www.Stats.in.th
site uptime
website performance
คุณกำลังใช้เว็บเวอร์ชั่นเก่า ไปเวอร์ชั่นใหม่ คลิก..
ติดตั้งแอพ เกษตร เพื่อเข้าใช้เว็บนี้
รองรับทั้ง iPhone และ Android
ยินดีต้อนรับ
ทุกท่าน กรุณา >
ล็อคอิน
หรือ
สมัคร
หน้าแรก
สินค้า
การสั่งซื้อ
สมัครเป็นตัวแทนจำหน่าย
บริการ
แอพผสมปุ๋ย
ความรู้เกษตร
เว็บบอร์ด
พืชเศรษฐกิจ
ติดต่อเรา
ตรวจดิน
|
โปรแกรมสูตรปุ๋ย
|
ราคายางพาราวันนี้
|
ราคามันสำปะหลังวันนี้
|
ราคาปาล์มวันนี้
|
ราคาไข่ไก่วันนี้
|
อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราประจำวัน
|
ปฏิทินเพาะปลูก
|
วางตัวชี้เมาท์ให้อยู่ในบริเวณกรอบสีส้ม ในขณะค้นหา
ยกเลิกการค้นหาโดยการกดปุ่มกากบาทที่มุมด้านขวาของผลการค้นหา และเลื่อนเมาท์ออกจากกรอบเส้นประสีส้ม
SUN (ซัน) สารปรับปรุงดิน
ดาวน์โหลดโบรชัวร์แผ่นพับ SUN
(ตั้งค่าปรินเตอร์แบบการพิมพ์ไร่ขอบ พิมพ์ A4 สองหน้า พับสองครั้ง จะได้เป็นแผ่นพับสามส่วน)
ดาวน์คู่มือการใช้ SUN (ขนาด A4 รวม 8 หน้า)
*หมายเหตุ ทั้งโบรชัวร์และคู่มือเป็นไฟล์ PDF เปิดด้วย Adobe Reader หรือ โปรแกรมอ่าน PDF ทั่วไป
สั่งซื้อผ่านระบบคลิกที่นี่
หรือ โทร 089-4599003
ชนิดผงประสิทธิภาพสูง บรรจุกระสอบละ 25 กิโลกรัม
ราคา 350 บาทต่อกระสอบ (ตันละ 14,000)
SUN (สารปรับปรุงดิน ซัน)
Integrated Substance for Soil Improvement
จากประสบการณ์ จากงานวิจัยและพัฒนางานวิชาการด้านพืช จากการสนับสนุนจาก สำนักงานอุทยานวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี และการย่างเข้าสู่ปีที่ 5 ของ FarmKaset.ORG ที่ทำงานสื่อสารองค์ความรู้ทางด้านเกษตรกรรมนับตั้งแต่ปี 2008 เป็นต้นมา รวมเป็นงานพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่เหมาะสมที่สุดต่อการปรับปรุงดิน และพัฒนาการเจริญเติบโตของพืช..
