[sort by : last post | top views]..
+ โพสเรื่องใหม่ | ^ เลือกหน้า | All contents
3509 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 350 หน้า, หน้าที่ 351 มี 9 รายการ

ปลูก ข่าตาแดง ส่งโรงงาน สร้างรายได้หลักล้านบาทต่อเดือน
ปลูก ข่าตาแดง ส่งโรงงาน สร้างรายได้หลักล้านบาทต่อเดือน
ปัจจุบันอุตสาหกรรมเครื่องปรุงรสอาหารได้เจริญเติบโตอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้พืชเครื่องเทศที่สำคัญอย่าง “ข่า” ที่ให้รสร้อนซ่าจัดจาดและมีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์ กลายเป็นที่ต้องการของตลาดมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้ ข่ามีอยู่หลากหลายสายพันธุ์ แต่ถ้าพูดถึงสายพันธุ์ข่าที่เป็นที่ต้องการในอุตสาหกรรมเครื่องปรุงรสก็ได้แก่ “ข่าตาแดง” เพราะด้วยคุณสมบัติที่มีกลิ่น สี และรสชาติที่โดดเด่น ตลอดจนมีสรรพคุณทางสมุนไพรมากมาย ดังนั้น ทำให้ข่าตาแดงเป็นที่ต้องการของตลาดจำนวนมาก

คุณราชพฤกษ์ รักษาการ หรือ คุณเบียร์ บ้านเลขที่ 39 หมู่ 6 บ้านหนองปลาหมอ ตำบลหนองปลาหมอ อำเภอโนนสิลา จังหวัดขอนแก่น (โทร. 09-2470-2095) คนรุ่นใหม่ที่มีใจรักเกษตรโดยผันตัวเองจากอาชีพวิศวกรอนาคตไกล มาเป็นปลูกข่าตาแดง เนื่องจากมองเห็นความต้องการของอุตสาหกรรมเครื่องปรุงรสที่มีความต้องการจำนวนมาก ซึ่งกลายเป็นเกษตรกรผู้ปลูกข่ารายใหญ่ที่บุกเบิกปลูกข่าตาแดงส่งโรงงานเครื่องปรุงรส สร้างรายได้สูงกว่า 1 ล้านบาท/เดือน

คุณราชพฤกษ์ เล่าถึงจุดเปลี่ยนจากอาชีพวิศวกรมาเป็นเกษตรกรปลูกข่าตาแดงว่า เกิดจากความเบื่อหน่ายเมืองหลวงที่ต้องเจอรถติด รวมถึงความวุ่นวายของผู้คนที่เดินสวนกันอย่างพลุกพล่าน จึงมีความคิดหาอาชีพใหม่ที่ทำอยู่ใกล้ ๆ บ้านอย่างสงบสุข ซึ่งตอนนั้นได้มีโอกาสออกแบบโรงงานให้กับบริษัทยักษ์ใหญ่ที่ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับเครื่องปรุงรสอาหาร และได้เห็นว่าอุตสาหกรรมเครื่องปรุงรสอาหารมีความต้องการเครื่องเทศอย่างข่า ตะไคร้ ใบมะกรูด จำนวนมาก จึงมีความสนใจกับพืชทั้ง 3 อย่างนี้มาก

“เหตุที่เลือกปลูกข่า เพราะแอบไปถามกับเจ้าหน้าที่ในโรงงานเครื่องปรุงรสอาหารว่าพืชเครื่องเทศอะไรที่เป็นที่ต้องการและได้ราคาสูงสุด ซึ่งเจ้าหน้าที่ก็บอกว่า “ข่า” ดังนั้นจึงกลับไปศึกษาเรื่องข่าพร้อมกับศึกษาตลาดข่าอย่างจริงจัง ซึ่งก็พบว่าเกษตรกรส่วนใหญ่มักจะปลูกข่าเหลือง ซึ่งคิดว่าหากเราปลูกพันธุ์ที่แตกต่างกว่าจะสร้างจุดเด่นได้ดีกว่า และทำให้ข่าที่ปลูกมีราคาดี รวมถึงเป็นที่ต้องการของตลาดด้วย”

จากการศึกษาพันธุ์ข่าต่าง ๆ ก็ตัดสินใจเลือกปลูกข่าตาแดงที่มีลักษณะลำต้นขนาดเล็กสีเขียว ใบ มีรูปร่างคล้ายใบพาย ออกสลับกันรอบ ๆ ต้น ออกดอกเป็นช่อตรงปลายยอด เป็นสีขาวและมีสีแดงเล็กน้อย ส่วนหน่อ มีลักษณะเป็นสีแดง มีกลิ่นหอมฉุนมากกว่าข่าพันธุ์อื่น ๆ ตลอดจนมีสรรพคุณ ทั้งขับลม เป็นยาระบาย รักษาโรคบิด บำรุงโลหิต และที่สำคัญเป็นพืชที่ทนแล้ง สามารถปลูกได้ง่ายทุกสภาพพื้นที่ ทำให้ตัดสินใจเลือกปลูกข่าตาแดง พร้อมกับเจาะจงตลาดไปที่อุตสาหกรรมเครื่องปรุงรส

ก่อนปลูกข่าตาแดงก็ได้คุยกับเจ้าหน้าที่โรงงานแล้วว่าจะปลูกข่าตาแดงซึ่งมีทั้งความโดดเด่น สรรพคุณ รวมถึงกลิ่นที่เฉพาะ ทางโรงงานก็ยินดีจะรับ จึงเริ่มลงมือทำอย่างจริงจัง ซึ่งข่าตาแดงที่ปลูกก็เป็นที่ติดใจของตลาด จนมีความต้องการอย่างต่อเนื่องอีกด้วย จากนั้นก็ได้เปลี่ยนอาชีพจากวิศวกรเป็นเกษตรกรปลูกข่าอย่างเต็มตัว

คุณราชพฤกษ์ บอกว่าตอนนี้มีพื้นที่ปลูกข่าตาแดง 120 ไร่ สามารถส่งผลผลิตสู่โรงงานได้วันละ 1.4 ตัน หรือ 1_400 กิโลกรัม ราคากิโลกรัมละ 30-35 บาท ทำให้มีรายได้ 40_000-50_000 บาท/วัน หรือประมาณ 1_500_000 บาท/เดือน แต่ก่อนที่จะมาถึงจุดนี้ ต้องมีการเรียนรู้เรื่องการปลูกข่าอย่างมาก ซึ่งการเรียนรู้คนเดียวนั้นไม่เพียงพอแน่สำหรับเกษตรกรมือใหม่ ดังนั้น จึงคิดหาวิธีลัดซึ่งก็ คือ การเข้าหาชาวบ้านที่มีประสบการณ์ปลูกข่ามาเป็นสิบ ๆ ปี อาจจะดูโง่ที่จบถึงวิศวกรไปให้เกษตรกรสอนการปลูกข่า แต่สิ่งที่เกษตรกรสอนทุกสิ่งทุกอย่าง มักดีกว่าตำราเป็นร้อย ๆ เล่ม เพราะเรื่องบางเรื่องก็ต้องมาเรียนรู้เอง จะไปเชื่อแต่ในตำราก็ไม่ได้ การที่จะประสบความสำเร็จได้ทุกวันนี้ ต้องมีความขยันหาความรู้ใหม่ ๆ ทั้งในหนังสือ ตลอดจนกล้าที่จะเข้าหาผู้รู้จริง ๆ อย่างเกษตรกรผู้ปลูกนั่นเอง

สำหรับเคล็ดลับการปลูกที่ทำให้ประสบความสำเร็จและสามารถขยายพื้นที่ปลูกข่าได้ถึง 120 ไร่ และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นทุก ๆ วัน คือ ความอดทน ความใส่ใจประณีตทุกกระบวนการในการปลูก รวมถึงความใฝ่รู้ที่ศึกษาเรื่องการปลูกข่าเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ ซึ่งขั้นตอนทั้งหมดทำได้ดังนี้ การเตรียมดิน ต้องมีการไถระเบิดดินดานเพื่อเปิดหน้าดินและให้พืชได้สัมผัสน้ำได้ดียิ่งขึ้น เมื่อเสร็จแล้วให้ไถพรวนดินให้ละเอียดอีกประมาณ 2 รอบ ทั้งนี้ ในการไถพรวนดินควรระวังน้ำท่วมขัง เพราะข่าจะไม่ชอบดินชื้น ต้องทำอย่างไรก็ได้ไม่ให้น้ำขังในดิน

