ปลูกปาล์มน้ำมันจากต้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
ม.แม่โจ้ ชุมพร ปลูกปาล์มน้ำมันจากต้นเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ
data-ad-format="autorelaxed">
ปลูกปาล์มน้ำมัน จากต้น เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อปาล์ม
โดยปกติการ ปลูกปาล์มน้ำมันใน ประเทศไทยเกือบทั้งหมดจะใช้ต้นกล้าปาล์มจากการเพาะเมล็ด และเมล็ดปาล์มคุณภาพดีส่วนใหญ่ จะนำเข้ามาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะจากประเทศคอสตาริกา ปัจจุบันมีเรื่องที่น่ายินดีที่การปลูกปาล์มน้ำมัน ในบ้านเราได้มีความก้าวหน้าไปอีกระดับหนึ่ง ผศ.ดร.ศิริชัย อุ่นศรีส่ง รองอธิการบดีฝ่ายสารสนเทศและการสื่อสาร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ เปิดเผยว่า การปลูกปาล์มน้ำมันจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นเทคโน โลยีใหม่ของประเทศไทย ต้นกล้าที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อเป็นต้นกล้าที่ผ่านการคัดเลือกอย่างดีที่สุดมาจากต้นแม่ คอมแพ็ค ที่มีคุณสมบัติดีเด่น ผลผลิตสูงและมีการปรับตัวต่อสภาพแวดล้อมได้ดี ขณะนี้ทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ชุมพร ได้ดำเนินการทดสอบ,ศึกษาและวิจัย เปรียบเทียบพันธุ์ปาล์มน้ำมันจากต้นกล้าเพาะเมล็ดกับต้นกล้าที่มาจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อว่าชนิดไหนมีความดีเด่นกว่ากัน
ในอนาคตการส่งเสริมให้เกษตรกรไทยปลูกปาล์มน้ำมันที่ใช้ต้นกล้าจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อจะเป็นอีกทางเลือกใหม่เช่นเดียวกับในต่างประเทศ เช่น ประเทศคอสตาริกา ไนจีเรียและกานา เป็นต้น ที่พื้นที่ ปลูกปาล์มน้ำมัน ประมาณ 80% ของพื้นที่ปลูกทั้งหมดใช้ต้นกล้าจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ อ.ศิริชัยยังได้บอกว่าการ ปลูกปาล์มน้ำมัน จากต้นที่เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อในประเทศคอสตาริกา จะใช้ระยะปลูก 7.2x6.2 เมตร ในพื้นที่ 1 ไร่ปลูกได้ 35 ต้น และให้ผลผลิตประมาณ 7 ตันต่อไร่นอกจากนี้ทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ชุมพร ยังได้นำต้นปาล์มเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อตระกูลคอมแพ็คเข้ามาส่งเสริมให้เกษตรกรได้ขยายพื้นที่ปลูก ซึ่งจัดเป็นสายพันธุ์ปาล์มที่ให้ผลผลิตสูง, ต้นเตี้ย ทางใบสั้น โดยวิธีการเริ่มต้นจากเก็บข้อมูลลักษณะดีเด่น เช่น อัตราการเจริญเติบโตต่อปี, ผลผลิตทะลายสดต่อต้นต่อปี, ความต้านทานโรคซึ่งจะใช้เวลาในการเก็บข้อมูลอย่างน้อย 6-8 ปี เมื่อได้ข้อมูลแน่ชัดว่า ต้นปาล์มน้ำมันดังกล่าวที่ได้คัดเลือกไว้มีคุณสมบัติตรงที่นักปรับปรุงพันธุ์ต้องการ จึงเข้าสู้ขั้นตอนโคลนนิ่ง โดยจะนำชิ้นส่วนเนื้อเยื่อของช่อดอกอ่อนนำไปเลี้ยงในห้องปฏิบัติการซึ่งจะใช้เวลาประมาณ 2 ปี จะได้ต้นกล้าที่มีใบและรากพร้อมที่จะนำไปอนุบาลต่อในโรงเรือนเพาะชำนานประมาณ 1 ปี จึงนำลงไปปลูกในแปลงต่อไป
ปัจจุบันทางมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ชุมพร ได้จัดทำ “โครงการความร่วมมือสหกิจศึกษาทางวิชาการเกษตร” โดยร่วมมือกับ บ.อาร์ แอนด์ ดี เกษตรพัฒนา จำกัด และเป็นภาคเอกชนที่ติดต่อประสานงานนำเข้าต้นกล้าปาล์มน้ำมันจากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ จากประเทศคอสตาริกามาทดลองปลูกในบ้านเรา อ.ศิริชัยมีความเชื่อว่าในอนาคตโครงการนี้จะเป็นประโยชน์ต่อการศึกษาวิจัยและการส่งเสริมการปลูกปาล์มน้ำมัน พืชทดแทนพลังงานตามยุทธศาสตร์ของชาติ ท้ายสุด อ.ศิริชัยได้สรุปข้อดีของต้นกล้าปาล์มน้ำมันที่ได้จากการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อว่า มีการแปรปรวนทางพันธุกรรมน้อยมาก, มีลักษณะเหมือนต้นพ่อและแม่ทุกประการ, มีความต้านทานโรคและมีการเจริญเติบโตและให้ผลผลิตเร็วกว่าต้นที่ปลูกด้วยเมล็ด
รายละเอียดเพิ่มเติมติดต่อได้ที่ มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ชุมพรโทร. 08-4507-8081
ที่มา : หนังสือพิมพ์เดลินิวส์ วันที่ 5 มิถุนายน 2550
อ่านเรื่องนี้แล้ว : 95698 คน
£
ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:
ประกอบ นาคบุรี[email protected]อยากทราบว่าการปลูกปาล์ม ในภาคเหนือ จะต้องปลูกกับพื้นที่ ลักษณะใดได้บ้าง ปลูกในพื้นที่ๆเป็นเนินเขาได้ไหม
08 ม.ค. 2555 , 05:24 AM e0 ชอบ | | | 0 ไม่ชอบ |
สุทิน[email protected]มีจักรรีดยางพาราหลายแบบให้เลือก ทั้งแบบตั้งและแบบนอน , กล้ายางพาราพันธุ์ 600 และ 251 ,จำหน่ายปุ๋ย และสารปรับปรุงดิน(แร่โดโลมิตก มาร์ล) ที่เหมาะกับพื้นที่ภาคอีสานบ้านเรา, กล้าปาล์มน้ำมัน สายพันธุ์สุราษฎ์ 2 และ ซีหราด ของแท้ มีใบรับรองสายพันธุ์ถูกต้อง นำมาจากแปลงเพาะสุราษฎ์โดยตรง มีของวางขายหน้าร้าน มีทั้งขายปลีกและขายส่ง สนใจติดต่อ 08-96533103 สุทิน หรือ 08-50008893 อิ๋ว หรือจะเข้าไปดูที่ร้านได้เลยครับ ชื่อร้าน "อุดมพูนทรัพย์" อยู่ที่บ้านผาสุก 92 ม.4 ตำบลตาลเลียน อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี
หรือติดต่อ e-mail :
[email protected]18 ส.ค. 2554 , 07:13 PM e0 ชอบ | | | 0 ไม่ชอบ |
บ้านปาล์มนครินทร์[email protected]บ้านปาล์มนครินทร์ เซกา จ.หนองคาย (บึงกาฬ) จำหน่ายต้น กล้าปาล์ม พันธุ์ดีจาก บริษํท อูติพันธุ์พืช จ. มีใบอนุญาติจากกรมวิชาการเกษตร สนใจดูรายละเอียดได้ที่ www.banpalmnakarin.com
โทร 087-4341072
Email:
[email protected]04 ส.ค. 2554 , 02:26 AM e0 ชอบ | | | 0 ไม่ชอบ |