[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | + เลือกหน้า | All contents

ติดตามสินค้าที่คุณสั่ง
คุณ กนกวรรณ นาว รอดเพ็ชร, Friday 26 April 2024 14:29:17, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ สุริยา ศรีโภคา, Friday 26 April 2024 14:27:11, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ หนุ่ม, Friday 26 April 2024 13:20:29, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ อมรรัตน์ คำอยู่, Friday 26 April 2024 13:19:04, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ ชญานันท์ สิมสุนทร, Friday 26 April 2024 11:54:59, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ ลำพูล เพ็ชรรัตน์, Friday 26 April 2024 11:53:13, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ Wisuwat Kawwichit, Friday 26 April 2024 11:33:44, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ รุ่ง เพชร์วรรณ์, Friday 26 April 2024 11:12:16, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ อำพัน วัฒนาเสรีกุล, Friday 26 April 2024 11:11:08, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
คุณ Athip , Friday 26 April 2024 11:09:36, เลขจัดส่ง FLASH EXPRESS
ดูรายการจัดส่งทั้งหมด
อะมิโนโปรตีนจำเป็นสำหรับพืช 18 ชนิด แรปเตอร์ ตราไดโนเร็กซ์ ปุ๋ยน้ำ บำรุงพืช ปลอดภัยไม่มีเคมีตกค้าง 100% บำรุงพืชทุกชนิด
172.70.147.91: 2565/12/10 11:05:14
อะมิโนโปรตีนจำเป็นสำหรับพืช 18 ชนิด แรปเตอร์ ตราไดโนเร็กซ์ ปุ๋ยน้ำ บำรุงพืช ปลอดภัยไม่มีเคมีตกค้าง 100% บำรุงพืชทุกชนิด
อะมิโนโปรตีน แรปเตอร์อะมิโนโปรตีนจำเป็นสำหรับพืช 18 ชนิด
ช่วยในการสร้างฮอร์โมนพืช ทำให้เกิด การสร้างและขยายขนาดของเซลล์
เนื้อเยื่อ ขยายขนาดของเซลล์เนื้อเยื่อ และพัฒนาส่วนต่างๆ ของพืชเจริญ
เติบโตได้อย่างเต็มที่ ผ่านระยะการ ออกดอก และผลได้อย่างสมบูรณ์

ใช้ได้กับพืชทุกชนิด
เพิ่มคุณภาพ ปริมาณผลผลิต
แก้ปัญหาต้นโทร
อนุภาคขนาดเล็ก ดูดซึมง่าย
ช่วยสังเคาระห์แสง และสร้างอาหาร

อะมิโนโปรตีน แรปเตอร์ : ใช้อย่างไร?

1. ผสมน้ำฉีดพ่น พืชผัก
- 10-20 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร
- 10-20 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร
- 10-20 มล. ต่อน้ำ 20 ลิตร
2. นาข้าว พืชไร่ ไม้ผล 20-40 มล. : น้ำ 20 ลิตร
3. ผสมน้ำระบบน้ำหยด 500 มล. : 1 ไร่
4. ควรฉีดพ่น 2 ครั้ง / เดือน
* ไม่ควรฉีดพ่นช่วงระยะพืชออกดอก *
อ่าน:3001
ปลูกมังคุดให้ถูกวิธี ใส่ปุ๋ยให้กับมังคุด ฉีดพ่น FK-1 และ FK-3 เพิ่มผลผลิต ได้คุณภาพ
172.71.214.78: 2565/12/08 06:56:19
ปลูกมังคุดให้ถูกวิธี ใส่ปุ๋ยให้กับมังคุด ฉีดพ่น FK-1 และ FK-3 เพิ่มผลผลิต ได้คุณภาพ
ข้อมูลทางด้านล่างนี้ เป็นการปลูกมังคุดให้ได้ผลผลิตทีดี FK-1 และ FK-3 เป็นปุ๋ยทางใบประสิทธิภาพสูง ใช้เพิ่มผลผลิต และคุณภาพของผลมังคุดได้ดี

ฉีดพ่น FK-1 ในช่วงที่ต้องการเร่งการเจริญเติบโตของมังคุด ปุ๋ยน้ำ FK-1 จะส่งเสริมการเจริญเติบโต ขยายทรงพุ่ม สร้างความเขียวของใบ ทำให้ระบบรากแข็งแรงดูดกินอาหารได้ดีขึ้น มีสารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ประกอบอยู่ใน FK-1 ส่งเสริมกระบวนการสร้างอาหารให้กับต้นมังคุด มังคุดจึงโตใบ เขียวสมบูรณ์ แข็งแรง ต้านทานต่อโรคพืชได้ดีขึ้น

ฉีดพ่น FK-3 เมื่อมังคุดเริ่มติดผล ทำให้มังคุดผลโต น้ำหนักดี มีคุณภาพดี FK-3 ประกอบด้วยธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการส่งเสริมผลผลิตมังคุดอย่างครบถ้วน เน้นให้ ธาตุ โพแตสเซียม (K) สูงมาเป็นพิเศษถึง 40% จึงเน้นไปที่การส่งเสริมกระบวนการสะสมอาหารไปที่ผลมังคุดโดยตรง ทำให้มังคุดผลโต คุณภาพดี มีน้ำหนัก จึงได้ผลผลิตที่สูงขึ้น

การปลูกมังคุดให้ได้ผลผลิตดี

การวางผังปลูก มี 2 ระบบ คือ ระบบสี่เหลี่ยมจัตุรัส หรือสามเหลี่ยมด้านเท่า ระยะระหว่างแถวและต้น 8×8 เมตร หรือ 10×10 และระบบแถวกว้างต้นชิด ระยะปลูกระหว่างแถว 8×3 เมตร หรือ 10×5 เมตร

วิธีการปลูก มี 2 แบบ คือ การปลูกแบบเตรียมหลุมปลูก เหมาะกับพื้นที่ค่อนข้างแห้งแล้ง และการปลูกแบบนั่นแท่นหรือยกโคก เหมาะกับพื้นที่ฝนตกชุก ช่วยให้ดินระบายน้ำได้ดีขึ้น

การลดต้นทุน
ใช้ระยะปลูกและวิธีปลูกที่เหมาะสม สะดวกต่อการจัดการแปลงและการดูแลรักษา ทำให้ผลผลิตสูงและมีคุณภาพ

5. การใส่ปุ๋ยให้กับมังคุด
เก็บตัวอย่างดินและตัวอย่างพืชส่งวิเคราะห์ปริมาณธาตุอาหารและใส่ปุ๋ยให้สอดคล้องกับค่าวิเคราะห์ดินและใบ หรือ

การใส่ปุ๋ยหลังการเก็บเกี่ยว: ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ อัตรา 20-30 กิโลกรัม/ต้น ร่วมกับใส่ปุ๋ยสูตร 15-15-15 อัตรา (กิโลกรัม/ต้น) 1/3 ของเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม

การใส่ปุ๋ยในช่วงพัฒนาของผล: ใส่ปุ๋ยสัดส่วน 3:1:4 เช่นปุ๋ยสูตร 15-5-20 อัตรา(กิโลกรัม/ต้น) 1 ใน 3 ของเส้นผ่าศูนย์กลางทรงพุ่ม หรือตามค่าวิเคราะห์ดินหลังการติดผลทันที ร่วมกับพ่นปุ๋ยทางใบสัดส่วน 4:1:6 อัตรา 100 กรัม/น้ำ 20 ลิตร

การลดต้นทุน
ใส่ปุ๋ยตามค่าวิเคราะห์ดินและความต้องการของพืช และใส่ 3 ครั้ง หลังเก็บเกี่ยว ก่อนออกดอก และเมื่อติดผลผสมปุ๋ยใช้เองลดต้นทุนค่าปุ๋ยได้ 30-50ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ร่วมกับปุ๋ยเคมีและปุ๋ยชีวภาพให้ปุ๋ยในระบบน้ำ ลดต้นทุนการใช้แรงงาน 15-20%

การให้น้ำ
ให้น้ำเพียงพอกับความต้องการของมังคุดในแต่ละช่วงการเจริญเติบโต
ระยะติดผล อายุผลประมาณ 5 สัปดาห์ ให้น้ำทุก 3 วัน อัตรา 80% ของการให้น้ำปกติ
ระยะอายุผล 5 สัปดาห์ถึงก่อน 10 สัปดาห์ ให้น้ำอัตรา 90% ของการให้น้ำปกติ
ระยะอายุผลประมาณ 10-12 สัปดาห์ถึงเก็บเกี่ยว ให้น้ำอัตรา 80% ของการให้น้ำปกติ

7. การดูแลรักษา
การพรางแสง เพื่อให้ร่มเงาในช่วงแรกของการเจริญเติบโต อาจใช้วัสดุธรรมชาติช่วยพรางแสง หรืออาจปลูกต้นไม้โตเร็วระหว่างแถวมังคุด เช่น กล้วย ทองหลาง

การตัดแต่งและควบคุมทรงพุ่ม
มังคุดต้นเล็ก ตัดแต่งเฉพาะกิ่งด้านล่างให้สูงจากพื้นดินประมาณ 50 เซนติเมตร และกิ่งที่ซ้อนทับกันจนแน่นทึบออก

มังคุดที่ให้ผลผลิตแล้ว ตัดแต่งกิ่งที่อยู่ด้านข้างของทรงพุ่มที่ประสานกันออก ให้มีช่องว่างระหว่างชายพุ่มโดยรอบกับต้นข้างเคียงประมาณ 50-70 เซนติเมตร ตัดยอดที่สูงเกินต้องการออก ตัดกิ่งประธานหรือกิ่งรองออกด้านละ 1-5 กิ่ง ให้เลี้ยงกิ่งแขนงที่อยู่ในทรงพุ่มไว้เพื่อได้ผลผลิตเพิ่ม

อ้างอิงข้อมูลทางวิชาการ จาก กรมวิชาการเกษตร
ปลูกมังคุดให้ถูกวิธี ใส่ปุ๋ยให้กับมังคุด ฉีดพ่น FK-1 และ FK-3 เพิ่มผลผลิต ได้คุณภาพ
อ่าน:2956
โรคยางพาราใบจุด ใบร่วง ราสีชมพู ใช้ ไอเอส และ บำรุงให้ฟื้นตัวด้วย FK-1
162.158.162.87: 2565/12/07 07:03:17
โรคยางพาราใบจุด ใบร่วง ราสีชมพู ใช้ ไอเอส และ บำรุงให้ฟื้นตัวด้วย FK-1
อาการใบจุด ใบร่วง ใบไหม้ โรคราสีชมพู ในยางพารา อาการต่างๆเหล่านี้ มีสาเหตุจากเชื้อรา โรคยางพาราที่มีสาเหตุจากเชื้อรานั้น สามารถระบาดลุกลามไปได้อย่างรวดรวด หากไม่รีบป้องกันกำจัด เนื่องจากเชื้อรานั้นมีลักษณะการระบาดโดยแตกเป็นสปอร์ ปลิวไปกับลม ไปติดต้นที่ใกล้เคียง สามารถระบาดข้ามพื้นที่ได้ในระยะทางไกล การป้องกันกำจัด จึงเป็นการฉีดพ่นยา ให้ครอบคลุมบริเวณ ไม่เพียงฉีดพ่นเฉพาะส่วนที่ติดโรคเท่านั้น

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืชที่มีสาเหตุจากเชื้อรา สัดส่วนการใช้ 50ซีซี ต่อน้ำ 20ลิตร

FK-1 ฟื้นฟูบำรุงต้นยางพารา ให้กลับมาเจริญเติบโตได้ไว และให้ผลผลิตที่ดีขึ้น สัดส่วนการใช้ ในกล่องมีสองถุง ต้องผสมใช้พร้อมกันทั้งสองถุง ตักถุงละ 50กรัม ต่อน้ำ 20ลิตร

สามารถผสม ไอเอส และ FK-1 ฉีดพ่นไปพร้อมกันได้
โรคยางพาราใบจุด ใบร่วง ราสีชมพู ใช้ ไอเอส และ บำรุงให้ฟื้นตัวด้วย FK-1
อ่าน:2969
โรคใบติดใบไหม้ในต้นทุเรียน ใช้ ไอเอส ยับยั้งโรค และ FK-1 ฟื้นฟูบำรุง
172.70.188.79: 2565/12/06 06:25:00
โรคใบติดใบไหม้ในต้นทุเรียน ใช้ ไอเอส ยับยั้งโรค และ FK-1 ฟื้นฟูบำรุง
โรคใบติดทุเรียน หรืออาการทุเรียนใบไหม้ มีสาเหตุจากเชื้อราโรคพืช เชื้อราจะมีลักษณะเป็นสปอร์ ฟุ้งปลิวไปในอากาศ สามารถระบาดติดต่อกันได้ในระยะทางไกล โรคเชื้อรานี้ จึงมากับลม กับฝน ระบาดมาจากสวนข้างเคียง หรืออาจะห่างไกลกันหลายกิโลเมตร ก็อาจจะระบาดมาถึงสวนเราได้ อาการใบไหม้ใบติด จะระบาดจากเชื้อราที่ติดอยู่กับยอดใบที่อยู่ด้านบน หล่นลงมาติดกับใบทุเรียนที่อยู่ด่านล่าง จึงลุกลามติดต่อกันไปเรื่อยๆ จึงลุุกลามไปได้เรื่อยๆ ควรรีบป้องกันกำจัด

การฉีดพ่นเพื่อป้องกันกำจัดเชื้อราโรคพืชเหล่านี้ จึงต้องฉีดพ่นครอบคลุมบริเวณทั้งหมด เนื่องจากเชื้อราเป็นสปอร์ฟุ้งอยู่ในอากาศ เรามองไม่เห็น แน่นนอนว่า เมื่อเราเห็นโรคใบติด ใบไหม้ ในทุเรียน แม้ในต้นข้างเคียงที่ยังไม่แสดงอาการให้เห็น ก็อาจจะเริ่มติดโรคแล้ว

ใช้ไอเอส ผสมกับ FK-1 ฉีดพ่นครอบคลุมบริเวณสวนทุเรียน เพื่อป้องกันกำจัด และบำรุงให้ทุเรียนแตกยอดใบใหม่ได้รวดเร็ว กลับมาสมบูรณ์ แข็งแรง ต้านทานต่อโรคได้ดีขึ้น กลับมาให้ผลผลิตดีดังเดิม

หลายคนยังเข้าใจผิด คิดว่าการป้องกันกำจัดโรคราต่างๆนั้น เมื่อฉีดพ่นตัวยาลงไป จะทำให้ใบพืชที่เสียหายจากเชื้อรา หรือผลพืชที่เป็นเชื้อรา ผลเน่า จะกลับมาหาย ใบเขียว ผลสวยดังเดิม ในความเป็นจริงแล้ว ยาป้องกันกำจัดเชื้อราต่างๆ จะกำจัดเชื้อรา ทำให้เชื้อราฝ่อตาย ส่วนใบหรือผลผลิตที่เสียหายไปแล้ว จะหยุดการลุกลาม เนื้อเยื่อที่เสียหายแล้ว ก็เหมือนแผลเป็น เพียงแต่จะไม่เป็นเพิ่มขึ้น เราจึงต้องผสม FK-1 เพื่อเร่งให้พืชแตกยอดใบใหม่ และฟื้นฟูความแข็งแรงให้พืช หลังจากเชื้อราฝ่อตายลงไปแล้ว หากเปรียบเทียบกับคน เมื่อได้ยารักษาโรค ก็ต้องทานอาหารที่ดีควบคู่ไปด้วย จึงจะหายจากโรคได้เร็ว และกลับมาแข็งแรงขึ้นได้เร็วกว่าการรับแต่ยาแต่ไม่ได้ทานอาหาร
โรคใบติดใบไหม้ในต้นทุเรียน ใช้ ไอเอส ยับยั้งโรค และ FK-1 ฟื้นฟูบำรุง
อ่าน:3028
ขั้นตอนการให้ปุ๋ยมันสำปะหลัง ให้ได้ผลผลิตดี ด้วยการฉีดพ่นปุ๋ย FK คุณภาพสูง ในเวลาที่เหมาะสม
162.158.163.160: 2565/12/05 05:32:02
ขั้นตอนการให้ปุ๋ยมันสำปะหลัง ให้ได้ผลผลิตดี ด้วยการฉีดพ่นปุ๋ย FK คุณภาพสูง ในเวลาที่เหมาะสม
มันสำปะหลังต้องการธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตและการสร้างหัว สร้างแป้ง ใช้ปุ๋ย FK-1 ให้ถูกสูตร ในอัตราส่วนผสมที่ถูกต้อง ในช่วงเวลาที่เหมาะสม จะช่วยให้ต้นมันสำปะหลังเติบโตสมบูรณ์ โดยแนะน้ำให้ใช้ปุ๋ย FK-1 และ ปุ๋ย FK-3C ฉีดพ่นดังนี้

ระยะแรกปลูกจนถึงมันสำปะหลังอายุไม่เกิน 3 เดือน หากมีการใช้ปุ๋ยเคมีแบบเม็ดเพื่อเร่งการเจริญเติบโตแล้วในระยะนี้ ฉีดพ่น ปุ๋ยทางใบ FK-1 หนึ่งครั้ง ในช่วงมันสำปะหลังอายุ 2-3 เดือน กรณีไม่ได้ใช้ปุ๋ยเม็ดเลย ให้ฉีดพ่น FK-1 เดือนละหนึ่งครั้งต่อเดือน ในเดือนที่ 1 เดือนที่ 2 และเดือนที่ 3

ระยะมันสำปะหลังลงหัวสะสมอาหาร มีอายุ 4 เดือนขึ้นไป หากมีการใช้ปุ๋ยเม็ดสูตรเร่งหัว (สูตรที่มีโพแตสเซียมสูง เช่น 13-13-21 หรือ 0-0-60) ให้ฉีดพ่น ปุ๋ยทางใบ FK-3C ที่เป็นสูตรสำหรับเร่งหัว เพิ่มเปอร์เซ็นต์แป้งในมันสำปะหลัง 1 ครั้ง ในช่วงเดือนที่ 4-6 ช่วงเดือนใดก็ได้ สำหรับกรณีที่ไม่ได้ใช้ปุ๋ยเม็ดเพื่อบำรุงหัวมันสำปะหลังเลย ให้ฉีดพ่น FK-3C ปุ๋ยเร่งหัวมันสำปะหลัง เพิ่มเปอร์เซ็นแป้ง ในเดือนที่ 4 หนึ่งครั้ง เดือนที่ 5 หนึ่งครั้ง และเดือนที่ 6 อีกหนึ่งครั้ง เพื่อช่วนส่งเสริมกระบวนการสะสมแป้งและน้ำตาล มันสำปะหลังจะมีหัวใหญ่ น้ำหนักดี มีเปอร์เซ็นต์แป้งสูง
ขั้นตอนการให้ปุ๋ยมันสำปะหลัง ให้ได้ผลผลิตดี ด้วยการฉีดพ่นปุ๋ย FK คุณภาพสูง ในเวลาที่เหมาะสม
อ่าน:3004
ขายปุ๋ย FK-1 -ปุ๋ยนาข้าว คุณภาพสูง ข้าวแตกกอ โตไว ให้ผลผลิตดี
172.70.147.120: 2565/12/04 18:54:29
ขายปุ๋ย FK-1 -ปุ๋ยนาข้าว คุณภาพสูง ข้าวแตกกอ โตไว ให้ผลผลิตดี
ปุ๋ยน้ำฉีดพ่นนาข้าว FK-1 ประกอบด้วย ธาตุอาหารหลักที่จำเป็นที่สุดสำหรับการเจริญเติบโต และการเพิ่มผลผลิตข้าว ทำให้ข้าวแตกกอใหญ่ ใบเขียว ส่งเสริมผลผลิต ข้าวรวงยาว เมล็ดเต็ม ผลผลิตเพิ่มขึ้นทันทีในรอบการปลูกที่ฉีดพ่น FK-1
ขายปุ๋ย FK-1 -ปุ๋ยนาข้าว คุณภาพสูง ข้าวแตกกอ โตไว ให้ผลผลิตดี
อ่าน:2992
ปุ๋ยน้ำ สำหรับ มันสำปะหลัง FK-1 ประสิทธิภาพสูง มันสำปะหลังโตไว ใบเขียว แข็งแรง ต้านทานต่อโรค
162.158.170.107: 2565/12/04 06:46:57
ปุ๋ยน้ำ สำหรับ มันสำปะหลัง FK-1 ประสิทธิภาพสูง มันสำปะหลังโตไว ใบเขียว แข็งแรง ต้านทานต่อโรค
ปุ๋ยน้ำ FK-1 ให้ธาตุอาหารพืชครบถ้วน เต็มที่ตามที่มันสำปะหลังต้องการใช้ ในระยะส่งเสริมการเจริญเติบโต แตกยอดเขียว ทรงพุ่มหนา โตไว มีความสมบูรณ์แข็งแรง ประกอบด้วย ไนโตรเจน ที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต ฟอสฟอรัส ช่วยเสริมสร้างระบบรากให้แข็งแรง หาอาหารได้ดีขึ้น และโพแตสเซียม ที่ส่งเสริมผลผลิต ราคา 890 บาท ใช้ได้ในพื้นที่ 5 ไร่
ปุ๋ยน้ำ สำหรับ มันสำปะหลัง FK-1 ประสิทธิภาพสูง มันสำปะหลังโตไว ใบเขียว แข็งแรง ต้านทานต่อโรค
อ่าน:2984
พืชเศรษฐกิจ สินค้าสร้างรายได้ในครัวเรือนและประเทศ
162.158.178.163: 2565/12/01 08:52:35
พืชเศรษฐกิจ สินค้าสร้างรายได้ในครัวเรือนและประเทศ
ด้วยพื้นที่ของประเทศไทยมีความเหมาะสมในด้านการเกษตรจึงปฏิเสธไม่ได้ว่า พืช คือสิ่งที่ทำให้คนไทยมีอาหารเลี้ยงปากท้องและยังสร้างรายได้กับครัวเรือน ต่อยอดไปจนถึงการสร้างรายได้ให้ประเทศจนกลายเป็น พืชเศรษฐกิจ ที่เกษตรกรจำนวนมากยึดถือเป็นอาชีพ จึงอยากนำเสนอให้กับผู้ที่สนใจหรือคนที่อยากเรียนรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้เพื่อโอกาสในการสร้างประโยชน์ต่อตัวเองและประเทศชาติต่อไปในอนาคต