การเตรียมท่อนพันธุ์ ควรเลือกท่อนพันธุ์ที่มาจากต้นแม่ซึ่งมีอายุ 1 ปีขึ้นไป เพราะจะมีตามาก รากงอกใหม่ได้ง่าย โดยแยกแง่ง ตัดใบ ตัดราก ออกให้หมดพร้อมกับล้างน้ำให้สะอาดก็นำมาปลูกในไร่ให้ผลผลิตได้แล้ว หรือถ้าหาท่อนพันธุ์ไม่ได้ให้หาซื้อท่อนพันธุ์ตามตลาด โดยเลือกหัวและแง่งที่สมบูรณ์ที่สุด จากนั้นให้นำไปแช่น้ำยากันเชื้อราและน้ำยาเร่งราก แช่ไว้ประมาณ 20 นาที ควรเลือกเหง้าที่มีขนาดพอเหมาะ หากเหง้าไหนมีขนาดใหญ่เกินไปให้ตัดแบ่งเป็น 2 เหง้าได้ แต่ควรนำปูนกินหมากผสมน้ำทาตรงแผล เพื่อกันเชื้อราขึ้นซึ่งส่งผลต่อการเจริญเติบโตของข่า

วิธีการปลูก เริ่มจากใช้จอบขุดหลุมลึก ประมาณ 1 หน้าจอบ แล้วนำเหง้าข่ามาวางลงไปพร้อมกับกลบดินและรดน้ำพอชุ่ม โดยวิธีการปลูกข่ามีทั้งหมด 4 แบบ ได้แก่ ปลูกแบบใช้ท่อนพันธุ์ข่า 1 เหง้า ใช้ระยะห่างระหว่างกอและแถว 60 x 80 เซนติเมตร เป็นการปลูกที่เหมาะสำหรับเกษตรกรที่ทดลองปลูกข่า เพราะใช้ต้นทุนค่อนข้างต่ำทั้งยังจัดการแปลงได้ง่ายกว่าการปลูกแบบอื่น ๆ ซึ่งการปลูกโดยใช้ท่อนพันธุ์เหง้าเดียวใช้ต้นทุนค่าท่อนพันธุ์ประมาณ 15_000 บาท/ไร่ เมื่อนำผลผลิตไปขายจะได้ทั้งหมด 45_000 บาท/ไร่


วิธีที่ 2 ปลูกแบบใช้ท่อนพันธุ์ข่า 2 เหง้า ซึ่งใช้ระยะห่างระหว่างกอและแถว 80 x 80 เซนติเมตร ใช้ทุนค่าท่อนพันธุ์ 30_000 บาท/ไร่ เก็บเกี่ยวขายผลผลิตได้ 90_000 บาท/ไร่ วิธีที่ 3 ปลูกแบบใช้ท่อนพันธุ์ข่า 3 เหง้า ระยะห่างระหว่างกอและแถว 1 x 1 เมตร ใช้ต้นทุนค่าท่อนพันธุ์ 45_000 บาท/ไร่ เก็บเกี่ยวขายผลผลิตได้ถึง 120_000-135_000 บาท/ไร่ ส่วนวิธีสุดท้ายปลูกแบบใช้ท่อนพันธุ์ข่า 4 เหง้า ใช้ระยะห่างระหว่างกอและแถว 1.20 x 1.20 เมตร ใช้ต้นทุนท่อนพันธุ์ 60_000 บาท/ไร่ เก็บเกี่ยวขายผลผลิตได้ 160_000-180_000 บาท/ไร่

ต้นทุนและจำนวนเงินที่ขายได้ ทั้ง 4 แบบ จะแปรผันตามกันไป เมื่อใช้ท่อนพันธุ์มากขึ้นก็จะได้ผลผลิตข่าที่มากขึ้น ซึ่งการปลูกแบบที่ 1 และ 2 เหมาะสำหรับเกษตรกรรายย่อยหรือเกษตรกรที่เพิ่งทดลองปลูก เนื่องจากมีการจัดการแปลงเรื่องหญ้า ปุ๋ย แมลงที่ง่าย ตลอดจนได้ผลผลิตเหง้าใหญ่ รวมถึงใช้เงินลงทุนที่ต่ำกว่าด้วย ส่วนแบบที่ 3 และ 4 ใช้เงินลงที่สูงกว่า แต่ก็ได้ผลผลิตที่มากกว่า ทั้งยังช่วยจัดการในเรื่องของหญ้า เพราะทรงพุ่มที่ชิดติดกันทำให้หญ้าขึ้นได้ยาก แต่ทว่าผลผลิตข่าที่ได้เหง้าเล็ก ดังนั้น การปลูกแบบ 3 และ 4 จึงเหมาะสมสำหรับเกษตรกรรายใหญ่ที่ต้องการผลผลิตจำนวนมาก โดยที่ไม่ต้องดูแลแปลงปลูกมากนัก

“สำหรับการดูแลรักษาข่า ให้สังเกตต้นข่าตั้งแต่ปลูกจนมีอายุครบ 3 สัปดาห์ จะเห็นต้นข่าตายและเริ่มมีหน่อใหม่ขึ้นมาแทน ซึ่งเป็นธรรมชาติของข่า ดังนั้น เมื่อเห็นต้นข่าตาย อย่าตกใจ เนื่องจากต้นข่าจะตายเป็นธรรมชาติอย่างนี้อยู่แล้ว พอถึงสัปดาห์ที่ 4 จะเห็นต้นข่าเริ่มงอกใหม่และเจริญเติบโตไปเรื่อย ๆ ทั้งนี้ เมื่อเห็นต้นข่ามีใบ 2-3 ใบ ให้เริ่มใส่ปุ๋ยยูเรีย สูตร 46-0-0 บริเวณกอข่า ประมาณกอละ 10 เม็ด/สัปดาห์ ใส่ปุ๋ยแบบนี้ไปเรื่อย ๆ จนถึงเดือนที่ 4 ให้เปลี่ยนสูตรปุ๋ยเป็น 0-0-60 พร้อมกับเปลี่ยนการใส่ปุ๋ยจากใส่ประมาณ 10 เม็ด ให้เพิ่มมากขึ้น 1 เม็ด ทุก 15 วัน”

สำหรับการให้น้ำ มีการให้น้ำแบบระบบน้ำหยด สปริงเกอร์ ระบบน้ำฝอย โดยให้แบบสม่ำเสมอเพื่อให้ดินมีความชุ่มชื่น แต่ก็ไม่ได้รดน้ำแบบทุกวันเนื่องจาก ข่า ไม่ชอบที่ชื่นแฉะ นอกจากนี้ยังมีการให้น้ำพร้อมกับให้ธาตุอาหารไปด้วย โดยการหมักน้ำในถัง 2_000 ลิตร ใส่มูลโคแห้งพร้อมกับหมัดปากถุง 1 กระสอบ ใส่ EM ขยายตัวลงไป 1 ลิตร หมักทิ้งไว้ 3 วัน จากนั้นสูบน้ำในถังมารดทั่วแปลงได้เลย ซึ่งจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื่น ธาตุอาหารที่เป็นประโยชน์ในดินและข่าอีกด้วย

โรคและแมลงในแปลงจะไม่ค่อยพบ เนื่องจากโรคและแมลงทั้งหลายมักมีต้นเหตุมากจากปุ๋ยมูลโคมูลไก่ทั้งหลายที่เกษตรกรมักนำมาใส่เป็นรองพื้น ซึ่งการปลูกจะหลีกเลี่ยงการใส่ปุ๋ยมูลสัตว์เพื่อเป็นปุ๋ยรองพื้น จะเน้นแต่ปุ๋ยเคมีล้วน ๆ เพราะปุ๋ยเคมีให้ผลผลิตที่เร็วเพียงพอสำหรับการส่งข่าให้กับโรงงานทุกวัน แต่ถ้าถามว่าปุ๋ยอินทรีย์ทำในเชิงเศรษฐกิจได้ไหม ได้แต่ผลผลิตข่าที่ได้ก็จะไม่เยอะเท่าปุ๋ยเคมี ดังนั้น ในแปลงจึงมีแต่การใช้ปุ๋ยเคมี แม้จะใช้เงินในส่วนที่ซื้อปุ๋ย แต่ก็ช่วยลดในเรื่องต้นทุนค่ายารักษาโรคและแมลงที่มีต้นเหตุมาจากปุ๋ยมูลโคมูลไก่ได้

