ฟาร์มเกษตร
ครบเครื่อง เรื่องปุ๋ยยา
ช่องทางการสั่งซื้อสินค้าจากฟาร์มเกษตร
1. โทรสั่งซื้อที่ 089-459-9003
2. แอดไลน์ไอดี PrimPB แชทสั่งซื้อ
3. สั่งทางเฟสปริม เฟสบุ๊คปริมคลิกที่นี่
4. สั่งผ่านะระบบตระกร้าสินค้า FKX.asia
5. สั่งผ่านเว็บลาซาด้า LAZADA.co.th
ทุกช่องทาง ชำระเงินขณะรับสินค้าที่บ้านคุณ
หมวด: ยางพารา | อ่านแล้ว 6635 คน | สั่งพิมพ์หน้านี้ | L

ดีต่อราคายาง! ทัพยางรถจีน ลงทุน 3 หมื่นล้าน ตั้งฐานผลิตในไทย

ดีต่อราคายาง! ทัพยางรถจีน ลงทุน 3 หมื่นล้าน ตั้งฐานผลิตในไทย

ยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตยางรถสิบล้อ ทุ่มหลายหมื่นล้าน แห่ตั้งฐานการผลิตในไทย รัฐไทยส่งเสริม เพื่อแก้ปัญหาราคายาง.. ดีจริงๆ..

data-ad-format="autorelaxed">

ทัพยางรถยนต์จีนบุกตั้งฐานผลิตในไทยต่อเนื่อง ล่าสุดค่ายต้าตี้ หนึ่งในยักษ์ใหญ่ผู้ผลิตยางรถสิบล้อ เตรียมทุ่ม 2 หมื่นล้านตั้งโรงงานในนิคมหลักชัยเมืองยาง จ.ระยอง ดึงไทยฮั้วยางพาราถือหุ้น 30% ขณะอีกหนึ่งรายใหญ่จากมณฑลซานตงยืนยันขนเม็ดเงินลงทุนอีก 1 หมื่นล้านตั้ง รง.ผลิตยางรถเก๋ง

 

จากที่ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตและส่งออกยางธรรมชาติอันดับ 1 ของโลกแต่ในช่วง 4-5 ปีที่ผ่านมาราคายางพาราทั้งในและต่างประเทศอยู่ในช่วงขาลง รัฐบาลไทยจึงมีนโยบายส่งเสริมคนไทยและต่างชาติตั้งโรงงานแปรรูปยางพาราเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มและเพิ่มปริมาณการใช้วัตถุดิบยางในประเทศซึ่งจะมีผลต่อการแก้ไขปัญหาราคายางให้มีเสถียรภาพในระยะยาวนั้น ล่าสุดมีความเคลื่อนไหวของนักลงทุนจากจีนได้เข้ามาตั้งโรงงานผลิตล้อยางรถยนต์ในไทยอย่างต่อเนื่อง

นายหลักชัย กิตติพล ประธานเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร บริษัท ไทยเบคก้า เอ็นเตอร์ไพรส์ จำกัด ผู้พัฒนานิคมอุตสาหกรรมหลักชัยเมืองยาง จ.ระยอง เปิดเผยว่า ล่าสุดบริษัทได้บรรลุผลการเจรจากับต้าตี้กรุ๊ป อีกหนึ่งผู้ผลิตยางรถยนต์รายใหญ่จากประเทศจีน ภายใต้แบรนด์ “เสินโจว”ที่จะเข้ามาตั้งโรงงานผลิตยางรถสิบล้อในนิคมฯหลักชัยเมืองยาง โดยการลงทุนจะแบ่งออกเป็น 2 เฟส กำลังผลิตเฟสละ 1.2 ล้านเส้น รวม 2.4 ล้านเส้น ใช้เงินลงทุนเฟสละประมาณ 1 หมื่นล้านบาท รวมสองเฟสกว่า 2 หมื่นล้านบาท

 

สำหนับการลงทุนของต้าตี้กรุ๊ปในครั้งนี้ยังได้บรรลุผลการเจรจาในเบื้องต้นในการที่จะร่วมลงทุนกับบริษัท ไทยฮั้วยางพารา จำกัด(มหาชน) ในนาม บริษัท ต้าตี้(ไทยแลนด์)จำกัด เบื้องต้นทางต้าตี้จะถือหุ้น 70% และไทยฮั้วถือหุ้น 30% ขณะนี้โครงการอยู่ระหว่างการเตรียมยื่นเรื่องเพื่อขอรับการส่งเสริมการลงทุนจากคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ)

