ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร | อ่านแล้ว 4708 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

พัฒนาเกษตรไทยสู่ยุคใหม่

พัฒนาเกษตรไทยสู่ยุคใหม่

สร้างความเข้มแข็ง ให้ภาคการเกษตร และเกษตรกรไทย ให้ปรับตัวและสามารถใช้ประโยชน์จากเศรษฐกิจแบบ knowledge-based ..

data-ad-format="autorelaxed">

ในโลกยุคใหม่แบบ knowledge-based และการเข้าสู่ digital economy เรามักจะนึกถึงการคิดค้น การวิจัยและพัฒนา การใช้เทคโนโลยีในภาคอุตสาหกรรม

 

หรือไม่ก็การนำเทคโนโลยีมาใช้ในภาคการบริการ อย่างเรื่อง financial technology ล่าสุด รัฐบาลได้มีการตั้งเป้าเพื่อเดินหน้าผลักดันการพัฒนาภาคอุตสาหกรรมเป้าหมาย ซึ่งจะเป็นกลไกขับเคลื่อนเศรษฐกิจเพื่ออนาคต (New Engine of Growth) และมีการมองแนวทางปรับปรุงนโยบายทางการเงิน อาทิ ด้านภาคบริการทางการเงิน ให้สอดรับและเตรียมรับการเข้าสู่เศรษฐกิจยุคใหม่

 

แต่ที่สำคัญ เราไม่ควรลืมการพัฒนาและสร้างความเข้มแข็งให้ภาคการเกษตรและเกษตรกรไทยให้ปรับตัวและสามารถใช้ประโยชน์จากเศรษฐกิจแบบ knowledge-based และ digital economy ให้ได้มากที่สุดเช่นกัน

เพราะภาคการเกษตร (ซึ่งรวมถึงปศุสัตว์ การประมง และเพาะปลูก) เป็นเสมือนกระดูกสันของชาติ ที่ต้องสร้างให้เข้มแข็ง และจะเป็นหลักในการผลักดันการฟื้นฟูและเจริญเติบโตของเศรษฐกิจไทยแบบยั่งยืนและไม่กระจุกตัว (เฉพาะที่ศูนย์กลาง) และภาคเกษตรเข้มแข็มจะสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจชนบทและลดความเหลื่อมล้ำในสังคม ซึ่งมองว่าเป็นปัญหาโครงการสังคมไทยในปัจจุบัน

 

การพัฒนาเกษตรยุคใหม่ให้ก้าวผ่านความท้าทายในยุคโลกาภิวัติและใช้ประโยชน์จากยุค digital economy ได้อย่างไร ขอวิเคราะห์มาให้อ่านกันในลักษณะเปรียบเทียบกับประสบการณ์ของยุโรป

 

ภาคการเกษตรต้องเชื่อมโยงการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมไปสู่รากหญ้าให้ได้

 

คิดว่า ประเทศไทยไม่ได้ขาดแคลนศักยภาพในการทำวิจัยหรือคิดค้นวิจัยเทคโนโลยีและนวัตกรรมใหม่ๆ ด้านการเกษตร แต่ปัญหาดูเหมือนจะเป็นการนำเทคโนโลยีที่คิดค้นแล้วเหล่านั้นมา commercialize หรือสร้างมูลค่าทางการค้า เพื่อให้กลายเป็นผลผลิตในเชิงพาณิชย์ ก็คือสินค้าเกษตรใหม่ที่ขายได้ดี ติดตลาด ส่งออก ทำเงินและสร้างงานให้เกษตรกรในระดับรากหญ้า นอกจากนั้น ยังมีเรื่องการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเกษตรเพื่อที่ช่วยให้เกษตรกรทำงานง่ายขึ้น และพัฒนาผลผลิตให้คุ้มทุนมากขึ้น การใช้เทคโนโลยีมาพัฒนาผลิตภัณฑ์ บรรจุภัณฑ์สำหรับสินค้าเกษตรและอาหารด้วย ทั้งนี้ การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมต้องใช้เงินลงทุนและการลงทุนสูง เพื่อหวังผลในระยะยาว ภาครัฐจึงต้องเข้ามามีบทบาทในการสนับสนุนเรื่องนี้

 

การพัฒนาการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารด้านการเกษตรผ่านเครื่องมือสารสนเทศน์ใหม่ๆ และตลาดดิจิตอล

 

น่ายินดีที่เห็นกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้พัฒนาการให้ข้อมูลข่าวสารในลักษณะนี้ไปมากแล้ว ที่น่าจะมีการพัฒนาต่อไป อาจเป็นการมีตลาดดิจิตอลหรือการซื้อขายออนไลน์ ที่สามารถเช็คราคาและซื้อขายพืชผลทางการเกษตรแบบออนไลน์ได้

 

แต่ก่อนจะไปถึงจุดนั้น ต้องเน้นย้ำสิ่งที่ไทยยังขาดเรื่องมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหาร คิดว่าประเทศไทยต้องเร่งปรับปรุงเรื่องมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารไม่ให้เป็นแบบ สองมาตรฐาน” เหมือนที่เป็นอยู่ กล่าวคือ สินค้าเกษตรและอาหารที่ขายในประเทศก็มาตรฐานหนึ่ง และที่ส่งออกกลับได้รับการควบคุมและมีมาตรฐานที่สูงกว่า หากยังเป็นเช่นนี้การพัฒนาภาคเกษตรก็จะขยับตัวไปแบบไม่เท่าเทียม

 

การพาภาคเกษตรไทยเข้าสู่ยุคดิจิตอล ต้องการเกษตรกรรุ่นใหม่ ดังนั้น ปัญหาทัศนคติเกี่ยวกับการเป็น “เกษตรกร” ก็สำคัญ ที่ศึกษาดูเห็นว่าภาคเกษตรมีปัญหาการขาดแคลนแรงงานในภาคเกษตรมานาน และคนรุ่นใหม่เลิกอาชีพทำการเกษตร เพราะทัศนคติของคนรุ่นใหม่มองว่าอาชีพเกษตรกรเป็นงานหนัก รายได้ไม่แน่นอน จึงไม่มีแรงดึงดูดให้ประกอบอาชีพเกษตรกร

 

------------------------------------

 

ภาคการเกษตรของไทยแม้มีสัดส่วนมูลค่าเพียงร้อยละ 8.4 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) (ที่เหลือเป็นภาคอุตสาหกรรมและภาคบริการ) และมีแนวโน้มลดลง แต่การทำเกษตรกรรมเป็นบ่อนำเลี้ยงชีวิตของเกษตรกรกว่า 16.7 ล้านคนหรือประมาณ 25.9 % ของประชากรทั้งประเทศ

 

แต่ผลสารวจสถานการณ์ชาวนาไทย ปี 2555 ของมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ยังพบว่า เกษตรกรทานากว่าร้อยละ 80.5 ไม่อยากให้ลูกหลานทำนาเช่นเดียวกับตน และผลสารวจข้อมูลของคณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ในปี 2555 พบว่า จำนวนนักเรียนที่เข้าศึกษาต่อในระดับอุดมศึกษาในสาขาที่เกี่ยวข้องกับด้านการเกษตรมีจานวนลดลงประมาณร้อยละ 5-8 ต่อปี และในการเลือกอันดับในการศึกษาต่อส่วนใหญ่เลือกคณะเกษตรอยู่ในอันดับ 3 หรืออันดับ 4 ชี้ให้เห็นว่าเด็กไทยไม่ได้สนใจที่จะเรียนด้านการเกษตร แม้ว่าจะสาเร็จการศึกษาด้านการเกษตร ส่วนใหญ่ยังคงเลือกทำงานเป็นลูกจ้างในภาคอุตสาหกรรมการเกษตรมากกว่าที่จะมาทาอาชีพการเกษตรโดยตรง

 

*ข้อมูลจาก บทความ แรงงานกับการเปลี่ยนแปลงของภาคการเกษตรไทย” โดยนายกรวิทย์ ตันศรีเศรษฐกรอาวุโส ส่วนเศรษฐกิจภาค ธนาคารแห่งประเทศไทย สานักงานภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

 

