<กลับหน้าค้นข้อมูล
แจ้งลิงค์ในเนื้อหาเสีย
หนอนบำบัด (Maggot Therapy) ใช้หนอนแมลงวัน รักษาแผลติดเชื้อ
ใช้หนอนแมลงวัน ทำความสะอาดแผลหนอง หรือแผลเน่าติดเชื้อ มีการบันทึกประสิทธิภาพในการรักษาแผลเน่า ติดเชื้อ โดยหนอนแมลงวัน โดยแพทย์ประจำพระองค์ ในสมัยพระเจ้านโปเลียน ในขณะรักษาทหารที่บาดเจ็บ ในระหว่างสงคราม
1. ประวัติและความเป็นมา
ย้อนไปเมื่อสมัย 1_000 ปีก่อน ชาวอินเดียแดงเผ่ามายาและชาวเจมบาซึ่งเป็นชาวพื้นเมืองใน New South Wales ประเทศออสเตรเลียได้ใช้หนอนแมลงวัน (Maggot) ในการทำความสะอาดแผลหนองหรือแผลเน่าติดเชื้อโดยพวกเขาได้รับการถ่ายทอดความ รู้นี้มาจากบรรพบุรุษซึ่งสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น และในประวัติศาสตร์ก็ได้มีการบันทึกถึงประสิทธิภาพในการรักษาแผลเน่าติด เชื้อโดยหนอนแมลงวัน (Maggot) เมื่อปี 1829 โดยนายแพทย์ Baron Dominic Larrey ซึ่งเป็นหัวหน้าแพทย์และแพทย์ประจำพระองค์ในสมัยพระเจ้านโปเลียนซึ่งพบถึง ประสิทธิภาพนี้ในขณะ ที่ทำการรักษาทหารที่บาดเจ็บในระหว่างสงคราม
ในปี 1929 นายแพทย์ William Baer ศัลยแพทย์ชาวอเมริกันซึ่งเป็นศาสตราจารย์อยู่ที่ Johns Hopkins School of Medicine ในรัฐ Maryland ซึ่งนับเป็นผู้ก่อตั้งวิธีการรักษาด้วยหนอนบำบัด (Maggot therapy) สมัยใหม่ ได้ทำการศึกษาวิจัยการรักษาด้วยหนอน (Maggot) อย่างจริงจัง โดยใช้วิธีทางวิทยาศาสตร์และได้เผยแพร่ความรู้นี้สู่สาธารณชน ส่งผลให้วิธีการรักษาด้วยหนอนบำบัด (Maggot therapy) ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายและในช่วงปี ค.ศ. 1940 โรงพยาบาลในอเมริกามากกว่า 300 แห่งได้ใช้วิธีนี้ในการรักษาผู้ป่วยและบริษัท Lederle ซึ่งเป็นบริษัทยาก็ได้ผลิตหนอน (maggot) ออกขายสู่ท้องตลาด ต่อมาได้มีการคิดค้นยาปฏิชีวนะในกลุ่ม Sulfa และ Penicillin ขึ้น ทำให้ maggot therapy เริ่มจางหายไปจากวงการแพทย์
จวบจนกระทั่งในปี 1995 ที่ประเทศเยอรมันก็ได้มีการฟื้นฟูวิธีการรักษาด้วยหนอนบำบัด (Maggot therapy) ขึ้นมาใหม่เพื่อแก้ไขปัญหาแผลเรื้อรังซึ่งมีประชากรที่ต้องตกอยู่ในสภาวะนี้ มากกว่า 3 ล้านคนโดยแผลที่เนื่องมาจากเบาหวานนับว่าเป็นอาการที่พบได้บ่อย และสถาบันต่างๆของเยอรมนีเช่น German Diabetis Society (Deutsche Diabetesgesellschaft) และ German Society for Angiology (Deutsche Gesellschaft