ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไร่กาแฟ | อ่านแล้ว 35208 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

การปลูกกาแฟอาราบิก้า

การปลูกและการดูแลรักษา ระยะการปลูก ระหว่างต้น-แถว 2 คูณ 2 เมตรหรือ 400 ต้น/ไร ขนาดหลุมปลูก50 คูณ 50 ซม. รองก้นหลุมด้วย..

data-ad-format="autorelaxed">

การปลูกกาแฟอาราบิก้า article

การปลูกกาแฟ อาราบิก้า กาแฟ อาราบิก้า เป็นพืชสวนอุตสาหกรรมที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจโลก ซึ่งมีประเทศมากกว่า50ประเทศปลูก กาแฟ อาราบิก้า เป็นสินค้าส่งออกหรือประมาณ70-75เปอร์เซนต์ของผลผลิต กาแฟ โลก เนื่องจากเป็น กาแฟ ที่มีรสชาติดี (Flavour)และมีกลิ่นหอมชวนดื่ม(Aroma)เจริญเติบโตได้ดีในสภาพพื้นที่บนที่เขาสูงและมีอากาศหนาวเย็นทางภาคเหนือ

พันธุ์ สายพันธ์คาติมอร์ CFIC 7963 เป็นพันธ์ลูกผสมระหว่าง Hobrido de Timor832/1 กับสายพันธ์แคทูร่า(Caturra)มีลักษณะเป็นต้นเตี้ยข้อสั้น(Compact Tree size)ยอดสีเขียวใบมีขนาดปานกลาง เส้นแขนงของใบ 9-11คู่ผลสุกสีแดงให้ผลผลิตน้ำหนักแห้งเฉลี่ยอยู่ระหว่าง 500-900 กรัม/ต้น เมื่ออายุ6-8 ปีให้สาร กาแฟ เกรด A เฉลี่ย 70-75% /กิโลกรัม คุณภาพการชิม (Cup test)อยู่ในระดับดีปานกลาง

การปลูกและการดูแลรักษา ระยะการปลูก ระหว่างต้น-แถว 2 คูณ 2 เมตรหรือ 400 ต้น/ไร ขนาดหลุมปลูก50 คูณ 50 ซม. รองก้นหลุมด้วยหินฟอสเฟตหลุมละ100-200กรัม และปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยอินทรีย์ ควรปลูกต้น กาแฟ ช่วงเดือนพฤษภาคม-กรกฎาคม ซึ่งเป็นช่วงต้นฤดูฝน

การใส่ปุ๋ย อายุตั้งแต่1-2ปีใส่ปุ๋ยเกรด 15-15-15 อัตรา 100 และ 150 กรัม/ต้น/ปี ใส่ช่วงเดือนพฤษภาคม และสิงหาคม อายุ1-8 ปี ใส่ปุ๋ยเกรด 46-6-0 อัตรา 50,100,150,200,200,250และ250กรัม/ต้น/ปี(ต้น กาแฟ อายุ1-4)ใส่ช่วงเดือนพฤษภาคมและสิงหาคม ปุ๋ยเกรด 13-13-21 อัตรา100,150,250และ300 กรัม/ต้น/ไร่(ต้น กาแฟ อายุตั้งแต่ 3ปีขึ้นไป)ใส่ช่วงเดือนสิงหาคมและตุลาคม

การให้น้ำ ควรให้น้ำในช่วงฤดูแล้งอย่างน้อยสัปดาห์ละ1ครั้ง แต่ในกรณีพื้นที่ปลูกไม่มีแหล่งน้ำให้ใช้เศษวัชพืชหรือฟางข้าวคลุมบริเวณโคนต้นตั้งแต่หมดฤดูฝนโดยเฉพาะพื้นที่ การปลูกกาแฟ กลางแจ้ง

