<กลับหน้าค้นข้อมูล
แจ้งลิงค์ในเนื้อหาเสีย
อยากทำน้ำพริกขายเริ่มต้นอย่างไรดี
ผู้ประกอบการรายย่อย
หรือคนที่อยากเริ่มทำธุรกิจเป็นของตนเองหลายคนมักบอกว่า ตนเองหรือครอบครัวหรือมีญาติของตนเองทำน้ำพริกอร่อย มีสูตรเฉพาะไม่เหมือนใคร ทำให้ใครทานทุกคนก็ติดใจและมีแต่คนแนะนำให้ทำขาย แต่ไม่รู้จะเริ่มต้นอย่างไร เนื่องจากที่ผ่านมาเคยแต่ทำทานเองในบ้านหรือทำแจกเพื่อนฝูง ไม่มีสูตรชัดเจน ใช้กะๆดูเอา หรือใช้วิธีชิมๆเอา ไม่เคยรู้ว่าเก็บได้กี่วัน เก็บไว้นานๆไม่รู้ว่าคุณภาพเป็นอย่างไร จึงขอแนะนำสำหรับผู้ที่อยากเริ่มต้นประกอบอาชีพทำน้ำพริกขาย ให้สามารถนำไปประยุกต์ได้กับน้ำพริกทุกประเภท โดยขอยกตัวอย่างเป็นน้ำพริกแดงที่ใส่ปลาย่าง หรือบางคนเรียกว่าน้ำพริกปลาย่างก็ได้
น้ำพริกแดง หรือน้ำพริกตาแดง หรือน้ำพริกปลาย่าง หรือน้ำพริกเผา เป็นน้ำพริกที่มีรสเผ็ดและมีเนื้อค่อนข้างแห้งทำให้สามารถเก็บไว้รับประทานได้เป็นเวลานาน จึงเหมาะสำหรับเวลาเดินทางไกลหรือไปเที่ยว หรือซื้อเป็นของฝาก
ในการทำอาหารเพื่อการจำหน่าย ผู้ประกอบการจะต้องมีสูตรการผลิตที่ชั่งตวงวัดที่เป็นมาตรฐาน และมีขั้นตอนการผลิตเรียงตามลำดับก่อนหลังเป็นขั้นตอน
วิธีบรรจุน้ำพริก
ในที่นี้จะกล่าวถึงวิธีบรรจุน้ำพริกโดยใช้ขวดแก้วหรือขวดพลาสติกที่ทนความร้อน เพื่อจำหน่ายและให้สามารถเก็บไว้ได้นาน
อุปกรณ์ที่ใช้ในการบรรจุขวดและให้ความร้อนฆ่าเชื้อ
1. หม้อนึ่งหรือลังถึงเพื่อใช้ในการฆ่าเชื้อ
2. ทัพพีสำหรับบรรจุน้ำพริกลงขวดที่ผ่านการลวกน้ำร้อน เพื่อฆ่าเชื้อจุลินทรีย์แล้ว
3. ขวดพร้อมฝาสำหรับบรรจุ
วิธีบรรจุ
1. ทำความสะอาดขวดแก้วและฝาที่จะใช้บรรจุโดยการนึ่งในลังถึงด้วยการเรียงฝาและขวดแก้ว หรือขวดพลาสติกที่ทนความร้อนคว่ำวางบนลังถึง แล้วนำไปนึ่งบนน้ำต้มเดือด นานประมาณ 5-10 นาที ยกลงมาผึ่งให้แห้งสนิทก่อนนำไปบรรจุน้ำพริก
2. ใช้ทัพพีที่ลวกน้ำร้อนทิ้งให้แห้งก่อนนำมาตักน้ำพริกที่ผัดแล้ว บรรจุลงในขวดเว้นที่ว่างต่ำจากขอบด้านบนปากขวดประมาณ 1 นิ้ว หากขวดเลอะให้เช็ดปากขวดให้สะอาด ด้วยกระดาษทิชชู่ที่สเปร์ด้วยแอลกอฮอล์
3. ปิดฝาให้แน่น นำขวดน้ำพริกไปเรียงในลังถึง แล้วไปนึ่งบนน้ำเดือดนาน 15-30 นาที (ขึ้นกับขนาดขวด) เมื่อครบตามเวลาปิดไฟนำขวดออกมาตั้งทิ้งไว้ให้เย็นสนิท