อยากให้มองภาคการเกษตรในยุโรปเป็นตัวอย่าง เกษตรกรในยุโรปเป็นอาชีพที่รวย มีที่ดิน มีรายได้สูง และใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยในระบบการผลิต ที่สำคัญ สินค้าเกษตรในยุโรปได้มาตรฐานไม่ว่าจะเป็นมาตรฐานด้านความปลอดภัยของอาหาร สิ่งแวดล้อม หรือแรงงาน และผู้บริโภคก็พร้อมจะซื้อในราคาที่สูงขึ้น ที่น่าสนใจคือในยุโรป เวลาเราซื้อสินค้าและผลิตผลทางการเกษตรจากตลาด ที่เป็น “สินค้าพื้นบ้าน” ที่ปลูกและผลิตเองในภูมิภาคหรือหมู่บ้านนั้นๆ มีราคาแพงกว่าการซื้อสินค้าเกษตรและอาหารในห้างสรรพสินค้า ซึ่งส่วนมากเป็นสินค้าเกษตรนำเข้าจากประเทศที่สาม เสียด้วยซ้ำ

 

ยุคดิจิตอลเป็นยุคที่เราต้องไม่ปล่อยให้เกษตรกร และการทำเกษตรกรรมกลายเป็นเรื่องล้าหลังหรือตกยุค แต่ภาคเกษตรต้องเร่งการปรับตัวและตอบรับเข้าสู่การเกษตรยุคใหม่ให้ได้ โดยเฉพาะในระดับรากหญ้า ในขณะที่ภาคธุรกิจใหญ่ๆ และภาคอุตสาหกรรมการเกษตรน่าจะปรับตัวได้ง่ายและรวดเร็วกว่า แต่ภาคการเกษตรชนบทคงยังต้องพึ่งภาครัฐในการพัฒนาให้ก้าวทัน และก้าวไปพร้อมๆ กัน ไม่เช่นนั้นช่องว่างในการพัฒนาและความเหลื่อมล้ำก็จะยิ่งมากขึ้น

 

ต้องถือว่าประเทศไทยโชคดีที่ “ในน้ำมีปลาในนามีข้าว” เพราะมีภาคการเกษตรเป็นฐานการผลิตอาหารและด้านพลังงานทดแทนให้กับประเทศ แต่อย่านิ่งนอนใจ ในโลกที่เปลี่ยนแปลงไป ภาคการเกษตรต้องได้รับการพัฒนาและปรับตัวอย่างรวดเร็วเพื่อเข้าสู่ยุคใหม่ได้อย่างยั่งยืนเช่นกัน

 

source: bangkokbiznews.com/blog/detail/639080


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 4708 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร]:
เดินหน้าพัฒนา Smart Farmer ติวเข้มจนท.ส่งเสริมเกษตรสู่บทบาท ผู้จัดการเรียนรู้
ส่งเสริมและพัฒนาให้เกษตรกรไทย ให้เป็นผู้ประกอบการเกษตรที่มีการใช้เทคโนโลยี และการบริหารจัดการเพื่อการดำเนินธุรกิจ
อ่านแล้ว: 6346
หนุนอุตฯเกษตรภาคเหนือ พัฒนาสู่ยุค ไทยแลนด์4.0
รากฐานที่สำคัญในการจะพัฒนาภาคการเกษตรให้อยู่รอดได้ ต้องอยู่บนปัจจัยที่สำคัญ 3 ด้าน
อ่านแล้ว: 5488
หัวเว่ยชูนวัตกรรมในภาคการเกษตร พลิกวิถีเกษตรยุค 4.0
หนึ่งสิ่งที่หัวเว่ยให้ความสำคัญคือ เรื่องของภาคการเกษตร ซึ่งจากข้อมูลพบว่า ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก
อ่านแล้ว: 5998
STC สร้างหุ่นยนต์เก็บข้อมูลการเกษตร ช่วยเหลือเกษตรไทย

อ่านแล้ว: 6387
4 นวัตกรรมการเกษตรที่เหล่า AgriTech ควรจับตามอง

อ่านแล้ว: 6264
โดรนเพื่อการเกษตร เทรนด์ทางเลือกใหม่ ยุค 4.0

อ่านแล้ว: 6678
ไถนาผ่านจอมือถือ ต่อยอดจาก รถไถบังคับวิทยุ เตรียมยื่นจดสิทธิบัตร !?

อ่านแล้ว: 5463
หมวด ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร ทั้งหมด >>