<กลับหน้าค้นข้อมูล
แจ้งลิงค์ในเนื้อหาเสีย
โรคเหี่ยวกล้วย หรือโรคตายพราย หรือ โรคปานามา (Fusarium Wilt Disease)
เตือนเกษตรกรชาวสวนกล้วยทุกภาคของประเทศไทยโดยเฉพาะจังหวัดในเขตภาคใต้ เช่นจังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส และภาคเหนือแถบชายแดนประเทศพม่า เช่น จังหวัดเชียงรายโดยเฉพาะแหล่งปลูกกล้วยหอม ที่สำคัญ เฝ้าระวังโรคเหี่ยวสายพันธุ์ TR4 ในกล้วยหอม ซึ่งเป็นโรคพืชกักกันไม่เคยพบการระบาดในประเทศไทยมาก่อน และกำลังแพร่ระบาดอยู่ในหลายประเทศแถบอาเซียน ได้แก่ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย จีน ไต้หวัน อินเดีย ปากีสถาน และเมียนมา
ดังนั้น เกษตรกรผู้ปลูกกล้วยโดยเฉพาะกล้วยหอมเขียวหรือกล้วยหอมคาเวนดิชซึ่งเป็นพันธุ์ที่อ่อนแอต่อโรคเหี่ยว ควรหมั่นสำรวจแปลงอย่างสม่ าเสมอ เมื่อสงสัยว่ากล้วยอาจเป็นโรคนี้ระบาด ให้แจ้งเจ้าหน้าที่สำนักงานเกษตรอำเภอ สำนักงานเกษตรจังหวัด เพื่อตรวจสอบวินิจฉัยการระบาด และแจ้งให้กรมส่งเสริมการเกษตรทราบ เพื่อดำเนินการต่อไป และขอให้เกษตรกรห้ามนำพันธุ์กล้วยที่มาจากประเทศที่พบการระบาดเข้ามาปลูกในประเทศไทยโดยเด็ดขาด
เชื้อสาเหตุ : เชื้อรา Fusarium oxysporum f. sp. cubense Tropical race four (TR4)
ลักษณะอาการ
โรคนี้เกิดจากระบบท่อลำเลียงของพืชถูกทำลาย โดยเชื้อเข้าสู่รากและแพร่กระจายสู่ระบบท่อน้ำพืช เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการเนื้อเยื่อตายเป็นสีน้ำตาลในท่อลำเลียงของลำต้นเทียมกล้วย และลุกลามขึ้นสู่ก้านใบอาการภายนอกทำให้โคนใบแก่ด้านนอกมีสีซีดเหลือง และผืนใบเปลี่ยนเป็นสีน้ าตาลโดยเริ่มจากขอบใบเข้าสู่กลางใบ และใบหักพับภายใน ๑ - ๒ สัปดาห์ ทำให้เห็นอาการใบเหลืองจากใบล่างขึ้นไป ต่อมาใบและกิ่งเริ่มเหี่ยว และร่วง เซลล์ตามขอบใบตาย และทำให้ต้นตายในที่สุด บางครั้งอาจพบอาการผลอาจเน่าและร่วง รากอาจจะเจริญออกทางด้านข้างและเน่าภายหลัง
การแพร่ระบาด
การแพร่กระจายของเชื้อเกิดจากการน าเอาเหง้าหรือส่วนขยายพันธุ์ที่ติดเชื้อไปปลูกนอกจากนั้นเชื้อยังติดไปกับดิน เศษซากพืช หรือ น้ำที่ท่วมขังแปลง ปัจจัยที่เหมาะสมต่อการเกิดโรค คือพันธุ์พืชที่อ่อนแอความชื้นในดินสูง การระบายน้ำในดินต่ำ เชื้อรา Fusarium สายพันธุ์ TR4 มีความสามารถอยู่รอดในดินได้นานมากกว่า ๑๕ ปี
กรมส่งเสริมการเกษตร แนะน าวิธีการป้องกันกำจัด ดังนี้
๑. หมั่นส ารวจแปลงอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละครั้ง
๒. หากต้องการปลูกกล้วยในพื้นที่ใหม่ ควรเลือกแปลงปลูกที่ไม่เคยพบโรคนี้มาก่อน
๓. ปรับสภาพดินไม่ให้เป็นกรดจัด โดยใส่ปูนขาว หรือโดโลไมท์
๔. รองก้นหลุมปลูกด้วยเชื้อราไตรโคเดอร์มาชนิดสดผสมกับปุ๋ยอินทรีย์ ใช้เชื้อสดผสมกับรำข้าวละเอียดและปุ๋ยอินทรีย์(ปุ๋ยหมัก/ปุ๋ยคอกเก่า) ในอัตราส่วน ๑ : ๔ : ๑๐๐ โดยน้ าหนักอัตรา ๑๐๐ - ๒๐๐ กรัมต่อหลุม
๕. ควรเลือกหน่อกล้วยจากแหล่งปลูกที่ไม่เคยมีการระบาดของโรคนี้ หรือไม่น าหน่อพันธุ์จากต้นตอที่เป็นโรคไปปลูก
อ้างอิง
http://www.farmkaset..link..
สินค้าจากเรา
ไอเอส สารอินทรีย์ป้องกันและยับยั้งโรคพืช ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา