[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | All contents
3509 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 350 หน้า, หน้าที่ 351 มี 9 รายการ

เพลี้ยไฟ (rice thrips)
เพลี้ยไฟ (rice thrips)
ชื่อวิทยาศาสตร์ : Stenchaetothrips biformis (Bagnall) วงศ์ : Thripidae อันดับ : Thysanoptera

เพลี้ยไฟ Stenchaetohrips biformis (Bagnall) เป็นแมลงจำพวกปากดูด ขนาดเล็กลำตัวยาวประมาณ 1-2 มิลลิเมตร มีทั้งชนิดมีปีกและไม่มีปีก ตัวเต็มวัยมีสีดำ ตัวอ่อนสีเหลืองอ่อน ตัวเต็มวัยวางไข่ในเนื้อเยื่อของใบข้าว ตัวอ่อน มี 2 ระยะ ระยะเวลาตั้งแต่ตัวอ่อนถึงตัวเต็มวัยนานประมาณ 15 วัน

ลักษณะการทำลายและการระบาด

เพลี้ยไฟทั้งตัวอ่อนและตัวเต็มวัยจะทำลายข้าวโดยการดูดกินน้ำเลี้ยง จากใบข้าวที่ยังอ่อนโดยอาศัยอยู่ตามซอกใบ ระบาดในระยะกล้า เมื่อใบข้าวโตขึ้นใบที่ถูกทำลายปลายใบจะเหี่ยวขอบใบจะม้วนเข้าหากลางใบและ อาศัยอยู่ในใบที่ม้วนนั้น พบทำลายข้าวในระยะกล้าหรือหลังปักดำ 2-3 สัปดาห์ โดยเฉพาะในอากาศร้อนแห้งแล้งหรือฝนทิ้งช่วงนานติดต่อกันหรือสภาพนาข้าวที่ ขาดน้ำ ถ้าระบาดมากๆ ทำให้ต้นข้าวแห้งตายได้ทั้งแปลง

พืชอาหาร

ข้าว ข้าวสาลี ข้าวโอ๊ต ข้าวบาร์เลย์ มิลเลท ป่านลินิน หญ้าข้าวนก หญ้าไซ และหญ้าต่างๆ

การป้องกันกำจัด

1) ดูแลแปลงข้าวระยะกล้าหรือหลังหว่าน 7 วัน อย่าให้ขาดน้ำ

2) ไขน้ำท่วมยอดข้าวทิ้งไว้ 1-2 วัน เมื่อตรวจพบเพลี้ยไฟตัวเต็มวัย 1-3 ตัวต่อต้นในข้าวอายุ 6-7 วันหลังหว่าน ใช้ปุ๋ยยูเรียอัตรา 10 กิโลกรัมต่อไร่ หว่านเมื่อข้าวอายุ 10 วัน เพื่อเร่งการเจริญเติบโตของต้นข้าว

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

มาคา สารอินทรีย์ ป้องกัน กำจัด เพลี้ยไฟ และเพลี้ยต่างๆ

FK-1 บำรุง ฟื้นฟู ส่งเสริมการเจริญเติบโต ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
โรคพืชวงศ์แตง แตงโม แตงกวา เมลอน สคว็อช ซุคคินี่
โรคพืชวงศ์แตง แตงโม แตงกวา เมลอน สคว็อช ซุคคินี่
สำรวจโรคในแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์แตงโม (19แปลง) แตงกวา (16 แปลง) เมลอน (93 แปลง) สคว็อช (33แปลง) ซุคคินี่ (28แปลง) ในเขต อ.เมืองขอนแก่น _ อ.หนองเรือ_ อ.น้ำพอง จังหวัดขอนแก่น และ อ.เชียงยืน จ.มหาสารคาม_ กิ่งอำเภอเอราวัณ จ.เลย_ อ.นากลาง จ.หนองบัวลำภู_ อ.ดอนตาล และ อ.หว้านใหญ่ จ.มุกดาหาร และน้ำเต้า(17 แปลง) ในอ.ยางตลาด อ.ห้วยผึ้ง จ.กาฬสินธุ์

ในช่วงฤดูการปลูกปลายธันวาคม 2548- เดือนเมษายน 2549_ กันยายน - พฤศจิกายน 2549 และช่วงฤดูปลูกปลายธันวาคม 2549 ถึง เมษายน 2550 ในแต่ละแปลงได้สำรวจโรค 2 ครั้งคือ ในช่วงที่เริ่มผสมเกสรหรือติดผลแรก และในระยะที่ผลแก่เต็มที่ก่อนเก็บเกี่ยว รวมทั้งการตรวจวินิจฉัยตัวอย่างโรคแตงโมที่ปลูกอยู่ในแหล่ง อ.เมืองขอนแก่น จ.ขอนแก่น อ. พรรณานิคม จ. สกลนคร และ อ.ชานุมาน จ.อำนาจเจริญ ซึ่งบริษัทผลิตเมล็ดพันธุ์ส่งมาให้ตรวจ

ได้พบโรคที่สำคัญต่อการผลิตเมล็ดพันธุ์ซึ่งอาการโรคมีความแตกต่างไปตามชนิด โรค ชนิดพืช สายพันธุ์พืช ระยะการเจริญของพืชและวิธีการดูแลรักษาแปลงผลิตเมล็ดพันธุ์ของเกษตรกร และระดับความรุนแรงของโรคแต่ละชนิดในแปลงแตกต่างกันไปตามสภาพการเอา ใจใส่ดูแลแปลง และสภาพพื้นที่ปลูก และสายพันธุ์พืช

