[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | All contents
3509 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 350 หน้า, หน้าที่ 351 มี 9 รายการ

หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (Fall Armyworm)
หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (Fall Armyworm)
หนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด (Fall armyworm : Spodoptera frugiperda JE Smith)

เป็นศัตรูสำคัญของข้าวโพด เดิมระบาดในทวีปอเมริกา ระบาดสู่แอฟริกาในปี 2559 และกลางปี 2561 มีรายงานการระบาดในอินเดีย ปลายปี 2561 เริ่มพบระบาดในประเทศไทย

วงจรชีวิตของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด ใช้เวลา 30-40 วัน เมื่อผสมพันธุ์แล้ว ผีเสื้อเพศเมียจะวางไข่ในเวลากลางคืน โดยวางไข่เป็นกลุ่ม ประมาณ 100-200 ฟอง มีขนปกคลุมไข่ ผีเสื้อเพศเมียหนึ่งตัววางไข่ได้ประมาณ 1_500-2_000 ฟอง ระยะไข่ 2-3 วัน หนอนมี 6 วัย ระยะหนอน 14-22 วัน หนอนที่โตเต็มที่มีขนาดลำตัวยาว 3.2-4.0 เซนติเมตร จะทิ้งตัวลงดินเพื่อเข้าดักแด้ ระยะดักแด้ 7-13 วัน จึงเป็นตัวเต็มวัย มีชีวิต 10-21 วัน สามารถบินเคลื่อนย้ายระหว่างแปลง และอพยพระยะไกลระหว่างประเทศ หรือภูมิภาคได้

ลักษณะการทำลาย
ผีเสื้อหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด เริ่มวางไข่บนต้นข้าวโพด ตั้งแต่ข้าวโพดงอก อายุ 3-4 วัน โดยพบกลุ่มไข่ทั้งด้านบนใบ ใต้ใบ และที่ลำต้น หลังจากฟักจากไข่ หนอนขนาดเล็กจะรวมกลุ่มกัดกินผิวใบ เริ่มเห็นรอยทำลายสีขาวที่ผิวใบเมื่อข้าวโพดอายุ 6-7 วัน (10-11 วันหลังปลูก) ลักษณะเป็นจุดหรือเป็นแถบสีขาว หนอนตัวเล็กที่เพิ่งฟักสามารถกระจายไปยังต้นข้างเคียงโดยปลิวไปกับลม หนอนวัย 3-6 เป็นระยะที่ทำความเสียหายมาก กัดกินอยู่ในยอดข้าวโพด ทำให้ใบขาดเป็นรู เว้าแหว่ง ยอดกุด ระยะก่อนที่ดอกตัวผู้จะโผล่หนอนจะกัดกินเกสรตัวผู้ หลังจากใบยอดคลี่ทั้งหมด ดอกตัวผู้โผล่พ้นใบที่หุ้มอยู่ หนอนจะย้ายไปที่ฝัก กัดกินไหม และเจาะเปลือกหุ้มฝักเข้าไปกัดกินภายในฝัก

ปกติหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด จะทำลายใบ อยู่ในยอดข้าวโพด ในกรณีที่อากาศร้อนจัด ก่อนเข้าสู่ฤดูฝน (เดือนกุมภาพันธ์-เมษายน) อุณหภูมิ 36-41 องศา หรือ ในช่วงที่มีอากาศร้อน แห้งแล้ง ฝนทิ้งช่วง สภาพดังกล่าวนี้ หนอนที่มีอายุประมาณ 5 วัน มักจะหลบอาศัยใต้ผิวดิน กัดกินเนื้อเยื่อเจริญส่วนโคนต้น ทำให้เกิดอาการยอดเหี่ยว (dead heart) ต้นตาย ต้นข้าวโพดที่ยอดตายบางต้นมักจะมีการแตกหน่อข้าง ถ้าดินมีสภาพเปียก แฉะ หรือ ถ้าช่วงที่มีอากาศเย็นตอนที่ปลูกข้าวโพดฤดูแล้งหลังนา หนอนมักจะไม่ลงมาทำลายใต้ดินบริเวณโคนต้น มักไม่พบอาการยอดเหี่ยว หรือพบน้อย การคลุกเมล็ดด้วยสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงก่อนปลูก สามารถลดปัญหาการลงมาเจาะที่โคนต้นได้เมื่อเทียบกับการไม่คลุกเมล็ด

การปลูกข้าวโพดในฤดูฝน หากมีการกระจายของฝนดี ฝนตกต่อเนื่องอย่างสม่ำเสมอ ความรุนแรงในการระบาดของหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดจะลดลง ฝนที่ตกหนักจะชะกลุ่มไข่ หรือ หนอนขนาดเล็กที่เพิ่งฟัก หรือทำให้หนอนที่อยู่ในดินซึ่งกำลังจะเข้าดักแด้ รวมทั้งดักแด้ที่อยู่ในดินมีชีวิตรอดน้อยลง ทำให้สามารถเว้นระยะห่างในการพ่นสารและลดจำนวนครั้งในการพ่นสารลงได้ อย่างไรก็ตามควรมีการติดตามสำรวจแปลงอย่างสม่ำเสมอ

ช่วงที่ต้องมีการป้องกันกำจัดหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุดคือระยะตั้งแต่ข้าวโพดงอกจนถึงอายุประมาณ 30-43 วัน เนื่องจากเป็นช่วงที่มีการระบาดสูงที่สุด และเป็นช่วงที่ข้าวโพดฟื้นตัวได้ หลังจากช่วงนี้ไปแล้วการระบาดลดลงตามธรรมชาติ (Oliveira et al._ 1995) ประกอบกับศัตรูธรรมชาติเริ่มมีปริมาณมากขึ้น การป้องกันกำจัดในช่วงดังกล่าวจะลดปริมาณหนอนที่จะเข้าทำลายในระยะติดฝักซึ่งเป็นระยะที่ข้าวโพดต้นสูง การพ่นสารทำได้ยาก ไม่ปลอดภัย และไม่มีประสิทธิภาพในการกำจัดหนอนที่เจาะอยู่ในฝัก

ในข้าวโพด พบว่าผีเสื้อหนอนกระทู้ข้าวโพดลายจุด มาวางไข่บนใบข้าวโพดอย่างต่อเนื่อง โดยจะวางไข่มากในช่วง ระยะ 3 สัปดาห์แรกหลังจากข้าวโพดงอก เกษตรกรที่ปลูกข้าวโพด จึงควรหมั่นสำรวจแปลงหลังจากข้าวโพดงอก สังเกตกลุ่มไข่ และรอยทำลายสีขาวที่ผิวใบ เมื่อพบต้นถูกทำลาย จนมีรอยกัดขาดเป็นรู ป้องกันกำจัดตามคำแนะนำของสำนักวิจัยพัฒนาการอารักขาพืช กรมวิชาการเกษตร เน้นพ่นสารลงในกรวยยอด

ที่มา http://www.farmkaset..link..

