กาแฟ ขั้นตอนการปลูกกาแฟ
พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับปลูกกาแฟควรเป็นที่ๆมีความสูง ประมาณ 800-12,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ความลาดชันไม่เกิน 50% ทำการ...
data-ad-format="autorelaxed">
กาแฟ และ การปลูกกาแฟ
ขั้นตอนการปลูกกาแฟ
ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมพื้นที่
พื้นที่ที่เหมาะสมสำหรับปลูกกาแฟควรเป็นที่ๆมีความสูง ประมาณ 800-12,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ความลาดชันไม่เกิน 50% ทำการกำจัดวัชพืชโดยการถางให้โล่ง เตรียมทำแนวระดับ การเตรียมพื้นที่ส่วนมากเริ่มทำ ในช่วงฤดูแล้ง เพื่อให้พร้อมสำหรับปลูกกาแฟในฤดูฝนที่จะมาถึง(ประมาณมิถุนายน-กรกฎาคม)
ทำแนวระดับโดยใช้อุปการณ์ช่วยเช่นไม้รูปตัวเอเขาควายหรือระดับน้ำ ทำแนวปลูกกาแฟโดยมีระยะระหว่างต้น 2 เมตร ระยะห่างระหว่างแถวขึ้นอยู่กับความลาดชัน โดยเฉลี่ยประมาณ 1.5-2 เมตร ขุดหลุมปลูกกาแฟขนาด 0.5x0.5x0.5เมตร(หรือ 1 X 1 X 1 ศอก) แยกหน้าดินกับดินก้นหลุมออกจากกัน หน้าดินจะใช้ผสมใส่ลงที่ก้นหลุม
ขุดหลุมปลูกกาแฟขนาด0.5x0.5x0.5เมตร(หรือ 1 X 1 X 1 ศอก) แยกหน้าดินกับดินก้นหลุมออกจากกัน หน้าดินจะใช้ผสมใส่ลงที่ก้นหลุม
ขั้นตอนที่ 2 การปลูก
นำต้นกล้าที่มีขนาดเหมาะสมความสูงประมาณ 45-50 ซม. มีใบ 6-8 คู่ สมบูรณ์แข็งแรง ผ่านการฝึกให้ ทนทานต่อแสงแดดจัดและการขาดน้ำในเบื้องต้น แล้วนำต้นกล้าลงปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ กลบดินให้แน่น ใช้ไม้ปักกันลมโยกคลอน
กาแฟ เป็นพืชเศรษฐกิจที่ผลิตแล้วส่งออกต่างประเทศถึง 70 % เป็นพืชที่มีการแข่งขันกับต่างประเทศสูง ปลูกกันมากในพื้นที่ภาคใต้ ของประเทศไทย ผลผลิตส่วนใหญ่ใช้เป็นวัตถุดิบป้อนโรงงานอุตสาหกรรม เพื่อแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ใช้ในการบริโภค
ปัญหาของพืช ข้อจำกัดและโอกาส
• กาแฟไทยร้อยละ 99 เป็นพันธุ์โรบัสต้า ปลูกในภาคใต้ และร้อยละ 1 ปลูกในภาคเหนือ เป็นกาแฟอาราบิก้า แต่ตลาดโลกต้องการอาราบิก้าร้อยละ 90 และต้องการโรบัสต้าร้อยละ 10
• พื้นที่ปลูกกาแฟอาราบิก้าที่เหมาะสมมีจำกัด
• ต้นทุนการผลิตสูง
• คุณภาพของผลผลิตไม่สม่ำเสมอ
• ใช้ปุ๋ยวิทยาศาสตร์มากเกินไป และขาดการปรับปรุงบำรุงดิน
• ขาดแคลนพันธุ์ที่ให้ผลผลิตสูง
• ขาดเทคโนโลยีการแปรรูปเป็นกาแฟสำเร็จรูป
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
