ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ยางพารา | อ่านแล้ว 44621 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

การปลูกยางพารา สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูก

ยางพาราต้องการดินที่มีหน้าดินลึก เพื่อให้รากเกาะลึกได้อย่างมั่นคง หากหน้าดินตื้นทำให้รากยึดได้ไม่แน่น จะทำให้ต้นโค่นล้ม.

data-ad-format="autorelaxed">

ยางพารา : การปลูกยางพารา

 สินค้าสำหรับยางพารา จากฟาร์มเกษตร (สินค้าทุกตัว ปลอดสารพิษ สกัดจากธรรมชาติ)

การปลูกยางพารา ยาทาหน้ายาง

รับเบอร์ แม็กซ์ ยาทาหน้ายาง หน้ายางนิ่ม กรีดง่าย

คลิกที่รูปเพื่อดูรายละเอียดสินค้า (มีขนาด 0.5 ลิตร และขนาด 20 ลิตร กรุณาสอบถามกับผู้จำหน่าย) รับเบอร์ แม็ก เป็นน้ำยารักษาหน้ายางช่วยให้หน้ายางนิ่ม กรีดง่าย แก้ปัญหายางหน้าตาย รักษายางพาราหน้าตาย เร่งน้ำยาง ยางออกเต็มที่ ต้นไม่โทรม และยังเป็นอาหารเสริมอีกด้วย
การปลูกยางพารา รักษา ป้องกัน โรคเชื้อรา

ไอเอ็มโอ สำหรับยางพารา ป้องกันโรครา เช่น ราแป้ง ราออยเดียม ไฟท็อปโทร่า

คลิกที่รูปเพื่อดูรายละเอียดสินค้า (มีขนาด 3 ลิตร และขนาด 20 ลิตร กรุณาสอบถามกับผู้จำหน่าย) ไอเอ็มโอ (IMO) ป้องกันโรครา เช่นราแป้ง ราใบจุด โรคใบร่วง ออยเดียม ไฟท็อปโทร่า เพิ่มการย่อยสลายอินทรียวัตถุในดิน และเศษซากพืชซากสัตว์ในดิน ป้องกันการเกิดโรคทางดิน ได้แก่ โรครากเน่าโคนเน่า โรคเส้นดำ โรครากขาวโรคเหี่ยว เพิ่มจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในดิน ปรับสภาพดิน และพัฒนาโครงสร้างดิน เพิ่มประสิทธิภาพการปลดปล่อยธาตุอาหารในดิน เพิ่มความอุดมสมบูรณ์ให้แก่ดิน ลดปัญหาการเกิดโรคทางดิน
ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ นาโนอะมิโน สำหรับ การปลูกยางพารา

ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ นาโนอะมิโน เร่งต้น เร่งโต แตกยอด แตกฉัตร

คลิกที่รูปเพื่อดูรายละเอียดสินค้า (มีขนาด 1 ลิตร และขนาด 20 ลิตร กรุณาสอบถามกับผู้จำหน่าย) ปุ๋ยอินทรีย์น้ำ นาโนอะมิโน ใช้ฉีดพ่น ยางพารา เล็ก และ ยางพารา ในถุงเพาะชำ ช่วยให้ ต้นยางพารา โตไว แตกยอดดี แตกฉัตรดี ประกอบด้วยกรดอะมิโนที่มีความจำเป็นต่อการเจริญเติบโตของ ยางพารา และ ธาตุอาหารที่จำเป็นต่างๆมากกว่า 15 ชนิด
ปุ๋ยน้ำ บูสเตอร์เงิน เร่งต้น ยางพารา เพิ่มความเขียว สำหรับ การปลูกยางพารา