ป้องกัน กำจัด หนอนกระทู้ข้าวโพด ด้วย ไอกี้บีที และ FK-1
โรคราน้ำค้างข้าวโพด
โรคราน้ำค้างข้าวโพด
โรคราน้ำค้าง หรือโรคใบลาย มีสาเหตุเกิดจากเชื้อรา Peronosclerospora sorghi เกิดโรคได้ตั้งแต่ข้าวโพดเริ่มงอก โดยพบจุดเล็กๆ สีเขียวฉ่ำน้ำบนใบอ่อน ต่อมาใบข้าวโพดมีสีเหลืองซีดโดยเฉพาะใบยอด หรือ ใบลายเป็นทางสีเขียวอ่อนสลับสีเขียวแก่ ในเวลาเช้ามักพบส่วนของเชื้อรา ลักษณะเป็นผงสีขาวจำนวนมากบนใบ บางครั้งพบยอดข้าวโพดแตกเป็นพุ่ม ต้นแคระแกร็น เตี้ย ข้อถี่ ไม่มีฝัก หรือมีฝักที่ติดเมล็ดน้อยหรือไม่ติดเมล็ดเลย ก้านฝักมีความยาวมาก หรือมีจำนวนฝักมากกว่าปกติ ข้าวโพดอายุ 1-3 สัปดาห์ จะอ่อนแอต่อโรคมาก

ที่มา http://www.farmkaset..link..
ใช้ ไอเอส และ FK-1 เพื่อ ป้องกัน กำจัด โรคราน้ำค้างข้าวโพด
ตระกูลแตงระวัง โรคราน้ำค้าง
ตระกูลแตงระวัง โรคราน้ำค้าง
กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลแตง อาทิ แตงกวา แตงร้าน แตงโม แตงไทย เมล่อน แคนตาลูป ซูกินี ฟักเขียว ฟักทอง ฟักแม้ว มะระจีน และบวบ ให้สังเกตการระบาดของโรคราน้ำค้าง

อาการเริ่มแรกจะอยู่ที่ใบด้านล่างของต้น บนใบจะมีแผลฉ่ำน้ำ แล้วแผลจะขยายลุกลาม ทำให้เห็นแผลเหลี่ยมเล็กเปลี่ยนเป็นสีเหลือง ถ้าตอนเช้าอากาศมีความชื้นสูง จะพบเส้นใยของเชื้อราเป็นขุยสีขาวถึงเทาตรงแผลใต้ใบ จากนั้นแผลจะขยายติดต่อกันเป็นแผลขนาดใหญ่ และเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเข้มหรือเทาดำ หากอาการรุนแรง จะทำให้ใบเหลืองและแห้งตายทั้งต้น ต้นพืชที่เป็นโรคจะติดผลน้อย ผลมีขนาดเล็ก คุณภาพความหวานของผลจะลดลง ถ้าเป็นโรคในระยะมีผลอ่อน จะทำให้ผลลีบเล็ก บิดเบี้ยว

ที่มา http://www.farmkaset..link..
“ราน้ำค้าง” โรคระบาดในพืชผักตระกูลแตงและพืชผักตระกูลกะหล่ำ
“ราน้ำค้าง” โรคระบาดในพืชผักตระกูลแตงและพืชผักตระกูลกะหล่ำ
เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชผักตระกูลแตงและตระกูลกะหล่ำ เฝ้าระวังโรคราน้ำค้าง โดยเฉพาะในเขตภาคเหนือ และตะวันออกเฉียงเหนือ เนื่องจากช่วงนี้มีฝนตกอย่างต่อเนื่องกลางวันอากาศร้อน กลางคืนอากาศเย็น ความชื้นสูงและมีหมอกในตอนเช้า สภาพอากาศเหมาะต่อการระบาดของโรคราน้ำค้าง ซึ่งสามารถพบได้ทุกระยะการเจริญเติบโตของพืช กรมส่งเสริมการเกษตรขอให้เกษตรกรหมั่นสำรวจแปลงปลูกพืชผักอย่างสม่ำเสมอเมื่อเริ่มพบใบพืชเป็นจุดแผลสีเหลือง หรืออาจเป็นปื้นสีเหลือง กรณีสภาพอากาศชื้นในตอนเช้าพลิกดูใต้ใบมักจะพบเส้นใยเชื้อราสีขาวหรือเทาคล้ายปุยฝ้ายให้รีบแจ้งและขอคำแนะนำในการป้องกันกำจัดจากเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ หรือสำนักงานเกษตรจังหวัดทันที

เชื้อราสาเหตุโรคราน้ำค้าง คือ เชื้อรา Pseudoperonosporacubensisและเชื้อรา Peronosporaparasitica ซึ่งอาการในพืชผักตระกูลแตงเริ่มแรกจะพบที่ใบล่าง ใบแก่ หรือโคนเถา โดยจะเริ่มเป็นจุดแผลสีเขียวซีดขึ้นก่อน ต่อมาจะค่อยๆ ขยายโตขึ้นเป็นสีเหลือง หรือสีน้ำตาลขนาดเล็ก แล้วขยายขนาดใหญ่ขึ้นเป็นรูปเหลี่ยมอยู่ระหว่างเส้นใบ

ส่วนอาการในพืชผักตระกูลกะหล่ำเริ่มแรกบริเวณหน้าใบเป็นจุดแผลสีเหลือง หรืออาจเป็นปื้นสีเหลืองหากช่วงเช้ามืดพลิกดูใต้ใบตรงกับจุดแผลที่เกิดขึ้นจะพบกลุ่มของเส้นใยเชื้อราลักษณะเป็นขุยสีขาว หรือผงสีเทา ซึ่งเมื่อใบแก่ หรือแผลแห้งจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ใบจะแห้งแต่ก้านใบจะชูขึ้น ขอบใบม้วน ใบร่วง กรณีที่เกิดโรครุนแรงและสภาพแวดล้อมเหมาะสม ใบส่วนใหญ่ที่มีอยู่ในต้นอาจถูกเชื้อเข้าทำลายอย่างรุนแรง ต้นจะโทรมอาจตายได้ทั้งต้น สำหรับผลมักจะไม่ถูกเชื้อเข้าทำลายโดยตรง แต่ผลจะเจริญเติบโตไม่เต็มที่ ผลแคระแกร็น เสียคุณภาพ และรสชาติเสียไป ในเมลอน แคนตาลูป และแตงโม จะทำให้ความหวานลดลง ในบล็อกโคลี่ หรือกะหล่ำดอกก้านดอกจะยืด และดอกอาจจะบิดเบี้ยวเสียรูปทรง

ที่มา http://www.farmkaset..link..
ไล่พนักงานออก ไล่ผู้เช่าหอพักออก เมื่อทราบว่าติด โควิด-19 ผิด พรบ.โรคติดต่อ
ไล่พนักงานออก ไล่ผู้เช่าหอพักออก เมื่อทราบว่าติด โควิด-19 ผิด พรบ.โรคติดต่อ
กรมควบคุมโรค แนะเจ้าของบ้าน หอพัก สถานประกอบการทุกประเภท หากพบผู้พักอาศัยหรือลูกจ้างติดเชื้อ โควิด-19 ขอให้รีบแจ้งเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อในพื้นที่โดยเร็ว เพื่อนำตัวเข้าสู่ระบบการแยกกักและป้องกันควบคุมโรค และไม่ไล่ผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วยออกจากที่พักหรือที่ทำงาน เพราะอาจทำให้ผู้ติดเชื้อเสี่ยงอันตราย และยัง เป็นการทำให้เชื้อโรคแพร่กระจายออกไปในวงกว้าง