• ดินมีความอุดมสมบูรณ์ปานกลาง
• มีความเป็นกรดเป็นด่าง ระหว่าง 5.5-6.5
• อุณหภูมิที่เหมาะสม 25-32 องศาเซลเซียส
• ปริมาณน้ำฝนไม่ต่ำกว่า 1,500 มิลลิเมตร/ปี
• มีช่วงแล้ง นาน 8-10 สัปดาห์ เพื่อชักนำให้เกิดตาดอกการปลูก
การปลูก
• ระยะปลูกระหว่างต้น-แถว 3-4 x 3 เมตร อายุต้นกล้า 6-14 เดือน และควรมีการทำร่มเงาชั่วคราวหรือปลูกพืชให้ร่มเงาเช่น สะตอ แค กระถิน เป็นพืชร่วม
คำแนะนำการใช้ปุ๋ยตราบัวทิพย์
• ปีที่ 1 และ 2 ให้ใช้ปุ๋ยเคมี-อินทรีย์ ตราบัวทิพย์ สูตร2 ในอัตรา 100 และ 150 กรัมต่อต้นต่อปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง เมื่อต้นฤดูฝน และกลางฤดูฝน
• ตั้งแต่ปีที่ 3 ให้ใช้ปุ๋ยเคมี-อินทรีย์ ตราบัวทิพย์ สูตร2 ในอัตรา 600 กรัมต่อต้นต่อปี แบ่งใส่ 2 ครั้ง เมื่ออายุ 3 เดือน และ 6 เดือน หลังจากดอกบาน สำหรับต้นฤดูฝนควรให้ปุ๋ยคอกที่ย่อยสลายดีแล้ว อัตรา 10 กิโลกรัมต่อต้น เพื่อปรับสภาพดินให้ร่วนซุย
• หลังเก็บเกี่ยวและตัดแต่งกิ่ง ให้ใช้ปุ๋ยเคมี-อินทรีย์ ตราบัวทิพย์ สูตร2 ในอัตรา 100 กรัมต่อต้นต่อปี
การให้น้ำ
• กาแฟปลูกใหม่ หากไม่มีฝนตกภายใน 1-2 สัปดาห์ ต้องให้น้ำ
หลังจากติดผล ถ้าฝนทิ้งช่วงนานเกิน 3 สัปดาห์ ควรให้น้ำเดือนละ 1-2 ครั้ง จนผลกาแฟมีอายุ 3 เดือน ใช้ระบบการให้น้ำแบบฝอยละเอียด
การตัดแต่งกิ่ง
• ระยะก่อนให้ผลผลิต หลังจากปลูกกาแฟประมาณ 3-4 เดือน ตัดส่วนยอดของลำต้นให้เหลือลำต้นกาแฟสูงจากผิวดิน 30-40 เซนติเมตร
หลังจากนั้นประมาณ 2 เดือน เลือกกิ่งแขนงที่แข็งแรงไว้เพียง 3-5 กิ่งต่อต้น
• ระยะหลังให้ผลผลิต
- ตัดแต่งกิ่งแบบทยอย ต้นกาแฟที่มี 3-5 กิ่ง ให้ตัดกิ่งทิ้งออกที่ละ 1 กิ่ง เลี้ยงกิ่งที่แตกใหม่ทดแทน
- ตัดแต่งแบบให้เหลือไว้กิ่งเดียว มี 2 วิธี
1. ตัดลำต้นกาแฟทั้งหมดสูงจากพื้นดิน 40-50 ซม. ให้เหลือไว้เพียง กิ่งเดียว เพื่อเป็นกิ่งพี่เลี้ยง ต้นกาแฟจะแตกกิ่งใหม่ภายใน 2 เดือน เลือกกิ่งที่แข็งแรงไว้ 3-4 กิ่ง เมื่อเก็บเกี่ยวผลบนกิ่งพี่เลี้ยงแล้ว จึงตัดกิ่งพี่เลี้ยงทิ้งไป
2. ตัดลำต้นกาแฟทั้งหมดสูงจากพื้นดิน 40-50 ซม. โดยไม่ต้องเหลือกิ่งพี่เลี้ยง ต้นกาแฟจะแตกลำต้นใหม่ภายใน 2 เดือน ให้เลือกลำต้นที่แข็งแรงเลี้ยงไว้ 3-5 กิ่ง
โรคที่สำคัญ
โรคแอนแทรคโนส
สาเหตุ:เชื้อรา
ลักษณะอาการ: อาการเกิดตามส่วนต่างๆ ของต้นกาแฟ
ใบ เป็นจุดสีน้ำตาลแล้วขยายใหญ่ขึ้น เนื้อเยื่อกลางแผลตาย มีสีน้ำตาลไหม้ จุดแผลแต่ละจุดขยายเชื่อมต่อกันเป็นแผลขนาดใหญ่ ทำให้ใบไหม้