สารปรับปรุงดิน SUN(ซัน) จากฟาร์มเกษตร ดอท โออาร์จี (FarmKaset.ORG)
ส่วนประกอบหลัก
แมกนีเซียมออกไซด์ (MgO) 25%
แคลเซียมออกไซด์ (CaO) 35%
ซิลิกอนไดออกไซด์ (SiO2) 20%
ประกอบขึ้นจาก แร่ธาตุต่างๆที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโต และการเพิ่มผลผลิตของพืช ซึ่งประกอบไปด้วย
- ซีโอไลท์
- โดโลไมท์
- เพอร์ไลท์
- ยิปซั่ม
ซึ่งได้รับการออกแบบส่วมผสมต่างๆ ให้เหมาะสมกับการปรับโครงสร้างดิน ช่วยในการรักษาความชื้นบริเวณรากพืช กระตุ้นรากพืช เสริมสร้างความแข็งแรงให้กับระบบดูดกินอาหาร และระบบขับเคลื่อนพลังงานของพืช ช่วยในการส่งเสริมให้พืชดูดกินปุ๋ยได้เป็นระยะเวลาที่นานขึ้น
วิธีการใช้ SUN
1. ใช้หว่านทั่วแปลงพร้อมกับการไถผาน 7
2. ใช้คลุกกับปุ๋ยเคมี ปุ๋ยอินทรีย์ ปุ๋ยอินทรีย์เคมี ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก เพื่อจับตรึงให้เป็นปุ๋ยละลายช้า (Slow Release Fertilizer) ลดการสูญเสียปุ๋ยจากการชะล้างและการระเหิด ประหยัดต้นทุน กระตุ้นการทำงานของรากพืช รักษาความชื้นโดยรอบบริเวณ พืชกินปุ๋ยได้ยาวนานขึ้น
อัตราการใช้โดยทั่วไป : 50 กิโลกรัมต่อไร่
อัตราการผสมโดยทั่วไป : 1 ต่อ 1 (SUN 25 กิโลกรัม ผสมกับ ปุ๋ยเคมี 25 กิโลกรัม รวมเป็น 50 กิโลกรัม ใช้ได้ 1 ไร่)
การใช้ SUN ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด ควรตรวจวิเคราะห์ดินก่อนใช้
- ตรวจดินได้ค่า pH ระหว่าง 6.5 - 7.0 ใช้ SUN ปริมาณ 25 กิโลกรัม ผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ 50 กิโลกรัม รองพื้นหรือหว่านทั่วแปลง
- ตรวจดินได้ค่า pH ต่ำกว่า 6.5 ใช้ SUN ปริมาาณ 50 กิโลกรัม ผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ 50 กิโลกรัม รองพื้นหรือหว่านทั่วแปลง
กรณีส่งดินเข้าตรวจกับ
iLab.Asia
- ตรวจวิเคราะห์ค่า OM ได้สูงกว่า 1.5% ลดปริมาณการใช้ปุ๋ยอินทรีย์ได้ หันมาใช้ SUN ในสัดส่วน 50 กิโลกรัมต่อไร่ จะเพิ่มผลผลิตได้ดี
- ตรวจวิเคราะห์ค่า OM ได้ต่ำกว่า 1.5% ใช้ปุ๋ยอินทรีย์ 50 กิโลกรัม ผสมกับ SUN 25 กิโลกรัมต่อ ต่อไร่ เป็นการเพิ่มปริมาณอินทรีย์วัตถุในดิน เพิ่มธาตุรอง ปรับสภาพดินให้ดีอย่างต่อเนื่อง
หมายเหตุ: OM ย่อมาจาก Organic Matter ซึ่งก็คือปริมาณอินทรียวัตถุในดิน
วิธีการใช้รายพืช กรุณาดูรายละเอียดการใช้ SUN สำหรับพืชต่างๆ ที่เมนูทางด้านขวามือของหน้านี้
คุณสมบัติ
แก้ปัญหาการขาดธาตุ แคลเซียม แมกนีเซียม ซิลิกอน ในดิน
เพิ่มความสามารถในการดูดซับธาตุอาหารในดิน CEC
