<กลับหน้าค้นข้อมูล
แจ้งลิงค์ในเนื้อหาเสีย
การปลูกทานตะวัน
ทานตะวัน เป็นพืชนํ้ามันที่มีความสําคัญพืชหนึ่ง นํ้ามันที่ได้จากการสกัดจากเมล็ดทานตะวันจะ
มีคุณภาพสูง ที่ประกอบด้วยกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัว เช่น กรดลิโนเลนิค หรือกรดลิโนเลอิค ที่จะช่วยลด
โคเลสเตอรอลที่เป็นสาเหตุของโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือด นอกจากนี้นํ้ามันจากทานตะวันยังประกอบด้วย วิตามิน เอ ดีอีและเคด้วย ผลผลิตส่วนใหญ่อยู่ในเขตอบอุ่น เช่น สหภาพโซเวียต อาร์เจนตินา และประเทศ ในแถบยุโรปตะวันออก สําหรับประเทศไทย ได้มีการส่งเสริมให้มีการ ปลูกทานตะวันเป็นอาชีพเสริมมากขึ้น เพื่อเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอกับอุตสาหกรรมพืชนํ้ามันและความต้องการของผู้บริโภค ทั้งนี้ เพราะ ทานตะวันเป็นพืชที่มีอายุสั้นระบบรากลึก มีความทนทานต่อสภาพแห้งแล้งได้ดีกว่าพืชอื่น ๆ แหล่งปลูกที่สําคัญ ได้แก่ จังหวัดลพบุรี เพชรบูรณ์ และสระบุรี
สภาพแวดล้อม
ทานตะวัน เป็นพืชที่มีการปรับตัวเข้ากับสภาพของเขตร้อนได้ดีพอสมควรไม่ไวต่อแสง สามารถ
ออกดอกใหผลได้ทุกสภาพช่วงแสง ปลูกได้ในบริเวณที่มีการปลูกข้าวโพด ข้าวฟาง เมื่่อทานตะวันตั้งตัวได้แล้ว จะมีความทนทานต่อสภาพแห้งและร้อนได้พอสมควร และจะเริ่มเติบโตทันทีเมื่อมีฝน นอกจากนี้ทานตะวันยังมีความทนทานต่อสภาพอากาศเย็นจัดได้ดีกว่าข้าวโพด ข้าวฟ่าง โดยเฉพาะอย่างยิ่งในระยะต้นกล้า ทานตะวันขึ้นได้กับดินหลายประเภท แต่จะขึ้นได้ดีในสภาพดินที่มีผิวดินหนาและอุ้มความชื้นไว้ได้ดี สามารถทนต่อสภาพความอุดมสมบูรณ์ตํ่า ตลอดจนสภาพดินเกลือและเป็นด่างจัดได้พอสมควร ซึ่งดินเหล่านี้จะมีอยู่เป็นจํานวนมากในเขตแห้งแล้งทั่วๆไป
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ทานตะวัน เป็นพืชในตระกูลเดียวกันกับเบญจมาศ คําฝอย ดาวเรือง เป็นพืชล้มลุกที่มีปลูกกัน
มากในเขตอบอุ่น การที่มีชื่อเรียกว่า ทานตะวัน เพราะลักษณะการหันของช่อดอกและใบจะหันไปทาง
ทิศของดวงอาทิตย์คือ หันไปทางทิศตะวันออกในตอนเช้า และทิศตะวันตกในตอนเย็น แต่การหันจะลดน้อยลงเรื่อย ๆ หลังจากมีการผสมเกสรแล้วไปจนกระทั่งถึงช่วงดอกแก่ ซึ่งช่อดอกจะหันไปทิศตะวันออกเสมอ
ราก เป็นระบบรากแก้วหยั่งลึกลงไปประมาณ 150-270 เซนติเมตร มีรากแขนงค่อนข้างแข็ง