แบ่งออกได้เป็นกลุ่มใหญ่ คือ

กลุ่มที่ 1) โรคที่เกิดจากเชื้อรา จัดเรียงตามลำดับความถี่ที่พบจากมากไปน้อย ได้แก่ โรคเถาแตกยางไหล (gummy stem blight) จากเชื้อรา Didymella bryoniae หรือ Phoma cucurbitarum โรคเถาแตกผลเน่าดำจากเชื้อราไฟซาโลสปอรา (Physalospora rhodina) โรคราน้ำค้าง(downy mildew) จากเชื้อรา Pseudoperospora cubensis โรคราแป้ง (powdery mildew) เกิดจากเชื้อรา Oidium sp. โรคเหี่ยวฟิวซาเรี่ยม (fusarium wilt) เกิดจากเชื้อรา Fusarium spp. โรคใบจุดเซอร์คอสปอรา (Cercospora leaf spot) เกิดจากเชื้อรา Cercospora sp. โรคใบจุดคอไรนีสปอรา (Corynespora leaf spot) เกิดจากเชื้อรา Corynespora sp. โรคแอนแทรกโนส (anthracnose) เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum orbiculare โรคเหี่ยวสเคลอโรเตียม (sclerotium wilt) เกิดจากเชื้อรา Sclerotium rolfsii โรคผลเน่าจากเชื้อราพิเทียม (Pythium spp.)

กลุ่มที่ 2) โรคที่เกิดจากเชื้อแบคทีเรีย จัดเรียงตามลำดับความถี่ที่พบจากมากไปน้อย ได้แก่ โรคใบจุดแบคทีเรียจากเชื้อ แซนโทโมแนส (Xanthomonas leaf spot) จากเชื้อ Xanthomonas spp._ โรคผลเน่าแบคทีเรีย(bacterial fruit blotch เกิดจากเชื้อ อะซิโดโวแรกซ์ (Acidovorax avenae subsp. citrulli) โรคผลเน่าจากเชื้อเออร์วิเนีย (Erwinia spp.) โรคเหี่ยว ต้นหรือเถาเน่าเละ (wilt and stem or vine soft rot) จากเชื้อเออร์วิเนีย (Erwinia spp.) และกลุ่มอาการโรคที่จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยระบุชนิดเชื้อ เพิ่มเติมคือ โรคเหี่ยวเฉียบพลัน (sudden wilt) ในเมลอน โรคยอดไหม้ถอยกลับ (die back) โรคเหี่ยวเขียวในแตงกวา (bacterial wilt) และโรคเถาเหี่ยวเหลืองในแตงกวา (yellow vine wilt) โรคเถาแห้ง (vine necrosis)

กลุ่มที่ 3) โรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส เรียงตามความถี่ที่พบจากมากไปน้อย คือ โรคใบด่างซีเอ็มวี (Cucumber mosaic virus) โรคใบด่างจากเชื้อในจีนัสโพทีไวรัสซึ่งมีหลายชนิด ได้แก่ ไวรัสใบด่างจุดวงแหวนมะละกอ (Papaya ringspot virus-W)_ ไวรัสใบด่างซุคคินี่ (Zucchini yellow mosaic virus)_ และไวรัสในวงศ์โพทีวิริดีที่ยังไม่ได้จำแนกระบุชนิด โรคใบด่างเนื้อเยื่อตายที่เกิดจากไวรัสในจีนัสทอสโพไวรัส (Tospovirus) โรคใบด่างเขียวที่เกิดจากเชื้อไวรัสใบด่างเขียว( Cucumber green mottle mosaic virus) และกลุ่มไวรัสที่จำเป็นต้องศึกษาข้อมูลเพื่อการวินิจฉัยระบุชนิดเพิ่มเติม คือ โรคไวรัสใบด่างเนื้อเยื่อตาย และโรคไวรัสเถาเหลือง

กลุ่มที่ 4) โรคที่เกิดจากไส้เดือนฝอย ในบางพื้นที่พบปัญหาสำคัญที่เกิดจากไส้เดือนฝอยรากปม (Meloidogyne spp.)

และ กลุ่มที่ 5) โรคที่เกิดจากสิ่งไม่มีชีวิต (abiotic disease) ที่พบมากคือ การเป็นพิษจากสารเคมีกำจัดศัตรูพืชและสารกำจัดวัชพืชที่ฉีดพ่นแบบไม่ถูกต้อง

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
โรคราน้ำค้างแตงโม
โรคราน้ำค้างแตงโม
โรคราน้ำค้างที่เกิดกับแตงโม ลักษณะที่มองเห็นได้ คือ เกิดจุดสีเหลืองบนหลังใบ และขยายตัวใหญ่ขึ้น จำนวนจุดสีเหลืองเพิ่มปริมาณมากขึ้น และใต้ใบตรงตำแหน่งเดียวกัน จะมีกลุ่มของเชื้อราสีม่วงอมเทาเกาะเป็นกลุ่มอยู่ เชื้อโรคนี้เจริญได้อย่างรวดเร็ว เมื่ออากาศอุ่นและชุ่มชื้น เมื่อใบแก่ตายเชื้อก็จะไปทำลายใบอ่อนต่อไป เมื่อใบแห้งไปหมดแล้ว ผลที่เกิดขึ้นมาก็คือ แตงติดผลน้อยและคุณภาพผลแก่ก็ต่ำด้วย สปอร์ของเชื้อรานี้แพร่ระบาดไปโดยลมและโดยแมลงพวกเต่าแตง