มารู้จักกับพืชเศรษฐกิจของไทย
อย่างที่กล่าวไปว่าพืชถือเป็นปัจจัยสำคัญในการหล่อเลี้ยงชีวิตให้กับคนไทยมาอย่างยาวนาน ซึ่งไม่ใช่แค่การบริโภคเท่านั้น แต่เมื่อปลูกในปริมาณมากขึ้นก็ย่อมสร้างรายได้ให้กับเกษตรมากตามไปด้วย ตั้งแต่อดีตมาจนถึงปัจจุบันมีพืชเศรษฐกิจที่ส่งเสริมอาชีพ ทำเงินให้กับคนในประเทศเป็นจำนวนมาก ทั้งนี้ไม่ใช่หมายถึงการส่งออกพืชเหล่านั้นแบบสด ๆ เพียงอย่างเดียว แต่หลายชนิดยังถูกนำมาแปรรูปเพื่อสร้างประโยชน์และเม็ดเงินได้อีกมากมาย

พืชเศรษฐกิจเหล่านี้ไม่ใช่แค่การบริโภคของคนเพียงอย่างเดียว แต่ยังรวมถึงการถูกนำไปเลี้ยงสัตว์และทำประโยชน์ในด้านอื่น ๆ เพื่อให้เกิดความคุ้มค่ามากที่สุดด้วย นี่คือความโชคดีของประเทศไทยด้วยพื้นที่และสภาพอากาศเหมาะสมจึงสามารถปลูกพืชต่าง ๆ ได้หลากหลายชนิดในแบบที่หลายประเทศไม่เคยทำได้ แหล่งรายได้หลักจึงมักมาจากประเทศพัฒนาแล้วแต่ขาดแคลนด้านการผลิตจึงต้องอาศัยการนำเข้านั่นเอง มารู้จักกับพืชเศรษฐกิจของไทยให้มากขึ้น พร้อมเรียนรู้เรื่องราวอื่น ๆ ไปพร้อมกันได้เลย มีสิ่งที่หลายคนอาจไม่รู้อีกมากทีเดียว

พืชเศรษฐกิจในปัจจุบัน
อย่างที่กล่าวไปว่าหนึ่งในรายได้ที่ช่วยสร้างเศรษฐกิจของประเทศไทยให้ดีขึ้นมาจาก พืชเศรษฐกิจ ดังนั้นบรรดาพืชที่จะกล่าวถึงนี้ยังคงถูกขนานนามให้เป็นพืชเศรษฐกิจในปัจจุบันเหมือนเดิม พร้อมทั้งยังทำเงินให้กับเกษตรกรและประเทศอย่างต่อเนื่อง จะมีอะไรบ้างมาดูกันเลย

ข้าว
ข้าว คือ อาหารหลักของคนไทยและผู้คนอีกจำนวนมาก จึงต้องยอมรับว่ายังคงเป็นพืชเศรษฐกิจในปัจจุบันที่ได้รับความต้องการจากประเทศคู่ค้ามหาศาลในแต่ละปี โดยเฉพาะพันธุ์ข้าวที่ถูกยกย่องว่าดีสุดของโลกอย่าง ข้าวหอมมะลิ ด้วยรสสัมผัสอันเนียนนุ่ม บวกกับรสชาติที่มีความหวานในตัว จึงไม่ใช่เรื่องแปลกหากใครที่ได้ทานต่างก็พูดเป็นเสียงเดียวกันว่าอร่อย ซึ่งจริง ๆ แล้วข้าวอันถือเป็นพืชเศรษฐกิจหลักของเมืองไทยนั้นไม่ได้มีแค่ข้าวหอมมะลิเพียงอย่างเดียว แต่ยังมีสายพันธุ์อื่น ๆ ด้วย เช่น ข้าวเหนียว ข้าวหอม ข้าวขาวพื้นแข็ง เป็นต้น ซึ่งพันธุ์ข่าวที่ถูกส่งออกมากที่สุดได้แก่ ข้าวขาวพื้นแข็ง คิดเป็นเกือบ 50% ของข้าวพันธุ์อื่น ๆ โดยกลุ่มประเทศที่เป็นคู่ค้ารายใหญ่ในการส่งออกข้าวของประเทศไทยคือ จีน และสหรัฐฯ แม้ในปัจจุบันจะมีคู่แข่งรายสำคัญอย่างเวียดนามที่ส่งออกข้าวได้มากกว่า แต่ด้วยคุณภาพจึงต้องยอมรับในด้านของความพึงพอใจที่ผู้บริโภคมีนั้น ข้าวของประเทศไทยยังคงเป็นที่ชื่นชอบ

ยางพารา
หากบอกว่านี่คือพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญรองลงมาจากข้าวคงไม่ใช่เรื่องผิดนัก แม้ว่าราคาในประเทศจะมีปรับขึ้น-ลงตามความเหมาะสม แต่ด้วยปัจจุบันการน้ำยางยังคงเป็นที่ต้องการของตลาดโลกเพื่อนำไปทำสิ่งต่าง ๆ ให้มนุษย์ได้ใช้งานมากมาย อาทิ ยางรถยนต์ ส่วนผสมในการทำยางมะตอยเทพื้น ยางกันรั่วซึม ถุงยางอนามัย และอื่น ๆ อีกมาก ผลิตภัณฑ์ยางพาราของไทยนั้นมีการส่งออกทั้งแบบน้ำยางดิบและผ่านการแปรรูปมาแล้ว จึงส่งผลถึงการสร้างรายได้ที่หลากหลาย ในอดีตการปลูกยางมักปลูกกันแถบภาคใต้ ทว่าปัจจุบันได้มีการพัฒนาและปรับพื้นที่ในภาคอื่น ๆ โดยเฉพาะภาคตะวันออกเฉียงเหนือในการปลูกยางพารากันมากขึ้น สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรมากตามไปด้วย การที่ยางพาราถูกจัดให้เป็นพืชเศรษฐกิจลำดับที่ 2 ต่อจากข้าว เพราะ ประเทศไทยยังคงถูกยกให้เป็นผู้ส่งออกอันดับ 1 ของโลกมาร่วม 30 ปี โดยคิดเป็นเกือบ ๆ 30% ของยางพาราทั้งหมดที่ใช้งานกันในทุกประเทศ