4. เช็ดขวดรอบนอกให้แห้ง เก็บไว้ในที่อากาศเย็น ไม่อบอ้าว ห่างจากแสงสว่าง ปิดฉลากแสดงชื่อแสดงวันผลิตหรือวันหมดอายุและรายละเอียดของน้ำพริกนั้น ๆแล้วนำออกจำหน่าย
วิธีเก็บรักษาน้ำพริก
น้ำพริกทุกชนิดที่ผ่านการนึ่งหรือต้มทั้งขวดเพื่อฆ่าเชื้อด้วยความร้อน จะช่วยยืดอายุการเก็บรักษาได้นานขึ้น โดยสามารถเก็บในสภาวะปกติได้นานกว่า 6 เดือนขึ้นไป แต่หลังเปิดฝาขวดใช้งานแล้วควรจัดเก็บในตู้เย็น และไม่ควรเก็บนานกว่า 1 เดือน โดยเฉพาะน้ำพริกประเภทที่มีน้ำมากควรรับประทานให้หมดภายใน 1 สัปดาห์หลังเปิดขวด
น้ำพริกที่ไม่ผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนในการผลิต โดยทั่วไปอายุการเก็บรักษาของน้ำพริกประเภทแห้ง เช่น น้ำพริกตาแดง หรือน้ำพริกปลาย่าง จะเก็บได้นานกว่าน้ำพริกประเภทที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบมาก โดยปกติแล้วน้ำพริกประเภทแห้งจะเก็บได้ประมาณ 5-10 วัน ในอุณหภูมิห้อง แต่ถ้าเก็บในตู้เย็นสามารถเก็บได้ประมาณ 1-2 เดือน
ถ้าไม่ผ่านการฆ่าเชื้อสำหรับน้ำพริกที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบมากเช่น น้ำพริกหนุ่ม น้ำพริกอ่องและน้ำพริกปลาทู จะไม่สามารถในสภาพปกติได้ จะต้องรับประทานภายในวันเดียว ถ้าเก็บในตู้เย็นจะเก็บได้ไม่เกิน 15 วัน ถ้าเกินกว่านี้ ก็จะมีกลิ่นบูดเน่า รับประทานไม่ได้ ดังนั้นน้ำพริกที่มีน้ำเป็นส่วนประกอบมากจึงนิยมทำขายกันสดๆ เพราะจะได้น้ำพริกที่มีรสชาติดีอร่อย
การเข้าสู่อาชีพการทำน้ำพริก
การเข้าสู่อาชีพ "การทำน้ำพริก" ผู้ประกอบการจะต้องคำนึงถึงองค์ประกอบต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
1. ตรวจสอบตนเองว่ามีความพร้อมในการประกอบอาชีพมากน้อยเพียงใด เช่น ความสนใจ เงินทุน สูตรและฝีมือในการปรุงอาหาร
2. มีความรู้ความสามารถและใจรักในการประกอบอาชีพการทำน้ำพริกชนิดต่างๆ มากน้อยเพียงไร รวมถึงความสามารถในการปรับปรุงและพัฒนาคุณภาพสินค้าให้ดียิ่งขึ้น
3. มีความเข้าใจในความต้องการของผู้บริโภคแต่ละท้องถิ่นว่า มีรสนิยม และความชอบเป็นอย่างไร
4. มีความตั้งใจจริงและซื่อสัตย์ต่อลูกค้า โดยเลือกใช้แต่วัตถุดิบที่ดีมีคุณภาพ และใส่ใจในการเรื่องความสะอาดในทุกขั้นตอนการผลิต
วิธีการขอเลข อย.