สาเหตุของโรคราน้ำค้างแตงโม

คล้ายๆกับโรคราน้ำค้างทั่วๆ ไป คือ ชอบอุณหภูมิที่ค่อนข้างเย็นและความชื้นสูงในการเกิด และการเข้าทำลายพืช โรคราน้ำค้างของแตงโมจะเจริญเติบโตระบาดได้ดีในช่วงของอุณหภูมิระหว่าง 16-27 องศาเซลเซียส แต่จะดีที่สุดที่ 20 องศาเซลเซียสส่วนความชื้นนั้นต้องสูงเกินกว่า 86% ขึ้นไป

การป้องกันและกำจัดโรคราน้ำค้าง

ขจัดทำลายวัชพืชพวกแตงต่างๆ และต้นที่งอก หรือหลงเหลือจากการเก็บเกี่ยวให้หมดจากบริเวณหรือแปลงปลูก

เมื่อปรากฏมีโรคเกิดขึ้นในแปลงปลูก ให้รีบป้องกันการระบาดเพื่อรักษาต้นที่ยังดีอยู่โดยการใช้สารป้องกันกำจัดโรคพืชจากเชื้อรา

อ้าอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
แตงโมเถาเหี่ยว
แตงโมเถาเหี่ยว
โรคแตงโมเถาเหี่ยว เกิดจากเชื้อรา Fusarium oxysporum ใบแตงโมเหลือง จากโคนเถา ลุกลามสู่ยอด และเริ่มเหี่ยวแห้งตาย ส่งผลโดยตรงต่อผลผลิต

ข้อสังเกตลักษณะ/อาการที่อาจพบ

แตงโมจะแสดงอาการใบเหลืองโดยเริ่มจากใบบริเวณโคนเถาและเหลืองต่อเนื่องไปสู่ยอด ต่อมาเถาแตงจะเหี่ยวและตาย บางครั้งจะมีรอยแตงตามยาวของลำต้น โดยเฉพาะบริเวณโคนเถา
ที่ใกล้กับผิวดิน หากมีความชื้นสูงจะพบเส้นใยสีขาวอมชมพูของเชื้อราสาเหตุโรค และเมื่อผ่าดูจะพบภายในลำต้นเป็นสีน้ำตาล

แนวทางการป้องกัน/แก้ไข ดังนี้

๑. หลีกเลี่ยงการปลูกแตงโมในพื้นที่ที่เคยมีการระบาดของโรคนี้มาก่อน

๒. ก่อนปลูกควรไถกลับหน้าดินตากแดด และใส่ปูนขาวหรือโดโลไมท์ เพื่อปรับสภาพดิน

๓. แปลงปลูกควรมีการระบายน้ำที่ดี

๔. ไม่ปลูกแตงโมแน่นเกินไป เพื่อให้สามารถระบายความชื้นได้ดี

๕. ตรวจแปลงปลูกสม่ำเสมอ เมื่อพบโรคให้ถอนต้นที่เป็นโรคนำไปเผาทำลายนอกแปลงปลูก แล้วโรยปูนขาวหรือให้สารป้องกันกำจัดโรคพืช

แปลงที่มีการระบาดของโรค ควรปลูกพืชชนิดอื่นหมุนเวียน ไม่ปลูกพืชตระกูลแตง เช่น แตงกวา ฟักทอง มะระ และแคนตาลูป และพืชในตระกูลพริก มะเขือเทศ และมันฝรั่ง เนื่องจากอ่อนแอต่อโรค

อ้างอิง:
- ศูนย์วิจัยและพัฒนาการเกษตรปทุมธานี
- ที่มา http://www.farmkaset..link.. - รูปภาพจาก http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการแตกยอด แตกใบใหม่ ส่งเสริมผลผลิต

รายละเอียดด้านล่างนะคะ
วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA คืออะไร
วัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA คืออะไร
mRNA คืออะไร - mRNA (messenger Ribonucleic Acid) เป็นสารพันธุกรรมที่อยู่ในเซลล์ของร่างกายทำหน้าที่ออกคำสั่งให้เซลล์ผลิตโปรตีนขึ้นตามรหัสคำสั่งนั้น ๆ เป็นกลไกปกติของร่างกาย

การทำงานของวัคซีนชนิด mRNA ในร่างกาย

หลักการทำงานของวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA คือการเอาชิ้นส่วนสารพันธุกรรมของเชื้อโควิด- 19 (mRNA) ส่วนที่เกี่ยวข้องกับการสร้างโปรตีนส่วนที่เป็นปุ่มหนามของเชื้อไวรัส (Spike protein) นำมาสังเคราะห์เป็นรหัสคำสั่งที่เรียกว่า S-spike mRNA

