ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ห้องปศุสัตว์ | อ่านแล้ว 34278 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

การเลี้ยงกุ้ง การสำรวจคุณภาพดินและน้ำ

การเลี้ยงกุ้งให้ประสบผลสำเร็จ มีปัจจัยประกอบที่ต้องศึกษาให้ละเอียดถี่ถ้วน นับตั้งแต่การเลือกสถานที่ สำรวจคุณภาพดินและน้ำ

data-ad-format="autorelaxed">

การเลือกสถานที่
สถานที่สำหรับเลี้ยงกุ้งการเลือกสถานที่นับว่าเป็นปัจจัยที่สำคัญเป็นอันดับหนึ่งที่จะช่วยส่งเสริมความสำเร็จ ประกอบด้วย
ปัจจัยหลายประการซึ่งเป็นองค์ประกอบในการตัดสินว่าพื้นที่ใดเหมาะสมต่อการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ทั้งยังเป็นส่วน ช่วยในการเพิ่มมาตรการป้องกันความเสียหายในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำ ปัจจัยซึ่งจะช่วยพิจารณามีดังนี้

1. คุณภาพดิน
บ่อกุ้งกุลาดำที่ดีควรจะเป็นดินปนทรายและมีสภาพความเป็นกรดเป็นด่าง (pH) อยู่ระหว่าง 6.5-8.5 มีคุณสมบัติกักเก็บน้ำได้ดี และคันดินไม่พังทลายง่าย

2. คุณภาพน้ำ
แหล่งน้ำที่ใช้ในการเลี้ยงควรมีคุณภาพดี สะอาด ปราศจากสารเคมี สารพิษ ของเสียจากโรงงานอุตสาหกรรม และแหล่งชุมชน ยาฆ่าแมลง และของเสียจากโรงเลี้ยงสัตว์อื่นๆ ซึ่งมีสารอินทรีย์เน่าเปื่อยจากพืชและสัตว์ ซึ่งจะทำให้ออกซิเจนซึ่งจำเป็นต่อการหายใจในน้ำลดต่ำลง กลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อที่ไม่ต้องการอีกด้วย แหล่งน้ำที่ใช้ควรมีปริมาณเพียงพอต่อการสูบใช้ตลอดทั้งปีและมีความเค็มที่สม่ำเสมอ โดยเฉพาะพื้นที่ ที่มีการส่งน้ำเข้าบ่อเลี้ยงได้โดยไม่ต้องสูบน้ำจะช่วยลดค่าใช้จ่ายได้เป็นอย่างดี

3. แหล่งพันธุ์กุ้ง
พื้นที่เลี้ยงควรอยู่ใกล้หรือไม่ห่างจากแหล่งพันธุ์กุ้งกุลาดำ ทำให้สะดวกในการจัดหาลูกพันธุ์และการลำเลียง ขนส่งซึ่งจะส่งผลดีต่อสุขภาพของลูกกุ้งด้วย

4. สาธารณูปโภค
การสำรวจคุณภาพดิน คุณภาพน้ำ สาธารณูปโภค สำหรับเลี้ยงกุ้ง สิ่งอำนวยความสะดวกหลายอย่างที่จำเป็นอย่างมากต่อการเลี้ยงเพื่อให้ได้ผลผลิตที่ดี เช่น ถนน ไฟฟ้า เพื่อสะดวกในการขนส่งอาหาร ผลผลิต การเตรียมอาหารหรือการเพิ่มออกซิเจนในบ่อเลี้ยงโดยการใช้เครื่องตีน้ำ

5. ตลาด
ปัจจุบันมีพ่อค้ามารับซื้อกุ้งกุลาดำถึงปากบ่ออยู่มากพอสมควร หรือทำการติดต่อห้องเย็นให้มาซื้อกุ้ง

การเตรียมบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำ
1. บ่อเลี้ยงที่ขุดใหม่ สิ่งที่ควรคำนึงถึงคือ

ความลาดชันของบ่อ
บ่อที่มีความลาดชันมากจะเกิดปัญหามากกว่าบ่อที่มีความลาดชันน้อยเนื่องจากส่วนที่มีความลาด ชันมากๆมีพื้นที่บ่อที่รับแสงมาก จะทำให้เกิดขี้แดดและตะไคร่น้ำอย่างรวดเร็วจึงก่อให้เกิดปัญหาพื้นบ่อ เสื่อมโทรมได้เร็วกว่าบ่อที่มีความลาดชันน้อย