คุณราชพฤกษ์ บอกว่าการปลูกข่า 1 ครั้ง สามารถเก็บผลผลิตได้นานถึง 10 ปี แต่ทั้งนี้ ควรมีวิธีการขุดที่ถูกวิธี ซึ่งทำดังนี้ เลือกขุดข่าเพียง 3 มุม จากทั้งหมด 4 มุม ยกตัวอย่างเช่น ปลูกข่า 1 กอ จะมีต้นข่าขึ้นประมาณ 10 ต้น เป็นสี่เหลี่ยม เมื่อข่าโตจนเก็บผลผลิตได้ประมาณ 6-8 เดือน ให้เลือกขุดออกไป 3 มุม เหลือไว้หนึ่งมุม สำหรับเหลือให้ข่าแพร่พันธุ์ขยายต่อไปได้ แต่เมื่อเก็บผลผลิตในครั้งต่อไป ควรสับเปลี่ยนมุมที่ขุดออก เพราะจะทำให้ข่าที่งอกใหม่แต่ละครั้งเจริญเติบโตดี มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

เรื่องของตลาด ก็อย่างที่บอกไปว่าปลูกข่าตาแดงเพื่อส่งโรงงานโดยเฉพาะ ไม่มีการส่งตลาดรายย่อยอื่น ๆ ซึ่งราคาข่าที่ได้ตอนนี้ แบ่งเป็น 2 ส่วน ได้แก่ ข่าอ่อน เป็นข่าที่เก็บผลผลิตในช่วงเดือนที่ 6 เมื่อนำไปขายจะได้ราคาดีมากถึงกิโลกรัมละ 30-35 บาท ส่วนอย่างที่สอง คือ ข่าแก่ เป็นข่าที่อยู่ในช่วงการเจริญเติบในเดือนที่ 8 ซึ่งหลงเหลือจากเก็บผลผลิตไม่ทันของคนงาน ซึ่งขายได้ราคากิโลกรัม 10-15 บาท ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบข่าแก่กับข่าอ่อนแล้วอัตราส่วนในแปลงที่ขุดได้แต่ละวันจะมีข่าอ่อนถึง 80-90 เปอร์เซ็นต์ จะมีข่าแก่เพียง 10-20 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น ซึ่งถือว่าเป็นสิ่งที่น่าพึงพอใจมาก เพราะตอนนี้ทางตลาดมีความยินดีที่จะรับทั้งข่าอ่อนและข่าแก และมีแนวโน้มที่รับอย่างนี้ต่อไปเรื่อย ๆ เพราะอุตสาหกรรมเครื่องปรุงรสอาหารกำลังเติบโตขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้น หากใครที่กำลังที่คิดจะมาทำการเกษตร ข่าตาแดง จึงเป็นทางเลือกที่ดีเลยทีเดียว”

“การทำการเกษตร ไม่ว่าจะปลูกอะไรอย่างแรกควรมีเงินทุน รองลงมาคือความอดทน พร้อมกับใจที่รักสิ่งนั้นแบบจริงจัง เพราะการเกษตรมันต้องใช้เวลาในการปลูก เจริญเติบโต ตลอดจนการเก็บเกี่ยว ซึ่งทุกขั้นตอนล้วนต้องใช้ความอดทนและเงินทุนทั้งสิ้น หากมีเงินน้อยนิดแล้วอยากทำการเกษตร เป็นสิ่งที่ผิดอย่างยิ่ง เนื่องจากสิ่งที่ไม่คาดคิดในการเกษตรมักเกิดได้เสมอ อาทิเช่น เกิดโรคและแมลงระบาด พืชที่ปลูกขาดธาตุอาหาร หากไม่มีความรู้ ตลอดจนเงินทุนหมุนเวียนก็ทำให้การทำเกษตรนั้นล้มเหลวได้ ดังนั้น หากทำการเกษตรโดยเฉพาะการปลูกข่าตาแดง ควรมีการวางแผน มีเงินทุน ตลอดความอดทน แต่ทั้งนี้ ไม่ว่าอุปสรรคจะมีมากแค่นั้น หากมีความพยายามแล้วก็จะผ่านพ้นไปได้ด้วยดีอย่างแน่นอน” คุณราชพฤกษ์ทิ้งท้ายไว้

ข้อมูล : เกษตรกรก้าวหน้า

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
โรคข้าว โรคเหลืองเตี้ย (Yellow Dwarf Disease)
โรคข้าว โรคเหลืองเตี้ย (Yellow Dwarf Disease)
โรคข้าว โรคเหลืองเตี้ย (Yellow Dwarf Disease)
พบมาก ในนาชลประทาน ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง สาเหตุ เกิดจากเชื้อไฟโตพลาสมา

อาการ โรคนี้พบในระยะข้าวแตกกอถึงระยะออกรวง ใบที่ออกใหม่มีอาการเหลืองซีด ต้นเตี้ย แตกกอมากเป็นพุ่มแจ้ ต้นเป็นโรคอาจตายหรือไม่ออกรวง ถ้าต้นข้าวได้รับเชื้อใกล้ระยะออกรวง จะไม่แสดงอาการ แต่จะแสดงอาการในลูกข้าวที่งอกจากตอซัง

การป้องกันกำจัด

• กำจัดหรือทำลายเชื้อสาเหตุ โดยไถกลบหรือเผาตอซังในนาที่มีโรค กำจัดวัชพืช โดยเฉพาะวัชพืชใกล้แหล่งน้ำที่เป็นที่อยู่อาศัยและขยายพันธุ์ของแมลงพาหะ

• ใช้พันธุ์ข้าวต้านทานแมลงเพลี้ยจักจั่นสีเขียว เช่น กข1 กข3 ซึ่งมีคุณสมบัติต้านทานการดูดกินของเพลี้ยจักจั่นสีเขียวได้ดีพอสมควร แต่ไม่ควรปลูกข้าวพันธุ์ดังกล่าว ติดต่อกันเป็นแปลงขนาดใหญ่ เนื่องจากแมลงสามารถปรับตัว เข้าทำลายพันธุ์ข้าวที่ต้านทานได้

• ใช้สารป้องกันกำจัดแมลงพาหะ

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

มาคา สารอินทรีย์ป้องกัน กำจัดเพลี้ย
โรคข่าเหลือง โรคหัวเน่าในข่าเหลือง
โรคข่าเหลือง โรคหัวเน่าในข่าเหลือง
โรคหัวเน่า (Phytophthora Root Rot หรือ Wet Rot) เชื้อสาเหตุคือ Phytophthora drechsleri เชื่อโรคนี้จะเกิดในระยะกล้าและลงหัวแล้ว มักจะพบในบริเวณที่ดินมีระบบน้ำยาก และอยู่ใกล้กับทางน้ำหรือคลองโรคนี้อาจทาความเสียหายถึง 80 เปอร์เซ็นต์

ลักษณะอาการ ถ้าเกิดกับต้นยังเล็กอยู่จะทำให้รากเป็นรอยช้ำสีน้ำตาลและเน่า ต้นจะเหี่ยวเฉา ถ้าเกิดกับหัวจะทำให้หัวเน่าอย่างรวดเร็ว และมีกลิ่นเหม็น ใบเหี่ยวแล้วร่วงถ้าเกิดรุนแรงต้นจะตาย

การป้องกันกำจัด

- การเตรียมแปลงปลูก ควรจะเป็นดินร่วนมีการระบายน้ำดี ไม่ควรเป็นที่เคยมีน้ำท่วม ขังหรือใกล้ทางระบายน้ำ หากดินระบายน้ำยาก ควรปลูกโดยวิธียกร่อง

- ทำความสะอาดแปลงก่อนปลูกโดยการทำลายเศษพืชที่เป็นแหล่งเพาะเชื้อโรค

- คัดเลือกท่อนพันธุ์ที่สมบูรณ์และปราศจากโรค

- ถ้าพบอาการรากเน่าเกินกว่า 3% ควรงดปลูกพืชนานอย่างน้อย 6 เดือน เนื่องจากพืชสาเหตุมีพืชอาศัยกว้าง


อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
โรคเหี่ยว หรือ แง่งเน่า ใน ขิง ข่า ขมิ้น
โรคเหี่ยว หรือ แง่งเน่า ใน ขิง ข่า ขมิ้น
เตือนเกษตรกรผู้ปลูกพืชตระกูลขิง ข่า และขมิ้นในทุกภาคของประเทศ โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีการระบายน้ำไม่ดีเนื่องจากช่วงนี้มีฝนตกในหลายพื้นที่ สภาพอากาศชื้น เหมาะต่อการเกิดโรค โดยเฉพาะขิง ข่า ขมิ้นที่อยู่ในช่วงปลูกใหม่ ดังนั้น เกษตรกรควรหมั่นสำรวจแปลง หากพบอาการของโรคให้รีบแจ้งสำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัดใกล้บ้านเพื่อดำเนินการหาแนวทางควบคุม และป้องกันกำจัดก่อนเกิดการระบาดรุนแรง