เพิ่มการสังเคราะห์แสงและการสร้างคลอโรฟิลให้กับพืช
ปรับค่า pH ของดิน แก้ดินเปรี้ยว ดินเป็นกรด
เพิ่มการทำงานของจุลินทรีย์ในดิน
ป้องกันโรคแมลงเข้าทำลาย
ประกอบด้วย
ธาตุรอง ธาตุเสริม แคลเซียม (Ca) แมกนีเซียม (Mg) ซิลิกอน (Si) ซัลเฟอร์ (S) เหล็ก (Fe) สังกะสี (Zn) ทองแดง (Cu) แมงกานิส (Mn) อลูมินั่ม (Al) โมลิบดินัม (Mo) โบรอน (B)
แมกนีเซียม : Magnesium (Mg)
- ช่วยในการสังเคราะห์แสงของพืช ทำให้พืชมีการปรุงอาหารดีขึ้น
- ช่วยให้ใบพืชเขียวทนนาน
- ช่วยสร้างน้ำมันในพืช
- จำเป็นต่อการทำงานของเอนไซม์ในพืช
- เป็นอาหารของจุลินทรีย์
แคลเซียม : Calcium (Ca)
- ช่วยในการสร้างราก การแตกกิ่ง สร้างตา สร้างดอก
- ป้องการหลุดล่วงของดอก
- ช่วยสร้างเซลล์ และทำให้ผนังเซลล์ตึง ทำให้ลำต้นพืชแข็งแรง
ซิลิกา : Silicon (Si)
- ช่วยดูดซับความชื้น และแร่ธาตุอาหารในดินให้อยุ่ในดินนานขึ้น
- บำรุงลำต้นและใบพืช
- ช่วยให้ลำต้นของพืชแข็งแรง ไม่ล้ม
- ป้องกันการรบกวนของแมลง และโรคบางชนิด
กำมะถัน : Sulfur (S)
กำมะถันมีความจำเป็นต่อการสร้างโปรตีนพืช เป็นองค์ประกอบของวิตามินบางตัวที่มีผลทางอ้อมต่อการสร้างสีเขียวของพืช ซึ่งจะช่วยให้เกิดการหายใจและการปรุงอาหารพืช
แมงกานีส : Manganese (Mn)
- ช่วยในการหายใจของพืช เกิดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์
- ช่วยสังเคราะห์แสงทำให้เกิดสารคลอโรฟิลล์ (สีเขียวในพืช)
- ช่วยเปลี่ยนพลังงานแสงอาทิตย์ให้เป็นพลังงานเคมี
- ช่วยในการสังเคราะห์โปรตีนในพืชให้เป็นแป้ง เป็นน้ำตาล โดยเฉพาะในผลไม้ที่รับประทานหวาน จะมีความหวานเพิ่มขึ้น
- เพิ่มจำนวนช่อดอก จำนวนผล
- ช่วยเสริมสร้าง แป้ง และน้ำตาล
- ช่วยพัฒนาขนาดของผลและเมล็ด
- สังเคราะห์โปรตีน
- ส่งเสริมการสุกการแก่ของผล
- ควบคุมการคายน้ำของผล
- มีบทบาทในการย่อยโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต
- สร้างความต้านทานต่อความหนาวเย็นหรือเมื่อมีอุณหภูมิต่ำ
- สร้างให้พืชมีความต้านทานต่อโรคและแมลง
อลูมิเนี่ยม : Aluminium (Al)
- ช่วยสลายสภาพความเป็นกรดในดิน (ช่วยลดกรดในดิน)
สังกะสี : Zinc (Zn)
- ช่วยสร้างฮอร์โมนและเอนไซม์ต่างๆในพืช
- ช่วยกระตุ้นในการแตกใบ
- สร้างแป้งในเมล็ดข้าว ช่วยให้เมล็ดข้าวเต็ม
ทองแดง : Copper (Cu)
- สร้างสารคลอโรฟิลล์ (สีเขียว) ในพืช และช่วยสังเคราะห์
- เพิ่มความหวาน กลิ่น และความเข้มของสีในผักและผลไม้
เหล็ก : Iron (Fe)
- สร้างสารคลอโรฟิลล์ และสังเคราะห์โปรตีนในพืช
- ช่วยในกระบวนการหายใจของพืช