ปุ๋ยน้ำ บูสเตอร์เงิน เพิ่มความเขียว ต้นสมบูรณ์ เพิ่มภูมิต้านทานโรค

คลิกที่รูปเพื่อดูรายละเอียดสินค้า (มีขนาด 1 ลิตร และขนาด 20 ลิตร กรุณาสอบถามกับผู้จำหน่าย) บูสเตอร์เงิน ประกอบด้วย ธาตุเหล็ก (Fe) และ สังกะสี (Zn) สูง เพิ่มปริมาณ คลอโรฟิลล์ ทำให้ ใบยางพารา เขียวเข็มขึ้น พัฒนาระบบรากให้แข็งแรง พัฒนาลำต้นให้แข็งแรง ทนต่อช่วงแล้งได้นานขึ้น พืชไม่อวบน้ำ ลดความเสียหายจากการเข้าทำลายของแมลง ยางพารา มีภูมิต้านทานโรคมากขึ้น
การปลูกยางพารา ปุ๋ยน้ำ บูสเตอร์ส้ม ฉีดพ่น รอบลำต้นยางพารา เร่งน้ำยางพารา

ปุ๋ยน้ำ บูสเตอร์ส้ม เพิ่มปริมาณน้ำยาง ฉีดพ่นรอบลำต้น ทั่วบริเวณหน้ายางที่เปิดกรีด

คลิกที่รูปเพื่อดูรายละเอียดสินค้า (มีขนาด 1 ลิตร และขนาด 20 ลิตร กรุณาสอบถามกับผู้จำหน่าย) ปุ๋ยน้ำ บูสเตอร์ส้ม ใช้ฉีดพ่นรอบ บริเวณ หน้ายาง หรือรอบเปิดกรีด ช่วยเพิ่มอาหารให้ต้นยาง ส่งเสริมให้ น้ำยางพารา ไหลดีขึ้น บูสเตอร์ส้ม มี โพแตสเซียม (K) แคลเซียม (Ca) และ โบรอน (B) สูง ส่งเสริมขบวนการ การผลิต และขบวนการเคลื่อนย้ายน้ำ ยางพารา

สนใจสินค้า ติดต่อ FarmKaset.ORG โทร 089-4599003

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อ การปลูกยางพารา

1.เขต การปลูกยางพารา ยางพารามีถิ่นกำเนิดอยู่ในแถบลุ่มน้ำอะเมซอน ประเทศบลาซิล ซึ่งตั้งอยู่ทางตอนบนของทวีปอเมริกาใต้ ยางพารามีการเจริญเติบโตได้ดี

2.ความสูงจากระดับน้ำทะเล สาเหตุที่ความสูงมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตของยางพารานั้นเนื่องมาจากระยะความสูงที่เพิ่มขึ้นทุกๆ 100 เมตร จะมีผลทำให้อุณหภูมิลดลง ซึ่งอุณหภูมิที่ลดต่ำลงนี้มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นยางพารา

3.ความลาดเท ความลาดเทมีอิทธิพลต่อการเจริญเติบโตและการให้ผลผลิตของยางพารา เพราะถ้าพื้นที่มีความลาดเทมาก ผลผลิตของยางพาราหรือการเจริญเติบโตจะลดน้อยลง ดังนั้นการปลูกยางในพื้นที่ลาดเทนั้นควรปลูกโดยมีการอนุรักษ์ดินและน้ำด้วยวิธีที่เหมาะสมคือ การปลูกแบบขันบันได ควรเลือกที่ทำสวนที่ใกล้ภูเขาและแนวลาดเทของภูเขามาทางสวน เวลาฝนตกน้ำจะชะเอาปุ๋ยอินทรีย์ที่อยู่หน้าดินมาทับถมเป็นการเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ของดิน

4.ดิน ยางพาราต้องการดินที่มีหน้าดินลึก เพื่อให้รากเกาะลึกได้อย่างมั่นคง หากหน้าดินตื้นทำให้รากยึดได้ไม่แน่น จะทำให้ต้นโค่นล้มได้ง่าย การโค่นล้มของต้นยางพาราขึ้นอยู่กับพันธุ์ยางด้วย