ตรวจความเป็นกรด-ด่างของดิน
พื้นบ่อที่มีความลึก 30-50 ซม.ถ้ามีค่าความเป็นกรด-ด่างต่ำกว่า 8.0 ให้โรยปูนมาร์ล 50 กิโลกรัม ต่อไร่ ตากไว้ให้แห้งประมาณ 1 สัปดาห์ หลังจากนั้นจะล้างบ่อหรือไม่ล้างก็ได้ แล้วจึงปล่อยน้ำจากบ่อพัก เข้ามาในบ่อเลี้ยง

2. บ่อเก่าหรือบ่อที่ผ่านการเลี้ยงมาแล้ว

สำหรับบ่อเก่าซึ่งมีสภาพเสื่อมโทรมอยู่บ้างถ้าผู้เลี้ยงไม่พิถีพิถันในการเตรียมบ่ออาจเกิดปัญหาอยู่บ้าง ดังนั้นหลังจากการจับกุ้งแล้วต้องปรับสภาพพื้นบ่อให้ดีเสียก่อนด้วยการดูด หรือฉีดเลนบริเวณก้นบ่อทิ้ง แล้วตากให้แห้ง จากนั้นจึงใช้รถไถหน้าดินออกอีกครั้งหนึ่งและโรยปูนมาร์ล 80-100 กิโลกรัมต่อไร่ ตากให้แห้งประมาณ 2-3 สัปดาห์ การตากบ่อมีความจำเป็นสำหรับบ่อที่ใช้มาแล้วหลายครั้ง เพื่อเป็นการ กำจัดแอมโมเนียและไฮโดรเจนซัลไฟด์ที่หมักหมมอยู่ในดินแล้วล้างบ่อด้วยน้ำจากบ่อพักน้ำผ่านอวนตาถี่ อีกครั้งหนึ่ง แล้วจึงทำการกักเก็บน้ำสำหรับเลี้ยงต่อไป

การกำจัดศัตรูในบ่อเลี้ยง
ในกรณีที่บ่อไม่สามารถตากให้แห้งได้อาจเป็นเพราะบ่อมีการรั่วซึมจะใช้กากชาโรยบริเวณที่มีน้ำขัง อยู่ในปริมาณ 20 กิโลกรัมต่อไร่ ทิ้งไว้ 24 ชั่วโมง จึงใช้ไดรโว่หรือท่อพญานาคดูดน้ำบริเวณนั้นทิ้ง ไม่จำเป็น ต้องล้างบ่ออีกตะแกรงที่ประตูน้ำควรใช้ตาถี่มากๆ ขนาด 500-600 ไมครอน หรืออาจใช้มุ้งไนลอนเขียวอย่างดี 2 ถึง 3 ชิ้น ถ้าใช้เครื่องสูบน้ำแบบท่อพญานาคจะใช้ถุงอวนทำด้วยมุ้งเขียวที่ปลายอีกชั้นเพื่อป้องกันศัตรูกุ้ง ที่อาจเข้ามากับน้ำ

การเตรียมน้ำในบ่อเลี้ยง
น้ำในบ่อเลี้ยงควรมีความลึกประมาณ 1-1.5 เมตร เพื่อช่วยชะลอการเปลี่ยนแปลงของความเค็ม และอุณหภูมิ เพราะในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิมากๆ หากอุณหภูมิสูงเกินไปในช่วงที่ร้อนจัด กุ้งจะเกิดอาการงอตัวและการเกร็งของกล้ามเนื้อทำให้ช็อคตายในที่สุด อีกทั้งระดับน้ำต่ำมากๆ แสงแดด สามารถส่องไปถึงพื้นก้นบ่อจึงเกิดการบลูมของแพลงก์ตอนพืชอย่างรวดเร็ว แพลงก์ตอนเหล่านี้จะแย่งใช้ ออกซิเจนไปจากบ่อเลี้ยงกุ้งในช่วงกลางคืนเกิดเป็นตะไคร่น้ำและขี้แดดในเวลากลางวันและในที่สุดเมื่อ แพลงก์ตอนตายลงจะเกิดการสลายตัวทำให้พื้นบ่อเน่าเสียเกิดก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ อันเป็นผลเสียต่อกุ้ง ดังนั้นระดับน้ำที่เหมาะสมสำหรับการเลี้ยงกุ้งแบบหนาแน่นควรให้ระดับน้ำสูงอย่างน้อย 1.50 เมตร และควรมีเครื่องสูบน้ำแบบท่อพญานาคขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 16-24 นิ้ว ในอัตรา 1 เครื่องต่อ 2 บ่อ สำหรับช่วยเพิ่มระดับน้ำในบ่อเลี้ยงได้รวดเร็วทันกับความต้องการ