ผลเชื้อเข้าทำลายทั้งในผลอ่อนและผลแก่ เริ่มแรกเป็นจุดสีน้ำตาลเข้ม ต่อมาแต่ละจุดขยายรวมกันเป็นแผลมีรูปร่างไม่แน่นอน เนื้อเยื่อยุบ ผลกาแฟหยุดการเจริญและเปลี่ยนเป็นสีดำ ผลยังคงติดอยู่บนกิ่ง
กิ่ง บนกิ่งสีเขียวมีอาการไหม้ เนื้อเยื่อของกิ่งบริเวณที่เป็นแผลจะตาย ทำให้กิ่งเหี่ยวแห้ง ใบเปลี่ยนเป็นสีเหลือง และร่วง ตาดอกเหี่ยว
ช่วงเวลาระบาด ระบาดรุนแรงในสภาพอากาศแห้งแล้ง ต้นกาแฟอ่อนแอ
การป้องกันกำจัด :
• รักษาระดับร่มเงาให้เหมาะสมโดยพรางแสง 50 เปอร์เซ็นต์
• คลุมโคนต้นเพื่อรักษาความชื้นในดิน
• ให้ปุ๋ยและให้น้ำตามคำแนะนำข้างต้น เพื่อให้มีลำต้นและทรงพุ่มแข็งแรง
• ตัดแต่งกิ่งตามคำแนะนำข้างต้น
• หลังการเก็บเกี่ยว ต้องเก็บผลกาแฟที่เป็นโรคเผาทำลายนอกแปลง
• ใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชตามคำแนะนำ
- สารแมนโคแซบ อัตราการใช้ 48 กรัมผสมน้ำ 20 ลิตร ฉีดพ่นทุก ๆ 5-7 วัน
แมลงศัตรูกาแฟ
มอดเจาะผลกาแฟ
ลักษณะและการทำลาย :เป็นแมลงปีกแข็งสีดำขนาด 1 มิลลิเมตร วางไข่ ขยายพันธุ์และกัดกินอยู่ในผลกาแฟที่มีขนาดตั้งแต่ 0.5 ซม.ขึ้นไป จนกระทั่งผลกาแฟเริ่มสุกและสุกเป็นสีแดง มอดจะติดผลกาแฟไปถึงลาดตาก และอาศัยอยู่ในผลกาแฟสุก จนแห้งดำที่ติดค้างบนกิ่ง และผลที่หล่นใต้ต้น
ช่วงเวลาระบาด: เดือนกันยายนถึงมกราคม ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่ผลกาแฟ เริ่มสุกถึงสุก
การป้องกันกำจัด:
• เก็บผลกาแฟสุกหรือแห้งติดค้างบนกิ่ง หรือร่วงหล่นใต้ทรงพุ่ม นำไปเผาทำลายนอกแปลง
• ตัดแต่งกิ่งตามคำแนะนำข้างต้น
• หลีกเลี่ยงการตากผลกาแฟสุกบนพื้นดินบริเวณสวนกาแฟ และบริเวณใกล้เคียง
• ใช้สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูกาแฟโรบัสต้า ตามคำแนะนำ
- คลอร์ไพริฟอส (40% อีซี) อัตราการใช้ 35 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 15 วัน ตั้งแต่ผลกาแฟมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5
มิลลิเมตร จนถึงระยะผลกาแฟสุกหรือพ่นเมื่อพบการระบาด หยุดการใช้สารก่อนการเก็บเกี่ยว 14 วัน
- ไดรอะไซฟอส(40% อีซี) อัตราการใช้ 40 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
พ่นทุก 15 วัน ตั้งแต่ผลกาแฟมีเส้นผ่าศูนย์กลางประมาณ 5
มิลลิเมตร จนถึงระยะผลกาแฟสุกหรือพ่นเมื่อพบการระบาด หยุดการใช้สารก่อนการเก็บเกี่ยว 28 วัน
หนอนกาแฟสีแดง