5.ฝนและการกระจายตัวของฝน ฝนเป็นปัจจัยสำคัญที่มีผลต่อการเจริญเติบโตของต้นยาง ปกติหลังจากปลูกควรได้รับน้ำฝนอย่างเพียงพอและสม่ำเสมอประมาณ 4-6 เดือน

6.ความชื้นสัมพัทธ์ ความชื้นสัมพัทธ์เป็นปัจจัยสำคัญที่เกี่ยวข้องกับ การปลูกยางพารา การเปลี่ยนแปลงความชื้นมัมพัทธ์ขึ้นอยู่กับปริมาณและการกระจายตัวของน้ำฝน

7.อุณหภูมิ เพื่อผลผลิตสูงควรจะมีอุณหภูมิเฉลี่ยต่อปีไม่แตกต่างกันมากนัก อยู่ระหว่าง 24-27 องศาเซลเซียส

8. ความเร็วลม ความเร็วลมที่เหมาะสมต่อการปลูกยาง คือ ความเร็วของลมเฉลี่ยตลอดปีไม่เกิน 1 เมตร/วินาที ควรปลูกไม้กันลมก่อนปลูกยางพารา 2-3 ปี โดยปลูกไม้บังลมชนิดสูงสลับกับชนิดเตี้ยที่เจริญเติบโตใต้ไม้สูงได้ เพื่อช่วยป้องกันลมทั้งส่วนบนและส่วนล่าง

9.ระยะแสง ระยะแสงที่ยางพาราต้องการอยู่ระหว่าง 1,800-2,800 ชั่วโมง/ปี แต่ระยะเวลาการให้แสงต่อวันไม่มีผลกระทบต่อ การปลูกยางพารา มากนัก

สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการปลูกยาง

การเตรียมดินสำหรับ การปลูกยางพารา

เมื่อเผาปรนเสร็จให้เตรียมดินโดยการไถ 2 ครั้ง พรวน 1 ครั้ง ในกรณีที่เป็นพื้นที่ลาดเทมาก เช่น เนินเขาชันเกิน 15 องศา จะต้องทำขั้นบันไดหรือชานดินเพื่อป้องกันมิให้น้ำฝนชะล้างเอาหน้าดินไหลไปตามน้ำ อาจทำเฉพาะต้นหรือทำยาวเป็นแนวเดียวกัน ล้อมเป็นวงกลมรอบไปตามไหล่เขาหรือเนินก็ได้ โดยให้ระดับขนานไปกับพื้นดิน ขั้นบันไดควรกว้างน้อยที่สุด 1.50 เมตร แต่ละขั้นให้ตัดดินลึกและเอียงเข้าไปในทางเนินดิน ตรงขอบด้านนอกทำเป็นคันดินสูงประมาณ 30 เซนติเมตร กว้าง 60-70 เซนติเมตร ระยะระหว่างขั้นบันไดประมาณ 8-10 เมตร

ชนิดของต้นพันธุ์ยางพารา

1. ต้นตอตา คือ ต้นกล้ายางที่ได้รับการติดตาด้วยยางพันธุ์ดีหลังจากที่ติดตาเรียบร้อยแล้วจึงถอนขึ้นมาตัดแต่งราก และตัดต้นเดิม เหนือแผ่นตาประมาณ 2 ฝ นิ้วทิ้ง แล้วนำต้นตอที่ได้ไปปลูกทันที ต้นตอตาจะเป็นต้นพันธุ์ที่ไม่มีดินห่อหุ้มรากหรือเรียกว่าต้นเปลือกราก

 

2. ต้นติดตาชำในถุงพลาสติกหรือยางชำถุง คือ ต้นตอตาที่น้ำมาชำในถุงพลาสติกขนาดกว้าง 4 ฝ นิ้วยาว 14 นิ้ว หรือขนาดใหญ่กว่านี้ที่บรรจุดินไว้เรียบร้อยแล้ว ดูแลบำรุงรักษาจนตาแตกออกมาเป็นใบได้ขนาด 1-2 ฉัตร อายุประมาณ 3-5 เดือน และมีใบในฉัตรยอดแก่เต็มที่