กรมควบคุมโรคขอให้ข้อมูลว่า การไล่ผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วยโควิด-19 จะทำให้เกิดผลเสีย และอาจเข้าข่ายมีความผิดตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 เนื่องจากอาจทำให้เชื้อไวรัสแพร่กระจายออกไปในวงกว้างยากต่อการควบคุมโรค อาจทำให้ผู้ป่วยมีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตราย


ดังนั้นสิ่งสำคัญ คือ หากพบผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคโควิด-19 ให้เจ้าของบ้านเช่า หอพัก หรือเจ้าของสถานประกอบการ รีบแจ้งต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ ซึ่งอาจเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขที่ปฏิบัติงานในพื้นที่ เพื่อให้เจ้าหน้าที่ทราบและเริ่มการสอบสวนควบคุมโรคโดยเร็ว


ทั้งนี้ขอให้ประชาชนทุกคนร่วมมือกันปฏิบัติตามและร่วมกันเป็นหูเป็นตาให้กับภาครัฐ เพื่อช่วยให้ผู้ติดเชื้อไม่ว่าจะมีอาการป่วยปรากฏแล้วหรือยังไม่มีอาการก็ตาม ได้รับการดูแลรักษาตามมาตรฐานมีความปลอดภัย และลดโอกาสแพร่เชื้อต่อไปยังผู้อื่น

สำหรับการแจ้งข้อมูลต่อเจ้าพนักงานควบคุมโรคติดต่อ เมื่อพบผู้ที่เป็นหรือมีเหตุอันควรสงสัยว่าเป็นโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นโรคติดต่ออันตรายตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อ พ.ศ.2558 กรณีที่ผู้แจ้งเป็นเจ้าบ้านหรือเป็นผู้ควบคุมดูแลบ้าน ให้แจ้งชื่อที่อยู่ของตนเอง ความสัมพันธ์กับผู้ที่ป่วยหรือสงสัยว่าป่วยเป็นโรคติดต่ออันตราย พร้อมแจ้งชื่อ อายุ เพศ สัญชาติ ที่อยู่ปัจจุบันของผู้ป่วย แจ้งวันเริ่มป่วย และอาการสำคัญที่ปรากฏด้วย


ในกรณีที่เป็นเจ้าของหรือผู้ควบคุมสถานประกอบการ ให้แจ้งชื่อ ที่อยู่ สถานที่ทำงานของตนเอง แจ้งความสัมพันธ์กับผู้ที่ป่วย แจ้งชื่อ อายุ เพศ สัญชาติ ที่อยู่ปัจจุบัน และอาการสำคัญของผู้ป่วยด้วย โดยสามารถแจ้งข้อมูลดังกล่าวไปยังศูนย์บริการสาธารณสุข ในเขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร หรือสำนักอนามัย กทม. หรือสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กรมควบคุมโรค หรือโรงพยาบาลของรัฐใกล้บ้าน


ส่วนการหาเตียงให้ผู้ป่วยหรือญาติผู้ป่วยที่มีหลักประกันสุขภาพ ติดต่อกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพ (สปสช.) โทร.1330 กรณีเป็นผู้ประกันตนแจ้งสำนักงานประกันสังคม โทร.1506 จะมีเจ้าหน้าที่ประเมินอาการเบื้องต้น ถ้ามีอาการไม่รุนแรง จะแนะนำให้แยกกักตัวที่บ้าน (Home Isolation) โดยจะจัดส่งชุดเวชภัณฑ์ดูแลรักษาโรคเบื้องต้นไปให้ที่บ้าน

หากผู้ป่วยไม่สามารถแยกกักตัวที่บ้านได้ เจ้าหน้าที่จะทำการตรวจขั้นยืนยันผลด้วยวิธี RT-PCR อีกครั้ง หากผลเป็นบวกหรือติดเชื้อ จะทำการส่งตัวเข้าศูนย์พักคอย (Community Isolation) เพื่อให้ผู้ป่วยเข้ามาอยู่ในความดูแลของบุคลากรทางการแพทย์และรับยาได้ทันที โดยในส่วนของศูนย์พักคอยจะมีใบยินยอม ให้ผู้ป่วยกรอกรายละเอียดข้อมูลก่อนเข้ารับการรักษาในศูนย์พักคอย หรือในกรณีที่ผู้ป่วยเดินทางไปตรวจที่หน่วยบริการ ซึ่งทำการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ด้วยชุดตรวจ Antigen Test Kit แล้วมีผลเป็นบวกที่แสดงว่าติดเชื้อ จะทำการส่งตัวเข้าศูนย์พักคอยก่อน โดยไม่ต้องรอผลตรวจตรวจ RT-PCR ระหว่างนี้ให้แยกอยู่ไม่ปะปนกับผู้ป่วยยืนยันรายอื่น


ทั้งนี้ กรุงเทพมหานครได้จัดเตรียมศูนย์พักคอย โดยมีเป้าหมายกำหนดให้ในพื้นที่กรุงเทพฯ ซึ่งมี 50 สำนักงานเขตต้องมีเขตละ 1 ศูนย์ ศูนย์ละ 100 เตียง และหากเป็นไปได้บางเขตมีได้ 2 ศูนย์ ซึ่งจะได้เตียงผู้ป่วยเพิ่มอีก 5_000 เตียง หรือหากทุกเขตใน กทม. มี 2 ศูนย์พักคอยในแต่ละเขต เราจะได้เตียงผู้ป่วยเป็น 10_000 เตียง ซึ่งตอนนี้ กทม.เปิดศูนย์พักคอยรองรับแล้ว 49 เขต ในพื้นที่ 47 เขต สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักอนามัย กรุงเทพมหานคร โทร. 02-245-4964

ที่มา http://www.farmkaset..link..
พช.อยุธยา เดินหน้าขับเคลื่อน “โคก หนอง นา อยุธยา” อำเภอพระนครศรีอยุธยา
พช.อยุธยา เดินหน้าขับเคลื่อน “โคก หนอง นา อยุธยา” อำเภอพระนครศรีอยุธยา
ณ ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา นายกิจจา ทองแดง พัฒนาการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ลงพื้นที่สนับสนุนติดตามการดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” ระดับครัวเรือน (House hold Lab Model for quality of life : HLM) อำเภอพระนครศรีอยุธยา ของนางเอื้อมพร ศาสนกุล ขนาดพื้นที่ 3 ไร่ บ้านภูเขาทอง หมู่ที่ 2 ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา​ โดยมีนางสาวอัญชลี เฉลยรัตน์ พัฒนาการอำเภอพระนครศรีอยุธยา พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่พัฒนาชุมชน ร่วมลงพื้นที่ในการวางแผนขับเคลื่อนศูนย์เรียนรู้ “โคก หนอง นา โมเดล”