การคัดเลือกพันธุ์ลูกกุ้งกุลาดำ
ข้อควรพิจารณาในการเลือกซื้อลูกพันธุ์กุ้งกุลาดำ

1. เลือกจากโรงเพาะฟักที่เชื่อถือได้ ถ้ามีโอกาสควรไปดูโรงเพาะฟักแห่งนั้น ดูการจัดการ วิธีการ มาตรฐานในการผลิต สิ่งเหล่านี้จะช่วยในการตัดสินใจเพราะถ้าแหล่งผลิตลูกกุ้งทำถูกต้องตามหลักวิชาการ มีการควบคุมคุณภาพทำให้มาตรฐานการผลิตสูง จะทำให้เราแน่ใจว่าลูกกุ้งที่ได้นั้นแข็งแรงและปลอดโรค

2. พิจารณาสภาพของลุกกุ้ง ปกติผู้เลี้ยงที่มีประสบการณ์จะมารถบอกถึงความแข็งแรงหรือสมบูรณ์ ของลุกกุ้งได้ ในกรณีที่ไม่คุ้นเคยอาจใช้หลักต่อไปนี้ในการพิจารณาซึ่ง ลูกกุ้งที่แข็งแรงควรจะมีลักษณะดังนี้ ลำตัวโปร่งใส ว่ายทวนกระแสน้ำ ลักษณะภายนอกต้องปกติสมบูรณ์

การจัดการคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงกุ้ง
ปัญหาที่เกิดขึ้นในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำในปัจจุบันได้แก่ ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับคุณภาพน้ำที่แย่ลง เนื่องจากมลภาวะต่างๆ ที่มาจากการเลี้ยงอย่างหนาแน่นและการปล่อยของเสียต่างๆ ลงสู่แหล่งน้ำมากเกินไป ทำให้เกิดการหมักหมมในแม่น้ำลำคลอง และบริเวณปากแม่น้ำหรือตามแนวชายฝั่งทะเลจนถึงระดับที่การเลี้ยง ในหลายๆ พื้นที่ต้องมีความเสี่ยงต่อกุ้งเป็นโรคตายสูงมาก การจัดการเรื่องคุณภาพน้ำในบ่อเลี้ยงมีความสำคัญมาก ผู้เลี้ยงต้องมีความรู้ความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ตลอดจนแนวทางการในการป้องกันและแก้ไข เพื่อลดปัญหาต่างๆ ที่อาจมีผลต่อสุขภาพของกุ้ง คุณสมบัติของน้ำที่มีความสำคัญในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำมีดังนี้ 1. ความเค็ม
กุ้งกุลาดำเป็นกุ้งที่สามารถทนต่อการเปลี่ยนแปลงของความเค็มได้ในช่วงกว้าง และถ้าความเค็มเปลี่ยนแปลง อย่างช้าๆ สามารถปรับตัวอยู่ที่ความเค็มเกือบศูนย์เป็นเวลานานพอสมควรหรือความเค็มที่เพิ่มขึ้นจนถึง 45 ppt. แต่ความเค็มที่เหมาะสมอยู่ระหว่าง 10-15 ppt.

2. ความเป็นกรดเป็นด่าง (pH)
pH ของน้ำมีความสำคัญต่อการดำรงชีวิตของกุ้งกุลาดำมาก เนื่องจาก pH ของน้ำนั้นมีผลต่อคุณสมบัติ ของน้ำตัวอื่นๆ เช่นความเป็นพิษของแอมโมเนียและไฮโดรเจนซัลไฟด์ เป็นต้น pH ที่เหมาะสมแก่การเลี้ยงกุ้ง ควรอยู่ระหว่าง 7.5-8.5 แต่การเจริญเติบโตที่ดีที่สุดในบ่อจะอยู่ที่ pH ของน้ำระหว่าง 8.0-8.5 การเปลี่ยนแปลง pH ของน้ำในบ่อขึ้นอยู่กับปัจจัยหลายๆ อย่าง เช่น คุณสมบัติของดิน ค่าความเป็นด่างของน้ำ การผลิตและ การใช้คาร์บอนไดออกไซด์ในน้ำซึ่งส่วนใหญ่จะขึ้นอยู่กับปริมาณแพลงก์ตอนพืช

3. ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำ
ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในน้ำมีผลต่อการกินอาหาร การเจริญเติบโตและสุขภาพของกุ้ง ถ้าปริมาณ ออกซิเจนต่ำเกินไปอาจมีผลทำให้กุ้งตายได้ ปริมาณออกซิเจนที่ละลายในบ่อเลี้ยงจะเปลี่ยนแปลงคล้ายกับ pH คือ มีค่าต่ำสุดในตอนเช้ามืดเนื่องจากการใช้ไปในการย่อยสลายสารอินทรีย์โดยจุลินทรีย์ในบ่อ และการหายใจ ของสิ่งมีชีวิตในบ่อ หลังจากนั้นแพลงก์ตอนพืชเริ่มมีการสังเคราะห์แสงปริมาณออกซิเจนจะเพิ่มขึ้นและสูงสุด ในตอนบ่าย ความสามารถในการละลายของออกซิเจนในน้ำขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความเค็มของน้ำ โดยที่น้ำ ที่มีความเค็มและอุณหภูมิเพิ่มขึ้นออกซิเจนจะละลายน้ำได้น้อยลง ปริมาณออกซิเจนที่เหมาะสมควรอยู่ ระหว่าง 4 ppm. จนถึงจุดอิ่มตัว

4. แอมโมเนียและไนไตรท์
ในบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำแบบพัฒนานั้นจะมีปริมาณของสารประกอบไนโตรเจนที่ก้นบ่อเป็นจำนวนมาก ซึ่งอาจเกิดจากขบวนการย่อยสลายสารอินทรีย์โดยจุลินทรีย์ที่ก้นบ่อแล้วปล่อยแอมโมเนียออกมา นอกจาก นั้นสัตว์น้ำยังปล่อยของเสียออกมาในรูปของแอมดมเนียสู่แหล่งน้ำโดยตรง ในสภาวะที่มีออกซิเจนแบคทีเรีย จำพวก nitrifying bacteria จะเปลี่ยนแอมโมเนียเป็นไนไตรท์และไนเตรท ตามลำดับ

แอมโมเนีย เป็นสารประกอบไนโตรเจนที่เป็นพิษต่อสัตว์น้ำ แอมโมเนียที่พบอยู่ในน้ำจะอยู่ใน 2 รูปแบบ คือ แอมโมเนียซึ่งเป็นพิษต่อสัตว์น้ำ และแอมโมเนียมอิออนซึ่งไม่เป็นพิษต่อสัตว์น้ำ ในการวัด แอมโมเนียโดยทั่วไปจะวัดรวมทั้งสองรูปแบบ แอมโมเนียทั้งสองรูปแบบนี้จะเปลี่ยนกลับไปมาตาม pH และอุณหภูมิของน้ำ โดยเฉพาะถ้า pH สูงขี้นอัตรส่วนของแอมโมเนียที่เป็นพิษจะสูงขึ้น ทำให้ความเป็นพิษ ต่อสัตว์น้ำจะมากขึ้นด้วย ซึ่งในบ่อเลี้ยงกุ้งกุลาดำปริมาณแอมโมเนียในรูปที่เป็นพิษไม่ควรเกิน 0.1 ppm.

5. ไฮโดรเจนซัลไฟด์
การเกิดไฮโดรเจนซัลไฟด์ เนื่องจากในสภาพก้นบ่อที่ขาดออกซิเจนจะทำให้แบคทีเรียบางชนิด ที่สามารถใช้กำมะถันในการย่อยสลายสารอินทรีย์ได้ ย่อยสลายสารอินทรีย์บริเวณพื้นบ่อได้เป็นสารประกอบ ซัลไฟด์ :ซึ่งสารประกอบซัลไฟด์ที่อยู่ในรูปของ H2S จะมีปริมาณมากขึ้นเมื่อ pH ของน้ำต่ำลง และก็จะทำให้ มีความเป็นพิษสูงขึ้นด้วย ระดับความเข้มข้นของไฮโดรเจนซัลไฟด์สูงสุดที่ไม่เป็นอันตรายต่อกุ้งกุลาดำ คือ 0.033 ppm.

การเปลี่ยนถ่ายน้ำ
การเปลี่ยนถ่ายน้ำเป็นการช่วยชะล้างธาตุอาหารและแพลงก์ตอนพืชออกจากบ่อช่วยกำจัดสารพิษ ที่เกิดจากสิ่งมีชีวิต เช่น แอมโมเนีย และยังช่วยปรับระดับความเค็มและอุณหภูมิไม่ให้สูงมากเกินไป การระบายน้ำทิ้งควรระบายน้ำในส่วนที่ใกล้พื้นบ่อ และประตูระบายน้ำควรอยู่ตรงข้ามกับประตูน้ำเข้า อัตราการเปลี่ยนถ่ายน้ำประมาณ 10-20 เปอร์เซ็นต์ของปริมาตรน้ำในบ่อต่อวัน ถ้ามีฝนตกมากต้องระบาย น้ำชั้นบนออกและเมื่อเลี้ยงกุ้งไปแล้ว 2 เดือน ควรเปลี่ยนอวนกรองน้ำที่ประตูระบายน้ำออกให้มีตาที่โตขึ้น เพื่อระบายน้ำได้สะดวก