 

“โรงงานผลิตยางรถสิบล้อที่จะตั้งขึ้น ในเฟสแรกมีกำหนดแล้วเสร็จภายในสิ้นปีนี้ และเริ่มส่งออกได้ในปี 2561 เป้าหมายส่งออกสัดส่วน 90-95% และขายในไทย 5-10% โดยในส่วนของการส่งออกมีเป้าหมายที่ตลาดอาเซียนรวมถึงตลาดอาเซียนบวก 6 ได้แก่ จีน ญี่ปุ่น เกาหลี อินเดีย ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ที่มีความตกลงเอฟทีเอ(เขตการค้าเสรี)กับไทยแล้ว และสินค้าได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้า นอกจากนี้ยังมีเป้าหมายที่ตลาดสหรัฐอเมริกา และยุโรป”

ขณะเดียวกันนอกจากต้าตี้แล้ว ทางนิคมยังได้บรรลุความตกลงในเบื้องต้นกับบริษัทผู้ผลิตยางรถเก๋งอีกหนึ่งรายใหญ่จากมณฑลซานตงของจีน(ยังไม่ขอเปิดเผยรายชื่อ) ซึ่งความเป็นไปได้ที่จะมาลงทุนในไทยครั้งนี้มีมากถึง 90%โดยการผลิตจะมุ่งเน้นการส่งออกเป็นหลักเป้าหมายตลาดอาเซียน รวมถึงขายในไทยบางส่วน จะได้ติดตามและเจรจาในรายละเอียดต่อไป

 

นายหลักชัยกล่าวถึงภาพรวมของนิคมฯหลักชัยเมืองยางว่า ในเฟสแรก 2,200 ไร่ มีการลงทุนแล้ว 3 ราย (ยังไม่รวมอีก 2 รายข้างต้น) ทั้งหมดเป็นบริษัทจากจีน ได้แก่ 1 บริษัทเซ็นจูรี่ไทร์ฯ(ประเทศไทย) มาลงทุนตั้งโรงงานผลิตยางรถยนต์รถยนต์ทั่วไป และยางล้อรถบรรทุก ใช้เงินลงทุนกว่า 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งได้ทำการผลิตและส่งออกแล้ว 2.บริษัท เจ เอส วาย ลาเท็กซ์ โปรดักส์ฯ (ไทยแลนด์) ผลิตหมอนจากยางพารา เพื่อส่งออกและขายในประเทศ และ 3.หวาอี้ กรุ๊ป ที่ร่วมทุนกับไทยเบคก้าฯ สัดส่วน 85 : 15 เพื่อผลิตยางล้อรถยนต์ 6 ล้อ 10 ล้อ ยางรถบัส และยางอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ เป้าหมาย 2 ล้านเส้นต่อปี ส่งออก 99% ใช้เงินลงทุนประมาณ 1 หมื่นล้านบาท ซึ่งโรงงานจะแล้วเสร็จและเริ่มส่งออกในเดือนเมษายนนี้

 

“นอกจากบริษัทข้างต้นแล้วทางนิคมฯหลักชัยเมืองยาง ยังอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อดึงต่างชาติเข้ามาลงทุนอีก 4-5 รายจากหลายประทศ ขณะนี้ในเฟสแรกเราขายพื้นที่ได้แล้วประมาณ 1,500 ไร่(รวม 2 รายใหม่แล้ว) ยังเหลืออีกประมาณ 500 ไร่ ในระยะต่อไปมีแผนจะพัฒนาในเฟสที่ 2 ในพื้นที่ติดกัน ตั้งเป้าไว้ที่ 5,000 ไร่ โดยในเฟสที่ 2 นี้ ไม่ได้มุ่งเพียงอุตสาหกรรมยางล้อรถยนต์เพียงอย่างเดียว แต่จะขยายไปยังคลัสเตอร์ที่เกี่ยวเนื่องกับการผลิตยางรถยนต์ เช่น เหล็กลวด คาร์บอนแบล็ก เป็นต้น โดยตั้งเป้าจะมีโรงงานขนาดใหญ่ไม่ต่ำกว่า 15-20 โรงงานเข้ามาตั้งในนิคมของเรา”

