ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ยางพารา | อ่านแล้ว 4251 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

กยท.พบ กรดฟอร์มิก ตกคุณภาพในยางพาราอีสาน

กยท.พบ กรดฟอร์มิก ตกคุณภาพในยางพาราอีสาน

การยางแห่งประเทศไทยเผยพบ การใช้กรดฟอร์มิกไม่ได้คุณภาพในยางพาราพื้นที่ตะวันออกเฉียงเหนือ

data-ad-format="autorelaxed">

นางปรีดิ์เปรม ทัศนกุล นักวิทยาศาสตร์ชำนาญการพิเศษ ฝ่ายวิจัยและพัฒนาอุตสาหกรรมยาง การยางแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า การยางแห่งประเทศไทย (กยท.) ได้มีการรณรงค์และสนับสนุนให้เกษตรกรชาวสวนยาง หันมาใช้กรดฟอร์มิกแทนกรดซัลฟิวริกมาโดยตลอด เนื่องจากเป็นสารอินทรีย์ที่สลายตัวง่าย ไม่มีผลตกค้างในยางและไม่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เกษตรกรสามารถผลิตยางที่มีคุณภาพดี ขายได้ราคา ทำให้ที่ผ่านมาเกษตรกรตระหนักและหันมาใช้กรดฟอร์มิกมากขึ้น

 

อย่างไรก็ตามในตลาดที่ผลิตและขายสารจับตัวยางบางราย มีการผลิตสารจับตัวยางที่มีส่วนผสมของซัลเฟตและเกลือคลอไรด์เพื่อช่วยให้ยางจับตัวเร็ว และมีการอวดอ้างสรรพคุณเกินจริง ทำให้เกษตรกรเกิดความเข้าใจผิด และนำมาใช้จนก่อให้เกิดความเสียหายต่อทั้งคุณภาพยาง และสุขภาพของเกษตรกร ซึ่งจากการลงพื้นที่สุ่มเก็บตัวอย่างสารจับตัวยางในพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือรวมทั้งสิ้น 22 ตัวอย่าง พบว่า มีเพียง 1 ตัวอย่างเท่านั้นที่เป็นกรดฟอร์มิกแท้ความเข้มข้น 94% ตรงตามที่ระบุในฉลาก ส่วนอีก 8 ตัวอย่าง หรือคิดเป็น  36.4 %  เป็นกรดฟอร์มิกที่มีความเข้มข้นไม่เป็นไปตามที่ระบุบนฉลาก มีความเข้มข้นเพียง17.89 – 82.92 เท่านั้น

 

ขณะที่อีก 7 ตัวอย่าง หรือ  31.8 %  ที่เป็นกรดซัลฟิวริก พบระดับความเข้มข้นระหว่าง 36.17 – 99.74 โดยที่บนฉลากจะตั้งชื่อทางการค้าเป็นชื่ออื่นทั้งหมด และยังมีอีก 5 ตัวอย่าง หรือ  22.7%  เป็นกรดฟอร์มิกผสมแคลเซียมคลอไรด์ และกรดซัลฟิวริกผสมแคลเซียมคลอไรด์ และที่เหลืออีก 1 ตัวอย่างเป็นแคลเซียมคลอไรด์ล้วนๆ ที่มีความเข้มข้นสูงถึง 36.78%

 

นอกจากนี้ จากการตรวจสอบปริมาณโลหะด้วยเครื่อง Atomic Absorption Spectroscopy ทั้งกรดฟอร์มิกปลอมและกรดอื่นๆ ที่ไม่ได้ระบุชนิดของสารเคมี พบโลหะธาตุของแคลเซียมตั้งแต่ระดับ 0.17 – 5,340 ppm แมกนีเซียมระหว่าง 0.11 – 49.28 ppm ธาตุเหล็ก 0.02 – 0.53 ppm และทองแดงน้อยกว่า 0.01ppm ซึ่งจากการศึกษาพบว่า หากน้ำยางมีปริมาณแคลเซียมเกิน 500 ppm  ขึ้นไป จะทำให้ยางขาดความยืดหยุ่น มีความหนืดต่ำ และมีความชื้นสูง  ซึ่งปริมาณโลหะธาตุที่อยู่ในน้ำยางจะส่งผลต่อรอยตำหนิ เป็ยรอยแตกที่เกิดขึ้นบนผลิตภัณฑ์ได้ทำให้แรงรับน้ำหนักบริเวณนั้นเสียไป

 

