data-ad-format="autorelaxed">
หนึ่ง ในกิจกรรม ส่งเสริม การท่องเที่ยวไทยหลายท่านไม่รู้ว่าจะไปเที่ยวที่ไหนกันดี เพราะไม่อยากเดินทางไปไกลๆ กลัวอุปสรรค แต่จริงๆแล้ว อาจมีกิจกรรม การท่องเที่ยวอีกรูปแบบหนึ่งที่ไม่ต้องเดินทางไกลมากนักและใช้เวลาเดินทาง เพียง เช้าไป-เย็นกลับ หรืออาจพักค้างคืน เพียงหนึ่ง หรือ สองคืนเท่านั้น แถมยังได้ของติดไม้ติดมือมาฝากญาติมิตรและอิ่มท้องในราคาถูกอีกด้วย
เมืองไทยของเรานั้น จะอุดมสมบูรณ์ไปด้วยผลไม้ตามฤดูกาลที่มีให้บริโภคกันหลายชนิด เช่น เงาะ ลำไย สละ ลางสาด ลองกอง มังคุด หรือกระท้อน เป็นต้น การท่องเที่ยวเชิงเกษตรในเมืองไทยมีหลายรูปแบบด้วยกัน อาทิเช่น การเที่ยวสวนผลไม้ สวนดอกไม้ สวนพืชผัก สวนสมุนไพร ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ ไร่ปศุสัตว์ เป็นต้น หรืออาจเป็นการเดินทางท่องเที่ยวไปยังแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรของหน่วย งานราชการต่างๆ เช่น กรมวิชาการเกษตร หรือกรมส่งเสริมการเกษตรซึ่งจะมีแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรในลักษณะ ศูนย์วิจัยพันธุ์พืช หรือ สถานีทดลองการเกษตรต่างๆ ที่เปิด ให้นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชมได้หลายแห่ง จะขอพาท่านมาท่องเที่ยวเชิงเกษตรในรูปแบบการเที่ยวสวนผลไม้ ซึ่งถือได้ว่าเป็นส่วนหนึ่ง ของการส่งเสริม กิจกรรม กิจกรรมหนึ่งก็ว่าได้ และเชื่อว่าหลายท่านคงอาจยังไม่เคยท่องเที่ยวหรือยังไม่มีโอกาส ได้พบเห็น หรือได้สัมผัสกับเมืองไทยในมุมมองแบบนี้ พร้อมกันนี้ท่านจะได้เพลิดเพลินกับการเลือกซื้อ หรือเลือกชิมผลไม้ที่ออกตามฤดูกาล สวนผลไม้หรือแหล่งท่องเที่ยวเชิงเกษตรประเภทนี้มีหลายแห่งที่เปิดบริการให้ นักท่องเที่ยวเข้าเยี่ยมชม
ส่วน ภาคตะวันออก ดินแดนแหล่งผลไม้ไทยที่มีชื่อเสียง เช่น ระยอง จันทบุรี ปราจีนบุรี และตราด เป็นต้น นักท่องเที่ยว นอกจากจะมีโอกาสเลือกซื้อเลือกชิมผลไม้ต่างๆ ที่ถูกใจและมีราคาถูกแล้ว สวนผลไม้บางแห่งยังมีการจัดจำหน่ายสินค้าแปรรูป ทางการเกษตรจากผลไม้ประเภทต่างๆ รวมถึงสินค้าประเภทหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ที่มีชื่อเสียงของแต่ละท้องถิ่นอีกด้วย ซึ่งรายละเอียดของการท่องเที่ยวสวนผลไม้นี้ท่านสามารถติดต่อขอข้อมูลได้จาก หลายหน่วยงาน เช่น การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย กรมส่งเสริมการเกษตร หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดในแต่ละภูมิภาคทั่วประเทศ
การ เที่ยวสวนผลไม้จัดอยู่ในรูปแบบหนึ่งของการท่องเที่ยวเชิงเกษตร หรือ Agro-tourism เป็นการเดินท่องเที่ยวไปยัง พื้นที่ ทางการเกษตรต่างๆ ที่มีกิจกรรมการเกษตรและการใช้ทรัพยากรการเกษตรเพื่อการท่องเที่ยว โดยยังคงมีกิจกรรมการเกษตรเป็นหลัก สามารถดึงดูดความสนใจนักท่องเที่ยว มีการจัดระบบการบริหารและการจัดการไว้เพื่อรองรับการท่องเที่ยว ก่อให้เกิดความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวและเป็นการสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร
ลักษณะ ของการท่องเที่ยวเชิงเกษตรหรือการเที่ยวสวนผลไม้นั้น จะแตกต่างจากการท่องเที่ยวทั่วไป คือจะมุ่งเน้นความสนใจไปยัง กิจกรรมการเกษตรต่างๆ รวมถึงสภาพแวดล้อมทางการเกษตรเป็นหลัก ให้โอกาสนักท่องเที่ยวได้เรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกร สิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและวัฒนธรรมท้องถิ่น รวมทั้งได้รับความเพลิดเพลินและการพักผ่อนไปในตัว อีกทั้งเกษตรกรยังจะมีรายได้ จากการจำหน่ายสินค้าทางการเกษตรรวมทั้งสินค้าแปรรูปทางการเกษตรอื่นๆอีก ด้วย
โดย ทั่วไปแล้วการท่องเที่ยวเชิงเกษตรจะมีองค์ประกอบที่สำคัญ 3 ประการ คือ
1. ทรัพยากรการท่องเที่ยวทางการเกษตร หมายถึง ทรัพยากรที่ใช้ในการผลิตทางการเกษตร ซึ่งรวมทั้งทรัพยากรที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ เช่น ดิน น้ำ พื้นที่ พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ป่า เป็นต้น และทรัพยากรด้านการจัดการ เช่น เกษตรกร องค์กรท้องถิ่น ความรู้ทางการเกษตร เครื่องมือเครื่องใช้ ตลอดจนเทคโนโลยีทางการเกษตรต่างๆ
2. ตลาดนักท่องเที่ยว สามารถแบ่งเป็น 2 กลุ่มหลักๆ คือ หนึ่ง ประชาชนและเกษตรกรทั่วไปที่มีความสนใจด้านการเกษตร เพื่อศึกษาหาความรู้เป็นแนวทางประกอบอาชีพ หรือเพื่อพัฒนาอาชีพการเกษตรของตนเอง และ สอง คือกลุ่มนักท่องเที่ยวที่มีความสนใจเฉพาะด้าน สนใจในการท่องเที่ยวธรรมชาติและกิจกรรมการเกษตรต่างๆ อยากเรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่และการประกอบอาชีพของเกษตรกร
3. การบริการการท่องเที่ยว หมายถึง การบริการสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้กับนักท่องเที่ยว เช่น การให้ข้อมูลหรือความรู้เกี่ยวกับ การประกอบอาชีพเกษตรกรรม การจัดจำหน่ายพืชผลและผลผลิตทางการเกษตรต่างๆ การให้บริการนำเที่ยว หรือด้านที่พักแกนักท่องเที่ยว (home stay / farm stay) เป็นต้น
ข้อ ดีของการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงเกษตรช่วยก่อให้เกิดผลดีทั้งในแง่ เศรษฐกิจและสังคมของประเทศในหลายๆ ด้านเช่น
ทำ ให้เกษตรกรมีรายได้จากการให้บริการการท่องเที่ยว และการจัดจำหน่ายผลผลิตทางการเกษตรต่างๆ ให้กับนักท่องเที่ยว เป็นการช่วยกระจายราย ได้สู่ชุมชนและท้องถิ่นระดับรากหญ้า ช่วยกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ และยังช่วยสร้างกระแสการไหลเวียน ของเงินตราภายในประเทศอีกด้วย เมื่อเกษตรกรมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการท่องเที่ยวนอกเหนือจากการประกอบอาชีพ หลักคือเกษตรกรรมแล้ว ย่อมจะส่งผลดีต่อชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรเอง อีกทั้งยังเป็นการช่วยยกระดับและส่งเสริมคุณภาพชีวิตของเกษตรกรให้ดีขึ้น นับว่าเป็นขบวนการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนและ ท้องถิ่นได้อีกทางหนึ่ง ซึ่งรายได้จากการ ท่องเที่ยวเชิงเกษตรนั้นอาจถือได้ว่าเป็นแหล่งรายได้เสริมที่สำคัญของ เกษตรกรในยามที่ผลผลิตจากภาคการเกษตร ตกต่ำในบางปีได้อีกด้วย