อาหาร ในพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 หมายถึง วัตถุทุกชนิดที่คนกิน ดื่ม หรือนำเข้าสู่ร่างกาย แต่ไม่รวมถึงยา วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตประสาท หรือยาเสพติดให้โทษ นอกจากนี้อาหารยังรวมถึงวัตถุที่ใช้เป็นส่วนผสมในการผลิตอาหาร วัตถุเจือปนอาหาร สี เครื่องปรุงแต่งกลิ่นรสด้วย โดยปัจจุบันนี้ประชาชนในท้องถิ่นต่างๆ ได้รวมตัวกันเป็นชมรมหรือสหกรณ์ นำวัตถุดิบที่ได้จากการเกษตรและการเลี้ยงสัตว์มาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปเพื่อบริโภคหรือจำหน่ายเป็นการช่วยลดรายจ่ายและเพิ่มรายได้ เช่น เครื่องดื่มทำจากผลไม้ท้องถิ่น เครื่องดื่มจากสมุนไพร กะปิ น้ำปลา ขนมหวาน อาหารขบเคี้ยว เป็นต้น ซึ่งผลิตภัณฑ์เหล่านี้จะต้องสะอาด ปลอดภัย และมีคุณภาพหรือมาตรฐานที่กฎหมายกำหนด ผู้ผลิตอาจต้องขออนุญาตให้ถูกต้องตามกฎหมายก่อนที่จะผลิตเพื่อจำหน่ายต่อไป
เอกสารสำคัญที่ต้องจัดเตรียมเพื่อขอจัดตั้งโรงงาน / สถานที่ผลิต
1. สำเนาบัตรประชาชนผู้มีอำนาจ
2. สำเนาทะเบียนบ้านผู้มีอำนาจ
3. สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล ( เฉพาะกรณีเป็นนิติบุคคล )
4. สำเนา ภพ.20 ( เฉพาะกรณีเป็นนิติบุคคล )
5. สำเนาทะเบียนบ้านของร้าน หรือ บริษัท ( กรณีที่อยู่ดังกล่าว ไม่ตรงกับที่อยู่ผู้มีอำนาจ )
6. แผนที่ตั้งของร้าน หรือ บริษัท
7. แผนผังภายในร้าน หรือ บริษัท ระบุ สถานที่ผลิต_บรรจุ_เก็บสินค้า ให้ชัดเจน
8. สินค้าตัวอย่างพร้อมฉลาก
อัตราค่าธรรมเนียมใบอนุญาตผลิตอาหาร
1. ใช้คนงานตั้งแต่ 7-19 คน โดยไม่ใช้เครื่องจักรจนถึงเครื่องจักรไม่ถึง 5 แรงม้า (เข้าข่ายโรงงาน) 3_000 บาท
2. ใช้คนงานตั้งแต่ 20 คนขึ้นไป โดยไม่ใช้เครื่องจักรจนถึงเครื่องจักรไม่ถึง 5 แรงม้า (เข้าข่ายโรงงาน) 5_000 บาท
3. ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 5-91 แรงม้า 6_000 บาท
4. ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 10-24 แรงม้า 7_000 บาท
5. ใช้เครื่องจักรตั้งแต่ 25-49 แรงม้า 8_000 บาท
6. ใช้เครื่องจักรที่มีกำลังตั้งแต่ 50 แรงม้า ขึ้นไป 10_000 บาท
สำหรับกรณีไม่เข้าข่ายโรงงาน ไม่ต้องเสียค่าธรรมเนียมใด ๆ ทั้งสิ้น (ฟรี)
หลักฐานสำคัญเพื่อใช้ขอรับเลขสารบนอาหาร (อย.)
1. ใบจดทะเบียนอาหาร/แจ้งรายละเอียด (แบบ สบ.5) จำนวน 2 ฉบับ
2. สำเนาการได้รับอนุญาตตั้งสถานที่ผลิต
3. ใบรับรองสถานที่ผลิตอาหารที่เทียบเท่าเกณฑ์ Primary GMP
สรุป 4 ขั้นตอนการขอเครื่องหมาย อย.
1. จัดเตรียมสถานที่ผลิตอาหารให้ได้ตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี (GMP: GOOD MANUFACTURING PRACTICE)
2. จัดเตรียมเอกสาร โดยติดต่อขอข้อมูลได้ที่สำนักงานสาธารณสุขอำเภอที่เป็นที่ตั้งของสถานที่ผลิตอาหารทุกแห่ง
3. ยื่นเอกสารขออนุญาตตั้งสถานที่ผลิตอาหาร พร้อมนัดเจ้าหน้าที่สาธารณสุขอำเภอ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเพื่อตรวจ สถานที่
4. ยื่นขอเอกสารอนุญาตขอรับเลขสารบบ “13 หลัก” (เลข อย.)
ตามแต่ชนิดของผลิตภัณฑ์ 3 กลุ่ม ได้แก่ อาหารควบคุมเฉพาะ_อาหาร ที่กำหนดคุณภาพหรือมาตรฐาน และอาหารที่ต้องมีฉลาก
ข้อมูลจาก
http://www.farmkaset..link..
http://www.farmkaset..link..
สำหรับผู้ผลิตสินค้าที่สนใจ ตรวจฉลากโภชนาการของอาหาร ตรวจ บรรจุภัณฑ์ สารปนเปื้อน สามารถส่งตัวอย่างเข้าตรวจวิเคราะห์กับ บริษัท ห้องปฏิบัติการกลาง (ประเทศไทย) จำกัด หรือ CENTRAL LAB THAI ได้ที่ลิงค์นี้
http://www.farmkaset..link..