การตัดแต่งกิ่ง ควรเลือกใช้ให้เหมาะสมกับพื้นที่ปลูกดังนี้

กาแฟ ที่ปลูกกลางแจ้ง
ควรใช้วิธีการตัดแต่งแบบให้มีลำต้นเดี่ยว เนื่องจาก กาแฟ ที่ปลูกกลางแจ้งจะติผลมาก หากตัดแต่งให้มีหลายลำต้น ต้นจะโทรมเร็ว และมีลักษณะเกิดอาการปลายกิ่งแห้งตาย(dic back)

กาแฟ ที่ปลูกภายใต้ร่มเงา
ควรจะมีการตัดแต่งให้ต้น กาแฟ มี 2-3 ลำต้นเนื่องจาก กาแฟ ที่ปลูกภายใต้ร่มเงาจะให้ผลผลิตน้อยกว่าแต่มีอายุการให้ผลผลิตสม่ำเสมอและยาวนานกว่า

การจัดการร่มเงา
พื้นที่บนที่สูงนอกจากจะมีสภาพอากาศหนาวเย็น และมีความเข้มของแสงแดด จึงจำเป็นต้องอาศัยร่มเงาจากไม้บังร่มบังชนิดต่างๆ
1.ไม้บังร่มชั่วคราวควรเป็นไม้โตเร็วและเป็นพืชตระกูลถั่ว เช่นทองหลางไร้หนาม แคฝรั่ง ขี้เหล็กอเมริกันควรใช้ระยะปลูก 4 คูณ 6 เมตร และปลูกหลายชนิดสลับกัน
2.ไม้บังร่มถาวร ควรเป็นไม้พุ่มใหญ่ทรงพุ่มกว้างและให้ร่มเงาในระดับสูง เช่น ซิลเวอร์โอ๊ค ถฤกษ์ ถ่อน กางหลวง ถั่วหูช้าง สตอ เหลียง เป็นต้น ระยะปลูก 8 คูณ 10เมตร และควรปลูกหลายชนิดสลับกันกับไม้บังร่มชั่วคราว

การปลูกกาแฟ แซมในสวนผลไม้
กาแฟ สามารถปลูกแซมในสวนผลไม้ได้แก่ มะคาดเมีย บ๊วย ท้อ ลิ้นจี่ พลับ พลัม แม้ไม้ผลบางชนิดจะเป็นไม้ผลัดใบแต่ก็เป็นช่วงระยะเวลาสั้นๆเพียง1-2เดือน

การป้องกันและกำจัดโรคแมลงศัตรูพืช
โรคราสนิม (Coffee leaf ruist)เกิดจากเชื้อรา Hemileia vastateix เป็นได้ทั้งใบอ่อนและใบแก่โดยจะเกิดสปอร์สีส้มใต้ใบส่วนบนใบจะมีสีเหลือง ซึ่งตรงจุดเดียวกับที่เกิดสปอร์ใต้ใบ เมื่อเกิดอาการรุนแรง จุดนี้จะขยายไปทั่วใบ ทำให้ใบร่วง การป้องกัน
1.ใช้พันธ์ต้านทาน สายพันธ์คาติมอร์ CIFC 7963
2.ใช้สารเคมี บอร์โดช์มิกเจอร์ (alkaline brodeaux mixture) 0.5% คูปราวิท(Cupravit)85 % W.P อัตรา 50 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

แมลงศัตรู กาแฟ
1.เพลี้ยไฟ(mealy bug)เพลี้ยนอ่อน(black aphisd)เพลี้ยหอย(green scale) เป็นแมลงปากดูดจะเข้าทำลายโดยดูดกินน้ำเลี้ยง ใบอ่อน ยอดอ่อนและผลอ่อน การป้องกันกำจัดใช้โมโนโครโทฟอส(monocrotophos)หรือใดเมทโทเอต อัตราร้อยละ 5 ขอ สารออกฤทธิ์ ฉีดพ่นประมาณ 2-3 ครั้ง ทุก 10 วันเมื่อพบการระบาด