อ้อย
พืชเศรษฐกิจในปัจจุบันที่กำลังมีความต้องการสูงมาก ๆ ในต่างประเทศ ซึ่งการส่งออกอ้อยนั้นไม่ได้หมายถึงการส่งออกไปแบบสด ๆ เพียงอย่างเดียว แต่มีการนำไปแปรรูปเป็นน้ำตาลทรายเพื่อใช้ปรุงอาหาร รวมถึงมีการนำไปใช้เป็นพลังงานทดแทนต่าง ๆ (น้ำตาลทรายจะถูกส่งออกมากที่สุด) เมื่อเทียบกันในระดับโลกแล้ว ประเทศไทยมีการสร้างรายได้จากอ้อยมากเป็นอันดับ 2 รองเพียงแค่บราซิลประเทศเดียวเท่านั้น จึงเป็นสิ่งที่แสดงให้เห็นว่าพืชเศรษฐกิจกลุ่มนี้ยังคงมีความสำคัญต่อการสร้างรายได้ให้กับเกษตรกรและประเทศมากจริง ๆ ในอดีตการปลูกอ้อยมักกระจายตามแถบพื้นที่ราบลุ่มและทนแล้งในระดับหนึ่ง เช่น นครสวรรค์ อุดรธานี นครราชสีมา กาญจนบุรี กำแพงเพชร แต่ทุกวันนี้มีเกษตรกรที่หันมาปลูกไร่อ้อยกันมากขึ้นกว่าเดิม เนื่องจากได้ราคาดี ดูแลง่าย เก็บเกี่ยวรวดเร็ว ไม่ต้องรอนานเหมือนกับพืชหลาย ๆ ชนิดอีกด้วย

มันสำปะหลัง
พืชอีกชนิดที่ถูกยกให้เป็นผลิตภัณฑ์สร้างเศรษฐกิจให้กับประเทศไทยมากในลำดับต้น ๆ ปกติแล้วมันสำปะหลังจะไม่ได้ถูกนำไปใช้ประกอบอาหารของคน แต่จะถูกนำไปแปรรูปเป็นอาหารสัตว์เนื่องจากมีคุณค่าโภชนาการสูง อีกทั้งยังมีการนำไปแปรรูปเพิ่มเติมกลิ่นให้กับอาหารมีความน่าทานมากขึ้น_ ผลิตเป็นน้ำมันเอทานอลเพื่อใช้งานแทนที่พลังงานจากน้ำมันดิบ นั่นส่งผลให้พืชเศรษฐกิจตัวนี้มีความต้องการในตลาดโลกสูงมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งไม่ใช่แค่ในประเทศจีนเท่านั้น แต่ประเทศทางแถบยุโรปรวมถึงสหรัฐฯ เองต่างก็เป็นคู่ค้ารายสำคัญเกี่ยวกับการสร้างเม็ดเงินให้ประเทศอีกด้วย ปัจจัยหลัก ๆ ที่ทำให้พืชชนิดนี้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจมาจากพื้นที่อันมีแสนอุดมสมบูรณ์ในเมืองไทย จึงปลูกมันสำปะหลังได้ง่าย ดูแลไม่ยุ่งยาก ได้ผลผลิตดี เป็นไปตามความคาดหวังของเกษตรกร หากลองไปพื้นที่ตามต่างจังหวัดจะสังเกตว่ามีพืชชนิดนี้ปลูกอยู่เยอะมาก ๆ

ปาล์มน้ำมัน
การส่งออกของพืชชนิดนี้จะผ่านการแปรรูปให้กลายเป็นน้ำมันปาล์มเพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรที่ปลูกเป็นอย่างดี ซึ่งทางภาครัฐเองให้ความสำคัญกับผลผลิตชนิดนี้พอสมควร เนื่องจากเมื่อเกษตรกรจำนวนมากเลือกปลูก พอผ่านการแปรรูปแล้วปรากฏว่าของล้นตลาดจนต้องเร่งระบายออกไม่ให้ราคาตกมากเกินไปนัก ซึ่งถ้ามองในมุมของเกษตรกร เมื่อเกิดความต้องการเยอะ ผลผลิตของพวกเขาก็ขายได้รวดเร็วมากขึ้น มีราคาดีกว่าการปล่อยเอาไว้ให้ราคาตก แม้ในบรรดาพืชเศรษฐกิจทั้งหมดที่กล่าวมานี้ปาล์มน้ำมันอาจไม่ใช่พืชที่สร้างรายได้จากจำนวนเงินมหาศาลมากนัก แต่ทั้งนี้ก็ยังถือว่าเป็นพืชที่คนไทยนิยมปลูก เพราะให้ผลผลิตดี ดูแลไม่ยาก ที่สำคัญยังสามารถนำเอาไว้ใช้ในประเทศได้อีกด้วย ยิ่งเมื่อรัฐมีนโยบายที่ใส่ใจมากขึ้นก็เท่ากับโอกาสสร้างรายได้อย่างยั่งยืน

พืชเศรษฐกิจ มีกี่ประเภท
หลังจากการรู้จักกับบรรดาพืชเศรษฐกิจในปัจจุบันของไทยกันไปแล้ว คราวนี้ก็มาต่อกันที่พืชเศรษฐกิจ มีกี่ประเภทกันบ้าง โดยปกติจะแบ่งออกได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ ตามลักษณะของการปลูกหรือการเกิดขึ้น ดังนี้

พืชไร่
เป็นประเภทของพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญในลำดับต้น ๆ ของเมืองไทย เพราะจากทั้ง 5 ชนิดที่กล่าวมาก่อนหน้าล้วนเป็นพืชไร่ทั้งสิ้น จุดเด่นของพืชเศรษฐกิจประเภทนี้คือ ดูแลรักษาง่าย ไม่ต้องมีขั้นตอนใด ๆ เพื่อป้องกันการเสียหายมากนัก ปลูกได้ดีในพื้นที่ลุ่มดอน มีน้ำเข้าถึงง่าย แต่อาจต้องใช้พื้นที่ในปริมาณมากเพื่อให้เกิดผลผลิตในแบบที่คาดหวังเอาไว้ ปกติแล้วมักปลูกแบบพืชฤดูกาลเดียว คือ ใช้พื้นที่เดียวแต่ปลูกพืชหลาย ๆ อย่างตามแต่ฤดูกาล เช่น ช่วงหน้าฝนทำนา หลังหมดฤดูกาลเก็บเกี่ยวก็จะเปลี่ยนเป็นไร่อ้อย ไร่มันสำปะหลัง ไร่ถั่ว เป็นต้น ทั้งนี้หากแยกกลุ่มของพืชไร่ออกมาสามารถแบ่งย่อยได้คือ