ลักษณะและการทำลาย: ตัวหนอนสีแดงหรือน้ำตาลแดง มีลายวงแหวนสีเหลือง มีขนสีขาวบนท้อง ผีเสื้อเพศเมียจะวางไข่บนกิ่ง และลำต้นใช้เวลาประมาณ 10 วันไข่จะฟักเป็นตัวหนอน หนอนโตเต็มที ่เมื่ออายุ 2-5 เดือน ช่วงนี้จะกัดเจาะเปลือกเป็นรูกลม เจริญเติบโต เป็นดักแด้ และตัวเต็มวัยสีขาวนวล มีจุดประสีดำอยู่เต็ม บริเวณปีกคู่หน้า ต้นและกิ่งกาแฟที่ถูกหนอนเจาะจะมียอดแห้ง กิ่งจะหักตรงบริเวณที่หนอนเจาะ หรือหักโค่นเมื่อมีลมแรง
ช่วงระบาด: ตลอดฤดูปลูก
การป้องกันกำจัด:
• ตรวจต้นและกิ่งกาแฟอย่างสม่ำเสมอ หากพบรอยที่หนอนเจาะทำลาย ให้ตัดกิ่งนำไปเผาทำลาย
• รักษาบริเวณสวนให้สะอาด
• หลีกเลี่ยงการปลูกพืชอาศัยในสวนกาแฟ และบริเวณใกล้เคียง เช่น ชมพู่ ลิ้นจี่ ชบา เป็นต้น
• ใช้สารป้องกันกำจัดแมลงศัตรูกาแฟ ตามคำแนะนำ
- คลอร์ไพริฟอส(40% อีซี) อัตราการใช้ 35 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นบริเวณกิ่งและลำต้นทุก 15 วัน หรือเมื่อพบการทำลาย หยุดการใช้สาร ก่อนการเก็บเกี่ยว 14 วัน
วัชพืชที่สำคัญและการป้องกันกำจัด
ชนิดวัชพืช
วัชพืชฤดูเดียว เป็นวัชพืชที่ครบวงจรชีวิตภายในฤดูเดียว ส่วนมากขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
- ประเภทใบแคบ เช่น หญ้าตีนนก หญ้าตีนกา หญ้านกสีชมพู หญ้าปากควาย หญ้ากุศล และหญ้าขจรจบดอกเล็ก
- ประเภทใบกว้าง เช่น ผักบุ้งยาง แมงลักป่า กระดุมขน ผักโขม สาบแร้งสาบกา และสร้อยนกเขา
- ประเภทกก เช่น หนวดแมว กกขนาก กกทราย และหนวดปลาดุก
วัชพืชข้ามปี เป็นวัชพืชที่ส่วนมากขยายพันธุ์ด้วยต้น ราก เหง้า หัว และไหล ได้ดีกว่าการขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด
- ประเภทใบแคบ เช่น หญ้าคา หญ้าชันกาด หญ้าขน หญ้าเห็บ หญ้าขจรจบดอกเหลือง และหญ้าแพรก
- ประเภทใบกว้างเช่น สาบเสือ ผักปราบ มังเคร่ ขี้ไก่ย่าน และครอบจักรวาล
- ประเภทกก เช่น แห้วหมู และกกตุ้มหู
การป้องกันกำจัด:
• ไถตากดิน 1 ครั้งทิ้งไว้ 7-10 วัน แล้วจึงพรวน 1 ครั้ง
• คราดเก็บเศษซาก ราก เหง้า หัว ไหล ของวัชพืชข้ามปี ออกจากแปลงก่อนจัดระยะ และทำหลุมปลูก
• คลุมโคนต้นด้วยเศษพืช ระวังอย่าให้มีความชื้นสูงในฤดูฝน
• ใช้เครื่องตัดวัชพืช ระหว่างแถวระหว่างต้นให้สั้น ก่อนวัชพืชออกดอก
กำจัดวัชพืชใต้ทรงพุ่มกาแฟ โดยใช้จอบดาย ระวังการกระทบกระเทือน รากกาแฟ
• พ่นสารกำจัดวัชพืชตามคำแนะนำ
- วัชพืชฤดูเดียว ใช้พาราควอท(27.6% เอสแอล) อัตรา 75-100 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นเมื่อวัชพืชมี 5-7 ใบ หรือก่อนวัชพืชออกดอก ระวังละอองสารสัมผัสใบและต้นกาแฟ ไม่พ่นเกินปีละ 2 ครั้ง
