เกษตรกรยุค 4.0 ไม่ใช่แค่ฝัน รดน้ำวัดความชื้นผ่านมือถือ
สมาร์ทฟาร์มคิท นวัตกรรมที่เกษตรกรเข้าถึงได้ ช่วยรดน้ำ-วัดความชื้น-ใส่ปุ๋ยพืช ด้วยต้นทุนต่ำสุดเพียง 1,000 บาท
data-ad-format="autorelaxed">
สังเกตกันบ้างไหมครับ...พักหลังนี้หลายต่อหลายคนที่ทำงาน “มนุษย์เงินเดือน” มาหลาย 10 ปี กล้าที่จะตัดสินใจลาออก ละทิ้งเงินเดือนกว่าแสนบาทก็มีให้เห็นตามข่าว เพราะอยากหลีกหนีความวุ่นวายในเมืองหลวง หันไปหยิบจอบ จับเสียบ ลงมือลงแรงทำการเกษตรบนที่ดินของตัวเอง ใช้ชีวิตอยู่ที่ต่างจังหวัดอย่างมีความสุข
“ไม่ต้องเจอรถติด มาทำงานสาย หรือรับกดดันจากการทำงาน” พวกเขาจึงหันหลังให้กับเมืองหลวง แม้ว่าจะไม่ได้รวยจากการทำเกตรกรรมก็ตาม แต่ก็พออยู่พอกินแบบไม่ต้องดิ้นรนในยุคที่อะไรๆ ก็ดูจะล้ำสมัยไปเสียทุกอย่าง ไม่เว้นแม้แต่ “นวัตรกรรม”ที่จะมาช่วยให้เกษตรกรไทยยุค 4.0 ทุ่นแรง ทุ่นเวลา แถมประหยัดค่าใช้จ่ายลงอีกด้วย
รศ.ปกรณ์ เสริมสุข คณบดีคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. ให้ข้อมูลว่า “สมาร์ทฟาร์มคิท”เป็นชุดอุปกรณ์ควบคุมการรดน้ำอัจฉริยะต้นทุนต่ำ รับภัยแล้ง ช่วยควบคุมปริมาณให้น้ำตามเวลาที่กำหนด จึงลดการใช้น้ำในการเกษตรได้ไม่ต่ำกว่า 3 เท่า โดยชาวบ้านสามารถหาซื้ออุปกรณ์ต่างๆ นำมาประกอบเองได้ในงบประมาณเริ่มต้น 1,000 บาท ซึ่งใช้ได้กับพื้นที่แปลงเกษตรขนาด 1 ตารางกิโลเมตร หรือ 625 ไร่
โดยส่วนประกอบ 3 ส่วน 1.ระบบควบคุมการเปิด-ปิดน้ำ สั่งเปิด-ปิดระบบรดน้ำในแปลงเกษตร พร้อมตั้งเวลาเปิด-ปิดได้ตามต้องการ 2.ระบบเซ็นเซอร์ติดตามสภาพอากาศ การตรวจวัดอุณหภูมิและความชื้นในดินให้อยู่ในระดับที่เหมาะสม 3.ระบบสั่งการผ่านสมาร์ทโฟน ติดตามผล พร้อมสั่งรดน้ำ ให้ปุ๋ยพืชตามต้องการ
“เมื่อเข้าสู่หน้าแล้ง การสูบน้ำจากแหล่งน้ำธรรมชาติบางพื้นที่ ค่อนข้างที่จะทำได้ยาก ดังนั้นเกษตรกรไทยยุคใหม่ จึงจำเป็นต้องปรับตัวให้ทัน ผ่านการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้”
ขณะที่ รศ.ดร. สุเพชร จิรขจรกุล สาขาวิชาเทคโนโลยีเพื่อการพัฒนายั่งยืน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มธ. อธิบายการทำงานของชุดอุปกรณ์สมาร์ทฟาร์มคิท ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
“ระบบควบคุมการเปิด-ปิดน้ำ” โดยภายในจะมีบอร์ดไมโครคอนโทลเลอร์ ที่ช่วยควบคุมอุปกรณ์เปิด-ปิดไฟฟ้า (Relay) ทำหน้าที่เปิดปิดวงจรไฟฟ้าในชนิดเดียวกับสวิตซ์ไฟฟ้า โดยสามารถสั่งเปิด-ปิดปั๊มน้ำ สำหรับรดน้ำผักในแปลงเกษตรได้ อีกทั้งยังสามารถตั้งเวลาเปิด-ปิดน้ำได้ตามความต้องการของชนิดพืช
ยกตัวอย่างเช่น สั่งเปิดระบบไฟฟ้าของปั๊มน้ำทุกๆ 8.00 น. โดยรดน้ำเป็นเวลา 5 นาที เป็นต้น ทำให้ช่วยลดความกังวลที่เกษตรกรต้องเดินทางไปต่างจังหวัดหลายวัน ไม่มีเวลาดูแลรดน้ำ ก็ให้ใช้อุปกรณ์รดน้ำอัตโนมัติช่วยควบคุมการรดน้ำได้
“ระบบเซ็นเซอร์ติดตามสภาพอากาศ” เป็นการตรวจวัดสภาพแวดล้อมแปลงเกษตร 1.อุณหภูมิ กรณีที่สภาพแวดล้อมของแปลงมีอุณหภูมิเกินที่กำหนด เช่น สูงเกิน 35 องศา ระบบจะสั่งเปิดปั๊มน้ำเป็นระบบน้ำหยด หรือ สปริงเกลอร์ จนกว่าอุณหภูมิจะลดระดับ 2.ความชื้นในดิน กรณีที่ตรวจพบความชื้นในอากาศต่ำกว่าที่กำหนด เช่น ความชื้นในดินที่ต่ำกว่า 50% ระบบก็จะสั่งรดน้ำโดยอัตโนมัติ
“ระบบสั่งการและแจ้งเตือนผ่านสมาร์ทโฟน” เป็นการส่งข้อความแจ้งเตือน พร้อมแสดงผลสภาพอากาศบริเวณพื้นที่แปลงเกษตร ผ่านระบบ Line Notify บนสมาร์ทโฟนของเกษตรกร เช่น อุณหภูมิที่ร้อน ความชื้นในดินที่แล้ง และปริมาณน้ำที่ลดน้อยลง ฯลฯ เพื่ออำนวยความสะดวกและประหยัดเวลา
นี่แหละ...การที่ “เกษตรกรไทย”จะก้าวสู่เกษตรกร“ยุค 4.0”จึงไม่ใช่แค่ความฝัน เพราะทุกวันนี้เราทุกคนใกล้ชิดกับเทคโนโลยีและนวัตกรรมสมัยใหม่เป็นอย่างมาก แต่เกษตรกรบางกลุ่มยังมีข้อจำกัดในการนำเทคโนโลยีเข้ามาประยุกต์ใช้ให้สอดคล้องกับวิถีการทำการเกษตร ซึ่งถ้าเกษตรกรกระตือรือร้นเรียนรู้เทคโนโลยีใหม่ๆ ก็จะสามารถนำมาประยุกต์ใช้กับพื้นที่เกษตรของตนเองได้อย่างหลากหลาย.
source: dailynews.co.th/article/580032
อ่านเรื่องนี้แล้ว : 5612 คน
£
ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:
เลือกหมวด :
แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด,
สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,