กลุ่มธัญพืช เช่น ถั่วประเภทต่าง ๆ_ ข้าวโพด_ ข้าวโอ๊ต_ ข้าวสาลี
กลุ่มพืชน้ำมัน เช่น ปาล์มน้ำมัน_ อ้อย
กลุ่มพืชน้ำตาล เช่น อ้อย
กลุ่มพืชเส้นใย เช่น ฝ้าย_ ปอ_ ป่าน_ กล้วย_ มะพร้าว
กลุ่มพืชหัว เช่น มันสำปะหลัง_ มันแกว_ มันเทศ_ เผือก
กลุ่มพืชอาหารสัตว์ เช่น มันสำปะหลัง_ หญ้ากีนี
กลุ่มพืชออกฤทธิ์ต่อระบบประสาท เช่น ชา_ กาแฟ_ ยาสูบ
พืชสวน
เป็นประเภทของพืชเศรษฐกิจที่มีความหลากหลาย ไม่จำกัดพื้นที่ว่าจะมีขนาดเท่าไหร่ สามารถนำเอาไปใช้ประโยชน์ต่าง ๆ ได้หลากหลาย ซึ่งแบ่งย่อยออกได้ดังนี้

กลุ่มพืชผัก มักใช้ในการประกอบอาหารจากส่วนต่าง ๆ ของผลผลิตไม่ว่าจะเป็นใบ_ ดอก_ ราก_ ต้น_ เมล็ด
กลุ่มพืชผล หรือ ผลไม้ ส่วนใหญ่จะใช้จากผลเป็นหลัก มักเป็นกลุ่มพืชที่มีอายุยืน ใช้เวลานาน หลายชนิดจึงมีราคาแพง
กลุ่มไม้ดอก ไม้ประดับ เป็นพืชเศรษฐกิจกลุ่มใหม่ที่กำลังมาแรงมาก นำไปใช้งานในด้านการประดับตกแต่งเป็นส่วนใหญ่
ไม้เศรษฐกิจในปัจจุบันกลุ่มนี้ถือว่าต้องปฏิบัติตามกฎระเบียบเพื่อไม่เกิดปัญหาเรื่องการบุกรุกป่า หรือการตัดไม้ทำลายป่า ซึ่งบรรดาไม้เศรษฐกิจที่ยังได้รับความนิยม เช่น ไม้ยางพารา_ ไม้เต็ง_ ไม้รัง_ ไม้มะฮอกกานี_ ไม้ไผ่_ ไม้ยูคาลิปตัส รวมถึงการถูกนำไปแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ต่าง ๆ
พืชเศรษฐกิจในอนาคต
แม้ว่าพืชเศรษฐกิจในปัจจุบันที่กล่าวถึงไปจะยังคงเป็นหัวใจหลักในการสร้างรายได้ให้กับประเทศ แต่ก็มีพืชอีกหลายชนิดที่ถูกมองว่าจะกลายเป็นพืชเศรษฐกิจในอนาคต โดยขอยกตัวอย่างดังนี้

พริกชี้ฟ้า
ปลูกง่าย ให้ผลผลิตรวดเร็วทันใจ เพียงแค่ 2-3 เดือน ก็สามารถทำเงินได้ทันที นอกจากการขายหรือส่งออกแบบสด ๆ แล้ว ยังแปรรูปเป็นอย่างอื่นได้ เช่น ซอสพริก_ พริกแห้ง_ พริกป่น เป็นต้น

ไผ่กิมซุง
หรือไผ่ตงลืมแล้ง พืชเศรษฐกิจในอนาคตที่คาดว่ามีโอกาสนำมาทดแทนยางพารา เพราะสามารถทำประโยชน์ได้หลากหลาย เช่น การเก็บหน่อขายสด แปรรูป_ การนำไปทำเป็นเชื้อเพลิง รวมถึงประโยชน์ในด้านประมง

แมคคาเดเมีย
กลายเป็นพืชที่ได้รับความนิยมสูงทั้งในเมืองไทยและต่างประเทศ ส่งผลให้มีเกษตรกรจำนวนมากหันมาปลูกมากขึ้น เพราะนอกจากส่งผลผลิตสด ๆ แล้ว ยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นอย่างอื่นได้ เช่น น้ำมัน_ สบู่

โกโก้
พืชเศรษฐกิจที่ถูกมองว่าในอนาคตจะสร้างรายได้อย่างยั่งยืน โดยปัจจุบันผลผลิตที่ได้จำหน่ายในประเทศ 80% และส่งออกประเทศเพื่อนบ้าน 20%

เรื่องราวเกี่ยวกับพืชเศรษฐกิจที่ได้กล่าวมาทั้งหมดนี้น่าจะช่วยเพิ่มแนวคิดหรือแนวทางดี ๆ ในการต่อยอดเพื่อสร้างโอกาสในการทำรายได้ให้กับตนเอง รวมถึงยังเป็นการสร้างเม็ดเงินให้เข้ามาภายในประเทศมากขึ้นอีกด้วย



ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..
พืชเศรษฐกิจ สินค้าสร้างรายได้ในครัวเรือนและประเทศ
อ่าน:2935
กัญชา สร้างอาชีพ รายได้หลักแสน! สาวกพลังใบทำเงินจากอะไรได้บ้าง?
172.71.214.78: 2565/11/19 14:50:48
กัญชา สร้างอาชีพ รายได้หลักแสน! สาวกพลังใบทำเงินจากอะไรได้บ้าง?
การประกาศ ปลดล็อกกัญชา ของประเทศไทยอย่างเป็นทางการ นอกจากจะเอื้อประโยชน์ต่อการใช้กัญชาทางการแพทย์แล้ว ยังอาจต่อยอดสู่อาชีพที่เกี่ยวข้องกับ กัญชา และเพิ่มโอกาสสร้างรายได้ช่องทางใหม่ๆ ให้แก่คนไทยได้มากขึ้น ซึ่งแน่นอนว่าต้องเป็นอาชีพที่ถูกกฎหมายและมีการควบคุมดูแลอย่างเคร่งครัด

หากมองในต่างประเทศที่มีการใช้ กัญชาเสรี พบว่า มีอาชีพเกิดใหม่ต่อยอดจากการปลูกและการใช้กัญชาอย่างหลากหลาย และมีรายได้สูงถึงหลักแสนบาท! ยกตัวอย่างเช่น ในสหรัฐอเมริกามีผู้ประกอบการร้านอาหารและร้านยาหลายแห่ง ต่างกำลังมองหาผู้เชี่ยวชาญด้านกัญชามาร่วมงานด้วย ซึ่งมีตำแหน่งงานเกี่ยวกับกัญชาที่น่าสนใจมากมาย

1. ผู้เชี่ยวชาญด้านกัญชา (Budtender)

อาชีพนี้ทำหน้าที่เหมือนเป็น บาร์เทนเดอร์ ผสมกับ เภสัชกร มีหน้าที่แจ้งข้อมูลประโยชน์และโทษของกัญชาให้แก่ลูกค้า มีความรอบรู้ในอุตสาหกรรมกัญชา แนะนำกัญชาสายพันธุ์ต่างๆ ได้ดี รับฟังความต้องการของลูกค้าและคัดเลือกสายพันธุ์กัญชาที่เหมาสมให้แก่ลูกค้า ในสายงานนี้จะต้องรู้จักกัญชาทุกสายพันธุ์ รู้จักสารออกฤทธิ์ในกัญชาแต่ละชนิด รวมทั้งผลกระทบทั้งหมดที่จะเกิดขึ้นต่อผู้ใช้กัญชา รายได้ : 138,000 บาท/เดือน