2.หนอนกัดเปลือกและเจาะลำต้น(White stem borrer)เป็นหนอนที่เกิดจากด้วงปีกแข็งหนวดยาวจะวางไข่บนเปลือกของลำต้นที่มีรอยแตก จะกัดกินรอบบริเวณโคนต้นก่อนที่จะเจาะเข้าไปลำต้นกัดกินเนื้อไม้และถ่ายมูลออกมาตรงรูที่เจาะ การป้องกันกำจัด เมื่อพบที่ถูกทำลายให้ตัดและเผาทิ้ง หรือทาโคนต้น กาแฟ ด้วยซูมิไซออน 50 % อีซีอัตรา 200 มิลลิลิตร/น้ำ 20 ลิตร

การเกี่ยวและการแปรรูปการเก็บเกี่ยว
จะเก็บเกี่ยวเฉพาะผลสุกที่มีสีแดงและผลสีเหลือง เหลืองเข้ม โดยเก็บทีละข้อไม่ควรจะเก็บแบบรูดกิ่งทีเดียว

การแปรรูป เก็บผล กาแฟ ที่สุกแล้วจึงนำมาเข้าเครื่องลอกเปลือกนอกออก นำมาหมักในบ่อด้วยน้ำที่สะอาดประมาณ24-48ชั่วโมงขัดเมือกและล้างด้วยน้ำสะอาดแล้วนำมาตากบนลานซีเมนต์หรือบนแคร่ไม้ไผ่ที่ตาข่ายถี่วางอยู่ข้างบนประมาณ7-10 วันเมื่อเมล็ดแห้งจึงสีเอากะลาออก โดยใช้เครื่องสีกะลา จึงจะได้สาร กาแฟ ที่มีสีเขียวอมเทาหรือสีเขียวอมฟ้า

การคัดเกรด เมื่อได้สาร กาแฟ แล้วจึงนำมาคัดแบ่งเกรดสาร กาแฟ โดยใช้ตะแกรงเหล็กที่มีรูตะแกรง ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง12.5 มิลลิเมตร โดยแบ่งเป็นเกรด Aขนาดตั้งแต่ 5.5 มิลลิตรเมตรขึ้นไป เขียวอมฟ้าหรือเขียวอมเทา เมล็ดแตกหักหรือเมล็ดเล็กกว่า5.5มิลลิตรเมตร ไม่เกิน13% เมล็ดเสียหรือเมล็ดผิดปกติไม่เกิน 25% ความชื้นไม่เกิน13% เกรด X มีลักษณะคุณภาพที่เหมือนเกรดA ยกเว้นสีที่ต่างไปจากเกรด A คือสีน้ำตาลปนแดง เกรดY มีลักษณะเมล็ดแตกหักหรือเมล็ดกลมไม่เกิน0.5 %และมีความชื้นไม่เกิน 13%

การบรรจุ บรรจุในกระสอบป่าน(กระสอบปอ)แล้วเก็บไว้บนชั้นไม้ในโรงเก็บมีอากาศถ่ายเทสะดวก