การรักษาและฟื้นฟูสภาพพื้นบ่อระหว่างเลี้ยง
สารอินทรีย์ต่างๆ เช่น เศษอาหารที่เหลือ ขี้กุ้ง ขี้แดด ตลอดจนซากสิ่งมีชีวิตต่างๆ ในบ่อเลี้ยงกุ้ง จะตกทับถมลงสู่ก้นบ่อ ดังนั้นก่อนที่น้ำในบ่อจะเน่าเสียมักพบว่าพื้นบ่อเน่าเสียก่อนเสมอ ซึ่งกุ้งเป็นสัตว์ ที่หากินตามพื้น เมื่อสภาพพื้นบ่อเริ่มเสียย่อมเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้กุ้งเป็นโรค ดังนั้นหลังจากปล่อยกุ้ง ลงเลี้ยงแล้วประมาณ 1/2 เดือน ควรตรวจสภาพพื้นบ่ออย่างสม่ำเสมอย่างน้อย 7-15 วันต่อครั้ง เมื่อพบว่า ของเสียต่างๆ ถูกกระแสน้ำพัดพาไปรวมที่ใดก็ควรจะกำจัดออกโดยเร็วก่อนที่พื้นบ่อจะเน่าเสีย ทั้งนี้การรักษา และฟื้นฟูสภาพพื้นโดยรอบชานและพื้นบ่อ นอกจากจะช่วยรักษาและฟื้นฟูสภาวะแวดล้อมภายในให้เหมาะสม แก่การอยู่อาศัยของกุ้งแล้วยังเป็นการป้องกันไม่ให้กุ้งเกิดโรคอีกด้วย

ประเภทของอาหารกุ้ง
1. อาหารธรรมชาติ หมายถึง พืชน้ำ สัตว์น้ำเล็กๆ เช่นแพลงก์ตอน สัตว์หน้าดินที่มีอยู่ในบ่อหรือติดมากับ น้ำทะเลที่ใช่ถ่ายเทน้ำเข้าสู่บ่อ กุ้งที่เลี้ยงจะได้รับอาหารนี้ส่วนหนึ่งเพื่อการเจริญเติบโตและการดำรงชีวิต ในสภาพปกติ

2. อาหารสด หมายถึง อาหารที่ผู้เลี้ยงนำมาให้กุ้งในบ่อกินโดยไม่ผ่านกระบวนการใดๆ เป็นอาหารดิบ เช่น ปลาสด หอย หมึก กากถั่ว แป้ง วิตามินและแร่ธาตุอาหารชนิดต่างๆ แล้วผ่านขบวนการอัดเป็นเม็ดให้มี ขนาดพอเหมาะกับวัยและขนาดของกุ้ง

การให้อาหาร
เนื่องจากอาหารเป็นต้นทุนที่สูงที่สุดในการเลี้ยงกุ้งแบบพัฒนาดังนั้นผู้เลี้ยงควรให้ความสนใจใน การควบคุมปริมาณอาหารเพื่อลดการสูญเสียอาหารไปโดยเปล่าประโยชน์ให้น้อยที่สุด

ปัจจัยที่ทำให้อาหารสูญเสีย
1. อุณหภูมิ อุณหภูมิที่เปลี่ยนแปลงโดยฉับพลันทำให้กุ้งกินอาหารได้น้อยลง อุณหภูมิที่เหมาะสมต่อการ เจริญเติบโตคือ 25-30 องศาเซลเซียสถ้าอุณหภูมิต่ำลงกุ้งจะไม่ค่อยกระปรี้กระเปร่า กินอาหารได้น้อย เจริญเติบโตช้า ถ้าอุณหภูมิต่ำกว่า 18 องศาเซลเซียส กุ้งจะไม่กินอาหาร ดังนั้นเมื่ออุณหภูมิลดต่ำก็ควร ลดปริมาณอาหารที่ให้ลงหรืองดอาหารในมื้อเช้า

2. กุ้งที่เป็นโรคหรือสุขภาพไม่ดี ทำให้การใช้อาหารไม่เต็มประสิทธิภาพ

3. มีการให้อาหารมากเกินไป

4. ถูกสัตว์อื่นๆแย่งกินไป

5. อาหารเสื่อมคุณภาพ เนื่องจากเก็บไว้นานเกินไป

6. อาหารมีคุณค่าสูงเกินความจำเป็น

7. อาหารตกหล่นระหว่างตักและลำเลียง

ข้อควรปฎิบัติในการให้อาหารกุ้ง

1.ผู้เลี้ยงควรบันทึกจำนวนและราคาอาหารเพื่อทำให้รู้ปริมาณอาหารและต้นทุนที่ใช้ในการผลิตกุ้งแต่ละรุ่น