เชื้อสาเหตุ : เชื้อแบคทีเรีย Ralstonia solanacearum

ลักษณะอาการ
อาการในระยะเริ่มแรกหลังจากถูกเชื้อเข้าทำลาย ใบแก่ที่อยู่ตอนล่างๆ จะเหี่ยวตกลู่ลง ต่อมาจะม้วนเป็นหลอดและเหลือง อาการจะค่อยๆ ลามจากล่างสูงขึ้นไปยังส่วนบน ในที่สุดใบจะม้วนและเหลืองแห้งทั้งต้น บริเวณโคนต้นและหน่อที่แตกออกมาใหม่จะมีลักษณะช้ำฉ่ำน้ำ ซึ่งต่อมาจะเน่าเปื่อยหักหลุดออกมาจากแง่งโดยง่าย แต่จะไม่มีกลิ่นเหม็น เมื่อตรวจดูที่ลำต้นจะพบว่าส่วนที่เป็นท่อน้ำ ท่ออาหาร จะถูกทำลายเป็นสีคล้ำหรือน้ำตาลเข้ม และมีเมือกของแบคทีเรียเป็นของเหลวสีขาวข้นคล้ายน้ำนมซึมออกมาตรงรอยแผลหรือรอยตัดของต้นหรือแง่งขิงที่เป็นโรค สำหรับแง่งจากต้นที่เพิ่งแสดงอาการโรคในระยะแรก หากนำขึ้นมาผ่าออกดู จะพบรอยช้ำฉ่ำน้ำเป็นปื้นๆ โดยเฉพาะแง่งที่ยังอ่อน ต่อมาอาการจะทวีความรุนแรงทำให้เนื้อเยื่อเปื่อยยุ่ยและสีคล้ำขึ้น อาการเหล่านี้จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว โดยเฉพาะในสภาพที่อากาศชื้นและร้อน ตั้งแต่เริ่มแสดงอาการจนทำให้ต้นหักพับตาย จะใช้เวลา ๕ - ๗ วัน เป็นอย่างช้า

การแพร่กระจาย
เชื้อสามารถติดไปกับแง่งขิง หรือหน่อที่ใช้ทำพันธุ์ เป็นเชื้อที่มีคุณสมบัติความสามารถในการขยายพันธุ์แพร่ระบาด การเข้าทำลายพืช การอยู่ข้ามฤดูปลูก ระบาดมากในช่วงฝนตกชุก

กรมส่งเสริมการเกษตร แนะนำวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้

๑. หมั่นตรวจแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ หากพบต้นที่เริ่มแสดงอาการของโรคเหี่ยว ให้ขุดต้นไปเผาทำลายนอกแปลงปลูกทันที และโรยปูนขาวบริเวณหลุมที่ขุด เพื่อป้องกันการระบาดของโรค

๒. ใช้เชื้อไตรโคเดอร์ม่า ๔๐ กรัม (๒ ช้อนแกง) ร่วมกับกากน้ำตาลหรือน้ำตาลทรายแดง ๑ กิโลกรัม น้ำเปล่า ๑๕ ลิตร หมักทิ้งไว้ ๖ ชั่วโมง ก่อนผสมน้ำเปล่าหรือน้ำที่ละลายพูมิชซัลเฟอร์ (พูมิชซัลเฟอร์ ๒๐ กิโลกรัมต่อน้ำ ๒๐๐ ลิตร ปล่อยให้ตกตะกอนนานประมาณ ๑๕ นาทีหรือน้ำใส) ๒๐๐ ลิตร ร่วมกับไคโตซาน MT ๕๐ ซีซี. ซิลิโคเทรช ๑๐๐ กรัม และม้อยเจอร์แพล้นหรือสารจับใบ ๒๐ ซีซี. ก่อนนำไปพ่นให้ทั่วทั้งบนใบใต้ใบอย่างชุ่มโชกเหมือนอาบน้ำทุกๆ ๑๐ - ๑๕ วัน

๓. ในแปลงที่มีการระบาดของโรค หลังเก็บเกี่ยวผลผลิต นําส่วนต่างๆ ของพืชที่เป็นโรคไปเผาทําลาย



ในฤดูถัดไป

๔ ควรเลือกพื้นที่ปลูกที่ไม่เคยมีการระบาดของโรคนี้มาก่อน และมีการระบายน้ำที่ดี

๕ ไถพรวนดินให้ลึกเกินกว่า ๒๐ เซนติเมตร จากผิวดิน และตากดินไว้นานกว่า ๒ สัปดาห์ จะช่วยลดปริมาณเชื้อในดินลงได้มาก

๖. พื้นที่ที่เคยมีการระบาดของโรค ควรรมดินเพื่อฆ่าเชื้อโรค โดยโรยยูเรียผสมปูนขาว อัตรา
๘๐ : ๘๐๐ กิโลกรัมต่อไร่ จากนั้นไถกลบและรดน้ำให้ดินมีความชื้น ทิ้งไว ๓ สัปดาห์ จึงเริ่มปลูกขมิ้น

๗. ใช้หัวพันธุจากแปลงที่ปลอดโรค

๘. ในพื้นที่ที่มีการระบาดของโรค ไม่ควรปลูกพืชอาศัยของเชื้อ เช่น พืชตระกูลขิง พืชตระกูลมะเขือมันฝรั่ง พริกและถั่วลิสง ให้สลับปลูกพืชชนิดอื่นที่ไมใช่พืชอาศัย เช่น ข้าว ข้าวโพด และมันสำปะหลัง เพื่อตัดวงจรของโรค


ที่มา : สำนักพัฒนาคุณภาพสินค้าเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร

กรมวิชาการเกษตร
เรียบเรียงโดย : กลุ่มพยากรณ์และเตือนการระบาดศัตรูพืช กองส่งเสริมการอารักขาพืชและจัดการดินปุ๋ย

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
FK ธรรมชาตินิยม
FK ธรรมชาตินิยม


FK ธรรมชาตินิยม ฟื้นฟู โตไว แข็งแรง ออกดอก ติดผล ใช้ได้ในที่พักอาศัย ปลอดภัย ไม้ดอก ไม้ประดับ พืชผักสวนครัว พืชไร่ พืชสวน

เมื่อพืช ได้รับธาตุอาหารที่ขาดไป ธาตุอาหารพืชต่างๆ ที่มีอยู่แล้วในดิน ที่พืชไม่เคยดูดกินไปใช้ประโยชน์ได้ ก็สามารถนำไปใช้ได้ เนื่องจาก ธาตุบางตัว เป็นตัวนำพาธาตุอื่นๆ เช่น

- ขาดธาตุ แคลเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ แต่พืชเอาไปใช้ได้น้อย ถ้าขาดแคลเซียม) ธาตุแคลเซียม [Ca] ทำหน้าที่ในการควบคุมการเคลื่อนย้ายของสารอาหารต่างๆเข้าสู่พืช และยังทำหน้าที่เกี่ยวกับการทำงานของเอนไซม์พืชหลายชนิด
การขาดแคลเซียม มีผลทำให้พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะพืชไม่สามารถนำสารอาหารในดินที่มีอยู่ไปใช้งานได้

- ขาดธาตุ แมกนีเซียม (ใส่ปุ๋ยเยอะ ฉีดทางใบก็เยอะ แต่พืชก็ยังเหลือง ไม่สมบูรณ์) ธาตุแมกนีเซียม [Mg] เป็นส่วนประกอบที่สำคัญของคลอโรฟิลล์ และก็มีความสำคัญในกระบวนการสร้างATPโดยทำหน้าที่เป็นโคแฟกเตอร์ (enzyme cofactor).
การขาดแมกนีเซียม อาจทำให้เกิดอาการเหลืองระหว่างเส้นใบ (interveinal chlorosis).