แรงแผ่ขยายไปด้านข้างได้ยาวถึง 60-150 เซนติเมตร เพื่อช่วยคํ้าจุนลําต้นได้ดีและสามารถใช้ความชื้นระดับผิวดินได้อย่างมีประสิทธิภาพ
ลําต้น ส่วนใหญ่ไม่มีแขนง แต่บางพันธุ์มีการแตกแขนง ขนาดของลําต้น ความสูง การแตก
แขนงขึ้นอยู่กับพันธุ์และสภาพแวดล์อม ความสูงของต้นอยู๋ระหว่าง 1-10 เซนติเมตร การโค้งของลําต้น ตรงส่วนที่เป็นก้านช่อดอกมีหลายแบบ แบบที่ต้องการคือแบบที่ ส่วนโค้งตรงก้านช่อดอกคิดเป็นร้อยละ15 ของความสูงของลําต้น พันธุ์ที่มีการแตกแขนง อาจมีความยาวของแขนงสูงกวาลําตนหลักแขนง อาจแตกมาจากส่วนโคนหรือยอด หรือตลอดลําต้นก็ได้
ใบ เป็นใบเดี่ยวเกิดตรงกันข้าม หลังจากที่มีใบเกิดแบบตรงกันข้ามอยู่ 5 คู่แล้ว ใบที่เกิดหลัง
จากนั้นจะมีลักษณะวน จํานวนใบบนต้นอาจมีตั้งแต่ 8-70 ใบ รูปร่างของใบแตกต่างกันตามพันธุ์สีของ
ใบอาจมีตั้งแต่เขียวอ่อน เขียว และเขียวเข้ม ใบที่เกิดออกมาจากตายอดใหม่ๆ ก้านใบจะอยู่ในแนวตั้งจนกระทั้งใบมีความยาว 1 เซนติเมตร ปลายยอดจะค่อย ๆ โค้งลงจนเมื่อใบแก่แล้วก็จะโค้งลงมาเป็นรูปตัวยู (U) การสร้างใบจะมีมากจนกระทั่งดอกบาน หลังจากนั้นการสร้างใบจะลดน้อยลง
ดอก เป็นรูปจาน เกิดอยู่บนตายอดของลําต้นหลัก หรือแขนงลําต้นมีเส้นผ่าศูนย์กลางของดอก
อยู่ระหว่าง 6-37 เซนติเมตร ซึ่งขึ้นกับพันธุ์และสภาพแวดล้อม ดอกมีลักษณะเป็นแบบช่อดอก
ประกอบด้วยดอกย่อยเป็นจํานวนมาก ซึ่งแบ่งเป็น 2 ชนิด คือ
1. ดอกย่อยที่อยู่รอบนอกจานดอก เป็นดอกที่ไม่มีเพศ (เป็นหมัน) มีกลับดอกสีเหลืองส้ม
2. ดอกย่อยที่อยู่ในจานดอก เป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีเกสรตัวผู้ที่พร้อมจะผสมได้ก่อนเกสรตัว
เมีย และสายพันธุ์ผสมเป็นส่วนใหญ่ผสมตัวเองน้อยมาก
ในแต่ละจานดอกจะมีดอกย่อยอยู่ประมาณ 700-3_000 ดอก ในพันธุ์ที่ให้นํ้ามัน ส่วนพันธุ์
อื่นๆ อาจมีดอกย่อยถึง 8_000 ดอก การบานหรือการแก่ของดอกจะเริ่มจากวงรอบนอกเข้าไปสู่ศูนย์
กลางของดอก ดอกบนกิ่งแขนงจะมีขนาดเล็ก แต่ถ้าเป็นแขนงที่แตกออกมาตอนแรกๆ ดอกจะมีขนาด
ใหญ่เกือบเท่ากับดอกบนลําต้นหลัก ส่วนใหญ่พันธุ์ที่ปลูกเป็นการค้า มักจะเลือกต้นชนิดที่มีดอกเดี่ยว
เพื่อความสมบูรณ์ของดอก และให้เมล็ดที่มีคุณภาพดี
เมล็ด (หรือผล) ประกอบด้วยเนื้อใน ซึ่งถูกห่อหุ้มไว้ด้วยเปลือกที่แข็งแรง เมื่อผลสุกส่วนของ
ดอกที่อยู่เหนือรังไข่จะร่วง ผลที่มีขนาดใหญ่จะอยู่วงรอบนอก ส่วนผลที่อยู่ข้างในใกล้ๆ กึ่งกลางจะมีผลเล็กลง