เมื่อฉีดวัคซีนชนิด mRNA เข้าสู่ร่างกายจะทำให้เซลล์ในร่างกายผลิตโปรตีนส่วนที่เป็นปุ่มหนามของไวรัสขึ้น และโปรตีนที่ผลิตในส่วนนี้เองจะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นภูมิคุ้มกัน (Antigen) ให้ร่างกายรู้จักกับเชื้อโรคโควิด-19 และสร้างภูมิคุ้มกัน (Antibody)เพื่อป้องกันการเจ็บป่วยหรือเสียชีวิตจากโรคโควิด-19

โดยธรรมชาติ สารพันธุกรรม mRNA เหล่านี้จะถูกขจัดออกจากร่างกายภายในระยะเวลาไม่นาน จึงไม่สะสมหรือฝังตัวอยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ในร่างกายตามที่มีการเผยแพร่ในสื่อสังคมออนไลน์

การใช้วัคซีนชนิด mRNA ป้องกันโรคโควิด-19

ปัจจุบันทั่วโลกฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ชนิด mRNA มากกว่า 500_000_000 โดส จากการศึกษาพบว่ามีโอกาสเกิดผลข้างเคียงต่ำประมาณ 3-5 : 1_000_000 โดส ซึ่งใกล้เคียงกับวัคซีนอื่น ๆ ที่กำลังฉีดทั่วโลก โดยภาพรวมถือว่าวัคซีนชนิดนี้มีความปลอดภัยสูง และเป็นวัคซีนที่ได้ผลในการป้องกันการติด
เชื้อโรคโควิด-19 สูงถึงร้อยละ 95

คำแนะนำจากแพทย์

วัคซีนป้องกันโรคโควิด- 19 ที่ดีที่สุดคือ วัคซีนที่เราได้ฉีดเร็วที่สุด จึงควรลดความวิตกกังวลเกี่ยวกับผลข้างเคียงจากการฉีดวัคซีน และติดตามข้อมูลข่าวสารทางวิชาการอย่างสม่ำเสมอ เพื่อผ่านพ้นวิกฤตโรคโควิด-19 ไปด้วยกัน

ข้อมูล ณ วันที่ 7 มิถุนายน 2564
ที่มา : ศ. นพ.เกียรติ รักษ์รุ่งธรรม
6 สมุนไพรไทย สมุนไพรพื้นที่บ้านช่วยต้านโควิด 19
6 สมุนไพรไทย สมุนไพรพื้นที่บ้านช่วยต้านโควิด 19
ซึ่งจากการศึกษาวิจัย พบว่า ฟ้าทะลายโจร มีกลไกต้านไวรัส ป้องกันไม่ให้ไวรัสเข้าเซลล์_ ลดการแบ่งตัวไวรัสภายในเซลล์_ เพิ่มภูมิคุ้มกันในการต่อสู้กับไวรัส_ ลดการอักเสบที่ปอดจากการติดเชื้อไวรัส

กระชายขาว สมุนไพรต้านโควิด

สมุนไพรอย่างที่ 2 ที่แพทย์แนะนำคือ กระชายขาว โดยจากการศึกษาพบกว่า สาร panduratin ของกระชายขาวมีฤทธิ์ในการต้านไวรัสทั้งในระยะก่อนและหลังการติดเชื้อ และยังมีฤทธิ์ยับยั้งการทำงานของเชื้อเอดส์ ต้านไวรัสไข้เลือดออกในกลุ่ม Flaviviridae family และยับยั้งเชื้อไวรัส picornavirus ซึ่งก่อโรคมือเท้าปาก นอกจากนี้ยังพบว่า ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสโควิด-19 ได้อีกด้วย

ขิง สมุนไพรต้านโควิด

สมุนไพรตัวที่ 3 คือ ขิง ซึ่งมีรสเผ็ดร้อนเป็นสมุนไพรพื้นบ้านมักนำมารับประทานแก้หวัด แต่จากการศึกษาพลว่า สารสำคัญ Zingerol และ Gingerol สามารถแย่งจับกับตำแหน่ง main protease ที่ช่วยยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 ได้

มะขามป้อม สมุนไพรต้านโควิด

สมุนไพรตัวที่ 4 คือ มะขามป้อม ซึ่งเป็นยาแก้ไอ ละลายเสมหะ โดยพื้นบ้านใช้รักษาหลอดลมอักเสบ วัณโรคปอด หอบหืด ช่วยส่งเสริมการทำงานของระบบภูมิคุ้มกัน โดยสารสำคัญในมะขามป้อมสามารถจับกับขาโปรตีนของไวรัสโควิด-19 และตัวรับ ACE2 ซึ่งมีบทบาทการผ่านเข้าเซลล์ปอด และยังเข้าจับกับเชื้อในหลายตำแหน่งที่มีผลต่อการยับยั้งการสร้างและการแบ่งตัวของเชื้อไวรัสได้

กระเทียม สมุนไพรต้านโควิด

สมุนไพรตัวที่ 5 คือ กระเทียม ซึ่งมีฤทธิ์ต่อระบบภูมิคุ้มกัน เพราะสาร allicin ในกระเทียม มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ป้องกันการหลั่งสาร cytokine ที่ทำให้เกิดการอักเสบ นอกจากนี้ยังส่งเสริมการทำงานของเม็ดเลือดขาว และช่วยเพิ่มแอนติบอดี้ ชนิด immunoglobulin A (IgA) ซึ่งเป็นด่านแรกของภูมิคุ้มกันในร่างกาย อีกทั้งยังช่วยกระตุ้นการทำงานของ B-cell lymphocyte รวมทั้งกระตุ้นการหลั่งของสาร interferon ซึ่งเป็นสารที่สร้างในระบบภูมิคุ้มกันเพื่อต้านไวรัส