- ขาดธาตุ สังกะสี (พืชชะงักการเจริญเติบโต เพราะขาดสังกะสี) ธาตุสังกะสี [Zn] เป็นส่วนสำคัญสำหรับเอนไซม์หลายชนิดและเป็นส่วนสำคัญในกระบวนการถอดรหัสพันธุกรรม (DNA transcription).
การขาดสังกะสี โดยทั่วไปแล้วจะทำให้การเติบโตของใบชะงักงัน

ปุ๋ยไม้ดอก ปุ๋ยพืชดอก ปุ๋ยไม้ประดับ ปุ๋ยใช้ในบ้าน
ปุ๋ยสำหรับมันสำปะหลัง ปุ๋ยเร่งโต และเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง
ปุ๋ยสำหรับมันสำปะหลัง ปุ๋ยเร่งโต และเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง
ปุ๋ยสำหรับมันสำปะหลัง ปุ๋ยเร่งโต และเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลัง
ฉีดพ่น ปุ๋ย FK ให้ถูกต้อง ตามระยะการเจริญเติบโตของมันสำปะหลัง ทำให้ต้นมันสำปะหลังได้รับธาตุอาหารตรงตามความต้องการ ในช่วงของการเจริญเติบโตนั้นๆ สามารถเพิ่มผลผลิตมันสำปะหลังได้เป็นอย่างดี

FK-1 ฉีดพ่นมันสำปะหลัง ตั้งแต่ระยะงอก ไปจนถึง 4 เดือน ให้ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม สารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต แตกยอด ผลิใบ ขยายทรงพุ่ม เมื่อมันสำปะหลังเจริญเติบโต มีความสมบูรณ์แข็งแรง จะต้านทานต่อโรคได้ดีขึ้น สังเคราะห์แสงได้ดี ทำให้แทงหัว และขยายขนาดหัวได้ดี

FK-3C ฉีดพ่นมันสำปะหลัง อายุ 4 เดือนขึ้นไป เน้นธาตุ โพแตสเซียม (K) ที่ส่งเสริมกระบวนการเคลื่อนย้ายแป้งและน้ำตาล ไปสะสมลงหัว ทำให้มันสำปะหลังหัวโต มีขนาดใหญ่ น้ำหนักดี เปอร์เซ็นแป้งสูงขึ้น

สั่งซื้อสินค้าจากเรา คลิก : http://www.farmkaset..link..
ปุ๋ยสำหรับนาข้าว ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ เพิ่มผลผลิตข้าว
ปุ๋ยสำหรับนาข้าว ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ เพิ่มผลผลิตข้าว
ปุ๋ยสำหรับนาข้าว ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ เพิ่มผลผลิตข้าว
ปุ๋ยน้ำสำหรับข้าว ฉีดพ่นทางใบ เร่งโตแตกกอ สามารถเพิ่มผลผลิตข้าว และเพิ่มคุณภาพของผลผลิตได้เป็นอย่างดี

ฉีดพ่น FK-1 ให้กับข้าวในระยะงอก เพื่อเร่งการเจริญเติบโต เร่งการแตกกอ เสริมสร้างความสมบูรณ์ แข็งแรง ให้กับต้นข้าว

ฉีดพ่น FK-3R ในระยะออกรวง ออกแบบมาสำหรับเพิ่มผลผลิตข้าวโดยเฉพาะ ข้าวรวงยาว เมล็ดเต็ม ผลผลิตดี

ปุ๋ย FK ประกอบด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม สารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ที่ช่วยส่งเสริมการเจริญเติบโต และผลผลิตพืช

ปุ๋ยข้าว ปุ๋ยนาข้าว ปุ๋ยใส่ข้าว
ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบสำหรับอ้อย
ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบสำหรับอ้อย
ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบสำหรับอ้อย
การให้ปุ๋ยฉีดพ่นทางใบ หรือปุ๋ยน้ำสำหรับอ้อยนั้น เป็นการส่งเสริมการเจริญเติบโต และเพิ่มผลผลิตให้กับอ้อยได้อย่างมีประสิทธิผล อีกวิธีหนึ่ง

การฉีดพ่นปุ๋ยทางใบให้กับอ้อย เป็นอาหารทางใบ ที่ทำให้ต้นอ้อย ดูดซึม นำธาตุอาหารที่ได้รับไปใช้ประโยชน์ ในการเสริมสร้างการเจริญเติบโต และเพิ่มความหวาน หรือค่า CCS ได้

อ้อย ในแต่ละช่วงอายุ ต้องการธาตุอาหารหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่มีสัดส่วนต่างกัน ในแต่ละระยะของการเติบโต หากเราให้ธาตุอาหาร ตรงกับความต้องการเหมาะสมกับช่วงอายุ อ้อยจะโตเร็ว และสามารถเพิ่มผลผลิตได้เป็นอย่างดี

อ้อย ระยะ 1-4 เดือน ทั้งอ้อยปลูก และ อ้อยตอ ฉีดพ่น FK-1 ที่ประกอบไปด้วย ธาตุอาหารพืชโดยตรง มีสัดส่วน ธาตุหลัก ไนโตรเจน (N) ฟอสฟอรัส (P) โพแตสเซียม (K) ที่เสมอกัน และประกอบด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม เช่น แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) สังกะสี (Zn) สารสังเคราะห์คลอโรฟิลล์ ที่สำคัญต่อการส่งเสริมการเจริญเติบโตให้กับอ้อย

อ้อยที่มีอายุ 5เดือนขึ้นไป เป็นระยะสะสมอาหาร เพิ่มค่าความหวาน หรือค่า CCS ซึ่งในระยะนี้ อ้อยจะต้องการธาตุอาหาร โพแตสเซียม (K) สูงกว่าธาตุหลักอื่นๆ

ฉีดพ่น FK-3S สำหรับอ้อย ที่มีอายุ 5เดือนขึ้นไป เพื่อเพิ่มน้ำหนัก เพิ่มค่าความหวาน หรือ ค่า CCS เพิ่มผลผลิตอ้อย

สั่งซื้อสินค้าจากเรา หรือ ลาซาด้า หรือ ช้อปปี้ คลิก http://www.farmkaset..link..
โรคใบหงิก (โรคจู๋) ข้าวใบหงิก ข้าวใบม้วน (Rice Ragged Stunt Disease)
โรคใบหงิก (โรคจู๋) ข้าวใบหงิก ข้าวใบม้วน (Rice Ragged Stunt Disease)
พบมาก ในนาชลประทาน ภาคกลาง และภาคเหนือตอนล่าง

สาเหตุ เชื้อไวรัส Rice Ragged Stunt Virus (RRSV)

อาการ ต้นข้าวเป็นโรคได้ ทั้ง ระยะกล้า แตกกอ ตั้งท้อง อาการของต้นข้าวที่เป็นโรค สังเกตได้ง่าย คือ ข้าวต้นเตี้ยกว่าปกติ ใบแคบและสั้นสีเขียวเข้ม แตกใบใหม่ช้ากว่าปกติ แผ่นใบไม่สมบูรณ์ ปลายใบบิดเป็นเกลียว ขอบใบแหว่งวิ่นและเส้นใบบวมโป่งเป็นแนวยาวทั้งที่ใบและกาบใบ ข้าวที่เป็นโรคออกรวงล่าช้าและให้รวงไม่สมบูรณ์ เมล็ดลีบ ผลผลิตลดลง 30 ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ และข้าวพันธุ์อ่อนแอที่เป็นโรคในระยะกล้า ต้นข้าวอาจตายและไม่ได้ผลผลิตเลย

การแพร่ระบาด เชื้อไวรัสสาเหตุโรคถ่ายทอดได้โดยแมลงพาหะ คือ เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล และเชื้อไวรัสสามารถคงอยู่ในตอซัง และหญ้าบางชนิด

การป้องกันกำจัด

• กำจัดหรือทำลายเชื้อไวรัส โดยไถกลบหรือเผาตอซังในนาที่มีโรค กำจัดวัชพืช โดยเฉพาะวัชพืชใกล้แหล่งน้ำซึ่งเป็นที่อยู่อาศัยและขยายพันธุ์ของแมลงพาหะ

• ใช้พันธุ์ที่ต้านทานต่อเพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เช่น พันธุ์สุพรรณบุรี 90 สุพรรณบุรี 3 และชัยนาท 2 แต่ไม่ควรปลูกข้าวพันธุ์ดังกล่าว ติดต่อกันเป็นแปลงขนาดใหญ่ เนื่องจากแมลงสามารถปรับตัว เข้าทำลายพันธุ์ข้าวที่ต้านทานได้

• ใช้สารป้องกันกำจัดแมลงพาหะ

อ้างอิง

http://www.farmkaset..link..