โมลิบดีนัม : Molybdenum (Mo)
- มีบทบาทสำคัญในกระบวนการตรึงไนโตรเจน
โบรอน : Boron (B)
- ช่วยสร้างโปรตีน,แป้ง และการแบ่งเซลล์ของพืช
ซีโอไลท์ (Zeolite)
ซีโอไลต์ เป็นสารในรูปแร่อลูมิโนซิลิเกต (Aluninosilicates) ชนิดหนึ่งที่มีสมบัติดูดน้ำได้ดี ดังนั้นเมื่อนำไปใช้โดยใส่ลงไปในดินจึงช่วยทำให้ดินมีความสามารถอุ้มน้ำได้สูงขึ้น และทำให้พืชที่ปลูกสามารถใช้น้ำในดินได้ขึ้น นอกจากนั้นซีไอโลต์ยังมีคุณสมบัติอื่น ๆ ที่มีคุณค่าอีกหลายประการ เช่น มีความสามารถในการแลกเปลี่ยนประจุบวกสูงมากรวมทั้งความสามารถในการดูดซับโมเลกุลสารอินทรีย์และสารอนินทรีย์หลายชนิด ไม่ว่าจะเป็นสารที่ไม่มีพิษภัยหรือสารพิษต่างๆที่อาจก่อให้เกิดภาวะปนเปื้อนต่อสิ่งแวดล้อม
ซีโอไลต์นั้นมีมากกว่า 600 ชนิด แต่สามารถแบ่งกลุ่มตามชนิดของโครงสร้างได้ประมาณ 40 ชนิด ซึ่งความแตกต่างในโครงสร้างนี่มีผลต่อสมบัติต่างๆ ของซีโอไลต์ เช่น โครงสร้างผลึก ความหนาแน่น ขนาดของโพรง ความแข็งแรงของพันธะ เป็นต้น การจำแนกชนิดของซีโอไลต์นั้นอาศัยขนาดและรูปร่างของโพรงซีโอไลต์เป็นหลัก ซึ่งจะทำให้นำซีโอไลต์ไปใช้ประโยชน์ในงานที่แตกต่างกันไป
เพอร์ไลท์ (Perlite)
หินเพอร์ไลท์ มีธาตุซิลิก้า (Si) ซึ่งมีคุณสมบัติเด่นในการดูซับน้ำและปุ๋ย ทำให้สภาพข้างเคียงโดยรอบรากพืช มีความชุ่มชื้น ช่วยทำให้พืชแข็งแรง ทนต่อความแล้ง ลดการสูญเสียน้ำ ทนทานต่อโรค เพิ่มความเจริญเติบโต ลดความเป็นพิษของธาตุแมงกานิส เหล็ก อลูมิเนียม ที่มีอยู่ในสารละลายดินมากเกินไป ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ยที่มีส่วนประกอบของไนโตรเจนได้ดี มีคุณสมบัติดูซับธาตุฟอสฟอรัส และไนโตรเจน มี อลูมิเนียม (AI) และโซเดีย (Na) ซึ่งมีคุณสมบัติปรับค่า pH หรือความเป็นกรด ความเป็นด่างของดิน และยังสามารถดูดซึมก๊าซหรือสารประกอบอินทรีย์ต่างๆในดินได้ดี เพอร์ไลท์มีธาตุเหล็ก (Fe) ช่วยในขบวนการหายใจ เสริมสร้างคลอโรฟิลล์ที่ใช้ในขบวนการปรุงอาหารของพืช
คุณสมบัติทางเคมีของเพอร์ไลท์
Typing Chemical Analysis
Silica 73.78%
Alumina 14.73%
Ferric Oxide 1.31%
Titanium Oxide 0.05%
Calcium Oxide 1.58%
Magnesium Oxide 0.27%
Sodium Oxide 2.04%
Potassium Oxide 5.15%
Water 0.49%
Loss in Ignitions 1.8%
Specific Gravity 0.18 kg/1
Colour White
Fusion Point 1260-1343 ?C
Softening Point 871-1093 ?C
ทดสอบโดย : กรมทรัพยากรธรณี กระทรวงอุตสาหกรรม
โดโลไมท์ (Dolomite)