2.การให้อาหารควรจำกัดปริมาณ พึงระลึกไว้เสมอว่าเมื่อกุ้งมีขนาดโตขึ้นอัตราการกินอาหารจะลดน้อยลง (หลังจาก 6 สัปดาห์ไม่ควรเกิน 3-5 ของน้ำหนักตัวต่อวันหรือไม่ควรเกินความจุของกระเพาะลำไส้ต่อมื้อ) ควรแบ่งให้ในอัตราส่วนที่เหมาะสมครั้งละน้อยๆ แต่บ่อยครั้งอย่างน้อย 4-6 มื้อต่อวันเพื่อให้กุ้งมีอาหารกิน อย่างต่อเนื่องในกรณีที่มีอาหารเหลือควรชะลอการให้อาหารในมื้อถัดไปไว้ก่อนจนกว่าอาหารที่เหลือจะหมด

3.การเลี้ยงกุ้งกุลาดำบริษัทผู้ผลิตอาหารมักจะกำหนดปริมาณอาหารที่ใช้เลี้ยงกุ้งแต่ละวัยให้เกษตรกรผู้เลี้ยง ถือปฎิบัติ เกษตรกรพึงระลึกไว้เสมอว่า ในทางปฏิบัตินั้น ควรให้อาหารน้อยกว่าปริมาณที่กำหนดไว้แต่จะมากน้อย เพียงใดจึงจะเหมาะสมนั้น ขึ้นอยู่กับสภาพของกุ้งและอาหารธรรมชาติที่มีอยู่ในบ่อเลี้ยงนั้นด้วยและต้องคำนึงถึง เสมอว่า เมื่อสภาวะแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไปการกินอาหารของกุ้งย่อมเพิ่มหรือลดตามไปด้วย

4.การเปลี่ยนแปลงอาหารแต่ละชนิดแต่ละเบอร์ ในการเลี้ยงกุ้งกุลาดำแต่ละระยะต้องปรับอย่างค่อยเป็นค่อยไป อย่างน้อย 5-7 วัน

5.ควรให้อาหารที่พอดีกับความต้องการของกุ้งและต้องมีการตรวจสอบประสิทธิภาพการให้อาหารของกุ้งเสมอ ก่อนที่จะให้อาหารมื้อต่อไป

6.นอกจากจะทำการหว่านอาหารให้ทั่วบ่อแล้ว ต้องทำยอใส่อาหารอย่างน้อยไร่ละ 1 ยอเพื่อตรวจสอบว่ากุ้งกิน อาหารหมดหรือไม่ ถ้ากินอาหารหมดแสดงว่าอาหารไม่พอ ต้องเพิ่มอาหารที่หว่านอีกหน่อย หากอาหารเหลือ ในยอก็ให้ลดปริมาณ ควรทำการตรวจสอบทุกมื้อหลังจากการให้อาหารแล้ว 2 ชั่วโมง

7.ถ้าพบกุ้งในยอสีดำ ผิวหยาบ ก็ควรมีการตรวจสอบคุณภาพน้ำ ดิน และอาหาร

8.ถ้าพบกุ้งลอกคราบ ก็ลดอาหารลงประมาณ 2-3 วัน หลังจากนั้นก็เพิ่มอาหารมากขึ้นเพราะช่วงนี้กุ้งกินอาหารมาก

การคำนวณอาหารและหว่านอาหาร

ปริมาณอาหารที่จะให้กุ้งกินถ้าให้อาหารมากเกินควรอาหารที่เหลือสะสมเพิ่มความสกปรกของพื้นบ่อเมื่อ นานๆ ก็จะเป็นสาเหตุของการเกิดโรคบางชนิดได้ เช่นโรคหางไหม้ โรคเหงือกดำ เป็นต้น แต่การอาหารน้อยเกินไป ก็จะมีผลให้กุ้งกินกันเองและกุ้งได้รับอาหารไม่เพียงพอก็จะผอมอ่อนแอ ทำให้ติดเชื้อโรคได้ง่าย ดังนั้น หากผู้เลี้ยงเข้าใจถึงหลักเกณฑ์ในการคำนวณอาหารที่ถูกต้องก็จะทำให้ลดปัญหาในการเลี้ยงได้มากทีเดียว