3. ต้นยางที่ปลูกด้วยเมล็ดแล้วติดตาในแปลง คือ การปลูกสร้างสวนยางโดยใช้เมล็ดปลูกในแปลงโดยตรง เมื่อเมล็ดเจริญเติบโตเป็นต้นกล้าที่มีขนาดเหมาะสมจึงทำการติดตาในแปลงปลูก


ต้นพันธุ์ยางทั้ง 3 ชนิดดังที่กล่าวมาแล้วเหมาะสมที่จะปลูกในภาคตะวันออกและภาคใต้ แต่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือแนะนำให้ปลูกด้วยต้นยางชำถุงเพียงอย่างเดียวเท่านั้น

ต้นกล้ายางพารา

วิธีปลูกยางพารา  

การปลูกยางพารา จะแตกต่างกันไปตามชนิดของต้นพันธุ์ยางซึ่งในที่นี้จะกล่าวเฉพาะการปลูกด้วยต้น ตอตาและต้นยางชำถุงเท่านั้น เนื่องจากการปลูกด้วยเมล็ดแล้วติดตาในแปลงมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและเสียค่าใช้จ่ายในการดูแลรักษามาก จึงไม่ค่อยมีผู้นิยมทำกันในปัจจุบัน

1. การปลูกยางพารา ด้วยต้นตอตา นำดินบนที่ผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟตเรียบร้อยแล้วใส่รองก้นหลุมแล้วกลบหลุมให้เต็มด้วยดินล่าง จากนั้นใช้เหล็กหรือไม้แหลมขนาดเล็กกว่าต้นตอตาเล็กน้อยปักนำเป็นรูตรงกลางหลุมให้ลึกเท่ากับ ความยาวของรากแก้ว แล้วนำต้นตอปักลงไป กดดินให้แน่น พูนดินบริเวณโคนต้นเล็กน้อยอย่าให้กลบแผ่นตา พยายามให้รอยต่อระหว่างรากกับลำต้นอยู่ระดับปากหลุมพอดี

 

กิ่งตาเขียว ของยางพารา สำหรับติดตา ต่อกิ่ง

2. การปลูกยางพารา ด้วยต้นยางชำถุง

2.1 วิธีปลูกยางในภาคตะวันออกและภาคใต้
นำดินที่ผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟตเรียบร้อยแล้วใส่รองก้นหลุม จากนั้นนำต้นยางชำถุงไปตัดดินที่ก้นถุงออกประมาณ 1 นิ้ว เพื่อตัดปลายรากที่คดงอแล้ววางลงไปในหลุม โดยให้ดินปากถุงหรือรอยต่อระหว่างลำต้นและรากอยู่ในระดับพื้นดินปากหลุมพอดี ถ้าต่ำเกินไปให้ใส่ดินรองก้นหลุมเพิ่ม หรือถ้าสูงเกินไปให้เอาดินในหลุมออก จัดต้นยางให้ตรงกับแนวต้นอื่น ใช้มีดกรีดด้านข้างถุงพลาสติกจากก้นถุงถึงปากถุงให้ขาดจากกัน กลบดินล่างที่เหลือลงไปจนเกือบเต็มหลุม อย่างเพิ่งกดแน่น ค่อยๆดึงถุงพลาสติกที่กรีดไว้แล้วออกอัดดินข้างถุงให้แน่น แล้วกลบดินเพิ่มจนเต็มหลุม อัดให้แน่นอีกครั้ง พูนโคนเล็กน้อยเพื่อป้องกันน้ำขัง จากนั้นปักไม้หลักและใช้เชือกผูกยึดต้นยางไว้เพื่อป้องกันลมโยก