ขมิ้นชัน สมุนไพรต้านโควิด

สมุนไพรตัวที่ 6 คือ ขมิ้นชัน ซึ่งจากการศึกษาพบว่าสารสำคัญของขมิ้นชัน และdemethoxycurcumine สามารถแย่งจับกับตำแหน่งของไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ 2019 ที่จะเข้าสู่เซลล์ปอด และตำแหน่งที่มีผลยับยั้งการแบ่งตัวของไวรัสได้

และนี่เป็นเพียงตัวอย่างสมุนไพรพื้นบ้านซึ่งเป็นภูมิปัญญารุ่นต่อรุ่นที่มีการส่งต่อมาถึงปัจจุบัน และยิ่งมีการศึกษาวิจัยก็ยิ่งทำให้เห็นชัดว่าสมุนไพรไทย ก็สามารถต่อยอดจนเป็นที่ยอมรับได้อย่างกว้างขวาง

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
การปลูกกระชายขาว
การปลูกกระชายขาว
การขยายพันธุ์กระชายขาว: ปลูกด้วยเหง้าที่มีอายุ 8 เดือนขึ้นไป และต้องมีรากกระชายอยู่ 2 – 3 ราก/เหง้า

การเพาะปลูกกระชายขาว – ปลูกในดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์สูง ที่มีร่มเงารำไรโดยมากจะเป็นการปลูกในที่ดอน หรือปลูกกลางแจ้งในเขตพื้นที่ลาดเอียงที่มีความชื้นสูง โดยไถพรวนและขุดหลุมปลูกเป็นแถว ระยะระหว่างแถวและต้น 30 ซม. ส่วนการปลูกเป็นการค้าจะปลูกกลางแจ้งในเขตชลประทานหรือสามารถให้น้ำได้ ไถพรวนดินและยกร่องปลูกกว้าง 80 – 120 ซม. ใช้ระยะปลูกระหว่างแถวและต้น 25 – 30 ซม. ขึ้นอยู่กับความอุดมสมบูรณ์ของดิน ปลูกแล้วใช้ฟางคลุมรักษาความชื้นของดิน รดน้ำทุก 2 – 3 วัน/ครั้ง กำจัดวัชพืชให้แปลงสะอาด และใส่ปุ๋ยเคมีสูตรเสมอ อัตรา 30 กก./ไร่ เมื่ออายุประมาณ 3 เดือนหลังปลูกและเก็บเกี่ยวเมื่ออายุ 8 เดือนขึ้นไป ถ้าต้องการขยายช่วงเวลาเก็บเกี่ยวให้นานขึ้นหรือไว้ทำพันธุ์จะต้องคลุมฟางและรดน้ำเป็นครั้งคราวเพื่อรักษาความชื้นของดินให้เหง้าและรากกระชายไม่ฝ่อในช่วงแล้ง

ที่มา : กรมวิชาการเกษตร
การปลูกฟ้าทะลายโจร
การปลูกฟ้าทะลายโจร
ฟ้าทะลายโจร (Kariyat_ The Creat) สำหรับในประเทศไทยมีชื่อเรียกเฉพาะแตกต่างกันไปในแต่ละภาค เช่น หญ้ากันงู เมฆทะลายฟ้าสะท้าน สามสิบดี ฟ้าสาง หรือน้ำลายพังพอน

ลักษณะเป็นพืชล้มลุก ความสูงประมาณ 30-70 เซนติเมตร มีรสขมทุกส่วน กิ่งใบเป็นสี่เหลี่ยม ใบมีสีเขียวเข้มผิวมัน ออกดอกเป็นช่อที่ปลายกิ่งและซอกใบ กลีบดอกสีขาว โคนกลีบติดกัน ปลายแยก 2 ปาก ปากบนมี 3 กลีบ และมีเส้นสีม่วง-แดงพาดอยู่ มีผลเป็นฝัก เมื่อแก่จะมีสีน้ำตาล ด้านในมีเมล็ดจำนวนมาก สามารถนำมาใช้ประโยชน์ได้เมื่อต้นมีอายุประมาณ 3-5 เดือน ใช้ได้ทั้งต้น ใบสด และใบแห้ง

สายพันธุ์ฟ้าทะลายโจรที่นำมาปลูกมี 3 สายพันธุ์ด้วยกัน คือ สายพันธุ์จาก อ.กำแพงแสน จังหวัดนครปฐม เป็นสายพันธุ์ที่ให้ค่าน้ำหนักสดเฉลี่ยต่อต้นสูงสุด นอกเหนือจากนี้ก็มีสายพันธุ์จากระยอง และสายพันธุ์จากศรีสะเกษ

เทคนิคการปลูกและการดูแลรักษาฟ้าทะลายโจร

1. การเตรียมการก่อนปลูก

1.1 การเตรียมดิน โดยการขุดหรือไถพรวนเพื่อให้ดินร่วนซุย และตากดินไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วจึงทำการไถแปร และปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ปุ๋ยคอก หรือปุ๋ยหมัก

