data-ad-format="autorelaxed">
ปัญหาข้าวโพดอาหารสัตว์ราคาตกตํ่า เกษตรกรร้องกระทรวงพาณิชย์ช่วยดูแลเกิดขึ้นเป็นประจำเกือบทุกปี อีกด้านโรงงานอาหารสัตว์ก็มีปัญหาข้าวโพดวัตถุดิบในการผลิตมีไม่เพียงพอ ขณะที่พ่อค้าพืชไร่มีการลักลอบนำเข้าข้าวโพดจากประเทศเพื่อนบ้านมาขายทำกำไร ด้านเกษตรกรบางส่วนก็มีการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อปลูกข้าวโพดสุ่มเสี่ยงถูกคู่ค้ายกเป็นข้อกีดกันสินค้าไทยในอนาคตประเด็นต่างๆ เหล่านี้มีที่มาที่ไปอย่างไร ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร และจะมีทางออกเช่นไร “พรศิลป์ พัชรินทร์ตนะกุล” นายกสมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทยให้สัมภาษณ์กับ “ฐานเศรษฐ กิจ” อย่างหมดเปลือก
**อาหารสัตว์โตต่อเนื่อง
“พรศิลป์” ฉายภาพว่า ธุรกิจอาหารสัตว์ของไทยมีมูลค่าประมาณ 3.25 แสนล้านบาทต่อปี ขณะที่การผลิตอาหารสัตว์ในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา (ปี 2554-2559) ไทยมีการผลิต 15.3, 15.5, 16.8, 17.9, 18.6 ล้านตันตามลำดับ โดยเฉลี่ย 5 ปีขยายตัวเพิ่มขึ้นปีละ 5% ขณะที่ในปี 2560 คาดการผลิตจะอยู่ที่ 19.6 ล้านตันเพิ่มขึ้นจากปีที่แล้ว 5.3% ซึ่งการผลิตอาหารสัตว์มีแนวโน้มการขยายตัวในอัตราที่ลดลง เนื่อง
จากจำนวนสัตว์ (ตัวกิน) ไม่เพิ่มขึ้นมาก จากตลาดส่งออกสินค้าด้านปศุสัตว์มีการแข่งขันสูง
ขณะที่ตลาดในประเทศก็ไม่ได้ขยายตัวมากเหมือนในอดีต จากประชาชนมีทางเลือกในการบริโภคอาหารมากขึ้น ทั้งนี้ทางสมาคมได้คาดการณ์ประเภทสัตว์ที่ใช้อาหารสัตว์มากที่สุดในปีนี้ได้แก่ ไก่เนื้อ สุกร ไก่ไข่ โคนม เป็ด กุ้ง และปลา สัดส่วน 38, 32, 17, 4, 3, 3 และ 3% ตามลำดับ
“การผลิตอาหารสัตว์ปัญหาใหญ่คือเรื่องวัตถุดิบที่เราใช้ตัวหลักๆคือ ข้าวโพด กากถั่วเหลือง ถ้าไม่พอก็จะมีข้าวสาลี 3 ตัวนี้มีสัดส่วน 60-70% ของวัตถุดิบอาหารสัตว์ทั้งหมด มีมันสำปะหลังอีกเล็กน้อย ปลาป่น
3-4% ที่เหลือเป็นตัวอื่นๆ”
**ข้าวโพดขาด3ล้านตัน/ปี
สำหรับข้าวโพดในแต่ละปีมีความต้องการใช้ผลิตอาหารสัตว์ประมาณ 8 ล้านตัน แต่ผลิตได้ในประเทศราว 4.5 ล้านตัน ในพื้นที่ 7.8 ล้านไร่ ผลผลิตได้ประมาณ 600-700 กิโลกรัมต่อไร่โดยเฉลี่ย ดังนั้นข้าวโพดยังขาดแคลนอยู่กว่า 3 ล้านตันต่อปี จากข้าวโพดที่ไม่เพียงพอนี้จึงต้องทดแทนด้วย 1. การนำเข้าข้าวสาลีที่กระทรวงพาณิชย์กำหนดสัดส่วน 3:1 คือต้องซื้อข้าวโพดในประเทศ 3 ส่วนจึงจะนำเข้าข้าวสาลีได้ 1 ส่วน 2. การเพิ่มผลผลิตข้าวโพดต่อไร่ในพื้นที่เดิมให้สูงขึ้นเป็น 800-1,000 กิโลกรัมต่อไร่ ซึ่งรัฐต้องเข้าไปดูแล และอีกส่วนหนึ่งคือการส่งเสริมปลูกข้าวโพดหลังนา ที่ปีที่แล้วรัฐส่งเสริมได้กว่า 1 แสนไร่
3. การนำเข้าจากชายแดนเมียนมา ลาว และกัมพูชาที่ปัจจุบันพ่อค้าพืชไร่มีการลักลอบนำเข้าข้าวโพดราคาถูกหนีภาษีเข้ามาในลักษณะกองทัพมดประมาณปีละ 1 ล้านตัน ซึ่งเป็นผลจากรัฐ (กระทรวงพาณิชย์) ได้กำหนดกฎระเบียบที่ไม่เอื้อต่อการนำเข้า เช่นให้นำเข้าได้เฉพาะช่วงเดือนกุมภาพันธ์-สิงหาคม และมีการกำหนดด่านนำเข้าเพื่อปกป้องผู้ปลูกในประเทศ