2. นักคิดค้นเมนูอาหารกัญชา (Edibles Producer)

อาชีพนี้ทำหน้าที่คล้ายกับ Chef มีหน้าที่คิดค้นเมนูอาหารจากกัญชา และควบคุมการผลิต จะต้องมีความรู้ในเรื่อง food science มีความสามารถในการทำอาหาร และรู้เรื่องวิทยาศาสต์ของสารเคมีในกัญชาต่างๆ อย่างดี

สายงานนี้ต้องวัดค่าสารสกัดกัญชาในอาหารได้อย่างแม่นยำ เพื่อให้แน่ใจว่าบริโภคได้อย่างปลอดภัย ผู้ผลิตต้องควบคุมปริมาณทุกครั้งที่ใส่ในอาหาร อย่างไรก็ตาม เชฟจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับรหัสกัญชาของแต่ละรัฐด้วย ซึ่งสามารถเปลี่ยนแปลงได้บ่อยครั้ง อีกทั้งต้องคอยอัปเดตกฎหมายที่เกี่ยวกับกัญชาเพื่อการบริโภคทั้งหมด รายได้ : 152,000 - 212,000 บาท/เดือน

3. นักเขียน/นักวิจารณ์กัญชา (Marijuana Journalist)

อาชีพนี้ทำหน้าที่เขียนเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับ กัญชา ทั้งการเขียนให้ความรู้และเขียนเชิงวิจารณ์หรือแนะนำกัญชาใสนแต่ละสายพันธุ์ รวมถึงแนะนำคลินิกกัญชาทางการแพทย์ ร้านค้ากัญชา ร้านอาหารกัญชา โดยสายอาชีพนี้จะต้องมีทักษะด้านประวัติศาสตร์ วิทยาศาสตร์ พฤกษาศาสตร์ ภาษาศาสตร์ ฯลฯ รายได้ : ขึ้นอยู่กับชื่อเสียงและผลงาน

4. ผู้ดูแลการปลูกกัญชา (Grower/Grow Master)

อาชีพนี้ทำหน้าที่ควบคุมการปลูกกัญชาทุกกระบวนการ ต้องมีความรอบรู้ทุกด้านเกี่ยวกับวิธีปลูกและดูแลพืชกัญชา ตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง มีประสบการณ์สูง และส่วนใหญ่มักเป็นผู้ที่มีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในแวดวงนี้ รายได้ : 217,000 - 443,000 บาท/เดือน

5. เจ้าของฟาร์ม/แล็บกัญชา (Grow Site Owner)

เจ้าของฟาร์มกัญชาหรือเจ้าของแล็บกัญชา ต้องมีเงินมากพอที่จะจ้างงาน รวมทั้งการก่อสร้างฟาร์ม ห้องแล็บ รวมทั้งต้องมีความรู้ในแบบที่ผู้ดูแลกัญชาต้องมี และทำหน้าที่บริหารจัดการทุกอย่างในฟาร์ม รายได้ : ผลกำไรทั้งหมด!

หมายเหตุ : เป็นกลุ่มอาชีพถูกกฎหมายที่พบในต่างประเทศ และอัตราเงินเดือนอัปเดตข้อมูลล่าสุด ณ เดือน มิ.ย.65


ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..
อ่าน:2971
อย.เผย อย่ากังวล น้ำดื่มบรรจุขวดไทย มีคุณภาพมาตรฐาน
162.158.170.124: 2565/11/19 14:16:53
อย.เผย อย่ากังวล น้ำดื่มบรรจุขวดไทย มีคุณภาพมาตรฐาน
อย. ยัน น้ำดื่มบรรจุขวดของไทย มีคุณภาพมาตรฐานสากลและตามกฎหมาย ขอผู้บริโภคอย่ากังวล เผยกรณีสื่อต่างประเทศรายงานพบน้ำดื่มบรรจุขวดของไทยปนเปื้อน เป็นอันตรายต่อสุขภาพ และอาจเพิ่มความเสี่ยงโรคมะเร็ง นั้น ยังไม่มีการรับรอง

นพ.วันชัย สัตยาวุฒิพงศ์ เลขาธิการคณะกรรมการอาหารและยา เปิดเผยว่า ตามที่องค์กรสื่อไม่แสวงผลกำไร Orb Media ในสหรัฐ เผยแพร่ผลการศึกษา พบว่าน้ำดื่มบรรจุขวดหลายยี่ห้อที่วางจำหน่ายใน 9 ประเทศ รวมถึงไทย มีการปนเปื้อนของอนุภาคพลาสติกขนาดเล็ก อาจมีส่วนเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็งบางชนิดนั้น อย. ขอแจ้งให้ทราบว่า จากผลงานวิจัยตามข่าว ยังไม่มีหลักฐานที่แน่ชัดจากรายงานการศึกษาหรือจากงานวิจัยที่ระบุว่า การปนเปื้อนดังกล่าวเป็นอันตรายต่อสุขภาพของมนุษย์ ซึ่งทั้งองค์การอนามัยโลก (WHO) และองค์การอาหารและยาสหรัฐอเมริกา ยังไม่ได้รับรองผลการศึกษาดังกล่าว

สำหรับประเทศไทยน้ำดื่มบรรจุขวดยังคงมีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค โดยสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้กำหนดคุณภาพน้ำดื่มบรรจุขวดตามมาตรฐานสากล ซึ่งประกอบไปด้วยภาชนะบรรจุขวดน้ำดื่มที่ทำจากพลาสติกต้อง มีคุณภาพเป็นไปตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 295) พ.ศ.2548 เช่น สะอาดไม่มีสารหรือสีออกมาปนเปื้อนกับอาหารในปริมาณที่อาจเป็นอันตรายต่อสุขภาพ ไม่มีจุลินทรีย์ที่ทำให้เกิดโรค พบปริมาณตะกั่วและแคดเมียมในพลาสติกได้ไม่เกินชนิดละ 100 มิลลิกรัมต่อ 1 กิโลกรัม เป็นต้น

ในส่วนของน้ำดื่มจะต้องมีคุณภาพตามประกาศกระทรวงสาธารณสุข (ฉบับที่ 61) พ.ศ. 2524 และฉบับแก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งอ้างอิงตามข้อแนะน้าของ WHO ทางด้านสถานที่ผลิตต้องปฏิบัติตาม หลักเกณฑ์และวิธีการที่ดีในการผลิตอาหาร (GMP) มีการควบคุมการผลิต ตั้งแต่การปรับคุณภาพน้ำเพื่อขจัดอันตรายและสิ่งแปลกปลอมต่างๆ จนทำให้น้ำมีมาตรฐานตามที่กฎหมายกำหนด รวมถึงต้องมีการล้างภาชนะก่อนการบรรจุทุกครั้ง

