<กลับหน้าค้นข้อมูล
แจ้งลิงค์ในเนื้อหาเสีย
การปรับปรุงดินลูกรัง ให้ปลูกพืชได้ดีขึ้น
ดินลูกรัง หรือดินตื้นมีความอุดมสมบูรณ์ของดินต่ำ มักเป็นกรด มีชั้นหินกรวดลูกรัง เป็นอุปสรรคต่อรากพืช ดินไม่อุ้มน้ำ ทำให้ขาดความชุ่มชื้น การใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่เป็นดินลูกรังเพื่อปลูกพืชสามารถทำได้แต่ต้องขึ้นอยู่กับสภาพสิ่งแวดล้อมและระดับการจัดการ
การใช้ที่ดินเพื่อการเกษตรจำเป็นต้องมีการใช้เทคโนโลยีหรือมีการจัดการดินและพืชที่เหมาะสมด้วยได้แก่ ชลประทาน การปรับปรุงคุณสมบัติทางกายภาพและเคมีของดิน การรักษาความอุดมสมบูรณ์ของดิน การใช้ปุ๋ยในรูปที่เหมาะสมและเกิดประโยชน์สูงสุด
สำหรับการพัฒนาดินลูกรังมาใช้ในการเพาะปลูกพืช มีการศึกษาวิจัยวิธีการจัดการดินและการพัฒนาพันธุ์พืชหรือคัดเลือกพันธุ์พืชมาปลูกให้เหมาะสมกับสภาพของดินและสิ่งแวดล้อมอย่างต่อเนื่องตลอดมา จากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพบว่าการเพิ่มผลผลิตของพืชที่ปลูกในดินลูกรังควรคำนึงถึงด้านการจัดการดินและการพัฒนาพันธุ์พืชหรือคัดเลือกพันธุ์พืช ให้มีความสามารถทนทานต่อสภาพปัญหาของดินลูกรัง เช่น การคัดเลือกพันธุ์พืชที่ขึ้นได้ในดินลูกรังและทนทานต่อความแห้งแล้ง
จะต้องปรับปรุงสภาพของดินให้มีความสามารถในการดูดยึดธาตุอาหารเพิ่มขึ้นซึ่งบางพื้นที่อาจทำโดยการลดความเป็นกรดด้วยการใช้ปูน การเพิ่มอินทรียวัตถุ การเพิ่มความจุในการแลกเปลี่ยนประจุบวกของดิน โดยการผสมหินบะซอลต์บดลงในดิน
การจัดการพืช ก็ควรเลือกชนิดพืชให้เหมาะสมและมีอัตราเสี่ยงต่อการลงทุนน้อยที่สุดสำหรับบางพื้นที่จะใช้พื้นที่ที่มีลักษณะดินเช่นนี้ทำทุ่งหญ้าเลี้ยงสัตว์ ก็ควรทำในลักษณะทุ่งหญ้าผสมถั่ว สำหรับไม้ยืนต้นและไม้ผลนั้นสามารถปลูกได้โดยขุดหลุมให้กว้างและลึกเป็นพิเศษ เช่น มะม่วง มะม่วงหิมพานต์ มะขาม ขนุน เป็นต้น และในบริเวณที่มีปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยต่อปีมากกว่า 1_600 มิลลิเมตร สามารถปลูกยางพาราได้ การปลูกสร้างสวนป่าอาจเป็นทางเลือกอีกทางหนึ่งที่น่าสนใจ โดยใช้ไม้ที่สามารถเจริญเติบโตได้ในดินปนกรวด ได้แก่ กระถินณรงค์ ยูคาลิปตัส สน ประดู่ และสัก เป็นต้น
ดังที่ สถานีพัฒนาการเกษตรที่สูงตามพระราชดำริ บ้านห้วยแม่เกี๋ยง อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ แม้พื้นที่จะไม่ใช่ดินลูกรังโดยตรง แต่ก็เป็นพื้นที่ที่มีก้อนหินทั้งใหญ่และเล็กปะปนอยู่บริเวณหน้าดินเป็นจำนวนมาก ซึ่งจะยากต่อการใช้ประโยชน์ในการเพาะปลูกพืช
แต่เจ้าหน้าที่ของสถานีไม่ละความพยายามได้มีการศึกษาค้นคว้าเพื่อนำหน้าดินบริเวณนั้นมาใช้ประโยชน์ และประสบความสำเร็จ ปัจจุบันได้เป็นแบบอย่างให้กับราษฎรในพื้นที่ได้เข้ามาเรียนรู้ และนำกลับไปใช้ในพื้นที่ของตนเอง แบบเพาะปลูกพืชผักหมุนเวียนสามารถลดการบุกรุกแผ้วถางป่าลงได้มากอย่างน่าพอใจยิ่ง
ปัจจุบันสถานีแห่งนี้ได้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่สำคัญของราษฎรในการนำไปใช้ประโยชน์ในพื้นที่ของตนเองโดยไม่ต้องเข้าป่าบุกรุกป่าสร้างที่ใหม่ ๆ เพื่อปลูกพืชกันอีกต่อไป....
ข้อมูลจาก
http://www.farmkaset..link..