1.2 การเตรียมพันธุ์ ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ใช้เมล็ดจากฝักแก่จัด เมล็ดต้องมีสีน้ำตาลแดง ลักษณะสมบูรณ์ ปราศจากโรคและแมลง เนื่องจากเมล็ดมีเปลือกแข็ง ก่อนปลูกแช่เมล็ดในน้ำที่อุณหภูมิห้อง ประมาณ 6-12ชั่วโมง เพื่อให้น้ำซึมผ่านเมล็ดและเมล็ดสามารถงอกได้

การปลูก ฟ้าทะลายโจรสามารถปลูกด้วยเมล็ดหรือต้นกล้า มี 4 วิธี คือ

1. นำเมล็ดผสมทรายหยาบอัตรา 1:1-2 ส่วน แล้วหว่านในแปลงปลูก

2. โรยเมล็ดเป็นแถวแนวขวาง แต่ละแถวห่างกันประมาณ 50 เซนติเมตร แล้วกลบด้วยดินบาง ๆ

3. เพาะต้นกล้าในถาดเพาะ แล้วย้ายกล้ามาปลูกในแปลง เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ 30 วัน

4. เพาะต้นกล้าในแปลง การเตรียมแปลงเพาะต้นกล้าใช้วิธีเดียวกับการทำแปลงปลูก โดยรองพื้น

ด้วยปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ 0.5-1 กิโลกรัม ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร



3. การดูแลรักษา

3.1 การใส่ปุ๋ย

แบ่งใส่เป็นระยะ ดังนี้ อายุ 60 วัน ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ 125 กรัมต่อต้น หรือ 300 - 400 กรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร และเมื่ออายุ 90 - 110 วัน ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 300 - 500 กรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร โดยวิธีการหว่านให้กระจายสม่ำเสมอกัน หลังหว่านปุ๋ยแล้วต้องรดน้ำทันทีอย่าให้ปุ๋ยค้างที่ใบ

3.2 การให้น้ำ

ควรให้น้ำอย่างสม่ำเสมอและพอเพียง ตั้งแต่ปลูกจนถึงช่วงเก็บเกี่ยว ในช่วงที่มีแดดจัดหรือหน้าร้อนควรรดน้ำ 2 ครั้งต่อวัน ทั้งเช้าและเย็น หากมีแดดไม่จัดมาก รดน้ำวันละครั้งเฉพาะช่วงเย็นก็ได้ เมื่อต้นอายุประมาณ 2 เดือนสามารถลดการให้น้ำได้ ขึ้นอยู่กับความเหมาะสม

3.3 การป้องกันและแก้ไข ปัญหาโรคและแมลงศัตรูพืช

โรคฟ้าทะลายโจร ได้แก่ โรคโคนเน่าและรากเน่า เกิดจากเชื้อรา หากพบให้ถอนทำลายทันที โรคแอนเทรคโนส พบตรงกลางหรือปลายใบ หากพบให้ตัดส่วนที่เป็นโรคทิ้ง (โรคที่เกิดขึ้นกับฟ้าทะลายโจรนั้น ไม่พบว่าทำความเสียหายขั้นรุนแรง)

แมลงศัตรูฟ้าทะลายโจร ไม่พบแมลงชนิดใดที่ทำความเสียหายรุนแรง อาจพบหนอนผีเสื้อได้บ้าง ก็สามารถจับไปทำลายทิ้งได้



4. การปฏิบัติก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว

- เก็บเกี่ยวในช่วงที่พืชออกดอกตั้งแต่เริ่มออกดอกจนถึงดอกบาน 50% ซึ่งพืชจะมีอายุประมาณ 110 - 150 วัน เป็นช่วงที่มีสารสำคัญสูง โดยพบมากที่ส่วนยอดและใบ

- วิธีการเก็บเกี่ยวให้ตัดทั้งต้น ให้เหลือตอสูงประมาณ 5 - 10 เซนติเมตร เพื่อให้เจริญให้ผลผลิตต่อไป ใช้เวลาประมาณ 2 - 3 เดือนจึงสามารถเก็บเกี่ยวได้อีกครั้ง

- การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว นำไปคัดแยกสิ่งปลอมปน เช่น วัชพืชที่ปะปนมาและล้างให้สะอาด ตัดเป็นท่อนๆ ยาวประมาณ 3 - 5 เซนติเมตร ผึ่งให้แห้ง ทำแห้งโดย ตากแดดบนลานตากยกพื้นมีวัสดุรองรับที่สะอาด หรือใช้เครื่องอบแห้งแบบลมร้อน ที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียส ใน 8 ชั่วโมงแรก และลดอุณหภูมิเหลือ 40 - 45 องศาเซลเซียส อบต่อจนแห้งสนิท

5. ข้อมูลอื่นๆ

สารสำคัญออกฤทธิ์ มีสารสำคัญประเภท ไดเทอร์ฟีน แลคโตน (diterpene lactones) ได้แก่ แอนโดรการโฟไลด์ (andrographolide) มีฤทธิ์ลดไข้และต้านอักเสบ และ ดีออกซีแอนโดรการโฟไลด์ (deoxyandrographolide) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของท้องร่วง มาตรฐานของฟ้าทะลายโจรที่ใช้ในการผลิตยาจะต้องมี andrographolide ไม่น้อยกว่า 6% โดยน้ำหนัก