สินค้าจากเรา

มาคา ป้องกำจัด เพลี้ยกระโดดสีน้ำตาล เพลี้ยต่างๆ แมลงพาหะของโรคพืช
รายละเอียดด้านล่างนะคะ
อาการใบหงิกม้วนในมะเขือเทศเชอร์รี่แดง
อาการใบหงิกม้วนในมะเขือเทศเชอร์รี่แดง
ใบหงิกม้วน อาจเกิดจากหลายปัจจัย ได้แก่ โรคไวรัส ธาตุอาหารไม่สมดุล และสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง อาการที่พบ มักพบอาการใบหงิกงอในใบอ่อนหรือส่วนบนใกล้ยอด แต่ใบด้านล่างปกติ ไม่แสดงอาการม้วนงอ

สาเหตุ

1. เกิดจากไวรัส

2. เกิดจากได้พืชรับธาตุอาหารไม่เพียงพอหรือไม่สมดุล

3. เกิดจากสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลง

การสังเกตลักษณะอาการ

1. ให้สำรวจและตรวจสอบประชากรแมลงในแปลง เช่น แมลงหวี่ขาว เพลี้ยไฟ เพลี้ยอ่อน แมลงศัตรูพืชทั้ง 3 ชนิดนี้ เป็นพาหะนำโรคไวรัส แต่หากไม่พบแมลง ไม่มีร่องรอยการทำลาย และต้นมีความสมบูรณ์ดี ก็ไม่น่าจะใช่โรคไวรัส

2. หากตรวจสอบต้นมะเขือเทศเชอรี่แดงทั้งลำต้น โดยสังเกตที่ใบ เช่น หากใบด้านล่างหรือใบชุดแรกมีความสมบูรณ์ แล้วใบด้านบน บริเวณใกล้ยอดมีอาการผิดปกติและหงิกม้วน อาจเกิดจากมะเขือเทศเชอรี่แดงได้รับธาตุอาหารบางชนิดไม่เพียงพอ โดยเฉพาะ โบรอนและแคลเซี่ยม โดยหากได้รับไม่เพียงพอจะทำให้พบอาการบิดม้วนของใบอ่อน

3. ในช่วงฤดูร้อนและอากาศค่อนข้างแห้ง อาจส่งผลให้ต้นมะเขือเทศมีการปรับตัวต่อสภาพอากาศที่เปลี่ยนแปลงโดยแสดงอาการใบหงิกม้วน ทั้งนี้ ให้สังเกตว่ามะเขือเทศเชอร์รี่แดงที่แสดงอาการว่าปลูกในทิศใดหรือบริเวณจุดใดของโรงเรือน

แนวทางป้องกัน/แก้ไข

1. คลุมหลังคาด้วยตาข่ายพรางแสง 25-50% ความกว้าง 1 เมตร โดยขึงทิศเหนือใต้ ระยะห่างระหว่างตาข่ายพลางแสงแต่ละผืน 1 เมตร (เว้นช่องเพื่อให้ได้รับแสงโดยตรง)

2. รดน้ำในแปลง ทางเดิน หรือติดหัวพ่นหมอก หรือสปริงเกอร์ฝอยในโรงเรือน เพื่อเพิ่มความชื้น หรือติดสปริงเกอร์บนหลังคาเพื่อลดอุณหภูมิภายในโรงเรือน หากถ้าวางกระถางบนพลาสติก ให้นำท่อพีวีซี 1 นิ้ว วางใต้พลาสติกตามยาวเพื่อทำเป็นขอบไว้กักน้ำที่ซึมออกมาจากกระถาง

3. ติดตั้งพัดลม เปิดหลังคา เพิ่มการระบายอากาศ (ตรวจสอบแบบโรงเรือนดูก่อนว่าสามารถทำได้หรือไม่)

4. ควบคุมการให้น้ำให้ปุ๋ย ตามที่ผู้เชี่ยวชาญแนะนำ โดยยึดหลักการว่า ฤดูร้อน ให้น้ำน้อยแต่บ่อยครั้ง

5. ฉีดพ่นปุ๋ยทางใบด้วยธาตุอาหารแคลเซียม โบรอน และแมกนีเซียม โดยพ่นปุ๋ยทางใบอัตราไม่เกินครึ่งหนึ่งของฉลาก 1 ครั้ง/สัปดาห์ หรือ 1/4 ของฉลากทุกๆ 3 วัน (เพื่อให้ได้ประโยชน์สูงสุด เวลาพ่นปุ๋ยแคลเซียมและโบรอนทางใบ ควรผสมกรดฟูลวิค Fulvic acid หรือกรดอะมิโน เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนธาตุอาหาร เข้าสู่ใบได้ดีขึ้น) หรือฉีดพ่นปุ๋ยทางใบที่มี หรือปรับสูตรปุ๋ยระบบน้ำโดยเพิ่มธาตุอาหารแคลเซียม โบรอนและแมกนีเซียม เพื่อให้มะเขือเทศได้รับธาตุอาหารที่เหมาะสมและสมดุล

อ้างอิง http://www.farmkaset..link..
3509 เรื่อง หน้าละ 10 รายการ 350 หน้า, หน้าที่ 351 มี 9 รายการ
|-Page 275 of 351-|
1 | 2 | 3 | 4 | 5 | 6 | 7 | 8 | 9 | 10 | 11 | 12 | 13 | 14 | 15 | 16 | 17 | 18 | 19 | 20 | 21 | 22 | 23 | 24 | 25 | 26 | 27 | 28 | 29 | 30 | 31 | 32 | 33 | 34 | 35 | 36 | 37 | 38 | 39 | 40 | 41 | 42 | 43 | 44 | 45 | 46 | 47 | 48 | 49 | 50 | 51 | 52 | 53 | 54 | 55 | 56 | 57 | 58 | 59 | 60 | 61 | 62 | 63 | 64 | 65 | 66 | 67 | 68 | 69 | 70 | 71 | 72 | 73 | 74 | 75 | 76 | 77 | 78 | 79 | 80 | 81 | 82 | 83 | 84 | 85 | 86 | 87 | 88 | 89 | 90 | 91 | 92 | 93 | 94 | 95 | 96 | 97 | 98 | 99 | 100 | 101 | 102 | 103 | 104 | 105 | 106 | 107 | 108 | 109 | 110 | 111 | 112 | 113 | 114 | 115 | 116 | 117 | 118 | 119 | 120 | 121 | 122 | 123 | 124 | 125 | 126 | 127 | 128 | 129 | 130 | 131 | 132 | 133 | 134 | 135 | 136 | 137 | 138 | 139 | 140 | 141 | 142 | 143 | 144 | 145 | 146 | 147 | 148 | 149 | 150 | 151 | 152 | 153 | 154 | 155 | 156 | 157 | 158 | 159 | 160 | 161 | 162 | 163 | 164 | 165 | 166 | 167 | 168 | 169 | 170 | 171 | 172 | 173 | 174 | 175 | 176 | 177 | 178 | 179 | 180 | 181 | 182 | 183 | 184 | 185 | 186 | 187 | 188 | 189 | 190 | 191 | 192 | 193 | 194 | 195 | 196 | 197 | 198 | 199 | 200 | 201 | 202 | 203 | 204 | 205 | 206 | 207 | 208 | 209 | 210 | 211 | 212 | 213 | 214 | 215 | 216 | 217 | 218 | 219 | 220 | 221 | 222 | 223 | 224 | 225 | 226 | 227 | 228 | 229 | 230 | 231 | 232 | 233 | 234 | 235 | 236 | 237 | 238 | 239 | 240 | 241 | 242 | 243 | 244 | 245 | 246 | 247 | 248 | 249 | 250 | 251 | 252 | 253 | 254 | 255 | 256 | 257 | 258 | 259 | 260 | 261 | 262 | 263 | 264 | 265 | 266 | 267 | 268 | 269 | 270 | 271 | 272 | 273 | 274 | 275 | 276 | 277 | 278 | 279 | 280 | 281 | 282 | 283 | 284 | 285 | 286 | 287 | 288 | 289 | 290 | 291 | 292 | 293 | 294 | 295 | 296 | 297 | 298 | 299 | 300 | 301 | 302 | 303 | 304 | 305 | 306 | 307 | 308 | 309 | 310 | 311 | 312 | 313 | 314 | 315 | 316 | 317 | 318 | 319 | 320 | 321 | 322 | 323 | 324 | 325 | 326 | 327 | 328 | 329 | 330 | 331 | 332 | 333 | 334 | 335 | 336 | 337 | 338 | 339 | 340 | 341 | 342 | 343 | 344 | 345 | 346 | 347 | 348 | 349 | 350 | 351 |


