data-ad-format="autorelaxed">
ผศ.ดร. กฤษฎากร บุดดาจันทร์ ภาควิชาเทคโนโลยีการออกแบบและผลิตเครื่องจักรกลอุตสาหกรรมการเกษตร คณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) เจ้าของผลงาน ถังต้นแบบและผลิตก๊าซชีวภาพจากผักตบชวา
การเกิดก๊าซมีเทน (CH4) จากผักตบชวา โดยใช้มูลวัวเป็นหัวเชื้อเพื่อสร้างจุลินทรีย์ในการย่อยผักตบชวา เพื่อทำให้เกิดก๊าซมีเทน (CH4) นำไปใช้ประโยชน์หลายๆ ด้าน อีกทั้งเป็นความหวัง และความเหมาะสมกับประเทศที่เป็นเกษตรกรรม ซึ่งมีวัตถุดิบเหมาะสมที่จะผลิตพลังงานทดแทนที่ยั่งยืน เช่น มูลสัตว์ วัชพืช เศษอาหาร ฯลฯ ที่เกิดมา และไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ ดังนั้นจึงมีแนวทางที่จะคิดศึกษาการเกิดก๊าซมีเทน (CH4) จากผักตบชวาเพื่อนำมาใช้เป็นพลังงานในการหุงต้มแทนการใช้ก๊าซหุงต้ม LPG ที่ราคาสูงขึ้นทุกวัน และเป็นแนวทางในการประหยัดพลังงานลดการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ และทำให้ความเป็นอยู่ของเกษตรกรก็จะดีตามไปด้วย รวมถึงเป็นการลดปริมาณวัชพืชที่ไม่ก่อให้เกิดประโยชน์เนื่องจากผักตบชวาที่ขยายพันธุ์มากขึ้น ทำให้ไปอุดตันขัดขวางทางระบายน้ำ และยังเป็นที่กีดขวางการคมนาคมทางน้ำในการสัญจรไปมา
วัตถุประสงค์ของงานวิจัย เพื่อทำการออกแบบสร้าง และทดสอบถังต้นแบบสำหรับผลิตก๊าซชีวภาพจากผักตบชวาโดยในการหมักจะประกอบด้วยถังหมักขนาด 200 ลิตร ที่มีใบกวน และท่อระบายกากพร้อมทั้งท่อส่งแก๊สที่จะส่งไปยังถังเก็บแก๊สขนาด 130 ลิตร ซีลกันไม่ให้แก๊สรั่วออกด้วยน้ำ และจะมีวาล์วกันกลับ เพื่อกันแก๊สย้อนเข้าสู่ถังเก็บแก๊ส ซึ่งในการหมักจะใช้มูลวัวเป็นหัวเชื้อ 3 ตัวอย่าง คือ 1. คือ มูลวัว 30 กิโลกรัมต่อน้ำ 30 ลิตร 2. มูลวัว 40 กิโลกรัมต่อน้ำ 40 ลิตร และ 3. มูลวัว 50 กิโลกรัมต่อน้ำ 50 ลิตร
ลักษณะเด่นของงานวิจัย ผลจากการทดสอบ พบว่า มีปริมาณการเกิดก๊าซชีวภาพเพิ่มขึ้นเรื่อยทุกวันโดยก๊าซที่ผลิตได้มีส่วนประกอบมีเทนg(CH4) = 53.18% คาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) = 32.13% ไฮโดรเจนซัลไฟด์ (H2S) = 0% ไนโตรเจน (N)g=g14.68% ซึ่งมีอุณหภูมิเปลวสูงสุด 702 oC และมีความสูงของเปลวไฟอยู่ที่ 6 เซนติเมตร
การออกแบบ ถังผลิตก๊าซชีวภาพจากผักตบนั้นต้องคำนึงถึง ขั้นตอนการผลิตที่ง่าย ความปลอดภัยของระบบ การซีลอุปกรณ์ไม่ให้เกิดการรั่วซึมของก๊าซที่ผลิตขึ้นเป็นสำคัญ ปริมาณของก๊าซที่ได้ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในแต่ละช่วงเวลาและสัดส่วนการผสมของมูลวัวและผักตบที่เหมาะสม
ในปัจจุบันตลาดของการผลิตก๊าซชีวภาพ มีแนวโน้มทางด้านการตลาดเพิ่มสูงขึ้นมาก เนื่องจากการลงทุนผลิตก๊าซชีวภาพเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากร โดยการทดแทนพลังงานจากเชื้อเพลิงต่างๆ เช่น น้ำมัน ถ่านหิน ช่วยลดต้นทุนด้านพลังงานให้กับภาคอุตสาหกรรมและผู้ประกอบการ รวมถึงยังเป็นการเพิ่มรายได้จากการนำก๊าซชีวภาพไปใช้ผลิตกระแสไฟฟ้าขายคืนให้กับการไฟฟ้า และยังสามารถช่วยลดปัญหาด้านสิ่งแวดล้อมจากน้ำเสียได้อีกทางหนึ่งด้วย
สอบถามรายละเอียดได้ที่ ภาควิชาเทคโนโลยีการออกแบบและผลิตเครื่องจักรกลอุตสาหกรรมการเกษตร คณะเทคโนโลยีและการจัดการอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (มจพ.) หรือผศ.ดร. กฤษฎากร บุดดาจันทร์ 081-568-0788
ขวัฤทัย ข่าว – ภาพ / วรนุช อัพโหลด
ข้อมูลจาก kmutnb.ac.th