ทั้งนี้นายหลักชัย กล่าวว่า การลงทุนของต่างชาติในนิคมหลักชัยเมืองยางจะมีเม็ดเงินลงทุนรวมไม่ต่ำกว่า 3 แสนล้านบาท และช่วยเพิ่มการใช้ยางพาราในประเทศเป็นวัตถุดิบ ไม่ต่ำกว่า 1 ล้านตันภายใน 10 ปีนับจากนี้ (จากปัจจุบันใช้อยู่ประมาณ 1.5 แสนตัน/ปี) จะเป็นอีกส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ราคายางในประเทศมีเสถียรภาพ ไม่ตกต่ำเหมือนในอดีต

 

source: thansettakij.com/2017/01/19/125381


อ่านเรื่องนี้แล้ว : 6635 คน £




ความคิดเห็นจากผู้อ่าน:

ส่งความคิดเห็น



เลือกหมวด :

แสดงเนื้อหารวมจากทุกหมวด, สินค้าเกษตร, ไอเดียและเทคโนโลยีเกษตร, รวม VDO เด่นจาก FK, นาข้าว, เศรษฐกิจเกษตร, ภาพถ่ายเกษตร, ไร่อ้อย, มันสำปะหลัง, ยางพารา, ปาล์มน้ำมัน, ไร่ข้าวโพด, ผักและการปลูกผัก, การปลูกพืช, ไม้ผล ไม้ยืนต้น, เกษตรน่ารู้, สมุนไพร, ไม้มงคล, พุทธศึกษา, FK Talk, สุขภาพ, การใช้ SUN กับพืชต่างๆ, แอพฯด้านเกษตร, ไม้ดอก ไม้ประดับ, องค์กรด้านเกษตร, ซื้อขายที่ดิน, ห้องปศุสัตว์, ประมง, เกษตรกรตัวอย่าง, ฟาร์มเกษตรพาเที่ยว, FK Freestyle, Agri live update, ออแกนิกส์, จักรกล, อุปกรณ์การเกษตร, ไร่กาแฟ,


แสดงทั้งหมดใน [ยางพารา]:
ยางพารายอดแห้ง ยางพาราตายจากยอด ยางยืนต้นตาย สาเหตุและการักษา
ปล่อยไว้ก็จะตายมาถึงโคน และต้นตายไปในที่สุด อาการนี้เรียกว่าโรคตายจากยอด ในยางพารา มักจะเกิดกับต้นยางพาราเล็ก..
อ่านแล้ว: 8462
โรคใบจุด ยางพารา โรคใบจุดตานก ทำให้ใบร่วง ชะงักโต แก้ด้วย ไอเอส
โรคใบจุดตานก นี้ทำให้ใบยางพาราหลุดร่วง โตช้า หรือชะงักการเจริญเติบโต และได้ผลผลิตน้อยลง
อ่านแล้ว: 7566
หนอนทรายในสวนยางพารา ยางจะค่อยๆล้มไปทีละต้น แก้ไขและป้องกันได้
หนอนทราย ที่เป็นศัตรูพืชของยาพารา เป็นตัวอ่อนของด้วงปีกแข็งชนิดหนึ่ง จัดเป็นหนอนที่มีขนาดใหญ่ ลำตัวอ้วนป้อม มีกลามใหญ่
อ่านแล้ว: 7508
นายกฯฝากประธาน JETRO หนุนอุตฯแปรรูปยางพาราไทย
ประธาน JETRO เข้าเยี่ยมคารวะนายกรัฐมนตรี บิ๊กตู่ฝากช่วยสนับสนุนการแปรรูปยางพาราไทย
อ่านแล้ว: 6688
วว. แก้ปัญหายางล้นตลาดด้วยนวัตกรรม
ดันถุงมือผ้าเคลือบยาง แผ่นเสริมรองเท้าเพื่อสุขภาพ แผ่นยางปูพื้น ชุดวัสดุป้องกันการกัดเซาะตลิ่งจากธรรมชาติเพิ่มมูลค่ายาง
อ่านแล้ว: 7661
วัสดุชีวภาพรักษ์โลก สามประสานวิจัยส่งออก
จากการที่เห็นเศษไม้ร่วงจากแผ่นพาร์ทิเคิลบอร์ดที่ถูกสุนัขแทะ ได้จุดประกายแนวคิด
อ่านแล้ว: 6650
ผู้ส่งออกฟันกำไรยาง กดราคาซื้อตุนสต๊อก
ยางแผ่นดิบเหลือ 42 บาท. ตํ่าสุดรอบ 1 ปี 3 เดือน ฝนชุกรีดได้ไม่ถึง 18 วันต่อเดือน แฉผู้ส่งออกกดซื้อตุนสต๊อก หวังฟันกำไร
อ่านแล้ว: 7051
หมวด ยางพารา ทั้งหมด >>