<กลับหน้าค้นข้อมูล
แจ้งลิงค์ในเนื้อหาเสีย
แจกสูตร หมูสวรรค์ หมูหวาน หมูนุ่มไม่แข็งกระด้าง เมนูทำขายสร้างอาชีพ !
สูตรทำขาย เมนูทำขายตลาดนัด กับสูตรทำ แจกสูตร หมูสวรรค์ หมูหวาน หมูนุ่มไม่แข็งกระด้าง เมนูทำขายสร้างอาชีพ ! เมนูหมูหวาน ที่หลายคนคุ้นเคย เนื้อหมูหวานหอมเข้มข้น กินคู่ข้าวเหนียวหรือข้าวสวยร้อนๆ เข้ากันมาก จะทำไว้เป็นมื้อเช้าก่อนไปทำงาน หรือจะทำเป็นเมนูทานเล่นที่บ้านก็ได้ทั้ง ส่วนใครอยากจดสูตรไปทำขาย บอกเลยว่าสูตรนี้เด็ด เพราะหมูนุ่มไม่เหมือนใคร ถ้าพร้อมแล้วตามไปดูวิธีทำไปพร้อมกันเลย
สูตรทำ หมูสวรรค์ หมูหวาน สูตรทำขาย
ส่วนผสม หมูสวรรค์
เนื้อหมูส่วนสะโพกหั่นบาง 1000 กรัม (หั่นหนา 2 มิล)
น้ำตาลทรายไม่ฟอกสี 150 กรัม
น้ำตาลมะพร้าว 150 กรัม
เกลือป่น 1 ช้อนตวง
ซอสปรุงรสฝาเขียว 1 ช้อนตวง
ซีอิ๊วขาว 1 ช้อนตวง
น้ำปลา 1 ช้อนตวง
ซอสหอยนางรม 1 ช้อนตวง
น้ำมันงา 1 ช้อนตวง
ลูกผักชีโขลกหยาบ 3 ช้อนตวง
ยี่หร่าโขลกหยาบ 1 ช้อนชา
วิธีทำ หมูสวรรค์
นำหมูมาล้างให้สะอาดหั่นพังผืดหมูออกให้หมด นำไปแช่ให้แข็งพอประมาณ แล้วนำมาออกหั่นเป็นแนวยาว ความหนา 2 มิลลิเมตร
นำมาใส่น้ำตาลทรายแดง น้ำตาลมะพร้าว เกลือป่น น้ำมันงา น้ำปลา ซีอิ๊วขาว ซอสฝาเขียว ซอสหอยนางรม
จากนั้นนำมานวดคลุกเคล้าให้เข้ากันดี จนน้ำตาลละลาย
จากนั้นใส่ยี่หร่า และลูกผักชี คลุกเคล้าให้เข้ากันอีกครั้ง แรปด้วยพลาสติก นำแช่ตู้เย็นช่องธรรมดา 1 ชั่วโมง
จากนั้นนำหมูเรียงใส่กระด้ง ตากแดดประมาณ 2 ชั่วโมง กลับด้านเมื่อครบ 1 ชั่วโมงแรก
ตั้งกระทะใส่น้ำมันให้เยอะ เปิดแก๊สใช้ไฟกลางค่อนอ่อน ไม่ต้องรอให้น้ำมันร้อน ใส่หมูลงไปได้เลย
ระหว่างทอดไม่ต้องคนบ่อย ไม่เช่นนั้นน้ำตาลจะตกทราย ทอดไปเรื่อยๆ จนกว่าหมูจะมีสีเข้มขึ้น จากนั้นตักขึ้นไปพักให้สะเด็ดน้ำมัน
จากนั้นปิดแก๊ส เพื่อให้น้ำมันลดอุณหภูมิ แล้วนำหมูลงทอดรอบสอง ตักมาสะเด็ดน้ำมัน พักให้เย็น เป็นอันเสร็จ
วิธีการขอ อย.อาหาร
อาหาร ในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 หมายถึง วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม หรือนำเข้าสู่ร่างกาย แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท หรือยาเสพติดให้โทษ นอกจากนี้อาหารยังรวมถึงวัตถุที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร วัตถุเจือปนอาหาร สี เครื่องปรุงแต่งกลิ่นรสด้วย
โดยปัจจุบันนี้ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ ได้รวมตัวกันเป็นชมรมหรือสหกรณ์ นำวัตถุดิบที่ได้จากการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเพื่อบริโภคหรือจำหน่ายเป็นการช่วยลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ เช่น เครื่องดื่มทำจากผลไม้ท้องถิ่น เครื่องดื่มจากสมุนไพร กะปิ น้ำปลา ขนมหวาน อาหารขบเคี้ยว เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะต้องสะอาด ปลอดภัย และมีคุณภาพหรือมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ผู้ผลิตอาจต้องขออนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อนที่จะผลิตเพื่อจำหน่ายต่อไป
อาหารกลุ่มนี้ ส่วนใหญ่เป็นอาหารที่ไม่แปรรูปหรือถ้าแปรรูปก็จะใช้กระบวนการผลิตง่าย ๆ ในชุมชน ผู้บริโภคจะต้องนำมาปรุงหรือผ่านความร้อนก่อนบริโภค อาหารกลุ่มนี้ผู้ผลิตที่มีสถานที่ผลิตไม่เข้าข่าย โรงงาน ( ใช้อุปกรณ์หรือเครื่องจักรต่ำกว่า 5 แรงม้า หรือคนงานน้อยกว่า 7 คน ) สามารถผลิตจำหน่ายได้โดยไม่ต้องมาขออนุญาตจากสำนักงานคณะกรรมการอาหาร และ ยาหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด แต่ต้องแสดงฉลากอาหารที่ถูกต้องไว้ด้วย
อาหารกลุ่มนี้เป็นอาหารที่มีการแปรรูปเป็นอาหารกึ่งสำเร็จรูปหรือ อาหารสำเร็จรูปแล้ว ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อผู้บริโภคในระดับต่ำ ปานกลางหรือ สูง แล้วแต่กรณี ได้แก่ อาหารที่ต้องมีฉลาก อาหารกำหนดคุณภาพหรือ มาตรฐาน หรืออาหารควบคุมเฉพาะ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องขออนุญาตสถานที่ผลิตอาหารและขอขึ้นทะเบียนตำรับอาหาร หรือ จดทะเบียนอาหาร หรือแจ้งรายละเอียดของอาหารแต่ละชนิดแล้วแต่กรณี ได้ที่สำนักงานคณะกรรมการอาหาร และ ยา หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด
เอกสารสำคัญที่ต้องจัดเตรียมเพื่อขอจัดตั้งโรงงาน / สถานที่ผลิต
1. สำเนาบัตรประชาชนผู้มีอำนาจ
2. สำเนาทะเบียนบ้านผู้มีอำนาจ
3. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ( เฉพาะกรณีเป็นนิติบุคคล )
4. สำเนา ภพ.20 ( เฉพาะกรณีเป็นนิติบุคคล )
5. สำเนาทะเบียนบ้านของร้าน หรือ บริษัท ( กรณีที่อยู่ดังกล่าว ไม่ตรงกับที่อยู่ผู้มีอำนาจ )
6. แผนที่ตั้งของร้าน หรือ บริษัท
7. แผนผังภายในร้าน หรือ บริษัท ระบุ สถานที่ผลิต_บรรจุ_เก็บสินค้า ให้ชัดเจน
8. สินค้าตัวอย่างพร้อมฉลาก
อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผลิตอาหาร
1. ใช้คนงานตั้งแต่ 7-19 คน โดยไม่ใช้เครื่องจักรจนถึงเครื่องจักรไม่ถึง 5 แรงม้า (เข้าข่ายโรงงาน) 3_000 บาท
2. ใช้คนงานตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป โดยไม่ใช้เครื่องจักรจนถึงเครื่องจักรไม่ถึง 5 แรงม้า (เข้าข่ายโรงงาน) 5_000 บาท
3. ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 5-91 แรงม้า 6_000 บาท
4. ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 10-24 แรงม้า 7_000 บาท
5. ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 25-49 แรงม้า 8_000 บาท
6. ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังตั้งแต่ 50 แรงม้า ขึ้นไป 10_000 บาท สำหรับกรณีไม่เข้าข่ายโรงงาน ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น (ฟรี)
หลักฐานสำคัญเพื่อใช้ขอรับเลขสารบนอาหาร (อย.)
1. ใบจดทะเบียนอาหาร/แจ้งรายละเอียด (แบบ สบ.5) จำนวน 2 ฉบับ
2. สำเนาการได้รับอนุญาตตั้งสถานที่ผลิต
3. ใบรับรองสถานที่ผลิตอาหารที่เทียบเท่าเกณฑ์ Primary GMP
สรุป 4 ขั้นตอนการขอเครื่องหมาย อย.
1. จัดเตรียมสถานที่ผลิตอาหารให้ได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี (GMP: GOOD MANUFACTURING PRACTICE)
2. จัดเตรียมเอกสาร โดยติดต่อขอข้อมูลได้ที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอที่เป็นที่ตั้งของสถานที่ผลิตอาหารทุกแห่ง
3. ยื่นเอกสารขออนุญาตตั้งสถานที่ผลิตอาหาร พร้อมนัดเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อตรวจ สถานที่
4. ยื่นขอเอกสารอนุญาตขอรับเลขสารบบ “13 หลัก” (เลข อย.) ตามแต่ชนิดของผลิตภัณฑ์ 3 กลุ่ม ได้แก่ อาหารควบคุม เฉพาะ_อาหาร ที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน และอาหารที่ต้องมีฉลาก
สถานที่ยื่นคำขออนุญาต ในกรณีสถานที่ผลิตตั้งอยู่ในกรุงเทพมหานคร ให้ยื่นคำขอที่ศูนย์บริการผลิตภัณฑ์สุขภาพเบ็ดเสร็จ ( One stop service center ) สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
กรณีสถานที่ผลิตตั้งอยู่ต่างจังหวัดให้ยื่นคำขอ ณ สำนักงานสาธารณสุขในจังหวัดนั้น ๆ นี่คือเรื่องพื้นฐานในทางธุรกิจที่ผู้ประกอบการต้องเรียนรู้ และ ปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัดในกรณีที่ผู้ประกอบการไม่สันทัดในการเดินเอกสารก็มีหลายบริษัทที่เข้าทำหน้าที่รับดำเนินการแทนแต่เราก็ต้องเสียค่าใช้จ่ายทางที่ดีเรื่องเหล่านี้ไม่ใช่เรื่องยากทำเองก็จะช่วยลดต้นทุนได้ดีกว่าสำคัญคือสินค้าเรามีคุณภาพสถานที่ผลิตได้มาตรฐานทุกอย่างก็ผ่านอนุมัติง่ายและเร็ว
ขอบคุณคลิปและข้อมูลจาก
FB : แม่ซี น้องมดดี้ channel
Youtube : แม่ซี น้องมดดี้ channel
ข้อมูลจาก
http://ไปที่..link..
ข้อมูลจาก
http://ไปที่..link..
http://ไปที่..link..
สำหรับผู้ผลิตอาหารแปรรูป ที่ต้องการตรวจฉลากบรรจุภัณฑ์ สามารถส่งตัวอย่างเข้าตรวจวิเคราะห์กับ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ได้ที่ลิงค์นี้
http://ไปที่..link..