เมล็ดทานตะวัน แบ่งเป็น 3 ประเภทใหญ่ คือ
1. เมล็ดใช้สกัดนํ้ามัน จะมีเมล็ดเล็ก สีดํา เปลือกเมล็ดบางให้นํ้ามันมาก
2. เมล็ดใช้รับประทาน จะมีเมล็ดโตกว่าพวกแรก เปลือกหนาไม่ติดกับเนื้อในเมล็ด เพื่อสะดวก
ในการกะเทาะแล้วใช้เนื้อในรับประทาน โดยอบหรือปรุงแต่งขนมหวาน หรือทําเป็นแป้งประกอบอาหารหรือใช้เมล็ดคั่วกับเกลือแล้ว แทะเปลือกออกรับประทานเนื้อข้างในเป็นอาหารว่าง เช่นเดียวกับเมล็ดแตงโม
3. เมล็ดใช้เลี้ยงนก ใช้เมล็ดเป็นอาหารเลี้ยงนก หรือไก่ โดยตรง
สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
ทานตะวันชอบอากาศอบอุ่นในเวลากลางวันและอากาศเย็นในเวลากลางคืน อุณหภูมิที่เหมาะ
สมคือ อยู่ระหว่าง 18-25 องศาเซลเซียส สภาพความเป็นกรด-ด่าง ของดินประมาณ 5.7-8 สามารถ
ขึ้นได้ในดินแทบทุกประเภท แต่ที่ขึ้นได้ดีคือดินที่มีหน้าดินลึกที่อุ้มนํ้าได้ดี แต่ไม่ชอบนํ้าขังและไม่ชอบดินที่มีลักษณะเป็นกรด หากดินที่ปลูกมีความชื้นตํ่า ผลผลิตของเมล็ดจะตํ่าลงมาก
พันธุ์
ทานตะวันมี 3 สายพันธุ์พันธุ์ผสมเปิด ซึ่งเป็นพันธุ์เดิมที่ใช้ปลูก ซึ่งในดอกจะมีจํานวนเรณูที่ติด
อยู่ที่ก้านชูเกสรตัวเมียน้อย ทําให้การติดเมล็ดด้วยการผสมตัวเองตํ่า ต้องอาศัยแมลงช่วยในการผสม
เกสร จึงจะทําให้ติดเมล็ด การปลูกจึงไม่ประสบผลสําเร็จเพราะได้เมล็ดลีบ ผลผลิตตํ่าเนื่องจากไม่ค่อยมีแมลงช่วยผสมเกสร แต่ปัจจุบันมีพันธุ์ลูกผสมสามารถติดเมล็ดได้ดีโดยไม่ต้องอาศัยแมลงช่วยผสมเกสร เพราะในดอกมีละอองเรณูที่ติดอยู่ก้านชูเกสรตัวเมียมากกว่าพันธุ์ผสมเปิด 3-4 เท่า จึงทําให้การติดเมล็ดด้วยการผสมตัวเองดีกว่าสายพันธุ์ผสมเปิด
ปัจจุบันยังไม่มีการผลิตเมล็ดทานตะวันลูกผสมในประเทศไทย ต้องนําเข้าจากต่างประเทศ ได้แก่
พันธุ์ไฮซัน 33 และพันธุ์เอส 101 ซึ่งมีลักษณะของจานดอกค่อนข้างใหญ่กลีบดอกสีเหลืองสดใสและให้ปริมาณนํ้ามันสูง สายพันธุ์สังเคราะห์ซึ่งยังไม่มีการส่งเสริมในปัจจุบัน แต่ในขณะนี้อยู่ระหว่างการวิจัยของหน่วยงานวิจัย สําหรับทานตะวันที่ส่งเสริมให้เกษตรกรปลูกในขณะนี้คือ สายพันธุ์ลูกผสม
ลักษณะดีเด่นของพันธุ์ลูกผสม ได้แก่
1. ผลผลิต เฉลี่ย 254.82 กิโลกรัมต่อไร่
2. การติดเมล็ด เฉลี่ยร้อยละ 76.3
3. เส้นผ่าศูนย์กลาง เฉลี่ย 15.4 เซนติเมตรของจานดอก
4. ความสูงของต้น เฉลี่ย 168.9 เซนติเมตร
5. อายุเก็บเกี่ยว เฉลี่ย 90-100 วัน
