สปท.แนะยึดแบบอียู เลิกเก็บรายย่อย บี้ภาษี อี-คอมเมิร์ซ ข้ามชาติ
โฆษณา อี-คอมเมิร์ซ โซเชียลมีเดียขนาดใหญ่ ประเทศไทยมีมากกว่า 5หมื่นล้านบาท บริษัทต่างชาติไม่เสียภาษีแม้แต่บาทเดียว
data-ad-format="autorelaxed">
กรณีที่“กรมสรรพากร” เร่งแก้กฎหมายให้มีอำนาจจัดเก็บภาษีจากการประกอบธุรกิจออนไลน์ หรือ อี-คอมเมิร์ซ ทั้งในประเทศและต่างประเทศ จนทำให้คนในวงการอี-คอมเมิร์ซในประเทศตื่นตัวอย่างมาก
นายไพบูลย์ อมรภิญโญเกียรติผู้เชี่ยวชาญด้านกฎหมายอิเล็กทรอนิกส์ เปิดเผยกับ “ทีมข่าวเฉพาะกิจสปริงนิวส์ทีวีช่อง19” ว่าที่มาของแนวคิดการเก็บภาษีจากธุรกิจอี-คอมเมิร์ซมาจากคณะกรรมาธิการขับเคลื่อนการปฏิรูปประเทศ (สปท.)ด้านการสื่อสารมวลชน ที่มองเห็นรายได้ค่าโฆษณาที่อยู่ในสื่ออี-คอมเมิร์ซที่ส่งไปยังโซเชียลมีเดียขนาดใหญ่ เฉพาะประเทศไทยมีมากกว่า 5หมื่นล้านบาท แต่ผู้ที่ลงโฆษณาคือผู้ประกอบการในประเทศไทย คนที่ใช้ก็คือคนในประเทศไทย บริษัทต่างชาติไม่เสียภาษีแม้แต่บาทเดียวจากการทำธุรกรรมอี-คอมเมิร์ซ
โดยสปท.ต้องการให้เก็บภาษีจากอี-คอมเมิร์ซที่อยู่ในต่างประเทศ โดยเฉพาะโซเชียลมีเดีย เช่น Google Facebook และ Line ปรากฏว่าเมื่อนายกรัฐมนตรีอนุมัติ ส่งเรื่องให้กระทรวงการคลัง กลายเป็นว่ากระทรวงการคลังจะเก็บภาษีทั้งหมด ซึ่งสวนทางกับสปท.ที่ต้องการส่งเสริมผู้ประกอบการภายในด้วยการลดภาษี ให้มีศักยภาพในการแข่งขันได้
“ต้องวิจารณ์โดยตรงว่าไม่ตรงกับเจตนารมณ์ของสปท.ตั้งแต่แรก เพราะเราต้องการเก็บภาษีที่รั่วไปยังต่างประเทศปีละนับแสนล้านบาท การมาเก็บแบบเดียวกันกับผู้ประกอบการในประเทศด้วย จะทำให้เดิมศักยภาพการแข่งขัน เทคโนโลยีก็สู้ไม่ได้อยู่แล้ว จะทำให้ผู้ประกอบการในประเทศตาย เพราะการมาเก็บภาษีกับผู้ประกอบการในประเทศ เท่ากับเป็นการรีดเลือดจากปู เพราะเฟซบุคมีฐานคนใช้ 2 พันล้านคน ขณะที่พันทิพดอทคอม กะปุกดอทคอม สนุกดอทคอม ตลาดดอทคอม มีฐานผู้ใช้เท่าไรครับ ถ้าเข้าใจเจตนารมณ์ไม่ตรงกับสปช. ผมว่าต้องทบทวนกันใหม่”
นายไพบูลย์ บอกวิธีการเลี่ยงของบริษัทต่างชาติว่ามีการ “วางแผนภาษี” คือ ตั้งบริษัทลูกเข้าในประเทศไทย แล้วให้บริษัทลูกเป็นเหมือนตัวแทน (เอเจนซี่) หาโฆษณาในประเทศไทย พอได้โฆษณาแล้ว ก็ทำสัญญากับผู้ประกอบการของไทยกับบริษัทแม่ที่เมืองนอก