เมื่อกุ้งอายุได้ 1 เดือน จะสามารถใช้ยอเช็คการกินอาหารได้แล้วคือ หลังจากหว่านอาหารเสร็จจึงใส่อาหาร ในยอและเช็คอาหารตามเวลาที่กำหนด การปรับปริมาณอาหารให้ดูจากการกินอาหารในยอ คือ หากกุ้งกินอาหาร ในยอหมดให้เพิ่มอาหาร แต่หากบางยอหมดบางยอยังเหลืออยู่ให้คงปริมาณอาหารไว้เท่าเดิม และถ้าปริมาณอาหาร ในยอเหลือทุกยอก็ให้ลดปริมาณอาหารลง

เมื่อกุ้งอายุประมาณ 45 วัน (มีน้ำหนัก 4-5 กรัม) กุ้งจะมีขนาดโตพอที่จะทอดแห (ใช้แหเอ็นตาเล็กสุดคือ 0.5 ซม.) เพื่อสุ่มหาปริมาณกุ้งที่เหลือในบ่อ และดูการเจริญเติบโตของกุ้งไปพร้อมๆ กันโดยมีการชั่งน้ำหนักและ วัดความยาวของกุ้ง หลังจากนั้นนำมาคำนวณหาผลผลิตกุ้งทั้งหมดในบ่อ

ปริมาณกุ้งที่เหลือในบ่อหาได้โดยการใช้แหสุ่มทอดในหลายๆ จุด จดบันทึกจำนวนและชั่งน้ำหนักของกุ้ง แต่ละแห แล้วนำจำนวนกุ้งที่ทอดแหได้แต่ละครั้งมารวมกันจะได้จำนวนกุ้งที่ทอดแหได้ทั้งหมด ส่วนน้ำหนักที่ชั่งได้ แต่ละแหเมื่อนำรวมกัน ก็จะได้น้ำหนักกุ้งที่ทอดแหได้ทั้งหมด เมื่อทราบพื้นที่แหโดยการคำนวณจากสูตรพื้นที่วงกลม ซึ่งเท่ากับ 3.14 x รัศมียกกำลังสอง (3.14 x รัศมี x รัศมี) ข้อมูลที่ได้นำมาคำนวณหาปริมาณกุ้งที่เหลือในบ่อได้ เมื่อนำน้ำหนักเฉลี่ยมาคูณปริมาณกุ้งที่เหลือในบ่อก็จะได้น้ำหนักที่มีอยู่ทั้งหมด จากนั้นจึงไปคำนวณหา ปริมาณอาหารที่กุ้งควรจะกินในช่วงนั้นโดยเทียบจากตารางเปอร์เซ็นต์การกินอาหารของกุ้งในช่วงอายุนั้นๆ

การจับกุ้ง

ระยะเวลาการเลี้ยงกุ้งจนจับจำหน่ายได้ ถ้าเลี้ยงจากลูกกุ้ง p 15 ใช้เวลาการเลี้ยงประมาณ 4 เดือน ถ้าเลี้ยงจากลูกกุ้ง p 30 ใช้ระยะเวลาเพียง 3 เดือนครึ่ง โดยทั่วไปจะได้ขนาด 25-35 ตัวต่อกิโลกรัม ต้องจับกุ้ง หลังลอกคราบแล้ว 2-3 วัน กุ้งเปลือกจะแข็ง ขณะจับกุ้งควรให้อาหาร กุ้งจะได้ไม่เพลีย และจะว่ายน้ำเล่น สามารถจับได้ง่าย

1. จับกุ้งโดยใช้อวนเปลหรือถุงรองรับที่หน้าประตูบ่อกุ้ง โดยเปิดลิ้นชักด้านบน น้ำลึกประมาณ 15-20 ซม. ค่อยทยอยลงไปควรแง้มลิ้นประตูชั้นบนให้น้ำไหลออกก่อนประมาณ 30 นาที แต่ก่อนการจับจะจับด้วยวิธีนี้
2. จับโดยใช้อวนลากไฟฟ้า โดยปล่อยกระแสไฟฟ้าลงไปกับโซ่ตีนอวน เมื่อลากพื้นบ่อกุ้งจะได้รับกระแสไฟฟ้าจึงกระโดดเข้าถุงอวนเอง
3. จับโดยใช้อวนลากกุ้งธรรมดา เหมาะสำหรับบ่อที่เป็นสี่เหลี่ยม
4. จับโดยใช้แหเหวี่ยง เหมาะสำหรับจับกุ้งขายเป็นครั้งๆละไม่มาก
5. จับโดยใช้คนเดินเก็บ เพราะจะมีกุ้งบางส่วนเหลือตกค้างอยู่ในบ่อเมื่อน้ำแห้ง
6. กุ้งที่จับมาได้ควรรีบนำมาแช่ในถังน้ำที่มีน้ำแข็งอยู่ที่อุณหภูมิ 10-15 องศาเพื่อน็อคกุ้งและทำความสะอาดกุ้ง เพื่อจะได้กุ้งที่สดและสะอาด