กลุ่มทางใบปุ๋ยประสิทธิภาพสูง
*โปรดอ่าน ใช้ FK-1 ในช่วงแรก เพื่อเร่งโต เร่งราก เร่งดอก จับคู่กับ FK-3 ในช่วงเร่งผลผลิต พืชออกผลทุกชนิด ใช้ FK-1 กับ FK-3, นาข้าว ใช้ FK-1 กับ FK-3R (Rice), ไร่อ้อย ใช้ FK-1 กับ FK-3S (Sugarcane), มันสำปะหลัง ใช้ FK-1 กับ FK-3C (Cassava)

FK-1
สั่ง FK-1 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3
สั่ง FK-3 กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3S
สั่ง FK-3S กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3R
สั่ง FK-3R กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK-3C
สั่ง FK-3C กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มอินทรีย์ ปุ๋ย ยาปราบฯ
ที่ขายดีที่สุดบน ลาซาด้า

FKT250-IS250-499B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 1ลิตร
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 3ลิตร
สั่งไอเอส3ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
มาคา
สั่งมาคากับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอกี้-บีที
สั่งไอกี้-บีทีกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L
สั่ง FK-T 1ลิตร กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FK ธรรมชาตินิยม
สั่งFK-T 250ซีซี กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
ไอเอส ขนาด 250ซีซี
สั่งไอเอสกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-IS1L-970B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-MAKA-980B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
FKT1L-AiKi-990B
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มเคมียาปราบฯประสิทธิภาพสูง

invet
สั่ง อินเวท กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
metalaxyl
สั่ง เมทาแลคซิล กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
carron
สั่ง คาร์รอน กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้


กลุ่มปุ๋ยทางใบผสมสูตรเองได้
เว็บระบบคำนวณการผสมปุ๋ย


starfer 30-20-5
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 10-40-10
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
starfer 15-5-30
สั่งกับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้
maxza
สั่ง แม็กซ่า กับ | ลาซาด้า | ช้อปปี้



บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด
Central Laboratory (Thailand) Co.,Ltd.

ให้บริการตรวจวิเคราะห์
ตรวจฉลากโภชนาการ
ตรวจสารสำคัญกัญชา/กัญชง
ตรวจน้ำใช้ในกระบวนการผลิต
ฟอร์มขอใบเสนอราคา
สำหรับตรวจวิเคราะห์อื่นๆ ผลิตภัณฑ์อาหาร ผลิตภัณฑ์ที่ไม่ใช่อาหาร (ตรวจวิเคราะห์ได้ทุกอย่าง) โปรดกรอก ฟอร์มขอใบเสนอราคา
ตรวจขึ้นทะเบียนปุ๋ยเคมี
ตรวจสารพิษตกค้างเพื่อการส่งออก
ตรวจผักสดปลอดเชื้อจุลินทรีย์ E. coli, Salmonella spp.
ส่งตัวอย่างมะละกอ เพื่อการทดสอบการดัดแปลงพันธุกรรม
ส่งตัวอย่างเพื่อทดสอบ ปริมาณอะฟลาทอกซินในเมล็ดแมงลัก ลูกเดือย และพริกแห้ง เพื่อส่งออกนอกราชอาณาจักร
Hardline Test Application
ปุ๋ยคุณภาพสูง
พืชทุกชนิด | ปุ๋ยทุเรียน | ปุ๋ยมันสำปะหลัง | ปุ๋ยสำหรับไร่อ้อย | ปุ๋ยนาข้าว | ปุ๋ยยางพารา | ปุ๋ยมะพร้าว | ปุ๋ยข้าวโพด | ปุ๋ยปาล์ม | ปุ๋ยสับปะรด | ปุ๋ยถั่วเหลือง | ปุ๋ยพริกไทย | ปุ๋ยกาแฟ | ปุ๋ยมะนาว | ปุ๋ยส้ม | ปุ๋ยลำไย | ปุ๋ยลิ้นจี่ | ปุ๋ยหน่อไม้ฝรั่ง | ปุ๋ยกระเจี๊ยบเขียว | ปุ๋ยมังคุด | ปุ๋ยมันฝรั่ง | ปุ๋ยหอมหัวใหญ่ | ปุ๋ยกระเทียม | ปุ๋ยหอมแดง | ปุ๋ยมะเขือเทศ | ปุ๋ยกล้วยไม้ | ปุ๋ยอินทผลัม | ปุ๋ยน้อยหน่า | ปุ๋ยชมพู่ | ปุ๋ยเงาะ | ปุ๋ยมะม่วง | ปุ๋ยมะขาม | ปุ๋ยพริก
ยาอินทรีย์แก้โรคพืช
โรคใบไหม้ | ทุเรียนใบติด | มันสำปะหลังใบไหม้ | โรคอ้อยใบไหม้ | ข้าวใบไหม้ | ยางพาราใบไหม้ | โรคมะพร้าวใบไหม้ | โรคราน้ำค้างข้าวโพด | ปาล์มใบไหม้ | โรคสับปะรด | โรคราน้ำค้างถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟใบไหม้ | ราสนิมมะนาว | ส้มใบไหม้ | ลำไยใบไหม้ | ลิ้นจี่ใบไหม้ | หน่อไม้ฝรั่งลำต้นไหม้ | กระเจี๊ยบเขียวฝักลาย | โรคใบจุดมังคุด | มันฝรั่งใบใหม้ | โรคหอมเลื้อย | โรคใบจุดกระเทียม | โรคหอมแดง | ราแป้งมะเขือเทศ | โรคจุดสนิมกล้วยไม้ | อินทผลัมใบไหม้ | น้อยหน่าดอกร่วง | ชมพู่ใบไหม้ | เงาะใบไหม้ | มะม่วงใบไหม้ | ราแป้งมะขาม | โรคพริก
ยาเคมี กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยทุเรียน | เพลี้ยมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยข้าว | เพลี้ยยางพารา | เพลี้ยมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยสับปะรด | เพลี้ยถั่วเหลือง | เพลี้ยพริกไทย | เพลี้ยกาแฟ | เพลี้ยมะนาว | เพลี้ยส้ม | เพลี้ยลำไย | เพลี้ยลิ้นจี่ | เพลี้ยหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยมังคุด | เพลี้ยมันฝรั่ง | เพลี้ยหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยกระเทียม | เพลี้ยหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยกล้วยไม้ | เพลี้ยอินทผาลัม | เพลี้ยน้อยหน่า | เพลี้ยชมพู่ | เพลี้ยเงาะ | เพลี้ยมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยพริก
ยาเคมี กำจัดโรคพืช
โรคใบไหม้ | โรคทุเรียน | โรคมันสำปะหลัง | โรคอ้อย | โรคข้าว | โรคยางพารา | โรคมะพร้าว | โรคข้าวโพด | โรคปาล์ม | โรคสับปะรด | โรคถั่วเหลือง | พริกไทยใบไหม้ | โรคกาแฟ | โรคมะนาว | โรคส้ม | โรคลำไย | โรคลิ้นจี่ | โรคหน่อไม้ฝรั่ง | โรคกระเจี๊ยบเขียว | โรคมังคุด | โรคมันฝรั่ง | โรคหอม | โรคกระเทียม | โรคหอมแดง | โรคมะเขือเทศ | โรคกล้วยไม้ | โรคอินทผาลัม | โรคน้อยหน่า | โรคชมพู่ | โรคเงาะ | โรคมะม่วง | โรคมะขาม | โรคพริก
ยาอินทรีย์ กำจัดเพลี้ยต่างๆ
กำจัดเพลี้ยต่างๆทุกชนิด | เพลี้ยไก่แจ้ทุเรียน | เพลี้ยแป้งมันสำปะหลัง | เพลี้ยอ้อย | เพลี้ยศัตรูข้าว | เพลี้ยแป้งยางพารา | เพลี้ยศัตรูมะพร้าว | เพลี้ยข้าวโพด | เพลี้ยอ่อนปาล์มน้ำมัน | เพลี้ยแป้งสับปะรด | เพลี้ยอ่อนถั่วเหลือง | เพลี้ยแป้งพริกไทย | เพลี้ยแป้งกาแฟ | เพลี้ยไฟมะนาว | เพลี้ยไฟส้ม | เพลี้ยแป้งลำไย | เพลี้ยแป้งลิ้นจี่ | เพลี้ยไฟหน่อไม้ฝรั่ง | เพลี้ยจักจั่นฝ้ายกระเจี๊ยบเขียว | เพลี้ยไฟมังคุด | เพลี้ยจักจั่นมันฝรั่ง | เพลี้ยไฟหอมหัวใหญ่ | เพลี้ยไฟกระเทียม | เพลี้ยไฟหอมแดง | เพลี้ยมะเขือเทศ | เพลี้ยไฟกล้วยไม้ | เพลี้ยแป้งอินทผาลัม | เพลี้ยแป้งน้อยหน่า | เพลี้ยไฟชมพู่ | เพลี้ยแป้งเงาะ | เพลี้ยจักจั่นมะม่วง | เพลี้ยมะขาม | เพลี้ยไฟพริก
สารชีวินทรีย์ กำจัดหนอนต่างๆ
กำจัดหนอนศัตรูพืช | กำจัดหนอนทุเรียน | กำจัดหนอนมันสำปะหลัง | กำจัดหนอนกออ้อย | กำจัดหนอนในนาข้าว | กำจัดหนอนในสวนยางพารา | กำจัดหนอนมะพร้าว | กำจัดหนอนข้าวโพด | กำจัดหนอนปาล์มน้ำมัน | กำจัดหนอนสับปะรด | กำจัดหนอนถั่วเหลือง | กำจัดหนอนพริกไทย | กำจัดหนอนกาแฟ | กำจัดหนอนมะนาว | กำจัดหนอนส้ม | กำจัดหนอนลำไย | กำจัดหนอนลิ้นจี่ | กำจัดหนอนหน่อไม้ฝรั่ง | กำจัดหนอนกระเจี๊ยบเขียว | กำจัดหนอนมังคุด | กำจัดหนอนมันฝรั่ง | กำจัดหนอนหอมหัวใหญ่ | กำจัดหนอนกระเทียม | กำจัดหนอนหอมแดง | กำจัดหนอนมะเขือเทศ | กำจัดหนอนกล้วยไม้ | กำจัดหนอนอินทผาลัม | กำจัดหนอนน้อยหน่า | กำจัดหนอนชมพู่ | กำจัดหนอนเงาะ | กำจัดหนอนมะม่วง | กำจัดหนอนมะขาม | กำจัดหนอนพริก
โรงงานรับจ้างผลิตปุ๋ย OEM/ODM เป็นแบรนด์สินค้าของคุณ ปุ๋ยน้ำ ปุ๋ยเม็ด ไตรโคเดอร์มา บิวเวอร์เรีย เมธาไรเซียม จุลินทรีย์ย่อยสลาย ยาปราบฯ สารปรับสภาพดิน ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยเคมี ทำได้ทุกชนิด
เริ่มต้นเพียง 15,000 บาท
ปุ๋ยยาฯ จุลินทรีย์ต่างๆ ปุ๋ยน้ำต่างๆ ปุ๋ยน้ำอะมิโน ไตรโคฯ ประเภทน้ำ ประเภทผง บรรจุขวด บรรจุซอง ทุกชนิด ฯลฯ
เริ่มต้นเพียง 45,000 บาท
ปุ๋ยเม็ดทุกชนิด บรรจุกระสอบ 50 กิโลกรัม บิ๊กแบ็ค 1 ตันเพื่อส่งออก กระสอบ 25 กิโลกรัม ทำได้ทุกชนิด ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์เคมี สารปรับสภาพดิน อะมิโนเม็ดสกัด ฮิวมิค ฯลฯ
โทร 090-592-8614
iLab.work ผู้ใช้บริการตรวจวิเคราะห์ค่าธาตุอาหารใน ดิน น้ำ ปุ๋ย พืช กากอุตสาหกรรม มาตฐาน ISO/IEC 17025