นายกิจจา ทองแดง พัฒนาการจังหวัดพระนครศรีอยุธยา กล่าวว่า กรมการพัฒนาชุมชน ได้น้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มาขยายผลในกระบวนการทำงาน โดย “โครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิตตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา พัฒนาชมุชน” เป็นการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ได้จริงในพื้นที่ รวมทั้งเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนโดยเฉพาะเจ้าของแปลงได้เรียนรู้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง และพัฒนาพื้นที่ของตนเองเป็นศูนย์เรียนรู้ต้นแบบ เพื่อเผยแพร่แนวคิดหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป โดยเฉพาะในช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)​ กรมการพัฒนาชุมชนได้ส่งเสริมให้พี่น้องประชาชนได้ปลูกพืชสมุนไพร เช่น กระชาย และฟ้าทะลายโจร เพื่อเป็นอีกทางเลือกหนึ่งในการป้องกันและบรรเทาอาการจากโรคระบาด ซึ่งสำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ได้รณรงณ์ให้ประชาชนในจังหวัดฯ รวมถึงเจ้าของแปลงโครงการ “โคก หนอง นา โมเดล” ได้ร่วมกันปลูกพืชสมุนไพรดังกล่าว เพื่อใช้ในครัวเรือนและเพื่อประโยชน์ต่อคนในชุมชน หมู่บ้าน ตำบล ต่อไป

ด้านนางเอื้อมพร ศาสนกุล เจ้าของแปลง 3 ไร่ เผยว่าขอขอบคุณกรมการพัฒนาชุมชน ที่ให้โอกาสเข้าร่วมโครงการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบการพัฒนาคุณภาพชีวิต ตามหลักทฤษฎีใหม่ ประยุกต์สู่ “โคก หนอง นา โมเดล” เพราะเป็นการน้อมนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ได้จริงในพื้นที่ รวมทั้งยังเป็นการลดรายจ่ายเพิ่​มรายได้ให้กับครัวเรือนและชุมชน และในอนาคตมีความมุ่งหวังจะพัฒนาพื้นที่ให้เป็นศูนย์เรียนรู้ เพื่อเป็นต้นแบบให้แก่ประชาชนในหมู่บ้าน ตำบล ได้ศึกษาหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาปรับใช้ในวิถีชีวิต

ทั้งนี้ การดำเนินกิจกรรมได้ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)​ ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข และคำสั่งจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่ 1849/2564 กำหนดมาตรการตามพื้นที่สถานการณ์ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด อย่างเคร่งครัด

ที่มา : สำนักงานพัฒนาชุมชนอำเภอพระนครศรีอยุธยา/สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดพระนครศรีอยุธยาอยุธยา
ข่าว : สำนักงานประชาสัมพันธ์จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
โกโก้ พืชเศรษฐกิจทางเลือกใหม่สร้างกำไรดี ผลตอบแทน 22,400 บาท ต่อไร่ ต่อปี
โกโก้ พืชเศรษฐกิจทางเลือกใหม่สร้างกำไรดี ผลตอบแทน 22,400 บาท ต่อไร่ ต่อปี
“โกโก้” เป็นพืชเศรษฐกิจที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีแผนส่งเสริมพัฒนาการผลิตและการตลาด ให้เป็นสินค้าสร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร เนื่องจากเป็นสินค้าที่มีความต้องการของตลาดโลกสูง ส่งออกยุโรป ญี่ปุ่น และสิงคโปร์ อีกทั้งเป็นพืชทางเลือกชนิดหนึ่งที่สามารถปลูกเป็นพืชทดแทนและเป็นพืชแซมในสวนผสม เป็นพืชที่ดูแลง่าย เจริญเติบโตเร็ว ทนแล้ง และให้ผลผลิตสูง

นายนิกร แสงเกตุ ผู้อำนวยการสำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรที่ 7 ชัยนาท (สศท.7) สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตร (สศก.) เปิดเผยว่า จากการลงพื้นที่ของ สศท.7 เพื่อติดตามสถานการณ์การผลิตและตลาดโกโก้ ในพื้นที่ 5 จังหวัดภาคกลาง (ชัยนาท สระบุรี ลพบุรี สุพรรณบุรี สิงห์บุรี) พบว่ามีพื้นที่ปลูกรวม 495 ไร่ เกษตรกรที่ขึ้นทะเบียนกับกรมส่งเสริมการเกษตร จำนวน 100 ราย (ข้อมูล ณ วันที่ 15 กรกฎาคม 2564) เกษตรกรนิยมปลูกพันธุ์ ไอ.เอ็ม.1 เนื่องจากเป็นพันธุ์ที่เจริญเติบโตเร็วให้ผลผลิตสูง มีกลิ่นหอมเมื่อแปรรูป และเป็นที่ต้องการของตลาดต้นทุนการผลิตโกโก้เฉลี่ยอยู่ที่ 6_630 บาท/ไร่/ปี (เริ่มให้ผลผลิตในปีที่ 3 และเก็บเกี่ยวจนถึงอายุต้น 30 ปี) เกษตรกรจะเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทุก 15 วัน และเก็บเกี่ยวได้ตลอดทั้งปี ผลผลิตจะออกมากที่สุดช่วงเดือนกุมภาพันธ์ – เมษายน ผลผลิตเฉลี่ย 2_400-3_000 กิโลกรัม/ไร่/ปี ราคาที่เกษตรกรขายได้ (ผลสด) ณ วันที่ 12 กรกฎาคม 2564 อยู่ที่ 8-10 บาท/กิโลกรัม เกษตรกรได้ผลตอบแทน 22_400 บาท/ไร่/ปี คิดเป็นผลตอบแทนเฉลี่ยสุทธิ (กำไร) 15_770 บาท/ไร่/ปี

ที่มา http://www.farmkaset..link..
กนก แนะรัฐเร่งทบทวนนโยบายใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาโควิด ครม.มติหนุนแต่สธ.ให้ใช้ Favipiravir
กนก แนะรัฐเร่งทบทวนนโยบายใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาโควิด ครม.มติหนุนแต่สธ.ให้ใช้ Favipiravir
"กนก" แนะรัฐเร่งทบทวนนโยบายใช้ฟ้าทะลายโจรรักษาโควิด หลังครม.มติหนุน แต่สธ.ให้ใช้ Favipiravir ชี้โจทย์ใหญ่รัฐบาลต้องเร่งวิจัยศักยภาพ-ส่งเสริมการปลูก เชื่อช่วยพลิกฟื้นเศรษฐกิจได้