**แฉพ่อค้าฟันกำไร 2 ต่อ
“ข้าวโพดขาดแคลนปีละกว่า 3 ล้านตัน พ่อค้าลักลอบนำเข้า 1 ล้านตันก็ยังขาดอยู่ 2 ล้านตันไม่เพียงพอ ผู้ผลิตอาหารสัตว์ จำเป็นต้องนำเข้าข้าวสาลีเข้ามา ก็เลยเป็นเรื่องที่เราถูกกล่าวหาว่าทำให้ข้าวโพดราคาตก เกษตรกรเสียหายเพราะข้าวสาลีเข้ามาเยอะ ซึ่งมาดูว่าเราถูกหรือผิด”
ประการที่ 1 ผู้ผลิตอาหารสัตว์ซื้อข้าวโพดจากพ่อค้าพืช
ไร่เป็นหลัก โดยพ่อค้าซื้อจากเกษตรกรมาขายต่อให้โรงงานอาหารสัตว์ราคาไม่ตํ่ากว่า 8 บาทต่อกิโลกรัมตามที่กระทรวง
พาณิชย์ขอความร่วมมือ ดังนั้นเวลาข้าวโพดราคาตกต้องไปถามพ่อค้าไม่ใช่มาถามอาหารสัตว์ที่ถูกบังคับซื้อ 8 บาทอยู่แล้ว ประการที่ 2 ข้าวโพด 1 ล้านตันที่พ่อค้าลักลอบนำเข้ามาได้กำไร 2 ต่อจากซื้อข้าวโพดราคาถูกจากประ เทศเพื่อนบ้านมาขายให้อาหารสัตว์ 8 บาท/กก. และจากซื้อข้าว โพดราคาตํ่าจากเกษตรกรในประเทศมาขายให้โรงงานในราคา 8 บาท
**เชียร์ตีทะเบียนพ่อค้า
“พรศิลป์” ให้ข้อมูลอีกว่าผลผลิตข้าวโพดอาหารสัตว์ของไทยจะมีมากในช่วงเดือนกันยายน-ธันวาคมของทุกปีคิดเป็นสัดส่วน 75% โดยเฉลี่ยมีผลผลิตออกมาเดือนละประมาณ 1 ล้านตันแต่โรงงานอาหารสัตว์สามารถรับซื้อรวมกันได้เพียง 5 แสนตันต่อเดือนจากมีโกดังเก็บไม่เพียงพอ ที่ผ่านมาข้าวโพดอีก 5 แสนตันในช่วงที่ผลผลิตออกมามากพ่อค้าจะซื้อไปเก็บไว้รอขายในช่วงต้นปีเพื่อทำกำไรและอีกส่วนหนึ่งส่งออก แต่ทั้งนี้ยัง
มีการลักลอบนำเข้าอีกปีละ 1 ล้านตันเพื่อมาขายทำกำไร
อีกเพราะอย่างไรข้าวโพดก็ขาดแคลน ข้อเท็จจริงเหล่านี้
มองว่าไม่เป็นธรรมกับโรงงานอาหารสัตว์ที่ถูกกล่าวหาว่าร่วมมือกับพ่อค้ากดราคาข้าวโพด
“เห็นด้วยกับกรมการค้าภายในที่จะเสนอคณะกรรมการกลางว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ(กกร.) ออกประกาศให้พ่อค้ารับซื้อข้าวโพดมาขึ้นทะเบียนและแจ้งรายละเอียดการดำเนินธุรกิจ เช่น ปริมาณรับซื้อ ซื้อขายอย่างไร จากใครบ้าง และสถานที่จัดเก็บ เพื่อให้สามารถตรวจสอบสต๊อก และพฤติกรรมการทำธุรกิจได้”
**จี้แก้รุกป่าผวากีดกันค้า
นอกจากนี้ข้อมูลจาก
กรมที่ดินระบุ ไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวโพดทั่วประเทศ 7.8 ล้านไร่ ในจำนวนนี้อยู่ในเขตป่า 3.7 ล้านไร่หรือคิดเป็นสัดส่วน 47% (ปัจจุบันส่วนใหญ่เป็นเขาหัวโล้น) ซึ่งภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องต้อง
เร่งดำเนินการผลักดันออกไป เพราะเรื่องนี้ในอนาคตอาจเป็นเหตุให้ไทยถูกคู่ค้าใช้กีดกันการค้าเหมือนกรณีสินค้าประมงได้ อย่างไรก็ดีอีกด้านหนึ่งการลดพื้นที่รุกป่านี้จะยิ่งทำให้ข้าวโพดขาดแคลนเพิ่มขึ้น ดังนั้นภาครัฐต้องเร่งเพิ่มพื้นที่ถูกกฎหมาย
เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวโพด รวม
ถึงการเพิ่มผลผลิตต่อไร่เพื่อทดแทน เพราะไม่เช่นนั้นแล้ว
จะทำให้ห่วงโซ่การผลิตอาหารสัตว์มีปัญหาแน่
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,295 วันที่ 10 - 13 กันยายน พ.ศ. 2560