ข้อควรคำนึงใน การปลูกกาแฟ
1.พื้นที่เหมาะสมตั้งแต่700 เมตร จากระดับน้ำทะเลขึ้นไป
2.สภาพดินมีการระบายน้ำดี หน้าดินลึก pH 5.0-5.5
3.ปริมาณน้ำฝน เฉลี่ยไม่ต่ำกว่า 1,500 ม.ม/ปี
4.กรณี การปลูกกาแฟ กลางแจ้ง ควรเลือกพื้นที่ที่สามารถรับแสงได้เพียงครึ่งวันหากเป็นไปได้ควรเป็นครึ่งวันเช้าจะดีที่สุด
5.ควรมีไม้บังร่มให้กับ กาแฟ โดยปลูกทั้งไม้บังร่มชั่วคราวและไม้บังร่มถาวร และควรปลูกสลับชนิดกัน เพื่อให้แสงสว่างเข้ามาได้
6.ควรมีการตัดแต่งกิ่งที่แนะนำ
7.ปลูกเป็นพืชแซมกับไม้ชนิดอื่นได้ โดยเฉพาะมะคาเดเมีย
8.การเก็บเกี่ยว ควรเก็บทีละข้อ และเก็บเฉพาะผลที่สุกเท่านั้น
9.การหมักควรหมักในน้ำที่สะอาดและต้องขัดเมือกออกให้หมด และล้างด้วยน้ำสะอาดก่อนที่จะนำมาตากบนลานตาก
10.สาร กาแฟ ที่ควรจะมีการคัดเกรด แยกบรรจุในกระสอบ พร้อมทั้งทำป้ายระบุเกรด น้ำหนัก วันที่เก็บให้ชัดเจน และเก็บรักษาในที่อากาศถ่ายเทได้สะดวก ไม่อับชื้น

กาแฟ มีพันธุ์ใหญ่ๆ ได้อยู่ 4 กลุ่ม
1) กาแฟ พันธุ์อราบิก้า (Arabica) เป็นกาแฟที่มีความสำคัญมากที่สุด ซึ่งมีผลผลิตประมาณ 80 เปอร์เซ็นต์ ของกาแฟที่ปลูกทั่วโลก
2) กาแฟ พันธุ์โรบัสต้า (Robusta) มีความสำคัญรองลงมาจากกาแฟอราบิก้า และ คุณภาพด้อยกว่าอราบิก้า
3) กาแฟ พันธุ์เอ็กเซลซ่า (Excelsa) ไม่มีความสำคัญและปริมาณในทางการค้า เพราะคุณภาพไม่ดี มีกลิ่นเหม็นเขียว
4) กาแฟ พันธุ์ลิเบอริก้า (Liberrica) เป็น กาแฟ พื้นเมืองของแองโกล่า คุณภาพสาร กาแฟ ไม่ดีพอ ไม่เป็นที่สนใจของตลาดและนักดื่ม

การปลูกกาแฟ


การปลูกกาแฟ

กาแฟ อราบิก้า แยกสายพันธุ์ต่างๆ (Arabica coffee varieties)
กาแฟ อราบิก้ามีโครโมโซม ที่สามารถผสมตัวเองได้ ทำให้มีการผสมภายในสายพันธุ์ (inbreeding) โดยไม่ทำให้เกิดผลเสีย แต่อาจจะมีการแตกผ่าเหล่าขึ้นได้ เกิดเป็นสายพันธุ์ต่างๆหลายสายพันธุ์ พอแยกพันธุ์สำคัญได้ อาทิ

- พันธุ์ทิปปิก้า (Typica)  มีลักษณะเด่นยอดเป็นสีทองแดง ติดลูกห่างระหว่างข้อ มีใบเล็กเรียบ เจริญเติมโตเร็ว แต่ไม่ทนต่อโรคฯลฯ เป็นพันธุ์ดั่งเดิมต้นกำเนิดของ กาแฟ อราบิก้า เริ่มปลูกในเยเมน แล้วแพร่หลายไปสู่ประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย อเมริกาใต้ ฟิลิปปินส์และฮาวาย
- พันธุ์บลูเมาเทน (Bule Mountion)
กลายพันธุ์มาจากพันธุ์ทิปปิก้า นำไปปลูกที่บลูเมาเทนในจาไมก้า มีความเหมาะสมกับสภาพแวดล้อมบนภูเขาที่สูง เป็น กาแฟ ที่มีคุณภาพและรสชาติดีมาก เป็นที่ยอมรับของตลาดผู้บริโภค ถือว่าเป็น กาแฟ มีชื่อเสียงอันดับหนึ่งของโลก จึงมีราคาแพงที่สุดเช่นกัน