เมื่อวันที่ 29 ก.ค.นายกนก วงษ์ตระหง่าน รองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ กล่าวถึงปัญหาฟ้าทะลายโจรขาดแคลน เพราะความต้องการสูงในขณะนี้ว่า ถึงเวลาที่รัฐบาลต้องทบทวนว่าจะกำหนดนโยบายและวางอนาคตของสมุนไพรไทยอย่างไร เพราะในขณะนี้ ฟ้าทะลายโจรมีผลการวิจัยโดยแพทย์แผนปัจจุบันยืนยันแล้วว่าสามารถช่วยรักษาโรคไวรัสโควิด 19 ได้ และสามารถบอกได้จากการทดลองเชิงปฏิบัติกับผู้ป่วยแล้วว่าจำนวนหรือปริมาณการรับประทาน สารออกฤทธิ์ในฟ้าทะลายโจร คือ แอนโดรกราฟโฟไลด์ (Andrographolide) ต่อวัน และสามารถเปรียบเทียบผลกับผู้ป่วยที่ไม่ได้ทานฟ้าทะลายโจร แล้วพบว่าฟ้าทะลายโจรมีความปลอดภัยสูงต่อผู้ป่วย มีสิทธิภาพ ต่อการรักษาดี อีกทั้งหาได้ง่ายและราคาถูกสำหรับคนไทย เพราะฟ้าทะลายโจรเป็นพืชที่ปลูกได้ในทุกพื้นที่ ของประเทศ การที่คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการใช้ฟ้าทะลายโจร เมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม 2564 เพื่อการรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ที่ยังไม่มีอาการโรค โดยกระทรวงอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ยืนยันถึงประสิทธิภาพของการรักษาโรคโควิด 19 ของฟ้าทะลายโจร แต่ถ้าเข้าไปดูแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เมื่อวันที่ 21 ก.ค.64 ของกระทรวงสาธารณสุข แนะนำเรื่องการรักษา Covid-19 กรณีผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง ให้ใช้ยา Favipiravir เท่านั้น ไม่ปรากฏฟ้าทะลายโจรอยู่ในแนวเวชปฏิบัติของกระทรวง

นายกนก กล่าวด้วยว่า จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่ายังมีความย้อนแย้งอยู่ในส่วนนโยบายการรักษา จึงต้องเร่งทบทวนกำหนดนโยบายที่ชัดเจน ทำไมประกาศฉบับหลังสุดคือ 21 กรกฎาคม 2564 จึงไม่มีฟ้าทะลายโจรในประกาศของแนวทางเวชปฏิบัติ ซึ่งส่งผลให้แพทย์ในโรงพยาบาลของกระทรวงสาธารณสุขและแพทย์ทั่วไปไม่กล้าที่จะใช้ฟ้าทะลายโจรกับผู้ป่วยโควิด 19 อีกทั้งสปสช.ก็ไม่อาจจะนำฟ้าทะลายโจรรวมเข้าเป็นค่าใช้จ่ายการรักษาตามระบบ ประกันสุขภาพด้วย ผลที่ตามมาคือการใช้ยา Favipiravir ราคาแพงกว่าฟ้าทะลายโจรเป็นร้อยเท่า จะทำให้ค่ายารักษาโรคโควิด 19 สูงขึ้นอย่างมาก และถ้าองค์การเภสัชกรรมผลิตยา Favipiravir ไม่ทันกับความต้องการ อาจต้องสั่งนำเข้าจากต่างประเทศที่ทำให้เสียทั้งเงินและเวลามากขึ้น คำถามที่กระทรวงสาธารณสุขต้องตอบประชาชนคือ ทำไมจึงไม่บรรจุฟ้าทะลายโจรลงในแนวทางเวชปฏิบัติฯ เพื่อให้เกิดการใช้ฟ้าทะลายโจรอย่างถูกต้อง กว้างขวาง และเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วยจำนวนมหาศาลที่กำลังรอเข้าโรงพยาบาลสนาม

“ฟ้าทะลายโจรมีสารออกฤทธิ์ที่มีประโยชน์ต่อการรักษาโรคโควิด 19 มาก แต่การจะนำ ฟ้าทะลายโจรมาเป็นยารักษาโรคที่ได้มาตรฐานอย.นั้น เกี่ยวข้องกับกระบวนการอื่น ๆ อีกมาก ตั้งแต่การปลูกฟ้าทะลายโจรที่ปลอดภัย การเก็บเกี่ยวที่รักษาคุณภาพสารออกฤทธิ์ การแปรรูปเป็นแคปซูลที่ได้มาตรฐานจนถึงการใช้ที่ถูกต้อง รวมไปถึงการทำให้ฟ้าทะลายโจรเกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจของประเทศที่เกษตรกรได้รับส่วนแบ่งจากราคาปลีกของฟ้าทะลายโจรอย่างเป็นธรรม ไม่ใช่มีเพียงบริษัทยาเท่านั้นที่ได้ผลประโยชน์ส่วนใหญ่ และเกษตรกรได้เพียงราคาฟ้าทะลายโจรกิโลกรัมละ 100 บาทเท่านั้น ประเด็นเหล่านี้เกี่ยวข้องกับงานวิจัยหลายด้านที่ต้องทำเพิ่ม เกี่ยวข้องกับการวางโครงสร้างพื้นฐานของการผลิตและแปรรูปสมุนไพร ของประเทศ จนถึงเกี่ยวกับการยอมรับยาสมุนไพรของชาติและประชาชนโดยรวม โจทย์ใหญ่ของรัฐบาลที่ต้องคิดไปข้างหน้า เพื่อใช้ศักยภาพของฟ้าทะลายโจรให้เกิดประโยชน์ในการพลิกฟื้นเศรษฐกิจ ในยุคโควิด-19 อย่างไร แต่ไม่ว่ารัฐบาลจะตัดสินใจอย่างไร โครงการสกลนครโมเดลที่ผมและทีมงานจะเดินหน้าขับเคลื่อน ฟ้าทะลายโจรเป็นหัวขบวนของการใช้สมุนไพรเป็นพืชเศรษฐกิจสำคัญของประเทศต่อไป” นายกนก กล่าว

ที่มา http://www.farmkaset..link..
วิธีปลูกกระชาย สมุนไพรมากสรรพคุณ ทำอาหารได้หลายเมนู
วิธีปลูกกระชาย สมุนไพรมากสรรพคุณ ทำอาหารได้หลายเมนู
เป็นอีกหนึ่งพืชสมุนไพรที่มาแรงไม่แพ้ ฟ้าทะลายโจร เลยทีเดียว หลังจากมีข่าวว่า กระชาย มีฤทธิ์ต้านไวรัสโควิดได้ดีในหลอดเพาะเชื้อ ส่วนประสิทธิภาพการรักษาในคนต้องรองานวิจัยเพิ่มเติม แต่ก็ทำให้ราคาของกระชายเพิ่มสูงขึ้นเป็นเท่าตัวจากหลักสิบเป็นหลักร้อยต่อกิโลกรัม แถมยังมีคนนำไปทำเป็นส่วนผสมทำเครื่องดื่มและอาหารขายกันมากมาย หากใครอยากลองปลูกกินเองที่บ้านหรือจะเพาะในสวนไว้ขายสร้างรายได้ รวมข้อมูลมาฝากกันแล้ว