ที่มาของข้อมูล: กรมส่งเสริมการเกษตร กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
โรคราสีชมพู ที่เกิดกับ ลองกองผลอ่อน
โรคราสีชมพู ที่เกิดกับ ลองกองผลอ่อน
สภาพอากาศร้อน สลับกับมีฝนตกในช่วงนี้ กรมวิชาการเกษตร เตือนเกษตรกรชาวสวนลองกองเฝ้าระวัง การระบาดของโรคราสีชมพู มักพบโรคในระยะที่ต้นลองกองมีผลอ่อน เริ่มแรกพบเส้นใยสีขาวของเชื้อรา เจริญคลุมกิ่งหรือลำต้น ต่อมาเส้นใยของเชื้อราหนาขึ้นและเปลี่ยนเป็นสีชมพูยึดแน่นกับกิ่ง เมื่อเฉือนดูบริเวณกิ่งหรือลำต้นที่พบเชื้อรา จะพบเนื้อไม้เป็นแผลสีน้ำตาล และกิ่งที่เป็นโรคราสีชมพูบริเวณยอดจะเหี่ยว ใบเหลือง และร่วงเป็นหย่อมๆ ต่อมากิ่งจะแห้งตายในที่สุด

สำหรับแนวทางในการป้องกันโรคราสีชมพู ให้เกษตรกรตัดแต่งทรงพุ่มต้นลองกองให้โปร่ง มีอากาศถ่ายเทสะดวก เพื่อลดการสะสมความชื้นใต้ทรงพุ่มไม่ให้มีมากเกินไป ส่วนในช่วงฤดูฝนเกษตรกรควรหมั่นตรวจดูต้นลองกองบริเวณกิ่งภายในสวนอย่างสม่ำเสมอ หากพบอาการใบเหลืองหรือพบราสีขาว หรือสีชมพูขึ้นบนกิ่ง ให้เกษตรกรตัดกิ่งที่เป็นโรค เก็บเศษซากพืชส่วนที่เป็นโรค และกำจัดวัชพืชในแปลงปลูกนำไปเผาทำลายนอกสวน เพื่อลดการสะสมเชื้อราสาเหตุโรค

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันกำจัดโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา

FK-1 ฟื้นฟู บำรุง ส่งเสริมการเจริญเติบโต ส่งเสริมผลผลิต
โรคทุเรียนต่างๆ สร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก ป้องกันเอาไว้ ดีกว่าแก้ไขในภายหลัง
โรคทุเรียนต่างๆ สร้างความเสียหายเป็นอย่างมาก ป้องกันเอาไว้ ดีกว่าแก้ไขในภายหลัง
โรครากเน่าโคนเน่าทุเรียน โรคทุเรียนใบไหม้ และโรคทุเรียนต่างๆ ที่มีต้นเหตุจากเชื้อรา ระบาดสวนทุเรียน ส่งผลให้ ผลผลิตทุเรียนเสียหายหนัก กรมวิชาการเกษตรแนะเกษตรกรสวนทุเรียนใช้วิธีป้องกันกำจัดอย่างถูกต้องและเหมาะสม ช่วยแก้ปัญหาตรงจุด ลดความเสียหายของผลผลิต หยุดวงจรการระบาดของโรครากเน่าโคนเน่าได้ผลจริง

ปัญหาโรคระบาดของทุเรียน ระบาดเป็นวงกว้าง ส่งผลอย่างหนัก ทำให้เกิดความเสียหายต่อผลผลิต ในสภาพอากาศที่แปรปรวน ฝนตกชุกต่อเนื่อง ความชื้นในอากาศสูง เกษตรกรควรฉีดพ่นสารอินทรีย์ เพื่อป้องกันโรคพืช ที่อาจเกิดกับทุเรียนได้ โดยเฉพาะโรคทุเรียน ที่มีสาเหตุจากเชื้อราต่างๆ

ในสภาพอากาศแปรปรวน ร้อนชื้น เป็นภาวะที่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของเชื้อราโรคพืช หากต้นทุเรียนของเรา มีสภาพไม่สมบูรณ์แข็งแรง ได้รับธาตุอาหารไม่ครบถ้วน จะต้านทานต่อโรคพืชได้ต่ำ จะทำให้โรคพืชจากเชื้อรา ระบาดได้ง่าย

ไอเอส เป็นสารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา เช่น โรคทุเรียนใบไหม้ โรคใบติดทุเรียน โรคใบเหลืองแห้งกรอบ

อ้างอิงข้อมูลและภาพจาก กรมวิชาการเกษตร

FK-1 เป็น ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม สารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ที่ช่วยแก้ปัญหาโรคพืช ที่เกิดจากการขาดธาตุ เช่น ทุเรียนก้านธูป หรือโรคยอดไม้กวาดทุเรียน