- วัชพืชข้ามปี ใช้กลูโฟซิเนต แอมโมเนียม (15% เอสแอล)อัตรา 400-500 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร ไกลโฟเสท(48% เอสแอล)อัตรา 125-150 มิลลิลิตรต่อน้ำ 20 ลิตร
การเก็บเกี่ยว
• เก็บเกี่ยวผลกาแฟ อายุ 11 เดือนหลังออกดอก โดยทะยอยเก็บทุก ๆ 3 สัปดาห์ และเก็บผลกาแฟที่สุกพอดี ซึ่งจะมีผลสีส้ม หรือส้มแดง แล้วนำไปคัดเลือกทันที เพื่อตาก และจัดเก็บในห้องเก็บต่อไป
การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
• การคัดเลือกผลกาแฟด้วยน้ำ ผลกาแฟที่จมน้ำ เป็นผลที่มีเมล็ดสมบูรณ์
นำผลกาแฟที่จมน้ำไปตาก ควรเกลี่ยผลกาแฟให้มีความหนา ประมาณ 4-5 ซม. และพลิกกลับผลกาแฟวันละ 2-3 ครั้ง ระยะเวลาการตากจนผลแห้ง ประมาณ 15-20 วัน ตอนเย็นควรเก็บผลกาแฟมารวมกัน คลุมด้วยพลาสติก เพื่อป้องกันฝนหรือน้ำค้าง
• ผลกาแฟที่แห้งเมล็ดกาแฟควรมีความชื้นไม่เกิน 13 เปอร์เซ็นต์ โดยน้ำหนัก ตรวจสอบโดยกำผลกาแฟแล้วเขย่าจะเกิดเสียงดังหรือเมล็ดแตก เมื่อใช้ค้อนทุบ
• ควรกะเทาะเปลือกทันทีหลังตากแห้ง
• เก็บรักษาในกระสอบป่าน สะอาด ใหม่ ปราศจากกลิ่น โรงเก็บ ควรมีอากาศถ่ายเทได้สะดวก มีความชื้นสัมพันธ์ไม่เกิน 60 เปอร์เซ็นต์
การแปรรูปและผลิตภัณฑ์
• สามารถแปรรูปเป็นกาแฟคั่วบดด้วยอุปกรณ์ตามประเภทของการคั่ว เช่น คั่วแก่ คั่วไฟปานกลาง คั่วอ่อน และปรุงแต่งความน่าดื่มในภาชนะต่าง ๆ กันตามสูตรผสมของผู้ค้า เช่น เอสเปรสโซ บลูเมาท์เทน บราซิลซานโตส หรือจาวา เป็นต้น ปัจจัยสำคัญที่ทำให้กาแฟ มีรสชาติอร่อยตามความต้องการ คือ การคั่ว, การบด และการชง
• การคั่วกาแฟเป็นกระบวนการขึ้นกับเวลาและอุณหภูมิประมาณ 200-240 องศาเซลเซียส ใช้เวลาในการคั่ว 10-20 นาที
• สามารถแปรรูปเป็นกาแฟสำเร็จรูป (instant coffee) โดยใช้การผลิตในระบบพ่นแห้ง คือ การพ่นน้ำกาแฟไปในความร้อน น้ำจะระเหยไป ได้ผงกาแฟสำเร็จรูป และการผลิตในระบบเย็น (freeze dry) นำน้ำกาแฟเข้มข้นที่แช่เย็นจนเป็นเกร็ดแข็งไปผ่านความร้อน เพื่อระเหยน้ำอย่างรวดเร็วจะได้กาแฟผงสำเร็จรูป
• นอกจากนี้นำกาแฟไปบริโภคในรูปอื่นๆ เช่น เป็นส่วนผสม ของอาหารหวาน เช่น ไอศกรีม ขนมเค็กอื่นๆ หรือนำเอาสารกาแฟ ไปสกัดสารคาเฟอีน โดยนำเอาคาเฟอีนไปผสมในเครื่องดื่มประเภทน้ำอัดลม และเครื่องดื่มบำรุงกำลังต่าง ๆ
มาตรฐานของเมล็ดกาแฟโรบัสต้า
เพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนาการค้าเมล็ดกาแฟพันธุ์โรบัสต้าของประเทศไทยให้มีคุณภาพและมาตรฐานเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย กรมการค้าภายในโดยความเห็นชอบของกระทรวงพาณิชย์ ได้กำหนด มาตรฐานเมล็ดกาแฟพันธุ์โรบัสต้าของประเทศไทย ดังนี้
1. เมล็ดกาแฟโรบัสต้าจะต้องมีสี กลิ่น ตามธรรมชาติของเมล็ดกาแฟ ไม่บูดเน่า หรือขึ้นราและไม่มีผลกาแฟปะปน
2. เมล็ดสารกาแฟจะต้องมีความชื้นไม่เกินร้อยละ 13
3. ข้อบกพร่องของเมล็ดกาแฟทั้งหมดจะต้องไม่เกินร้อยละ 7 โดยน้ำหนัก ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
• เมล็ดกาแฟซื้อขายโดยทั่วไปไม่ควรจะมีเมล็ดกาแฟที่กะเทาะเปลือก ออกไม่หมด
• เมล็ดดำ คือเมล็ดกาแฟที่มีสีดำเกินครึ่งหนึ่งของเมล็ดจะมีได้ ไม่เกินร้อยละ 2
• เมล็ดมอด คือเมล็ดกาแฟที่มีรูมอดเจาะเกิน 1 รูจะมีได้ไม่เกินร้อยละ 4
• เมล็ดแตก คือ ชิ้นส่วนเมล็ดกาแฟที่มีขนาดเท่ากับหรือน้อยกว่าครึ่งหนึ่ง ของเมล็ดกาแฟทั้งหมดจะมีได้ไม่เกินร้อยละ 2
• เมล็ดเสีย คือเมล็ดกาแฟที่มีลักษณะเป็นรูพรุน เมล็ดกาแฟหล่นโคนต้น • เมล็ดกาแฟที่ผิดปกติ และอื่น ๆ ซึ่งจะมีได้ไม่เกินร้อยละ 0.5
• สิ่งเจือปน คือเศษหิน เศษไม้ เปลือกกาแฟ และทุกอย่างที่ไม่ใช่เมล็ดกาแฟ ซึ่งจะมีได้ไม่เกินร้อยละ 0.5
สำหรับเมล็ดกาแฟที่ซื้อขายมิได้เป็นไปตามมาตรฐานดังกล่าว ให้หักน้ำหนัก ดังนี้
1. เมล็ดกาแฟที่มีความชื้นเกินร้อยละ 13 แต่ไม่เกินร้อยละ 14 ให้หักน้ำหนักความชื้นในส่วนที่เกินร้อยละ 13 โดยเทียบอัตราส่วน
2. ข้อบกพร่องทั้งหมดรวมกันไม่เกินร้อยละ 7 โดยน้ำหนัก ถ้าข้อบกพร่องบางข้อเกินกว่ากำหนดของแต่ละรายการ ให้หักน้ำหนักได้ ไม่เกินร้อยละ 0.5 ต่อร้อยละ 1 ของข้อบกพร่องที่เกิน
3. ข้อบกพร่องทั้งหมดรวมกันเกินร้อยละ 7 แต่ไม่ถึงร้อยละ 9 โดยน้ำหนักให้หักน้ำหนักได้ไม่เกินร้อยละ 1 ต่อร้อยละ 1 ของข้อบกพร่องที่เกินกรณีที่ข้อบกพร่องทั้งหมดรวมกันเกินร้อยละ 9 หรือมีความชื้นร้อยละ 14 และหรือมีผลกาแฟหรือมีเมล็ดกาแฟติดเปลือก ปะปนอยู่ ถือว่าเป็นเมล็ดกาแฟที่ต่ำกว่ามาตรฐานให้เป็นการเจรจาตกลงกันเอง ระหว่างผู้ซื้อกับผู้ขาย
อ้างอิง:http://student.nu.ac.th
อ่านเรื่องนี้แล้ว : 81633 คน
£
ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:
เลือกหมวด :
แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด,
สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,