6. ปริมาณนํ้ามัน เฉลี่ยร้อยละ 48 ที่มา
1-4 การเปรียบเทียบพันธุ์ทานตะวันในท้องถิ่น จํานวน 5 พันธุ์ฤดูแล้ง ปี 2529 ศูนย์วิจัยพืชไร่เชียงใหม่ 5-6 บริษัทแปซิฟิค เมล็ดพันธุ์จํากัด
ลักษณะที่ดีของพันธุ์ ลูกผสม คือ สามารถผสมเกสรภายในดอกเดียวกันได้สูง การติดเมล็ดค่อน
ข้างดี การหาผึ้งหรือแมลงช่วยผสมเกสรจึงไม่จําเป็นมากนัก แต่ถ้ามีแมลงช่วยผสมก็มีลักษณะประจํา
พันธุ์ที่มีผลต่อการดึงดูดแมลง เช่น กลีบดอกสีสดใส กลิ่นของเรณูปริมาณและคุณภาพของนํ้าหวานก็ดีกว่าพันธุ์ผสมเปิด ทนทานต่อการโค่นล้มและต้านทานต่อโรคราสนิม
ฤดูปลูก
ทานตะวันเป็นพืชที่สามารถเจริญเติบโตได้ในทุกฤดูกาล เพราะเป็นพืชที่ไม่ไวต่อช่วงแสง อย่าง
ไรก็ตามการปลูกในบางท้องที่อาจไม่มีความเหมาะสม เช่น ในที่ลุ่มภาคกลาง ในฤดูฝนจะมีนํ้าขังแฉะ
เกินไป หรือที่ดินในฤดูแล้งที่ไม่มีนํ้าชลประทาน ดังนั้นฤดูที่เหมาะสมที่สุดมี 2 ฤดูคือ
1. ปลายฤดูฝน ในสภาพพื้นที่ที่เป็นดินร่วนเหนียว ควรปลูกทานตะวันในปลายฤดูฝน คือ ตั้ง
แต่เดือนกันยายน-พฤศจิกายน แต่ถ้าสภาพพื้นที่ที่ปลูกเป็นดินร่วนทราย ควรปลูกในเดือนสิงหาคมตุลาคม ซึ่งเป็นช่วงกลางฤดูฝน
2. ฤดูแล้ง ถ้าในแหล่งปลูกนั้นสามารถใช้นํ้าจากชลประทานได้ก็สามารถปลูกเป็นพืชเสริมได้
โดยปลูกในช่วงเดือนพฤศจิกายน - กุมภาพันธ์ซึ่งเป็นช่วงหลังจากเก็บเกี่ยวข้าวแล้ว
เนื่องจากพันธุ์ลูกผสมนี้ดอกค่อนข้างใหญ่ เวลาเมล็ดแก่จานดอกจะห้อยลงมาและด้านหลังของ
จานดอกจะมีลักษณะเป็นแอ่งเหมือนกระทะก้นแบน เมื่อฝนตกลงมานํ้าฝนจะขังในแอ่งดังกล่าว จะทําให้เกิดโรคเน่าได้มากและทําให้เมล็ดเน่าเสียหาย ดังนั้นจึงควรปลูกในปลายฤดูฝน หรือในฤดูแล้งถ้ามี
ฝนตกนํ้าขังในแอ่งของจานดอก ให้เขย่าต้นเพื่อทําให้นํ้าไหลออกให้หมด
การเตรียมดิน
การเตรียมดินก้อนปลูก ควรไถดินให้ลึกในระดับ30 เซนติเมตรหรือลึกกว่านั้น เพราะว่า เมื่อฝนตกดินจะสามารถรับนํ้าให้ซึมซับอยู่ในดินได้มากขึ้น การไถดินลึกจะช่วยทําลายการอัดแน่นของดินในชั้นไถพรวน ทําให้นํ้าซึมลงในดินชั้นล่างได้มากขึ้น ควรกําจัดวัชพืชในแปลงให้สะอาด และไถย่อยดินครั้งสุดท้ายให้ร่วนซุย หากมีการใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยหมักลงไปพร้อมกับการย่อยดินครั้งสุดท้ายจะช่วย
เสริมธาตุอาหารต่างๆเพื่อให้พืชนําไปใช้ประโยชน์
การปลูก