รายละเอียดทั้ง ไอเอส และ FK-1 เลื่อนดูด้านล่างนะคะ
3509 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 350 หน้า, หน้าที่ 351 มี 9 รายการ
|-Page 279 of 351-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 | 217 | 218 | 219 | 220 | 221 | 222 | 223 | 224 | 225 | 226 | 227 | 228 | 229 | 230 | 231 | 232 | 233 | 234 | 235 | 236 | 237 | 238 | 239 | 240 | 241 | 242 | 243 | 244 | 245 | 246 | 247 | 248 | 249 | 250 | 251 | 252 | 253 | 254 | 255 | 256 | 257 | 258 | 259 | 260 | 261 | 262 | 263 | 264 | 265 | 266 | 267 | 268 | 269 | 270 | 271 | 272 | 273 | 274 | 275 | 276 | 277 | 278 | 279 | 280 | 281 | 282 | 283 | 284 | 285 | 286 | 287 | 288 | 289 | 290 | 291 | 292 | 293 | 294 | 295 | 296 | 297 | 298 | 299 | 300 | 301 | 302 | 303 | 304 | 305 | 306 | 307 | 308 | 309 | 310 | 311 | 312 | 313 | 314 | 315 | 316 | 317 | 318 | 319 | 320 | 321 | 322 | 323 | 324 | 325 | 326 | 327 | 328 | 329 | 330 | 331 | 332 | 333 | 334 | 335 | 336 | 337 | 338 | 339 | 340 | 341 | 342 | 343 | 344 | 345 | 346 | 347 | 348 | 349 | 350 | 351 |


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
การจัดการกับหนอนศัตรูพืชที่ทำลายดอกบานไม่รู้โรย: วิธีป้องกันและกำจัด
Update: 2566/11/13 13:29:48 - Views: 296
หนอนหมี บุกสวนยางที่กระบี่ ชาวบ้านไม่กล้ากรีดยาง
Update: 2564/08/14 22:09:43 - Views: 3912
การปลูกมันสำปะหลังอย่างยั่งยืน: แนวทางปฏิบัติเพื่อพืชที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมากขึ้น
Update: 2566/04/26 13:53:13 - Views: 11292
กำจัดแมลงศัตรูพืช ยาฆ่าด้วงกุหลาบ ในสวนปาล์ม และ พืชทุกชนิด บิวทาเร็กซ์ โดย ไดโนเร็กซ์
Update: 2566/01/27 09:59:11 - Views: 4183
ยาแก้โรครา ในถั่วเขียว และถั่วต่างๆ รากำจัดเพลี้ยใน ถั่ว ถั่วเขียว ยากำจัดหนอน และ ปุ๋ยสำหรับ ถั่วต่างๆ
Update: 2563/06/28 12:38:39 - Views: 4915
ทำความรู้จักกับศัตรูของกาแฟ: การรับมือกับเพลี้ยในต้นกาแฟ
Update: 2566/11/24 12:57:19 - Views: 346
คำนิยม - ลูกค้า ไอกี้บีที กำจัดหนอนปลอดสารพิษ
Update: 2562/09/15 21:25:45 - Views: 2948
โรคเชื้อราต่างๆในแก้วมังกร โรคไหม้ ราจุดสนิม เป็นแผลจุดสีน้ำตา โรคแก้วมังกรต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา
Update: 2564/02/09 04:35:41 - Views: 3132
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์: เพิ่มประสิทธิภาพในการเจริญเติบโตของต้นละมุด
Update: 2567/02/12 14:54:56 - Views: 137
โรคราสนิมถั่วฝักยาว : RUST DISEASE [ ไอเอส + FK-1 ]
Update: 2564/08/09 06:45:45 - Views: 3116
คู่มือเบื้องต้นสำหรับการ ป้องกันและกำจัดโรคในสวนยางพารา ที่มีสาเหตุจากเชื้อราต่างๆ
Update: 2566/04/29 14:56:01 - Views: 13265
FK Talk: กำลังเข้าสู่ฤดูหนาว อย่าลืมใช้ปุ๋ยน้ำปลอดสารพิษจากเรา ดูแลพืชของคุณนะครับ
Update: 2557/10/05 09:05:14 - Views: 3699
คำนิยม - คุณ Ratchatathon ใช้ ไอเอส และมาคา กับสวนกล้วย และฟักทองค่ะ
Update: 2562/08/30 12:25:41 - Views: 2983
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคราสนิม ในข้าวโพด ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง 100%
Update: 2565/12/27 12:09:27 - Views: 3042
กำจัดเชื้อรา สาเหตุของโรคยางไหล ใน แคนตาลูป ไตรโคเดอร์มา ไตรโคเร็กซ์ ปลอดภัยต่อคนและสัตว์เลี้ยง
Update: 2566/01/14 13:23:46 - Views: 3098
ลิ้นจี่ใบไหม้ โรคใบจุดสนิม โรคราลิ้นจี่ ใช้ไอเอส เพลี้ยแมลงในลิ้นจี่ ใช้มาคา ส่วนหนอน ใช้ ไอกี้-บีที
Update: 2563/05/19 11:41:57 - Views: 3098
มันสำปะหลังอินทรีย์ จ.อุบลราชธานี พืชยกระดับรายได้เกษตรกร มีตลาดรองรับ
Update: 2564/05/03 15:16:55 - Views: 5228
แก้โรคอ้อย โรคอ้อยเหี่ยว อ้อยเน่าแดง การป้องกันและกำจัดโรคเหี่ยวเน่าแดง ในอ้อย
Update: 2563/06/08 11:33:07 - Views: 3235
เพิ่มผลผลิตด้วยปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 10-40-10+3 MgO: เคล็ดลับสำหรับการเพิ่มการออกดอกและเร่งรากในการปลูกต้นฝรั่ง
Update: 2567/02/12 13:58:33 - Views: 114
กำจัดเชื้อรา แตงกวา ปลอดสารพิษ ไอเอส และ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/09/28 09:58:22 - Views: 3139
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022