fuer Angiology) ได้ทำการประเมินขั้นตอนการวินิจฉัยโรค_ การรักษา และภาวะการฟื้นตัวของผู้ป่วย จากโรคเบาหวาน และพบว่าการรักษาด้วยหนอนบำบัด (Maggot therapy) นั้นทำให้ผู้ป่วยประมาณ 10_000 รายไม่จำเป็นจะต้องผ่าตัดเท้าหรือแขนทิ้งหากได้รับการรักษาตั้งแต่ระยะแรก เริ่มของโรคและจากรายงานทางการแพทย์จากคลินิกชุมชนเฮิร์กส ในแฟรงเฟิร์ต ตั้งแต่ปี 1999 คลินิกชุมชนเฮิร์กส ในแฟรงเฟิร์ตได้นำลักษณะการบำบัดรักษาด้วยหนอนแมลงวันมาใช้กับการรักษาบาด แผลคนไข้ที่มีการเรื้อรังและไม่สามารถรักษาด้วยวิทยาการทางการแพทย์ปกติได้ ซึ่งหลังจากการนำมาทดลองใช้ดังกล่าวแล้ว พบว่า บาดแผลที่ได้ให้หนอนแมลงวันในการรักษานั้นสะอาดได้เป็นระยะๆ คนไข้ซึ่งได้รับการรักษาบาดแผลโดยวิธีการดังกล่าวนี้เป็นประจำจะพบว่าบาดแผล ของเขาจะสะอาดขึ้นเรื่อยๆและถ้าหากหยุดพักหรือทิ้งช่วงระยะเวลาในการบำบัด ด้วยวิธีดังกล่าว สภาพของบาดแผลก็จะกลับมาแย่อีกครั้ง(1)
2. แนวคิดและทฤษฎีพื้นฐาน
Lucilia sericata คือ แมลงวันมีอยู่มากมายหลากหลายสายพันธุ์ โดยประมาณได้ว่ามีมากถึง 120_000 สายพันธุ์ (species_ sp) ทั่วโลก และประมาณ 10_000 sp. ที่สามารถพบได้ในภาคพื้นยุโรป Lucilia sericata เป็น species ที่อยู่ใน genus green bottles (Lucilia) หนอนของแมลงวัน หรือที่มีชื่อเรียกในภาษาละตินว่า Lucilia นั้น มีการนำมาใช้ในการรักษาแผลเรื้อรัง
วิวัฒนาการของแมลงวันเริ่มต้นจากไข่ที่ได้วางไว้บนซากเนื้อแล้ว พัฒนาไปเป็นหนอนแมลงวัน หนอนเหล่านี้จะผลิตเอนไซม์เพื่อช่วยในการย่อยเซลล์ของเนื้อเยื่อที่ตายแล้ว และดูดส่วนที่ย่อยแล้วไปเป็นอาหารซึ่งหนอนแมลงวัน (Maggot) เหล่านี้จะย่อยสลายเฉพาะเนื้อเยื่อที่ตายแล้วเท่านั้น ไม่กัดกินเนื้อดีดังนั้นการกัดกินแบบลึกๆตามที่เข้าใจนั้นจะไม่พบในสัตว์ ประเภทนี้
หนอนแมลงวันเติบโตได้สูงสุด 12 มิลลิเมตร ภายในเวลา 3-4 วัน หลังจากนั้นก็จะละทิ้งซากเนื้อเพื่อจะพัฒนาไปเป็นดักแด้ในสิ่งแวดล้อมที่ แห้งต่อไป
หลักการที่นำหนอนดังกล่าวมาใช้ในการทำลายเชื้อโรคในบาดแผลเนื้อตาย (Necrosis) ก็คือหนอนจะหลั่งน้ำย่อยออกมาเพื่อย่อย Necrosis (เนื้อตาย) ให้เป็นของเหลวและหลังจากนั้นก็จะดูดกิน Necrosis ที่ย่อยแล้วเข้าสู่ร่างกายเพื่อเป็นอาหารให้กับตัวมันเอง นอกจากนี้ยังพบว่าเอนไซม์มีฤทธิ์ในการฆ่าเชื้อแบคทีเรียในบาดแผลและทำให้แผล สะอาด ลดกลิ่นไม่พึงประสงค์ของแผล และข้อดีอีกประการหนึ่งของวิธีการดังกล่าวนี้ก็คือการกระตุ้นให้เกิดการ สร้างเสริมเซลล์เนื้อเยื่อขึ้นมาใหม่ (Granulation Tissue)