ยางพารา ชำถุง

2.2 วิธีปลูกยางในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ให้ปลูกแบบลึก โดยใช้มีดคมๆ ตัดดินก้นถุงออกประมาณ 1 นิ้ว เพื่อตัดปลายรากที่คดงอจากนั้นวางยางชำถุงลงในหลุมปลูกให้ถุงแนบชิดกับดินเดิมก้นหลุมจัดต้นยาง ให้ตรงแนวกับต้นอื่น ใช้มีดกรีดด้านข้างถุงพลาสติกจากก้นถุงถึงปากถุงให้ขาดจากกัน กลบดินบนที่ผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟตแล้วลงในหลุมประมาณครึ่งหนึ่งของถุง อย่างเพิ่งกดแน่น ค่อยๆ ดังถุงพลาสติกที่กรีดไว้ออก อัดดินที่ถมข้างถุงให้แน่นแล้วกลบดินเพิ่มให้เต็มหลุม อัดให้แน่นอีกครั้ง หลังจากปลูกต้นยางชำถุงเสร็จแล้ว ควรปักไม้หลักและใช้เชือกผูกยึดต้นยางเพื่อป้องกันลมโยกและหาเศษวัชพืชคลุมดินบริเวณโคนต้นไว้ด้วย

การเตรียมหลุมปลูกยางพารา

หลุมปลูกยางโดยทั่วไปจะมีขนาดกว้าง x ยาวxลึก เท่ากับ 50 x 50 x 50 เซนติเมตร การขุดหลุมปลูกควรแยกดินบนและดินล่างไว้คนละส่วน ตากดินทิ้งไว้ 10-15 วัน จากนั้นย่อยดินบนให้ร่วนแล้วผสมปุ๋ยร้อคฟอสเฟต อัตรา 170 กรัมต่อหลุม

 ขุดหลุมปลูกยางพารา

ระยะปลูกยางพารา

1. พื้นที่ราบ ถ้าต้องการปลูกพืชแซมในระหว่างแถวของต้นยาง
- ในภาคใต้และภาคตะวันออกให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2.50 เมตร ระหว่างแถว 8 เมตร จะได้จำนวน 80 ต้นต่อไร่
- ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2.50 เมตร ระหว่างแถว 7 เมตร จะได้จำนวน 91 ต้นต่อไร่
ถ้าต้องการปลูกพืชคลุมดินในระหว่างแถวของต้นยาง
- ในภาคใต้และภาคตะวันออกให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 2.50 เมตร ระหว่างแถว 7 เมตร จะได้จำนวน 91 ต้นต่อไร่
- ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือให้ใช้ระยะปลูกระหว่างต้น 3 เมตร ระหว่างแถว 6 เมตร จะได้จำนวน 88 ต้นต่อไร่

2. พื้นที่ลาดหรือพื้นที่เชิงเขา ตั้งแต่ความชัน 15 องศาขึ้นไปต้องทำแนวขั้นบันไดโดยใช้ระยะระหว่างขั้นบันไดอย่างน้อย 8 เมตร ระยะระหว่างต้น 2.50 หรือ 3 เมตร เมื่อกำหนดระยะปลูกได้แล้วก็ทำการวางแนวและปักไม้ทำแนวเพื่อขุดหลุมปลูกต่อไป แนวปลูกควรวางตามทิศทางลม

การปลูกซ่อมยางพารา

หลังจากปลูกแล้วอาจมีต้นยางบางต้นตายไปเนื่องจากอากาศแห้งแล้ง ถูกโรคและแมลงทำลาย หรือต้นที่ปลูกไม่สมบูรณ์ จำเป็นต้องปลูกซ่อม ซึ่งควรทำให้เสร็จภายในช่วงฤดูฝน

ต้นพันธุ์ที่เหมาะสำหรับปลูกซ่อม คือ ยางชำถุง เพราะจำทำให้ต้นยางที่ปลูกในแปลงมีขนาดไล่เลี่ยกัน ส่วนต้นยางที่มีอายุเกิน 1 ปี ไปแล้วไม่ควรปลูกซ่อม เพราะจะถูกบังร่มไม่สามารถเจริญเติบโตทันต้นอื่นได้

