ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร | อ่านแล้ว 3694 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

เกษตรอัจฉริยะ : ทางเลือกเกษตรกรยุคไอที

เกษตรอัจฉริยะ : ทางเลือกเกษตรกรยุคไอที

ในสถานการณ์แรงงาน ในประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่แรงงานในภาคการเกษตรลดลง คนมีอายุมากขึ้น แต่ยังอยู่ในภาคเกษตร คนรุ่นใหม่..

data-ad-format="autorelaxed">

เกษตรอัจฉริยะ (Smart Farm หรือ Intelligent Farm) เป็นการทำเกษตรสมัยใหม่ในยุคโลกาภิวัตน์ ด้วยการใช้เทคโนโลยีหรือหุ่นยนต์ เครื่องจักร ฯลฯ ที่มีความแม่นยำสูงเข้ามาช่วยในการทำงาน โดยให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม ปลอดภัยต่อผู้บริโภค และใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่าที่สุด มีเป้าหมายเพื่อผลผลิตจำนวนมากที่ได้คุณภาพพร้อมเสิร์ฟเป็นอาหาร หรือใช้ในด้านอื่นๆ เช่น เป็นวัตถุดิบสำหรับผลิตน้ำมัน เป็นต้น

 

ในสถานการณ์แรงงานในประเทศที่พัฒนาแล้ว ที่แรงงานในภาคการเกษตรลดลง คนมีอายุมากขึ้น แต่ยังอยู่ในภาคเกษตร คนรุ่นใหม่สนใจการทำเกษตรน้อยลง แต่มนุษย์ยังจำเป็นในการบริโภคสินค้าเกษตรเพื่อการยังชีพและมีชีวิตต่อไป ทำให้ภาคเกษตรเริ่มมีการปรับตัวเองโดยการนำเอาเทคโนโลยีเข้ามาปรับปรุงการผลิตให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยผู้นำได้แก่ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เยอรมนี ออสเตรเลีย เป็นต้น

 

แนวคิดการทำเกษตรอัจฉริยะ คือ การเกษตรแม่นยำสูง (Precision Agriculture หรือ Precision Farming) โดยเป็นการทำเกษตรที่เข้ากับสภาพพื้นที่โดยเน้นพื้นที่ที่ไม่ใช่พื้นที่เกษตรขนาดใหญ่ เน้นประสิทธิภาพในการเพาะปลูก ตั้งแต่การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์จนถึงกระบวนการปลูกที่นำเอาเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการตรวจวัดทั้งเรื่องของสภาพดิน ความชื้นในดิน แร่ธาตุในดิน ความเป็นกรดด่าง (หรือที่เรียกกันว่า ดินเค็ม/ดินเปรี้ยว) สภาพปริมาณแสงธรรมชาติ รวมถึงเรื่องศัตรูพืชต่างๆ บางประเทศมีการควบคุมสิ่งแวดล้อมผ่านการปลูกในโรงเรือน เพื่อป้องกันศัตรูพืชและสามารถควบคุมปัจจัยต่างๆได้เข้มงวดและมีประสิทธิภาพมากขึ้น

 

เมื่อไม่นานมานี้บริษัทเครื่องใช้ไฟฟ้าญี่ปุ่นบางแห่งได้ลองตั้ง “โรงงานปลูกผัก” ในหลายประเทศ เช่น บริษัทฟูจิซึ ได้ตั้ง “โรงงานปลูกผัก” ในฟินแลนด์เนื่องจากประเทศฟินแลนด์ประสบปัญหาไม่สามารถปลูกพืชได้ เนื่องจากในฤดูหนาวมีแสงอาทิตย์น้อย โรงงานนี้จึงถูกสร้างขึ้นมาให้ปลูกพืชในระบบปิดหรือปลูกในที่ร่ม โดยใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมแสง อุณหภูมิ น้ำ ให้เป็นไปแบบอัตโนมัติ และคาดว่าจะให้ผลผลิต 240 ตัน/ปี หรือบริษัทชาร์ปที่มีโรงงานปลูกสตรอเบอร์รี่ในตะวันออกกลาง มีการฟอกอากาศด้วยเทคโนโลยี “พลาสมาคลัสเตอร์” ทำให้ได้สตรอเบอร์รี่ที่หวานเหมือนปลูกในญี่ปุ่น การใช้เทคโนโลยีเข้าช่วยแบบนี้ทำให้ไม่มีศัตรูพืช ไม่ต้องใช้ยาฆ่าแมลง จึงปลอดภัย ได้ราคาและคุณภาพสูง ปลูกได้ตลอดปี แต่มีข้อเสียที่ต้นทุนสูงกว่าปลูกแบบธรรมชาติ

 

ความแตกต่างของภูมิประเทศแต่ละที่ทำให้สภาพของดิน น้ำ ความสมบูรณ์ของแร่ธาตุต่างๆ แสง ศัตรูพืช พืชท้องถิ่น แมลงท้องถิ่น ที่เป็นปัจจัยจำนวนมากในการสนับสนุนและเป็นอุปสรรคต่อการทำเกษตรให้มีประสิทธิภาพและได้พืชผลตามขนาดที่ต้องการ จะเห็นได้ว่าฟาร์มอัจฉริยะมีความต้องการและความแตกต่างจากการทำเกษตรแบบปกติเป็นอย่างมาก โดยมีวัตถุประสงค์อีกข้อหนึ่งคือ การไม่ใช้ทรัพยากรอย่างสิ้นเปลือง ดังนั้นความแม่นยำในการเสริมปัจจัยต่างๆ ให้ตรงกับความต้องการของพืชแต่ละชนิด จึงเป็นกุญแจสำคัญในการทำเกษตรอัจฉริยะที่ได้ประสิทธิภาพ

 

องค์ประกอบที่สำคัญในการทำฟาร์มอัจฉริยะจะต้องมี 3 ด้านด้วยกัน จึงจะทำให้ฟาร์มอัจฉริยะมีประสิทธิภาพนั่นคือ

 

1.  การระบุตำแหน่งพื้นที่เพาะปลูก    2. การแปรวิเคราะห์ข้อมูลที่ตรงกับระยะเวลาของการเพาะปลูกพืช

 

3.  การบริหารจัดการพื้นที่โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม ไม่สิ้นเปลืองทรัพยากร และต้องเข้ากับการเพาะปลูกพืชในชนิดนั้นๆ

 

การทำฟาร์มอัจฉริยะเป็นเรื่องของความแม่นยำเพื่อนำไปสู่การเพาะปลูกพืชที่เข้ากับพื้นที่บริเวณนั้น ผ่านการตัดสินใจบนข้อมูลที่ถูกต้อง โดยช่วยลดต้นทุนกระบวนการผลิต เพิ่มผลผลิตต่อพื้นที่ สร้างมาตรฐานการผลิต ควบคุมคุณภาพผลผลิตได้ตามที่ลูกค้าต้องการ ผลผลิตจึงได้ราคาสูงกว่าฟาร์มทั่วไป

 

ปัจจุบันความรู้ทางด้านการเกษตรอัฉริยะมีมากขึ้นในอินเทอร์เน็ต เพราะเป็นแนวโน้มที่สำคัญของการทำการเกษตรในศตวรรษที่ 21 หลายฟาร์มเริ่มมีการนำเอาเทคโนโลยี Precision Farming เพื่อควบคุมความแม่นยำทั้งการให้น้ำที่ถูกต้องทั้งปริมาณ ระยะเวลา ผ่านจากสมาร์ทโฟนและคอมพิวเตอร์ของฟาร์มเอง มีการนำเอาเซนเซอร์มาควบคุมเพื่อวัดอุณหภูมิร่วมกับการปล่อยน้ำเพื่อรักษาอุณหภูมิ รวมไปถึงการให้ปุ๋ยผ่านการพ่นน้ำ

 

ในบ้านเราเองก็มีตัวอย่างการทำเกษตรอัจฉริยะที่ประยุกต์เอาเทคโนโลยีมาช่วย อย่างกรณีของอาจารย์ภาควิชาเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ ที่ได้คิดค้นแอพพลิเคชั่นบนโทรศัพท์มือถือขึ้นมาเพื่อช่วยผู้ที่เลี้ยงปลานิลส่งขาย ภายในแอพพลิเคชั่นสามารถแสดงสภาพอากาศ คุณภาพ ปริมาตรน้ำ ผลตอบแทน ราคา วัดน้ำหนักและขนาดปลาได้ เพิ่มความสำเร็จในการสร้างรายได้มากขึ้นเพียงปลายนิ้วคลิก