หลังจากเตรียมดินเสร็จแล้ว ควรทําร่องสําหรับหยอดเมล็ด โดยให้แต่ละร่องห่างกัน 70-75 เซนติเมตร และให้หลุมปลูกในร่องห่างกัน 25-30เซนติเมตร หยอดหลุมละ 2 เมล็ด แลวกลบดินโดยให้เมล็ดอยู่ลึก 5-8เซนติเมตร เมื่อพืชงอกได้ 10 วัน หรือมีใบจริง 2-4 คู่ให้ถอนแยกเหลือไว้
เฉพาะต้นที่แข็งแรงเพียงหลุมละ 1 ต้น และถ้าหากดินมีความชื้นตํ่าควรใช้
ระยะปลูกกว้างขึ้น
การยกร่องนี้ เพื่อเป็นการสะดวกในการให้นํ้า โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกในฤดูแล้งที่ต้องการนํ้ามาก ส่วนการปลูกในฤดูฝน ถ้าเป็นดินที่มีการระบายนํ้าดีก็ไม่จําเป็นต้องยกร่องและใช้ระยะปลูกเช่นเดียวกับยกร่องการปลูกวิธีนี้ต้องใช้เมล็ดพันธุ์ลูกผสมจํานวน 0.7 กิโลกรัมต่อไร่และปลูกตามระยะที่แนะนํานี้
จะได้จํานวนต้น 6_400-8_500 ต้นต่อไร่
ใส่ปุ๋ย
ทานตะวันเป็นพืชที่ให้โปรตีน และแร่ธาตุสูง จึงควรใส่ปุ๋ยในปริมาณที่พืชต้องการตามสภาพดิน
ที่ปลูกด้วยสําหรับปุ๋ยเคมีที่เหมาะสมที่แนะนํา คือ สูตร 15 – 15 - 15 หรือ 16 - 16 - 8 อัตรา 30
- 50 กิโลกรัมต่อไร่ โดยใส่รองพื้นพร้อมปลูก และใช้ปุ๋ยยูเรีย 46 – 0 - 0 อัตรา 20-30 กิโลกรัมต่อ
ไร่ เมื่อทานตะวันอายุได้ 30 วัน หรือมีใบจริง 6-7 คู่ ซึ่งเป็นระยะกําลังจะออกดอก หากมีการตรวจ
วิเคราะห์ดินก่อนปลูก จะช่วยให้การใช้ปุ๋ยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นและในกรณีที่เป็นดินทรายและขาดธาตุ
โบรอน ควรใส่ผงโบแรกซ์ประมาณ 2 กิโลกรัมต่อไร่ จะทําให้เพิ่มผลผลิตได้มากและทําให้คุณภาพของเมล็ดทานตะวันดีขึ้น
ให้นํ้า
นํ้าเป็นปัจจัยหนึ่งที่มีผลกระทบต่อการผลิตทานตะวัน หากความชื้นในดินมีน้อยก็จะทําให้ผล
ผลิตลดลงด้วย การให้นํ้าที่เหมาะสมแก่ทานตะวันจึงจะทําให้ได้รับผลผลิตดีด้วย ดังนั้นการให้นํ้าควร
ปฏิบัติดังนี้
ครั้งที่ 1 หลังจากปลูกเสร็จแล้วรีบให้นํ้าทันทีหรือควรทําการปลูกทันทีหลังฝนตกเพื่อใช้ความชื้นในดินให้เต็มที่โดยไม่ต้องรดนํ้า
ครั้งที่ 2 ระยะมีใบจริง 2 คู่ หรือประมาณ 10-15 วัน หลังงอก
ครั้งที่ 3 ระยะเริ่มมีตาดอก หรือประมาณ 30-35 วัน หลังงอก
ครั้งที่ 4 ระยะดอกเริ่มบาน หรือประมาณ 50-55 วัน หลังงอก
ครั้งที่ 5 ระยะกําลังติดเมล็ด หรือประมาณ 60-70 วัน หลังงอก การให้นํ้าควรให้นํ้าอย่างเพียง
พอให้ดินชุ่ม แต่ไม่ต้องถึงกับแฉะและนํ้าขังการให้นํ้าควรคํานึงถึงความชุ่มชื้นในดินด้วย ไม่ควรปล่อย