ฤดู การปลูกยางพารา

ในพื้นที่ชุ่มชื้น เขตปลูกยางเดิม ช่วงฤดูแล้งเริ่มเข้าฤดูแล้ง เดือนมกราคม เตรียมพื้นที่เก็บไม้ออกจากพื้นทีให้หมด ไถพรวนและวางแนวขุดหลุมปลูก ถ้าผสมปุ๋ยอินทรีย์รองก้นหลุม ควรให้เสร็จก่อนปลูกยางในฤดูฝน 1 เดือน ฝนเริ่มมาเดือน พฤษภาคม ถ้าพื้นที่มีความชื้นเพียงพอก็สามารถปลูกต้นยางชำถุงได้ การปลูกต้นตอควรมีความชื้นเต็มที่ขณะปลูกไม่น้อยกว่า 2 เดือน หลังปลูก 15 วัน ถึง 1 เดือนควรปลูกซ่อม ต้องปลูกซ่อมให้เสร็จก่อนหมดฝนอย่างน้อย 2 เดือน ในช่วงกลางฤดูฝนมักจะ มีฝนทิ้งช่วงให้ฝักของเมล็ดยางแห้งแตกร่วงหล่น การตกของเมล็ดยางช่วงนี้เรียกว่า เมล็ดยางในปี(เป็นเมล็ดที่สำคัญในการ ขยายพันธุ์ยาง) ประมาณเดือนกรกฎาคม-กันยายน ขึ้นอยู่กับพื้นที่ เมล็ดยางเหล่านี้นำมาปลูกทำกล้ายางเพื่อติดตาในแปลง ปลูก หรือนำไปทำเป็นวัสดุปลูกขยายพันธุ์ต่อไป

พื้นที่ปลูกยางใหม่เขตแห้งแล้ง(ฤดูฝนสั้นกว่าเขตปลูกยางเดิม) ควรปลูกยางในช่วงต้นฤดูฝนประมาณเดือนมิถุนายน ด้วยต้นยางชำถุง 2 ฉัตร ปลูกซ่อมด้วยวัสดุปลูกอย่างเดียวกันให้เสร็จภายในเดือนสิงหาคม-กันยายน โดยปรกติเขตแห้งแล้ง ฝนเริ่มมาเดือนพฤษภาคม ฝนจะทิ้งช่วงให้เมล็ดยางในปีร่วงหล่น เดือนกรกฎาคม-สิงหาคม หมดฝนเข้าสู่ฤดูหนาวเดือน พฤศจิกายน

ข้อระวังใน การปลูกยางพารา

1. หลังจากปลูกยางแล้วถ้ามีฝนตกหนัก ให้ออกตรวจดูหลุมปลูกยาง ถ้าหลุมปลูกยางต้นใดที่ปลูกแล้วเหยียบดินไม่ แน่น จะทำให้ดินยุบเป็นแอ่ง ซึ่งจะขังน้ำ และอาจทำให้โคนต้นยางบริเวณคอดินไหม้ และต้นยางตายได้ ดังนั้นจึงต้องเกลี่ยดิน บริเวณปากหลุม ให้เรียบอยู่เสมอในช่วงที่มีฝนตกหนัก

2. ขณะโกยดินลงก้นหลุม อย่าให้ดินกระแทกต้นยางแรงๆ เพราะอาจจะทำให้ต้นยางฉีกหรือหัก ซึ่งจะทำให้ต้นยางตาย ถ้าปลูกด้วยความระมัดระวังตามสมควร ก็จะทำให้อัตราการตายของต้นยางหลังปลูกต่ำมาก

3. ทิศทางการหันแผ่นตา การปลูกยางชำถุง หรือต้นตอตา ลงแปลงสวนยาง ควรหันแผ่นตาไปทางทิศตะวันตก เพื่อ ป้องกันอาการไหม้แสงแดดที่โคนต้นยาง หลังจากส่วนลำต้นของต้นตอเดิมหลุดออกไป ถ้ามีอาการไหม้แสงแดด ให้ใช้สีน้ำมัน ทาทับป้องกันเชื้อรามอดแมลงเข้าทำลาย ทำให้ต้นยางไม่แข็งแรงลมพัดหักได้ง่าย

