data-ad-format="autorelaxed">
โรคต่างๆ ที่เกิดกับกุหลาบ สร้างความเสียหายทางการค้าเป็นอย่างมาก เราลองมาศึกษาว่า โรคต่างๆ ที่อาจจะเกิดกับ กุหลาบ รวมถึงวิธีป้องกัน และวิธีการดูแลรักษา เมื่อโรคเกิดกับกุหลาบ เราสามารถป้องกัน และบรรเท่าเมื่อเกิดอาการได้อย่างไรบ้าง
โรคใบจุดสีดำ ที่เกิดกับกุหลาบ (Rose black spot)
กุหลาบจำนวนไม่น้อย ที่โดน โรคใบจุดสีดำ เข้าทำลาย โรคใบจุดสีดำในกุหลาบ ระบาดได้ทั่วไปตลอดทั้งปี แต่จะพบมากในฤดูฝน มีสาเหตุจากเชื้อรา Marssonina rosae (Lib.) Died อาการที่แสดงให้เห็นในระยะแรก จะเห็นแผลจุดสีน้ำตาลขนาดเล็ก ที่ด้านบนของใบกุหลาบ ต่อมาจะขยายเป็นวงกลมซ้อนกัน นอกจากนั้นอาจจะพบเส้นใยของเชื้อรา และสปอร์ของเชื้อราสีดำ กระจายอยู่บริเวณแผล ทำให้ใบเหลือง แห้งกรอบ และร่วง
เชื้อราชนิดนี้ สามารถแพร่ระบาดได้หลายๆทาง สปอร์เชื้อราปลิวไปตามลม ติดไปกับแมลงต่างๆ สามารถระบาดได้มากหากมีความชื้นสูง และในอุณหภูมิ 15-27 องศาเซลเซียส
โรคราน้ำค้าง ที่เกิดกับกุหลาบ (Downy Mildew)
โรคราน้ำค้าง มักเกิดกับใบอ่อนของกุหลาบ สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Peronospora sparsa Berk. อาการเริ่มแรกจะเป็นแผลจุดช้ำสีเหลืองที่ผิวด้านบนของใบอ่อน ต่อมาแผลขยายขนาดเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล ลักษณะแผลค่อนข้างเหลี่ยม ขอบแผลสีเหลืองช่วงที่ความชื้นสูงอาจพบกลุ่มของเส้นใยและสปอร์ของเชื้อราบริเวณแผลส่วนใต้ใบ อาการรุนแรงเกิดแผลจำนวนมาก แผลลุกลามสู่ใบล่างและกระจายทั่วต้น ใบเกิดอาการบิดเบี้ยว ยอดอ่อนชะงักการเจริญเติบโต ใบยอดม้วนงอ เหี่ยวเหลือง และร่วงในที่สุด อาจพบอาการแผลสีน้ำตาลที่กิ่งและยอดอ่อน
โรคราแป้ง ที่เกิดในกุหลาบ (Powdery mildew)
โรคราแป้งเป็นโรคที่จะแพร่ระบาดในช่วงอุณหภูมิต่ำ โดยเฉพาะฤดูหนาว สภาพแวดล้อมที่เหมาะสมต่อการแพร่ระบาดของโรคราแป้งคือช่วงที่มีอุณหภูมิของเวลากลางคืน 15.5 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ 90-99 เปอร์เซ็นต์ ในขณะที่เวลากลางวันอุณหภูมิ 26.7 องศาเซลเซียส และความชื้นสัมพัทธ์ 40-70 เปอร์เซ็นต์ อาการที่พบโรค ระยะแรกจะเกิดเป็นแผลจุดสีแดงบนผิวของใบ ต่อมาจะพบกลุ่มเส้นใยและสปอร์ของเชื้อราลักษณะคล้ายผงแป้งเกิดขึ้นเป็นหย่อมๆ และขยายวง กระจายออกไป หากอาการรุนแรงจะพบผงแป้งบนก้านใบ กิ่ง ดอก ก้านดอก ใบอ่อน กลีบดอก และลำต้น ทำให้ใบบิดเบี้ยวเสียรูปร่าง ใบเหลืองแล้วเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาล แห้งกรอบและร่วง
การป้องกันกำจัดโรคกุหลาบ ที่มีสาเหตุจากเชื้อรา
1. ตัดแต่งกิ่ง ให้ถึงส่วนของเนื้อไม้ที่ยังดีอยู่ จะช่วยลดการอยู่ข้ามฤดูของเชื้อราได้
2. ควรเลือกซื้อต้นพันธุ์กุหลาบที่ปลอดโรค
3. ปลูกกุหลาบพันธุ์ต้านทานโรค เช่น David Thompson, Coronado เป็นต้น
4. เลี่ยงการปลูกกุหลาบพันธุ์อ่อนแอ เช่น Texas Wax, Ragged Robin เป็นต้น
5. ป้องกัน และกำจัดโรคของกุหลาบที่เกิดจากเชื้อราด้วยการฉีดพ่น ดังนี้
– ฉีดพ่นด้วย ไอเอส สารอินทรีย์ยับยั้งเชื้อรา ในกรณีที่ระบาดมาก ให้ฉีดพ่นซ้ำทุก 7 วัน ผสมในอัตราส่วน 50cc ต่อน้ำ 20 ลิตร หรือ 500 ซีซี ต่อน้ำ 200 ลิตร ฉีดพ่นให้ทั่วบริเวณ
– ฉีดพ่นบำรุงต้นพืช ให้เจริญเติบโตเร็ว ใบเขียว มีความแข็ง และต้านทานต่อโรค ด้วย FK-1 ที่ประกอบด้วยธาตุหลัก NPK เพื่อเร่งการเจริญเติบโต เพิ่มผลผลิต และประกอบด้วย ธาตุรอง ธาตุเสริม ที่จะบำรุงให้พืชแข็งแรง มีภูมิต้านทานต่อโรค และแมลง สามารถฉีดพ่น ผสมไปพร้อม ไอเอสได้ในคราวเดียวกัน
ไอเอส สารอินทรีย์ ยับยั้งเชื้อรา
FK-1 ปุ๋ยน้ำเข้มข้น
บำรุงต้นให้สมบูรณ์แข็งแรง ต้านทานต่อโรคและแมลง
อ้างอิงข้อมูลและรูปภาพจาก
– gotoknow.org/posts/43722
– cincinnati.com/story/news/local/union /2016/06/08/roses-susceptible -black-spot-fungus/85601512/