ให้ดินแห้งมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงแรกของการเจริญเติบโตจนถึงระยะติดเมล็ด
การกําจัดวัชพืช
ควรกําจัดวัชพืชอย่างน้อย 2 ครั้ง ครั้งแรก เมื่อทานตะวันมีใบจริง 2-4 คู่ ซึ่งการทํารุ่นครั้งแรก
นี้ทําพร้อมกับการถอนแยกต้นพืชให้เหลือ 1 ต้นต่อหลุม เป็นการสะดวกสําหรับเกษตรกรในการปฏิบัติ
และครั้งที่สองทําพร้อมกับการใส่ปุ๋ยครั้งที่สอง เมื่อทานตะวันมีใบจริง 6-7 คู่ ทํารุ่นพร้อมกับใส่ปุ๋ยและ
พูนโคนต้นไปด้วย ในแปลงที่มีปัญหาวัชพืชขึ้นรบกวน ควรทําการกําจัดวัชพืชเพื่อป้องกันการแย่งอาหารและความชื้นในดิน ตั้งแต่ต้นยังเล็กหรือใช้สารเคมีคุมกําเนิดหรือใช้สารเคมีคุมกําเนิดพวกอะลาคลอร์ หรือเมโธลาคลอร์ฉีดพ่นหลังหยอดเมล็ดก่อนที่จะงอกในอัตรา 300-400 ซีซีผสมนํ้า 4 ปี๊บ สําหรับฉีดพ่นในเนื้อที่ปลูก 1 ไร่ โดยฉีดให้สมํ่าเสมอกันสามารถคุมการเกิดวัชพืชได้นานถึง 2 เดือน และควรใช้แรงงานคน สัตว์หรือเครื่องทุ่นแรง ทํารุ่นได้ตามความจําเป็น
ข้อควรระวัง
ห้ามใช้สารเคมีกําจัดวัชพืชอะทราซีนในทานตะวันโดยเด็ดขาด
การเก็บเกี่ยว
ทานตะวัน จะมีอายุการเก็บเกี่ยวแตกต่างกันไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับพันธุ์ที่ปลูก (พันธุ์ลูกผสม อายุเก็บเกี่ยว 90-100 วัน)
วิธีการ
เก็บเกี่ยวนั้นให้สังเกตจากด้านหลังของจานดอกจะเปลี่ยนเป็นสีเหลืองซึ่งเป็นช่วงการสร้างนํ้ามันในเมล็ดจะเริ่มลดลง และจะหยุด
สร้างนํ้ามันเมื่อจานดอกเปลี่ยนเป็นสีนํ้าตาลก็เริ่มเก็บเกี่ยวได้หลัง
จากนั้นให้นําไปผึ่งแดดจัด ๆ 1-2 แดด โดยแขวนให้หัวห้อยลงและ
หมั่นกลับช่อดอก เพื่อให้ดอกแห้งอย่างสมํ่าเสมอ ถ้าเก็บเกี่ยวในช่วงที่ยังมีฝนชุกให้นํามาผึ่งในร่ม
หลายๆ วันจนแห้งสนิท แล้วจึงรวบรวมไปนวด อาจใช้แรงคนหรือสัตว์หรือใช้เครื่องนวดเมล็ดถั่วเหลืองหรือถั่วลิสงก็ได้เสร็จแล้วนําไปทําความสะอาดแล้วเก็บไว้ในยุ้งฉางที่ป้องกันแดด-ฝน และแมลงศัตรูได้ เพื่อรอจําหน่าย (ความชื้นของเมล็ดที่จะเก็บรักษาไว้ควรไม่เกิน 10%)
การให้ผลผลิต
การปลูกทานตะวันในพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีการบํารุงรักษาดีจะให้ผลผลิตไม่ตํ่ากว่า
300 กิโลกรัมต่อไร่แต่โดยเฉลี่ยประมาณไม่ตํ่ากว่า 200 กิโลกรัมต่อไร่
โรคแมลงและศัตรูทานตะวัน
- โรคใบและลําตำนไหม้อัลเทอร์นาเรีย
- โรคโคนเน่าหรือลําต้นเน่า
แมลงศัตรูทานตะวัน
- หนอนกระทู้ผัก