ส่วนข้อมูลใหม่จากองค์กรสื่อไม่แสวงผลกำไรของประเทศสหรัฐอเมริกา คงต้องรอเวลาการพิสูจน์จากนานาชาติ รวมถึง USFDA ถ้ามีข้อมูลที่สามารถพิสูจน์ยืนยันได้และได้รับการรับรองจากผู้เชี่ยวชาญในระดับนานาชาติ ประเทศไทยก็พร้อมที่จะปรับเปลี่ยนข้อกำหนดใหม่ เลขาธิการฯ กล่าวในตอนท้ายว่า ขอให้ผู้บริโภคอย่ากังวล อย. มีมาตรการในการควบคุมผลิตภัณฑ์อาหารที่จำหน่ายในประเทศ เพื่อคุ้มครองความปลอดภัยของผู้บริโภคอย่างเข้มงวด

หากผู้บริโภคพบผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่ได้รับความปลอดภัยจากการบริโภค ขอให้ร้องเรียนมาได้ที่สายด่วน อย. โทร 1556 หรืออีเมล [email protected] หรือ ตู้ ปณ. 1556 ปณฝ. กระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี 11004 หรือ ร้องเรียนผ่าน Oryor Smart Application หรือ สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ เพื่อ อย. จะได้ดำเนินคดีตามกฎหมายกับผู้ที่กระทำผิดต่อไป


ข้อมูลจาก http://ไปที่..link..
อ่าน:2964
3498 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 349 หน้า, หน้าที่ 350 มี 8 รายการ
|-Page 213 of 350-| 1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 | 217 | 218 | 219 | 220 | 221 | 222 | 223 | 224 | 225 | 226 | 227 | 228 | 229 | 230 | 231 | 232 | 233 | 234 | 235 | 236 | 237 | 238 | 239 | 240 | 241 | 242 | 243 | 244 | 245 | 246 | 247 | 248 | 249 | 250 | 251 | 252 | 253 | 254 | 255 | 256 | 257 | 258 | 259 | 260 | 261 | 262 | 263 | 264 | 265 | 266 | 267 | 268 | 269 | 270 | 271 | 272 | 273 | 274 | 275 | 276 | 277 | 278 | 279 | 280 | 281 | 282 | 283 | 284 | 285 | 286 | 287 | 288 | 289 | 290 | 291 | 292 | 293 | 294 | 295 | 296 | 297 | 298 | 299 | 300 | 301 | 302 | 303 | 304 | 305 | 306 | 307 | 308 | 309 | 310 | 311 | 312 | 313 | 314 | 315 | 316 | 317 | 318 | 319 | 320 | 321 | 322 | 323 | 324 | 325 | 326 | 327 | 328 | 329 | 330 | 331 | 332 | 333 | 334 | 335 | 336 | 337 | 338 | 339 | 340 | 341 | 342 | 343 | 344 | 345 | 346 | 347 | 348 | 349 | 350 |
โมลิบดินัม (Mo) หากขาดธาตุนี้ พืชคล้ายจะถูกจำกัดการเจริญเติบโต
Update: 2565/07/28 07:17:02 - Views: 3408
ป้องกัน กำจัด รักษา โรคแอนแทรคโนสใน มะลิ
Update: 2563/12/03 08:49:14 - Views: 4612
โรคลิ้นจี่ ใบจุดสนิม ใบจุดสาหร่าย โรคราสนิมลิ้นจี่ โรคราดำลิ้นจี่ ลิ้นจี่ใบไหม้ โรคลิ้นจี่ต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา
Update: 2564/08/31 10:27:27 - Views: 3241
ตอก - ใช้มัดข้าวหลังการเก็บเกี่ยวข้าวด้วยมือของชาวนา รู้จักกันหรือไม่?
Update: 2564/04/06 09:28:20 - Views: 4357
เพลี้ย เพลี้ยจะใช้ปากดูดสารอาหารจากยางหรือของเหลวจากต้นไม้ เป็นเหตุให้ผลผลิตพืชเสียหาย
Update: 2563/11/11 20:33:44 - Views: 5127
การป้องกันกำจัด โรคเหี่ยวในแตงกวา ที่เกิดจากเชื้อรา ฟิวซาเรียม
Update: 2566/01/12 10:20:20 - Views: 3189
เพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง ด้วย FK-1 890บาท และ FK-3S 950บาท ใช้ได้ 5 ไร่
Update: 2562/10/08 15:58:46 - Views: 8341
ควบคุม ป้องกัน กำจัด แมลงศัตรูพืช และโรคพืช ที่ติดเชื้อ และไม่ติดเชื้อ
Update: 2563/11/05 09:37:56 - Views: 6061
มันสำปะหลังอินทรีย์ จ.อุบลราชธานี พืชยกระดับรายได้เกษตรกร มีตลาดรองรับ
Update: 2564/05/03 15:16:55 - Views: 4924
ยาฆ่าเพลี้ย แมลงจำพวกปากดูด ใน ส้ม เป็นสารชีวภาพปลอดภัย ปลอดสารพิษ มาคาและ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2566/03/11 09:51:34 - Views: 3013
ทำความรู้จักกับศัตรูพืช: การจัดการหนอนในดอกกล้วยไม้
Update: 2566/11/22 12:30:24 - Views: 244
มันสำปะหลังพันธุ์ระยอง 72 และ KU 50 ทนต่อโรคใบด่าง และควรเลือกใช้ท่อนพันธุ์ จากแหล่งที่ปลอดโรค หยุดการแพร่ระบาด โรคมันสำปะหลังใบด่าง ได้เป็นอย่างดี
Update: 2563/06/13 15:50:29 - Views: 6761
การป้องกันกำจัดโรคเชื้อราในพืชกระบองเพชร
Update: 2566/05/09 11:44:14 - Views: 2962
การควบคุมศัตรูพืชโดยชีววิธี
Update: 2563/11/12 09:26:17 - Views: 4600
ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับธาตุอาหารของพืช ธาตุหลัก ธาตุรอง ที่พืชจำเป็นต้องใช้ในการเจริญเติบโต
Update: 2563/06/16 22:23:14 - Views: 8500
สารอินทรีย์ ป้องกันกำจัดเพลี้ย มาคา แก้ปัญหา เพลี้ย และแมลงปากดูดต่างๆ ฉีดพ่น มาคา
Update: 2564/03/07 12:32:03 - Views: 5109
เงาะ ผลใหญ่ ด้วย ปุ๋ย สตาร์เฟอร์ 0-0-60 โพแทสเซี่ยม สูตรเร่งผล เพิ่มผลผลิต ขยายขนาด เพิ่มน้ำหนัก และคุณภาพ
Update: 2567/04/24 15:53:00 - Views: 27
โรคใบไหม้ในหน้าวัว และโรคใบไหม้ใน สาวน้อยปะแป้ง
Update: 2563/11/16 07:16:11 - Views: 4977
ทำไมขนมเบื้อง ถึงมีไส้แค่สองแบบตามรูป ขาดวิวัฒนาการ หรือ ใส่ไส้แบบอื่นไม่ได้เอ่ย?
Update: 2562/08/25 14:37:20 - Views: 4336
เที่ยวเกษตรที่สูง ภูหินร่องกล้า
Update: 2558/10/24 23:50:40 - Views: 5240
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022