"ประเด็นสำคัญคือ เกษตรกรไม่สามารถแยกแยะได้ว่าขวดไหนเป็นกรดฟอร์มิกจริง ขวดไหนเป็นกรดฟอร์มิกปลอม ทำให้สร้างความสับสนให้เกษตรกร เพราะสารจับตัวยางที่ระบุว่ากรดฟอร์มิกนั้น ก็ยังไม่ใช่กรดฟอร์มิกตามที่ระบุ แต่ถึงแม้ว่าบางยี่ห้อเป็นกรดฟอร์มิกแต่ก็มีความเข้มข้นน้อยกว่าตามที่ระบุอยู่มาก รวมถึงมีการแจ้งจากกลุ่มเกษตรกรบางรายที่ใช้กรดฟอร์มิกปลอมดังกล่าว พบว่าเกิดผลกระทบต่อผิวหนังอย่างรุนแรง เป็นแผลลึกเข้าไปในเนื้อ สร้างความเสียหายต่อคุณภาพชีวิตของเกษตรกรชาวสวนยางอีกด้วย"นางปรีดิ์เปรมกล่าว

 

นางปรีดิ์เปรม กล่าวว่า จากผลการศึกษาในครั้งนี้ นอกจากส่งผลกระทบต่อเกษตรกรชาวสวนยางแล้ว ยังเข้าข่ายการหลอกลวงผู้บริโภค และส่งผลในภาพรวมที่เสียหายต่อประเทศชาติ เพราะผลผลิตยางทางภาคภาคตะวันออกเฉียงเหนือในปีที่ผ่านมา มีปริมาณยางทั้งสิ้นประมาณ 636,531 ตัน และจากการใช้กรดปลอมทำให้ยางไม่ได้มาตรฐานกว่า  50 %  ซึ่งเป็นความเสียหายต่อภาพลักษณ์ของประเทศผู้ส่งออกยางที่มีคุณภาพประเทศหนึ่งของโลก และเป็นความเสียหายที่ประเมินค่าไม่ได้ อย่างไรก็ตาม กยท. ในฐานะหน่วยงานหลักในการดูแลคุณภาพยางระดับประเทศ จะดำเนินการตรวจสอบคุณภาพสารจับตัวยางเป็นระยะอย่างต่อเนื่อง เพื่อทราบถึงการปลอมปนสารที่ไม่ได้มาตรฐาน และในอนาคตอาจมีมาตรกรในการควบคุมสารจับตัวยางทุกชนิดในเชิงการค้า ซึ่งจะต้องหารือร่วมกับหลายๆ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยให้ผู้ผลิตและจำหน่ายขึ้นทะเบียนกับ กยท. เพื่อทำการควบคุมคุณภาพยางในอนาคต

 

source: posttoday.com/biz/gov/491041


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 4251 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ยางพารา]:
ยางพารายอดแห้ง ยางพาราตายจากยอด ยางยืนต้นตาย สาเหตุและการักษา
ปล่อยไว้ก็จะตายมาถึงโคน และต้นตายไปในที่สุด อาการนี้เรียกว่าโรคตายจากยอด ในยางพารา มักจะเกิดกับต้นยางพาราเล็ก..
อ่านแล้ว: 8462
โรคใบจุด ยางพารา โรคใบจุดตานก ทำให้ใบร่วง ชะงักโต แก้ด้วย ไอเอส
โรคใบจุดตานก นี้ทำให้ใบยางพาราหลุดร่วง โตช้า หรือชะงักการเจริญเติบโต และได้ผลผลิตน้อยลง
อ่านแล้ว: 7566
หนอนทรายในสวนยางพารา ยางจะค่อยๆล้มไปทีละต้น แก้ไขและป้องกันได้
หนอนทราย ที่เป็นศัตรูพืชของยาพารา เป็นตัวอ่อนของด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง จัดเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวอ้วนป้อม มีกลามใหญ่
อ่านแล้ว: 7508
นายกฯฝากประธาน JETRO หนุนอุตฯแปรรูปยางพาราไทย
ประธาน JETRO เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี บิ๊กตู่ฝากช่วยสนับสนุนการแปรรูปยางพาราไทย
อ่านแล้ว: 6688
วว. แก้ปัญหายางล้นตลาดด้วยนวัตกรรม
ดันถุงมือผ้าเคลือบยาง แผ่นเสริมรองเท้าเพื่อสุขภาพ แผ่นยางปูพื้น ชุดวัสดุป้องกันการกัดเซาะตลิ่งจากธรรมชาติเพิ่มมูลค่ายาง
อ่านแล้ว: 7661
วัสดุชีวภาพรักษ์โลก สามประสานวิจัยส่งออก
จากการที่เห็นเศษไม้ร่วงจากแผ่นพาร์ทิเคิลบอร์ดที่ถูกสุนัขแทะ ได้จุดประกายแนวคิด
อ่านแล้ว: 6650
ผู้ส่งออกฟันกำไรยาง กดราคาซื้อตุนสต๊อก
ยางแผ่นดิบเหลือ 42 บาท. ตํ่าสุดรอบ 1 ปี 3 เดือน ฝนชุกรีดได้ไม่ถึง 18 วันต่อเดือน แฉผู้ส่งออกกดซื้อตุนสต๊อก หวังฟันกำไร
อ่านแล้ว: 7051
หมวด ยางพารา ทั้งหมด >>