- หนอนเจาะสมอฝ้าย
- หนอนม้วนใบส้ม
- หนอนเจาะลําต้นข้าวโพด
ศัตรูทานตะวัน
นก หนูและอื่น ๆ นับว่าเป็นศัตรูสําคัญอีกประการหนึ่ง ที่จะทําความเสียหายให้แก่ทานตะวัน
โดยเฉพาะในแหล่งปลูกใหญ่ๆ ฉะนั้นเกษตรจะต้องหมั่นออกสํารวจตรวจแปลงเสมอ เมื่อพบว่ามีการ
ระบาดก็ให้รีบทําการป้องกันกําจัด โดยวิธีกลคือ การวางกับดัก การล้อมตีเป็นต้น
ประโยชน์ของทานตะวัน
แต่เดิมทานตะวันเป็นเพียงไม้ดอกไม้ประดับเท่านั้น ต่อมาได้นําเมล็ดมาเป็นของขบเคี้ยว และ
สกัดเป็นนํ้ามัน จึงทําให้กลายเป็นพืชเศรษฐกิจที่สําคัญพืชหนึ่ง การใช้ประโยชน์จากทานตะวันมีหลายลักษณะดังนี้
1. เมล็ด ใช้บริโภคโดยตรง เพื่อเป็นแหล่งโปรตีนแทนเนื้อสัตว์ได้ในเมล็ด มีธาตุเหล็กสูงไม่แพ้
ธาตุเหล็กจากไข่แดงและตับสัตว์เมื่อบดทําแป้งจะได้แป้งสีขาว มีไขมันสูง มีโปรตีนมากกว่าร้อยละ 50ของปริมาณแป้ง
2. เปลือกของลําต้น มีลักษณะเหมือนเยื่อไม้นํามาทํากระดาษสีขาวได้คุณภาพดีลําต้นใช้ทํา
เชื้อเพลิงได้เมื่อไถกลบจะเป็นปุ๋ยเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดินได้ดี
3. ราก ใช้ทําแป้งเค้ก สปาเก็ตตี้ในรากมีวิตามินบี1 และธาตุอีกหลายชนิด แพทย์แนะนําให้ใช้ รากทานตะวันประกอบอาหารสําหรับผู้ป่วยเป็นโรคเบาหวาน
4. นํ้ามัน นํ้ามันที่สกัดจากเมล็ดจะให้ปริมาณนํ้ามันสูงถึงร้อยละ 35 และได้นํ้ามันที่มีคุณภาพ
สูง ประกอบด้วยกรดไขมันที่ไม่อิ่มตัวเช่น กรดลิโนเลอิค หรือกรดลิโนเลนิค สูงถึงร้อยละ 60-70 ซึ่งจะเป็นประโยชน์ต่อร่างกายในการช่วยลดคลอเรสเตอรอลที่เป็นสาเหตุของโรคไขมันอุดตันในเส้นเลือดได้ และยังประกอบด้วยไวตามิน เอ ดีอีและเค ซึ่งคุณภาพของไวตามินอีจะสูงกว่าในนํ้ามันพืชอื่น ๆ เมื่อ เก็บไว้เป็นเวลานานจะไม่เกิดกลิ่นหืน ทั้งยังทําให้สีกลิ่น และรสชาติไม่เปลี่ยนแปลง นอกจากใช้เป็นนํ้ามันพืชแล้วยังนิยมใช้ในอุตสาหกรรม ทําเนยเทียม สีนํ้ามันชักเงา สบู่และนํ้ามันหล่อลื่นเครื่องยนต์
5. กาก กากที่ได้จากการสกัดนํ้ามันออกแล้ว จะนําไปใช้เป็นส่วนผสมของอาหารสัตว์ได้ในกาก
เมล็ดทานตะวันที่กะเทาะเปลือกและบีบนํ้ามันออกแล้ว จะมีโปรตีนร้อยละ 42 และใช้เป็นแหล่ง
แคลเซียมสําหรับปศุสัตว์ได้ดีแต่จะมีปริมาณกรดอะมิโนอยู่เล็กน้อย และขาดไลซีนจึงต้องใช้อย่างรอบคอบ เมื่อจะเอาไปผสมเป็นอาหารสัตว์ที่มิใช่สัตว์เคี้ยวเอื้อง
ข้อมูลจาก
http://ไปที่..link.. รูปภาพจาก