ตรวจง่ายนับ 1 2 3 มาตฐาน ISO/IEC 17025
1.เลือกและคำนวณค่าตรวจที่หน้าเว็บ คลิก
2.ส่งดินเข้าห้อง LAB (ไปรษณีย์,เคอรี่,แฟรช)
3.อ่านผลออนไลน์ (เราจัดส่งต้นฉบับผลวิเคราะห์ ไปตามที่อยู่ที่ให้ไว้เช่นกัน)
→เริ่มกันเลย เลือกค่าที่ต้องการวิเคราะห์
[มีชุดโปรฯแนะนำลดพิเศษ หรือเลือกเองได้]
แก้โรคกล้วยตายพราย ฉีดพ่นด้วย ไอเอส ยาอินทรีย์ป้องกันและยัยั้งเชื้อรา ปลอดสารพิษ
Update: 2562/10/19 14:02:05 - Views: 3099
เพลี้ยแป้งอินทผาลัม เพลี้ยอินทผาลัม เพลี้ย ดูดกินน้ำเลี้ยง อินทผาลัม ใบจุดดวง มาคา จาก FK
Update: 2565/06/17 00:28:58 - Views: 3057
ยาฆ่าเพลี้ย มะยม ปลอดสารพิษ มาคาและ FK-T(ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/09/10 10:28:25 - Views: 3072
ปุ๋ยแตงโม ปุ๋ยน้ำสำหรับแตงโม FK ธรรมชาตินิยม เพิ่มผลผลิต ปลอดภัยไร้สารพิษ
Update: 2567/05/17 08:15:44 - Views: 29
เตือน โรคใบไหม้มะเขือเทศ ป้องกันไว้ ดีกว่าแก้
Update: 2564/01/22 10:13:02 - Views: 2988
คำนิยม - ลูกค้าถามตอบกันเอง เกี่ยวกับ มาคา ยากำจัดเพลี้ย และแมลง ปลอดสารพิษ
Update: 2562/08/30 12:52:04 - Views: 2996
ปุ๋ยสตาร์เฟอร์ 0-0-60 เป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกต้นหม่อน ช่วยให้ผลหม่อนมีคุณภาพดี เพิ่มผลผลิต และเพิ่มรายได้
Update: 2567/03/11 10:54:41 - Views: 115
ทำความเข้าใจกับ กราฟ ปุ๋ยตรา FK กับการปลดปล่อยธาตุอาหาร เมื่อเทียบกับ ปุ๋ยอื่นๆทั่วไป
Update: 2566/01/03 09:10:59 - Views: 2998
หนอนผีเสือเจาะผลมะม่วง หนอนเจาะผลมะม่วง หนอนมะม่วง ป้องกันกำจัดด้วย ไอกี้-บีที
Update: 2564/03/03 00:13:01 - Views: 5823
แนะนำลักษณะประจำของมันสำปะหลัง ที่นิยมปลูก
Update: ././. .:.:. - Views: 2981
ยากำจัดโรคราสนิม ใน แก้วมังกร โรคที่เกิดจากเชื้อรา ฉีดพ่นไอเอสใช้ได้กับพืชทุกชนิด (ขนาด 3 ลิตร ใช้ได้15 ไร่)
Update: 2566/06/13 15:56:49 - Views: 6873
ทุเรียนป่าละอู หวาน-มัน เนื้อหนา ผลผลิตแปลงใหญ่ จ.ประจวบฯ
Update: 2564/03/24 21:48:10 - Views: 3005
อ่างเก็บน้ำพุทธอุทยาน​ จ.อำนาจเจริญ​ ช่วงนี้เป็นช่วงพายุเข้า
Update: 2562/09/03 11:29:36 - Views: 2955
ทุเรียนใบติด ทุเรียนใบไหม้ เพลี้ยไก่แจ้ หนอน ปุ๋ยทุเรียน ใช้ ปุ๋ยยาฯ FK ฟาร์มเกษตร
Update: 2565/05/21 04:14:59 - Views: 3005
ปุ๋ยสำหรับนาข้าวโดยเฉพาะ ปุ๋ยทางใบ ปุ๋ย FK
Update: 2567/05/16 09:07:04 - Views: 41
ข้าวใบไหม้ โรคไหม้ข้าว ใบเหลือง มีจุดสีน้ำตาล แก้ด้วย ไอเอส
Update: 2562/08/17 14:56:26 - Views: 3409
พืชแข็งแรง โตไว ใบเขียว ต้านโรค FK-T ธรรมชาตินิยม (ใช้ได้ทุกพืช)โดย FK
Update: 2565/10/17 13:02:28 - Views: 3010
แก้วมังกร เปลือกเน่า ราสนิม โรคเชื้อราในแก้วมังกร กำจัดด้วย ไอเอส
Update: 2562/08/12 20:29:17 - Views: 4949
คู่มือป้องกันกำจัดโรคราต่างๆในแมคคาเดเมีย แมคคาเดเมียใบไหม้ ใบจุด ราสนิม ราต่างๆ
Update: 2566/05/01 15:18:59 - Views: 16915
ปุ๋ยที่ออกแบบมาสำหรับ นาข้าว ไร่มันสำปะหลัง ไร่อ้อย โดยเฉพาะ
Update: 2567/05/16 09:03:11 - Views: 37
GA4 © FarmKaset.ORG | สถาบันอนุญาโตตุลาการ : 2022