ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: สมุนไพร | อ่านแล้ว 27214 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

คุณประโยชน์สมุนไพรขมิ้นชัน

ขมิ้นชันมีวิตามิน เอ, ซี, อี ที่เข้าสู่ร่างกายแล้วจะทำงานพร้อมกันทั้ง 3 ตัว จึงมีผลทำให้ช่วยลดไขมันในตับ สมานแผลภาย.....

data-ad-format="autorelaxed">

ใช้รับประทานเหง้าของขมิ้นชัน โดยการปอกเปือกหรือตากแห้งแล้วบดเป็นผงใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง และแบบผงบรรจุแคปซูลเพื่อความสะดวกแก่การรับประทาน

คุณประโยชน์สมุนไพรขมิ้นชัน

             ขมิ้นชันใช้รับประทานเหง้าของขมิ้นชัน โดยการปอกเปือกหรือตากแห้งแล้วบดเป็นผงใช้ประกอบอาหารได้หลายอย่าง และแบบผงบรรจุแคปซูลเพื่อความสะดวกแก่การรับประทาน

ขมิ้นชันมีประโยชน์และสรรพคุณหลายประการ ดังนี้

              ขมิ้นชันมีวิตามิน เอ, ซี, อี ที่เข้าสู่ร่างกายแล้วจะทำงานพร้อมกันทั้ง 3 ตัว จึงมีผลทำให้ช่วยลดไขมันในตับ สมานแผลภายในกระเพาะอาหาร ช่วยย่อยอาหาร ทำความสะอาดลำไส้ เปลี่ยนไขมันให้เป็นกล้ามเนื้อ ต้านอนุมูลอิสระป้องกันมะเร็งตับ สร้างภูมิคุ้มกันให้กับผิวหนัง กำจัดเชื้อราที่ปนเปื้อนในอาหารที่รับประทานเข้าไปและสะสมในร่างกายเตรียมก่อตัวเป็นเซลล์มะเร็ง ช่วยขับน้ำนมสำหรับสตรีหลังการคลอดบุตรได้ดี รองมาจากการกินหัวปลี

               กินขมิ้นชันให้ตรงเวลา ที่อวัยวะส่วนต่างๆ ของร่างกายเปิดการทำงานในช่วงเวลานั้น จะได้ผลตรงกับประเด็นที่ต้องการจะบำรุง หรือแก้ไขฟื้นฟูอวัยวะ รับประทานเพียง 1 แคปซูลเท่านั้น จะออกฤทธิ์มากกว่าเวลาอื่นถึง 40 เท่าตัว แต่ถ้ามีปัญหาหลายอย่างก็รับประทานครั้งละ 1 แคปซูล ทุก ๆ 2 ชั่วโมง ถ้ารับประทานขมิ้นจำนวนมาก ส่วนที่เหลือจะทำหน้าที่ขับไขมันใน

               กินขมิ้นชันให้เป็นอาหาร ไม่ใช่กินเป็นยา ต้องกินให้สนุกใช้ปรุงอาหารกินบ้าง หุงข้าวก็ใส่ขมิ้นชันได้ ทอดปลาคลุกขมิ้นชันก็ดี ทำให้หอมน่ากิน และยังได้ประโยชน์อีกด้วย เพราะตัวขมิ้นจะช่วยย่อยไขมันจากน้ำมันที่ใช้ทอดปลาได้เป็นบางส่วน

               ถ้ากินขมิ้นชันสดๆ ต้องปอกเปลือกก่อน แต่ถ้าทำขมิ้นบดเป็นผง ต้องนำขมิ้นมาต้มน้ำให้เดือดสักพักหนึ่ง เสร็จแล้วตักออกนำมาผึ่งให้เย็นหั่นเป็นแว่นเล็กๆ ตากแดดจนแห้ง อาจจะตากหลายครั้ง แล้วถึงจะนำมาบดให้เป็นผง ถ้าใช้เครื่องอบให้ขมิ้นแห้ง ความร้อนไม่ควรเกิน 65 องศา ถ้าความร้อนเกินอาจเกิดสารสเตรอยด์ได้

กินขมิ้นชันตามเวลาต่อไปนี้จะได้ผลโดยตรงกับอวัยวะส่วนนั้น

                เวลา 03.00 - 05.00 น. ช่วยบำรุงปอด ป้องกันการเป็นมะเร็งปอด ช่วยทำให้ปอดแข็งแรง ช่วยเรื่องภูมิแพ้ของจมูกที่หายใจไม่สะดวก และช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันที่ผิวหนัง

                เวลา 05.00 - 07.00 น. ช่วยแก้ปัญหาลำไส้ใหญ่ ถ้าเคยกินยาถ่ายมาเป็นเวลานาน ให้กินขมิ้นชันเวลานี้ ขมิ้นชันจะฟื้นฟูปลายประสาทของลำไส้ใหญ่ แต่ต้องกินเป็นประจำ ถึงจะทำให้ลำไส้ใหญ่บีบรัดตัวเพื่อขับถ่ายอย่างปกติ แก้ปัญหาลำไส้ใหญ่กลืนลำไส้เล็ก หรือลำไส้ใหญ่มีปัญหาถ่ายมากเกินไปหรือถ่ายน้อยเกินไป ถ้าลำไส้ใหญ่ไม่มีปัญหา ให้กินขมิ้นชันพร้อมกับสูตรโยเกิต + นมสด + น้ำผึ้ง + มะนาว หรือน้ำอุ่นก็ได้ จะไปช่วยล้างผนังลำไส้ที่มีหนวดเป็นขนเล็กๆ อยู่เป็นล้านๆ เส้น ซึ่งขนเหล่านี้มีหน้าที่ดูดซึมสารอาหารเพื่อไปสร้างเม็ดเลือด ขมิ้นชันจะช่วยล้างให้สะอาดได้ ก็จะไม่ค่อยมีขยะตกค้าง จึงไม่เกิดแก๊สพิษที่ทำให้เกิดกลิ่นตัว และจะไม่ค่อยเป็นริดสีดวงทวาร ไม่เป็นมะเร็งลำไส้

