งที่หัวเว่ยให้ความสำคัญคือ เรื่องของภาคการเกษตร ซึ่งจากข้อมูลพบว่า ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก
อ่านแล้ว: 6009
STC สร้างหุ่นยนต์เก็บข้อมูลการเกษตร ช่วยเหลือเกษตรไทย

อ่านแล้ว: 6391
4 นวัตกรรมการเกษตรที่เหล่า AgriTech ควรจับตามอง

อ่านแล้ว: 6268
โดรนเพื่อการเกษตร เทรนด์ทางเลือกใหม่ ยุค 4.0

อ่านแล้ว: 6685
ไถนาผ่านจอมือถือ ต่อยอดจาก รถไถบังคับวิทยุ เตรียมยื่นจดสิทธิบัตร !?

อ่านแล้ว: 5465
หมวด ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร ทั้งหมด >>