- พันธุ์มอกก้า (Mocha หรือ Mokka)
เป็น กาแฟ ส่งออกผ่านท่าเรือ โมช่า(Mocha) ใช้ชื่อการค้าว่า ม๊อกกา (Mokka) ใประเทศอินโดนีเซีย มีความแตกต่างอย่างมากจากพันธุ์ที่ปลูกในแหล่งเดิม มีเอกลักษณ์กลิ่นหอมผลไม้คล้ายโกโก้ อย่างไรก็ตามพันธุ์นี้มีผลทางเศรษฐกิจน้อยมาก เพราะมีปริมาณผลผลิตจำกัดที่ออกสู่ตลาด

- พันธุ์โคน่า (Kona)
เป็น ที่รู้จักดีสำหรับคอ กาแฟ ในคุณภาพและรสชาติที่ติดอันดับต้นๆของ กาแฟ ทั่วโลก ตามรูปแบบขอ กาแฟ พันธุ์ทิปปิก้า ได้นำมาจากเมืองริโอเดอจาเนโร ประเทศบราซิล มาปลูกในเมืองโคน่า ประเทศฮาวาย ภายใต้ชื่อการค้า "ฮาวายโคน่า"มีราคาที่แพงที่สุดในตลาดโลกเช่นเดียวกับ

บลูเมาเทน
กาแฟ อราบิก้ายังแยกพันธุ์ผสมอื่นๆอีกเป็นจำนวนมากมาย คือ พันธุ์คาทูร่า (Catura)  พันธุ์คาทุย (Catuai) พันธุ์เบอร์บอน (Bourbon) พันธุ์เค้นส์ (Kent) ฯลฯ ซึ่งส่วนใหญ่จะพิจารณาเห็นว่าเป็นชื่อจากแหล่งการเพาะปลูก หรือเมืองที่ปลูก อันมีรายละเอียดและความดีเด่น ในทุกมุมอย่างกว้างขวาง ตามข้อมูลการศึกษา-วิจัย

กาแฟ อราบิก้าไทย

- พันธุ์อราบิก้าชื่อ "คาติมอร์" (CatiMor)
เป็นการ เรียกชื่อพันธุ์มาจากคำว่า คาทูร่า (Catturra) และ ไฮบริโด เดอ ติมอร์ (Hibrido de Timor) เป็นชื่อเรียกตามการผสมข้ามสายพันธุ์ ระหว่างคาทูร่าผลแดง เป็นต้นแม่พันธุ์ และ ไฮบริโด เดอ ติมอร์เป็นต้นพ่อพันธุ์ ผลการผสมระหว่างลูกผสมข้ามชนิด ทำให้ลูกผสมที่ได้มีความต้านทานต่อโรคราสนิม  และ ได้ลักษณะทรงเตี้ย ผลผลิตสูง และใช้หมายเลข CIFC  19/1 และ  832/1 ซึ่งกำหนดโดยนักปรับปรุงพันธุ์พืชที่ Centro de Investicao -das Ferrugens de Cafeeiro (CIFC) ในประเทศโปรตุเกส

สถานีวิจัย CIFC ได้เริ่มแผนการปรับปรุงพันธุ์ในตอนต้นปี พ.ศ.2503 เป็นลูกผสมรุ่นที่ 1 รวมทั้งการศึกษาทดลองผสมพันธุ์กับ กาแฟ อราบิก้าตัวอื่นๆ อีกจำนวนมากมายหลายรุ่น  หลายชั่วอายุสายพันธุ์ และได้นำมาคัดเลือกความต้านทานโรคราสนิม โรคอื่นๆในเมืองไทย รวมทั้งค้นหาศักยภาพในการให้ผลผลิต และ คุณภาพที่ดี ณ โครงการศูนย์วิจัยและพัฒนา กาแฟ บนที่สูง คณะเกษตรศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และ ศูนย์วิจัยเกษตรหลวงเชียงใหม่ ของกรมวิชาการเกษตร รวมทั้งหน่วยงานพัฒนาเกษตรที่สูงหลายหน่วยงาน จนเป็นที่ยอมรับว่า พันธุ์ กาแฟ คาติมอร์ มีคุณภาพดีเหมาะสมแด่การส่งเสริมไปสู่แปลงปลูกของเกษตรกรชาวไทยภูเขา มาจนถึงปัจจุบัน อย่างไรก็ตามการศึกษา-วิจัย และติดตามประเมินผล ต่อปัญหาที่เกิดขึ้นกับการเจริญเติมโต การดูแลรักษา ปรับปรุงบำรุงพันธุ์ก็ยังต้องมีต่อไป