ช่วยให้เกิดความภาคภูมิใจและหวงแหนในอาชีพดั้งเดิม ของเกษตรกร ทำให้เกษตรกรและลูกหลานรู้สึกความภาคภูมิใจในอาชีพ การเกษตรของตนเอง จากเดิมที่อาชีพเกษตรกรรมไม่ได้รับความสนใจจากลูกหลานเนื่องจากเป็นอาชีพที่ ต้องทำงานหนัก เหนื่อยและมีรายได้น้อย เทียบไม่ได้กับอาชีพนอกภาคการเกษตรโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาชีพในภาคอุตสาหกรรม และการบริการ นอกจากนี้การท่องเที่ยวเชิงเกษตรยังช่วยอนุรักษ์และรักขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีงามเอาไว้ อีกทั้งยังเป็นการช่วยสืบทอดอาชีพดั้งเดิมของคนไทยไว้ให้เป็นมรดกทาง วัฒนธรรมของประเทศสืบต่อไป โครงการการท่องเที่ยวเชิงเกษตร ในบางพื้นที่จะมีการจัดตั้งองค์กรท้องถิ่นซึ่งจะเปิดโอกาสให้เกษตรกรมีส่วน ร่วมในการบริหารจัดการท้องถิ่นของตนเอง ทำให้เกิดความเข้มแข็งในชุมชนและร่วมกันในการบริหารงานภายในท้องถิ่น อีกทั้งยังเป็นการช่วยส่งเสริมพัฒนากลุ่มเกษตรกรและทรัพยากรบุคคลในท้องถิ่น ให้มีการเรียนรู้และทำงานร่วมกันในด้านต่างๆ
การ ท่องเที่ยวเชิงเกษตรให้โอกาสนักท่องเที่ยว ได้สัมผัสได้เรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรอย่างใกล้ชิด มีโอกาสได้เห็นความงดงามตามธรรมชาติ ความเขียวขจีของเรือกสวนไร่นา และความอุดมสมบูรณ์ของพืชพรรณธัญญาหารของเมืองไทย ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเมืองไทยเรานั้นเป็นแหล่งผลิตอาหารและผลไม้ที่สำคัญแห่ง หนึ่งของโลกก็ว่าได้ นักท่องเที่ยวจะได้รับความเพลิดเพลินและ การพักผ่อนหย่อนใจกับกิจกรรมการเกษตรต่างๆ และยังได้เรียนรู้และซึมซับภูมิปัญญาท้องถิ่นของพี่น้องเกษตรกรชาวไทยที่มี ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีต่างๆผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมา แต่ครั้งบรรพบุรุษได้อย่างลงตัวและไม่แพ้ชาติใดในโลก
ช่วย ก่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน ระหว่างนักท่องเที่ยว (คนต่างถิ่น) กับเกษตรกร (คนท้องถิ่น) ได้เป็นอย่างดีในการเรียนรู้ และแลกเปลี่ยน ความรู้ ความคิดเห็น ทัศนคติและประสบการณ์ต่างๆ ระหว่างกัน และยังช่วยลดช่องว่างระหว่างคนเมืองกับคนชนบท ได้เป็นอย่างดี อีกทั้งยังเป็นการช่วยปลูกจิตสำนึกที่ดีให้กับนักท่องเที่ยวให้มีความเข้าอก เข้าใจในอาชีพเกษตรกรรม ได้พบเห็น ได้เข้าใจปัญหา อุปสรรค ตลอดจนความยากลำบากของเกษตรกรในการประกอบอาชีพและการดำรงชีพ
การ ท่องเที่ยวเชิงเกษตรช่วยส่งเสริมและขยายแหล่งท่องเที่ยว ในเมืองไทยให้มีมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังช่วยให้คนไทยได้รู้จักแหล่งท่องเที่ยวใหม่ๆ และหันกลับม าเที่ยวภายในประเทศกันมากขึ้น ซึ่งการท่องเที่ยวเชิงเกษตรนั้นอาจถือได้ว่าเป็นการสร้างทางเลือกใหม่ในการ ท่องเที่ยว และยังสอดคล้อง กับกระแสความต้องการของนักท่องเที่ยวในปัจจุบันที่ให้ความสนใจและนิยมการ เดินทางท่องเที่ยวตามแหล่งธรรมชาติกันมากขึ้น จะเห็นได้ว่าการท่องเที่ยวเชิงเกษตร เป็นการท่องเที่ยวทางเลือกอีกรูปแบบหนึ่งที่นักท่องเที่ยวนอกจากจะได้รับ ความรู้ ความเพลิดเพลินและประสบการณ์โดยตรงจากเกษตรกรแล้ว ยังได้สัมผัสและเรียนรู้ถึงวิถีชีวิตความเป็นอยู่ วัฒนธรรมท้องถิ่นและเทคโนโลยีทางการเกษตรต่างๆ อีกทั้งยังเป็นการช่วยกระจายรายได้โดยตรงสู่เกษตรกร เป็นการเสริมสร้างความเข้มแข็งทางเศรษฐกิจให้กับชุมชนได้เป็นอย่างดี และที่สำคัญการท่องเที่ยวเชิงเกษตรนั้นยังช่วยให้คนไทยหันกลับ มาเที่ยวเมืองไทย ให้มากขึ้นในมุมมองที่ไม่เคยเห็นหรือสัมผัส มาก่อนกับอาชีพดั้งเดิมของบรรพบุรุษไทย
อ้างอิง :www.pattayadailynews.com