ลักษณะกระชาย
กระชาย กระชายขาว หรือ กระชายเหลือง (Fingerroot_ Chinese ginger_ Chinese keys_ Galingale) มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Boesenbergia rotunda (L.) Mansf. เป็นพืชล้มลุก มีลำต้นใต้ดินเป็นเหง้าสั้น ๆ ค่อนข้างกลมเรียงต่อกัน เหง้าตรงกลางจะมีขนาดใหญ่กว่าแง่งด้านข้าง เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาล เนื้อด้านในสีเหลือง รากอวบยาว ปลายแหลมออกเป็นกระจุก ผิวสีน้ำตาลอ่อน เหนือดินเป็นกาบใบสีแดงเรื่อย ๆ 3-6 กาบ หุ้มซ้อนกันเป็นชั้นความสูงต้นประมาณ 80 เซนติเมตร มีใบเดี่ยวเรียงสลับ โคนสอบปลายเรียวแหลม ออกดอกเป็นช่อ มีทั้งดอกสีขาวและสีขาวอมชมพูบริเวณยอด มีผลแห้งแต่เมื่อแก่จะไม่แตก

การขยายพันธุ์กระชาย
วิธีปลูกกระชาย
กระชายสามารถขยายพันธุ์ได้ 2 วิธีคือ ปลูกด้วยต้นและเหง้า หัวพันธุ์ที่ดีควรมีอายุประมาณ 7-9 ดือน ลักษณะสมบูรณ์ ไม่มีโรคหรือแมลงรบกวน ก่อนปลูกควรแช่ในน้ำยาป้องกันเชื้อราและสารป้องกันแมลงในดินก่อน 30 นาที เหมาะสำหรับปลูกในดินร่วนซุยอุดมสมบูรณ์ พื้นที่แดดรำไร มีความชื้นสูง ควรเริ่มปลูกช่วงพฤษภาคมไปจนถึงธันวาคม เพราะกระชายจะเจริญเติบโตได้ดีในช่วงฤดูฝนและฤดูหนาว

ทั้งนี้กระชายหัวจะขายได้ดีกว่ากระชายซอย ก่อนหน้านี้ราคาอยู่ที่ประมาณ 30-40 บาท ต่อกิโกกรัม ก่อนจะพุ่งสูงขึ้นในเดือนกรกฎาคม 2564 มาอยู่ที่ประมาณ 105-135 บาท ต่อกิโลกรัม

หมายเหตุ : ***ราคาเฉลี่กระชาย ณ วันที่ 1 ม.ค. - 29 ก.ค. 64 จาก kasetprice
วิธีปลูกกระชายในกระถาง
ตัดหัวหรือเหง้าที่สมบูรณ์ให้ติดรากประมาณ 2-3 ราก ทารอยแผลที่ถูกตัดด้วยปูนแดง พร้อมกับนำไปตากในที่ร่มจนกว่าปูนจะแห้ง
จากนั้นนำเหง้าที่ได้ไปแช่น้ำทิ้งไว้ประมาณ 2 คืน เตรียมไว้ประมาณ 3-5 หัวต่อกระถาง
นำดินที่จะปลูกมาตากแดดทิ้งไว้ประมาณ 7 วัน แล้วนำไปผสมกับปุ๋ยคอก ในอัตราดิน 2 ส่วนต่อปุ๋ยคอก 1 ส่วน
กระถางที่นำมาใช้ควรมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 15-18 เซนติเมตร จากนั้นใส่ดินที่เตรียมไว้ลงไปประมาณ 3 ใน 4 ส่วน
นำเหง้ากระชายมาปลูกในกระถาง แล้วกลบด้านบนด้วยดินอีกชั้น จากนั้นรดน้ำให้ชุ่ม ประมาณ 1 เดือน ก็จะมีแตกใบอ่อนให้เห็นแล้ว
วิธีปลูกกระชายในแปลงปลูก
วิธีปลูกกระชาย
ขุดไถดินตากไว้ประมาณ 7 วัน เพื่อฆ่าเชื้อโรคและศัตรูพืช จากนั้นใส่ปุ๋ยคอกและพรวนดินอีกครั้ง เพื่อให้ดินโปร่งระบายน้ำได้ดี
นำเหง้ากระชายมาแบ่งส่วน ตัดแต่งรากให้เหลือเพียง 2 ราก
ยกแปลงสูงประมาณ 50 เซนติเมตร เพื่อป้องกันดินยุบเมื่อฝนตก จากนั้นนำเหง้าที่เตรียมไว้มาปลูกลงหลุมขนาด 15 เซนติเมตร ระยะปลูก 30x30 เซนติเมตร แล้วกลบดินให้หัวเสมอผิวดิน
นำฟางหรือหญ้าแห้งมาคลุมหน้าดินความหนาประมาณ 2 นิ้ว พร้อมกับรดน้ำให้ชุ่ม เพื่อป้องกันวัชพืชและรักษาความชื้นในดิน
หมั่นให้น้ำ 2–3 วันต่อครั้ง และกำจัดวัชพืชสม่ำเสมอ
วิธีเก็บเกี่ยว
วิธีเก็บเกี่ยวกระชายให้ใช้มือถอนหรือจอบขุด แต่ควรถอนช่วงที่ดินชื้น หรือรดน้ำให้ดินชุ่มก่อนหากดินแห้ง เพื่อป้องกันเหง้าเสียหายขณะเก็บเกี่ยว โดยส่วนใหญ่กระชายจะเก็บเกี่ยวได้หลังปลูกประมาณ 7-8 เดือน หรือเมื่อใบและลำต้นมีสีเหลืองและยุบตัวลง ทั้งนี้หากต้องการขยายช่วงเวลาเก็บเกี่ยว ควรคลุมหน้าดินด้วยฟางและรดน้ำเป็นครั้วคราว เพื่อป้องกันเหง้าและรากฝ่อในช่วงฤดูร้อน

โรคที่ต้องระวัง
โรคเน่า ส่วนมากจะระบาดในดินทราย ดินที่ขาดความอุดมสมบูรณ์ ดินที่มีสภาพเป็นกรดหรือดินที่มีการใส่ปุ๋ยเคมีในปริมาณมาก นอกจากนี้ไม่ควรปลูกกระชายที่เดิมซ้ำหลายปี หากต้องการปลูกควรปรับปรุงดินก่อน โดยการผสมปูนขาวในดินอัตราส่วน 200-300 กิโลกรัมต่อไร่

ประโยชน์กระชาย
วิธีปลูกกระชาย
กระชายเป็นสมุนไพรที่มีประโยชน์มากมาย ทั้งในแง่ของการบำรุงร่างกาย และใช้เป็นยาบรรเทาอาการต่าง ๆ อาทิ ท้องร่วง ท้องเดิน ท้องอืด โรคกระเพาะ ลำไส้ใหญ่อักเสบ นอกจากนี้ยังถือเป็นยาอายุวัฒนะ ที่มีรสเผ็ดร้อนขม กลิ่นหอมฉุนเฉพาะตัวด้วย แถมยังทำอาหารได้หลากหลายอีกด้วย