ตลาดกุ้ง
ตลาดกุ้งตลาดกุ้งกุลาดำในปัจจุบันเป็นตลาดที่นับว่าดีมาก เนื่องจากความต้องการของทั้งตลาดภายในประเทศและ ภายนอกประเทศมีมาก ประกอบกับผลผลิตที่น้อยลง ทำให้ราคากุ้งกุลาดำมีราคาค่อนข้างสูง ตลาดกุ้งที่สำคัญได้แก่

1. ห้องเย็น เป็นตลาดที่ต้องการกุ้งทะเลที่มีขนาดใหญ่เป็นจำนวนมาก เพื่อส่งออกไปยังต่างประเทศ เช่น สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่นและกลุ่มประเทศในยุโรป

2. สะพานปลา เป็นตลาดกุ้งภายในประเทศ โดยใช้วิธีประมูลราคาซึ่งราคากุ้งจะขึ้นอยู่กับปริมาณกุ้งที่เข้ามา ในแต่ละวัน

นอกจากตลาดทั้ง 2 แห่งแล้วยังมีภัตตาคารหรือห้องอาหารที่ต้องการกุ้งเป็นๆ โดยจะออกรับซื้อตามปากบ่อ ซึ่งจะให้ราคาสูงแต่ปริมาณความต้องการไม่มากนักและไม่แน่นอนในแต่ละวัน

อ้างอิง: http://www.kungthai.com


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 34278 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ห้องปศุสัตว์]:
ไทยไฟเขียว นำเข้าเนื้อวัวเนเธอร์แลนด์ ย้ำปลอดภัยต่อผู้บริโภค
ใน พ.ศ.2559 กรมปศุสัตว์ได้อนุมัติ อย่างเป็นทางการให้เนเธอร์แลนด์ส่งออกเนื้อลูกวัวและเนื้อวัวมายังประเทศไทย
อ่านแล้ว: 7388
ไก่โคราช เลี้ยงง่าย โตไว
ไก่เนื้อโคราช เป็นไก่ลูกผสมเกิดจากการผสมพันธุ์ ของพ่อพันธุ์พื้นเมือง ไก่เหลืองหางขาวของกรมปศุสัตว์ กับแม่พันธุ์ ไก่ มทส.
อ่านแล้ว: 7613
ไฟเขียวนำเข้าเนื้อวัวเนเธอร์แลนด์!!!
ย้ำปลอดภัยต่อผู้บริโภค-พรีเมี่ยม ขณะที่ไทยขยายเวลานำเข้าลูกไก่-ไข่ฟัก หลังโรควัวบ้าระบาดในยุโรปทำส่งออก-นำเข้าชะงัก
อ่านแล้ว: 7136
เลี้ยงวัวทุนน้อย แต่ครบวงจร ทำได้ไหม รวยได้ไหม?
ผมเลี้ยงวัวแม่พันธุ์เอาไว้ 4 ตัว อีก 4 ตัวเป็นวัวที่กำลังขุนอยู่ ก็ทำตามกำลังทุนและกำลังกายที่เรามี
อ่านแล้ว: 8329
โคเนื้อกำแพงแสน สร้างรายได้ ม.เกษตรฯกระจายพันธุ์ ช่วยเกษตรกรดันรายได้สุทธิพุ่ง
เกษตรกรที่เลี้ยงโคเนื้อกำแพงแสนแบบขุนขาย พบว่ามีต้นทุน 39,682.50 บาทต่อตัว หรือ 70.86 บาทต่อกิโลกรัม
อ่านแล้ว: 6877
คนเลี้ยงหมู สุดช้ำ แม้เงินเฟ้อ แต่ราคากลับถูกลง
อ้างเหตุผลความต้องการลดลงในช่วงปิดเทอมและเทศกาลกินเจ
อ่านแล้ว: 5921
ปลูกหญ้าเลี้ยงสัตว์
การเตรียมดิน พืชอาหารสัตว์ เป็นพืชที่ต้องการแสงแดดในการเจริญเติบโตอย่างมาก ในแปลงปลูกหญ้า จึงต้องโค่นตัดต้นไม้ออก
อ่านแล้ว: 6320
หมวด ห้องปศุสัตว์ ทั้งหมด >>