โดโลไมท์ช่วยในการปลูกพืช ปรับสภาพน้ำ ปราศจากสารเคมีที่เป็นอันตรายต่อมนุษย์ ช่วยในการเจริญเติบโตใช้ทดแทนการใช้ปุ๋ยเคมีได้ถึง กว่า 50% ลดต้นทุนการผลิตของเกษตรกรส่วนประกอบสำคัญ : แคลเซียม แมกนีเซียม นอกจากนี้ยังประกอบด้วยแร่ธาตุ ซิลิกอน, โซเดียม, โปรแทสเซียม, เหล็ก, แมงกานีส, ทาลิเนียม, ฟอสฟอรัสฯลฯทำมาจากหินฟอสเฟตจากธรรมชาติ ที่มีชื่อทางการว่าโดโลไมท์ ซึ่งเป็นที่ยอมรับทางหน่วยงานในภาครัฐมีการรณรงค์ให้เกษตรกรหันมาใช้ เพราะนอกจากจะเป็นการปรับปรุงบำรุงดิน-น้ำโดยวิธีธรรมชาติแล้ว ทำให้เกษตรกรลดค่าใช้จ่ายจากเดิมได้มากขึ้น คุณสมบัติในดิน
- ช่วยเสริมสร้างส่วนที่เป็นดอก การผสมเกสร และการติดเมล็ด เร่งสร้างความเจริญเติบโต และให้ผลผลิตของพืช
- เพิ่มภูมิต้านทาน เสริมต้นพืชให้แข็งแรง ทนต่อสภาพแวดล้อม และโรคแมลงต่างๆ
- ควบคุมค่า pH
ยิปซัม (Gypsum)
ยิปซัม คือ แร่เกลือจืด เป็นสารประกอบแคลเซี่ยมซัลเฟต มีสูตรทางเคมี คือ CaSO4. 2H2O เป็นผลึกสีขาวหรือไม่มีสี เนื้ออ่อน มีปฏิกริยาเป็นกลาง ละลายในน้ำได้ขึ้นอยูกับความละเอียดของเนื้อยิปซัม
ดินที่ใช้ในการเกษตรมานาน ขาดการปรับปรุงบำรุงดินที่เหมาะสม จำเป็นต้องได้รับการแก้ไข การใช้ยิปซัมเป็นวัสดุปรับปรุงดิน จะช่วยแก้ปัญหาผิวดินจับตัวกันแน่น ทำให้น้ำและอากาศผ่านลงไปในดินชั้นล่างได้ดีขึ้น พืชดูดใช้น้ำและอาหารได้อย่างมีประสิทธิภาพ การแก้ปัญหาทางเคมีและชีวภาพ ยิปซัมช่วยลดสภาพดินเป็นกรดในดินชั้นล่างลดการเกิดโรคพืช ช่วยฟื้นฟูดินเค็มให้กลับมาใช้ปลูกพืชได้เป็นปกติ ยิปซัมนอกจากช่วยปรับสภาพดินแล้วยังเป็นแหล่งให้ธาตุแคลเซี่ยม และกำมะถันที่จำเป็น แก่พืชเศรษฐกิจ ในภาวะการณ์ปัจจุบันที่มีการใช้ปุ๋ยเคมีในการเพิ่มผลผลิตพืช ระบบการเกษตรแบบประณีต ทำให้ดินขาดความสมดุลของธาตุอาหารโดยเฉพาะแคลเซี่ยมและกำมะถันที่มีอยู่ในดินสูญเสียไปจากการถูกชะล้างจำนวนมากทุกปี การใส่ยิปซัมในระบบการจัดการดินที่เหมาะสมจะเป็นทางหนึ่งที่ช่วยเสริมสร้างระบบดิน-พืช ให้เกิดความยั่งยืนได้
สารปรับสภาพดิน
การใช้ SUN กับพืชต่างๆ
SUN หน้าแรก (อธิบายภาพรวมของ SUN ส่วนประกอบ วิธีใช้ และคุณประโยชน์)
ใช้ SUN เพิ่มประสิทธิภาพปุ๋ย
ใช้ SUN กับนาข้าว
ใช้ SUN กับยางพารา
ใช้ SUN กับมันสำปะหลัง
ใช้ SUN กับปาล์มน้ำมัน
ใช้ SUN กับอ้อย
นิตยสารเกษตร
วารสารเกษตร
ลงโฆษณา นิตยสารเกษตร
ลงโฆษณา วารสารเกษตร
ข่าวเกษตร
สินค้าสั่งซื้อได้ที่
ร้านออนไลน์ฟาร์มเกษตร
(089-4599003) หรือเกี่ยว กับเรา
ติดต่อฟาร์มเกษตร
©2011 by FarmKaset.ORG All rights reserved