ดังนั้นเงินที่เกิดจากรายได้ที่เกิดในไทยไปอยู่ที่เมืองนอก แต่บริษัทลูกเสียภาษีน้อยถึงไม่เสียเลย บางบริษัทซึ่งเป็นโซเชียลมีเดียที่ใหญ่ที่สุดในโลก เสียแค่ 5 หมื่นบาทต่อปี และบริษัทลูกก็เสียค่าลิขสิทธิ์ในการใช้เครื่องหมายการค้าให้กับบริษัทแม่ จึงขาดทุน 100%
นายไพบูลย์ บอกว่า ประเทศที่สามารถเก็บภาษีจากอี-คอมเมิร์ซขนาดใหญ่ได้ ประกอบด้วย ประเทศในสหภาพยุโรป เริ่มจาก ฝรั่งเศส อังกฤษ สเปน อิตาลี เก็บภาษีจากยูทูป กูเกิ้ล และโซเชียลมีเดียสัญชาติอเมริกัน มีการเก็บย้อนหลัง บางประเทศเก็บย้อนหลังได้ 300-400 ล้านปอนด์ต่อปี แม้แต่ยักษ์ใหญ่อย่างร้านกาแฟชื่อดังก็โดนเก็บภาษี กลุ่มประเทศอียูก็มองว่าธุรกิจอี-คอมเมิร์ซ 80% ทั่วโลกมาจากอเมริกา และอเมริกาประกาศตั้งแต่ประธานาธิบดี บิล คลินตัน ให้อี-คอมเมิร์ซปลอดภาษี 0% รายได้จึงเข้าที่บริษัทเต็ม 100% อียูจึงมองว่าตรงนี้ไม่เป็นธรรมจึงเริ่มเก็บภาษี ดังนั้นประเทศไทยควรทำตามแนวนโยบายของอียู เพราะรายได้ส่วนใหญ่ไปทางอี-คอมเมิร์ซค่อนข้างมาก
“อังกฤษและฝรั่งเศสบอกว่า ถ้าไม่เข้ามาสำแดงก็จะโดนภาษีย้อนหลัง 200% เท่านั้นเอง อี-คอมเมิร์ซสัญชาติอเมริกันก็ทยอยจ่ายจริงๆประเทศไทยควรเป็นในลักษณะนั้น”
ผู้เชี่ยวชาญรายนี้แนะนำว่า กรมสรรพากรต้องดูว่า แหล่งเงินได้เกิดขึ้นในประเทศไทยหรือไม่ ถ้ามาจากประเทศไทยเก็บได้เลย แต่ที่เก็บไม่ได้เพราะการชำระเงินเขาชำระผ่านบัตรเครดิต ดังนั้นการบันทึกตรงนี้ไม่มีว่าเขามีการชำระไปเท่าไร ดังนั้นผู้ที่ตอบโจท์นี้ได้ดีที่สุดคือธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) เพราะในการใช้บัตรเครดิตทั้งหมด ธนาคารในประเทศต้องไปเคลียริ่งกับระบบบัตรของธปท. ซึ่งจะมีข้อมูลเข้าออกของเงินที่ชำระไปยังต่างประเทศมีจำนวนเท่าไร ดังนั้นรัฐบาลควรรวบรวมข้อมูลสถิติจากธปท.ว่าบัตรเครดิตของธนาคารในประเทศไทยที่มีการจ่ายค่าทำธุรกรรมอี-คอมเมิร์ซต่อปีมีจำนวนเท่าไร ซึ่งคิดว่ามากกว่าแสนล้านบาท
จากหนังสือพิมพ์ฐานเศรษฐกิจ ปีที่ 37 ฉบับที่ 3,259 วันที่ 7 - 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2560
อ่านเรื่องนี้แล้ว : 5659 คน
£
ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:
เลือกหมวด :
แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด,
สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,