ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ยางพารา | อ่านแล้ว 3812 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

มาตรฐานไม้ยาง

มาตรฐานไม้ยาง



data-ad-format="autorelaxed">

วันก่อนอ่านข่าว การยางแห่งประเทศไทย “มั่นใจยางแตะ 60 บาท” ก็เลยถึงบางอ้อ มิน่าล่ะ ผู้นำชาวสวนยางดูเงียบเชียว.....ราคายางขยับขึ้นก็ออกจะดีใจแทนพี่น้องเกษตรกรชาวสวนยาง พร้อมกับลุ้นให้ราคาขยับขึ้นไปอีกเรื่อยๆ แต่อย่าให้สูงเกินความจริงไปมากมาย เพราะถ้าราคากลับมาตกต่ำอีก เกษตรกรก็จะทำใจไม่ได้ เดี๋ยวก็จะออกมาเคลื่อนไหว เรียกร้องกันอีก

 

แต่ราคายางที่ขยับสูงขึ้น มีผลมาจากผลผลิตออกสู่ตลาดน้อยลง เพราะสวนยางในภาคอีสานบางพื้นที่ยังถูกน้ำท่วมอยู่ ราคาที่ขยับสูงขึ้นจึงไม่ได้ช่วยเกษตรกรบางพื้นที่สักเท่าไร

 

ไหนๆ ก็พูดถึงราคายางแล้ว ก็ขอพูดเรื่องอื่นๆ ที่เกี่ยวกับยางไปด้วย เพราะถ้าไม่ใช่เรื่องราคายางแล้ว การยางแห่งประเทศไทยก็ดูจะทำงานไปอย่างเงียบๆ เรื่องที่จะพูดถึงนี้ก็เห็นในข่าวอีกเช่นกัน และคิดว่าเป็นเรื่องสำคัญที่ต้องเตรียมตัว และทำความเข้าใจกับชาวสวนยางเสียแต่เนิ่นๆ นั่นคือเรื่องของการใช้มาตรฐานสากล FSC กับไม้ยางพารา

FSC (Forest Stewardship Council) เป็นองค์กรเอกชนภายใต้ความร่วมมือของกลุ่มที่เกี่ยวข้องกับไม้และป่าไม้ทั่วโลก เช่น กลุ่มอนุรักษ์ป่าไม้และสิ่งแวดล้อม กลุ่มผู้ผลิตสินค้าจากไม้ องค์กรผู้ให้การรับรองไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ กลุ่มองค์กรเหล่านี้มาร่วมกันจัดทำระบบการให้การรับรองมาตรฐานไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ว่าเป็นไม้และผลิตภัณฑ์ที่ใช้ไม้จากป่าธรรมชาติ หรือป่าปลูกที่มีการจัดการป่าอย่างถูกต้องตามหลักการที่เป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ มีการปลูกไม้แบบยั่งยืน

 

หมายความว่า ต่อแต่นี้ไป (อันที่จริงจะมีการใช้มาตรฐานนี้ในปี 2563) การค้าไม้ หรือผลิตภัณฑ์จากไม้ทุกชนิดที่จะเข้าสู่ตลาด จะต้องมีตราประทับ หรือใบรับรอง FSC ว่าเป็นไม้ที่มาจากป่าธรรมชาติ หรือป่าปลูกที่มีการจัดการป่าอย่างยั่งยืน ไม่ใช่ไม้ที่ลักลอบตัดโค่นมาอย่างผิดกฎหมาย

 

สำหรับไม้ยางพาราในบ้านเรา นอกจากนำไปแปรรูปเป็นไม้อัด ปาร์ติเกิลบอร์ด และเฟอร์นิเจอร์ที่ได้รับความนิยมแล้ว เศษไม้ยางพารายังนำไปบดและอัดแท่งทำเป็น “เชื้อเพลิงชีวมวล” ที่ให้พลังงานความร้อนสูง สำหรับผลิตกระแสไฟฟ้า ด้วย เรียกว่าเป็นการเพิ่มมูลค่าให้กับเศษไม้


เลยทีเดียว...และอันว่าเชื้อเพลิงชีวมวลนี้ เป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศอย่าง ญี่ปุ่น และ ประเทศในยุโรป อย่างมาก

 

ถ้าไม้ยางที่นำมาทำเชื้อเพลิงชีวมวลไม่มีตราประทับ หรือไม่ได้การรับรอง FSC ต่างประเทศก็จะไม่ซื้อ ผู้ที่จะผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลส่งออกไปขายก็จะไม่ผลิต โอกาสทองของไม้ยางก็จะหลุดลอยไปสำหรับประเทศไทย การยางแห่งประเทศไทยจึงจับมือกับบริษัทเอกชนที่จะผลิตเชื้อเพลิงชีวมวล ทำโครงการยางประชารัฐ สนับสนุนชาวสวนยางให้ทำสวนยางตามมาตรฐาน FSC ข่าวว่าดำเนินการเป็นการนำร่องในพื้นที่ 50,000 ไร่ และกำลังจะขยายผล.....ผู้ว่าการการยางแห่งประเทศไทย ธีธัช สุขสะอาด คาดว่าภายใน 3 ปี จะสามารถขยายผลครอบคลุมพื้นที่สวนยางที่ขึ้นทะเบียนไว้กับ กยท.