3. ข้อบ่งชี้ / รายละเอียดในการใช้ : ใช้กับแผลต่างๆ ดังนี้
– Diabetic foot ulcers แผลเนื่องจากโรคเบาหวานบริเวณเท้า
– Decubitus ulcers แผลกดทับจากโรคเบาหวาน
– Ulcers cruris
– MRSA and other wound infections แผลติดเชื้อจาก Staphylococcus aureus และอื่น ๆ
– Necrotizing tumor wounds แผลเนื้อเยื่อตาย
– Necrotizing fasciitis แผลพังผืดอักเสบ
– Burns แผลไหม้
– Thrombangitis obiterans
– Bacterial soft tissue infections และแผลเรื้อรังจากสาเหตุอื่นๆ
4. ระยะเวลาในการใช้(2)
โดยส่วนใหญ่แล้วจะเห็นผลของการเปลี่ยนแปลงได้อย่างชัดเจนตั้งแต่ ครั้งแรกที่ใช้ แต่ทั้งนี้ก็จะขึ้นอยู่กับความใหญ่ของบาดแผลด้วย ทันทีที่บาดแผลสะอาดก็สามารถสิ้นสุดการบำบัดรักษาด้วยวิธีการดังกล่าวได้
5. ผลข้างเคียง(2_ 3_ 4)
ตามทฤษฎีแล้ว การบำบัดรักษาด้วยวิธีดังกล่าวนี้จะไม่เกิดผลข้างเคียงใดๆ ในบางครั้งอาจจะเกิดเลือดไหลออกที่บริเวณรูขุมขนซึ่งเป็นลักษณะหรือสัญญาณ ที่ดีสำหรับการหล่อเลี้ยงของเลือด ประมาณ 90% ของผู้ที่เคยทดลองวิธีการดังกล่าวนี้จะรู้สึกจั๊กจี้และขยะแขยง
6. ประโยชน์ที่ได้รับคือ(1_ 2_ 3_ 4)
* ลดจำนวนเนื้อเยื่อที่ตายแล้วอย่างรวดเร็ว
* เพิ่มจำนวนเนื้อเยื่อที่สร้างขึ้นใหม่
* ลดจำนวนของเหลวและกลิ่นเหม็นจากแผล
* ลดความเจ็บปวด
* ลดระยะเวลาในการรักษาตัวที่โรงพยาบาล
* หลีกเลี่ยงการผ่าตัด
* ลดการใช้ยาฆ่าเชื้อ (Antibiotic)
เขียนโดย : คุณสุวรรณี เอี่ยมคง
เอกสารอ้างอิง
BioMonde Fly Larvae “Optimum Treatment for Chronic Wounds”
Wayman_ J._ Nirojogi_ V._ Walker_A. et al.: The cost effectiveness of larval therapy in Venous ulcers. J ofTiss. Viab. 10(2000) 91-94
Gantz NM_ Tkatch LS_ Makris AT. Geriatric infections. In : APIC Text of Infection Control and Epidemiology. Washington: Association for Professional in Infection Control and Epidemiology_ Inc._ 2000: pp 35-1-13
Sherman_ R.: Maggot versus conservative debridement therapy for the treatment of pressure ulcers. Wound Repair and Regeneration 10 (4) (2002) 208-214
From:
http://www.farmkaset..link..