สำหรับการคัดเลือกในการผลิต กาแฟ นั้น พันธุ์ควรเป็นต้นพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูงสม่ำเสมอติดต่อกันไม่น้อยกว่า 3 ปี มีจำนวนผล/ข้อมาก น้ำหนักเมล็ดเฉลี่ยไม่น้อยกว่า 15 กรัม/100 เมล็ด

อ้างอิง:
www.coffeethai.org


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 35208 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไร่กาแฟ]:
กาแฟตายยอด กาแฟใบไหม้ กาแฟรากเน่า โคนเน่า โรครากาแฟ แก้ไขอย่างไร?
อาการใบกาแฟเหลือง อาจเกิดจากขาดธาตุหลัก ขาดไนโตเจน หรือไนโตรเจนไม่เพียงพอ แต่หากเราได้ให้ปุ๋ยธาตุหลักอย่างเพียง..
อ่านแล้ว: 5569
กาแฟถ้ำสิงห์ชุมพร โกย60ล้าน ใช้โรงอบแสงอาทิตย์
กระทรวงพลังงาน และกลุ่มวิสาหกิจชุมชนกลุ่มกาแฟถ้ำสิงห์ ได้ร่วมกันประยุกต์ใช้พลังงานทดแทน เพื่อลดต้นทุนการผลิตและพัฒนา
อ่านแล้ว: 5432
ดาว คอฟฟี่ กาแฟลาว ลุยออนไลน์

อ่านแล้ว: 5641
ALLRIDE กับ3เป้าหมายอัพเกรดเมล็ดกาแฟไทยสู่ระดับพรีเมียม
เริ่มจากเมื่อ 3 ปีก่อน เปิดร้านกาแฟในปั๊มนํ้ามัน ปตท. ซึ่งเป็นกิจการของครอบครัว โดยชื่อแบรนด์กาแฟ ALLRIDE มากจาก..
อ่านแล้ว: 4930
กาแฟเทพเสด็จ หนึ่งในกาแฟรสชาติเยี่ยมของจังหวัดเชียงใหม่
กาแฟเทพเสด็จ ตำบลเทพเสด็จ อำเภอดอยสะเก็ด จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งเดิมเกษตรกรบ้านแม่ตอน มีการปลูกเมี่ยง หรือชา เป็นอาชีพหลัก
อ่านแล้ว: 6956
ไร่กาแฟ พืชความหวังของคนบนดอย!
ไร่กาแฟ - สืบเนื่องจากการที่โครงการหลวงพัฒนาชาวเขา ได้มีโครงการวิจัยกาแฟอาราบิก้า เพื่อทดแทนการปลูกฝิ่นของชาวไทยภูเขา..
อ่านแล้ว: 6709
กาแฟลาว และชาของลาว (ชายอดเดียว หอมมากและอร่อยมากจริงๆค่ะ)
กาแฟลาว ต่อไปจะขึ้นผงาดเป็นอันดับต้นๆของโลกแน่นอน เพราะนักลุงทุนหลายประเทศ มุ่งหน้าสู่ ลาว ที่มีจุดเด่นด้านสภาพภูมิอากาศ
อ่านแล้ว: 6350
หมวด ไร่กาแฟ ทั้งหมด >>