ขอบคุณข้อมูลจาก สำนักงานเกษตรและสหกรณ์ จังหวัดสุรินทร์_ สำนักงานพัฒนาการวิจัยการเกษตร_
กรมส่งเสริมการเกษตร_ สวนพฤกษศาสตร์ และกรมวิทยาศาสตร์บริการ

ที่มา http://www.farmkaset..link..
พช.โคราช นำร่อง “1 วัด 1 สวนสมุนไพร ต้านภัยโควิด – 19” เพิ่มพื้นที่ขยายผลการปลูกพืชสมุนไพรไทย
พช.โคราช นำร่อง “1 วัด 1 สวนสมุนไพร ต้านภัยโควิด – 19” เพิ่มพื้นที่ขยายผลการปลูกพืชสมุนไพรไทย
วันอาทิตย์ที่ 1 สิงหาคม พ.ศ. 2564 เวลา 16.00 น. นางอรุณรัตน์ ชิงชนะ พัฒนาการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยนายสิทธิชัย พรทิพย์พิทักษ์ ผู้อำนวยการกลุ่มงานยุทธศาสตร์การพัฒนาชุมชน นางจำเรียง มณีพินิจ ผู้อำนวยการกลุ่มงานส่งเสริมการพัฒนาชุมชน นางสาวธัญลักษณ์ ชันไธสง ผู้อำนวยการกลุ่มงานประสานและสนับสนุนการบริหารงานพัฒนาชุมชน และนักวิชาการ สำนักงานพัฒนาชุมชนจังหวัดนครราชสีมา ร่วมทำกิจกรรมศูนย์แบ่งปันขยายผลการปลูกพืชผักสวนครัว และพืชสมุนไพรไทย “1 วัด 1 สวนสมุนไพร ต้านภัยโควิด – 19” เพื่อเป็นคลังสมุนไพรแบบพึ่งพาตนเอง โดยใช้พื้นที่วัด เป็นพื้นที่แบ่งปันให้กับชุมชนสำหรับนำมาบริโภค และทำเป็นยาสมุนไพร เสริมหรือทดแทนการใช้ยาแผนปัจจุบันในการต้านเชื้อโควิด-19
โดยได้รับความเมตตาจาก พระเทพสีมาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา เจ้าอาวาสวัดบึง (พระอารามหลวง) อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา อนุญาตให้ใช้พื้นที่ว่างภายในบริเวณวัดบึง (พระอารามหลวง) เป็นจุดนำร่อง บูรณาการขับเคลื่อนขยายผลเพิ่มพื้นที่การปลูกพืชสมุนไพรไทย และช่วยรณรงค์ให้ทุกวัดใช้พื้นที่ในบริเวณวัดปลูกสมุนไพรแบ่งปัน ภายใต้โครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง และโครงการวัด ประชา รัฐ สร้างสุข เฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา ๘๘ พรรษา
ท่านพระเทพสีมาภรณ์ เจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา เจ้าอาวาสวัดบึง (พระอารามหลวง) กล่าวปาฐกถาว่า “ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ในทั่วประเทศ นับวันยิ่งทวีคูณขึ้น และในส่วนของจังหวัดนครราชสีมาเองนั้นก็เป็นพื้นที่ของการระบาดของโรคเป็นอย่างมาก คนป่วยมีจำนวนมาก ทำให้โรงพยาบาลที่รักษาไม่เพียงพอ ดังนั้นการดูแลตัวเอง การพึ่งตนเอง โดยการปลูกพืชสมุนไพรไว้เพื่อนำไปแปรรูปบริโภคในครัวเรือน เช่น ฟ้าทะลายโจร กระชาย และสมุนไพรไทยชนิดต่างๆ ซึ่งได้มีผลการวิจัยว่าสามารถเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต้านเชื้อโควิด-19 ได้ดี วันนี้อาตมาจึงมีความปรารถนา และยินดีอย่างยิ่งที่จะใช้พื้นที่ว่างภายในวัดได้ทำประโยชน์ให้เกิดขึ้นแก่พี่น้อง ญาติโยม ทั้งหลาย รวมถึงพระลูกวัดที่จะได้ใช้ประโยชน์ร่วมกันจากสมุนไพรที่ปลูกในวันนี้ จากนั้นก็จะได้ขยายผลไปสู่วัดต่างๆ ในทุกระดับให้มีการปลูกสมุนไพรไว้ใช้ และแบ่งปันให้กับญาติโยม และพี่น้องประชาชนในชุมชนนำไปขยายผลกันต่อไปให้ทั่วถึง”
ด้าน นางอรุณรัตน์ ชิงชนะ พัฒนาการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า นายสุทธิพงษ์ จุลเจริญ อธิบดีกรมการพัฒนาชุมชน ได้มีนโยบายในการขับเคลื่อนกิจกรรมโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง ศูนย์แบ่งปันพืชผักสวนครัว และรณรงค์ส่งเสริมให้ชุมชนปลูกพืชสมุนไพรไทยโดยผู้นำทำเป็นต้นแบบ “ผู้นำต้องทำก่อน” และเพิ่มพื้นที่การปลูกพืชสมุนไพร เช่น ฟ้าทะลายโจร กระชาย ชิง ข่า ตะไคร้ ฯลฯ ซึ่งถือเป็นพืชสมุนไพรไทยทางเลือกหนึ่งที่สามารถช่วยป้องกัน และบรรเทายับยั้งการติดเชื้อไข้หวัด หรือ เสริมสร้างภูมิต้านทานในการป้องกันการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้ สำหรับไว้ใช้เองในครัวเรือนและแบ่งปันกันในชุมชน ขณะที่นายกอบชัย บุญอรณะ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ก็ได้จัดกิจกรรม Kick Off “บ้านนี้มีรัก ปลูกผักแบ่งปัน” เฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระวชิรเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 10 เนื่องในวันคล้ายวันพระราชสมภพ (28 กรกฎาคม 2564) เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม 2564 ที่ผ่านมา โดยจังหวัดได้กำหนดการจัดกิจกรรมศูนย์แบ่งปัน ไว้ 5 จุดดำเนินการ แบ่งตามกลุ่มโซนอำเภอ แต่ละกลุ่มโซนอำเภอจะได้รับการสนับสนุนพันธุ์พืชสมุนไพรสนับสนุนศูนย์แบ่งปันจังหวัด เพื่อนำไปจัดกิจกรรมในพื้นที่ต้นแบบที่ได้ขยายผลตามโครงการเสริมสร้างและพัฒนาผู้นำการเปลี่ยนแปลง ผลผลิตที่ได้นำไปแจก แบ่งปันให้ประชาชนในชุมชน ได้ขยายพันธุ์ปลูก และบริโภคให้ครบทุกครัวเรือน
อย่างไรก็ตาม กิจกรรมดังกล่าวข้างต้น จังหวัดนครราชสีมาได้มอบนโยบายให้ทุกอำเภอ บูรณาการส่วนราชการ องค์กร ภาคี เครือข่าย ร่วมกับผู้นำการเปลี่ยนแปลง และครัวเรือนจิตอาสา ร่วมใจกันรณรงค์ดำเนินการอย่างต่อเนื่องตลอดไปทั้งเดือนสิงหาคม 2564 เพื่อเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เนื่องในโอกาสวันเฉลิมพระชนมพรรษา 12 สิงหาคม 2564 เพื่อให้เกิดความมั่นคงทั้งในด้านอาหารและด้านสมุนไพรไทย ควบคู่กันไป