อัตราการใช้ปุ๋ย การใส่ปุ๋ยให้กับยางพารา

ต้นยางพาราเล็ก
500 กรัม/ต้น
ใส่รองก้นหลุม
ต้นยางพาราเล็ก 1 เดือน - 2 ปี
100 - 500 กรัม/ต้น
ใส่รอบโคน 3 - 5 ครั้ง/ปี
ต้นยางพาราเล็ก 2-6 ปี
500-1,000 กรัม/ต้น
ใส่รอบโคน 1 - 3 ครั้ง/ปี
ต้นยางพารากรีดแล้ว
1-3 กก./ต้น/ครั้ง
ใส่รอบโคน 1 - 3 ครั้ง/ปี
ต้นยางพาราตายนึ่งหรือยางที่เป็นโรค
3 - 5 กก./ต้น/ครั้ง
ขุดหลุม 8 - 15 หลุมรอบฝังกลบ ห่างจากโคนต้น 1 - 1.5 เมตร. (2 - 3 ครั้ง/ปี)

อ่านเรื่องนี้แล้ว : 44621 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

songsak kaewsuk
[email protected]
ให้คำแนะนำดีมาก
26 มี.ค. 2555 , 09:57 PM  e
0 ชอบ|0 ไม่ชอบ

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ยางพารา]:
ยางพารายอดแห้ง ยางพาราตายจากยอด ยางยืนต้นตาย สาเหตุและการักษา
ปล่อยไว้ก็จะตายมาถึงโคน และต้นตายไปในที่สุด อาการนี้เรียกว่าโรคตายจากยอด ในยางพารา มักจะเกิดกับต้นยางพาราเล็ก..
อ่านแล้ว: 8462
โรคใบจุด ยางพารา โรคใบจุดตานก ทำให้ใบร่วง ชะงักโต แก้ด้วย ไอเอส
โรคใบจุดตานก นี้ทำให้ใบยางพาราหลุดร่วง โตช้า หรือชะงักการเจริญเติบโต และได้ผลผลิตน้อยลง
อ่านแล้ว: 7566
หนอนทรายในสวนยางพารา ยางจะค่อยๆล้มไปทีละต้น แก้ไขและป้องกันได้
หนอนทราย ที่เป็นศัตรูพืชของยาพารา เป็นตัวอ่อนของด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง จัดเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวอ้วนป้อม มีกลามใหญ่
อ่านแล้ว: 7508
นายกฯฝากประธาน JETRO หนุนอุตฯแปรรูปยางพาราไทย
ประธาน JETRO เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี บิ๊กตู่ฝากช่วยสนับสนุนการแปรรูปยางพาราไทย
อ่านแล้ว: 6688
วว. แก้ปัญหายางล้นตลาดด้วยนวัตกรรม
ดันถุงมือผ้าเคลือบยาง แผ่นเสริมรองเท้าเพื่อสุขภาพ แผ่นยางปูพื้น ชุดวัสดุป้องกันการกัดเซาะตลิ่งจากธรรมชาติเพิ่มมูลค่ายาง
อ่านแล้ว: 7661
วัสดุชีวภาพรักษ์โลก สามประสานวิจัยส่งออก
จากการที่เห็นเศษไม้ร่วงจากแผ่นพาร์ทิเคิลบอร์ดที่ถูกสุนัขแทะ ได้จุดประกายแนวคิด
อ่านแล้ว: 6650
ผู้ส่งออกฟันกำไรยาง กดราคาซื้อตุนสต๊อก
ยางแผ่นดิบเหลือ 42 บาท. ตํ่าสุดรอบ 1 ปี 3 เดือน ฝนชุกรีดได้ไม่ถึง 18 วันต่อเดือน แฉผู้ส่งออกกดซื้อตุนสต๊อก หวังฟันกำไร
อ่านแล้ว: 7051
หมวด ยางพารา ทั้งหมด >>