                 เวลา 07.00 - 09.00 น. ช่วยแก้ปัญหาเรื่องกระเพาะอาหาร เกิดจากการกินข้าวไม่เป็นเวลา ท้องอืด จุกแน่น ปวดเข่า ขาตึง ช่วยบำรุงสมอง ป้องกันความจำเสื่อม

                 เวลา 09.00 - 11.00 น. ช่วยแก้ปัญหาเรื่องน้ำเหลืองเสีย มีแผลที่ปาก อ้วนเกินไป ผอมเกินไปที่เกี่ยวกับม้าม ลดอาการของโรคเก๊าต์ ลดอาการเบาหวาน

                 เวลา 11.00 - 13.00 น. สำหรับผู้ที่มีปัญหาเกี่ยวกับโรคหัวใจ มีหรือไม่มี ถ้ากินขมิ้นชันเวลานี้ จะช่วยบำรุงหัวใจให้แข็งแรง ถ้าเลยเวลา 11.00 น.ไปแล้ว ขมิ้นชันจะไปทำงานที่ตับ แล้วตับจะส่งมาที่ปิด ปอดจะส่งไปยังผิวหนัง แต่ส่วนมากมาไม่ถึงเพราะกินขมิ้นชันน้อยเกินไป อวัยวะส่วนอื่นจะดึงไปใช้งานก่อนเลยมาไม่ถึงผิวหนัง จึงต้องลงขมิ้นชันทางผิวหนังช่วยอีกทางหนึ่ง

                 เวลา 15.00 - 17.00 น. ช่วยดูแลหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง แก้ปัญหาเรื่องตกขาวของสตรี และควรกินน้ำกระชายเวลานี้ด้วย จะช่วยดูแลหูรูดกระเพาะปัสสาวะให้แข็งแรง ช่วงเวลานี้ควรทำให้เหงือกออกจะดีมาก เพราะร่างกายต้องการขับสารพิษให้ได้มากที่สุดในเวลานี้

อ้างอิง : www.nathasorn.com


หมายเหตุสำหรับข้อมูลในหมวดสมุนไพร : การใช้สมุนไพรเพื่อเป็นยารักษาโรคนั้น ควรศึกษาจากผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้ให้มีความเข้าใจ และควรติดต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องของภาครัฐ เพื่อยืนยันข้อมูลที่ได้มา เพื่อคัดกรองข้อมูลให้ถูกต้อง และศึกษาผลข้างเคียงโดยละเอียด ว่าไม่มีผลกระทบข้างเคียงใดๆ
ข้อมูลที่ฟาร์มเกษตรนำมาเสนอนั้น เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น ที่ค้นหาจากอินเตอร์เน็ต ไม่ได้มีการค้นข้อมูลเชิงลึก ฉนั้น ผู้สนใจ ต้องศึกษาและพิจารณาให้ละเอียดถี่ถ้วนก่อนใช้สมุนไพรแต่ละชนิด

อ่านเรื่องนี้แล้ว : 27214 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [สมุนไพร]:
สมุนไพรไทย ผงาดดันส่งออกแสนล้าน เล็งขึ้นแท่น ฮับสมุนไพร อาเซียน

อ่านแล้ว: 7223
ปั้นผลิตภัณฑ์ ใบบัวบก ขมิ้นชัน ไพล กระชายดำ ป้อนตลาดโลก

อ่านแล้ว: 7622
โปรงแดง เปลือกนิยมนำมาใช้ต้มกับน้ำเพื่อชะล้างบาดแผล

อ่านแล้ว: 7089
แพทย์ เผย! ผลไม้ เพียงชนิดเดียวที่มีฤทธิ์ทำลายเซลล์มะเร็ง และ ป้องกันการติดเชื้อได้!
ล่าสุดทางการแพทย์ยังยกให้ สับปะรด ถือเป็นผลไม้มหัศจรรย์ตัวจริง นอกจากจะเป็นเครื่องมือช่วยลดน้ำหนักได้ดีแล้ว สับปะรด..
อ่านแล้ว: 8264
ว่านไพลดำ
มีสรรพคุณเป็นยา แก้ครั่นเนื้อครั่นตัว และใช้เหง้านำมาฝน ทาแก้อาการเคล็ดขัดยอก ฟกบวม แก้เหน็บชา แก้เมื่อยขบ เป็นต้น
อ่านแล้ว: 6405
เห็ดโคน บรรเทาอาการไอเรื้อรัง และยับยั้งเชื้อโรคอย่างไทฟอยด์
เห็ดโคน มีกลิ่นเป็นเอกลักษณ์ ชอบขึ้นตามจอมปลวก ตอนยังอ่อน มีลักษณะคล้ายกรวยคว่ำ มีสรรพคุณช่วยบำรุงร่างกาย..
อ่านแล้ว: 9627
พืชเครื่องเทศ เงินล้าน อาชีพที่เกษตรกรไม่ควรมองข้าม
พืชเครื่องเทศ - ปกติครอบครัวเป็นมนุษย์เงินเดือน ไม่เคยคิดมาก่อนว่าจะเป็นเกษตรกร ยามว่างก็ปลูกพืชเครื่องเทศ ข่า ตระไคร้..
อ่านแล้ว: 10758
หมวด สมุนไพร ทั้งหมด >>