 

การจัดการสวนยางอย่างยั่งยืนที่ว่านี้ ระบุว่าเริ่มตั้งแต่ปลูกยางไปจนถึงตัดโค่น ซึ่งต้องใช้ระยะเวลานานนับสิบปีกว่ายางจะเจริญเติบโต และโค่นได้ ดังนั้น 3 ปีที่เหลือ ก็คงยังไม่มีไม้ยางที่ได้รับการรับรอง FSC มีแต่ไม้โตเร็วที่ปลูกแซมยางที่อาจจะตัดขายได้ ราคาก็คงไม่เท่าไม้ยาง....วันเวลามันผ่านไปอย่างรวดเร็ว ถ้าไม่เร่งดำเนินการ ชาวสวนยางยังไม่รู้ ยังไม่เห็นความสำคัญของมาตรฐาน FSC ดูท่าโครงการผลิตเชื้อเพลิงชีวมวลจากไม้ยางพาราที่ได้การรับรองมาตรฐานดังกล่าวคงยังไม่เห็นผล

 

หลายโครงการที่มียางเข้าไปเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม นานวันเข้าก็ถูกลืม อย่างโครงการคาร์บอนเครดิต ที่มีแนวคิดจะให้เกษตรกรชาวสวนยางมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายคาร์บอนเครดิต เพราะสวนยางเป็นแหล่งดูดซับคาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซเรือนกระจกที่เกิดจากกิจกรรมการผลิตในภาคอุตสาหกรรม และเกษตรกรรม หรือ กิจกรรมที่มนุษย์สร้างขึ้น ประเทศใดที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกมากเกินกว่าที่กำหนดไว้ในข้อตกลงภายใต้อนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สามารถที่จะซื้อสิทธิ์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากคนอื่นมาชดเชยได้ คาร์บอนเครดิต คือ สิ่งทดแทนการปล่อยก๊าซเรือนกระจกดังกล่าวนั่นเอง

 

ไม่มีการพูดถึงคาร์บอนเครดิตในปัจจุบัน....เปลี่ยนผู้บริหาร เปลี่ยนรัฐบาล โครงการเปลี่ยนโครงการ FSC ที่ว่ามานี้ก็เหมือนกัน...จะไปได้ไกลแค่ไหน....คงต้องดูกันยาวๆ ไป...

 

source: 


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 3812 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ยางพารา]:
ยางพารายอดแห้ง ยางพาราตายจากยอด ยางยืนต้นตาย สาเหตุและการักษา
ปล่อยไว้ก็จะตายมาถึงโคน และต้นตายไปในที่สุด อาการนี้เรียกว่าโรคตายจากยอด ในยางพารา มักจะเกิดกับต้นยางพาราเล็ก..
อ่านแล้ว: 8462
โรคใบจุด ยางพารา โรคใบจุดตานก ทำให้ใบร่วง ชะงักโต แก้ด้วย ไอเอส
โรคใบจุดตานก นี้ทำให้ใบยางพาราหลุดร่วง โตช้า หรือชะงักการเจริญเติบโต และได้ผลผลิตน้อยลง
อ่านแล้ว: 7566
หนอนทรายในสวนยางพารา ยางจะค่อยๆล้มไปทีละต้น แก้ไขและป้องกันได้
หนอนทราย ที่เป็นศัตรูพืชของยาพารา เป็นตัวอ่อนของด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง จัดเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวอ้วนป้อม มีกลามใหญ่
อ่านแล้ว: 7508
นายกฯฝากประธาน JETRO หนุนอุตฯแปรรูปยางพาราไทย
ประธาน JETRO เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี บิ๊กตู่ฝากช่วยสนับสนุนการแปรรูปยางพาราไทย
อ่านแล้ว: 6689
วว. แก้ปัญหายางล้นตลาดด้วยนวัตกรรม
ดันถุงมือผ้าเคลือบยาง แผ่นเสริมรองเท้าเพื่อสุขภาพ แผ่นยางปูพื้น ชุดวัสดุป้องกันการกัดเซาะตลิ่งจากธรรมชาติเพิ่มมูลค่ายาง
อ่านแล้ว: 7661
วัสดุชีวภาพรักษ์โลก สามประสานวิจัยส่งออก
จากการที่เห็นเศษไม้ร่วงจากแผ่นพาร์ทิเคิลบอร์ดที่ถูกสุนัขแทะ ได้จุดประกายแนวคิด
อ่านแล้ว: 6650
ผู้ส่งออกฟันกำไรยาง กดราคาซื้อตุนสต๊อก
ยางแผ่นดิบเหลือ 42 บาท. ตํ่าสุดรอบ 1 ปี 3 เดือน ฝนชุกรีดได้ไม่ถึง 18 วันต่อเดือน แฉผู้ส่งออกกดซื้อตุนสต๊อก หวังฟันกำไร
อ่านแล้ว: 7052
หมวด ยางพารา ทั้งหมด >>