ณ วัดบึง (พระอารามหลวง) ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

#ChangeForGood
#CDD #กรมการพัฒนาชุมชน
#พช_นครราชสีมา #CNS
📸 ที่นี่โคราช สถานีข่าว พช. รายงาน

ที่มา http://www.farmkaset..link..
3509 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 350 หน้า, หน้าที่ 351 มี 9 รายการ
|-Page 293 of 351-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 | 217 | 218 | 219 | 220 | 221 | 222 | 223 | 224 | 225 | 226 | 227 | 228 | 229 | 230 | 231 | 232 | 233 | 234 | 235 | 236 | 237 | 238 | 239 | 240 | 241 | 242 | 243 | 244 | 245 | 246 | 247 | 248 | 249 | 250 | 251 | 252 | 253 | 254 | 255 | 256 | 257 | 258 | 259 | 260 | 261 | 262 | 263 | 264 | 265 | 266 | 267 | 268 | 269 | 270 | 271 | 272 | 273 | 274 | 275 | 276 | 277 | 278 | 279 | 280 | 281 | 282 | 283 | 284 | 285 | 286 | 287 | 288 | 289 | 290 | 291 | 292 | 293 | 294 | 295 | 296 | 297 | 298 | 299 | 300 | 301 | 302 | 303 | 304 | 305 | 306 | 307 | 308 | 309 | 310 | 311 | 312 | 313 | 314 | 315 | 316 | 317 | 318 | 319 | 320 | 321 | 322 | 323 | 324 | 325 | 326 | 327 | 328 | 329 | 330 | 331 | 332 | 333 | 334 | 335 | 336 | 337 | 338 | 339 | 340 | 341 | 342 | 343 | 344 | 345 | 346 | 347 | 348 | 349 | 350 | 351 |


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 3 สูตร: สร้างสวนมะกรูดที่รุ่งเรืองด้วยปุ๋ยที่มีประสิทธิภาพ โตไว ใบเขียว เร่งราก เร่งดอก ผลใหญ่ ดกเต็มต้น
Update: 2567/02/12 14:47:48 - Views: 157
การใช้ Metalaxyl ผสม Starfer Fertilizer 30-20-5 ฉีดพ่นป้องกันและกำจัดโรคในต้นมะม่วง
Update: 2567/02/28 13:24:37 - Views: 155
คู่มือเบื้องต้นสำหรับการ ป้องกันและกำจัดโรคในสวนยางพารา ที่มีสาเหตุจากเชื้อราต่างๆ
Update: 2566/04/29 14:56:01 - Views: 13266
ยากำจัดโรคใบจุด ใบไหม้ ใน ดอกทานตะวัน โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอสใช้ได้กับพืชทุกชนิด (ขนาด 3 ลิตร ใช้ได้15 ไร่)
Update: 2566/06/06 14:32:39 - Views: 3010
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรครากเน่า โคนเน่า ในกัญชา กัญชง ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/21 09:15:12 - Views: 3353
ปุ๋ย FK-1 บำรุงพืช โตไว ใบเขียว ผลใหญ่ น้ำหนักดี ผลผลิตดี ต้นทุนต่อไร่ถูกกว่าปุ๋ยเม็ด 4 เท่า เพิ่มผลผลิตสูงสุด 20 %
Update: 2566/06/17 10:27:10 - Views: 293
คู่มืองป้องกันและกำจัดโรคในลำไย โรคราต่างๆ ใบไหม้ ราแป้ง ราสนิม กิ่งแห้ง และราอื่นๆ
Update: 2566/04/30 08:55:27 - Views: 16443
โรคทุเรียนต่างๆ ทุเรียนใบไหม้ ราสีชมพูในทุเรียน โรคทุเรียนก้านธูป เชื้อราต่างๆ ใช้ ไอเอส
Update: 2566/10/28 12:25:31 - Views: 9306
ไฟทอปธอรา (Phytophthora) ระบาดหนักในสวนยาง แก้ด้วย ไอเอส
Update: 2562/08/13 21:17:14 - Views: 3063
คู่มือเบื้องต้น การป้องกันกำจัดโรคข้าวโพดต่างๆ ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อรา
Update: 2566/04/29 15:44:41 - Views: 10485
โรครากเน่าโคนเน่าในทุเรียน ใบที่ยอดกิ่งมีสีซีด ไม่มันเงา เพราะรากเน่า แก้ด้วยไอเอส
Update: 2562/09/11 14:11:13 - Views: 3458
ควบคุม ป้องกัน กำจัด แมลงศัตรูพืช และโรคพืช ที่ติดเชื้อ และไม่ติดเชื้อ
Update: 2563/11/05 09:37:56 - Views: 6455
ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันและยับยั้งเชื้อรา ขนาด 3 ลิตร ปลอดภัย ใช้ดี
Update: 2562/08/30 11:47:08 - Views: 3483
ยาฆ่าเพลี้ย กำจัดเพลี้ย ด้วย มาคา ยาฆ่าเพลี้ยปลอดสารพิษ
Update: 2563/01/16 14:54:52 - Views: 4563
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคพืช ฉีดพ่น ไอเอส และ FK-T ช่วยฟื้นฟู พืช จากการเข้าทำลายของเชื้อรา โดย FK ขนาด 250 ซีซี
Update: 2566/06/21 10:30:40 - Views: 432
ยาป้องกัน กำจัด หนอนกอข้าว หนอนแมลงวันเจาะยอดข้าว ไอกี้-บีที + FK ธรรมชาตินิยม บำรุง ฟื้นตัว แข็งแรง ออกดอก ติดผล
Update: 2564/08/13 03:46:23 - Views: 3126
ขิง สมุนไพรไทย บรรเทาอาการโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ได้
Update: 2564/08/19 06:21:57 - Views: 3186
หนอนชอนใบ แตงกวา แตงโม เมล่อน หนอนต่างๆ กำจัดด้วย ไอกี้-บีที
Update: 2562/08/15 09:06:28 - Views: 3669
มะละกอ ใบไหม้ ใบจุด รากเน่าโคนเน่า แอนแทรคโนส ราแป้ง ราสนิม โรคราต่างๆ กำจัดด้วย ไอเอส และเร่งฟื้นฟูด้วย ปุ๋ย FK-T
Update: 2567/03/30 12:01:57 - Views: 76
ยกเลิกกองทุนน้ำมัน แก้ไขปัญหาพลังงานอย่างยั่งยืนได้จริงหรือ??
Update: 2558/05/04 04:35:46 - Views: 3037
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022