<กลับหน้าค้นข้อมูล
แจ้งลิงค์ในเนื้อหาเสีย
โรคราสนิมข้าวโพด ใช้ ไอเอส + FK-1
โรคราสนิมที่เกิดจากเชื้อ Puccinia polysora Underw พบครั้งแรกในประเทศสหรัฐอเมริกาโดย Underwood โดยเข้าทำลายพืชที่มีพันธุกรรมใกล้เคียงกับข้าวโพดคือ Tripsacum dactyloides ในรัฐอลาบามา สหรัฐอเมริกา ต่อมาพบในพืช Erianthus ซึ่งเป็นพืชตระกูลหญ้าซึ่งมีพันธุกรรมใกล้เคียงกับอ้อย ส่วนการเข้าทำลายข้าวโพดครั้งแรกรายงานโดย Cummins ( Orian_ 1954; Ullstrup_ 1950) โรคราสนิมที่เกิดจากเชื้อรา P. polysora ระบาดแพร่หลายในเขตร้อนชื้น (tropical) และกึ่งร้อนชื้น (subtropical) ในปี ค.ศ. 1949 พบการระบาดที่อัฟริกา (Robinson_ 1973) ปี 1949 เริ่มระบาดแถบ corn belt หลังจากนั้นเริ่มกระจายออกไปในหลายพื้นที่ปลูก สำหรับประเทศไทยโรคราสนิมมีความสำคัญยิ่งโรคหนึ่ง มีรายงานการระบาดของโรคราสนิม ในปี พ.ศ. 2527 โดยสร้างความเสียหายให้กับข้าวโพดในท้องที่อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา (อุดม_ 2529) นอกจากนี้ยังพบการระบาดในพื้นที่ที่มีการปลูกข้าวโพดอย่างต่อเนื่อง เช่น การปลูกข้าวโพดหวานเพื่ออุตสาหกรรม อีกประการหนึ่งคือการกระจายของน้ำฝนไม่สม่ำเสมอ ทำให้การปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์มีหลายฤดูปลูก จึงมีพืชอาศัยของโรคตลอดทั้งปีเป็นแหล่งแพร่เชื้อไปสู่ต้นที่ปลูกภายหลัง ปลายฤดูฝน (สิงหาคม-พฤศจิกายน) เป็นช่วงที่เกิดโรครุนแรงที่สุด (ประชุม และคณะ_ 2546) การเขตกรรมและพันธุ์ข้าวโพดที่ปลูกมีผลต่อการระบาดของโรคราสนิม (southern rust) (Futrell_ 1975) ปัจจุบันแหล่งที่พบว่ามีการระบาดของโรคอย่างรุนแรง ได้แก่ อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา เลย เชียงใหม่ ตาก และ สงขลา (ชุติมันต์ และเตือนใจ_ 2545)
อาการของโรค
ลักษณะอาการของโรคราสนิม (Southern rust) จะเกิดตุ่มนูนของสปอร์ (pustule) ขนาด 0.2-1.3 มิลลิเมตร ตุ่มสปอร์ของโรคราสนิมที่เกิดจากเชื้อรา P. polysora ต่างจากตุ่มสปอร์ที่เกิดจากเชื้อรา P. sorghi ทั้งขนาด รูปร่าง และสี นอกจากนี้ลักษณะแตกต่างที่สำคัญคือโรคราสนิมที่เกิดจากเชื้อรา P. polysora จะมีความรุนแรงมากกว่า สามารถทำให้ข้าวโพดแห้งตายได้ (Rodriguez-Ardon et al._ 1980) ตุ่มของสปอร์ของโรคราสนิมเกิดได้ทั้งด้านบนและด้านล่างของใบ แต่จะพบมากด้านบนของใบ โรคราสนิมสามารถเกิดได้ทุกส่วนของพืช ไม่ว่าบนใบ กาบใบ ลำต้น กาบหุ้มฝัก และช่อดอกตัวผู้ ระยะแรกตุ่มสปอร์จะมีสีน้ำตาลอ่อน ต่อมาจะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลแดง เมื่อตุ่มสปอร์แตกออกจะพบผงสีสนิมเหล็ก เป็นหน่วยสืบพันธุ์ของเชื้อที่เรียกว่า uredospore
ความเสียหายที่เกิดจากโรคราสนิม
เมื่อเชื้อสาเหตุโรคราสนิมเข้าทำลายข้าวโพดจะทำให้พื้นที่ใบสูญเสียการสังเคราะห์แสง เกิดอาการใบซีด (chlorosis) และใบแก่เร็วขึ้นทำให้การสร้างเมล็ดไม่สมบูรณ์จึงมีผลต่อผลผลิต ความเสียหายของผลผลิตมีมากขึ้นเมื่อข้าวโพดถูกทำลายเมื่อข้าวโพดยังเล็กและโรคราสนิมลามขึ้นไปถึงใบที่อยู่เหนือฝัก (Biswanath_ 2008) ความเสียหายของผลผลิตข้าวโพดเนื่องมาจากการทำลายของโรคราสนิมนอกจากจะขึ้นกับอาการของโรคแล้ว ยังขึ้นอยู่กับชนิดและพันธุ์ข้าวโพด ตลอดจนปัจจัยอื่นที่มีผลต่อการเจริญของข้าวโพด เช่น ความอุดมสมบูรณ์ของดิน ความชื้นในดิน ซึ่งจะทำให้ข้าวโพดที่เป็นโรคระดับเดียวกันเป็นโรครุนแรงต่างกันได้ Pataky และ Eastburn (1993) รายงานความเสียหายในข้าวโพดหวานที่มีระดับความต้านทานแตกต่างกัน ในข้าวโพดหวานพันธุ์ต้านทานที่เป็นโรคราสนิม 1-20 เปอร์เซ็นต์ ทำให้ผลผลิตลดลง 0-12 เปอร์เซ็นต์ พันธุต้านทานปานกลางที่เป็นโรค 8-30 เปอร์เซ็นต์ ผลผลิตจะลดลง 5-18 เปอร์เซ็นต์ พันธุ์อ่อนแอปานกลางที่เป็นโรครุนแรง 15-40 เปอร์เซ็นต์ ผลผลิตจะลดลง 9-24 เปอร์เซ็นต์ และพันธุ์อ่อนแอที่เป็นโรครุนแรง 25-75 เปอร์เซ็นต์ ผลผลิตลดลง 15-45 เปอร์เซ็นต์
ป้องกันกำจัด โรคราสนิม โรคต่างๆ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา โรคราแป้ง โรคไหม้ โรคใบไหม้ โรคแอนแทรคโนส โรคเชื้อราไฟทอปโธร่า โรคราต่างๆ ฉีดพ่น ไอเอส สารอินทรีย์ ป้องกันและยับยั้งโรคพืชจากเชื้อรา
เร่งการเจริญเติบโต สร้างภูมิต้านทาน เพิ่มผลผลิต ฉีดพ่น FK-1 ที่ประกอบด้วย ธาตุหลัก ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่ครบถ้วน
สามารถผสม ฉีดพ่นไปพร้อมกันได้
อ้าอิง
http://www.farmkaset..link..