 

ตัวอย่างคนไทยอีกรายที่มีความสามารถในการเขียนโปรแกรม ได้ประกอบอุปกรณ์สำหรับแปลงผักไฮโดรโปนิกส์ ให้มีเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ ค่ากรดต่างๆ ใช้ Relay (อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ที่ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ตัด-ต่อวงจร)ในการควบคุมปั๊มแรงดันเพื่อพ่นละอองน้ำ ทำให้สะดวกในการปลูกและไม่เสียเวลาดูแลมากนัก มองอีกแง่หนึ่ง ถือเป็นโอกาสดีสำหรับธุรกิจสตาร์ทอัพสายเทคโนโลยีการเกษตรที่จะใช้ความถนัดด้านการพัฒนาด้านซอฟแวร์ หรือผลิตเครื่องจักรกลด้านการเกษตรเข้ามาทำตลาดได้

 

ทุกวันนี้เราสามารถซื้ออุปกรณ์ไฮเทคในการดำรงชีวิตด้านอื่นๆ ได้ง่ายในราคาถูก แต่ในด้านการเกษตรที่เกี่ยวกับปากท้องคนจำนวนมากกลับหาได้ค่อนข้างยากและมีราคาแพง ส่วนใหญ่คนที่เข้าถึงเทคโนโลยีใหม่ๆ เหล่านั้นก็ล้วนเป็นคนรุ่นใหม่ที่เริ่มห่างไกลวิถีเกษตรกรรม จะดีไม่น้อยหากมีการสนับสนุนคนรุ่นเก่าที่มีความรู้ทางการเกษตรดีอยู่แล้ว ให้เข้าถึงความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีมากขึ้น เรื่องนี้ทำคนเดียวไม่ได้ คงต้องพึ่งหลายฝ่ายรวมถึงภาครัฐด้วย พอจะเป็นไปได้หรือไม่ที่ในอนาคต เราจะเห็นการพัฒนาเทคโนโลยีด้านการเกษตรที่แพร่หลายและราคาไม่สูงมากนัก 

 

 

ที่มา

www.landactionthai.org

http://www.bangkokbiznews.com/blog/detail/606451

http://www.tpso.moc.go.th/sites/default/files/1074-img.pdf

https://www.facebook.com/smartfarmthailand/?ref=ts&fref=ts

https://www.sentangsedtee.com/exclusive/article_23510

http://www.thairath.co.th/content/448146

https://brandinside.asia/smart-farming-thailand-opportunity/


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 3694 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร]:
เดินหน้าพัฒนา Smart Farmer ติวเข้มจนท.ส่งเสริมเกษตรสู่บทบาท ผู้จัดการเรียนรู้
ส่งเสริมและพัฒนาให้เกษตรกรไทย ให้เป็นผู้ประกอบการเกษตรที่มีการใช้เทคโนโลยี และการบริหารจัดการเพื่อการดำเนินธุรกิจ
อ่านแล้ว: 6346
หนุนอุตฯเกษตรภาคเหนือ พัฒนาสู่ยุค ไทยแลนด์4.0
รากฐานที่สำคัญในการจะพัฒนาภาคการเกษตรให้อยู่รอดได้ ต้องอยู่บนปัจจัยที่สำคัญ 3 ด้าน
อ่านแล้ว: 5487
หัวเว่ยชูนวัตกรรมในภาคการเกษตร พลิกวิถีเกษตรยุค 4.0
หนึ่งสิ่งที่หัวเว่ยให้ความสำคัญคือ เรื่องของภาคการเกษตร ซึ่งจากข้อมูลพบว่า ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่ของโลก
อ่านแล้ว: 5998
STC สร้างหุ่นยนต์เก็บข้อมูลการเกษตร ช่วยเหลือเกษตรไทย

อ่านแล้ว: 6387
4 นวัตกรรมการเกษตรที่เหล่า AgriTech ควรจับตามอง

อ่านแล้ว: 6262
โดรนเพื่อการเกษตร เทรนด์ทางเลือกใหม่ ยุค 4.0

อ่านแล้ว: 6677
ไถนาผ่านจอมือถือ ต่อยอดจาก รถไถบังคับวิทยุ เตรียมยื่นจดสิทธิบัตร !?

อ่านแล้ว: 5463
หมวด ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร ทั้งหมด >>